วิธีป้องกัน(ลดความเสี่ยง)มะเร็งเต้านม


จดหมายข่าวเว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Environmental factors associated with breast cancer' = "ปัจจัย (ด้าน) สิ่งแวดล้อม (ไม่ใช่พันธุกรรม) ที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม" = "วิธีป้องกันมะเร็งเต้านม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ผู้หญิงอเมริกันที่อายุยืนมากพอมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 1/8 = ผู้หญิง 8 คนที่อายุยืน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 1 คน
.
ผู้หญิงเอเชีย (รวมทั้งไทย) มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่านี้ ทว่า... มะเร็งเต้านมก็อยู่ในขาขึ้น หรือพบบ่อยขึ้นทั่วโลก (สวนทางกับมะเร็งปากมดลูกที่พบน้อยลง โดยเฉพาะถ้าไม่สำส่อนทางเพศทั้งผู้หญิง และคู่นอน)
.
การศึกษาใหม่พบว่า การปรับเลี่ยนแบบแผนในการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ (lifestyle) มีผลในการป้องกันมะเร็ง (ทุกชนิดรวมกัน) ได้มากถึง 1/3
.
มะเร็งเต้านมน้อยกว่า 10% เป็นผลจากพันธุกรรม, ส่วนใหญ่เป็นผลจากการกระตุ้นโดยฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen / เอสโทรเจน) มากหรือนาน
.
ปัจจัยที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโทรเจน) มีระดับสูงขึ้น หรือสูงนานขึ้น (นับช่วงที่มีประจำเดือนเป็นหลัก ไม่รวมช่วงที่ตั้งครรภ์) ได้แก่
.
(1). น้ำหนักเกิน > เซลล์ไขมัน (fat cells) ที่อ้วนเป่ง (เซลล์นี้มักจะไม่อ้วนเป่งในคนผอม), จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโทรเจน) มากขึ้น
.
(2). ไม่ออกแรง-ไม่ออกกำลัง-นั่งนาน (เกิน 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง)
.
(3). ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์)
.
(4). กินยาคุมกำเนิดนานหลายปี หรือได้รับยาที่มีฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ฮอร์โมนเสริมหลังหมดประจำเดือน ฯลฯ
.
(5). มีประจำเดือนเร็ว (ก่อนอายุ 11 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (หลังอายุ 55 ปี) ทำให้ช่วงที่มีประจำเดือนนาน ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศหญิงชนิดแรง (estrogen / เอสโทรเจน) นาน
.
(6). ไม่เคยตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะคนที่ตั้งครรภ์ก่อนอายุ 30 ปีจะเสี่ยงน้อยลง) > ช่วงตั้งครรภ์... ฮอร์โมนเพศหญิงอย่างอ่อน (progesterone / โปรเจสเทอโรน) จะออกฤทธิ์เด่น และฮอร์โมนเพศหญิงอย่างแรง (เอสโทรเจน) จะออกฤทธิ์น้อยลง
.
(7). ไม่เคยให้นมลูก
.
การตรวจเอกซเรย์เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม ยกเว้นการตรวจที่ข้อบ่งชี้ถือว่า มีความคุ้มค่า เช่น ถ้าเป็นโรคปอดบวมหรือวัณโรค จะมีโอกาสตายจากโรคมากกว่าอันตรายจากเอกซเรย์ปอด (เพิ่มเสี่ยงมะเร็งประมาณ 1 ในล้าน = เอกซเรย์ 1 ล้านครั้ง เป็นมะเร็งรวม 1 ครั้ง)
.
ภาวะน้ำหนักเกิน-โรคอ้วนอยู่ในขาขึ้นทั่วโลก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า มะเร็งเต้านมน่าจะพบบ่อยขึ้น, วิธีที่ดี คือ หาทางหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงข้างต้น โดยเฉพาะระวังเรื่องน้ำหนักเกิน-อ้วน-ไม่ดื่มหนัก
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin > www.mirkin.com > Source: 33rd Annual San Antonio Breast Cancer Symposium, 12/7/2011.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 14 ธันวาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 471269เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2011 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท