ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

มหาจุฬาฯ ร่วมมือกับชาวพุทธเอเซียสร้างสันติภาพผ่านวัฒนธรรมพุทธ


      เมื่อวันที่ ๑๔-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔  พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ได้มอบหมายให้พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และพระมหาราชัน จิตฺตปาโล รองผู้อำนวยการกองวิชาการ เดินทางไปปฏิบัติราชการในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนากับองค์ทางพระ พุทธศาสนากับอีก ๑๓ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ลาว พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย เวียดนาม จีน และกัมพูชา ในงาน "Asian Festival of Buddhist Culture" ครั้งที่ ๑  ซึ่งรัฐบาลประเทศกัมพูชา  และจีนได้เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน  โดย มีนางเมน สาม อาน (Lok Chumteave Men Sam An) รองนายกรัฐมนตรี และนายมิน ขิน (Min Khin) รัฐมนตรีตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนาให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก ตั้งแต่พิธีที่พนมเปญจนถึงพิธีการแสดงทางวัฒนธรรมและพิธีปิดที่เสียมเรียบ

     ในการนี้ ประเทศไทย  ภายใต้การประสานงานของ ๓ หน่วยงานหลักคือ มหาจุฬาฯ กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมปรึกษาหารือประเด็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และนำการแสดงศิลปะ และวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาไปจัดแสดงหน้าอังกอร์วัด ในหัวข้อการแสดงทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง "พุทธานุภาพอุบัติในโลกา ทวยเทวาและปวงประชาปีติ" ซึ่งประเด็นสำคัญได้แสดงให้เห็นถึงการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้น ได้ทำให้พระอิศวร ปวงเทวา และมวลประชาทุกหมู่เหล่าค้นพบ "พลังแห่งสันติสุข" ทั้งในชีวิต ชุมชน และสังคม

     วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้  เพื่อมุ่งหวังที่จะนำหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรม ในการอยู่ร่วมกันของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในแทบอินโดจีน ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอารยธรรมในการเชื่อมประสานกลุ่มคนต่างๆ ตั้งแต่ภูเขาหิมาลัยไหลผ่านจากประเทศจีน พม่า ลาว กัมพูชา ไทย และเวียดนาม มาอธิบาย และนำเสนอผ่านการแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม เช่น การฟ้อน และการร้องรำ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวิถีของพระพุทธศาสนา  ที่หล่อหลอมให้กลุ่มคนในลุ่มน้ำสามารถดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สุขบนฐานของวัฒนธรรมดังกล่าว

      ในโอกาสดังกล่าวนี้  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการได้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "World Peace and Buddhist Culture" เพื่อนำเสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างเพื่อนร่วมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่ น้องชาวไทยและกัมพูชาซึ่งมีรากฐานวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นแกนกลาง หล่อหลอมวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของชนในชาติทั้งสองประเทศ ฉะนั้น ในสถานการณ์ของความไม่เข้าใจ และความหวาดระแวงในมิติการเมืองระหว่างประเทศนั้น วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาที่ประสานและสอดคล้องกันจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่า สนใจอีกประการหนึ่งต่อการนำมาเชื่อมประสานความสัมพันธ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

     "สถานการณ์ ของโลกในยุคปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรง  วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นภูมิปัญญาสำคัญของโลกที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟู เยียวยา และเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคมไปสู่มิติที่ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกันโดยการใส่ใจคุณค่าของความเป็นมนุษย์  จนนำไปสู่แบ่งปันความสุข และความทุกข์ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคม"

     "อย่าง ไรก็ตาม  กลุ่มคนต่างๆ ตกอยู่ในภายใต้อำนาจของตัณหา ทิฏฐิ และมานะ จึงทำให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์และความต้องการโดยไม่ตระหนักรู้ และใส่ใจต้องการของการคนอื่นๆ การยึดมั่นในความเห็นของตัวเอง หรือกลุ่มตนถูกต้องและเหมาะสมกว่าคนอื่นๆ และการหยิ่งลำพอง และใช้อำนาจทั้งด้านเศรษกิจ การเมือง และสังคมไปเบียดเบียน และกดทับบุคคลอื่นๆ   ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความขัดแย้งซึ่งไม่ได้รับการจัดการที่ดีได้พัฒนาตัวเองไปสู่ความ รุนแรงจนยากต่อการสร้างความปรองดอง"

     "การ สร้างสันติภาพอย่างแท้จริงนั้น ไม่ใช่การเพียรสร้างเฉพาะสันติภาพภายนอกเพื่อสนองตอบผลประโยชน์และความต้อง การผ่านกระบวนการเจรจากันเอง และการไกล่เกลี่ยคู่กรณีเท่านั้น หากแต่ควรเน้นหนัก และเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาสันติภาพภายในให้มีความต่อเนื่องและยั้งยืน  การสร้างสันติภาพภายในต้องเริ่มต้นจากจิตใจ  โดยการกระตุ้นเตือนให้เกิดความรัก และปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก อ้นจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความเป็นเอกภาพของชุมชนและสังคม"


 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. กล่าวสุนทรพจน์หน้าอังกอร์วัด, เสียมเรียบ

 

World Peace and Buddhist Culture


Ven. Assist. Prof. Dr. Phramaha Hansa Dhammahaso,
Assistant to the Rector for Academic Affairs
Mahachulalongkornrajavidyalaya University

 

Most Venerable
Venerable 
Members of the Sangha and
Friends in the Dhamma:

 

            First of all, I, on behalf of the Most Ven. Prof. Dr. Phra Dharmakosajarn, the Rector of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and Thai people, would like to take this oppurtunity to pass on very best wishes to those who are being here and Combodian people. As we all know, when we look around at our world today, everywhere we see conflict and suffering.  In spite of the material progress made possible by scientific advances, and modern transportation and technologies that have unified the globe, our planet is in peril.  Continuing wars and uprisings have caused enormous disruption in the Middle East and Africa, the economies of the developed world are in trouble because of financial misdeeds, and natural disasters like earthquakes, tsunamis and floods are made worse by practices harmful to the environment.  In every country, people, groups and governments compete for control and power.  Even differences between religious minorities in some countries make it difficult to reconcile conflicts and decrease suffering. 

            Peace is almost impossible to obtain and sustain.  How can a Buddhist perspective help us to understand the current situation and provide solutions that make it possible for human beings to live in harmony?

            First, we must see that "peace" is not just the absence of war or violence.  In Buddhism there are two levels of peace, external and internal.  On the one hand, external peace is what is commonly understood by the term but also includes active efforts, such as negotiation and dialogue, to bring about the cessation of conflict.  External peace requires the cultivation of loving-kindness and compassion in order to transcend natural differences of interests between individuals and groups.  Human beings are not independent of each other and must get along to survive.  On the other hand, internal or "true peace" is what is meant by "Nirvana," or ultimate truth.  It can only be reached by the mind. We cannot seek true peace outside of our mind, and true peace is the foundation for establishing peace in the world.

            The main obstacles to peace, according to the Buddha, are desire, arrogance and delusion.  They prevent clear thinking and impede effective social and professional relationships.  Disputes, arguments and quarrels arise when people attempt to defend their own interests against those of others.  When fueled by desire, arrogance and delusion, such conflicts become irreconcilable, and, when motivated by ethnocentrism, nationalism and religious differences, they lead to the kind of wars and suffering that have become all too common on a catastrophic scale.  Whenever these hindrances can be tamed, inner peace, the only true basis for happiness, becomes possible.

            Conflicts arise from differences of opinion and can be reconciled through peaceful management. The Buddha showed the way to manage conflict by establishing the Sangha and the Vinaya.  Seemingly intractable conflicts can be resolved when people come together to establish forms of organization and government to set rules and settle differences. Conflict in its positive sense can lead to creative thinking for the development of organizations and society in general.  In its negative sense, conflict produces violence and suffering in which the needs of the many are ignored by the more powerful.

            External peace becomes impossible if one is blinded by the desire for power, money and status.  Human vision is also blocked by an arrogance that includes the assertion of superiority over others.  Arrogant people cannot hear the views of others and their selfishness obstructs creative thinking. And finally, peace cannot be obtained by the deluded and ignorant who fail to see things as they really are. 

            Unfortunately, true peace is not prevalent among people in society today, even in Buddhist cultures.  The pull of desire, arrogance and delusion is too strong for most to resist.  The challenge of living together with others whose interests conflict with our own is too great.  Intolerance, corruption and exploitation are widespread; the five precepts are ignored.

            To sum up, realizing inner peace brings three profound benefits.  It enables us to promote the loving-kindness and compassion that can be a bridge between human beings and the wider society.  It helps us to resist the false happiness of having many possessions in order to reach a true happiness beyond suffering.  And, finally, inner peace, which begins in our mind, encourages solidarity and harmony in human society, leading people to cooperate in the prevention of such dangers as terrorism and global warming.

           May the Triple Gem bless you all and may there be peace and happiness in your life. 

คำสำคัญ (Tags): #peace#Asian Festival of Buddhist Cullture
หมายเลขบันทึก: 471615เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2011 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กราบนมัสการเจ้าค่ะ

พุทธรรมนำสันติสุข ด้วยเมตตาและทานบารมีสู่เพื่อนมนุษย์ชั่วกาลนาน

นมัสการครับ

ขอบมากครับ ....inner peace, which begins in our mind, encourages solidarity and harmony in human society, leading people to cooperate in the prevention......

ชอบแล้วครับ เป็นการดำเนินนโยบายการต่างประเทศด้านศาสนาที่น่าชื่นชมครับ

ในโอกาสอันใกล้นี้ จะขอติดต่อท่านเพื่อหารือยุทธศาสตร์การสนับสนุนการดำเนินการนี้ในบางประเทศครับ

นมัสการท่านฯ ข้างหลังอลังการมากเลย ...

นมัสการเจ้าค่ะ

ช่วงนี้อากาศเย็น หวังว่าพระคุณเจ้าจะมีสุขภาพดีนะเจ้าคะ

จะได้ทำงานเพื่อพระศาสนาอย่างเต็มกำลังเจ้าค่ะ

นมัสการลา

โยมนงนาถ, ท่านพลเดช, ดร.ขจิต, โยมณัฐ และโยมปู

  • อนุโมทนาที่ร่วมแสดงความเห็น และความรู้สึกดีๆ
  •  หวังใจว่างานนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันระหว่างพี่น้องไทย และพี่น้องร่วมโลก โดยเฉพาะกัมพูชา
  • เจริญพร

กราบนมัสการค่ะ,

เป็นบทความที่ประทับใจมากค่ะ กระชับ ตรงเป้าหมาย ขอบพระคุณค่ะ

อ่านแล้วนึกถึงการกล่าวปาฐกถาของท่านดาลัย ลามะ ในหัวข้อ Peace Through Compassion ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอเนีย เบริกเลย์ เมื่อสองปีก่อน....

ท่านพูดถึงสันติภาพว่าเป็นการให้โอกาสในการเจริญเติบโต ไม่่ใช่การทำลายล้าง

ทุกๆคน ทุกๆชีวิตต้องการสันติภาพ....

สันติภาพไม่ได้มาจากความรุนแรง...

สันติภาพไม่ได้มาจากการสวดมนต์ร้องขอ... แต่

สันติภาพเกิดจาก "ตัวเราเอง"

สันติภาพไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีเรื่องที่ขัดแย้งกันเลย...

ในสันติภาพ อาจมีความเห็นที่แตกต่าง อาจมีความไม่เห็นพร้องต้องกัน และมีความขัดแย้งที่เปิดเผย...

สันติภาพไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัญหาใดใด...ตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลกใบนี้ ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้..

สันติภาพไม่ได้เกิดแต่เฉพาะยามสงบสุข...

สันติภาพเกิดขึ้นจากความเมตตา...

สันติภาพ เริ่มเกิดขึ้นจากการลดละความเป็น "ฉัน"

สันติภาพเกิดขึ้นจาก พลังของความอยาก อยากในความสงบ..

สันติภาพเกิดขึ้นจากการรู้ตัวว่าต้องการสันติภาพ...

สันติภาพเกิดจากความสงบภายใน ในแต่ละบุคคล..

สันติภาพเกิดจากสภาพจิตที่สงบ สมดุล เปิดกว้าง มองปัญหา ความเป็นจริง อย่างเข้าใจถ้วนถี่..

สันติภาพอยู่ที่การหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง..

สันติภาพคือการหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยความสงบ การพูดคุย การนับถือซึ่งกันและกัน..

สันติภาพแห่งสังคมจึงเกิดขึ้น...

สังคมที่มีเมตตาจะเป็นสังคมที่มีสันติภาพ...

การมีจิตใจที่สงบสุข การมีความเมตตาสามารถฝึกฝนได้ ความเมตตาไม่ใช่เป็นเพียงหลักความเชื่อทางศาสนาแต่เป็นหลักการการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข เพื่อสังคม และโลกที่สงบสุข...........

โยมปริม

อนุโมทนาขอบใจมากที่กรุณานำบทเทศนาสันติภาพของท่านดาไล ลามะมานำเสนอ นับเป็นบทที่ดีและกินใจเป็นที่สุด การเรียกร้องหาสันติภาพที่ดีที่สุด มิใช่การเรียกร้องจากคนอื่นๆ หากแต่เรียกร้องจากใจของเราเอง เมื่อทุกคนพยายามเรียกหาจากใจแล้วไซร้ แล้วเพราะเหตุใด สันติภาพจะไม่เกิดมีต่อสังคมไทย และสังคมโลก

ด้วยสาราณียธรรม

พระมหาหรรษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท