ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การเงินและการธนาคาร เทอม 2 / 2554 หมู่ 002


Money & Banking

Good afternoon my lovely students

             Today , Tuesday December , the thirteen , 2011.

             New semester and first year in SSRU.

             You will graduate soon so you must know everything in finance and economic world.

             We 'll communicate in my blog, assignment , homeworks and so on.

             Thank you for joining us , go together and receive your success.

                                  Bye

         Assistant Professor Doctor Krisada

 

My students : early to visit Bank of Thailand , search knowledge and present your impression in that Palace in my BLOG.

 On Tuesday 20 Dec. I’ll go to research in the field of finance at Samut Songkram Province all day so all of you won’t go to class but do your assignment with best effort.

                               Your Professor

                                Dr. Krisada

 

นักศึกษาที่รัก 

ใครไปช้า  ใครเขียนความรู้ที่ได้รับน้อยเกินไป  ให้ทำใหม่เป็นภาษาอังกฤษด้วยครับ

                    ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

My students.

Best wishes to all of you and a Happy New Year. 2012 : 2555

         Your Professor

          Dr. Krisada

 

สอบกลางภาค  ทำเพียง 8 ข้อ

ขอให้โชคดีทุกๆคน  ไม่ต้องทำเรียงข้อ และไม่ต้องลอกโจทย์

                  ขอให้รักษามารยาธในการสอบด้วย

                     ผ.ศ.ดร.กฤษฎา  24/1/2555

 

งานสำหรับนักศึกษาประกอบด้วย

1. งานกลุ่มบทที่ 5 ดัชนีราคาทั้ง 4 ตัว ข้อมูลของปี 2554 ในรูปเล่มรายงานพิมพ์ขาวดำพร้อมแผ่น CD

2. งานเดี่ยวบทที่ 6 เรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ส่งทั้งใน BLOG และพิมพ์ขาวดำเย็บมุมส่งด้วย

       จงใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้เรื่องราวของข่าวสารทางเศรษฐกิจ การเงิน ธนาคาร การเมือง ให้มากกว่าเดิม  ถ้าคุณรู้ว่ามหาวิทยาลัยอื่นเค้าเรียนหนักแค่ไหน แล้วจะหนาว ในที่สุดเค้าจึงได้งานที่ดี เพราะเค้ามีทั้งรุ่นพี่เก่งๆ และบริษัท/ธนาคาร เหล่านั้นเชื่อมั่นในกระบวนการฝึกหนักอย่างนั้น

      ผมหวังว่าพวกคุณคงปรับตัวมากขึ้น

                        ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

                    อังคาร 31 มีนาคม 2555

 

       สวัสดีบ่ายวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555

       วันอังคารที่ 14 ให้ทุกคนไปเรียนรู้ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำรายงานเดี่ยวส่งในวันที่ 21 ตามแนวทางบทที่ 12 และ 13

       ส่วนการบ้านวันนี้คือให้เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์ ส่งทางBlog ภายใน 24.00 น.วันที่ 13 ก.พ.55

             โชคดีในเดือนแห่งความรัก

                  ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

หมายเลขบันทึก: 471092เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2011 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (176)

จากการที่ผมได้ไปเยี่ยมชมแบงต์ชาติมา ทำให้ได้รับคงามรุ้ถึงประวัติความเป็นมาของแบงค์ชาติว่ามีความเป็นมาอย่างไร แล้วได้ชมนิทรรศการ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย ได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับธนบัติต่างๆๆที่เราใช้จ่าย และเงินตราในสมัยก่อนว่ามีรูปร่างแบบไหนในแต่ละยุคหรือรัชการ และเบี้ยต่างๆในสมัยก่อนๆ และการพิมพ์ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นไม่กี่ใบในวาระสำคัญต่างๆ

เยี่ยมมาก คนแรก ควรเขียนความรู้ที่ได้รับมากกว่านี้นะ

เพื่อนๆที่ส่งงาน ไม่ควรเขียนน้อยกว่า 20 บรรทัดนะ

ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

จากที่ดิฉัน นางสาวสุดธิดา คำกุณา ได้ไปเยี่ยมชมแบงค์ชาติในวันพฤหัสบดีที่ 15 เมื่อผ่านมา ดิฉันมีความประทับใจเป็นอย่างมากทั้งประวัฒความเป็นมา อาคารสถานที่ มีความงดงามและทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก เมื่อได้เข้าไปเรียนรู้ ไปสัมผัสก็เป็นอย่างที่อาจารย์เคยพูดไว้ไม่มีผิด เมื่อได้เข้าไปแล้วดิฉันไม่อยากจะกลับออกมาเลย วันที่ดิฉันไปเป็นวันที่ทางแบงค์ชาติได้มีการจัดนิทรรศการพอดี นิทรรศการนี้มีชื่อว่า ''ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย'' จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาศพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ความรู้ที่ดิฉันได้จาการไปเยี่ยมชมแบงค์ชาตืในวันนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เหรียญ และธนาบัตร ไม่ว่าจะเป็นเงินพดด้วง เงินลาด เงินฮ้อย เงินไซซ๊ เหรียญกษาปณ์ ซึ้งได้แบ่งตามยุคตามสมัยไว้อย่างชัดเจน รวมถึงธนาบัตรทั้งธนาบัตรไทยและธนาบัตรต่างชาติด้วย ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเงินและธนาบัตรของไทยว่าได้เปลี่ยนรูปแบบมาหลายรูปแบบแล้วตามยุคตามสมัยของการปกครองอย่างรัยบ้าง และโทษของการปลอมแปลงเงินในสมัยก่อนรุนแรงมากแค่ไหน หากผู้ใดทำการปลอมเหรียญหรือปลอมธนาบัตรมีโทษให้ตัดนิ้วมือไม่สามารถจะจำหรือหยิบสิงของได้อีก ไม่ใช่แค่คนที่ปลอมที่จะโดนทำโทษแต่รวมถึงผู้สมคบคิด ผู้รู้เห็นแต่ไม่แจ้งทางการ ก็จะได้รับโทษเช่นเดียวกันแต่โทษนั้นจะหนักเบาแตกต่างกันออกไป ความรู้ที่ดิฉันได้รับมาวันนั้นคุ้มค่ากับการเข้าไปเยี่ยมชมเป็นอย่างมากแล้วยังได้รับขิงที่ระลึกมาอีกด้วย

ขออภัยอาจารย์ด้วยนะคะที่ไม่ได้ลงรูปที่ถ่ายที่แบ้งชาติ หนูไม่มีรูปที่ถ่ายที่แบงค์ชาติจริงๆ

รูปถ่ายของสุธิดาคับ พอดีผมถ่ายไว้

จากการที่ผมได้ไปเยี่ยมชมแบงค์ชาติไทยมา และชมจัดนิทรรศการ "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ทำให้ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเงินตราต่างๆในสมัยก่อนในแต่ละยุคและสมัยว่ามีการใช้จ่ายอย่างไรและมีรูปร่างแบบใดในสมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนเงินตราไม่ได้เหมือนกับสมัยปัจจุบัน แถมยังมีรูปร่างที่แปลกและใหญ่ ลำบากแก่การพกหรือใช้จ่ายต่างๆ และมูลค่าจะน้อยกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆในแต่ละยุคสมัยมีการพัฒนาให้มีค่ามากกว่าเดิมและพกพาง่ายซึ่งจะสะดวกในการใช้จ่าย และเงินตราในสมัยก่อนจะเรียกว่าเบี้ยหรืออื่นๆ สมัยก่อนจะไม่เป็นแบงค์แบบนี้แต่จะเป็นพวกหอยและหินเป็นต้น แต่มูลค้าก็จะน้อยกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก การพัฒนาในแต่ละยุคถือว่าเป็นความสำคัญมกเพราะกว่าจะมาถึงปัจจุบัน คนสมัยก่อนต้องใช้จ่ายอย่างลำบาก เพราะปัจจุบันใช้จ่ายง่ายกว่าอย่างมากมีทั้งธนาคารและระบบออนไลน์ซึ่งจะใช้จ่ายได้รวดเร็วและทันสมัยเป็นอย่างมากเลยทีเดียว และระบบสกุลเงินไทยในสมัยก่อนจะไม่เรียกว่าบาท จะเรียกว่า หาบ ชั่ง ตำลึง พดด้วง เป็นต้น ซึ่งจะมีเครื่องชั่งเงินและเราจะต้องเรียกเงินที่ชั่งตามเครื่องชั่ง และได้เงินเงินตราจำพวกเงินตราสมัยสุววรณภูมิแล้วก็พวกเงินตรายุคแลกของโลก เงินตราทราวดี เงินตราศรีวิชัยเป็นต้น ซึ่งจะมีมูลค่าแตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบันถือว่ามีมูลค่ามากเพราะหายาก และนอกจากได้รู้ถึงเงินตราสมัยก่อน ยังได้ชมเกี่ยวกันธนบัตรต่างๆที่มีการจัดแสดงให้เหนในแต่ละสมัยว่ามีรูปร่างยังไง และแตกต่างกันยังไงในแต่ละสมัย สมัยก่อนเงินตราจะใหญ่กว่าสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมาก และที่นิทรรศการได้จัดให้ชมถึงธนบัตรที่หายากและจัดทำขึ้นไม่กี่ใบในวาระต่างๆซึ่งสวยมาก ซึ่งผลิตขึ้นมาไม่กี่ใบเท่านั้น ซึ่งเป็นธนบัตรที่หาชมยากและไม่เคยไปจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ซึ่งผมดีใจมากที่ได้ไปชมเพราะไม่เคยจัดที่ไหนมาก่อน ได้รับความรู้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว และได้ทราบอะไรๆหลายอย่างเกี่ยวกับแบงค์ชาติที่ไม่เคยทราบมากก่อนทำให้ผมจึงเห็นถึงเงินตราที่สำคัญในสมัยก่อนและรู้ถึงคุณค่าของเงินเลยทีเดียว จึงทำให้อยากเก็บเงินสมัยนี้ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานดูว่าแต่ละสมัยมีการพัฒนาอย่างไร และควรที่จะใช้จ่ายอย่างไร เพระาสมัยก่อนได้มีเทคโนโลยีแบบนี้ซึ่งลำบากมากกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก คนเฒ่าคนแก่ต้องลำบากมากในการใช้จ่ายและมีมูลค่ามากในแต่ละอย่าง แต่คนในปัจจุบันเห็นว่าเงินเป็นเรื่องเล็กน้อยและใช้จ่ายกันอย่างฟุ่มเฟือย เพราะคิดว่าเงินทองมันหาง่าย แต่ถึงหาง่ายแต่ไม่รู้จักใช้ยังไงก็จะหมดไป จึงควรที่จะเห็นคุณค่าของเงินและใช้จ่ายอย่างประหยัด นับถือว่าเป็นบุญตาของผมจริงๆที่ได้ไปเยี่ยมชมนิทรรศการครั้งนี้ที่จัดขึ้น เพราะไม่เคยได้ไปมาก่อนแร้วได้ไปจึงมีความรู้สึกดีใจทีได้มาและได้เห็นแบงค์ชาติ และได้ใบความรู้กลับมา และเข็มกลัดที่ระลึกงาน ภัทรมาหหาราช ธนบัตรชาติไทย กับเหรียญวังขุนพรหม ซึ่งดีใจมากที่ได้

นาย จิรพัฒน์ วงษ์นารี

จากการที่ดิฉันนางสาวจารวรรณ ภู่สะอาด นักศึกษาการเงินการธนาคาร ห้อง2 ได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหมมานั้น ทำให้ดิฉันได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในสถานที่แห่งนี้มีทั้งเงินตราสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยภายในห้องต่างๆนั้นจะมี Multtmedia ที่แสดงให้รู้ถึงวิธีการทำเงินตราต่างๆในหลายวิธี ดิฉันได้รู้ว่าสมัยอดีตนั้นมีเงินตราที่ไม่เหมือนกับปัจจุบันเพราะเงินตราในสมัยอดีตนั้นเป็นคล้ายกับก้อนหินแต่มีลวดลายและมักจะพกพาไม่ค่อยสะดวกมากนัก โดยลักษณะของเงินตรานั้นได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเงินตราในสมัยอดีตนั้นนิยมเรียกว่าเบี้ย พอดิฉันเดินไปชมอีกห้องหนึ่งดิฉันได้รู้ถึงวิธีการทำธนบัตร ดิฉันได้รู้ว่าการทำธนบัตรนั้นเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำธนบัตรมาใช้ภายในประเทศ แต่ในสมัยอดีตนั้นคนไทยจะใช้เงินกระดาษในการซื้อขายสินค้า พอมาถึงสมัยปัจจุบันก็พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย นอกจากนี้ภายในห้องชมธนบัตรยังสอนให้มีการสังเกตธนบัตรปลอมอีกด้วย และภายในห้องต่างๆจะมีคอมพิวเตอร์ให้ได้ศึกษาเกร็ดความรู้เพิ่มเติมและการตอบคำถามเกี่ยวกับเงินตราต่างๆทั้งเหรียญกษาปณ์ และธนบัตร พอดิฉันเดินชมตำหนักใหญ่เสร็จแล้วก็เดินไปชมสมเด็จต่อโดยตำหนักนี้จะมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ซึ่งตำหนักนี้จะจัดแสดงธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธนบัตรที่ระลึกในวาระสำคัญต่างๆ ธนบัตรเลขสวยที่หาชมได้ยาก และมีการสาธิตการแกะแม่พิมพ์ธนบัตร นอกจากนี้ยังได้ชมการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงลำบากขนาดไหน ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ดิฉันได้รู้ประวัติความเป็นมามากมาย ได้รู้ว่าเงินตราและธนบัตรต่างๆมีลักษณะอย่างไร มีการพัฒนาขึ้นมาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนัันดิฉันรู้แล้วว่าเงินนั้นหายากมาก เราจึงควรจะใช้อย่างจำเป็นไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัด อดออมไว้ใช้ในยามคับขัน การชมครั้งนี้ดิฉันได้ประโยชน์อย่างมากและจะนำเรื่องดีๆแบบนี้ไปบอกต่อให้บุคคลอื่นได้รู้และได้มาชมกัน สุดท้ายก่อนดิฉันจะกลับนั้นพี่ที่เป็นพนักงานก็ได้ใหดิฉันทำแบบประเมินและได้เข็มกลัดที่ระลึก ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการไปเยี่ยมชมครั้งนี้เป็นอย่างมากค่ะ

(เพิ่มเติม)ภายในตำหนักใหญ่ยังมีห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดิฉันจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยเพราะเป็นห้องที่สำคัญอีกห้องหนึ่ง โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับการก่อตั้งธนาคาร รวมไปถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและมีของที่ผู้ว่าการแห่งประเทศไทยได้รับพระราชทานแก่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดไว้ให้ชมอีกด้วย และอีกห้องหนึ่งนั้นเป็นห้องบริพัตร ซึ่งห้องนี้จะมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ และประวัติของท่านอยู่ด้วย มีหุ่นจำลองขนาดจิ๋วที่เล่นด้วยตรีไทยบรรเลงให้ชม นอกจากนี้ในตำหนักที่จัดนิทรรศการดฺฉันได้เจอป้าคนหนึ่งท่านเป็นคนที่ชอบสะสมธนบัตรรุ่นเก่าๆไว้ ดิฉันก็ได้รู้เพิ่มเติมจากป้าว่าบุคคลที่เซ็นต์ธนบัตรนั้นไม่ได้เป็นบุคคลคนเดียวกัน รู้สึกดีใจที่ป้าท่านจำได้เกือบหมดเลยว่าบุคคลไหนบ้างที่ได้เซ็นต์ธนบัตรไว้ มันยิ่งทำให้ดิฉันอยากรู้ไปอีกว่าในเวลาต่อๆไปจะมีการเปลี่ยนแปลงธนบัตรอีกไหมและจะเปลี่ยนไปเป็นแบบใด ความรู้ในครั้งนี้ดิฉันจะจำและเก็บภาพบรรยากาศที่ได้ไปชมไว้ตลอดไปค่ะ

จากการที่ดิฉันได้ไปเยี่ยมชมได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สิ่งเรกที่ข้าพเจ้าประทับใจที่ได้ไปเยี่ยมชมคือดิฉันได้พบกับบรรยากาศที่สงบร่มรื่นและสวยงามเป็นอย่างมากของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และต่อจากนั้นดิฉันก็ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการมากมาย ทั้งเงินตราใน สมัยต่างๆ การจัดทำ เงินตราในสมัยต่างๆ และได้มีภาพเงินตราในสมัยต่างๆ พร้อมประวัติพอสังเขป ทำให้เราทราบถึงความเป็นมาของเงินตรา มีภาพของเงินตราในสมัยต่างๆ มีการแสดงเงินตราหรือเบี้ยของสมัยต่างๆ ซึ่งตัวอย่างของเงินตราในสมัยต่างๆนั้นสวยงามมาก เช่นเงินพดด้วง เป็นต้น นอกจากนี้การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นเรียกว่าเป็นการดึงดูดสายตาของผู้เข้าชมได้เป็นอย่างดี ต่อมาดิฉันก็ได้เข้าไปการเสดงนิทรรศการของเงินตราในสมัยต่างๆ ได้เห็นตัวอย่างของพันธบัตรที่สวยงามมาก ซึ่งตัวอย่างของพันธบัตรก็มีหลายแบบให้เราได้เลือกชม นับว่าเป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกสถานที่หนึ่งหากได้เข้าไปเยี่ยมชม การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในครั้งทำให้ดิฉันได้เปิดโลกทัศน์ในเรียนรู้ได้เป็นอย่างมากยิ่งขึ้นจากการเข้าไปเยี่ยมชม ความประทับใจของดิฉันมีมากมายตั้งแต่เมื่อดิฉันได้เข้าไปในเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันเพิ่งเคยมาเป็นครั้งแรก ก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก พนักงานทุกท่านก็ทักทายด้วยความยิ้มแย้มท่าทางเป็นมิตรแก่ผู้ที่ได้เข้าไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ดิฉันประทับใจอีกเรื่องหนึ่ง มีการบริการที่น่าประทับใจ บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ก็มีการแสดงดนตรีคลอไป ทำให้ได้บรรยากาศเป็นอย่างมาก เพลงก็ไพเราะน่าฟัง พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติสถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งประวัติบทบาทหน้าที่การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการแสดงเหล่านี้โดยเฉพาะการแสดงนิทรรศการ พันธบัตรของประเทศไทยว่ามีกี่แบบทำให้ดิฉันสนใจเป็นอย่างมากเพราะได้เห็นพันธบัตรที่สวยงามมากมายในหลายแบบ ได้เห็นวิวัฒนาการพันธบัตรตั้งแต่สมัยแรกจนถึงสมัยปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ภาพบรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ก็ดูสงบ พร้อมกับการแสดงนิทรรศการที่น่าสนใจในทุกจุดที่ได้เข้าไปเยี่ยมชม ห้องที่แสดงวิวัฒนาการของเงินตราในสมัยก่อนก็น่าสนใจดึงดูดสายตาของดิฉันได้เป็นอย่างมากเพราะมีสื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัย และเมื่อข้าพเจ้าได้อ่านประวัติของเงินตราพร้อมกับดูสื่อมัลติมีเดียก็ทำให้ดิฉันได้เข้าใจมากขึ้น สุดท้ายเมื่อดิฉันได้เดินทางกลับดิฉันก็รู้สึกประทับใจอย่างไม่รู้ลืมจากการที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมและจะไม่พลาดโอกาสที่จะเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่วังบางขุนพรหมอีกแน่นอนในครั้งต่อไป

  พิพิธพัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรหม สำหรับดิฉันเป็นสถานที่ให้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ และที่สำคัญคือบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางของประเทศ ก้าวแรกที่เดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ก็ต้องตระลึง กับสถานที่และความงดงาม พี่ๆที่นั่นก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเดินเข้าไปศึกษา สำหรับห้องแรกที่ได้เข้าไปคือ “ห้องเปิดโลกเงินตราไทย” ห้องนี้ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับเงินตราในสมัยต่างๆ และมีเรื่องราวที่ย้อนอดีตสุวรรณภูม ดินแดนทองของการค้า ตั้งเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินตราก็ใช้เครื่องประดับ ลูกปัด อาวุธแทนเงิน และเมื่อเวลาต่อมาก็มีการเริ่มใช้เงินตรามาเป็นสื่อในการซื้อสินค้า นอกจากเรื่องราวของประวัติก็ได้เห็นเงินตราของสมัยต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น เงินตราสมัยโบราณ  เงินพดด้วง  และเงินกษาปณ์ไทย ที่วิวัฒน์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในห้องนี้นอกจากมีเงินตราแล้วยังมี Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้เข้าใจมากขึ้น ถือเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สนุกสนาน เละสุดท้ายของห้องนี้ก็เป็นห้องกษาปณ์ไทย  ห้องที่สองคือ “ห้องธนบัตรไทยเละธนบัตรต่างประเทศ” ห้องธนบัตรไทยนี้ก็จัดแสดงธนบัตรที่หายาก หรือแทบจะไม่เคยพบเห็นเลย นอกจากที่นี่ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นธนบัตรแบบแรก ที่เรียกกันว่าเงินกระดาษ หรือหมาย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4  และธนบัติสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ก้ยังมีธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรที่สวยงามน่าเก็บสะสม และยังได้เรียนรูเพิ่มเติมจาก Diorama แสดงถึงเรื่องราวของธนบัตรไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รู้จักวิธีการผลิตธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตไทย ได้พบกับธนบัตรต่างประเทศอีกมากมาย สำหรับห้องที่สามที่ได้เข้าชมคือ “ห้องบริพัตร” เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ที่ประทาน กำเนิดวังบางขุนพรหม สถานที่ที่งดงามแห่งนี้ และยังได้พบกับ หุ่นจำลองของพระองค์ และสิ่งของที่ทรงคุณค่า เช่น  ฉลองพระองค์ เคื่องประดับส่วนพระองค์ และสิ่งของต่างๆ  อีกมากมายที่เกี่ยวกับท่านและเต็มไปด้วยความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จากที่ไหนมาก่อน และที่สุดท้ายที่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้นั่นคือ ตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจัดนิทรรศการ “ ภัทรมหาราช ธนบัตชาติไทย” ที่นี้ก็จัดแสดงธนบัตรมากมาย ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งธนบัตรในอดีต ธนบัตรปัจจุบัน ธนบัตรที่ระลึกมากมาย และยังได้ความรู้เกียวกับพระกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย การที่ดิฉันได้เข้าไปเยี่ยมชมในวันนี้ได้รับความรู้มากมายเบบมี่ไม่เคยรู้จากที่ไหนมาก่อน แม้เต่ในอินเตอร์เน็ตก็ยังให้ความรู้ไม่เท่ากับการได้เข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองค่ะ

นางสาวศศิธร ดอนซ้าย

จากการได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ให้ไปศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ( The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace ) การได้ก้าวไปถึง ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนเข้าวังก็ได้พบกับพี่ๆพนักงานที่ประจำการอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนจะเข้าเยี่ยมชมต้องมีการแลกบัตรประชาชนก่อน พอก้าวแรกที่ดิฉันเข้าไปก็ได้พบกับห้องน้ำในสมัยก่อน ซึ่งดูสวยงามและเรียนง่าย ดู ดีมีสไตล์ จากนั้นก็มีพี่พนักงานเดินมาต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมกับแนะนำภายในพิพิธภัณฑ์ว่า ชั้นล่างประกอบด้วยห้องอะไรบ้าง และชั้นบนประกอบด้วยอะไรบ้าง พอได้รับการแนะนำเนิ่น ๆ จากพี่เสร็จ พี่ๆก็ได้ปล่อยให้ดิฉันและเพื่อนเข้าชมนิทรรศการงาน ตามอัธยาศัย จากการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรหม ดิฉันก็ได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระปรมิรทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2536 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์และบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวังบางขุนพรหม เพื่อให้ศึกษาหาความรู้ตามอัธยาศัย ภายในชั้นแรกห้องที่ดิฉันเข้าชม คือ ห้องเปิดโลกเงินตราไทย (Thai Currency Discovery Room ) ภายในห้องนี้ดิฉันได้เห็นเงินตราต่างๆ ตั้งแต่อดีตสุวรรณภูมิดินแดนของการค้าก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมันทราวดีเริ่มมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ในห้องนี้ดิฉันได้เห็นเงินในสมัยก่อน เช่น เงินพดด้วง ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วมาก ๆ และถุุงใส่เงิน และMultimmedia ที่ได้แสดงถึงวิธีการทำเงินพดด้วงทีละขั้นตอนอย่างละเอียด พร้อมคำอธิบายไปด้วย ซึ่งบ่งบอกได้ว่าคนสมัยก่อนคงจะใจเย็นมาก ต่อมาดิฉันได้เข้าเยี่ยมชมห้องต่อไปคือ ห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ ( Thai Banknotes Room and Foreigh Banknotes Room ) ห้องนี้ดิฉันได้พบการการจัดแสดงเงินกระดาษ แบบแรกที่ เรียกว่า หมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 และภายในห้องดิฉันยังได้พบกับวัตถุโบราณที่ล้ำค่า เช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ ได้พบเห็นเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาบูรพา ผ่านทาง Diorama สนุกกับการเล่นเกมส์หลายชนิดผ่านทางสื่ออันทันสมัย และดิฉันยังได้พบเห็นกับ ธนบัตรแบบร่างสี ธนบัตรแบบบแรกที่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตธนบัตรไทย นอกจากนี้ดิฉันยังได้พบกับห้องธนบัตรต่างประเทศ ดิฉันได้พบกับธนบัตรอันแปลกตาที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน จากนั้นดิฉับกับเพื่อนๆก็ได้ขึ้นไปบริเวณชั้นที่ 2 ของ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งบันไดทางขึ้นชั้นสองใหญ่โตและสวยงามเป็นอย่างมาก ห้องแรกของชั้นสองที่ดิฉันเลือกเข้าชม คือ ห้องบริพัตร ( Paribatra Room ) พอเข้าไปในห้องนี้ดิฉันก็ได้พบกับประติมากรรมที่งดงามของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งมีขนาดเท่าพระองค์จริง ในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือดิฉันได้ศึกษาภายในห้องได้จัดแสดงถึงประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งท่านเป็นบุคคลที่กำเนิดวังบางขุนพรหม ภายในห้องยังมีจอภาพแนวตั้งสองจอสื่อมายาภาพ ( Magic Vision ) จำลองเหตุการณ์จริง ในวันที่เสียงเพลง Hungarian Rhapsody No 2. ขับกล่อมผู้มาเยือน และยังมีหุ่นดนตรีไทยจำลองขนาดจิ๋วคอยบรรเลงอย่างสวยงาม ในห้องนี้แบบจำลองที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ให้ดิฉันได้พบเห็นอีกด้วย และยังได้จัดแสดงสิ่งของอันทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ชุดสุดท้าย ไว้ให้เยี่ยมชมอีกด้วย หลักจากนั้นดิฉันก็ได้ ไปเข้าเยี่ยมชม ห้องต่อไป คือ ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ( Bank of Thailand History and Records Room ) การเข้ามาเยี่ยมชมห้องนี้สิ่งแรกที่ฉันตกใจมากคือ สื่อมายาภาพ ( Ghost Box ) ที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก่าวต้อนรับ ที่เวลาเดินผ่านออกมาโดยอัติโนมัติ ซึ่งมองดูแล้วเหมือนบุคคลตัวจริงมาก ภายในห้องดิฉันยังได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของการธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านทางการ์ตูนสองมิติ ณ ห้องเชิดชูเกียรติ ดิฉันยังได้เห็นประวัติการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน พร้อมรับชมสิ่งของแทนตนจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และยังทำให้ฉันได้รู้ว่าตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ภายในวันนั้นที่ฉันและเพื่อนๆได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวามคม 2554 การจัดงานธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย ได้แก่ ธนบัตรที่อัญเชิญภาพกรณียกิจมาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุการทรงงานอันยิ่งใหญ่ ในนิทรรศการดิฉันยังได้ศึกษาเกี่ยวกับ การบอกเล่าเรื่องราวการทรงงานเพื่ออพสกนิกรในภูมิภาคต่างๆผ่านทางทุรกันดาร เข้าไปทรงแก้ไขปัญหา บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับราษฎรทุกหมู่เหล่าอันเป็นพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่ ที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ และสุดท้ายดิฉันยังได้เข้าชม โซนธนบัตรหายากของรัชกาลปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรเลขสวย แบบร่างสี ระหว่างการชมได้พบกับป้าคนนึงป้า เก็บสะสมธนบัตรหายาก มาหลายรุ่น ถ้ารวมมูลค่ารวมในเล่มคงจะหลายหมื่นบาท ดิฉันได้สอบถามป้าว่า ส่วนมากเก็บดูจากอะไร ป้าก็บอก เลขสวยบ้าง ลายเซ็นต์ในธนบัตรไม่เหมือนกันบ้าง แล้วแต่ละรุ่นไป ทำให้ฉันได้รู้ว่าลายเซ็นต์แต่ละรุ่น จะต่างกันไป เราต้องรู้จักสังเกตดี ๆ

จากการที่ดิฉันได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ก้ได้ ความรู้ต่างๆ มากมายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้รับความรู้จากบุคคลอื่นอีกด้วย และยังนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษาได้อีกด้วย ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีสร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก ก่อนกลับได้กรอกแบบสอบถาม แล้วได้รับเข็มกลัดเป็นรูปในหลวงกลับมาอีกด้วย

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์ ( คนที่ 2 นับจากซ้ายมือ )

รหัสนักศึกษา 54127326054

Money & Banking Group 02

จากการที่ไปชมนิทัศการณ์ที่พิพิธภัณฑ์ในสถานที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารแห่งชาติ ส่วนที่หนึ่งเป็ส่วนที่ได้รับรู้ถึงเรื่องราวด้านประวัติของเงินในสมัยก่อนๆ ตั้งยุคแรกๆ จนถึงยุคปัจจุบัน ได้เห็นลักษณะเบี้ยของสมัยก่อนที่ใช้เป็นเงินในการแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยก่อน หรือจะเป็นเหรียญในลักษณะต่างๆ ที่แกต่างกันไป ในพิพิธภัณฑ์ยังมีแบบจำรองในการทำเงินในสมัยก่อน พร้อมทั้งบอกประวัติของเหรียญในสมัยยุคต่างๆที่เกิดในรัชกาลต่างๆ รวมถึงมีสื่อในการเล่าเรื่องกรค้าขายของคนในสยามกับชนชาติอื่นๆที่น่าสนใจและน่าเป็นสื่อที่บอกถึงการกำเนิดของหน้าตาเงินที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างชาติอื่นๆกับชาติสยาม

ส่วนที่สองเป็นส่วนที่เป็นการแสดงถึงพระกรณียากิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่9) ที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาด้านเกษตรกรของปวงชนชาวไทย ให้มีความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ทั้งคนและธรรมชาติให้มากที่สุด อาทิเช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินฟังทลาย เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ธนาคารแห่งชาติจึงมีการพิมพ์ธนบัตรเป็นที่ละลึกแก่ชาวไทย ให้ชาวไทยได้เก็บไว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวหรือเป็นที่ละลึกไว้ให้คนรุ่นหลังไว้ชม ด้านการต้อนรับของพนักงานนั้น พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง พร้อมทั้งยังให้คำอธิบายแก่ข้าพเจ้าเพื่อให้รู้ถึงความเข้ใจอย่างระเอียด

เมื่อเห็นและเรียนรู้จากการที่ไปชมพิพิธภัณฑ์นั้นทำให้ข้าพเจ้านกถึงค่าของเงินแต่ละบาทแต่ละสตางค์ที่ใช้ในปัจจุบันมองเห็นถึงคุณค่าถึงแม้จะเป็นแค่เศษเงินในสมัยนี้แต่พอนึกถึงในสมัยก่อนนั้นเงินแค่นี้เป็นเงินที่มีค่ามากสามารถแรกชีวิตและอิสระของคนได้ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าต้องใช้เงินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดที่จะทำได้

นางสาวหทัยชนก สืบศักดิ์ เอกการเงินการธนาคาร ห้องงเรียน02 รหัสนักศึกษา54127326051

คับจาการที่ผมได้ไปที พิพิธพันธ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าไปนะคับผมรู้สึกประทับใจในการบริการของพี่ ๆ ที่พิพิธพันธ์มากคับ ยิ้มแย้มแจ๋มใส และให้ความรู้ได้อย่างละเอียดมากเลยทีเดี่ยว ส่วยแรกที่ผมได้เข้าไปดุ คือ ส่วนของห้องเปิดโลกเงินตราไทย ซึ้งทำให้ได้รุประวัติความเป็นมาของ เหรียญ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ทำให้ผมได้รุ้วิวัฒนาการของเหรียญในยุคต่าง ๆ มากมายทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็น เรายังสามารถเรียนรู้เรื่องเงินตราในยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านจอ Computer Kiosk ซึ่งมีเนื้อหาในการสืบค้นอย่างละเอียดรอบด้านและส่งท้ายของการเรียนรู้ในห้องเปิดโลกเงินตราด้วยตู้หยอดเหรียญกษาปณ์ที่ผู้ชมสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์โดยย่อ แต่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้องยังมีเกมส์ให้เราได้เล่นและยังแจกของกินให้ทานกันด้วยคับ จากนันผมได้ไปดูในส่วนของ พันธบัตรไทย ทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของพันธบัตรไทย มากมาย หลายรุ่นทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็น ผมประทับใจมากคับสำหรับส่วนนี้ได้รู้ถึงวิธีการทำพันธบัตร ซึ่งมีวิธีการทีซับซ้อน มากมายมาย หลายขั้นตอน กว่าที่เราจะได้พันธบัตรมาและลายเส้นที่สวยงามวิจิตร และยังได้เห็นพระกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ชั้นสองที่ผมได้เข้าชม คือ ห้องบริพัตร ( Paribatra Room ) พอเข้าไปในห้องนี้ดิได้พบกับประติมากรรมที่งดงามของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งมีขนาดเท่าพระองค์จริง ในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือและได้ศึกษาภายในห้องได้จัดแสดงถึงประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งท่านเป็นบุคคลที่กำเนิดวังบางขุนพรหม ภายในห้องยังมีจอภาพแนวตั้งสองจอสื่อมายาภาพ ( Magic Vision ) จำลองเหตุการณ์จริง ในวันที่เสียงเพลง Hungarian Rhapsody No 2. ขับกล่อมผู้มาเยือน และยังมีหุ่นดนตรีไทยจำลองขนาดจิ๋วคอยบรรเลงอย่างสวยงาม และยังได้จัดแสดงสิ่งของอันทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ชุดสุดท้าย ไว้ให้เยี่ยมชมอีกด้วย หลักจากนั้นดิฉันก็ได้ ไปเข้าเยี่ยมชม ห้องต่อไป คือ ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ( Bank of Thailand History and Records Room ) การเข้ามาเยี่ยมชมห้องนี้สิ่งแรกที่ประทัยใจคือ สื่อมายาภาพ ( Ghost Box ) ที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก่าวต้อนรับ ที่เวลาเดินผ่านออกมาโดยอัติโนมัติ ซึ่งมองดูแล้วเหมือนบุคคลตัวจริงมาก ภายในห้องได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของการธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านทางการ์ตูนสองมิติ ณ ห้องเชิดชูเกียรติ ยังได้เห็นประวัติการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน พร้อมรับชมสิ่งของแทนตนจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และยังทำให้ได้รู้ว่ามีผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จากการได้ไปพิพิธภัณฑ์ในครั้งนี้ผมได้รับความรู้ถึงประวัติมากมายเกี่ยวกับ ความเป็นมาของพันธบัตร และประวัติศาสตร์อย่างมากมาย ซึ่งจะทำให้ผมไม่ลืมที่ได้เคยไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ทีดีและมีประโยนช์อย่างนี้เลย ....

นายสุริยา พลขันธ์

เอกการเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326081

วันที่ 15 ธันวาคม 2554 เป็นวันที่ดิฉันได้ไปที่ "พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรหม" ( The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace ) สำหรับดิฉันเป็นสถานที่ให้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ และที่สำคัญคือบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางของประเทศ ก้าวแรกที่เดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ก็ต้องตระลึง กับสถานที่และความงดงาม พี่ๆที่นั่นก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเดินเข้าไปศึกษา สำหรับห้องแรกที่ได้เข้าไปคือ “ห้องเปิดโลกเงินตราไทย” (Thai Currency Discovery Room ) ห้องนี้ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับเงินตราในสมัยต่างๆ และมีเรื่องราวที่ย้อนอดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้า ตั้งเเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินตราก็ใช้เครื่องประดับ ลูกปัด อาวุธแทนเงิน และเมื่อเวลาต่อมาก็มีการเริ่มใช้เงินตรามาเป็นสื่อในการซื้อสินค้า นอกจากเรื่องราวของประวัติก็ได้เห็นเงินตราของสมัยต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น เงินตราสมัยโบราณ เงินพดด้วง และเงินกษาปณ์ไทย ที่วิวัฒนาการขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในห้องนี้นอกจากมีเงินตราแล้วยังมี Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้เข้าใจมากขึ้น ถือเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สนุกสนาน เละสุดท้ายของห้องนี้ก็เป็นห้องกษาปณ์ไทย ห้องที่สองคือ “ห้องธนบัตรไทยเเละธนบัตรต่างประเทศ” ( Thai Banknotes Room and Foreigh Banknotes Room ) ห้องธนบัตรไทยนี้ก็จัดแสดงธนบัตรที่หายาก หรือแทบจะไม่เคยพบเห็นเลย นอกจากที่นี่ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นธนบัตรแบบแรก ที่เรียกกันว่าเงินกระดาษ หรือหมาย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และธนบัตรสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ก้ยังมีธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรที่สวยงามน่าเก็บสะสม และยังได้เรียนรู้เพิ่มเติมจาก Diorama แสดงถึงเรื่องราวของธนบัตรไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รู้จักวิธีการผลิตธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทย ได้พบกับธนบัตรต่างประเทศอีกมากมาย สำหรับห้องที่สามที่ได้เข้าชมคือ “ห้องบริพัตร” ( Paribatra Room ) เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ที่ประทาน กำเนิดวังบางขุนพรหม สถานที่ที่งดงามแห่งนี้ และยังได้พบกับ หุ่นจำลองของพระองค์ และสิ่งของที่ทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ เครื่องประดับส่วนพระองค์ และสิ่งของต่างๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับท่านและเต็มไปด้วยความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จากที่ไหนมาก่อน และที่สุดท้ายที่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้นั่นคือ "ตำหนักสมเด็จ" ( Tamnak Somdej) ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจัดนิทรรศการ “ ภัทรมหาราช ธนบัตชาติไทย” ที่นี้ก็จัดแสดงธนบัตรมากมาย ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งธนบัตรในอดีต ธนบัตรปัจจุบัน ธนบัตรที่ระลึกมากมาย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับพระกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย สุดท้ายดิฉันก็ได้ร่วมเเสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการเข้าชมนิทรรศการ เเละได้รับของที่ระลึกเป็น เข็มกลัด“ ภัทรมหาราช ธนบัตชาติไทย” ซึ่งดิฉันก็ดีใจมากๆค่ะ การที่ดิฉันได้เข้าไปเยี่ยมชมในวันนี้ได้รับความประทับใจ,ความรู้มากมายแบบที่ไม่เคยรู้จากที่ไหนมาก่อน แม้แต่ในอินเตอร์เน็ตก็ยังให้ความรู้ไม่เท่ากับการได้เข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองค่ะ

"The Bank of Thailand Museum at Bangkhunprom palace's a place for both knowledge and impressive. I hope the future will have the opportunity to work here."

นางสาวศศิธร ดอนซ้าย

รหัส 54127326071

(คนที่ 3 นับจากซ้ายมือ)

ดิฉันนางสาวอัษฎางค์ คงอยู่ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อในวันที่ 15ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2485 เป็นสถาบันการเงินที่มีความสวยงาม และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านการเงินที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน อาทิเช่น ประวัติและวิวัฒนาการของเงินตราของประเทศในแต่ละยุคสมัย ทั้งวิธีการและกรรมวิธีการผลิตที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และลำบากกว่าจะได้เหรียญและธนบัตรแต่ละชนิดออกมา รวมถึงบทลงโทษผู้ปลอมแปลงธนบัตรหรือผู้สมคบคิด ก็จะได้รับบทลงโทษแตกต่างกันไป โดยผู้ลงมือปลอมแปลงจะได้รับการลงโทษรุนแรงที่สุด คือ ตัดนิ้วมือ นอกจากนี้ยังแสดงประวัติบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งประวัติบทบาทหน้าที่การดำเนินงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ภายในยังได้จัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชมน์พรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ของไทย โดยจัดแสดงเงินตราในแต่ละยุคสมัย ธนบัตรเลขสวย และพระราชดำรัสที่พระองค์ทรงได้พระราชทานให้แก่บุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล อาทิเช่น “เป็นหนี้ใครไม่สมควร” “ ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ” หรือ “อุ้มชูตัวเองได้” ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประชาชนชาวไทยทุกคนสามารถน้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความสุขและความมั่นคงให้กับตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ

ในการเข้าชมสถานที่แห่งนี้ ได้สร้างความประทับใจ และภาคภูมิใจกับดิฉันเป็นอย่างมาก ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจที่ประเทศไทยสามารถจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้สำเร็จและยังดำรงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเงินตราไทย อีกทั้งตัวอาคารและสถานที่ตั้งปัจจุบัน (วังขุนพรหม) ยังแสดงให้เห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ที่จะให้เยาวชนรุ่นดิฉัน และรุ่นหลังๆ ได้ช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป สุดท้ายดิฉัน ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี ที่ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานครั้งนี้ขึ้น ทำให้พวกเรานักศึกษาการเงินทุกคนได้มีโอกาสเข้าชมสถาบันการเงินที่ทรงคุณค่าและได้เรียนรู้เกี่ยวกับเงินตราของไทยเพิ่มมากขึ้น และยังได้รับของที่ระลึกจากงานภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เป็นเข็มกลัดติดเสื้อลายพระบรมฉายาลักษณ์ รูปวงกลมสีเหลือง ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มใจให้กับดิฉัน ทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้นที่จะตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้ เพราะหวังไว้ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะมีโอกาสได้สมัครสอบคัดเลือกเข้าทำงานในสถาบันการเงินแห่งนี้ น่าเสียดายในการเข้าชมครั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพได้ ดิฉันเลยไม่สามารถเก็บภาพหรือรายละเอียดพระราชดำรัสแต่ละคำสอนออกมาเผยแพร่หรือแสดงให้กับคนอื่นๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ไปดูได้เห็น แต่ยังจะคงเก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดีตลอดไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังจัดนิทรรศการ "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ขึ้นในเวลานี้ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งธนบัตรที่นำมาแสดงในงานนี้ ถือเป็นธนบัตรหายาก และล้ำค่า ที่จะพาไปสัมผัสสู่เส้นทางพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดิฉัน สาวรัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน ภายหลังจากที่ทางอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาที่วังบางขุนพรหมหรือธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากว่าภายในมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเงินตราต่างๆมากมายแต่ก่อนที่ดิฉันจะเล่าถึงความประทับใจภายในการจัดงาน ดิฉันขอเล่าภาพบรรยากาศภายนอก เริ่มตั้งแต่ก้าวขาลงมาจากรถภาพที่ดิฉันเห็นคือ วังที่ถูกออกแบบทรงยุโรปมาบนเนื้อที่หลายสิบไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไม่ได้เป็นแต่เพียงที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นหากยังเป็นที่ตั้งของวังบางขุนพรหมซึ่งปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์แห่งประเทศไทยแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเงินตราไทย พื้นที่ถูกจัดสรรและออกแบบได้อย่างลงตัว ทั้งการจัดวาง การเลือกใช้วัสดุเช่น การเลือกใช้ไม้ที่มีงามงดงาม เลือกวิธีการก่อปูนเพื่อสร้างเป็นตัวตึกได้อย่างเหมาะสมและลงตัว ส่วนตัวอาคารของตึกธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันขอเรียกสั้นๆว่า “แบงก์ชาติ” ก็มีความหรูหราดูดีเป็นอย่างมาก ดูน่าเกรงขามเหมาะสมกับการเป็นแบงก์ชาติเป็นอย่างมากพอเราได้เข้ามาภายในตัวของวังบางขุนพรหม ภายในก็ถูกจัดแสดงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ซึ่งบรรยากาศภายในเย็นสบายมากมีห้องโถงใหญ่ มีห้องต่างๆมากมายที่ถูกออกแบบไว้ การเดินเราสามารถเดินตรงได้ตลอดแต่เราก็ออกทางเดิมได้นี่คือการออกแบบอีกอย่างหนึ่งที่ดิฉันก็ประทับใจ เรื่องเงินตราที่จัดมาเพื่อแสดงเล่าถึงประวัติเงินตราตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน อดีตกาลค่าของเงินวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่เหตุที่การพกพาจำนวนมากย่อมทำไม่สะดวกและอาจเป็นอันตราย จึงปรับมาสู่การใช้ "ธนบัตร" เพื่อแลกเปลี่ยนแทน สำหรับประเทศไทยธนบัตรใบแรกถือกำเนิด เมื่อ พ.ศ. 2445 และพัฒนารูปแบบต่างๆในการใช้อย่างแพร่หลาย ผ่านการออกแบบธนบัตรในแต่ละแบบแต่ละโอกาส ซึ่งธนบัตรก็เปรียบเหมือนสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้ในแต่ละยุคสมัย เพราะด้านหนึ่งการผลิตธนบัตรจะต้องเริ่มกำหนดตั้งแต่คอนเซ็ปต์ที่ต้องการเสนอ ไปจนถึงเลือกสรรองค์ประกอบต่างๆ ทั้งภาพและข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ต้องการถ่ายทอดอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้น ธนบัตรแต่ละยุคจึงผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...ที่สำคัญบอกถึง "ยุคสมัย" และเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสยามประเทศสู่ประเทศไทยได้เช่นกัน แต่ละยุคสมัย มีการติดต่อซื้อขายกับชาติต่างๆก็มีการรับเอาเงินตราของต่างชาติเข้ามาด้วย ทั้งเรื่องความเชื่อก็มีผลกับการออกแบบเงินตราอีก และอีกสิ่งหนึ่งที่ดิฉันประทับใจและยืนชมอยู่นานก็คือการการผลิตธนบัตร ซึ่งกว่าที่จะได้ธนบัตรมาซักหนึ่งชุดต้องผ่านกรรมวิธีหลายขั้นตอน รายละเอียดที่ต้องใส่ใจก็มีอยู่หลายจุดเช่นตัวเลขกำกับจะไม่มีซ้ำกัน แล้วธนบัตรที่ผลิตออกมาใช้มีนับไม่ถ้วน พอเดินขึ้นไปชั้นสองของตึกก็มีห้องต่างๆมีอยู่หลายห้อง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ประกอบด้วยห้องสีฟ้าที่เรียบเรียงประวัติของเจ้าของวังบางขุนพรหมที่นี่ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 และห้องสีชมพูที่จัดไว้เพื่อพิธีสำคัญซึ่งก็ไม่ได้เปิดให้เข้าชมเพราะภายในนั้นมีรูปภาพน้ำมันเก่าแก่แล้ว และยังมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์จึงจะใช้ในยามสำคัญของบ้านเมือง พื้นปูด้วยพรหมแดงซึ่งวิทยากรบอกแก่เราว่าพรหมผืนนี้ก็มีราคาหลายล้านบาททีเดียว นี่เราได้เหยียบพรหมแดงที่ราคาแพงมากขนาดนี้เลยหรือนี่ ถัดมาอีกส่วนหนึ่งของตึก ตึกนี้ แนวคิดหลักในการจัดนิทรรศการครั้งนี้คือ “ความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย ที่มา...อยู่ข้างหลังภาพ” ซึ่งผู้เข้าชมจะได้ซาบซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงงานหนักเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่คนไทยตลอด 65 ปี แห่งการครองราชย์ แบ่งออกเป็นทั้งหมดสี่โซนด้วยกันประกอบด้วย

โซนที่ 1 “จากพระราชหฤทัยสู่ประชาราษฏร์” บทนำสู่นิทรรศการ ด้วยกระจกขนาดใหญ่ที่สลักเป็นพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่ปรากฎในธนบัตรที่ระลึก 84 พรรษา พร้อมพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะผู้บริหาร ธปท. ซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551 ซึ่งมีพระราชดำรัส ที่สำคัญว่า “บริหารเงินชาติให้ไม่หมด

โซนที่ 2 “เอกธนบัตรรัชกาลที่9" : จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย” บอกเล่าเรื่องราวพระราชกรณียกิจตั้งแต่ต้นรัชกาล และพระราชกรณียกิจที่ปรากฎในธนบัตร ชมเหตุการณ์เบื้องหลังภาพพระราชกรณียกิจในธนบัตร เล่าเรื่องผ่านวีดิทัศน์สั้นๆ บนจอ IPAD และจุดเด่นของโซนนี้คือ แผ่นพิมพ์ธนบัตรเต็มแผ่นแสดงขั้นตอนการพิมพ์ธนบัตรที่ระลึก 84 พรรษาด้วยเทคนิคที่ล้ำยุค และแสดงภาพต้นแบบธนบัตรด้วย

โซนที่ 3 “เส้นทางแห่งการทรงงาน” สื่อให้เห็นภาพจำลองเส้นทางตลอด 65 ปี แห่งการครองราชย์ที่ได้พระราชดำเนินผ่าน และพระราชกรณียกิจในที่ต่างๆ นำเสนอด้วยเทคนิค SHADOW INTERACTIVE พร้อมภาพ แสง เสียง และ

โซนที่ 4 “เอกธนบัตร รัชกาลที่9" : ธนบัตรหาชมยาก” จัดแสดงธนบัตรรัชกาลที่9 ที่คัดสรรว่าหาชมได้ยาก เช่น ภาพต้นแบบธนบัตรที่ไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ธนบัตรที่หายากและมีมูลค่าสูงของรัชกาลปัจจุบัน ตัวอย่างธนบัตร และธนบัตรเลขสวยเฉพาะหมายเลข 9999999 เป็นต้น

ภาพด้านล่างนี้คือ พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการเงินและเศรษฐกิจจะถูกจัดอยู่ในโซนที่ 1 "จากพระราชหฤทัยสู่ประชาราษฎร์

และดิฉันต้องขอขอบพระคุณทางอาจารย์เป็นอย่างมากที่มอบหมายงานนี้ให้ศึกาา เพราะถ้าธรรมดาแล้วดิฉันคงหาโอกาสเข้ามาดูมาศึกษาอะไรอย่างนี้ได้ยาก......ขอบพระคุณค่ะ

หลังจากที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุมพรม ซึ่งได้เข้าไปชมก็มีพนักงานอธิบายเกี่ยวกับห้องต่างๆรวมถึงห้องที่ห้ามเข้าไปหลังจากได้ฟังพี่พนักงานอธิบายถึงห้องต่างๆแล้ว ก็ได้ไปชมห้องต่างๆ ซึ่งห้องแรกที่ได้เข้าไปชมเป็นห้องเปิดโลกเงินตราไทยซึ่งภายในห้องก็จะแสดงถึงเงินในสมัยต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินตราของสมัยทวารวดี เงินตราของอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรศรีวิชัยสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ทั้งยังมีเงินตราของต่างประเทศเช่น ประเทศจีน ทั้งนั้นภายในห้องยังมีสื่อในการบรรยายให้เห็น และรู้เรื่องราวมากจึ้นไม่ว่าจะสื่อ Multmedia ที่แสดงถึงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง หรือไม่ว่าจะเป็นสื่อที่แสดงถึงการค้าของแผ่นดินอยุธยา และในห้องนี้ก็มีเกมส์จากคอมพิวเตอร์ให้เราได้เล่นกันไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามเงินในสมัยต่างๆ มูลค่าของเงินสมัยก่อนจะมีค่ากี่บาทเมื่อเทียบกับเงินไทย เมื่อดูเสร็จก็ได้ไปดูห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ ซึ่งก็ได้รวบรวมธนบัตรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้ชมการจำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา และขั้นตอนการผลิตธนบัตร ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมากในการแม่พิมพ์และยังได้ไปเล่นเกมส์ซึ่งจะเป็นเกมส์ให้จับคู่ด้านหน้าหลังของธยบัตร พอดูห้องนี้เสร็จก็ได้ขึ้นไปชั้น 2 ไปดูห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งห้องนี้ได้รวบรวมรูปภาพผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้ชมข้าวของของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ และได้รู้ถึงประวัติสาสตร์และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องถัดไปเป็นห้องบริพัตร พอเข้าไปห้องนี้ก็ได้ชม หุ่นของจอมพพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริบัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งปั้นได้มีความละเอียดเหมือนกับคน อีดทั้งยังได้รับชมสื่อหุ่นจำลองวงดนตรีไทยขนาดจิ๋วขยับบรรเลงบทเพลงพระนิพนธ์ “แขกมอญบางขุนพรหม” ชมแบบจำลองตำหนักที่เมืองบัยคุง ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตำหนักที่สวยงาม พอหลังจากได้ชมเรียบร้อยแล้วก็ได้ไปดูนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระขนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ภัทรมหาราช ธนยัตรชาติไทย ซึ่งนิทรรศการนี้ได้แสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ปรากฏอยู่ในธนบัตร อีกทั้งยังได้ชมธนบัตรที่หาได้ยาก และธนบัตรเลขสวย แบบร่างสี พอดูจบก็ได้เข็มกลัดเป็นที่ระลึกกลับมา จากการที่ได้ไปดูพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการมานั้นได้ทั้งความรู้มากกว่าหนังสือ ได้ไปเจอของจริงได้รู้เรื่องราวมากมายที่ไม่เคยได้รู้มากก่อน การไปชมครั้งนี้ได้รับประโยชน์อย่างมาก

นางสาวอุลัย ชำนาญพล

รหัสนักศึกษา 54127326080

(คนที่ 1 นับจากซ้ายมือ)

จากการที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานที่ พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ก็ได้รู้สึกกว่าที่นี่เป็นที่ๆร่มรื่นและมีสถานที่ตั้งที่น่าอยู่และมีแหล่งที่น่าเรียนรู้มากมายและพอดิฉันเข้าไปที่ ตัวพิพิธภัณฑ์ก็ได้เห็นเงินตรามากมายทั้งเงินตราในประเทศและต่างประเทศและในนั้นก็มีพนักงานที่คอยบริการและแนะนำความรู้ต่างๆที่พี่เขารู้มาก็มาถ่ายทอดให้เราใด้รู้ถึงประวัติความเป็นมาว่าพิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้นโดย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์และบทบาทหน้าที่ธนาคารกลางของประตลอดจนเรื่องราวของวังบางขุนพรหม เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

พุทธศักราช 2550 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตค้นแบบ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ อันเป็นสิ่งยืนยันถึงการสืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่สมบูรณ์และได้มาตรฐานสากล

จากที่ดิฉันได้เข้าไปภายในตัวพิพิธภัณฑ์ดิฉันก็เห็นว่าชั้นล่างจะมี ห้องธนบัตรไทยในนั้นก็จะมีเงินกระดาษถึงธนบัตรไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และก็ ธนบัตรไทยในรัชกาลที่ 9 และก็มีห้องธนบัตรต่างประเทศ,ห้องเปิดโลกเรียนรู้ก็จะมีรูปแบบเงินตราโบราณและเงินพดด้วงและก็กษาปณ์ไทย,ห้องเปิดโลกเงินตราไทย ส่วนชั้นบนก็จะประกอบไปด้วย ห้องบริพัตร,ห้องเชิดชูเกียรติ,ห้องจุมภฎพงษ์บริพัตร,ห้องสีชมพู,ห้องสีน้ำเงิน,ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ในแต่ละห้องนี้ก็มีประวัติและความเป็นมาของเงินตราแต่ละชนิดได้มากขึ้น

ขอขอบคุณ อาจารย์ กฤษฎา สังขมณี เป็นอย่างมากที่ทำให้ดิฉันได้ไปศึกษาที่ พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งทำให้ดิฉันได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับรูปแบบของเงินต่างๆและเป็นประสบการที่ดิฉันไปบอกต่อๆไปกับคนที่เขาไม่เคยไปซึ่งจะทำให้เขาได้รู้ถึงคุณค่าและวิธีการผลิตเงินนั้นต้องรอบคอบและพิถีพิถันขนาดไหนกว่าที่จะผลิตเงินได้แต่ละใบ

“ขอบคุณค่ะ”

นางสาว พรรณนิภา ภิรมย์รอด รหัสประจำตัว 54127326049 เลขที่ 5 ( การเงินการธนาคาร 02)

ดิฉันได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย(วังบางขุนพรหม)ในวันที่15ธันวาคม2554ด้านนอกของพิพิธภัณฑ์ถูกตกแต่งด้วยต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ มีความร่มรื่น มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดไม่อนุญาติให้นำสิ่งของเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ห้ามผู้เข้าชมถ่ายรูปด้านในของพิพิธภัณฑ์ ส่วนตัวด้านในพิพิธภัณฑ์ถูกแบ่งออกเป็นหลายโซนด้วยกัน 1.ห้องเปิดโลกเงินตราไทย เป็นการย้อนอดีตตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธฯลฯเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สมัยทวารวดีเป็นยุคแรกที่เริ่มมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ในสมัยสุโขทัยได้ก่อกำเนิดเงินพดด้วงเอกลักษณ์ของเงินตราไทยที่สืบทอดถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์และวิวัฒน์เป็นเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่4 ในห้องนี้ได้รวบรวมสิ่งของต่างๆที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนของแต่ละยุคสมัยของไทย 2.ห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ ธนบัตรแบบแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่5มีการจำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามเอเชียบูรพา ขั้นตอนการผลิตธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทย และห้องธนบัตรต่างประเทศเป็นการรวบรวมเอาธนบัตรของแต่ละประเทศมาไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ผู้สนใจในด้านของธนบัตรต่างประเทศเข้ามาศึกษาและเป็นความรู้ 3.ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ในห้องนี้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารแห่งชาติเมื่อพ.ศ.2482 ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างถูกต้องและครบถ้วน สนุกกับการเล่นเกมทดสอบและทายปัญหาด้วยเครื่องคองพิวเตอร์ การเรียนรู้ในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ การเงินและการธนาคารเป็นเรื่องที่เพลิดเพลินและเข้าใจง่าย 4.ห้องบริพัตร เป็นการจัดแสดงพระประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม ห้องบริพัตรเป็นห้องที่มีพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯมีการแสดงวีดิทัศน์พระประวัติด้วยเทคนิคจอภาพที่ทันสมัย จำลองเหตุการณ์ต่างๆมีหุ่นจำลองวงดนตรีไทยขนาดจิ๋วขยับบรรเลงบทเพลงพระนิพนธ์”แขกมอญบางขุนพรหม” 5.การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย”เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพระกรณียกิจต่างๆที่พระเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานให้แก่ประชาชนชาวไทย และการเก็บรวบรวมธนบัตรไทย เมื่อดิฉันได้เข้าชมงานในครั้งนี้รู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงกระทำให้แก่ชาวไทยและ รู้สึกชื่นชมผู้ที่สามารถเก็บรวบรวมธนบัตรไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และประทับเมื่อได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์และงานนิทรรศการ ดิฉันรู้สึกว่าพี่ๆที่อยู่ในธนาคารแห่งชาติเป็นกันเองมากยิ้มแย้มและคอยอธิบายเกี่ยวกับงานนิทรรศการในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

นางสาวศรัญญา คลังนาค

รหัสนักศึกษา 54127326063

(คนที่ 1 นับจากขาวมือ)

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาว ฟ้าสีทอง ขันตี จากที่ได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหมมานั้นที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นวังที่สวยงามมาก บรรยากาศร่มรื่น ดูสงบด้านข้างของวังก็มองเห็นสะพานพระราม 8 ด้วยสวยมากๆ ตอนเดินเข้าไปรู้สึกตื่นเต้นเพราะเพิ่งเคยมาเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็สวยไปหมดดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับ เงินตราโบราณสมัยทราวดี เหรียญลวปุละที่หาชมได้ยากอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรศรีวิชัย ไม่ว่าจะเป็น พดด้วง เบี้ย หรือ หอย เงินตราภายในประเทศ และ นอกประเทศ มีขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์ อีกทั้งยังได้เข้าร่วมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกด้วยห้องแรกที่เข้าไปก็คือเงินในประเทศที่ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 มีรูปภาพจำลอง และ ของจริงให้เราได้ชมกันอีกทั้งยังมีวิถีชีวิตของผู้คนสมัยนั้นให้ได้ดูด้วยว่าเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร ใช้จ่ายกันอย่างไร แล้วก็ไปที่ห้องของธนบัตรมีทั้งธนบัตร 1 บาทที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การตีพิมพ์ธนบัตร โดยส่วนตัวแล้วหยุดชมจุดนี้นานที่สุดเพราะอยากรู้วิธีพิมพ์ธนบัตรเผื่อบางทีอาจจะแอบจำมาพิมพ์ที่บ้านบ้าง...

แต่ดูแล้วก็คิดว่าคงไม่มีทางที่จะทำได้เพราะขั้นตอนการพิมพ์ธนบัตรมีหลายขั้นตอนมากๆ อีกทั้งยังต้องมีเครื่องพิมพ์อีกเพราะฉะนั้นเราควรตั้งใจเรียน และ ขยันทำงานที่สุจริตจะดีกว่า แล้วยังได้ชมวิธีการสังเกตธนบัตรของปลอม และได้ชมธนบัตรของต่างประเทศอีกด้วย ชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่าเช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศแล้วก็เดิมชมกันต่อไป

เป็นพระราชประติของผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2482มีวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงประวัติและหลักการทำงาน

ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ล่ะท่านแรกจนถึงปัจจุบัน และเข้าชมประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผ้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรม ชมวีดีทัศน์พระประวัติด้วยเทคนิคจอภาพแนวตั้งจำลองเหตุการณ์จริง

ในวันที่เสียงเพลง Hungarian Rhapsody No.2 ขับกล่อมผู้มาเยื่อนเมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมา หุ่นจำลองวงดนตรีไทยขนาดจิ๋วขยับบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ "แขกมอญบางขุนพรหม" นอกจากนี้ยังมีสิ่ง่จัดแสดง เช่น ฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายแหนบบริพัตร เครื่องมุกส่วนพระองค์ โน๊ตเพลงลายพระหัตถ์ หลังจากได้เยี่ยมชมจำครบแล้วดิฉันและเพื่อนๆ ก็ได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก :)

หลังจากที่ผม นายสุเทพ ใจเย็น ได้ไปศึกษาหาความรู้ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย(วังบางขุนพรหม)

ผมได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับประวัติของธนาคารแห่งชาติในหลายๆมุม เช่น ได้รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทร์รมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2536 ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเงินตรา ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการพัฒนามากน้อยเพียงใด รวมทั้งจัดแสดงทั้งธนบัตรของประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้างไว้ ณ ที่นี้ด้วย จัดแสดงทางด้านประวัติศาสตร์และบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลาง ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวังบางขุนพรหม

ผมได้รับความประทับใจมากมายหลายอย่าง เช่น ทำให้ผมเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่เกิดมาอยู่บนผืนแผ่นดินไทยและได้เป็นคนไทยซึ่งมีเงินตราใช้อย่างเสรีไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร และสถานที่หรือบริเวณต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถานที่ที่มีความหมายต่อประเทศไทยมาก และเราคนไทยรุ่นใหม่ควรศึกษาและให้ความสำคัญต่อสถานที่ที่สำคัญนี้ให้มากที่สุด

ผมได้รับข้อคิด คือ เงินของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์นั้น เป็นสิ่งที่ทำขึ้นด้วยความละเอียด ประณีต และทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เราจึงควรเห็นคุณค่า และควรใช้เงินด้วยความประหยัด และสิ่งที่สำคัญคือเราต้องรู้จักการเก็บออมเงินไว้บ้างเพื่อนำไปใช้ในอนาคตต่อไปครับผม

ชื่อนายสุเทพ ใจเย็น

54127326074

การเงินการธนาคาร 02

ความรู้และความประทับใจที่ได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม

หลังจากที่ดิฉัน นางสาวสิราวรรณ สนิดชัย นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) กลุ่มเรียน02 ได้ไปดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ความประทับใจก็คือ สถานที่สวยงามมาก เงียบ พนักงานพุดจาดี ไพเราะ เป็นกันเอง ทำให้รู้สึกว่าเมื่อเข้าไปแล้วไม่อยากออกมาเลย มีน้ำส้มให้ทาน พนักงานทุกคนใจดีมากๆค่ะ

สำหรับความรู้ที่ได้ คือ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand Museum, at the Main Building, Bangkhumprom Palace.) ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ บทบาทหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศตลอดจนเรื่องราวของวังบางขุนพรหม เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

เมื่อปี พ.ศ.2550 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ “เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราไทยที่สมบูรณ์และได้มาตรฐานสากล” ทั้งนี้ก็คือ ความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์

หลังจากนั้นก็เดินเข้าไปในห้องเปิดโลกเงินตราไทย ได้ดูเงินพดด้วงเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ได้ดู Multimedia แสดงวิธีการทำเงินพดด้วง ชมหอยเบี้ยต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศ ต่อจากนั้นไปที่ห้องธนบัตร ดูวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่า เช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ ได้ดูจำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้เล่นเกม พร้อมด้วยความรู้ทุกด้านเกี่ยวกับธนบัตรผ่านสื่ออันทันสมัย ได้เห็นประวัติและหลักการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน มีผู้หญิงเพียงคนแรกที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คือ ดร.ธาริษา วัฒนเกส ส่วนคนปัจจุบัน คือ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล

เมื่อออกจากพิพิธภัณฑ์ก็ได้เดินไปตึกข้างหลัง ซึ่งมีการจัดนิทรรศการ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย

ได้ชม โซน 1 บทนำนิทรรศการ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย

โซน 2 จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจ เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย

โซน 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน

โซน 4 ธนบัตรหาชมยาก

พอออกจากนิทรรศการได้รับเหรียญเป็นของที่ระลึก จากที่ได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่ประเทศไทยในครั้งนี้ได้ทั้งความรู้ ความประทับใจ ความสนุกสนานมากมายค่ะ

รหัสนักศึกษา 54127326069

ความรู้และความประทับใจหลังจากที่เดินทางไปพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศไทย

หลังจากที่ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม สิ่งที่ประทับใจสิ่งแรกก็คือ สถานที่เพราะเป็นโบราณสถานที่สวยงามแห่งหนึ่งของไทย และประทับใจการบริการของเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะมีความเป็นกันเองมาก สำหรับความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่อนุรักษ์เงินตราไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต วิวัฒนาการเงินตราไทย ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในแต่ละยุคสมัย ในพิพิธภัณฑ์ได้นำเงินจริงที่ใช้ในอดีตมาจัดแสดงไว้ให้กับผู้คนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ ได้เห็นเงินที่ใช้ในสมัยก่อน เช่น หอยเบี้ย เงินที่ทำด้วยทองคำ เงินที่ทำด้วยเงิน เงินที่ทำด้วยทองแดง เงินพดด้วง เป็นต้น ได้เห็นอุปกรณ์ในการทำเงินสมัยก่อน เงินในแต่ละยุคแต่ละสมัย ก็มีความแตกต่างกันออกไป เพราะได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จากที่เคยใช้เหรียญกษาปณ์ ก็เริ่มมีการทำเป็นเงินกระดาษ หรือธนบัตรขึ้น นอกจากจะเห็นวิวัฒนาการเงินตราของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว ยังได้เห็นเงินตราของต่างชาติด้วยเพราะในอดีตประเทศไทยได้มีการติดต่อซื้อขายกับประเทศต่างๆ ทำให้เงินตราของต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ได้ทราบว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นคนที่19 และได้ทราบว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคือ ดร.ธาริษา วัฒนเกส ในวันที่เดินทางไปนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดนิทรรศการ “ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และได้เข้าร่วมในงานดังกล่าวด้วย ซึ่งในงานเป็นการจัดทำ ธนบัตรที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมความหมายและเรื่องราวที่น่าประทับใจข้างหลังภาพ คือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้กับชาวไทย ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ก็พบกับความผิดหวังเล็กน้อยเพราะเนื่องจากทางพิพิธภัณฑ์ห้ามถ่ายภาพ

นางสาวปวีณา ผดาเวช

รหัสนักศึกษา 54127326075

การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

กระผมนายวันฉลิม เล็กวิไล ได้เข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ ธนบัตรไทยและเหรียญไทย ซึ่งผมขอยอมรับตรงๆว่าผมไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับธนบัตรไทยเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเหรียญไทยหรือธนบัตรไทย ผมจึงไปพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นการแสดงเกี่ยวเงินตรา ประวัติศาสตร์และหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศไทย ซึ่งบรรยากาศข้างนอกรอบๆพิพิธภัณฑ์เป็นบรรยากาศร่มรื่น ต้นไม้เยอะ ซึ่งหาได้ยากในกรุงเทพมหานคร ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์รอบนอกเป็นคล้ายราชวัง ซึ่งสวยงามและใหญ่โตมา อันดับแรกที่ผมเข้าไปศึกษาคือห้องเปิดโลกเงินตราไทยซึ่งในสมัยอดีตสุวรรณภูมิ ซึ่งไม่มีการใช้เงิน แต่เป็นการใช้ เครื่องใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธในการแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ ส่วนในสมัยสุโขทัยจะใช้เงินพดด้วง และผมก็ได้ชมการแสดงจากวีทีทัศน์วิธีการทำเงินพดด้วงและได้เห็นเหรียญกษาปณ์ที่หายากต่างๆ หลังจากชมห้องนี้เสร็จ ผมกับเพื่อนๆก็ได้เดินไปดูห้องธนบัตรไทยและต่างประเทศ ซึ่งห้องนี้ผมได้เห็นทองคำแท่งของจริงซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศและได้ดูขั้นตอนการผลิตเงินไทยหรือการผลิตธนบัตรและวิธีการสังเกตธนบัตรไทย และผมก็ได้เห็นธนบัตรต่างประเทศซึ่งไม่เคยได้เห็นมาก่อน และห้องต่อมาที่ผมได้รับความรู้คือห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ดูวิดิโอที่เป็นการ์ตูนเรื่องบทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งห้องนี้ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะมีวิดิโอให้ดูทำให้ผมสนุกสนานและได้รับความรู้ห้องต่อไปที่ผมได้รับความรู้และชอบบรรยากาศคือห้องบริพัตร ซึ่งห้องนีใหญ่มาก และสวยงามในการจัดสิ่งของมาก และได้ดูการแสดงเล็กๆที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำขึ้นคือการแสดงพระประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นผู้สร้างกำเนิดวังบางขุนพลขึ้นนี้เอง การที่ผมไปพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ผมได้รับความรู้เป็นอย่างมาก ซึ่งความรู้นี้ได้สอดคล้องกับการเรียนในสาขาการเงินของผมเอง และได้ชมความสวยงามเหรียญสมัยก่อนๆที่มีทั้งในปจุบันและสมัยที่ผมยังไม่เกิดอีกด้วย

และวันที่๖ ธันวาคมได้มีการแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗รอบ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติซึ่งเป็นนิทรรศการที่น่าสนใจมากครับ

นาย วันเฉลิม เล็กวิไล รหัส 54127326067

จากที่ดิฉัน นางสาวสุดารัตน์ แก้วมาตย์ นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) กลุ่มเรียน02ได้ไปดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ความประทับใจก็คือ สถานที่สวยงามมาก บรรยากาศสบายๆ เพราะติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวิวที่สวย และประทับใจมากค่ะ

สำหรับความรู้ที่ได้รับจากพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่นำมานี้ก็เป็นเรื่องของวิวัฒนากากรของธนบัตรไทยโดยย่อค่ะ ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย

หมาย เป็นกระดาษสีขาวพิมพ์ตัวอักษรและลวดลายด้วยหมึกสีดำ ประทับตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระราชวงศ์จักรีรูปพระแสงจักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยสีแดงชาด เพื่อป้องกันการปลอมแปลง หมายที่โปรดให้จัดทำมี ๓ ประเภท ได้แก่ หมายราคาต่ำ หมายราคากลาง (ตำลึง) และหมายราคาสูง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่หมายเป็นเงินตราชนิดใหม่ ในขณะที่ราษฎรยังคงคุ้นเคยกับเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราโลหะมาแต่โบราณ จึงไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายตามพระราชประสงค์

ต่อมาระหว่างพุทธศักราช ๒๔๑๕ - ๒๔๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพุทธศักราช ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย

เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒, ๒๔๔๑, และ ๒๔๔๒ ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ

บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๔๕) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพุทธศักราช ๒๔๓๓ จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ (Giesecke & Devrient) ประเทศเยอรมนี จำนวน ๘ ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้

จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๔๔๕ จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา

ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๔๗๑ ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์

หลังจากที่เยี่ยมชมงานเสร็จดิฉันก็ได้ถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วยค่ะ น่าประทับใจมากค่ะ ถ้ามีโอกาสก็อยากไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย อีกครั้งค่ะ ^^

นางสาวสุดารัตน์ แก้วมาตย์

รหัสนักศึกษา 54127326076

การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีค่ะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

หลังจากที่ดิฉันได้รับมอบหมายงานให้ไปศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุมพรม(The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace ) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2485 สิ่งแรกที่ทำให้ดิฉันประทับใจนั่นก็คือ สภาพบรรยายกาศและสิ่งแวดล้อมที่ดูร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และตึกอาคารที่สวยงาม ซึ่งภายในบริเวณของธนาคารแห่งประเทศก็มีอาคารมีตึกมากมายหลายตึกด้วยกัน สถานที่ก็ดูสะอาด เหมาะแกการมาทำงานยิ่งนัก และต่อจากนั้นดิฉันก็ได้เข้าไปเยี่ยมชมในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อนเข้าไปก็ได้พบเจอกับพี่ๆพนักงานที่ดูเป็นกันเองเป็นอย่างมาก มีการแลกบัตรก่อนเข้าเยี่ยมชม และห้ามนำสิ่งของเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ โดยเค้าจะมีตู้สำหรับใส่ของไว้ให้ด้านนอก และสิ่งสำคัญในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็คือ ห้ามถ่ายรูปโดยเด็ดขาด และพี่ๆเค้าก็แนะนำในโซนต่างๆให้เราเข้าใจ ว่าห้องนี้แสดงเกี่ยวกับอะไร มีทั้งหมดกี่ห้อง มีสาระสำคัญอะไรบ้าง และควรไปตรงไหนก่อนดี ซึ่งห้องแรกที่ดิฉันเข้าไปก็จะเป็นห้องของการเก็บและรวบรวมเงินตราตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงสมัยปัจจุบัน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีลักษณะอย่างไร และก็ทำให้ดิฉันได้เห็นถึงเหรียญหรือเงินที่เป็นของจริงที่ใช้ในสมัยก่อน เพราะเงินที่ใช้ในสมัยก่อนนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างจากสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมากเช่น เงินพดด้วง เหรียญกษาปณ์ เป็นต้น ส่วนรูปร่างก็จะมีทั้งกลม แบน แตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย ซึ่งเงินพดด้วงเป็นเงินตราที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย มีราคาในตัวเอง เพราะทำด้วยโลหะมีราคา โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกะทัดรัด ทนทาน ทำด้วยมือ ทำจากแท่นเงินบริสุทธิ์ ทุบปลายทั้งสองข้างให้โค้งงอเข้าหากัน ทำให้มีรูปร่างกลม คล้ายลูกปืนโบราณ ซึ่งในสมัยอยุธยาได้มีการประทับตราแผ่นดิน และตราประจำราชกาลของพระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์ ซึ่งรูปร่างลักษณะของเงินพดด้วงจะมีสัณฐานกลมมี 6 ด้าน คือ ด้านบนใช้เป็นที่ตีตราประจำแผ่นดิน ด้านหน้าเป็นที่ตีตราประจำรัชกาล บริเวณปลายทั้งสองข้าง ที่เป็นรอยผ่าบาก หรือประทับรอยเม็ดข้าวสาร ด้านหลังมักปล่อยว่าง ด้านข้างทั้งขวาและซ้ายเป็นรอยค้อนที่ตีลงไป เพื่อให้ของอ ด้านล่างมักใช้เป็นที่ประทับรอยเม็ดข้าวสาร ขนาดและน้ำหนัก มีตั้งแต่ หนึ่งบาท สองบาท สิบสลึง สี่บาท หรือหนึ่งตำลึง สิบบาท ยี่สิบบาท สี่สิบบาท และ แปดสิบบาท หรือหนึ่งชั่ง แต่ที่ผลิตใช้กันมากคือขนาดหนึ่งบาท ที่ราคาต่ำกว่าหนึ่งบาท ในสมัยอยุธยา มีขนาด สองสลึง หนึ่งเพื้อง สองไพ และหนึ่งไพ มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีขนาดสามสลึง และครึ่งไพอีกด้วย และนอกจากนี้ยังทำให้ดิฉันได้รู้อีกว่า เหรียญกษาปณ์นั้นได้ถูกผลิตขึ้นเมื่อสมัยราชกาลที่ 4 เนื่องจากมีการขยายตัวทางการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงมีการนำเหรียญแบนเข้ามา และได้รับความนิยมในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ประกอบกับเงินพดด้วงผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการกับทั้งมีการปลอมแปลงกันมาก จึงทำให้การผลิตเงินพดด้วงลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็มีประกาศเลิกใช้อย่างถาวรในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ใช้กันมาเป็นเวลากว่า 600 ปี ซึ่งเหรียญกษาปณ์ มี 3 ชนิดด้วยกัน คือ 1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น เหรียญ 10 บาท เหรียญ 5 บาท เหรียญ 1 บาท เป็นต้น 2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา 3. เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และภายในห้องก็ยังมีการภาพการใช้วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนด้วยว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรโดยจะมีปุ่มให้กดเพื่อฟังการบรรยาย มีทั้งที่เป็นภาคภาษาไทย และภาคภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นอย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งก็เป็นที่ชื่นชอบของดิฉันเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ก็ยังมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้สำหรับร่วมเล่นเกมส์ ส่วนเกมส์นั้นก็จะเป็นเกมส์ที่สอดแทรกความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องราวของเงินแต่ล่ะยุคแต่ล่ะสมัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ให้มีความสนุกสนาน และเกิดอารมณ์ที่อยากจะกลับมาอีก ส่วนห้องต่อไป ดิฉันก็ได้เข้าไปยังห้องจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชมน์พรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ของไทย และได้พบกับพี่ๆพนักงานที่น่ารักมาก มีความเป็นกันเอง สุภาพเรียบร้อย ได้พาดิฉันเดิมชมภายในของนิทรรศการ ประกอบกับแนะนำและอธิบายในการเดินชมนิทรรศการ ว่ามีความเป็นมาของธนบัตรไทยอย่างไร ซึ่งภายในนิทรรศการครั้งนี้ ดิฉันได้รับความรู้มากมายเลยทีเดียว ได้รู้ถึงขั้นตอนของการทำธนบัตรของไทย ซึ่งการพิมพ์ธนบัตรมีด้วยกัน 2 แบบ คือ การพิมพ์ออฟเซตแห้ง (Dry offset) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายว่า การพิมพ์สีพื้น และการพิมพ์อินทาลโย (Intaglio) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายที่ได้จากการพิมพ์ว่า การพิมพ์เส้นนูน นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนการผลิตเป็นธนบัตรสำเร็จรูป คือ การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น ซึ่งใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress) ธนบัตรในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทน โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396 และคงใช้ต่อมาทั้งสิ้น 3 รุ่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ "ตั๋วกระดาษ" ราคา 1 อัฐ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2417 เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อัฐกระดาษ" ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2432-2442 ทรงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, ธนาคารชาเตอรด์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ให้สามารถออกธนบัตรของตัวเองได้ เรียกว่า "แบงก์โน้ต" หรือ "แบงก์" นับว่าเป็น "บัตรธนาคาร" รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย จนถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ "ธนบัตร" แบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และนอกจากนี้ภายในนิทรรศการครั้งนี้ก็ยังได้รวบรวมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้อีกมากมาย อาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านพลังงานทดแทน โครงการหลวง ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ด้านภาษาและวรรณกรรม โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการเกษตร เป็นต้น ซึ่งภายในห้องยังได้มีการรวบรวมธนบัตรหมายเลขสวยไว้อีกมากมาย มี ipad ไว้สำหรับศึกษาพระราชกรณียกิจของในหลวงเพิ่มเติมอีกด้วย

ซึ่งนับว่านิทรรศการครั้งนี้ ได้ให้ความรู้สำหรับดิฉันอย่างมากมายเลยทีเดียว ซึ่งบางครั้งการนั่งเรียนภายในห้องเรียนอย่างเดียวนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำให้เราเพิ่มพูนความรู้ได้มากขนาดนี้ เพราะการได้ออกมาศึกษาหาความรู้ในสถานที่จริงนั้น มันทำให้เรามีความกระตือรือร้นที่ได้พบและได้สัมผัสกับสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ได้จริง จึงนับว่าการมาศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นความประทับใจที่ไม่อาจลืมได้ เพราะได้รับทั้งความรู้ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนานเป็นอย่างมาก และก็เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ซึ่งมีพ่อหลวงที่รักประชาชนมากขนาดนี้ คงไม่มีใครในโลกนี้ที่จะเทียบเท่าในหลวงของเราได้อีกแล้ว และสิ่งสำคัญก็คือ ดิฉันต้องขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี ที่ได้มอบหมายงานชิ้นนี้ให้กับดิฉัน เพราะงานชิ้นนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้เข้าไปในธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เคยคิดว่าจะได้เข้าไป แต่พอได้เข้าไปก็ไม่อยากที่กลับออกมา เพราะด้วยสภาพของสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น และพี่ๆพนักงานที่น่ารักและเป็นกันเอง จึงทำให้มีความคุ้นเคยและอบอุ่น และดิฉันคิดว่า พิพิธภัณฑ์แห่งประเทศไทยนี้ควรจะได้รับการดูแลที่เป็นอย่างดี เพราะมันคือสิ่งสำคัญที่จะเล่าเรื่องราวสำคัญต่างๆในแต่ละยุคแต่ละสมัยให้กับคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นเราคนไทยทุกคนควรที่จะรักและหวงแหนสมบัติอันล้ำค่าให้อยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไปค่ะ

นางสาวศิวาพร ฐิตะฐาน

รหัส 54127326045

การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีค่ะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

จากการที่ดิฉันได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรม (The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace) นั้น ดิฉันได้สิ่งที่เป็นความรู้มากมายค่ะ ห้องแรกที่ดิฉันได้เข้าไปชมคือ ห้องเปิดโลกเงินตราไทยค่ะ (Thai Currency Discovery Room) ทำให้ได้รู้ ในเรื่องของสื่อการแลกเปลี่ยนตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธ กำไลหิน ต่างหูหิน ขวานหิน ขวานสำริด ฯลฯ เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกัน จนมาถึงเงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน ภายในห้องได้แสดงเงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิ ได้แก่ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย เงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ต่อมา “เงินพดด้วง (ซึ่งเป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า 600 ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชกาลที่ ๕ ) ” และกษาปณ์ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ที่เด่นและมีชื่อเสียงในแต่ละสมัย เช่น เหรียญแต้เม้ง” สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ,เหรียญหนวด” สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, เหรียญทองคำต้นแบบ” สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงวิธีการทำธนบัตรที่ห้องธนบัตรไทย ( Thai Banknotes Room ) ว่ามีวิธีทำที่ค่อนข้างยุ่งยากมากค่ะ ก่อนอื่นเลยต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบธนบัตรให้มีความสวยงาม น่าใช้ สะดวกในการพกพา ขั้นตอนมาก็ต้องมีการทำแม่แบบแม่พิมพ์ มีการพิมพ์สีพื้นหรือการพิมพ์ออฟเซดแห้ง (Dry offset) พิมพ์เส้นนูนหรือที่เรียกว่าการพิมพ์อินทาลโย( Intaglio) พิมพ์เลขหมายและเซ็นซึ่งใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress) มีการตรวจสอบคุณภาพและผลิตธนบัตรสำเร็จรูป ซึ่งนับว่ากว่าจะได้ธนบัตรออกมาใช้นั้นช่างยากเย็นจริง ตอนแรกดิฉันคิดว่าธนบัตรจะมีการพิมพ์ที่โรงกษาปณ์เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์ค่ะ แต่ที่จริงไม่ใช่ ธนบัตรได้จัดพิมพ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุม สั่งพิมพ์และนำธนบัตรมาใช้ภายในประเทศ และดิฉันยังได้เห็นธนบัตรเลขสวยที่หาชมได้ยาก ธนบัตร 10 บาทที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว ธนบัตรใบ 50 บาท และธนบัตรแบบที่1 – ธนบัตรแบบที่ 15 ซึ่งธนบัตรแบบที่15 คือ แบงค์ 1000 ,500, 20 ,100 ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันค่ะ ซึ่งธนบัตรที่ออกแต่ละครั้งก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปค่ะ เช่นธนบัตรแบบที่ 1 เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงเรียกว่า ธนบัตรหน้าเดียว มี ๗ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด (THOMAS DE LA RUE & COMPANY LIMITED) ธนบัตรแบบที่ 2 เป็นธนบัตรที่พิมพ์ทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี ๑๒ แฉก ด้านหลังเป็นภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเรียกกันว่า ธนบัตรแบบไถนา ธนบัตรแบบที่ 3 เป็นธนบัตรแบบแรกที่เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นภาพประธานบนด้านหน้า โดยมีภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังเป็นภาพวัดพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และมีการพิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรเป็นครั้งแรก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้ถึงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษที่เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า“หมาย” นับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่5ได้สั่งให้ทำ “อัฐกระดาษ”เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ห้องธนบัตรต่างประเทศ (Foreigh Banknotes Room) ซึ่งทำให้รู้โลกกว้างผ่านธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตา ทั้งธนบัตรฉบับจริงและภาพธนบัตรผ่ านจอ Kiosk Computer ว่าภาพบุคคลในธนบัตรต่างประเทศนั้นเป็นใครซึ่งเป็นเกมให้เล่นค่ะ ต่อมาห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand History and Records Room) ทำให้รู้ว่าตราพระสยามเทวาธิราช เป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งค่ะ ทำให้ได้ทราบถึงประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่ งประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2485 ถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านสื่อ เช่น Computer Kiosk 2D Animation และห้องบริพัตร ( Paribatra Room) ทำให้ดิฉันทราบถึงประวัติของวังบางขุนพรมว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งปัจจุบัน วังบางขุนพรหมเปิดให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมกันเป็นที่แสดงพิพิธภัณฑ์ทางการเงินของประเทศไทยและพระเกียรติของพระองค์ท่านค่ะ

สิ่งที่ดิฉันประทับใจที่ได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พี่พนักงานต้อนรับค่ะ พวกพี่เขาให้ความเป็นกันเองค่ะ ให้ความรู้และถามในสิ่งที่สงสัยพี่เขาก็ตอบให้อย่างใจดีค่ะ รู้สึกประทับใจวังบางขุนพรมเป็นอย่างมากค่ะ บรรยากาศที่นี่เย็นสบาย มีวิวที่สวยงามค่ะ และชอบเทคนิคของที่นี่มากเลยค่ะ เช่น ในห้องพระประวัติทูลกระหม่อนบริพัตร นั้นมีการแสดงเรื่องราวพระประวัติของท่านอย่างน่าสนใจค่ะ ซึ่งได้ นำเสนอด้วยเทคนิค Ghost Box ซึ่งเราจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง และมีวัตถุประกอบการจัดแสดงที่น่าสนใจค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่นค่ะ และห้อง “เปิดโลกเงินตราไทย” ยังมีการจัดแสดงในสื่อที่เรียกว่า Diorama มีเสียงบรรยายประกอบ รายละเอียดของกระบวนการทำเงินพดด้วง รวมทั้งจัดแสดงอุปกรณ์การจัดทำเงินพดด้วง และมี Multimedia ที่แสดงเรื่องราวของการค้าสมัยอยุธยา โดยมีเรือสำเภาโปรตุเกสจำลองที่สามารถแล่นไปมาได้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงองค์ประกอบของเงินพดด้วง ตราสัญลักษณ์ของเงินพดด้วงสมัยต่างๆ พดด้วงจำลองขนาดยักษ์ที่หมุนได้รอบทิศ Jigsaw ที่เป็นตราพดด้วงที่เราสามารถสัมผัสได้ และสิ่งที่ดิฉันประทับใจเป็นที่สุดคือห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ เป็นห้องทำงานที่สวยงามมากค่ะ ห้องไม่ค่อยใหญ่มาก แต่ให้ความรู้สึกสบาย จัดมุมโต๊ะทำงาน กับโต๊ะประชุมรวมถึงโซฟารับแขกได้ลงตัวอย่างดีค่ะ และสิ่งที่น่าสนใจในห้องนี้ก็คือตู้ติดผนังที่มีช่องเก็บเอกสารที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงร่างแบบเองและดีใจที่ได้ชมการจัดนิทรรศการ ภัทรมหาราชธนบัตรไทย ค่ะ ซึ่งเป็นการนำเสนอพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านค่ะ ในส่วนด้านหลังธนบัตรมีการจัดแสดงผ่านสื่อมัลติมีเดีย และคัดเฉพาะสิ่งหาชมยาก อาทิ ภาพต้นแบบของธนบัตรที่ไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ธนบัตรรัชกาลปัจจุบันที่หายากที่สุด และธนบัตรเลขสวย เป็นต้น ซึ่งในนิทรรศการได้มีการจัด 4 โซนค่ะและโซนที่ดิฉันประทับมากที่สุด คือ โซนที่ 1 ซึ่งมีพระราชดำรัสที่สำคัญว่า "บริหารเงินของชาติให้ไม่หมด" ซึ่งพระองค์ท่านได้บอกแนวการใช้เงินอย่างไรไม่ให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อนค่ะ

ดิฉันว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้รู้ถึงประวัติศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในเรื่องของเงินตรา ซึ่งนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่สุดยอดจริงๆ ค่ะ ให้รายละเอียด ความรู้ การใช้เงิน การตรวจสอบว่าเป็นเงินปลอมไหม การจัดพิมพ์ธนบัตร เป็นต้น และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณีที่ได้มอบหมายงานที่เป็นประโยชน์ให้ค่ะ ทำให้ดิฉันได้เปิดโลกที่กว้างมากขึ้น ไม่ใช่เพียงรู้แค่ในหนังสือเท่านั้นค่ะ

น.ส.วนิดา เกียรติเฉลิมคุณ

รหัสนักศึกษา 54127326066

สาขา การเงินการธนาคาร 02

(คนที่ใส่เสื้อกันหนาวสีฟ้าค่ะ)

ความรู้และความประทับใจที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดิฉัน นางสาวมาลีวัลย์ ธัมเนียมอินทร์ ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเรียกอีกอย่างว่าแบงค์ชาติ ( The Bank of Thailand : BOT) ที่อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามากนัก อยู่ตรงบางขุนพรหมนี้เอง การไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นตาตื่นใจ กับความสวยงามของสถานที่ วังบางขุนพรหม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ดูจากวังแล้วคงเป็นการสร้างแบบทรงยุโรป ที่ของวังนั้นกว้างขวางใหญ่โตมาก ทำให้เราได้ดื่มดั่มบรรยากาศสมัยก่อน นอกจากจะได้ชนความสวยงามข้างนอกแล้ว ในส่วนของข้างในก็สวยไม่แพ้กัน ทุกสิ่งทุกอย่างดูเก่าแบบโบราณ เมื่อดิฉันได้เดินเข้าไปข้างในได้ความรู้ต่างๆและสิ่งแรกที่ดิฉันเห็น ก็คือประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของประเทศไทยในเรื่องของเงินตราต่างๆ ก่อนที่เราจะใช้ธนบัตรกัน ในสมัยก็ได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ ดินเผาที่มีตราประทับ เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์ที่ใช่ในการแลกเปลี่ยนและซื้อขาย พอในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ที่ เรียกกันว่า หมาย ที่มันคล้ายบัตร แต่ว่าคนในสมัยนั้นชินกกับหมายเพราะว่าคุ้นเคยกับ เงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราโลหะมากกว่า ก็เลยไม่แพร่หลายเท่าไร ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้เกิดปัญหาการการทำปี้เพราะว่า วัถุดิบขาดแคลน จึงได้จักทำ อัฐกระดาษ ให้ได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกัน ต่อมาก็ได้มี เงินกระดาษชนิด คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศ บัตรธนาคารทำให้ประชาชนรู้จักกับเงินที่เป็นกระดาษมากและมีการเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ และเรียกติดปากว่า แบงก์ เราได้มีธนบัตรทั้งหมด 15 แบบกับเลยที่เดียวเพราะได้มีการปรับปรุงกันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้เรายังเคยพบสภาวะแบงค์ปลอมมีข่าวออกมากมาย ดังนั้นเราจึงควรจะรู้วิธีดูว่าเป็นแบงค์ปลอมหรือไม่ จุดสังเกตคือ ลายน้ำของแบงค์ แทบสีโลหะในกระดาษ เส้นใยเรืองแสง หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง ภาพแฝง ตัวเลขและตัวอักษรขนาดจิ๋ว ภาพซ้อนทับ แถบฟอยล์สีเงิน และลายดุนนูนแจ้งชนิดราคา หลังจากที่ดิฉันได้ชมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วก็ได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับสถานที่ให้ความรู้แล้วให้ความสวยงาม ณ แห่งนี้ .

นางสาว มาลีวัลย์ ธัมเนียมอินทร์

รหัสนักศึกษา 54127326086

การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉัน นางสาวเกศปทุม ทองดอนคำ จากการที่ดิฉันได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุมพรม (The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace ) สิ่งแรกสำหรับการเข้าชมที่ฉันเห็นและประทับใจนั่นก็คือ ความสวยงามของอาคารสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก สภาพแวดล้อมที่ร่มเย็นเป็นธรรมชาติ แล้วก็สถานที่ตั้งที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงสะพานพระราม 8 ยิ่งทำให้ที่นี่ยิ่งดูสวยงามมากขึ้นไปอีก หลังจากที่เห็นสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ดิฉันก็ได้เข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อนที่จะได้เข้าไปนั้น ก็จะมีพี่พนักงานมาแนะนำว่าควรจะชมตรงไหนบ้าง แล้วก็บอกข้อควรปฏิบัติ ว่าไม่ไห้ถ่ายรูปภายในตัวพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วอีกอย่าง คือก่อนจะเข้าไปจะต้องเก็บของต่างๆไว้ในล็อกเกอร์ด้านนอก แล้วก็แลกบัตรก่อนจึงจะเข้าเยี่ยมชมภายในได้ หลังจากที่เก็บของเสร็จแล้ว ดิฉันก็เข้าไปชมภายใน โดยห้องแรกที่ได้เข้าชมนั้นเป็นห้องที่เก็บและรวบรวมเงินตราตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงสมัยปัจจุบันว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ได้เห็นเงินที่ใช้ในสมัยอดีตว่ามีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก ที่แตกต่างจากสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมากเช่น เงินพดด้วง หอยเบี้ย เป็นต้น ซึ่งนอกจากเงินตราแล้วก็ยังมีเครื่องประดับ และสิ่งของต่างๆที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสิ่งของกัน แล้วก็ยังมีเหตุการณ์จำลองวิธีการทำเงินพดด้วง การติดต่อค้าขายกันในอดีตให้ได้ดูได้ชมอีกด้วย หลังจากที่ดูห้องแรกเสร็จแล้ว ดิฉันก็ได้ไปชมยังห้องจัดแสดง นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยมีชื่องานว่า ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายในงานนี้จะจัดแสดงธนบัตรที่ระลึกที่มีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย นอกจากนี้แล้วก็ยังรวบรวมธนบัตรที่หาชมได้ยากไว้มากกว่า ๑00 ฉบับ นับตั้งแต่ต้นรัชกาลมาจักแสดงไว้ด้วยกัน โดยมีการจัดเป็นโซนต่างๆดังนี้ ในโซนที่ ๑ นั้นจะเป็นบทนำนิทรรศการ เป็นการแสดงพระราชดำรัสต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงิน คือ พระบรมราโชวาทเพื่อการใช้เงินในทางที่ถูกที่ควรและก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง เมื่อเดินต่อไปยังโซนที่ ๒ จะเป็นการจัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจพร้อมความหมายและเรื่องราวน่าประทับใจข้างหลังภาพ คือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้กับชาวไทย นอกจากนี้ยังจัดแสดงธนบัตรที่ระลึกในวาระสำคัญ คือ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในโซน ๓ นั้นแสดงเกี่ยวกับเส้นทางการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จไปในที่ที่ทุรกันดารเพื่อทรงแก้ปัญหาให้กับราษฎรทุกหมู่เหล่า ส่วนโซนสุดท้ายคือ โซน ๔ จัดแสดงธนบัตรที่หาชมยากของรัชกาลปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรเลขสวย แบบร่างสี และตัวอย่างธนบัตรซึ่งไม่อาจหาชมที่อื่นได้ หลังจากที่ได้ชมนิทรรศการต่างๆจนทั่วแล้วทำให้ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องเงินตรา นอกจากความรู้ที่ได้รับแล้วการมาในครั้งนี้ก็ยังได้สร้างความประทับใจที่ไม่อาจลืมได้ให้กับดิฉัน เพราะได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความใจดีของพี่ๆพนักงาน ความสวยงามของอาคารสถานที่ นอกจากนั้นการมาในครั้งนี้ก็ยังทำให้ฉันรู้ว่าการศึกษาหาความรู้ต่างๆนั้นไม่อาจจะหาเพียงแค่ในห้องเรียนและจากการอ่านหนังสือเท่านั้น แต่เราควรที่จะออกมาเปิดโลกให้กว้าง มาสัมผัสของจริงจากโลกภายนอกห้องเรียนบ้าง เพราะจะทำให้เราได้เห็นอะไรที่ดีๆอีกหลายอย่างที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี เป็นอย่างมากที่ทำให้ฉันได้มีโอกาสได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย การที่ได้ไปชมในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อดิฉันมากเพราะทำให้ทราบประวัติศาสตร์ของเงินตราต่างๆที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ ขอบคุณค่ะ

นางสาวเกศปทุม ทองดอนคำ

54127326072

การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีครับ จากการที่ผมได้ไปเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม” (The Bank of Thailand Museum , Bangkhunprom palace) มานั้นความประทับใจแรกที่ผมได้รับเลยคือ ความงดงามของตำหนักและอาคารสถานที่ต่างๆภายในวัง ซึ้งรู้จากประวัติมาว่า วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ ผสมผสานกับลวดลายศิลปะแบบบาร็อก ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก จนในปัจจุบันได้มีการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่ขึ้นเพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงาน จึงทำให้บรรยากาศภายในดูสวยงามยิ่งขึ้น และด้วยภูมิทัศน์อันร่มรื่นและสะอาดอย่างมาก ซึ้งสิ่งที่ผมสังเกตเห็นอีกอย่างหนึ่งภายในคือจะไม่เห็นถังขยะตั้งอยู่ตามบริเวณต่างๆภายในวัง แต่ก็ไม่มีเสดขยะที่ทิ้งตามพื้นเลย จึงทำให้ผมรู้สึกว่าสถานที่นี้เป็นที่ๆน่าอยู่และน่าประทับใจเป็นอย่างมากๆ และหลังจากที่ได้เข้าไปชมภายในตำหนักใหญ่ที่ใช้เป็นที่จัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเงินตราต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ทำให้ผมได้รับความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนต่างๆในการผลิตเงิน ค่าของเงินตราในแต่ล่ะยุคสมัย จนถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับชาวต่างชาติ ซึ้งในการจัดแสดงก็ได้แยกการจัดแสดงออกเป็นห้องๆ อย่างเป็นหมวดหมู่ เช่น ห้องเปิดโลกเงินตราไทย(Thai Currency Discovery Room ) ก็จะจัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราไทยตั้งแต่ครั้งที่ใช้ลูกปัด เครื่องประดับ หรืออาวุธต่างๆในการแลกเปลี่ยน จนเรื่อยมา ห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ( Thai Banknotes Room and Foreigh Banknotes Room ) ห้องนี้ก็จะจัดแสดงตั้งแต่เงินกระดาษที่เรียกว่า “หมาย” ในรัชกาลที่ ๔ จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ ตลอดจนธนบัตรที่ระลึก รวมถึงขั้นตอนการผลิต วิธีสังเกตธนบัตรไทย และธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตามากมาย ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ( Bank of Thailand History and Records Room ) จะนำเสนอประวัติศาสตร์และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ รวมถึงแสดงประวัติและหลักการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกจนถึงปัจจุบัน ห้องบริพัตร (Paribatra Boom) ห้องนี้จะจัดแสดงพระประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม ซึ้งสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ พระรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือ ซึ้งในแต่ล่ะห้องจัดแสดงจะมีการนำสื่อ Muitimedia มาใช้อย่างลงตัว และมีการให้เล่นเกมส์ตอบคำถามต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ และอีกอย่างหนึ่งที่สามารถเรียกความสนใจแก่ผมได้เป็นอย่างมากคือ การใช้หุ้นจำลองขนาดเล็กประกอปการบรรยายให้ความรู้เป็นฉาก ด้วย

และในวันที่ผมและเพื่อนๆ เข้าไปเยี่ยมชมนั้นได้มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีหมามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ “ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” ซึ้งจะจัดแสดงธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย ได้แก่ ธนบัตรที่อัญเชิญภาพพระราชกรณียกิจมาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุการณ์ทรงงานอันยิ่งใหญ่ และยังมีธนบัตรที่หาชมยากกว่า ๑๐๐ ฉบับ นับแต่ต้นรัชกาลมาจัดแสดงไว้ด้วย ทำให้ผมได้รับความรู้มากมาย และได้รู้ถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

จากการเข้าชมธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้ผมได้รับทั้งความรู้ และความประทับใจเป็นอย่ามาก ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับเป็นอย่างดีของพี่ๆเจ้าหน้าที่ ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น เป็นสถานที่ ๆ งดงาม และน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง

นายธวัชชัย กุลดำแดง

รหัส 54127326079

การเงินและการธนาคาร 02

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ผศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี

“เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราไทยที่สมบูรณ์และได้มาตรฐานสากล”

วิสัยทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

จากการที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand Museum) และบริเวณโดยรอบขององค์กรที่สำคัญของประเทศอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand : B.O.T.) หรือแบงค์ชาติ หรือแบงค์บางขุนพรหม ทำให้ได้รับสิ่งต่างๆมากมาย ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน ความประทับใจ รวมทั้งความตื่นเต้น

สำหรับการถือกำเนิดของธนาคารแห่งแระเทศไทยนั้นนะคะมีอยู่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหมมาตั้งแต่ พ.ศ.2488 จนเมื่อได้ครอบครองกรรมสิทธิ์วังเทวะเวสม์ ใน พ.ศ.2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอยู่ในอาณาบริเวณของวังอันงดงามทั้งสอง ซึ่งมีเนื้อที่ 55 ไร่ ท่ามกลางภูมิทัศน์อันร่มเย็นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

1.ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม

2.ตำหนักสมเด็จ

3.ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์

4.เรือนแพ

5.อาคารหม่อมจันทร์

6.อาคารหม่อมละม้าย

7.แนวกำแพงโบราณกั้นระหว่างสองวัง

8.อาคารสำนักงานใหญ่เดิม

9.อาคารสำนักงานใหญ่ปัจจุบัน

ตอนนี้ขอเล่าประวัติโดยย่อของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยนะคะ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536

พุทธศักราช 2550 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ อันเป็นสิ่งยืนยันถึงการสืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตั้งแต่ครั้งเป็นบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี สถานเล่าเรียนศิลปะวิทยาการของเจ้านายในวังบางขุนพรหม จวบจนปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้นแบบการบริหารและการจัดการเรียนรู้

ซึ่งในส่วนของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดแสดงอยู่ที่ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม ซึ่งจัดแสดงทั้งหมด 2 ชั้น ชั้นล่างและชั้นบน

ชั้นล่าง ประกอบด้วย

ชั้นล่างทางด้านซ้ายมือ เรียกว่าห้องเปิดโลกเงินตราไทย (Thai Currency Discovery Room) จะย้อนอดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้าตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ครั้งที่ใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธ ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ จากนั้นเข้าสู่สมัยทวารวดีที่เริ่มมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า เงินตราโบราณสมัยทวารวดี ได้เห็นเหรียญรวปุระที่หาชมได้ยาก เงินตราอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรศรีวิชัย

เมื่อเข้าสู่ยุคของความเป็นรัฐไทยอย่างชัดเจนในสมัยสุโขทัยได้ก่อกำเนิดเงินพดด้วง เอกลักษณ์ของเงินตราไทยที่สืบทอดถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์แล้ววิวัฒน์เป็นหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ในส่วนที่เป็นเหรียญกษาปณ์นั้น จะแสดงอย่างละเอียดว่าเป็นมาอย่างไร

นอกจากนี้ยังมีสื่อที่แสดงให้เห็นถึงการทำเงินพดด้วง ได้เห็นการใช้ภูมิปัญญาไทยในกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง มีเกมให้ลองเล่นกันเพื่อทดสอบความรู้กันด้วยนะคะสนุกมากถ้าคุณได้ลองเล่น ดิฉันเองก็ลองเล่นไป 2-3 รอบ ค่ะ ทดสอบความรู้หลังจากที่คนได้เดินชมแล้ว สนุกดีค่ะ

ชั้นล่างทางด้านขวามือ เรียกว่าห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ (The Banknotes Room and Foreign Banknotes Room) ห้องธนบัตรไทยจัดแสดงตั้งแต่เงินกระดาษแบบแรกที่เรียกว่า หมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งแบบจัดแสดงแบบให้เราอ่านเองอย่างละเอียด หรือจะเป็นวิดีโอที่เป็นเรื่องราว ตลอดจนธนบัตรที่ระลึก ชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่าเช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ มีการจำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา มีเกมปริศนาธนบัตรไทยซึ่งดิฉันเองก็พลาดไม่ได้ที่จะลองเล่น รวมถึงมีการแสดงขั้นตอนการผลิตธนบัตรของไทย และยังมีการประทับตรา เช่น ลายประจำยาม เป็นที่ละลึกเก็บกลับบ้านได้ แน่นอน ดิฉันก็ไม่พลาดเช่นเคย

ท้ายที่สุดคือธนบัตรต่างประเทศ ทั้งธนบัตรจริงและภาพผ่านจอ ให้เราได้รู้จักกับธนบัตรของประเทศอื่นๆ

ด้านบน

ด้านบนทางด้านซ้ายมือ ซึ่งเรียกว่าห้องบริพัตร เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติและพระรูปหล่อของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม เราจะได้เห็นหุ่นจำลองวงดนตรีไทยขาดจิ๋วที่น่ารักมาก ขยับบรรเลงบทเพลงพระนิพนธ์ “แขกมอญบางขุนพรหม” และมีแบบจำลองตำหนักที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ยังมีสิ่งของจัดแสดงที่ทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ชุดสุดท้าย แหนบบริพัตร เครื่องมุกสวนพระองค์ โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ และมีคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และวังบางขุนพรหมอย่างละเอียด

ด้านบนทางขวามือ เรียกว่า ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand History and Records Room) เป็นห้องที่เสนอประวัติศาสตร์และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2482 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต้อนรับผู้ชมทุกท่านด้วยสื่อผ่านมายาภาพ (ถึงตอนนี้อยากจะบอกว่าดิฉันแทบจะวิ่งออกจากห้องเพราะตกใจกับสื่อตัวนี้ อยู่ดีดีนายประสาน ไตรรัตน์วรกุล ก็ออกมาพูดโดยใช้สื่อตัวนี้ ซะอย่างนั้น คุณคิดดูนะคะด้วยบรรยากาศวังเก่ามันจะเป็นยังไง ) มีวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวของกับประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย และยังมี ห้องเชิดชูเกียรติ ซึ่งแสดงประวัติและหลักการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน พร้อมกับชมสิ่งของแทนตนจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่านค่ะ

และนี่ก็คือเรื่องราวและบรรยากาศเล็กๆน้อยๆที่ดิฉันนำมาแบ่งปันจากการไปเยี่ยมชมมานะคะ แต่ดิฉันคิดว่า สิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจ รับรู้ความประทับใจ และจดจำได้นานนั้น ก็คือการไปเยี่ยมชมด้วยตัวเอง ดังเช่นที่ดิฉันได้ไปมา ที่เก็บมาเล่าได้ไม่หมด อย่างน้อยๆ ก็เรื่องของความรู้สึกละค่ะ ที่คนที่ไม่ไปดูด้วยตัวเองก็คงจะไม่เข้าใจ อยากให้ทุกคนลองมากันดูค่ะ

ที่ตั้ง 273 ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

หาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.bot.or.th

ส่วนนี่คือภาพบรรยากาศที่เก็บมาเป็นที่ระลึกค่ะ

เนื่องจากในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ดิฉันได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังขุนพรหม (The Bank of Thailand Museum,Bankhunprom Palace) ครั้งแรกที่ดิฉันก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากและประทับใจอย่างมากเพราะดิฉันได้เห็นพิพิธภัณฑ์วังขุนพรหมแล้วสวยมาก ดิฉันก็ได้ทราบความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วังขุนพรหมว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2585 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังขุนพรหมตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอยู่ในอาณาบริเวรของวังอันงดงามทั้งสอง ซึ่งมีเนื้อที่ 55 ไร่ ท่ามกลางภูมิทัศน์อันร่มเย็นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ความรู้ที่เราได้ก็นำไปใช้ในชีวตประจำวันได้ ดิฉันก็รู้สึกประทับใจกับพนักงานที่นั่นด้วยเพราะพี่เค้าต้อนรับดีมากและเป็นกันเองด้วย และเมื่อเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์แล้วห้องแรกที่ดิฉันได้เข้าไปชมคือ ห้องเปิดโลกเงินตราไทย (Thai Currency Discovery Room) เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง เหมือนได้อดีตไปตอนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ครั้งที่ใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธ เป็นต้น เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ จากนั้นเข้าสู่ยุคสมัยทวารวดีที่เริ่มมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ได้ชมเงินตราโบราณสมัยทวารวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก ได้ชมเงินตราของอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้างอาณาจักรศรีวิลัย ที่ดิฉันไม่เคยเห็นมาก่อนและพึ่งได้เห็นของจริงเป็นครั้งแรกเป็นเงินตราในยุคของความเป็นไทยอย่างชัดเจนในสมัยสุโขทัยได้กำเนิดเงินพดด้วง เอกลักษณ์ของเงินตราไทยที่สืบทอดถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แล้วได้รู้วิวัฒน์เป็นเหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 4 ภายในห้องยังมีให้ชมกับ Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วงว่าทำยังไง จัดแสดงให้สวยงามและทันสมัย อลังกาลมาก เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจต่อดิฉันเป็นอย่างมาก ต่อไปก็ได้ชมที่ห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศภายในห้องนั้นดิฉันพบว่าเป็นห้องที่จัดแสดงธนบัตรไทยตั้งแต่กระดาษแบบแรกที่เรียกว่า หมาย ในรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกของไทยในสมันรัชกาลที่ 5 จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่าเป็นอย่างมาก เช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองสำคัญของประเทศ ภายในห้องยังมรให้เราสนุกกับเกมปริศนาธนบัตรไทยอีกด้วย พร้อมด้วยความรู้ทุกด้าน เกี่ยวกับธนบัตรผ่านสื่อที่ทันสมัยมากๆ และและในห้องนี้ยังมีธนบัตรต่างประเทศทำให้ดิฉันได้รู้จักกับธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตาทั้งธนบัตรจริงและธนบัตรผ่านจอ kiosk computer ห้องต่อไปที่ดิฉันไปชมก็คือ ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand History and Records Room ) ในห้องได้นำเสนอประวัติศาสตร์ และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย ดิฉันได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสนุกสนานเกี่ยวกับการ์ตูนสองมิติหลากเรื่อง พร้อมทายปัญหาและเล่นเกมทดสอบความรู้เราอีกด้วยพร้อมทั้งมีการแสดงประวัติและหลักการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกจนถึงปัจจุบัน คือ ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุล และได้ชมสิ่งของแทนตนจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน ห้องต่อไปที่ดิฉันได้ชมคือ ห้องบริพัตร (Paribatra Room) ที่เข้าไปวินาทีแรกที่เห็นคือ พระรูปหล่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่เหมือนจริงมากๆมีขนาดที่เท่ากับพระองค์จริงในฉลองพระองค์พลทหารเรือ ที่สวยงามมากและเหมือนจริงภายในห้องจะมีการจัดแสดงพระประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม วังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง แล้วได้ชมวีดีทัศน์พระประวัติด้วยเทคนิคจอภาพแนวตั้งสองจอสื่อมายาภาพ (Magic Vision) จำลองเหตุการณ์จริงในวันที่เสียง เพลง Hungarian Rhapody No.2 ขับกล่อมผู้มาเยือนเกือบศตวรรษที่ผ่านมา หุ่นจำลองวงดนตรีขนาดจิ๋วขยับบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ที่เหมือนเหตุการณ์จริงมาก นอกจากนี้ยังมีสิ่งของที่จัดแสดงที่ทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ชุดสุดท้าย และมีคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิตและวังบางขุนพรหมอย่างละเอียดแบบที่เราไม่คาดคิดเลยแหละ และต่อจากนั้นดิฉันก็ได้รับชมกับ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ภายในนิทรรศการได้จัดแสดงธนบัตรอันมีค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย ได้แก่ ธนบัตรที่อัญเชิญภาพพระราชกรณียกิจมาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุการณ์ทรงงานอันยิ่งใหญ่ โดยใช้สื่อมัลติมีเดียเล่าเรื่องราวมากมาย ใช้สื่อในการแสดงได้ทันสมัยมากโดยภายในนิทรรศการได้แบ่งเป็นโซนๆ มี4 โซนด้วยกัน คือ โซนแรกจะเป็นบทนำนิทรรศการพระราชหฤทัยสู่ประชาราษฎร์ โซนที่สองเป็น เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทยได้จัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจพร้อมความหมายเรื่องราวน่าประทับใจข้างหลังภาพคือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้แก่ชาวไทย โซนที่สามจะเป็นเส้นทางการทรงงาน จะบอกเล่าเรื่องราวและการทรงงานเพื่อพสกนิกรในภูมิภาคต่างๆผ่านเส้นทางทุรกันดาร เข้าไปทรงแก้ไขปัญหา บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร และสุดท้ายเป็นโซนที่สี่ ธนบัตรหาชมยาก ซึ่งมีการจัดแสดงธนบัตรที่หาชมไดยากของรัชกาลที่ 9 รวมทั้งธนบัตรเลขสวย แบบร่างสี และตัวอย่างธนบัตรที่หาชมที่อื่นไม่ได้ สาธิตการแกะแม่พิมพ์ธนบัตรและยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธนบัตรที่มุมคลินิกธนบัตรไทย และเมื่อเข้าชมก็ยังไก้ของที่ระลึกด้วย คือเข็มกลัดรัชกาลที่ 9 สวยงามมาก และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากพิพิธภัณฑ์วังบางขุนพรหมนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อรุ่นน้องหรือคนที่ยังไม่รู้ได้อีกด้วย และการไปชมพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้จะเก็บเป็นความทรงจำที่ดีด้วยค่ะ

จากการที่ดิฉันนางสาวจันธิมา เตมีพัฒนพงษา นักศึกษาสาขาการเงินและการธนาคาร ห้อง2 ได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติแห่งประเทศไทย ครั้งแรกที่ดิฉันเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติ ดิฉันร็สึกตื่นเต้นและประทับใจมากเพราะแค่ภายนอนตึกยังสวยงามมาก พอเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ก็จะเจอพี่ๆที่คอยต้อนรับและบริการเราเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ หรือให้ความรู้เพิ่มเติมจากในใบปลิว ในส่วนแรกที่ดิฉันเดินเข้าไปดู คือ ส่วนของห้องเปิดโลกเงินตราไทย ซึ้งทำให้ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเหรียญเงินตราในสมัยทวาราวดีที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมีจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินปากหมู เงินใบไม้ ส่วนเงินในอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เป็นต้น ในห้องนี้จึงทำให้ดิฉันได้รู้ถึงวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของเหรียญและเงินตราในยุคต่างๆ มากมายทั้งที่เราอาจจะเคยเห็นบ้างและไม่เคยเห็น และในห้องนี้ยังมีการเรียนรู้ในการจำรู้แบบเงินตราในยุคต่างๆโดยผ่านจอComputer Kiosk ซึ่งมีรายละเอียดออกไว้อย่างรอบด้านทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย และจากนั้นก้ไดไปชมพันธบัตรในยุคตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงในยุคปัจจุบัน เปรียบเทียบกันแล้วพบว่ามีการวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบพันธบัตรไว้หลายแบบหลายยุคหลายสมัยรวมไปถึงรูปทรงและขนาดของพันธบัตรอีกด้วย มีทั้งแบบที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น อย่างเช่นพันธบัตรใบละ60ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมแนวตั้ง พันธบัตรใบละ1บ., 10 บ. ที่ปัจจุบันนี้ไม่พบแล้วเป็นต้นในห้องนี้จึงเป็นห้องที่ประทับใจอีกห้องเพราะในห้องนี้มีทั้งแบบพันธบัตรแบบต่างๆแล้วยังมีแสดงวิธีการผลิตพันธบัตร ซึ่งวิธีการทำพันธบัตรให้ออกมาแต่ละใบที่มีลวดลายและลายเส้นสวยขนาดนี้ต้องใช้เวลาและต้นทุนสูง แถมยังได้เห็นพระกรณีย์กิจของพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น การที่ดิฉันได้มาชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติในวันนั้น ทำให้ดิฉันได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเงินตราต่างๆในสมัยก่อนในแต่ละยุคแต่ละสมัยว่ามีการใช้จ่ายอย่างไรและมีรูปแบบเป็นอย่างไร และมีค่ามากแค่ไหน เราจึงควรที่จะเห็นค่าและรู้จักใช้มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ความรู้ที่ดิฉันได้รับมาวันนั้นคุ้มค่ากับการที่ได้เข้ามาชมเป็นอย่างมากแถมยังได้ของที่ระลึกติดกลับมาอีกด้วย

จากที่ดิฉันน.ส.ศิริวรรณ ขันตี การเงินการธนาคาร02 ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่นั่นสวยมาก เจ้าหน้าที่ก็น่ารักมาก พี่เขาพาไปเข้าชมเหรียญในสมัยเก่าๆ เหรียญมีรูปแบบที่หลากหลาย สวยงามมาก และก็ยังมีคำอธบายตามรูปต่างๆทำให้ดิฉันได้ศึกษาเพิ่มเติมได้ ต่อมาได้ไปชมธนบัตรไทย ในสมัยต่างๆ และพี่ได้เล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังอย่างคราวๆ และปล่อยให้ดิฉันเดินชมรอบๆ และพี่เขายังได้เล่าประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทยให้ฟังคราวๆพุทธศักราช 2550 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ อันเป็นสิ่งยืนยันถึงการสืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตั้งแต่ครั้งเป็นบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี ส่วนการเข้าไปชมธนบัตรต่างๆก็จะมีรายละเอียดบอกใต้รูปให้อ่าน ทำให้มีความรู้เพิ่มเติม และสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากคือส่วนของธนบัตรเก่าๆของสมัยรัชกาลต่างๆ เพราะไม่สามารถหาดูได้จากที่ไหน ได้เห็นธนบัตรใบละ1บาท ครั้งแรกที่ได้เดินเข้าไปชมก็รู้สึกตื่นเต้นมาก บรรยายกาศรอบๆภายนอกก็ดูสดชื่นและได้เข้าไปดูเส้นทางการทรงงาน และได้ดูการทรงงานเพื่อพสกนิกรในภูมิภาคท่านได้เข้าไปแก้ปัญหาบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎร และมีอีกโซนซึ่งเป็นโซนของธนบัตรหายาก มีการจัดแสดงธนบัตรหายากของรัชกาลที่ 9 มีทั้งธนบัตรร่างสี ธนบัตรเลขสวย และธนบัตรอื่นๆที่หาชมไม่ได้ และยังมีธนบัตรที่ระลึกของรัชกาลที่9 มีหลากหลายรูปแบบ มีการสาธิตการเกาะแม่พิมพ์ธนบัตรและยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธนบัตรและได้ของที่ระลึกเป็นเข็มกลัดรัชกาลที่9 ส่วนของห้องเปิดโลกเงินตราไทย ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับเงินตราในสมัยทวาราวดี และนอกจากนี้ยังมีจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา ทำให้ดิฉันได้รู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของเหรียญและเงินตราในยุคต่างๆ ส่วนของด้านบนจะมีห้องบริพัตรเป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติและพระรูปหล่อของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ประทานกำเนิดวังบางขุนพรหม ส่วนอีกห้องเป็นห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นห้องที่เสนอประวัติศาสตร์และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย

ดิฉันนางสาวสนธยาเจริญพงศ์ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อในวันที่ 15ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2485 เป็นสถาบันการเงินที่มีความสวยงาม และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านการเงินที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน ซึ่งสวยงามและใหญ่โตมา อันดับแรกที่ผมเข้าไปศึกษาคือห้องเปิดโลกเงินตราไทยซึ่งในสมัยอดีตสุวรรณภูมิ ซึ่งไม่มีการใช้เงิน แต่เป็นการใช้ เครื่องใช้ลูกปัด เครื่องประดับ อาวุธในการแลกเปลี่ยนสู่ยุคแรกเริ่มการค้าในอุษาคเนย์ ส่วนในสมัยสุโขทัยจะใช้เงินพดด้วง และผมก็ได้ชมการแสดงจากวีทีทัศน์วิธีการทำเงินพดด้วงและได้เห็นเหรียญกษาปณ์ที่หายากต่างๆ หลังจากชมห้องนี้เสร็จ ผมกับเพื่อนๆก็ได้เดินไปดูห้องธนบัตรไทยและต่างประเทศ ซึ่งห้องนี้ผมได้เห็นทองคำแท่งของจริงซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศและได้ดูขั้นตอนการผลิตเงินไทยหรือการผลิตธนบัตรและวิธีการสังเกตธนบัตรไทย และผมก็ได้เห็นธนบัตรต่างประเทศซึ่งไม่เคยได้เห็นมาก่อน และห้องต่อมาที่ผมได้รับความรู้คือห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ดูวิดิโอที่เป็นการ์ตูนเรื่องบทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งห้องนี้ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะมีวิดิโอให้ดูทำให้ผมสนุกสนานและได้รับความรู้ห้องต่อไปที่ผมได้รับความรู้และชอบบรรยากาศคือห้องบริพัตร ซึ่งห้องนีใหญ่มาก และสวยงามในการจัดสิ่งของมาก และได้ดูการแสดงเล็กๆที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำขึ้นคือการแสดงพระประวัติของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นผู้สร้างกำเนิดวังบางขุนพลขึ้นนี้เอง การที่ผมไปพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ผมได้รับความรู้เป็นอย่างมาก ซึ่งความรู้นี้ได้สอดคล้องกับการเรียนในสาขาการเงินของผมเอง และได้ชมความสวยงามเหรียญสมัยก่อนๆที่มีทั้งในปจุบันและสมัยที่ผมยังไม่เกิดอีกด้วย

จากที่ผมได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาที่นี่ พอผมก้าวเข้ามาตั้งแต่ก้าวแรก ก็รู้สึกว่าที่นี่ กว้างขวาง สงบ ร่มรื่น และสวยงามมากๆ และมี่สำคัญยังติดกับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามมากๆอและพนักงานที่นี่ให้บริการดีและใจดีมาก ต้อนรับเป็นอย่างดี และความรู้ที่ได้ก็คือ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ และบทบาทหน้าที่ธนาคารของประเทศ ตลอดจนเรื่องราวของวังบางขุนพรหม และรู้จักบทบาทธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้แก่

1. การออกและพิมพ์ธนบัตร

2. เป็นนายธนาคารพาณิชย์

3. การควบคุมธนาคารพาณิชย์

4. การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล

5. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน

6. การพัฒนาตลาดเงินและตลาดเงินระหว่างประเทศ

7. การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล

และพอเข้าไปในพระตำหนัก ชั้นล่าง ก็จะมีห้องเปิดโลกเงินตรา เป็นห้องที่จัดแสดงเงินตราโบราณ เงินพดด้วง และกษาปณ์ไทย ห้องที่ 2 คือ ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ มีการจำลองเรื่องราวของธนบัตรไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา สนุกกับปริศนาธนบัตรไทยบนจอขนาดใหญ่ มีทั้งความรู้เกี่ยวกับธนบัตร ขั้นตอนการผลิตธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทยและรู้โลกของนักสะสมธนบัตร ห้องที่ 3 คือห้องธนบัตรต่างประเทศ

ที่มีการแสดงธนบัตรต่างประเทศ รู้โลกผ่านธนบัตรต่างประเทศที่แปลกตา ทั้งธนบัตรฉบับจริงและภาพธนบัตรผ่านจอ ห้องที่ 4 คือ ห้องเปิดโงกเรียนรู้ มีกิจกรรมและเกมสนุกๆ รวมทั้งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเงินตรา ธนาคารแห่งประเทศไทย ชั้นบน ห้องแรกก็จะเป็น ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคาร ห้องต่อมาคือห้องบริพัตร์ เป็นการจำลองดนตรีขนาดจิ๋วขยับบรรเลง ห้องต่อมาคือห้องจุมภฎพงษ์ จัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์

ต่อมาคือห้องเชิดชูเกียรติ และสุดท้ายคือห้องสีชมพูและห้องสีน้ำเงิน

จากที่ได้มานี้ผมก็ได้ความรู้มากมาย และยังได้เข้าชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5ธันวาคม 2554 ชื่อนิทรรศการ “ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” ซึ่งจัดในวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ถึง 13 มกราคม 2555

นายพิริยพงษ์ มนูญ

รหัสนักศึกษา 54127326078

สาขา การเงินการธนาคาร 02

สวัสดีคับผม นายวุฒินันท์ รอบคอบ นักศึกษา การเงินและธนาคาร 54127326057 ห้อง2

ความประทับใจจากการได้เข้าเยียมชมในครั่งนี้มีมากมาย แต่ทีผมชอบอาจจะเป็นสถาปัติยกรรม ของอาคาร ทียังคงรูปแบบทีสวยงาม และผสมผสานกับแบบ ปัจจุบันอย่างลงตัว และทีตั่งของแบงค์ชาติเองกอเหมาะ แก่การเยียมชม มีกลิ่นอายของอดีตทำให้ดูน่าสนใจผสมผสานกับปัจจุบันทำให้ดูทันสมัยไปในตัว และมีการนำเสนอ แบบทันสมัยทำให้ไม่น่าเบือจนเกินไป

ประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหมมาตั้งแต่ พ.ศ.2488 จนเมื่อได้ครอบครองกรรมสิทธิ์วังเทวะเวสม์ ใน พ.ศ.2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอยู่ในอาณาบริเวณของวังอันงดงามทั้งสอง ซึ่งมีเนื้อที่ 55 ไร่ ท่ามกลางภูมิทัศน์อันร่มเย็นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

1.ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม

2.ตำหนักสมเด็จ

3.ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์

4.เรือนแพ

5.อาคารหม่อมจันทร์

6.อาคารหม่อมละม้าย

7.แนวกำแพงโบราณกั้นระหว่างสองวัง

8.อาคารสำนักงานใหญ่เดิม

9.อาคารสำนักงานใหญ่ปัจจุบัน

จากการที่ผมได้ไปเยี่ยมชมแบงค์ชาติไทยมา และชมจัดนิทรรศการ "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ทำให้ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเงินตราต่างๆในสมัยก่อนในแต่ละยุคและสมัยว่ามีการใช้จ่ายอย่างไรและมีรูปร่างแบบใดในสมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนเงินตราไม่ได้เหมือนกับสมัยปัจจุบัน แถมยังมีรูปร่างที่แปลกและใหญ่ ลำบากแก่การพกหรือใช้จ่ายต่างๆ และมูลค่าจะน้อยกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆในแต่ละยุคสมัยมีการพัฒนาให้มีค่ามากกว่าเดิมและพกพาง่ายซึ่งจะสะดวกในการใช้จ่าย และเงินตราในสมัยก่อนจะเรียกว่าเบี้ยหรืออื่นๆ สมัยก่อนจะไม่เป็นแบงค์แบบนี้แต่จะเป็นพวกหอยและหินเป็นต้น แต่มูลค้าก็จะน้อยกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก การพัฒนาในแต่ละยุคถือว่าเป็นความสำคัญมากเพราะกว่าจะมาถึงปัจจุบัน คนสมัยก่อนต้องใช้จ่ายอย่างลำบาก เพราะปัจจุบันใช้จ่ายง่ายกว่าอย่างมากมีทั้งธนาคารและระบบออนไลน์ซึ่งจะใช้จ่ายได้รวดเร็วและทันสมัยเป็นอย่างมากเลยทีเดียว และระบบสกุลเงินไทยในสมัยก่อนจะไม่เรียกว่าบาท จะเรียกว่า หาบ ชั่ง ตำลึง พดด้วง และยังมีประวัติเงิยตราในยุคต่างอีกด้วย เช่น ประวัติความเป็นมาของเหรียญเงินตราในสมัยทวาราวดีที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมีจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินปากหมู เงินใบไม้ ส่วนเงินในอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เป็นต้น ในห้องนี้จึงทำให้ผมได้รู้ถึงวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของเหรียญและเงินตราในยุคต่างๆ มากมายทั้งที่เราอาจจะเคยเห็นบ้างและไม่เคยเห็น และในห้องนี้ยังมีการเรียนรู้ในการจำรู้แบบเงินตราในยุคต่างๆ โดยผ่านจอComputer Kiosk ซึ่งมีรายละเอียดออกไว้อย่างรอบด้านทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย และจากนั้นก้ไดไปชมพันธบัตรในยุคตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงในยุคปัจจุบัน เปรียบเทียบกันแล้วพบว่ามีการวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบพันธบัตรไว้หลายแบบหลายยุคหลายสมัยรวมไปถึงรูปทรงและขนาดของพันธบัตรอีกด้วย มีทั้งแบบที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น อย่างเช่นพันธบัตรใบละ60ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมแนวตั้ง ที่ปัจจุบันนี้ไม่พบแล้วเป็นต้นในห้องนี้จึงเป็นห้องที่ประทับใจอีกห้องเพราะในห้องนี้มีทั้งแบบพันธบัตรแบบต่างๆแล้วยังมีแสดงวิธีการผลิตพันธบัตร ซึ่งวิธีการทำพันธบัตรให้ออกมาแต่ละใบที่มีลวดลายและลายเส้นสวยขนาดนี้ต้องใช้เวลาและต้นทุนสูง แถมยังได้เห็นพระกรณีย์กิจของพระเจ้าอยู่หัวของเราที่ทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น การที่ผมได้มาชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติในวันนั้น ทำให้ผมได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเงินตราต่างๆในสมัยก่อนในแต่ละยุคแต่ละสมัยว่ามีการใช้จ่ายอย่างไรและมีรูปแบบเป็นอย่างไร และมีค่ามากแค่ไหน เราจึงควรที่จะเห็นค่าและรู้จักใช้มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด และมีการแสดงประวัติและหลักการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกจนถึงปัจจุบัน คือ ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุล และได้ชมสิ่งของแทนตนจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่านๆและ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นเรียกว่าเป็นการดึงดูดสายตาของผู้เข้าชมได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกสถานที่หนึ่งหากได้เข้าไปเยี่ยมชม การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในครั้งทำให้ดผม ได้เปิดโลกทัศน์ในเรียนรู้ได้เป็นอย่างมากยิ่งขึ้นจากการเข้าไปเยี่ยมชม ความประทับใจของผมมีมากมายตั้งแต่เมื่อผมได้เข้าไปในเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นครั่งแรกเพิ่งเคยมาเป็นครั้งแรก ก็รู้สึกประทับใจ อยากให้คนทียังไม่ เคยไปได้ไปลองดูประวัติเงินตราทั่งในอดีตทีหาดูได้ยาก จนถึงปัจจุบัน

จากการที่ดิฉันนางสาวคนัสพร แก้วไกรสอน ได้ไปเยี่ยมชม วังบางขุนพรหมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยดิฉันรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เพราะพี่ๆที่เป็นเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ หรือให้ความรู้เพิ่มเติมต่อจากนั้นดิฉันก็ได้เดินไปศึกษาและค้นคว้าประวัติ ความเป็นมา หน้าที่การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย การเงิน การธนาคาร การแลกเปลี่ยน การเริ่มแรกใช้เงินตราแลกเปลี่ยนสิ่งของ เหรียญตราต่างๆ แรกเริ่มใช้เงินกระดาษ ธนบัตร โดยในห้องจัดแสดงในชั้นที่ 1 ห้องเปิดโลกเงินตรา ได้เรียนรู้ข้อมูลของสื่อกลางการแลกเปลี่ยนตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคนี้ ในรูปแบบ Animation และ ประวัติวิวัฒนาการ การใช้เงินตรา เหรียญ แลกเปลี่ยนในประเทศไทย เงินตราโบราณ เงินพดด้วงที่มีใช้มากว่า 600ปี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนมายกเลิกการใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เหรียญกษาปณ์ ที่มีตั้งแต่รัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ห้องธนบัตรไทย แสดงการใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราของประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า หมาย เรื่อยมาจนธนบัตรที่ใช้กันในปัจจุบัน ธนบัตรเลขสวย ธนบัตรหายาก ธนบัตรต่างประเทศ ประเภทต่างๆ ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย รู้จักการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าทำงานอย่างไร มีหน้าที่อะไร ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

เป็นโอกาสดีที่ดิฉันได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยเนื่องจากช่วงนี้มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554ซึ่งจัดตั้งแต่วันที่ 6-13 ม.ค.54 มีชื่องานว่า "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ภายในงานก็จะมีบุคคลากรนำเราเข้าชมเพื่อบอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาต่างๆ ใครมีความสนใจเกี่ยวกับธนบัตรสามารถไปเยี่ยมชมได้ที่งานนี้น่ะค่ะ มาฟังประวัติคร่าวๆของธนาคารแห่งประเทศไทยกันค่ะ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงก์ชาติ (The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

สวัสดีค่ะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

จากการที่ดิฉัน นางสาว วรรณา ว่องสาริกิจ นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร)

กลุ่ม เรียน(02) ได้ไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรม (The Bank of Thailand Museum, Bangkhunprom palace) นั้น ความรู้สึกแรกที่ได้ เข้าไปสัมผัสคือความเป็นกันเองของพี่ๆพนักงานไม่ว่าจะเป็นยามหรือพนักงานต้อนรับเพราะให้ความช่วยเหลือดีมากช่วยบอกทางและให้การต้อนรับเป็นอย่างดีพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถานที่ที่มีความสวยงามมากมีวิวทิวทัศน์และบรรยากาศสวยงามมากเพราะติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและสะพานพระรามแปด อาคารสถานที่ต่างๆและต้นไม้ต่างๆที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงามเหมาะกับการเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งแรกที่ดิฉันเข้าไปเยี่ยมชมคือห้องจัดแสดง นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มีชื่องานว่า ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้เพื่อเผยแพร่พระราชกรณีกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยภายในงานมีการจัดแสดงธนบัตรที่ระลึกที่มีการจัดทำขึ้นในรัชสมัย และยังได้รวบรวมธนบัตรที่หาชมได้ยากไว้มากมายหลายฉบับ นับตั้งแต่ต้นรัชกาลมาจัดแสดงไว้ด้วย โดยมีการจัดงานแบ่งเป็นโซนต่างๆดังนี้คือ

โซนที่ ๑ จะเป็นบทนำนิทรรศการ เป็นการแสดงพระราชดำรัสต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะมีพระพระราชดำรัสต่างๆเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างมี ประโยชน์และรู้จักประมานตน อดออม และพอเพียง โดยใช้เงินในทางที่ถูกที่ควรก็ก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง

โซนที่ ๒ จะเป็นการจัดแสดงธนบัตรเกี่ยวกับภาพพระราชกรณีกิจต่างๆของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากการทรงงานตามสถานที่ต่างๆเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ห่างไกลเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนชาวไทย

โซน ๓ จะเป็นการแสดงเกี่ยวกับการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จไปในสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทยและโซน ๔ จะเป็นการจัดแสดงธนบัตรที่หายากของรัชกาลปัจจุบัน รวมธนบัตรแบบร่างสีตัวอย่างธนบัตรที่หาดูได้ยาก ซึ่งการนำเสนอนั้นทีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการให้ความรู้เช่น ipad โดยการนำเยี่ยมชมของพี่ๆพนักงานหลังจากที่ได้ชมนิทรรศการต่างๆจนทั่วก็ได้กรอกแบบประเมินและได้รับเข็มกลัดที่ระลึกที่งานนี้โดยเฉพาะดิฉันประทับใจมากค่ะและต่อมาก็ได้มาตำหนักใหญ่ที่มีประวัติเกี่ยวกับเงินตราตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันทำให้ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องเงินตราได้เห็นว่าคนในสมัยก่อนมีการใช้สิ่งใดในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันตั้งแต่หอยเบี้ย เงินพดด้วง เงินปี่และต่างๆจนมาถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรอย่างปัจจุบันได้รับความรู้เกี่ยวกับ เครื่องประดับที่มีความสวยงามมีคุณค่าและหาชมได้ยากและยังได้ชมประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้รู้ว่าตราพระสยามเทวาธิราช เป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2485-ปัจจุบันและห้องสุดท้ายที่ได้เยี่ยมชมคือห้องบริพัตรทำให้ทราบถึงประวัติของวังบางขุนพรมแห่งนี้ นอกจากนี้ยังได้ชมหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่ยืนเด่นเป็นสง่าน่าเคารพเป็นอย่างยิ่ง และยังมีการแสดงเรื่องราวพระประวัติของท่านอย่างน่าสนใจซึ่งมีการนำเสนอด้วยเทคนิคที่สวยงายและแปลกใหม่ไม่เคยชมจากที่ไหนมาก่อน

หลังจากที่เยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เสร็จดิฉันก็ได้ซื้อเหรียญที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้นำแผ่นกระดาษที่พนักงานเตรียมไว้ไปพิมพ์สัญลักษณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ธนบัตรอีกด้วย

สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี เป็นอย่างยิ่งที่แนะนำดิฉันให้ไปชมเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย การได้ไปเยี่ยมชมในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้ที่ความประทับใจต่างๆและยังได้ชมบรรยากาศที่สวยงามของสถานที่ ซึ่งหาไม่ได้ในห้องเรียน เราต้องมาสัมผัสด้วยตัวของเราเองจากสถานที่จริงซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดิฉันประทับใจมากค่ะและถ้ามีโอกาสก็จะไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยอีกครั้งและถ้าเป็นไปได้ก็อยากทำงานที่นี่ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นางสาว วรรณา ว่องสาริกิจ (คนใส่เสื้อคลุมสีฟา ตัวสูงที่สุด อ่ะค่ะ^^)

54127326058

การเงินการธนาคาร (02)

จากในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ผทได้ไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังขุนพรหม (The Bank of Thailand Museum,Bankhunprom Palace) ครั้งแรกที่ผมก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ผมรู้สึกตื่นเต้นมากและประทับใจอย่างมากเพราะผมได้เห็นพิพิธภัณฑ์วังขุนพรหมแล้วสวยมากและการผสมผสานกันของสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกันอย่างลงตัวทำให้ดูสวยงามและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพราะตัว ที่โดดเด่น ผมก็ได้ทราบความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วังขุนพรหมว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2585 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังขุนพรหมตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอยู่ในอาณาบริเวรของวังอันงดงามทั้งสองและถือ เป็นโอกาสดีที่ผมได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยเนื่องจากช่วงนี้มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554ซึ่งจัดตั้งแต่วันที่ 6-13 ม.ค.54 มีชื่องานว่า "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ภายในงานก็จะมีบุคคลากรนำเราเข้าชมเพื่อบอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาต่างๆ ใครมีความสนใจเกี่ยวกับธนบัตรสามารถไปเยี่ยมชมได้ที่งานนี้น่ะคับ มาฟังประวัติคร่าวๆของธนาคารแห่งประเทศไทยกันค่ะ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงก์ชาติ (The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 อดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้า ตั้งเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินตราก็ใช้เครื่องประดับ ลูกปัด อาวุธแทนเงิน และเมื่อเวลาต่อมาก็มีการเริ่มใช้เงินตรามาเป็นสื่อในการซื้อสินค้า นอกจากเรื่องราวของประวัติก็ได้เห็นเงินตราของสมัยต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น เงินตราสมัยโบราณ เงินพดด้วง และเงินกษาปณ์ไทย ที่วิวัฒน์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในห้องนี้นอกจากมีเงินตราแล้วยังมี Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้เข้าใจมากขึ้น ถือเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ได้ดีมากคับ เเละสุดท้ายของห้องนี้ก็เป็นห้องกษาปณ์ไทย ห้องที่สองคือ “ห้องธนบัตรไทยเละธนบัตรต่างประเทศ” ห้องธนบัตรไทยนี้ก็จัดแสดงธนบัตรที่หายาก หรือแทบจะไม่เคยพบเห็นเลย นอกจากที่นี่ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นธนบัตรแบบแรก ที่เรียกกันว่าเงินกระดาษ หรือหมาย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และธนบัติสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ก้ยังมีธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรที่สวยงามน่าเก็บสะสม และยังได้เรียนรูเพิ่มเติมจาก Diorama แสดงถึงเรื่องราวของธนบัตรไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รู้จักวิธีการผลิตธนบัตรที่มีขั้นต่างๆๆที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน วิธีสังเกตธนบัตรไทย ได้พบกับธนบัตรต่างประเทศอีกมากมาย สำหรับห้องที่สามที่ได้เข้าชมคือ “ห้องบริพัตร” เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ที่ประทาน กำเนิดวังบางขุนพรหม สถานที่ที่งดงามแห่งนี้ และยังได้พบกับ หุ่นจำลองของพระองค์ และสิ่งของที่ทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ เคื่องประดับส่วนพระองค์ และสิ่งของต่างๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับท่านและเต็มไปด้วยความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จากที่ไหนมาก่อน และที่สุดท้ายที่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้นั่นคือ ตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจัดนิทรรศการ “ ภัทรมหาราช ธนบัตชาติไทย” ที่นี้ก็จัดแสดงธนบัตรมากมาย ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งธนบัตรในอดีต ธนบัตรปัจจุบัน ธนบัตรที่ระลึกมากมาย และยังได้ความรู้เกียวกับพระกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย หลังจากที่ผมได้เข้าไปเยี่ยมชมทำให้ได้รับความรู้มากมาย ที่ไม่เคยรู้มาก่อนคับ

นาย ศราวุฒิ เขียวจักร เขียวจักร์ 54127326077

จากที่ดิฉันนางสาวนริศรา ทองอินทร์ นักศึกษาสาขาวิชาการเงินการธนาคาร 02ได้มีโอกาศไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังขุนพรหม ที่ได้มีการจัดแสดงซึ่งในพิพิธภัณฑ์ได้มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติ บทบาทหน้าที่ ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีการจัดแสดงแบ่งเป็นแต่ละห้องซึ่งได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเงินตราของไทย เช่น มีการจัดแสดงเรื่องราวของเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ในห้องที่จัดแสดงนั้นมีเงินพดด้วงครบทุกยุคทุกสมัยที่หาชมได้ยาก รวมทั้งจัดแสดงอุปกรณ์การจัดทำเงินพดด้วง นอกจากนี้ยังมีการแสดงองค์ประกอบของเงินพดด้วง ตราสัญลักษณ์ของเงินพดด้วงสมัยต่างๆ และยังมีเกมคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของการจัดแสดงในส่วนเปิดโลกเงินตราอีกด้วยและยังได้รู้อีกด้วยว่า ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ โดยมีกระทรวงพระคลัง (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑๑ รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การจัดทำและนำออกใช้ธนบัตร เป็นหน้าที่หลักสำคัญอีกด้านหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างยิ่งด้วย เพื่อให้ธนบัตรไทย คงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือที่สมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญในปัจจุบัน หลังจากนั้น ดิฉันก็ได้ไปที่ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรม ซึ่งได้มีการจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย โดยจัดเป็นโซน หลังจากชมเสร็จก็ให้ใบประเมินมาทำแล้วก็ให้ของที่ระลึกเป็นเข็มกลัดด้วยค่ะ การที่ดิฉันได้มาชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติในวันนั้นก็ได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับประวัติของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งชาติ และเงินตราที่มีความเป็นมาที่ยาวนานและควรค่าแก่การรักษาไว้เพื่อชนรุ่นหลังและเพื่อให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

ลักษณะของเงินที่ดึ

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

ข้อ9

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ได้ประโยชน์เสียประโยชน์ เงินเฟ้อ

จะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ของบุคคลในกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่

1.1 กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์

- กลุ่มลูกหนี้ คือหนี้ลดลง

- นักเก็งกำไร คือกักตุนสินค้าเมื่อคาดว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

- พวกที่มีรายได้เปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ

1.2 กลุ่มผู้เสียประโยชน์

- เจ้าหนี้

- ผู้บริโภค

- พวกที่มีรายได้เป็นตัวเงินคงที่

2. ผลต่อการถือครองทรัพย์สิน

- ทรัพย์ทางการเงิน มูลค่าทรัพย์สินลดลง

- ทรัพย์สินที่แท้จริง มูลค่าเพิ่มขึ้น

3. ผลต่อการถือเงินสดของประชาชน

- เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ

- มูลค่าของเงินลดลง

- ลดการถือครองเงินสด

- ถือครองทรัพย์สืนที่แท้จริง

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

5. ตอบ ดัชนีราคาผู้บริโภคคือ นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณเนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

ข้อ2 กฎของเกรแชม (Gresham's law) เงินเลว [ทำด้วยโลหะที่มีราคาต่ำ] จะไล่เงินดีออกไปเมื่อเงินเลวเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender)ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงที่ใช้มาตรฐานเงินคู่ การเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนของโลหะทองคำ และโลหะเงินจะก่อให้เกิดปรากฏการไป ตามกฎของ เกรแชม ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อมูลค่าของโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งลดต่ำลง จะมีการนำเอาโลหะชนิดนั้นออกมาทำเป็นเหรียญเงิน และเก็บโลหะหรือเหรียญเงินที่มีมูลค่าสูง เอาไวจึงทำให้เหลือแค่เหรียญเงินที่มีมูลค่าต่ำเท่านั้นไหลเวียนออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจและหากอัตราส่วนในการซื้อ ขาย โลหะทองคำและโลหะเงินเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เป็น การยากที่จะพยายามรักษาอัตราส่วนที่เคยได้ กำหนดไว้ เช่น กำหนดอัตราส่วนโลหะทอง คำกับโลหะเงินไว้ที่ 1 ต่อ 10 แต่ตามความ เป็นจริงในระบบเศรษฐกิจแล้วอาจจะมีอัตราส่วนระหว่างโลหะทองคำ และโลหะเงินได้ที่ 1 ต่อ 11 เป็นต้น

.มาตราฐานโภคภัณฑ์สำรอง (Commodity reserve Standard) (B. Gresham) เป็นหน่วยของเงินตราที่อ้างอิงกับโภคภัณฑ์ หลายชนิดด้วยกัน ในการคำนวณหาค่าของหน่วยเงินตราจะใช้โภคภัณฑ์หลายชนิดเป็นหลักในการคำนวณ และมักจะใช้ดัชนีราคามาเป็นหลักในการคำนวณ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ดีบุก โดยกำหนดให้แต่ละชนิดมีน้ำหนัก และปริมาณต่างกัน ตามความสำคัญของโภคภัณฑ์นั้นๆ แล้วรวมเข้าเป็นหน่วยโภคภัณฑ์และเมื่อช่วงที่น้ำมันลดลงก็อาจจะมีพลังงานทดแทนตัวอื่นมาใช้แทนน้ำมันเช่น อาจจะใช้น้ำมันจากปาล์มก็ได้ ซึ่งก็เป็นสินค้าโภคภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง เมื่อราคาน้ำมันลดลงสินค้าพวกนี้ก็อาจจะลดลงตามไป เพราะถ้าราคาน้ำมันแพงขึ้น ผู้คนก็จะมองหาพลังงานทดแทนตัวอื่นที่มีราคาถูกกว่า ก็เป็นไปตามกฎของเศรษศาสตร์

ข้อ2 กฎของเกรแชม (Gresham's law) เงินเลว [ทำด้วยโลหะที่มีราคาต่ำ] จะไล่เงินดีออกไปเมื่อเงินเลวเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender)ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงที่ใช้มาตรฐานเงินคู่ การเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนของโลหะทองคำ และโลหะเงินจะก่อให้เกิดปรากฏการไป ตามกฎของ เกรแชม ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อมูลค่าของโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งลดต่ำลง จะมีการนำเอาโลหะชนิดนั้นออกมาทำเป็นเหรียญเงิน และเก็บโลหะหรือเหรียญเงินที่มีมูลค่าสูง เอาไวจึงทำให้เหลือแค่เหรียญเงินที่มีมูลค่าต่ำเท่านั้นไหลเวียนออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจและหากอัตราส่วนในการซื้อ ขาย โลหะทองคำและโลหะเงินเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เป็น การยากที่จะพยายามรักษาอัตราส่วนที่เคยได้ กำหนดไว้ เช่น กำหนดอัตราส่วนโลหะทอง คำกับโลหะเงินไว้ที่ 1 ต่อ 10 แต่ตามความ เป็นจริงในระบบเศรษฐกิจแล้วอาจจะมีอัตราส่วนระหว่างโลหะทองคำ และโลหะเงินได้ที่ 1 ต่อ 11 เป็นต้น

.มาตราฐานโภคภัณฑ์สำรอง (Commodity reserve Standard) (B. Gresham) เป็นหน่วยของเงินตราที่อ้างอิงกับโภคภัณฑ์ หลายชนิดด้วยกัน ในการคำนวณหาค่าของหน่วยเงินตราจะใช้โภคภัณฑ์หลายชนิดเป็นหลักในการคำนวณ และมักจะใช้ดัชนีราคามาเป็นหลักในการคำนวณ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ดีบุก โดยกำหนดให้แต่ละชนิดมีน้ำหนัก และปริมาณต่างกัน ตามความสำคัญของโภคภัณฑ์นั้นๆ แล้วรวมเข้าเป็นหน่วยโภคภัณฑ์และเมื่อช่วงที่น้ำมันลดลงก็อาจจะมีพลังงานทดแทนตัวอื่นมาใช้แทนน้ำมันเช่น อาจจะใช้น้ำมันจากปาล์มก็ได้ ซึ่งก็เป็นสินค้าโภคภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง เมื่อราคาน้ำมันลดลงสินค้าพวกนี้ก็อาจจะลดลงตามไป เพราะถ้าราคาน้ำมันแพงขึ้น ผู้คนก็จะมองหาพลังงานทดแทนตัวอื่นที่มีราคาถูกกว่า ก็เป็นไปตามกฎของเศรษศาสตร์

ข้อ10 ตั๋วแลกเงิน

หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั่วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้

ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้

ตั่วสัญญาใช้เงินตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

ตั๋วทั้งสองใบแตกต่างกันตรงที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ไว้ใช้สำหรับเรียกเก็บเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีคำมั่นสัญญาไว้ต่อกันว่าสักวันจะต้องคืนเงินก้อนนี้ให้กับคนนี้ตามเวลาที่ได้สัญญากันเอาไว้แล้วส่วนตั๋วแลกเงินใช้สำหรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เราได้หยิบยืมเงินเค้ามาแล้วนั้นเพื่อทำธุระบางอย่างก็ตาม ลูกหนี้จะเป็นคนออกเท่านั้น

3. ตอบ การวิเคราะห์สินเชื่อ

การวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

สินเชื่อในประเทศ

สินเชื่อบ้าน ที่ดินพร้อมบ้าน ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์

สินเชื่อธุรกิจ SMEs ธุรกิจแฟรนไซส์

ข้อที่ 5 ขั้นตอนการจัดทำดัชนีผู้บริโภค ความหมายของดัชนีราคาดัชนีราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนดกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 2.กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคาในการจัดทำดัชนีราคา ขั้นแรกและสำคัญที่สุด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่าดัชนีราคาที่จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ต้องการวัดหรือชี้อะไร สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัด เป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน3 การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในการสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่าง ๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในระดับต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและ ชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการบริโภคและการดำรงชีพอย่างไร 4 การจัดทำน้ำหนัก (Weight) และความสำคัญเปรียบเทียบ (Relative importance) ของรายการสินค้า การจัดหมวดหมู่สินค้าโดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 7 หมวด คือ 1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า3. หมวดเคหสถาน4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 6. หมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา 7. หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าจะเผยแพร่ และรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทุก ๆ เดือน การรายงานการเคลื่อนไหวของดัชนีราคามักจะเปรียบเทียบในรูปของร้อยละมากกว่าที่จะเปรียบเทียบตัวเลขของดัชนีราคาโดยตรง

ข้อที่6 ดัชนีราคาผู้ผลิตต่างจากดัชนีผู้บริโภคคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต หมายถึง ดัชนีราคาที่คำนวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้ผลิตมีอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศทางด้านผู้ผลิต 3. เป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของประเทศ 4. เป็นตัวปรับสัญญาซื้อขายระยะยาว 5. เป็นแนวทางกำหนดงบประมาณรายจ่าย แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนดกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายการวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ

ข้อ9 ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ข้อ1 บทบาทหน้าที่ของเงินคือ 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) คือ คนทุกคนต้องยอมรับในการที่สิ่งๆนั้นเป็นสื่อกลาง เวลาพ่อค้าขายของให้กับลูกค้าก็ต้องยอมรับเงินที่ลูกค้านำมาให้ (ดังที่เขียนไว้ด้านหน้าธนบัตรทุกใบว่า ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)

2. สามารถเป็นหน่วยวัดได้ (Unit of account) หรือสามารถแยกย่อยได้ ดังที่ได้กล่าวมาในข้อหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องการขายเป็นหน่วยย่อย ก็สามารถใช้เงินมาแทนได้ โดยผู้เลี้ยงหมูก็จะขายหมูให้พ่อค้าคนกลาง แล้วพ่อค้าคนกลางก็จะไปแยกขายหาคนซื้อเอาเอง (บวกกำไรเป็นค้าหาคนซื้อและรับความเสี่ยงที่หมูจะเน่าไป)

3. เก็บรักษามูลค่าได้ (Store of value) เนื่องจากเงินไม่เสื่อมสภาพ ไม่เน่าเสีย เหมือนสินค้าปกติทั่วไป ไม่มีตกรุ่นไม่มีเก่าเหมือน ipod iphone ราคาหรือมูลค่าของมันก็ยังคงเดิม วันรุ่งขึ้นหรือวันถัดๆไปก็ยังสามารถเอาไปซื้อหมูมากิน ซื้อข้าวมากินได้เหมือนเดิม (กรณีนี้ขอยังไม่พูดถึงเรื่องเงินเฟ้อนะครับ เดี๋ยวจะงงกว่าเดิม)

ความสำคัญของเงินคือ เงินคือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ มีค่าคงที่ เป็นหน่วยวัดมูลค่า เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

คุณสมบัติของเงินเป็นที่ยอมรับของสังคม มีมูลค่าคงตัวหรือมีเสถียรภาพ มีความคงทนถาวร สามารถดูออกง่าย นำติดตัวและพกพาได้สะดวก

ข้อ10 ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ส่วนตั๋วแลกเงิน คือ มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

ตั๋วทั้งสองใบแตกต่างกันตรงที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ไว้ใช้สำหรับเรียกเก็บเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีคำมั่นสัญญาไว้ต่อกันว่าสักวันจะต้องคืนเงินก้อนนี้ให้กับคนนี้ตามเวลาที่ได้สัญญากันเอาไว้แล้วส่วนตั๋วแลกเงินใช้สำหรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เราได้หยิบยืมเงินเขามาแล้วนั้นเพื่อทำธุระบางอย่างก็ตาม ลูกหนี้จะเป็นคนออกเท่านั้น

ข้อ7 ภายใต้สภาพคล่องในระบบการเงินที่ลดน้อยลงในปัจจุบัน ส่งผลให้แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขที่ระดับราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นนั้นเป็นไปด้วยความอยากลำบาก ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินมีขีดจำกัดมากขึ้น ในแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดดังกล่าว จึงมี 2 แนวทางที่สำคัญที่เป็นที่กล่าวถึงในปัจจุบัน ทางหนึ่งคือการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ในปัจจุบัน ซึ่งมุ่งหมายที่จะรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาในประเทศ และอีกทางซึ่งนำเสนอโดยภาคธุรกิจโดยเสนอให้ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อส่งเสริมสภาพคล่อง โดยมุ่งมั่นที่จะให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปด้วยการลงทุน ภายใต้ความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

การบริหารความเสี่ยงความสำเร็จ บริการบริหารความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจและตอบสนองความต้องการของประชาชนมีเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านตลาดจากอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหุ้น ดอกเบี้ย และทองคำ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ผนวกกับผลิตภัณฑ์การออม ความท้าทาย ผู้ใช้บริการยังไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยตลาดผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภทยังขาดความลึกและสภาพคล่อง อาทิ ตราสารอนุพันธ์ระยะยาว ผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะด้าน cross-border ขณะที่สถาบันการเงินไทยยังไม่นิยมตามธุรกิจไทยออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศมากนัก ประกอบกับ SME ยังขาดความรู้ด้านการบริหารและป้องกันความเสี่ยง

การเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินสำหรับประชาชนและธุรกิจ

ความสำเร็จสถาบันการเงินเผยแพร่ข้อมูลที่ความโปร่งใสและมีคุณภาพสูงขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจออมและลงทุนในระยะยาว รวมถึงให้บริการข้อมูลด้านการวิจัย และคำปรึกษาการเงิน-การลงทุน นอกจากนี้ การรวมศูนย์ข้อมูลลูกหนี้ที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ขณะที่กระแสวินัยตลาด (market discipline) จากการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินต่อสาธารณชน ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวม

ข้อที่ 8 นโยบาย6 มาตรการ 6 เดือน 1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง โดยจะปรับภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 91, 95 , E10, E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 3.30 บาท เหลือลิตรละ 0.0165 บาท จากปัจจุบันที่จัดเก็บลิตรละ 3.3165 บาทต่อลิตร และหากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดแล้วจะทำให้ลดลงได้ลิตรละ 3.88 บาท เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท

ขณะที่น้ำมันดีเซล บี2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท เหลือลิตรละ 0.005 บาท หรือลดลงได้ลิตรละ 2.71 บาท และลดภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท เหลือลิตรละ 0.0048 บาท หรือลดลงได้ ลิตรละ 2.45 บาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 ก.ค. 51 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช่วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท

2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง

3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท

4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท

5. จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ คาดว่าจะใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท

6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางรัฐจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยหน่วยงานต่าง ๆ จะยังคงได้รับรายได้เช่นเดิม แต่รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนให้โดยคาดว่า จะใช้เงินทั้งหมดประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ยังเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ และจะช่วยบรรเทาการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังได้ จากนโยบาย6มาตรการ 6 เดือน มาตรการนี้ก้อมีทั้งข้อดีและ ข้อเสีย

ข้อดีก็คือ ประชาชนไดประโยชน์จากมาตรการนี้มากๆเช่น ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคา เพราะจะได้ลดค่าใช้จ่ายภายในครัวครัวลง และมาตรการที่ว่า จัด รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายก็เป็นการช่วยประชาชนอีกทางหนึ่งซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ลดค่าเดินทาง ซึ่งดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่จะต้องเดินทางไปเรียนทุกๆวันถ้ามีมาตรการนี้ก็จะทำให้ดิฉันได้ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงบ้าง

ข้อ3 การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

ตัวอย่างการสินเชื่อ 1)สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ เป็นสินเชื่อในลักษณะเช่าซื้อสำหรับบุคคล หรือนิติบุคคล ที่ต้องการซื้อรถยนต์ใหม่มาใช้งานโดยทั่วไปด้วยบริการทางการเงินที่ตอบสนองสำหรับบุคคลที่ต้องการบริหารการใช้เงิน เพื่อซื้อรถยนต์อย่างชาญฉลาด โดยเพียงชำระเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และที่เหลือท่านสามารถผ่อนชำระเป็นงวด งวดละเท่าๆ กันด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ เท่านี้ท่านก็เป็นเจ้าของรถยนต์ที่ท่านต้องการแบบสบายๆ ทั้งนี้ท่านสามารถขอปิดบัญชีก่อนกำหนดได้โดยไม่ต้องเสียค่าปรับพร้อมได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ปิดบัญชีก่อนกำหนดถึง 50% ของดอกเบี้ยคงค้าง และเมื่อท่านผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว กรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถจะเป็นของท่านทันที หรือท่านสามารถโอนสิทธิ์เช่าซื้อนี้ให้กับบุคคลอื่นได้

2) สินเชื่อเพื่อการเคหะ

บริการสินเชื่อเพื่อการกู้ยืมสำหรับลูกค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปซื้อ หรือปลูก สร้างที่อยู่อาศัย, ซ่อมแซม โดยมีการผ่อนชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกๆ เดือนตามระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด

3)สินเชื่อธุรกิจ SMEs

ธนาคารออมสิน ตระหนักดีว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็น รากฐานของการพัฒนา และสร้างรายได้ของประเทศ เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต แข็งแรง ทัดเทียมนานาประเทศได้ จึงเปิดบริการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มีทุนทรัพย์ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีระบบจัดการ และการผลิตให้เป็นมาตรฐาน พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับก้าวแรกของกิจการให้สามารถเติบโต เป็นธุรกิจที่มั่นคง

นางสาวศิริวรรณ ขันตี 54127326064

ข้อ8" 6 มาตราการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติชาติ " ประกอบด้วย

1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน

เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยการเพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ฉันคิดว่าก็คงมีคนได้ประโยชน์จากการขายแก๊สโซฮอล์อ และในระยะยาวเครื่องยนต์กลไกของรถยนต์ที่เสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร ซึ่งเป็นผลจากการใช้แก๊สโซฮอล์ คงไม่มีใครรับผิดชอบนอกจาก ต้องควักเงินซื้อรถยนต์ใหม่ แล้วแค่ 6 เดือนวางแผนลดภาษีน้ำมัน แต่ในอนาคตไม่วันใดวันหนึ่งต่อไปก็ต้องใช่เงินคืนอยู่ดี พอหลังจาก 6 เดือนไปหมดช่วงโปรโมชั่น ฉันว่าถ้ารัฐบาลลุงหมักรู้ตัวว่าใกล้ตายแล้วก็อย่ามาลากมาดึงประเทศชาติประชาชนให้ใกล้ตายตามไปด้วยจะได้

2.ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือนเป็นเวลา 6 เดือน พอหลังจาก 6 เดือนผ่านไป หมดช่วงโปรโมชั่นก่อนฤดูกาลเลือกตั้งครั้งใหม่ ก็ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้เป็นไปตามจริงอีกใช่ไหม นอกจากนั้นประชาชนยังต้องจ่ายเพิ่มเพื่อใช้หนี้เก่าที่อุ้มไว้ 6 เดือนย้อนหลังอีกสินะ ประชาชนมีแต่ต้องจ่ายกับจ่าย จะจ่ายตอนไหนเวลาไหน จ่ายและจ่ายให้ใคร ใครได้ประโยชน์เท่า

3.ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน

รัฐบาลให้ใช้น้ำฟรี สำหรับผู้ใช้น้ำ 0 - 50 ลบ.ม. / เดือน

4.ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน

โดยหากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย / เดือน รัฐบาลจ่ายให้ใช้ไฟฟรีค่ะ ใช้เกิน 80 แต่ไม่ถึง 150 หน่วย / เดือน รัฐบาลจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

นี่ก็เสียดายที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ไฟฟ้าฟรีเข้าไม่ถึงบ้านน้อยกลางเมืองใช้ไฟแสนเปลืองของฉันค่ะ แต่หลัง 6 เดือนผ่านไป หมดช่วงโปรโมชั่นไฟฟ้าฟรี ก็ต้องนั่งจ้องใครจะมีประชานิยมให้ใช้ไฟฟรีเช่นนี้อีกต่อไปใช่ไหมคะ

5. ฟรีค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง โดยจัดรถร้อนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 800 คัน วิ่งฟรีประชาชนคนเมืองไม่ต้องจ่ายตังค์ค่ารถเมล์ จะต้องรอกันนานไหมคะ กว่ารถเมล์ฟรี จะบริการดีไหมค่ะ หรือดีกว่าไม่ฟรี ดีกว่าไม่มา

6. ฟรีค่าใช้จ่ายเดินทางโดยสารรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศทั่วประเทศ

โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินโดยจัดจากงบกลางชดเชยให้กับการรถไฟ แบบว่ารัฐบาล วางแผนจะควักเงินหลวงล้วงเงินภาษีมาจ่ายเงินค่ารถไฟแทนคนไทย 16 ล้านคนค่ะ

ฉันคิดว่ารัฐบาลควรจะวางแผนระยะยาวในการแสดงความรับผิดชอบต่อนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่านี้นะคะ

" 6 มาตราการ 6 เดือน" ใช้เงินงบประมาณถึง 4.9 หมื่นล้านบาทเป็นเงินที่มาจากเงินภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศชาติมาเล่นแร่แปรธาตุโปะนั่นปะนี่เพื่อหวังผลทางการเมือง เพื่อซื้อเสียงล่วงหน้า ตั้งใจกลับเข้ามาเป็นทายาทรัฐบาลโกงชาติกันต่อไปอีก

ข้อ 1

หน้าที่ของเงิน

เงินที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเงินชนิดใด ๆ ทำหน้าที่สำคัญ ๆ 4 ประการ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกกว่าการแลกเปลี่ยนในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เพราะเมื่อมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผู้เป็นเจ้าของสินค้าก็จะแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับเงิน (คือการขายสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการ) ส่วนผู้ที่ต้องการสินค้าก็จะนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า (คือการซื้อสินค้าจากผู้ที่ต้องการขาย) การซื้อขายสินค้าทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะกระตุ้นให้การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อไป แต่การที่เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้นั้นเงินจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการคือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำเงินจะต้องเป็นของหายากหรือยากต่อการปลอมแปลง และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ เงินสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆได้ และสามารถนำติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย

2. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า

ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการใช้เงิน หน่วยในการวัดมูลค่าของสินค้า ได้แก่เกวียน อัน แท่ง เมตร และต้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ข้าว 1 เกวียน ไก่ 1 ตัว ผ้า 1 เมตร ระยนต์ 1 คัน ทำให้การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าต่างชนิดกันทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหลายอัตรา เช่น ข้าว 1 เกวียนเท่ากับไก่ 50 ตัว แต่เท่ากับผ้าไหม 5 เมตรเป็นต้น การที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมากหรือหลายอัตรา ทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสน และบางทีเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่าได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า สินค้าและบริการทุกชนิดจะถูกกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงิน กล่าวคือ วัดมูลค่าสินค้าออกมาเป็นราคานั่นเอง เช่นข้าว 1 เกวียน มีมูลค่าหรือราคา 5,000 บาท ไก่ 1 ตัวมีมูลค่าหรือราคา 100 บาท ทำให้การวัดและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น เพราะอยู่ในหน่วยเงินเดียวกัน

3. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า

ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า บุคคลจะต้องเก็บสะสมสินค้าไว้เพื่อการแลกเปลี่ยนในอนาคต หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่ง(wealth) ของตน แต่สินค้าหลายอย่างเก็บสะสมไว้ไม่ได้นาน เพราะเสื่อมคุณภาพโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าเกษตรต่าง ๆ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเก็บสะสมได้มาก เพราะต้องใช้เนื้อที่มากในการจัดเก็บ เช่น ข้าว เกลือ รถยนต์ เป็นต้น แต่เมื่อมีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ บุคคลไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมสินค้าไว้ เพียงแต่ขายสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาเก็บไว้แทน และเก็บสะสมเงินไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการสินค้าและบริการ ก็นำเงินที่สะสมไว้มาซื้อสินค้าที่ต้องการ ดังนั้น เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (a store of value) ทำให้บุคคลสามารถพักอำนาจซื้อสินค้าในปัจจุบัน หรือเลื่อนอำนาจซื้อในปัจจุบันไปสู่อนาคตหรือในเวลาอื่นที่ต้องการได้ แต่เงินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่ดีได้ก็ต่อเมื่ออำนาจซื้อของเงินที่สะสมไว้จะต้องไม่ลดลง กล่าวคือ เงินแต่ละหน่วยจะยังคงแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม เงินแต่ละหน่วยจะมีอำนาจซื้อลดลงก็ต่อเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นตัวอย่างเช่น เดิมเงินจำนวน 100 บาทซื้อส้มเขียวหวานได้ 2 กิโลกรัม แสดงว่าส้มราคากิโลกรัมละ 50 บาท ต่อมาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 100 บาท เท่าเดิมจะซื้อส้มได้น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จึงแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินลดลง ถ้าบุคคลคาดว่าอำนาจซื้อของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ บุคคลจะไม่เก็บหรือสะสมเงิน แต่จะหันไปสะสมสินทรัพย์อย่างอื่นแทนที่มีมูลค่าหรือราคาไม่ลดลง หรือไม่ลดลงมากเหมือนอำนาจซื้อของเงิน เช่น บ้านและที่ดิน ทองคำ เป็นต้น

4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้

ถ้าไม่มีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขอยืมข้าวเปลือกจากนาย ข. 1 ถัง โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดชำระคืน นาย ก. จะต้องหาข้าวเปลือกมาใช้คืนนาย ข. 1 ถัง และจะต้องเป็นข้าวเปลือกชนิดเดียวกับที่ขอยืมไปจาก นาย ข. ด้วย ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการกู้ยืมระหว่าง นาย ก.และนาย ข. ทำให้การกู้ยืมและการชำระหนี้ทำได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นาย ข. ก็เพียงคิดค่าข้าวที่นายก. ขอยืมไปว่ามีมูลค่าคิดเป็นเงินเท่ากับเท่าใด เมื่อถึงเวลาชำระหนี้คือ นาย ก. ก็เพียงแต่นำเงินมาชำระหนี้เท่านั้น ก็จะเป็นการสะดวกกว่าชำระหนี้ด้วยสิ่งของ ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน ทำให้มีการกู้ยืม การให้สินเชื่อแก่กัน ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการผลิตและการลงทุน จึงทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมเศรษฐกิจมากกว่าในระบบเศรษฐกิจที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความ

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ข้อ 5

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่างๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในลำดับต่างๆ เกี่ยวกับรายได้ และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการดำรงชีพอย่างไร

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การคำนวณดัชนีราคา

การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด) ตามราคาสินค้าของเดือนปัจจุบัน (เดือนที่คำนวณดัชนี) เทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้านั้น) ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค

1. ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ

2. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย แผน และประเมินผลกระทบของนโยบายและแผนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ

3. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง เงินเดือนของราชการและเอกชน

4. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำเหน็จ และเงินช่วยเหลือหรือสวัสดิการในรูปต่างๆ

5. ใช้ประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว เช่น สัญญาซื้อขายระยะยาว

6. ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย พยากรณ์การตลาด และราคาสินค้าต่างๆ

7. ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง

ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้และแปลผลคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มสินค้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอาจจะมีสินค้าในตะกร้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่างท้องถิ่น

4. การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ ฉะนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้

สรุป

ดัชนีราคาผู้บริโภค ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวหนึ่ง เพราะในการวิเคราะห์จะพิจารณาถึงปัจจัยด่างๆ ที่มีผลกระทบตัวการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิต ได้แก่ น้ำมัน ก๊าชหุงต้ม นอกจากนี้ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสรรพสามิตและปัจจัยอื่นๆ ถ้าปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชนทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจ้างงาน ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอภาวะเงินเฟ้อและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อกรณีประเทศไทย

ข้อ 3

การวิเคราะห์สินเชื่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. การวิเคราะห์สินเชื่อ

ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. นโยบาย

2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้

- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน

- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- ธุรกิจการค้า

- ธุรกิจประเภทให้บริการ

8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ

เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้

1. ผู้ขอเครดิต

2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา

3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต

4. จำนวนเงินที่ขอกู้

5. ความสามารถในการชำระหนี้

6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

7. ความเหมาะสมของหลักประกัน

1.1 ผู้ขอเครดิต

- เป็นใคร หมายถึง เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

บุคคลธรรมดา

- ชื่อ, ที่อยู่

- ฐานะ, โสด, สมรส

- พื้นฐานความรู้

- ตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่

นิติบุคคล

- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน

- กรรมการมีใครบ้าง

- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ

- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด

- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่

ประเภทของผู้ขอเครดิต

หมายถึง ประเภทธุรกิจของผู้ขอเครดิตเป็นอะไร มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่เพียงใด

ความสามารถในการดำเนินกิจการ

- ประสบการณ์ของผู้ขอเครดิตในการประกอบธุรกิจของตนอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ เพียงไร

- ความสามารถในการทำธุรกิจในด้านการบริหารงานบุคคล, การจัดการด้านการเงิน, การผลิต และการตลาด

- มีความซื่อสัตย์/จริงใจ/ตั้งใจ/ อดทนในการประกอบธุรกิจ

- จุดดี จุดเสียของสินค้าและบริการของผู้ขอเครดิตเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

- ประสบการณ์ด้านการศึกษา และพื้นฐานทางครอบครัวของผู้ขอเครดิต

1.2 วัตถุประสงค์ที่ขอกู้

เป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้วิเคราะห์ จะต้องพิจารณาประกอบกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ เพื่อดูว่าลูกค้าขอกู้ยืมไปดำเนินการ จะประกอบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เรามักพบอยู่เสมอ ๆ ว่า ลูกค้ามักจะไม่นำเงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่เสนอขอกู้มาตรงกันข้ามกลับนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลกำไรที่สามารถนำมาชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารได้ การที่ลูกค้านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการขอกู้นั้น เท่ากับว่าการวิเคราะห์ของผู้วิเคราะห์ผิดเป้าหมายไปหมดเงื่อนไขต่าง ๆที่ผู้อนุมัติตั้งไว้ เช่น ให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน ให้ลดวงเงินลดลงเป็นรายงวด ก็จะไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ารายนั้นเป็นหนี้ที่มีปัญหาไปในที่สุด

วัตถุประสงค์ในการขอกู้ แยกเป็นหมวดใหญ่ ๆ 2 หมวดคือ

ก. ขอกู้เงินเพื่อใช้ในเป็นทุนหมุนเวียน เป็นการขอกู้เพื่อเสริมหรือปรับสภาพคล่องของกิจการ หรือเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

ข. ขอกู้เพื่อใช้ลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นการขอกู้เงินเพื่อนำไปลงทุนในที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการชำระคืนมากกว่าการขอกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะมีผลต่อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินที่ผู้อนุมัติพิจารณากำหนดให้ลูกค้า ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในข้อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินของลูกค้า

1.3 เงินทุนของผู้ขอกู้

- เงินจากเจ้าของ/ทุนจดทะเบียน

- ทรัพย์สินอื่น ๆ

1.4 เงินทุนของผู้ขอกู้

- มีความเหมาะสมกับธุรกิจของผู้ขอเครดิตหรือไม่/ มากน้อยเพียงใด

- สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการขอกู้ครั้งนี้หรือไม่

- อัตราส่วนเงินที่ขอกู้/เงินทุนของผู้ขอกู้

- อัตราส่วนภาระเงินกู้รวม/เงินทุนของผู้ขอกู้

- สมการบัญชี

1.5 ความสามารถในการชำระหนี้

- รายได้/กำไรจากกิจการ

- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

- การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

1.6 การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้/เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

- ประเภทเครดิต

- การกำหนดวงเงินเครดิต

- เริ่มจากน้อยไปหามาก

- กำหนดเป็นช่วงระยะเวลา,ฤดูกาล, สถานการณ์

- ตามความต้องการของลูกค้า

- ด้วยเหตุผลและความสามารถของลูกค้า (วัตถุประสงค์ และการใช้เงิน)

- วัตถุประสงค์ในการกำหนดวงเงิน

- เป็นข้อกำหนดความเสี่ยงของธนาคาร

- แนวทางในการติดตามและควบคุมการใช้เครดิต

- ส่งเสริมสินเชื่อแก่ธุรกิจ

- ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดวงเงิน

- ขนาดของธุรกิจ

- หลักการกระจายความเสี่ยง

- ประเภทธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อ

- ระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ พร้อมทั้งเงื่อนไขในการผ่อนชำระ/ดอกเบี้ย

- สภาพของธุรกิจในขณะนั้นและในอนาคต

- นโยบายการจำหน่ายสินค้า (เทอมการค้า, เทอมการให้เครดิต)

- คู่แข่งขัน

- ความสามารถในการบริหาร

- ยอดรวมของสินเชื่อทั้งหมด

1.7 ความเหมาะสมของหลักประกัน

- เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามั่นคง ราคาไม่ลดลง

- เป็นที่ต้องการของตลาด

- ปลอดภาระผูกพันใด ๆ

- ต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของหลักทรัพย์

- ต้องสามารถครอบครอง/ถือเอาเอกสารสิทธิเกี่ยวกับหลักประกันนั้นได้

- หลักประกันนั้นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายหรือพระราชบัญญัติธนาคาร

ประเภทของหลักประกัน

1. เงินฝาก

2. หุ้น

3. พันธบัตร

4. ตั๋วเงิน

5. ที่ดิน

6. สิ่งปลูกสร้าง

7. เครื่องจักร

8. เรือ

9. สินค้า

10.สิทธิการเช่า

11.สิทธิการรับเงิน

12.อื่น ๆ

การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน

- ผู้ถือกรรมสิทธิ์

- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ

- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง

- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา

- สภาพแวดล้อม

- ประโยชน์การใช้สอย

- อายุการใช้งาน

- สภาพความเสื่อมค่า

- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน

2. ข้อมูลภายในธนาคาร

- สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายสินเชื่อของธนาคาร

- อยู่ในระเบียบหลักเกณฑ์ กฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคาร

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศไทย 3 ประเภทเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

1. สินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อรถยนต์เป็นสินเชื่อในการกู้ยืมเงินอย่างหนึ่ง จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้รับสินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำที่สุด แต่ละสถาบันการเงิน มีโปรแกรมให้สินเชื่อรถยนต์ที่แตกต่างกันจำนวนมากเพื่อดึงดูดและให้ตรงกับ ความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสินเชื่อรถยนต์ตัวไหนดีอย่างไรมีอะไรซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังก่อนทำสัญญากับสถาบันการเงินต่างๆ

สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำ

สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่เคยเจอมาก็คือ 0.39% ต่อเดือน ส่วนใหญ่ดอกเบี้ยระดับนี้ให้ยอดกู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ถ้าต้องการที่จะได้สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำๆ ต้องรอซื้อรถแถวช่วงปลายปี ช่วงนั้น สินเชื่อรถยนต์จะต่ำมากๆ เพราะธนาคารต้องการปิดงบกำไร ถ้าเค้าทำไม้ถึงเป้าก็จะมีโปรโมชั่นดีๆ มาดึงดูดใจลูกค้าหากใครอยากได้ สินเชื่อรถยนต์ ดีๆ ต้องรอครับ อย่ารีบใจร้อน เพราะจะทำให้ได้สินเชื่อรถยนต์ที่แพงเกินไป ดังคำที่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม

2. โยบาย รถคันแรก รายละเอียดเงื่อนไขการคืนเงินภาษี ในการซื้อรถยนต์คันแรก

ตามที่รัฐบาล 2554 ชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีนโยบายรถคันแรก โดยจะเป็นการคืนเงินภาษีเท่ากับที่จ่ายจริง ในการซื้อรถยนต์คันแรก แต่จะคืนได้ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับรายละเอียด ข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ในการคืนภาษีรถยนต์คันแรก มีดังนี้

• ผู้ซื้อต้องอายุ 21 ปีขึ้นไป

• ผู้ซื้อจะต้องไม่เคยซื้อรถยนต์มาก่อน

• ระยะเวลา จะต้องซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555

• โดย ราคารถยนต์นั้นจะต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท

• เครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี (สำหรับรถกระบะจะไม่จำกัด ซีซี)

• เป็นรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น

• ต้องครอบครองไม่น้อยกว่า 5 ปี

• เป็นรถใหม่(ป้ายแดง,มือสองไม่ได้)

การคืนเงินภาษีรถคันแรก ภาครัฐจะคืนภาษีได้เมื่อครอบครองรถยนต์ไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี

• ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกแล้ว!

• เลื่อนระยะเวลาเป็น เริ่มวันที่ 16 กันยายน 2554 - 31 ธันวาคม 2555

วิธีดำเนินการ

1. ผู้ซื้อรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย

• หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี

• สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ

• สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)

2. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบกหรือ สำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ

3. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน

4. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดส่งหนังสือรับรองการครอบครอง รถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

5. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อเมื่อครอบครองครบ 1 ปี โดยจ่ายเป็นเช็คให้ในครั้งเดียว

ปลดล็อคเงื่อนไข ห้ามโอนภายใน 5 ปี กรณีผู้ซื้อรถ(ผ่อน)ผิดนัดไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้ ไฟแนนซ์ก็สามารถยื่นเรื่องให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบ ว่าเป็นจริง เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้ซื้อรถผิดนัดไม่ผ่อนชำระต่อจริง ก็จะแก้เงื่อนไขกรณีห้ามโอนภายใน 5 ปี ให้สามารถนำรถไปขายทอดตลาดได้

และจะเรียกเงินภาษีจากผู้ที่ซื้อรถไปแล้วแต่ไม่สามารถผ่อนต่อได้ คืนก

ข้อ10 ตอบ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

อย่างไรตาม การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่ในตั๋วเงิน แสดงว่ายอมให้ผู้มีสิทธิในตั๋วนั้นลงวันที่ได้โดยสุจริต ตั๋วเงินนั้นย่อมสมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำมั่นอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน มีวัยถึงกำหนดใช้เงิน (ถ้าไม่มี ถือว่าใช้เงินเมื่อเห็น) / มีสถานที่ใช้เงิน (ถ้าไม่มี ให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) / มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋ว (ถ้าไม่ระบุวันออกตั๋ว ผู้ทรงตั๋วชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริต จะจดวันถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ออกตั๋วไว้ ให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) และที่สำคัญคือ ต้องลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว อนึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องระบุชื่อผู้รับเงินเสมอ จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

การออกตั๋วแลกเงิน

1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน

3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง

4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่าย

ข้อ5 ตอบ ขั้นตอนการจัดทำ

3.1 ความหมายของดัชนีราคา

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป สำหรับกลุ่มสินค้าและ

บริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคานั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติ ปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะ

มีความสำคัญมาก นั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเช่นกัน

3.2 3.2 กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคา

ในการจัดทำดัชนีราคา ขั้นแรกและสำคัญที่สุด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่าดัชนีราคาที่จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ต้องการวัดหรือชี้อะไร สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัด เป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้

1. 1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้ง อยู่ ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล

- - มีสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่ 1 - 5 คน

- มีรายได้ ตั้งแต่ 3,000 – 60,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

2. 2. ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพและปริมณฑล

- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 1 - 5 คน

- มีรายได้ตั้งแต่ 3,000 – 15,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ภูมิภาค 4 ภาค

- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 2 - 6 คน

- มีรายได้ตั้งแต่ 2,000 – 25,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

3.3 การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ในการสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่าง ๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในระดับต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและ ชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการบริโภคและการดำรงชีพอย่างไร

ในการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศไทยจะจัดทำโดยสำนักงานสถิติ

แห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์จะนำผลการสำรวจมาใช้ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค

3.4 3.4 การจัดทำน้ำหนัก (Weight) และความสำคัญเปรียบเทียบ (Relative importance)

ของรายการสินค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณจากค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ สินค้าต่าง ๆ ในพื้นที่ แต่เนื่องจากรายการสินค้าแต่ละรายการมีความสำคัญไม่เท่ากัน ขึ้นกับ ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคใช้จ่ายและจำนวนผู้บริโภคที่ใช้จ่ายในรายการนั้น ๆ รายการสินค้าที่มีการ ใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมาก ในทางตรงกันข้ามราคาสินค้าที่มีการใช้จ่ายในการบริโภคน้อยก็มี

ความสำคัญน้อย

ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของแต่ละรายการสินค้าที่ได้จากการสำรวจ จะนำมาคำนวณเปรียบเทียบสัดส่วนกัน เพื่อหาน้ำหนักของแต่ละ

รายการสินค้า รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายมากจะมีน้ำหนักมาก รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายน้อยจะมีน้ำหนักน้อย น้ำหนักของแต่ละรายการสินค้าในปีฐานจะคงที่ตลอดการคำนวณดัชนีราคาจนกว่าจะมีการจัดทำน้ำหนักใหม่จึงจะ

เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนความสำคัญเปรียบเทียบนั้น เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายการสินค้าต่าง ๆ ในเดือนหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายนี้คำนวณจากปริมาณการบริโภคสินค้า (หรือน้ำหนักของรายการสินค้าซึ่งกำหนดให้คงที่) คูณกับราคาสินค้านั้น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน

แต่ละเดือน ฉะนั้นความสำคัญเปรียบเทียบของแต่ละรายการสินค้าจะเปลี่ยนแปลงทุกเดือนด้วย ส่วนจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับอัตรา

การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ๆ ในแต่ละเดือน สินค้า ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของราคาสินค้า

ทั้งหมดในตะกร้าสินค้า สินค้านั้นก็จะมีความสำคัญเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามสินค้าที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาต่ำกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาสินค้าทั้งหมดในตะกร้าสินค้า สินค้านั้นจะมีความสำคัญเปรียบเทียบลดลง

การคำนวณความสำคัญเปรียบเทียบของรายการสินค้าในแต่ละเดือน จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ

สินค้านั้น ๆ ต่อดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งหมดในเดือนหนึ่ง ๆ

ขั้นตอนในการจัดทำน้ำหนัก มีดังนี้

1. 1. ให้น้ำหนักขั้นต้นแก่รายการสินค้าที่ถูกคัดเลือกตามค่าใช้จ่ายที่ได้จากการสำรวจ

ผู้บริโภค

2. 2. ให้น้ำหนักหรือค่าใช้จ่าย ของแต่ละรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไปรวมกับ

น้ำหนักของรายการที่ถูกคัดเลือกตามวิธีการ ดังนี้

- การรวมน้ำหนักโดยตรง คือ การเอาน้ำหนักของรายการที่ไม่ถูกคัดเลือกไปรวมกับรายการที่ถูกคัดเลือกโดยตรง โดยมีข้อแม้ว่ารายการที่นำไปรวมด้วยนั้นจะต้องมีลักษณะ

ใกล้เคียงกัน เช่น น้ำมันพืชกับน้ำมันหมู และที่สำคัญ คือ ควรมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงราคาไปในทางเดียวกัน

ในทางปฏิบัติบางทีจะมีการพิจารณาด้วยว่า เมื่อรวมน้ำหนักของรายการสินค้า

ที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไป จะต้องไม่ทำให้รายการสินค้าที่ถูกเพิ่มน้ำหนักมีน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้รายการสินค้านั้นมีความสำคัญมาก

เกินความเป็นจริง ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้านั้น ๆ กระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของดัชนีมากเกินไป

- การรวมน้ำหนักโดยอ้อม คือการเฉลี่ยน้ำหนักของรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือก

ไปให้รายการสินค้าทุกรายการที่ถูกคัดเลือกในหมวดเดียวกันตามสัดส่วนน้ำหนักเดิมของสินค้านั้น ๆ บางรายการสินค้าไม่เข้าหลักเกณฑ์การรรวมน้ำหนักโดยตรงก็จะใช้การเฉลี่ยน้ำหนักโดยวิธีนี้

3. คำนวณน้ำหนักขั้นสุดท้าย โดยแต่ละหมวดจะเหลือเฉพาะรายการสินค้าที่ถูก คัดเลือกและน้ำหนักสุดท้ายคือ น้ำหนักหรือค่าใช้จ่ายในรายการนั้นที่ได้จากการสำรวจ รวมกับน้ำหนักที่ได้เพิ่มมาจากข้อ 2 (ในกรณีที่มีการรวมน้ำหนักเกิดขึ้น) ผลรวมของน้ำหนักจากทุกรายการสินค้าในทุกหมวดจะต้องเท่ากับค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคที่ได้จากการสำรวจ

น้ำหนักที่คำนวณของแต่ละรายการสินค้าจะคงที่ และใช้ตลอดการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น จนกว่าจะมีการปรับปรุงรายการสินค้าและน้ำหนักจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการบริโภคครั้งใหม่

3.5 3.5 การจัดหมวดหมู่สินค้า

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. 1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. 2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

3. 3. หมวดเคหสถาน

4. 4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. 5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. 6. หมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา

7. 7. หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

ในแต่ละหมวดใหญ่เหล่านี้ ยังได้จำแนกออกเป็นหมวดย่อย ๆ ได้ดังนี้

1. 1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม จำแนกเป็น

- ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง

- - เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ

- - ไข่และผลิตภัณฑ์นม

- ผักและผลไม้

- เครื่องประกอบอาหาร

- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

- - อาหารสำเร็จรูป

2. 2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

- ค่าที่พักอาศัย

- ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง

- สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน

- - สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

- ค่าตรวจรักษาและค่ายา

- - ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

- ค่าโดยสารสาธารณะ

- ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง

- - การสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา

- การบันเทิงและการอ่าน

- การศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

3.6 3.6 การเลือกรายการสินค้า

จากข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี ทำให้ทราบรายการสินค้าและบริการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่าย พร้อมมีความสำคัญของแต่ละรายการสินค้าและบริการ (โดยดูจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในแต่ละรายการสินค้า) จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการคำนวณแทนสินค้าและบริการทั้งหมด หลักเกณฑ์ในการเลือกรายการสินค้า ในทางปฏิบัติที่ไม่ใช่สินค้าและบริการ ทุกรายการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่ายมาจัดทำดัชนี แต่จะเลือกรายการสินค้า โดยมีวิธีการดังนี้

1. 1. เลือกรายการสินค้าที่มีความสำคัญ ซึ่งข้อมูลที่คัดเลือกรายการได้มาจากการ

สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์การเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการต่อค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่

ร้อยละ 0.01 ของสินค้าทั้งหมด

2. 2. ดูแนวโน้มของสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้านั้น ๆ เทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา

ถ้ามีแนวโน้มมากขึ้นและคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในสินค้ารายนี้มากขึ้น จะคัดเลือกไว้เป็นตัวแทน

3. 3. สินค้าบางอย่างในขณะสำรวจอาจจะมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีการคาดการณ์ว่า

จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ก็จะมีการรวมรายการเหล่านั้นมาใช้ในการคำนวณดัชนีด้วย

4. 4. สินค้าที่คัดเลือกสามารถกำหนดลักษณะจำเพาะได้ชัดเจน

5. 5. เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดทั่วไปสามารถจัดเก็บราคาได้

6. 6. ในปี 2545 รายการสินค้าในหมวดต่าง ๆ ได้ปรับปรุงตามโครงสร้างของ COICOP

การรายงานของดัชนีราคาผู้บริโภค

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้และแปลผลคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มสินค้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอาจจะมีสินค้าในตะกร้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่างท้องถิ่น

4. การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ ฉะนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้

ข้อ1 ตอบ หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรงกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทั่วไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใด้ที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีนิยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใช้เครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. เป็นสิ่งที่หายาก

2. มีมูลค่าคงที่

3. มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้

4. นำติดตัวไปได้สะดวก

5. สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้

6. มีความคงทน

ข้อ8 ตอบ นโยบาย 6 มาตรการ คือ

1. ลดอัตราภาษีน้ำมัน เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำมันราคาถูกลงและรัฐจะยอมแบกภาษีไว้ 6 เดือนเพื่อรองรับเมกะโปรเจ็คเกิดขึ้น

2.ชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มแอลพีจี ในครัวเรือน เพื่อรักษาสภาพครัวเรือน

3.ลดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำประปา สำหรับผู้ที่ใช้ไม่เกิน 50 คิวต่อหนึ่งเดือน

4.จ่ายค่าไฟฟ้าถ้าใช้ไม่เกิน 80 ยูนิต แต่หากใช้ 81-150 ยูนิต รัฐบาลจะจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

5.ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยจัดรถเมล์ร้อนขึ้นฟรี 800 คันโดยจะมีรถออกวิ่งรถคันที่เก็บเงินกับไม่เก็บเงินวิ่งคันเว้นคัน

6.รถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศไม่เสียเงินทั่วประเทศ

ในมุมมองความคิดของดิฉันคิดว่าดีเพราะจะได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนโดยทั่วไป แต่ควรปรับปรุงในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆให้ลดลงมากกว่านี้ และควรเพิ่มในเรื่องของการลดภาษีอากรให้มีอัตราน้อยลงเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไป สิ่งที่ควรลดหรือไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่นักน่าจะเป็นรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศไม่เสียเงินทั่วประเทศ ดิฉันคิดว่าการที่มีรถไฟฟ้าในปัจจุบันก็ลำบากต่อการคมนาคมมากเกินพอแล้ว ถ้ามีการเพิ่มรถไฟฟ้าอีกคงจะทำให้การจราจรไม่สะดวกเพิ่มเข้าไปอีก

ข้อ3 ตอบ ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อมีดังนี้

หลัก 5’C ได้แก่

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

3. เงินทุน (CAPITAL)

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

5. สถานการณ์ (CONDITION)

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

อุปนิสัยของลูกค้า เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่ หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่ หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า โครงการนั้น ๆ ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้ ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ จากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่ เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้ กลับนำไปใช้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

3. เงินทุน(CAPITAL)

โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไร เพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้น เพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้น สัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไร เช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำ ก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง เช่น ธุรกิจ APARTNENT ให้เช่า ซึ่งมีรายรับไม่มากนักเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ผู้กู้คงต้องใช้เงินลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มองอีกด้านหนึ่ง ก็คือรายได้ของธุรกิจที่เป็นข้อกำหนดความสามารถในการขอสินเชื่อได้เป็นจำนวนเท่าไร แต่ในทางธุรกิจแล้วการที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อไม่สามารถขอสินเชื่อได้ตามที่กำหนด ผู้กู้ควรเพิ่มทุนเพียงพอ และธนาคารก็ไม่ควรที่จะให้กู้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ มิฉะนั้น จะเป็นผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

ในการวิเคราะห์สินเชื่อ ถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นหัวใจสำคัญแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หลักประกัน เพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมาย ทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกัน ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไร โดยพิจารณาจากความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อย ถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

แม้ว่าหลักประกันจะสำคัญมีอยู่บ่อยครั้งที่ธนาคารจะให้สินเชื่อชนิดที่ไม่มีหลักประกัน (CLEAN BASIS) เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้ามีฐานะทางการเงินดี มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ติดต่อกับธนาคารมาเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่ขอด้วยว่ามีความเสี่ยงเพียงใด อาจจะเสี่ยงน้อย เข่น การขอออก L/G (ยื่นซอง) โดยไม่เอางาน การขายลดงวดงาน ซึ่งผู้กู้ได้ส่งมอบงานแล้ว ขอรับเงินเท่านั้น หรือการเปิด L/C สั่งซื้อเครื่องจักร ธนาคารอาจเรียกหลักประกันแค่บางส่วน เพราะจะได้เครื่องจักรมาเป็นหลักประกันอีกส่วนหนึ่ง

5. สถานการณ์ (CONDITION)

เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอ หมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที วิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป ควรกระจายไปในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศ

1.สินเชื่อที่อยู่อาศัย

2.สินเชื่อเพื่อธุรกิจการค้า

3.สินเชื่อรถยนต์

ข้อ7 ตอบ ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเงินฝืด สาเหตุ คือ เงินฝืดเป็นภาวะที่อุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีมากว่าอุปสงค์มวลรวม เนื่องจากปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอกับความต้องการถือเงิน หรือความต้องการใช้เงินของประชาชน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการ

2. การที่ประเทศมีฐานะดุลการค้า ดุลการชำระเงินขาดดุลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้ประเทศต้องสุญเสียเงินตราให้แก่ต่างประทศ ส่งผลให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีน้อยลง

3. รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้ปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินน้อยลง)

4. สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

5. ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เช่น การที่ธนาคารกลางประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงตามกฎหมาย หรือการประกาศใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณเงินในบทเศรษฐกิจน้อยลง

6. รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบเงินดุล กล่าวคือ รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ทำให้มีปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินลดลง)

แนวทางการแก้ไข ภาวะเงินฝืดนั้นเราสามารถแก้ไขได้โดย จะต้องใช้นโยบายในการเพิ่มอุปสงค์รวมให้มากขึ้น ด้วยการใช้นโยบายการเงินซึ่งจะต้องเพิ่มปริมาณเงินให้มากขึ้น ซื้อคืนพันธบัตร ที่ขายให้กับประชาชน

ข้อ9 ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) คือ การที่ระดับราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดัชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

การที่ใครจะได้ประโยชน์และใครที่จะเสียประโยชน์ คือ

ถ้าเป็นเป็นภาวะเงินเฟ้อนั้นจะได้ประโยชน์ เพราะการที่สินค้าและบริการมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆจะทำให้ผู้ประกอบการต้องการมากขึ้น

แต่ถ้าเป็นภาวะเงินฝืดนั้นจะเสียประโยชน์ เพราะการเพิ่มขึ้นของอุปทานนั้นมีส่วนต่อตัวสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับเงินอย่ามากยิ่งขึ้น

ข้อ6 ตอบ ดัชน

ข้อที่1

ความสำคัญของเงิน

1. ความสำคัญในด้านการผลิต

ในทุกวันนี้ ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างก็แสวงหาเงินมาลงทุนในการประกอบการผลิตหรือทำการค้า โดยหวังผลตอบแทนในด้านกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นสำคัญ ในระยะใดที่ผู้ประกอบกาคาดว่าจะได้รับกำไรสูงก็จะมีการลงทุนมาก เช่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในระหว่างเวลาเศรษฐกิจรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 20 จะเห็นได้ว่ามีผู้ประกอบการทั้งหลายได้หาเงินมาลงทุนตั้งโรงงานและจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประกอบการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ในระยะที่จะแสวงหาผลกำไรได้โดยง่าย การใช้จ่ายลงทุนจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคม ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก แทนที่จะต้องผลิตตามที่ผู้ใดผู้หนึ่งต้องการและสั่งทำโดยเฉพาะ

2. ความสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค

เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในสังคม เงินจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่มือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึึ้น เพราะตามปกติผู้บริโภคจะได้รบผลตอบแทนจาการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นเงินตราในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้จ่ายเงินรายได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้กว้างขวางกว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของต่อสิ่งของ ในระบบที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะช่วยให้ระบบการแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอ ชุมชนและสังคมมีมาตรฐานในการครองชีพสูงขึ้น เพราะช่วยให้มีการผลิตสินค้าสู่มือผู้บริโภคสูงขึ้น

3. ความสำคัญในสังคม

ผู้ใดที่ปรารถนาจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน ความมั่นคง ความบันเทิง จะมีฐานะหรือแม้แต่จะแสวงหาอำนาจก็ตาม ก็ต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ทุกชนิด เงินตราจะเป็นหลักประกันท่มั่นคงในระบบการแลกเปลี่ยน แต่ละคนจึงเลือกงานแต่เฉพาะที่ตนเองมีความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตราไปใช้จ่าย การแบ่งงานกันทำ เช่นนี้เป็นลักษณะของสังคมยุคปจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตการค้า และความเป็นอยู่ของสังคมดีขึ้น

4. ความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ

เงินมีความสำคัญในระบบเศราฐกิจทุกระบบ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจท่เอกชนทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เขามีอยู่ และมีเสรีภาพที่จะเลือกประกอบอาชีพอะไรก็ได้ การผลิตเป็นเรื่องของเอกชนท่่จะดำเนินการได้โดยเสรี ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้เงินม่ความสำคัญมาก การใช้เงินจะทำให้ระบบเศรษฐกิจและตลาดขยายตัวออกไป สำหรับระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์นั้นเงินมีความสำคัญเช่นเดียวกัน การจ่ายค่าจ้างแรงงานในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ก็จ่ายเงินและประชาชนก็เอกาเงินไปซื้อสินค้าและบริการเช่นเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจแบบนายทุุน จะต่างกันตรงที่รัฐบาลของประเทศคอมมิวนิสต์ก็จะเป็นผู้ตั้งราคาสินค้าและบริการเองเท่านั้น

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

คุณสมบัติของเงินที่ดี

การที่เงินจะสามารถทำหน้าที่กล่าวมาแล้วได้อย่างสมบูรณ์ จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ดังนี้(ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ 2535:9)

1. มีค่าในตัวเอง คือมีค่าหรืออรรถประโยชน์เป็นที่ต้องการของประชาชนสามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการหรือชำระหนี้ได้ แสดงว่ามีประโยชน์และมีค่า ยิ่งถ้าเงินมีปริมาณน้อย จะมองเห็นค่าเด่นชัดขึ้นไม่ว่าจะทำจากโลหะหรือกระดาษก็ตาม

2. เป็นที่ยอมรับทั่วไป การยอมรับของคนทั่วไปนี้ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากเพราะหากจะเป็นสิ่งที่ดีเพียงใดแต่ไม่มีผู้ยอมรับเงินก็คงไร้ค่าไป

3. เป็นของหายาก โดยปกติของหายากย่อมมีค่ามาก สิ่งของที่หายากในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน สมัยก่อนสิ่งที่ใช้แทนเงินจึงแตกต่างกันไป ปัจจุบันเน้นลักษณะหายากอยู่ที่ความยากในการปลอมแปลงของสิ่งที่ใช้แทนเงิน เพราะหากมีผู้ทำเลียนแบบง่ายเงินก็จะเสื่อมลง

4. มีความคงทน เนื่องจากมีการใช้เงินอยู่ตลอดเวลาของการดำรงชีวิตมนุษย์ เงินจะหมุนเวียนเปลี่ยนมือเปลี่ยนสถานที่บ่อยมาก หากไม่คงทนจะเสื่อมสภาพเร็ว แต่เดิมเป็นโลหะที่เสื่อมสภาพช้า แต่ปัจจุบันโลหะมีน้อยลงเมื่อใช้กระดาษแทนธนบัตร ก็ยังคงต้องใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหนี่ยวพิเศษ

5. มีความเหมือนกัน หลายถึงเงินขนาดหรือราคาเดียวกันต้องมีลักษณะเหมือนกัน จำได้ง่าย เช่น ของไทยเคยมีปัญหาความไม่เหมือนกัน คือประมาณ พ.ศ.2535 – 2538 มี เหรียญกษาปณ์ชนิด 25 สตางค์ แบบเดิมเป็นเหรียญทองซึ่งมีขนาดเท่ากับเปรียญ 50 สตางค์แบบใหม่ เหมือนเหรียญ 5 บาทที่ออกใหม่มีขนาดและลักษณะเหมือนกับเหรียญ 1 บาท แบบเดิม เป็นต้น เป็นคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมซึ่งในที่สุดจะถูกเก็บไปเพราะทำให้ประชาชนจำได้ยากเกิดปัญหาในการแลกเปลี่ยน

6. แบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ง่าย เมื่อสิ่งของที่แต่เดิมเคยนำมาแลกเปลี่ยนกันแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ๆได้ยาก เช่น ลูกวัว 1 ตัวมีค่าเท่ากับ ห่าน 2 ตัว เมื่อห่าน 1 ตัว จะแลกลูกวัวได้ครึ่งตัวซึ่งแบ่งแยกย่อยลำบาก เงินจึงควรแบ่งแยกย่อยได้โดนสะดวกโดยมีหลายระดับราคา เช่น เงินบาทของไทยมีธนบัตรและเหรียญเป็น 1,000 บาท 500 บาท 100บาท 50 บาท 20 บาท 10 บาท เหรียญ 10 บาท เหรียญ 5บาท เหรียญ 1 บาท เหรียญ 50 สตางค์ เป็นต้น

7. นำติดตัวสะดวก ควรมีน้ำหนักเบา กะทัดรัด แม้จะมีมูลค่ามากก็นำติดตัวได้โดยสะดวกสบาย ไม่ต้องเป็นภาระมาก ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการพกเงินที่สะดวกมากยิ่งขึ้น หรืออาจไม่ต้องพกติดตัวเลยก็สามารถใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งของได้ เช่น การใช้บัตรเครดิตที่มีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

8. สังเกตง่าย คือมีลักษณะเด่นเห็นชัดว่าเป็นเงินแม้จะมองอย่างรวดเร็วสามารถบอกได้ว่าเป็น ชนิด ขนาด ราคาเท่าใด ทั้งชนิดโลหะหรือธนบัตร แต่ควรยากแก่การปลอมแปลงด้วย

ข้อที่9

เงินเฟ้อ คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา ผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ

ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก

ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

เงินฝืด คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ระบบและปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

ข้อที่5

ขั้นตอนการจัดทำ

3.1 ความหมายของดัชนีราคา

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป สำหรับกลุ่มสินค้าและ

บริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคานั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติ ปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะ

มีความสำคัญมาก นั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเช่นกัน

3.2 กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคา

ในการจัดทำดัชนีราคา ขั้นแรกและสำคัญที่สุด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่าดัชนีราคาที่จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ต้องการวัดหรือชี้อะไร สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัด เป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้ง อยู่ ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล

- มีสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่ 1 - 5 คน

- มีรายได้ ตั้งแต่ 3,000 – 60,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพและปริมณฑล

- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 1 - 5 คน

- มีรายได้ตั้งแต่ 3,000 – 15,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ประกอบด้วย

- ครัวเรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ภูมิภาค 4 ภาค

- มีสมาชิกในครัวเรือนตั้งแต่ 2 - 6 คน

- มีรายได้ตั้งแต่ 2,000 – 25,000 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

3.3 การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ในการสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่าง ๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในระดับต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและ ชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการบริโภคและการดำรงชีพอย่างไร

ในการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศไทยจะจัดทำโดยสำนักงานสถิติ

แห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์จะนำผลการสำรวจมาใช้ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค

3.4 การจัดทำน้ำหนัก (Weight) และความสำคัญเปรียบเทียบ (Relative importance)

ของรายการสินค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคคำนวณจากค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ สินค้าต่าง ๆ ในพื้นที่ แต่เนื่องจากรายการสินค้าแต่ละรายการมีความสำคัญไม่เท่ากัน ขึ้นกับ ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคใช้จ่ายและจำนวนผู้บริโภคที่ใช้จ่ายในรายการนั้น ๆ รายการสินค้าที่มีการ ใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมาก ในทางตรงกันข้ามราคาสินค้าที่มีการใช้จ่ายในการบริโภคน้อยก็มี

ความสำคัญน้อย

ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของแต่ละรายการสินค้าที่ได้จากการสำรวจ จะนำมาคำนวณเปรียบเทียบสัดส่วนกัน เพื่อหาน้ำหนักของแต่ละ

รายการสินค้า รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายมากจะมีน้ำหนักมาก รายการสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายน้อยจะมีน้ำหนักน้อย น้ำหนักของแต่ละรายการสินค้าในปีฐานจะคงที่ตลอดการคำนวณดัชนีราคาจนกว่าจะมีการจัดทำน้ำหนักใหม่จึงจะ

เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนความสำคัญเปรียบเทียบนั้น เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายการสินค้าต่าง ๆ ในเดือนหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายนี้คำนวณจากปริมาณการบริโภคสินค้า (หรือน้ำหนักของรายการสินค้าซึ่งกำหนดให้คงที่) คูณกับราคาสินค้านั้น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน

แต่ละเดือน ฉะนั้นความสำคัญเปรียบเทียบของแต่ละรายการสินค้าจะเปลี่ยนแปลงทุกเดือนด้วย ส่วนจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับอัตรา

การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ๆ ในแต่ละเดือน สินค้า ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของราคาสินค้า

ทั้งหมดในตะกร้าสินค้า สินค้านั้นก็จะมีความสำคัญเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามสินค้าที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาต่ำกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของราคาสินค้าทั้งหมดในตะกร้าสินค้า สินค้านั้นจะมีความสำคัญเปรียบเทียบลดลง

การคำนวณความสำคัญเปรียบเทียบของรายการสินค้าในแต่ละเดือน จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาของรายการ

สินค้านั้น ๆ ต่อดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งหมดในเดือนหนึ่ง ๆ

ขั้นตอนในการจัดทำน้ำหนัก มีดังนี้

1. ให้น้ำหนักขั้นต้นแก่รายการสินค้าที่ถูกคัดเลือกตามค่าใช้จ่ายที่ได้จากการสำรวจ

ผู้บริโภค

2. ให้น้ำหนักหรือค่าใช้จ่าย ของแต่ละรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไปรวมกับ

น้ำหนักของรายการที่ถูกคัดเลือกตามวิธีการ ดังนี้

- การรวมน้ำหนักโดยตรง คือ การเอาน้ำหนักของรายการที่ไม่ถูกคัดเลือกไปรวมกับรายการที่ถูกคัดเลือกโดยตรง โดยมีข้อแม้ว่ารายการที่นำไปรวมด้วยนั้นจะต้องมีลักษณะ

ใกล้เคียงกัน เช่น น้ำมันพืชกับน้ำมันหมู และที่สำคัญ คือ ควรมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงราคาไปในทางเดียวกัน

ในทางปฏิบัติบางทีจะมีการพิจารณาด้วยว่า เมื่อรวมน้ำหนักของรายการสินค้า

ที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าไป จะต้องไม่ทำให้รายการสินค้าที่ถูกเพิ่มน้ำหนักมีน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้รายการสินค้านั้นมีความสำคัญมาก

เกินความเป็นจริง ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้านั้น ๆ กระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของดัชนีมากเกินไป

- การรวมน้ำหนักโดยอ้อม คือการเฉลี่ยน้ำหนักของรายการสินค้าที่ไม่ถูกคัดเลือก

ไปให้รายการสินค้าทุกรายการที่ถูกคัดเลือกในหมวดเดียวกันตามสัดส่วนน้ำหนักเดิมของสินค้านั้น ๆ บางรายการสินค้าไม่เข้าหลักเกณฑ์การรรวมน้ำหนักโดยตรงก็จะใช้การเฉลี่ยน้ำหนักโดยวิธีนี้

3. คำนวณน้ำหนักขั้นสุดท้าย โดยแต่ละหมวดจะเหลือเฉพาะรายการสินค้าที่ถูก คัดเลือกและน้ำหนักสุดท้ายคือ น้ำหนักหรือค่าใช้จ่ายในรายการนั้นที่ได้จากการสำรวจ รวมกับน้ำหนักที่ได้เพิ่มมาจากข้อ 2 (ในกรณีที่มีการรวมน้ำหนักเกิดขึ้น) ผลรวมของน้ำหนักจากทุกรายการสินค้าในทุกหมวดจะต้องเท่ากับค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคที่ได้จากการสำรวจ

น้ำหนักที่คำนวณของแต่ละรายการสินค้าจะคงที่ และใช้ตลอดการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคนั้น จนกว่าจะมีการปรับปรุงรายการสินค้าและน้ำหนักจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการบริโภคครั้งใหม่

3.5 การจัดหมวดหมู่สินค้า

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา

7. หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

ในแต่ละหมวดใหญ่เหล่านี้ ยังได้จำแนกออกเป็นหมวดย่อย ๆ ได้ดังนี้

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม จำแนกเป็น

- ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง

- เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ

- ไข่และผลิตภัณฑ์นม

- ผักและผลไม้

- เครื่องประกอบอาหาร

- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

- อาหารสำเร็จรูป

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

- ค่าที่พักอาศัย

- ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง

- สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน

- สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

- ค่าตรวจรักษาและค่ายา

- ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร

- ค่าโดยสารสาธารณะ

- ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง

- การสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา

- การบันเทิงและการอ่าน

- การศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

3.6 การเลือกรายการสินค้า

จากข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี ทำให้ทราบรายการสินค้าและบริการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่าย พร้อมมีความสำคัญของแต่ละรายการสินค้าและบริการ (โดยดูจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในแต่ละรายการสินค้า) จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการคำนวณแทนสินค้าและบริการทั้งหมด หลักเกณฑ์ในการเลือกรายการสินค้า ในทางปฏิบัติที่ไม่ใช่สินค้าและบริการ ทุกรายการที่ครัวเรือนดัชนีใช้จ่ายมาจัดทำดัชนี แต่จะเลือกรายการสินค้า โดยมีวิธีการดังนี้

1. เลือกรายการสินค้าที่มีความสำคัญ ซึ่งข้อมูลที่คัดเลือกรายการได้มาจากการ

สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์การเลือกรายการสินค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้าแต่ละรายการต่อค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่

ร้อยละ 0.01 ของสินค้าทั้งหมด

2. ดูแนวโน้มของสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสินค้านั้น ๆ เทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา

ถ้ามีแนวโน้มมากขึ้นและคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในสินค้ารายนี้มากขึ้น จะคัดเลือกไว้เป็นตัวแทน

3. สินค้าบางอย่างในขณะสำรวจอาจจะมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีการคาดการณ์ว่า

จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ก็จะมีการรวมรายการเหล่านั้นมาใช้ในการคำนวณดัชนีด้วย

4. สินค้าที่คัดเลือกสามารถกำหนดลักษณะจำเพาะได้ชัดเจน

5. เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดทั่วไปสามารถจัดเก็บราคาได้

6. ในปี 2545 รายการสินค้าในหมวดต่าง ๆ ได้ปรับปรุงตามโครงสร้างของ COICOP

การเลือกตัวอย่าง

ในการเลือกทำดัชนีราคาผู้บริโภค นอกจากความถูกต้องน่าเชื่อถือแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ความรวดเร็วทันต่อเวลา

การจัดเก็บราคาสินค้าทุก ๆ ชนิด ในแต่ละรายการและทุกท้องที่ ทุกร้าน จะทำให้ล่าช้ามาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการคัดเลือกตัวอย่างในการจัดเก็บราคาสินค้า

3.7 การกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า

จากผลการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี และการคัดเลือกรายการสินค้า จะทำให้ทราบรายการสินค้าทุกรายการที่จะจัดเก็บราคา แต่ก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บราคานั้นจะต้องมีการกำหนดรายละเอียดลักษณะจำเพาะของสินค้าที่จะจัดเก็บราคาให้แน่ชัดเสียก่อนเนื่องจาก

(1) สินค้าแต่ละรายการมีมากมายหลายประเภท เช่น น้ำพืช อาจจะมีน้ำมันพืช

ประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำมันรำ น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันผสม เป็นต้น

(2) สินค้าแต่ละประเภทมีหลายตรา เช่น น้ำมันปาล์ม มีหลายตรา เช่น ทิพ

มรกต คิงส์ โพลา เป็นต้น

(3) สินค้าแต่ละประเภท มีหลายขนาด (ปริมาณ , น้ำหนัก) แตกต่างกันไป

(4) สินค้าบางประเภทมีลักษณะจำเพาะเฉพาะแยกย่อยลงไปอีกมากมาย ขึ้นกับ

วัตถุดิบที่ใช้ สี กลิ่น คุณภาพ รุ่น หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป

ตามวิธีการคำนวณดัชนีราคาแบบลาสแปร์ มีหลักเกณฑ์ว่า สินค้าที่จะเก็บราคาต้องเป็นสินค้าชนิด ขนาด ลักษณะและตราเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบราคา ฉะนั้นจึงต้องมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้าแต่ละรายการให้แน่ชัดเสียก่อน และจะจัดเก็บราคา สินค้านั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น รายการสินค้านั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป หรือสินค้านั้นขาดหายไปจากท้องตลาดหรือเลิกผลิต ก็จะมีการกำหนดลักษณะจำเพาะของรายการสินค้านั้น ๆ ใหม่

การเลือกหรือกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า มีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 วิธีการกำหนดโดยการพิจารณา

เป็นการกำหนดลักษณะจำเพาะของสินค้า โดยเลือกสินค้าชนิด ขนาด ลักษณะและตราที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในท้องตลาด วิธีนี้เป็น

วิธีที่สะดวก ไม่ซับซ้อน สินค้าที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีนี้จะเหมือนกันทุกท้องที่

วิธีที่ 2 การกำหนดโดยการสุ่มทางสถิติวิธีนี้ใช้หลักสถิติในการเลือกสินค้า โดยมีหลักว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้านั้นๆมีโอกาสที่จะถูกเลือกเป็นตัวแทน แต่ด้วยความน่าจะเป็นที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับปริมาณยอดขายของสินค้าแต่ละชนิดในท้องตลาด วิธีการนี้มีความซับซ้อนกว่าแต่ไม่มีความเอนเอียง (Unbiasness) ในการเลือก ขณะนี้ ในสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าใช้วิธีการนี้

การเลือกโดยวิธีนี้ลักษณะจำเพาะของสินค้าในรายการเดียวกันอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละท้องที่ ขึ้นกับผลการสุ่ม แต่มีข้อดี คือ

(1) ขจัดปัญหาสินค้าขาดหาย เพราะแน่ใจได้ว่า สินค้าที่ถูกเลือกมีจำหน่าย

ในท้องที่นั้นอย่างแน่นอน

(2) ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภควัดระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปได้ดีขึ้น เพราะในกรณีที่กำหนดสินค้าโดยวิธีพิจารณา ถ้าสินค้านั้นมีการเคลื่อนไหวของราคาน้อย ก็จะทำให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวน้อย ในทางตรงกันข้าม ถ้าสินค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงราคามาก จะทำให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวมากตามไปด้วย แต่ในการเลือกโดยการสุ่มทางสถิติจะทำให้ได้สินค้าหลากหลาย ซึ่งจะสะท้อนความเป็นจริงในการเคลื่อนไหวของ

ราคาสินค้าในรายการนั้นได้ดีกว่า

(3) สามารถวัดประเมินผลความผิดพลาดในการจัดเก็บราคาสินค้าที่เกิดขึ้นได้

3.8 การกำหนดพื้นที่จัดเก็บราคาสินค้า

หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนี และกำหนดลักษณะครัวเรือนดัชนีแล้วขั้นตอนต่อไปคือการคัดเลือกตัวอย่างจังหวัด

จากพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเป็นตัวแทนในการจัดเก็บราคา

ในทางปฏิบัติสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทน ดังนี้

(1) เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ หรือของภาคนั้น เช่น

เป็นจังหวัดท่องเที่ยว จังหวัดที่มีการค้าชายแดน จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตการเกษตรบางอย่างที่สำคัญ จังหวัดที่เป็นแหล่ง

การค้าและธุรกิจ

(2) เลือกจังหวัดขนาดเล็กที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1 มาบางจังหวัดเพื่อเป็นจังหวัด

ตัวอย่างด้วย แต่ต้องเป็นจังหวัดที่มีแหล่งค้าขายซึ่งประชาชนมาจับจ่ายใช้สอย นอกเหนือจากการบริโภคสินค้าที่ผลิตเอง

ในครัวเรือนหรือท้องถิ่น

(3) คำนึงถึงการกระจายจังหวัดตัวอย่างทั่วภูมิภาค และประเทศ

(4) คำนึงถึงงบประมาณและกำลังคนที่มี

3.9 การกำหนดแหล่งจัดเก็บราคา

บางประเทศที่มีการพัฒนาการจัดทำดัชนีราคาอย่างมาก จะมีการสำรวจร้านค้าและแหล่งขายสินค้าที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

นิยมไปจับจ่ายใช้สอย เพื่อเป็นข้อมูลการกำหนดแหล่ง จัดเก็บราคา พร้อมกันนี้อาจจะมีการหมุนเวียนแหล่งจัดเก็บราคาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้การจัดเก็บราคาเป็นไปอย่างทั่วถึงและทันสมัยด้วย

หลักเกณฑ์ในการเลือกร้านค้าเพื่อจัดเก็บราคา มีดังนี้

(1) เป็นร้านค้าประจำ เพื่อสะดวกแก่การที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บราคาจะสามารถจัดเก็บราคาได้ตลอดไป หรือถ้าเป็นแผงลอยต้องเป็นแผงที่ขายเป็นประจำ

(2) เป็นร้านค้าที่สินค้าจำหน่ายจำนวนมากและหลายชนิดที่ครอบครัวดัชนี

ใช้บริโภค

(3) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน เดินทางไป – มาซื้อสินค้าได้สะดวก

(4) เป็นร้านค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมมาซื้อสินค้า

(5) เป็นร้านค้าที่ให้ความร่วมมืออย่างดีแก่เจ้าหน้าที่ในการสอบถามข้อมูลและ

จัดเก็บราคา

(6) ในแต่ละพื้นที่ จะกำหนดให้เลือกร้านค้าเพื่อจัดเก็บราคาอย่างน้อย 3 ร้านค้า

รายชื่อตลาดที่จัดเก็บราคาอยู่ในภาคผนวก

3.10 การจัดเก็บร

ข้อ 1

หน้าที่ของเงิน

เงินที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเงินชนิดใด ๆ ทำหน้าที่สำคัญ ๆ 4 ประการ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกกว่าการแลกเปลี่ยนในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เพราะเมื่อมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผู้เป็นเจ้าของสินค้าก็จะแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับเงิน (คือการขายสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการ) ส่วนผู้ที่ต้องการสินค้าก็จะนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า (คือการซื้อสินค้าจากผู้ที่ต้องการขาย) การซื้อขายสินค้าทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะกระตุ้นให้การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อไป แต่การที่เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้นั้นเงินจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการคือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำเงินจะต้องเป็นของหายากหรือยากต่อการปลอมแปลง และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ เงินสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆได้ และสามารถนำติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย

2. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า

ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการใช้เงิน หน่วยในการวัดมูลค่าของสินค้า ได้แก่เกวียน อัน แท่ง เมตร และต้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ข้าว 1 เกวียน ไก่ 1 ตัว ผ้า 1 เมตร ระยนต์ 1 คัน ทำให้การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าต่างชนิดกันทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหลายอัตรา เช่น ข้าว 1 เกวียนเท่ากับไก่ 50 ตัว แต่เท่ากับผ้าไหม 5 เมตรเป็นต้น การที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมากหรือหลายอัตรา ทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสน และบางทีเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่าได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า สินค้าและบริการทุกชนิดจะถูกกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงิน กล่าวคือ วัดมูลค่าสินค้าออกมาเป็นราคานั่นเอง เช่นข้าว 1 เกวียน มีมูลค่าหรือราคา 5,000 บาท ไก่ 1 ตัวมีมูลค่าหรือราคา 100 บาท ทำให้การวัดและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น เพราะอยู่ในหน่วยเงินเดียวกัน

3. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า

ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า บุคคลจะต้องเก็บสะสมสินค้าไว้เพื่อการแลกเปลี่ยนในอนาคต หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่ง(wealth) ของตน แต่สินค้าหลายอย่างเก็บสะสมไว้ไม่ได้นาน เพราะเสื่อมคุณภาพโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าเกษตรต่าง ๆ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเก็บสะสมได้มาก เพราะต้องใช้เนื้อที่มากในการจัดเก็บ เช่น ข้าว เกลือ รถยนต์ เป็นต้น แต่เมื่อมีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ บุคคลไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมสินค้าไว้ เพียงแต่ขายสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาเก็บไว้แทน และเก็บสะสมเงินไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการสินค้าและบริการ ก็นำเงินที่สะสมไว้มาซื้อสินค้าที่ต้องการ ดังนั้น เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (a store of value) ทำให้บุคคลสามารถพักอำนาจซื้อสินค้าในปัจจุบัน หรือเลื่อนอำนาจซื้อในปัจจุบันไปสู่อนาคตหรือในเวลาอื่นที่ต้องการได้ แต่เงินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่ดีได้ก็ต่อเมื่ออำนาจซื้อของเงินที่สะสมไว้จะต้องไม่ลดลง กล่าวคือ เงินแต่ละหน่วยจะยังคงแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม เงินแต่ละหน่วยจะมีอำนาจซื้อลดลงก็ต่อเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นตัวอย่างเช่น เดิมเงินจำนวน 100 บาทซื้อส้มเขียวหวานได้ 2 กิโลกรัม แสดงว่าส้มราคากิโลกรัมละ 50 บาท ต่อมาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 100 บาท เท่าเดิมจะซื้อส้มได้น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จึงแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินลดลง ถ้าบุคคลคาดว่าอำนาจซื้อของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ บุคคลจะไม่เก็บหรือสะสมเงิน แต่จะหันไปสะสมสินทรัพย์อย่างอื่นแทนที่มีมูลค่าหรือราคาไม่ลดลง หรือไม่ลดลงมากเหมือนอำนาจซื้อของเงิน เช่น บ้านและที่ดิน ทองคำ เป็นต้น

4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้

ถ้าไม่มีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขอยืมข้าวเปลือกจากนาย ข. 1 ถัง โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดชำระคืน นาย ก. จะต้องหาข้าวเปลือกมาใช้คืนนาย ข. 1 ถัง และจะต้องเป็นข้าวเปลือกชนิดเดียวกับที่ขอยืมไปจาก นาย ข. ด้วย ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการกู้ยืมระหว่าง นาย ก.และนาย ข. ทำให้การกู้ยืมและการชำระหนี้ทำได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นาย ข. ก็เพียงคิดค่าข้าวที่นายก. ขอยืมไปว่ามีมูลค่าคิดเป็นเงินเท่ากับเท่าใด เมื่อถึงเวลาชำระหนี้คือ นาย ก. ก็เพียงแต่นำเงินมาชำระหนี้เท่านั้น ก็จะเป็นการสะดวกกว่าชำระหนี้ด้วยสิ่งของ ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน ทำให้มีการกู้ยืม การให้สินเชื่อแก่กัน ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการผลิตและการลงทุน จึงทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมเศรษฐกิจมากกว่าในระบบเศรษฐกิจที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความ

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ข้อ 5

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่างๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในลำดับต่างๆ เกี่ยวกับรายได้ และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการดำรงชีพอย่างไร

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การคำนวณดัชนีราคา

การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด) ตามราคาสินค้าของเดือนปัจจุบัน (เดือนที่คำนวณดัชนี) เทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้านั้น) ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค

1. ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ

2. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย แผน และประเมินผลกระทบของนโยบายและแผนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ

3. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง เงินเดือนของราชการและเอกชน

4. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำเหน็จ และเงินช่วยเหลือหรือสวัสดิการในรูปต่างๆ

5. ใช้ประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว เช่น สัญญาซื้อขายระยะยาว

6. ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย พยากรณ์การตลาด และราคาสินค้าต่างๆ

7. ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง

ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้และแปลผลคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มสินค้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอาจจะมีสินค้าในตะกร้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่างท้องถิ่น

4. การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ ฉะนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้

สรุป

ดัชนีราคาผู้บริโภค ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวหนึ่ง เพราะในการวิเคราะห์จะพิจารณาถึงปัจจัยด่างๆ ที่มีผลกระทบตัวการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิต ได้แก่ น้ำมัน ก๊าชหุงต้ม นอกจากนี้ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสรรพสามิตและปัจจัยอื่นๆ ถ้าปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชนทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจ้างงาน ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอภาวะเงินเฟ้อและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อกรณีประเทศไทย

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์ 54127326054 การเงินการธนาคาร ห้อง 02

เพิ่มเติมจากเดิมค่ะ

ข้อ6 ตอบ ดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index หรือ PPI) เป็นดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ผู้ผลิตทำการผลิตออกจำหน่าย ณ แหล่งผลิตในปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดและจำนวนเดียวกันในปีฐาน

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

นางสาวจารุวรรณ ภู่สะอาด นักศึกษาการเงินการธนาคาร 02

รหัสนักศึกษา 54127326048

(1.)

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใช้เครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินในแต่ละประเทศแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันมากแต่ต่างก็มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่สังคมขยายตัว ระบบการเปลี่ยนแปลงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงได้มีวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินซึ่งพอสรุปได้ 3 ระยะคือ

1. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งของหรือบริการแลกเปลี่ยน

ในระยะแรกที่มนุษย์มีการติดต่อกัน มนุษย์ได้รู้จักเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของการผลิตได้มาแลกเปลี่ยน เช่น การนำเอาเสื้อผ้ามาแลกกับข้าวสาร ไข่มาแลกกับรองเท้า เป็นต้น การแลกเปลี่ยนนี้เกิดจากการของเงินขึ้น กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมีสิ่งที่เป็นค่านิยมที่ยอมรับในแต่ละสังคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

2. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของหรือการบริการ มีความไม่สะดวกหลายประการ มนุษย์ จึงหาวัตถุกลางมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุกลางนี้คือ เงิน ซึ่งเงินอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุใดๆก็ได้ โดยมีวิวัฒนาการมาดังนี้

2.1 เงินกษาปณ์

2.2 เงินกระดาษ

3. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในขณะที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น กิจการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างกว้างขวาง การซื้อขายกระทำกันคราวละมากๆ ย่อมไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเงินติดตัวเพื่อไปซื้อขาย จึงมีผู้คิดใช้เครดิตหรือความเชื่อในการซื้อขายสินค้ากัน เงินเครดิตจึงมีกำเนินขึ้น และเงินประเภทนี่จะมีใช้กันมากในสังคมที่มีระบบการธนาคารได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

(9.)

เงินเฟ้อ (Inflation)

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

ประเภทของอัตราเงินเฟ้อ

ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภท คือ

1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ

2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 %

รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์มวลรวม(Aggregate Demand) และอุปทานมวลรวม (Aggregate Supply) ซึ่งพอจะจำแนกได้ 3 ประการใหญ่ๆดังนี้

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น(Demand Pull Inflation)

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น(Cost-Push Inflation)

3. เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง(Structural Inflation)

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation)

คือการปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์มวลรวม

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น

1.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนการผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการ

1.2 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

1.3 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น

1.4 ความต้องการสินค้าจากประเทศของเราของชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมต่อสินค้าและบริการทุกชนิดได้มีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นเรื่อยๆก็จริง แต่การสูงขึ้นของราคาดังกล่าวเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อหวังจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามมาในเวลาต่อมา และช่วยบรรเทาการสูงขึ้นของระดับราคาไม่ให้มากนักได้

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ

1.1 การเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มของปัจจัยแรงงาน(Wage-Push Inflation)

1.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มกำไรของผู้ผลิต

1.3 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(Structural Inflation)

กรณีที่ประเทศเกิดภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินในการสงครามและจำกัดขอบเขตการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้การผลิตอาวุธ ในช่วงสงคราม

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง

2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง

3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น

1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคง

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้

3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

ทำได้โดยดูว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุใด

1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมโดย

1.1 ลดค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Consumption Expenditure)

1.2 ใช้นโยบายทางการเงินโดยภาครัฐ กล่าวคือ ลดปริมาณเงินโดยการออกพันธบัตร เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาสนใจออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายเงิน

1.3 ใช้นโยบายการคลังโดยภาครัฐ กล่าวคือใช้มาตรการทางด้านภาษี การเก็บภาษีมากขึ้นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดน้อยลงและรัฐบาลจะต้องลดค่าใช้จ่ายลง

1.4 ลดค่าใช้จ่ายการลงทุน(Investment Expenditure)

1.5 การควบคุมระดับราคาโดยตรง(Price Control) โดยภาครัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการไว้แน่นอน

2. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย

2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน

3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

สาเหตุของภาวะเงินฝืด

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก

2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป

3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป

4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต

5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว

6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน

7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง

8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง

9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้

น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มี

หลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน

1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น

1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท ( กสช. ) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย

2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ ( ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป

2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้

2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษี และให้ความสะดวกทุกประการ

2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ

2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง

2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

(6.)

ดัชนีราคาผู้ผลิต

PPI หรือ (Producer Price Index) หมายถึง ดัชนีราคาที่คำนวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้ผลิตมีอยู่หลายประการ ได้แก่

1. ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศทางด้านผู้ผลิต

3. เป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของประเทศ

4. เป็นตัวปรับสัญญาซื้อขายระยะยาว

5. เป็นแนวทางกำหนดงบประมาณรายจ่าย และนโยบายทางการเงิน

6. เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการผลิตและตลาด

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค

เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

(10.)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promisory Note-P/N) คือหนังสือตราสารซึ่ง

บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

(1) ลักษณะสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงิน

- คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

- คำมั่นสัญญาที่ปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

- วันถึงกำหนดใช้เงิน

- สถานที่ใช้เงิน

- ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

- วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

- ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

(2) ประโยชน์ตั๋วสัญญาใช้เงิน

- เป็นหลักฐานแสดงความเป็นหนี้กัน

- เป็นเอกสารที่ระบุจำนวนหนี้ตามที่ตกลงกันไว้อย่างแน่นอน

- ลูกหนี้ที่ต้องการรักษาชื่อเสียง ต้องพยายามจ่ายเงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินเมื่อครบกำหนด

- ตั๋วสัญญาใช้เงินสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ง่ายกว่าบัญชีลูกค้า

ตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

ประโยชน์ของตั๋วแลกเงิน

- เป็นหลักฐานแสดงการเป็นหนี้สินได้ตามกฎหมาย

- ขายลดให้แก่ธนาคารได้ จึงมีสภาพคล่องที่ดี

- เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้โดยการสลักหลังส่งมอบโดยไม่ต้องใช้เงิน สด

- ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวทางการเงินเพิ่มขึ้น

ข้อ 3

การวิเคราะห์สินเชื่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. การวิเคราะห์สินเชื่อ

ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. นโยบาย

2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้

- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน

- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- ธุรกิจการค้า

- ธุรกิจประเภทให้บริการ

8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ

เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้

1. ผู้ขอเครดิต

2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา

3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต

4. จำนวนเงินที่ขอกู้

5. ความสามารถในการชำระหนี้

6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

7. ความเหมาะสมของหลักประกัน

1.1 ผู้ขอเครดิต

- เป็นใคร หมายถึง เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

บุคคลธรรมดา

- ชื่อ, ที่อยู่

- ฐานะ, โสด, สมรส

- พื้นฐานความรู้

- ตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่

นิติบุคคล

- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน

- กรรมการมีใครบ้าง

- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ

- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด

- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่

ประเภทของผู้ขอเครดิต

หมายถึง ประเภทธุรกิจของผู้ขอเครดิตเป็นอะไร มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่เพียงใด

ความสามารถในการดำเนินกิจการ

- ประสบการณ์ของผู้ขอเครดิตในการประกอบธุรกิจของตนอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ เพียงไร

- ความสามารถในการทำธุรกิจในด้านการบริหารงานบุคคล, การจัดการด้านการเงิน, การผลิต และการตลาด

- มีความซื่อสัตย์/จริงใจ/ตั้งใจ/ อดทนในการประกอบธุรกิจ

- จุดดี จุดเสียของสินค้าและบริการของผู้ขอเครดิตเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

- ประสบการณ์ด้านการศึกษา และพื้นฐานทางครอบครัวของผู้ขอเครดิต

1.2 วัตถุประสงค์ที่ขอกู้

เป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้วิเคราะห์ จะต้องพิจารณาประกอบกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ เพื่อดูว่าลูกค้าขอกู้ยืมไปดำเนินการ จะประกอบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เรามักพบอยู่เสมอ ๆ ว่า ลูกค้ามักจะไม่นำเงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่เสนอขอกู้มาตรงกันข้ามกลับนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลกำไรที่สามารถนำมาชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารได้ การที่ลูกค้านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการขอกู้นั้น เท่ากับว่าการวิเคราะห์ของผู้วิเคราะห์ผิดเป้าหมายไปหมดเงื่อนไขต่าง ๆที่ผู้อนุมัติตั้งไว้ เช่น ให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน ให้ลดวงเงินลดลงเป็นรายงวด ก็จะไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ารายนั้นเป็นหนี้ที่มีปัญหาไปในที่สุด

วัตถุประสงค์ในการขอกู้ แยกเป็นหมวดใหญ่ ๆ 2 หมวดคือ

ก. ขอกู้เงินเพื่อใช้ในเป็นทุนหมุนเวียน เป็นการขอกู้เพื่อเสริมหรือปรับสภาพคล่องของกิจการ หรือเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

ข. ขอกู้เพื่อใช้ลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นการขอกู้เงินเพื่อนำไปลงทุนในที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการชำระคืนมากกว่าการขอกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะมีผลต่อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินที่ผู้อนุมัติพิจารณากำหนดให้ลูกค้า ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในข้อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินของลูกค้า

1.3 เงินทุนของผู้ขอกู้

- เงินจากเจ้าของ/ทุนจดทะเบียน

- ทรัพย์สินอื่น ๆ

1.4 เงินทุนของผู้ขอกู้

- มีความเหมาะสมกับธุรกิจของผู้ขอเครดิตหรือไม่/ มากน้อยเพียงใด

- สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการขอกู้ครั้งนี้หรือไม่

- อัตราส่วนเงินที่ขอกู้/เงินทุนของผู้ขอกู้

- อัตราส่วนภาระเงินกู้รวม/เงินทุนของผู้ขอกู้

- สมการบัญชี

1.5 ความสามารถในการชำระหนี้

- รายได้/กำไรจากกิจการ

- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

- การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

1.6 การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้/เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

- ประเภทเครดิต

- การกำหนดวงเงินเครดิต

- เริ่มจากน้อยไปหามาก

- กำหนดเป็นช่วงระยะเวลา,ฤดูกาล, สถานการณ์

- ตามความต้องการของลูกค้า

- ด้วยเหตุผลและความสามารถของลูกค้า (วัตถุประสงค์ และการใช้เงิน)

- วัตถุประสงค์ในการกำหนดวงเงิน

- เป็นข้อกำหนดความเสี่ยงของธนาคาร

- แนวทางในการติดตามและควบคุมการใช้เครดิต

- ส่งเสริมสินเชื่อแก่ธุรกิจ

- ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดวงเงิน

- ขนาดของธุรกิจ

- หลักการกระจายความเสี่ยง

- ประเภทธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อ

- ระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ พร้อมทั้งเงื่อนไขในการผ่อนชำระ/ดอกเบี้ย

- สภาพของธุรกิจในขณะนั้นและในอนาคต

- นโยบายการจำหน่ายสินค้า (เทอมการค้า, เทอมการให้เครดิต)

- คู่แข่งขัน

- ความสามารถในการบริหาร

- ยอดรวมของสินเชื่อทั้งหมด

1.7 ความเหมาะสมของหลักประกัน

- เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามั่นคง ราคาไม่ลดลง

- เป็นที่ต้องการของตลาด

- ปลอดภาระผูกพันใด ๆ

- ต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของหลักทรัพย์

- ต้องสามารถครอบครอง/ถือเอาเอกสารสิทธิเกี่ยวกับหลักประกันนั้นได้

- หลักประกันนั้นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายหรือพระราชบัญญัติธนาคาร

ประเภทของหลักประกัน

1. เงินฝาก

2. หุ้น

3. พันธบัตร

4. ตั๋วเงิน

5. ที่ดิน

6. สิ่งปลูกสร้าง

7. เครื่องจักร

8. เรือ

9. สินค้า

10.สิทธิการเช่า

11.สิทธิการรับเงิน

12.อื่น ๆ

การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน

- ผู้ถือกรรมสิทธิ์

- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ

- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง

- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา

- สภาพแวดล้อม

- ประโยชน์การใช้สอย

- อายุการใช้งาน

- สภาพความเสื่อมค่า

- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน

2. ข้อมูลภายในธนาคาร

- สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายสินเชื่อของธนาคาร

- อยู่ในระเบียบหลักเกณฑ์ กฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคาร

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศไทย 3 ประเภทเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

1. สินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อรถยนต์เป็นสินเชื่อในการกู้ยืมเงินอย่างหนึ่ง จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้รับสินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำที่สุด แต่ละสถาบันการเงิน มีโปรแกรมให้สินเชื่อรถยนต์ที่แตกต่างกันจำนวนมากเพื่อดึงดูดและให้ตรงกับ ความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสินเชื่อรถยนต์ตัวไหนดีอย่างไรมีอะไรซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังก่อนทำสัญญากับสถาบันการเงินต่างๆ

สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำ

สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่เคยเจอมาก็คือ 0.39% ต่อเดือน ส่วนใหญ่ดอกเบี้ยระดับนี้ให้ยอดกู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ถ้าต้องการที่จะได้สินเชื่อรถยนต์ ดอกเบี้ยต่ำๆ ต้องรอซื้อรถแถวช่วงปลายปี ช่วงนั้น สินเชื่อรถยนต์จะต่ำมากๆ เพราะธนาคารต้องการปิดงบกำไร ถ้าเค้าทำไม้ถึงเป้าก็จะมีโปรโมชั่นดีๆ มาดึงดูดใจลูกค้าหากใครอยากได้ สินเชื่อรถยนต์ ดีๆ ต้องรอครับ อย่ารีบใจร้อน เพราะจะทำให้ได้สินเชื่อรถยนต์ที่แพงเกินไป ดังคำที่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม

2. โยบาย รถคันแรก รายละเอียดเงื่อนไขการคืนเงินภาษี ในการซื้อรถยนต์คันแรก

ตามที่รัฐบาล 2554 ชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีนโยบายรถคันแรก โดยจะเป็นการคืนเงินภาษีเท่ากับที่จ่ายจริง ในการซื้อรถยนต์คันแรก แต่จะคืนได้ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับรายละเอียด ข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ในการคืนภาษีรถยนต์คันแรก มีดังนี้

• ผู้ซื้อต้องอายุ 21 ปีขึ้นไป

• ผู้ซื้อจะต้องไม่เคยซื้อรถยนต์มาก่อน

• ระยะเวลา จะต้องซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555

• โดย ราคารถยนต์นั้นจะต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท

• เครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี (สำหรับรถกระบะจะไม่จำกัด ซีซี)

• เป็นรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น

• ต้องครอบครองไม่น้อยกว่า 5 ปี

• เป็นรถใหม่(ป้ายแดง,มือสองไม่ได้)

การคืนเงินภาษีรถคันแรก ภาครัฐจะคืนภาษีได้เมื่อครอบครองรถยนต์ไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี

• ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกแล้ว!

• เลื่อนระยะเวลาเป็น เริ่มวันที่ 16 กันยายน 2554 - 31 ธันวาคม 2555

วิธีดำเนินการ

1. ผู้ซื้อรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย

• หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี

• สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ

• สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)

2. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบกหรือ สำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ

3. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน

4. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดส่งหนังสือรับรองการครอบครอง รถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

5. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อเมื่อครอบครองครบ 1 ปี โดยจ่ายเป็นเช็คให้ในครั้งเดียว

ปลดล็อคเงื่อนไข ห้ามโอนภายใน 5 ปี กรณีผู้ซื้อรถ(ผ่อน)ผิดนัดไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้ ไฟแนนซ์ก็สามารถยื่นเรื่องให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบ ว่าเป็นจริง เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้ซื้อรถผิดนัดไม่ผ่อนชำระต่อจริง ก็จะแก้เงื่อนไขกรณีห้ามโอนภายใน 5 ปี ให้สามารถนำรถไปขายทอดตลาดได้

และจะเรียกเงินภาษีจากผู้ที่ซื้อรถไปแล้วแต่ไม่สามารถผ่อนต่อได้ คืนกลับให้กรมสรรพสามิตเท่ากับจำนวนที่ได้รับไป (ผู้ซื้อรถไปแล้วแต่ไม่สามารถผ่อนต่อได้ จะต้องคืนเงินให้กรมสรรพสามิตเท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับการคืนภาษีรถยนต์คัน แรก)

3.นโยบายบ้านหลังแรก

นโยบายบ้านหลังแรก ข้อสรุปและบทวิเคราะห์ความคุ้มค่าภาษีของผู้ซื้อ ใครได้ประโยชน์

คณะ รัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยยกเว้นเงินได้ที่ได้ จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท

(1)เป็นเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อ อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

(2)ผู้มีเงินได้มีสิทธิยกเว้นภาษีเป็น จำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

(3)การยกเว้นภาษีจะใช้วิธีการหักค่าลด หย่อน ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกใช้สิทธิ์ครั้งแรกสำหรับเงินได้ในปีที่ได้โอน กรรมสิทธิ์หรือปีถัดไปก็ได้ โดยสามารถหักเป็นค่าลดหย่อนได้ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี

(4)ผู้มีเงินได้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2554ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555

(5)ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน

(6)ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน

บทวิเคราะห์ความคุ้มค่า ณ วันที่ 20 ก.ย.54 โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธ.อาคารสงเคราะห์

สำหรับผู้ที่กำลังคิดจะซื้อบ้านหลังแรก ด้วยแรงจูงใจดังกล่าว ควรศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ บางทีอาจไม่ได้ช่วยอะไรมากอย่างที่คิด สู้ไปซื้อบ้านมือสองราคาถูกอาจจะคุ้มกว่าด้วยซ้ำ อย่าเผลอมองแต่บ้านของโครงการฯที่ตั้งราคาสูงเว่อร์ ณ ปัจจุบัน

มาตรการนี้กำหนดเงื่อนไขไว้มาก ทั้งในส่วนของผู้ซื้อและตัวบ้าน เพื่อการรับสิทธิ ประโยชน์จากการหักลดหย่อนภาษี กล่าวคือ1.เงื่อนไขด้านผู้ซื้อ ต้องเป็นผู้ซื้อบ้านหลังแรก ไม่เคยมี ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน

2.เงื่อนไขด้านตัวบ้าน ต้องเป็นบ้านใหม่เท่านั้น ไม่รวมบ้านมือสองหรือบ้านสั่งสร้าง ดังนั้น บ้านที่เข้าข่ายมีคุณลักษณะ คือเป็นบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ทั้งที่สร้างเสร็จแล้วหรือกำลังจะสร้างเสร็จ และพร้อมโอนได้ภายในสิ้นปีหน้า นอกจากนี้ ราคาบ้านต้องไม่เกินกว่า 5 ล้านบาท

3.เงื่อนไขด้านระยะเวลา ต้องมีการซื้อและโอนตั้งแต่ปัจจุบัน ไปจนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 หรือประมาณ 15 เดือน และเมื่อซื้อแล้วต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านนั้นต่อไปไม่น้อย กว่า 5 ปี

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ซื้อบ้านหลังแรกจะได้

คือ ผู้ซื้อสามารถนำจำนวนเงินร้อยละ 10 ของ ราคาบ้านไปหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จำนวนเงินที่ นำไปหักลดหย่อนให้ปีละเท่ากัน รวม 5 ปีไม่เกินร้อยละ 10 ดังกล่าว โดยหากซื้อบ้านในปี 2554 สามารถขอหักลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2554-2558 หรือจะหักลดหย่อนในปีภาษี 2555-2559 ก็ได้

จากการวิเคราะห์พบว่า เนื่องจากการหักลดหย่อนนี้เป็นการหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Tax-Deductible (ไม่ใช่เป็นการหักลดหย่อนสุทธิ หรือไม่ใช่เป็น Tax-Credit) ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ฐานภาษีที่ต้องเสีย และ ราคาบ้านที่ซื้อ

ฐานภาษีหรืออัตราภาษีที่ต้องเสีย (Tax Bracket) คำนวณจากรายได้หลังหักลดหย่อน ตามรายการหักลดหย่อน (Deductibles) ต่างๆ ที่กรมสรรพากรอนุญาตให้หักได้ในแต่ละปีภาษี กล่าวคือ

-รายได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี

-รายได้ 150,001–500,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 10 ในส่วนที่เกิน 150,000 บาท

-รายได้ 500,001–1,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 20 ในส่วนที่เกิน 500,000 บาท

-รายได้ 1,000,001–4,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 30 ในส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท

-รายได้สูงกว่า 4 ล้านบาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 37 ในส่วนที่เกิน 4,000,000 บาท

ดังนั้น หากรายได้ยิ่งสูง ย่อมทำให้ฐานภาษีหรืออัตราการเสียภาษีสูงขึ้น เมื่อมีการหักลดหย่อนจึงหักลดหย่อนได้ในจำนวนเงินที่มากขึ้นตามร้อยละที่ กำหนด และหากซื้อบ้านราคายิ่งสูง (แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท) ร้อยละ 10 ของราคาบ้านที่จะนำไปคำนวณเพื่อใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ย่อมสูงขึ้น ด้วย

ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด จึงเป็นผู้ที่อยู่ในฐานภาษีสูงสุด (ผู้ที่มีอัตราภาษีร้อยละ 37) และซื้อบ้านราคาสูงสุดตามมาตรการนี้ (5 ล้านบาท) ซึ่งสามารถนำจำนวนเงิน 500,000 บาท (ร้อยละ 10 ของราคาบ้าน 5 ล้านบาท) ไปหักลดหย่อนได้ปีละ 100,000 บาท (หักลดหย่อน 5 ปีๆละเท่ากัน) ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีสุทธิที่ต้องจ่ายแล้ว จะสามารถประหยัดค่าภาษีได้ 37,000 บาทต่อปี

หรือ 185,000 บาทตลอดระเวลา 5 ปีที่ได้รับการหักลดหย่อน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาทได้นั้น ควรมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 100,000 บาท (ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แนะนำให้ผู้บริโภคซื้อบ้านที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 เท่าของรายได้ต่อเดือน) และผู้ที่จะซื้อบ้านราคาใกล้เคียง 5 ล้านบาทไม่น่าจะเป็นผู้ซื้อบ้านหลังแรก แต่น่าจะเป็นผู้ที่เคยซื้อบ้านราคาถูกกว่านั้นมาก่อนแล้ว เพราะคนซื้อบ้านหลังแรกในชีวิตน่าจะซื้อ

บ้านในราคาระหว่าง 1-3 ล้านบาท และน่าจะเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้เดือนละประมาณ 20,000-50,000 บาท หรือประมาณ 240,000-600,000 บาท ซึ่งเมื่อหักลดหย่อนรายการต่างๆที่กรมสรรพากรอนุญาตแล้วน่าจะมีรายได้ไม่ เกิน 500,000 บาทต่อปี ซึ่งมีฐานภาษีร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม ภาครัฐอาจพิจารณาเห็นว่าภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบันไม่ถึงอยู่ในสภาพตก ต่ำ เพียงแต่มีการชะลอความเติบโตเมื่อเทียบกับปี 2553 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาแรง และไม่ได้มุ่งเน้นการกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยมากเกินไป ผลจากมาตรการดังกล่าวอาจไม่ได้ช่วยให้ตลาดที่อยู่อาศัยคึกคักขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ เพราะเงื่อนไขดังที่กล่าวมา แต่การที่มีความชัดเจนแล้วจะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเดินหน้าต่อไปตามธรรมชาติ ของการแข่งขันในตลาด หลังจากที่มีการชะลอดูมาระยะหนึ่ง

สรุปคือ

มาตรการดังกล่าว จะทำให้คนที่ยิ่งมีรายได้สูงที่ซื้อบ้านหลังแรกจะเสียภาษีเงินได้ลดลง ถือว่าเป็นการช่วยเหลือคนไม่กี่คน และทำให้ระบบภาษีลักลั่นได้ นอกจากนี้คนที่มีรายได้สูงก็น่าจะมีบ้านหลังแรกกันไปหมดแล้ว ดังนั้น มาตรการนี้คงจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก โดยมาตรการที่ช่วยคนซื้อบ้านได้อย่างแท้จริง คือ เรื่องอัตราดอกเบี้ย 0% ซึ่งเท่ากับว่ามาตรการของรัฐบาลชุดก่อนดีกว่า เพราะสามารถช่วยคนได้เป็นวงกว้างมากกว่า และเป็นการช่วยคนที่ควรช่วย ส่วนผลต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั้นมีผลไม่มากนัก แต่เมื่อนโยบายออกมาชัดเจนแล้วก็จะทำให้คนไม่ต้องรอตัดสินใจซื้อบ้านและโอน บ้านได้เร็ว ทำให้สถานการณ์กลับเข้ามาสู่ภาวะปกติหลังจากที่ชะลอตัวไปในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์ 54127326054 การเงินการธนาคาร ห้อง 02

1.ตอบ บทบาทหน้าที่ของเงินคือ

หน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) คือ คนทุกคนต้องยอมรับในการที่สิ่งๆนั้นเป็นสื่อกลาง เวลาพ่อค้าขายของให้กับลูกค้าก็ต้องยอมรับเงินที่ลูกค้านำมาให้ (ดังที่เขียนไว้ด้านหน้าธนบัตรทุกใบว่า ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)

2. สามารถเป็นหน่วยวัดได้ (Unit of account) หรือสามารถแยกย่อยได้ ดังที่ได้กล่าวมาในข้อหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องการขายเป็นหน่วยย่อย ก็สามารถใช้เงินมาแทนได้ โดยผู้เลี้ยงหมูก็จะขายหมูให้พ่อค้าคนกลาง แล้วพ่อค้าคนกลางก็จะไปแยกขายหาคนซื้อเอาเอง (บวกกำไรเป็นค้าหาคนซื้อและรับความเสี่ยงที่หมูจะเน่าไป)

3. เก็บรักษามูลค่าได้ (Store of value) เนื่องจากเงินไม่เสื่อมสภาพ ไม่เน่าเสีย เหมือนสินค้าปกติทั่วไป ไม่มีตกรุ่นไม่มีเก่าเหมือน ipod iphone ราคาหรือมูลค่าของมันก็ยังคงเดิม วันรุ่งขึ้นหรือวันถัดๆไปก็ยังสามารถเอาไปซื้อหมูมากิน ซื้อข้าวมากินได้เหมือนเดิม (กรณีนี้ขอยังไม่พูดถึงเรื่องเงินเฟ้อนะครับ เดี๋ยวจะงงกว่าเดิม)

ในความเป็นจริง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกนำมาใช้เป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นทอง เงิน ทองแดง ข้าว เกลือ หิน เปลือกปอย บุหรี่ หรืออื่นๆ แต่หลายๆสิ่งหลายๆอย่างก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นเงินในรูปแบบปัจจุบัน และกำลังวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต โดยอาจอยู่ในรูปของเครดิตต่อไป แต่มิติที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วกว่าในอดีต ไม่ว่าการค้าที่เป็นแบบ globalization การเชื่อมโยงทางข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็อาจทำให้เงินวิวัฒนาการต่อไปได้อีกครับ

ความสำคัญของเงิน

เงิน ซึ่งในสังคมยอมรับ ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ชำระราคา ตามวัน เวลา สถานที่ๆตกลงกันเอาไว้ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติที่ดีของเงิน

1.ต้องเป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วไป

2. ต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน เช่น ธนบัตรใบละ 20 บาททุกฉบับต้องมีลักษณะเหมือนกัน

3.ต้องมีลักษณะคงทนถาวร ไม่บุบสลายง่าย

4.ต้องมีค่ามากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของเงินนั้น กล่าวคือ มีมูลค่ามากแต่สามารถพกพาได้สะดวก

5.แบ่งแยกหน่วยย่อยได้ง่ายเช่นมีธนบัตรใบละ 10 , 20 ,50 บาททั้งนี้เพื่อเหมาะสมกับการนำไปซื้อสินค้า

9.ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

กลุ่มผู้ได้เปรียบจากกภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ที่ประจำแน่นนอน เช่น ผู้ที่รับรายได้เป็นเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน บำนาญ

2) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้านี้

3) ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4) ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบจากภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นนอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

2) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดตำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ตนทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

3) พ่อค้านักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย แถมยังตกงานอีก

4) ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของ เงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

5) ผู้เช่า การผลิตก็ชะลอตัวลง และลดตำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ด้านทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

10. ตอบ ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) (Promissory note) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า จะใช้เงินจำนวนที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

ตั๋วแลกเงิน (B/E) (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข

ใครเกี่ยวข้อง

ตั๋วแลกเงินอาจเป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่ายหรือ 3 ฝ่ายก็ได้ ดังนี้

1. เกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่ายได้แก่

1.1 ฝ่ายผู้สั่งจ่าย ผู้รับเงิน (มีฐานะเป็นเจ้าหนี้) เป็นบุคคลเดียวกัน

1.2 ฝ่ายผู้จ่ายเงิน ผู้รับรองตั๋ว (มีฐานะเป็นลูกหนี้) เป็นบุคคลเดียวกัน

2. เกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่ายได้แก่

1.3 2.1 ฝ่ายผู้สั่งจ่าย เป็นผู้ออกตั๋ว (มีฐานะเป็นเจ้าหนี้)

1.4 2.2 ฝ่ายผู้จ่ายเงิน ผู้รับรองตั๋ว (มีฐานะเป็นลูกหนี้)

2.3 ฝ่ายผู้รับเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงินมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ

1. ผู้จ่ายเงิน (ผู้ออกตั๋วเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว)

2. ผู้รับเงิน

6.ตอบ ดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index หรือ CPI)

ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคจ่ายซื้อ เพื่อการบริโภค ณ ตลาดและร้านค้าปลีกในปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดและจำนวนเดียวกันในปีฐาน

ทั้งนี้ สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคจ่ายซื้อ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย บริการตรวจรักษาทางการแพทย์ การบริการส่วนบุคคล การบริการด้านการสื่อสารและการขนส่ง การศึกษา การบันเทิง ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายซื้อในราคาตลาด หรือราคาขายปลีก

2. ดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index หรือ PPI)

ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ผู้ผลิตทำการผลิตออกจำหน่าย ณ แหล่งผลิตในปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดและจำนวนเดียวกันในปีฐาน

5.ตอบ การจัดทำดัชนีราคาในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 โดยกรมการสนเทศ แต่เป็นการจัดทำเพื่อใช้ภายในหน่วยงานราชการเท่านั้น ต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นลำดับจนได้เผยแพร่ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2491 โดยใช้ปี 2491 นี้เป็นฐาน

ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคา จนมาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (ปี 2486 - 2504)

- ดัชนีค่าครองชีพ

ได้มีการจัดทำดัชนีราคา ที่เรียกว่า ดัชนีค่าครองชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของคนงาน และข้าราชการที่มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ มีรายการสินค้าที่สำรวจเพียง 21 รายการเท่านั้น ดัชนีชุดนี้มีการคำนวณเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2491 และพัฒนามาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน

- ดัชนีราคาขายปลีก

ได้มีการคำนวณดัชนีราคาอย่างง่าย ๆ โดยไม่มีการถ่วงน้ำหนัก เป็นราคาเฉลี่ยสัมพัทธ์

ของสินค้า 58 ชนิด ที่ซื้อขายในกรุงเทพฯ โดยดัชนีชุดนี้มีการจัดทำตั้งแต่ปี 2491 ถึงปี 2505

ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา (ปี 2505 – 2519)

ในช่วงต้นของยุคนี้ได้มีการปฏิรูป การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทย ครั้งใหญ่ ให้มีการจัดทำตามระบบสากลมากขึ้น การปฏิรูปครั้งนั้นประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เริ่มสำรวจรายจ่ายของครอบครัวในเขตกรุงเทพ ฯ และ

ธนบุรีในปี 2505 ซึ่งกรมการสนเทศได้นำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณน้ำหนักในการทำดัชนีราคา ผู้บริโภค และได้อาศัยข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาใช้ในการจัดทำและปรับปรุงดัชนีราคาผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน

2. ในปี 2505 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้นาย

แอบเนอร์ เฮอร์วิซ (Mr.Abner Hurwitz) ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติมาช่วยปรับปรุงงานสถิติให้แก่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และในโอกาสนี้ก็ได้

มาช่วยให้คำแนะนำ และปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาของกรมการสนเทศด้วย โดยการนำผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในปี 2505 มาใช้

และเพิ่มรายการสินค้าเป็น 232 รายการ และเปลี่ยนชื่อจากดัชนีราคาค่าครองชีพ มาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ได้ยกเลิก

การจัดทำดัชนีราคาขายปลีก และต่อมาในปี 2507 ได้ขยายขอบเขตการจัดทำดัชนีราคาให้ครอบคลุมไปสู่ภูมิภาคทั้ง 4 ภาค โดยเพิ่มจังหวัด

ที่มีการสืบราคาอีก 20 จังหวัด

ระยะที่ 3 ระยะสืบสานและก้าวหน้า (ปี 2519 – ปัจจุบัน)

ระยะนี้เป็นระยะที่มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเข้าสู่ระบบสากลแล้ว มีการปรับปรุงน้ำหนัก และรายการสินค้าเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป มีการปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตามวิทยาการที่

ก้าวหน้าขึ้น

มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า ดังนี้

1. ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย

ครัวเรือน ปี 2519 และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี 2519 ลดรายการสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคจาก 232 รายการ เหลือ 214 รายการ และเพิ่มจังหวัดที่จัดเก็บราคาในภูมิภาคเป็น 24 จังหวัด

2. ในปี 2528 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคใหม่

โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 2524 และเรียกดัชนีราคาผู้บริโภคเดิมว่า ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป เพื่อให้แตกต่างจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่จัดทำใหม่อีก 2 ชุด คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค

รายได้น้อย และดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท เพิ่มจำนวนรายการสินค้าเป็น 216 รายการ ปีฐานยังคงใช้ ปี 2519

3. ปี 2533 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่าย

ครัวเรือน ปี 2529 ด้วย มีการเพิ่มรายการสินค้าเป็น 238 รายการ และขยายจังหวัดที่จัดเก็บราคาในส่วนภูมิภาคเป็น 37 จังหวัด

4. ปี 2538 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 2533

และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี 2533 และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า (เพิ่มและลดสินค้าบางรายการ) เป็น 248 รายการ

5. ในปี 2540 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักตามข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ปี 2537 และเปลี่ยนปีฐานเป็นปี 2537 และปรับเปลี่ยนรายการสินค้าเป็น 260 รายการ โดยเฉลี่ยของทั้งกรุงเทพและภูมิภาค 4 ภาค

6. ในปี 2545 ได้มีการปรับปรุงน้ำหนักและรายการสินค้า โดยใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้

จ่ายครัวเรือน ปี 2541 เป็นปีฐาน และมีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า จาก 260 รายการ เป็น 326 รายการ ( มีรายการเพิ่มขึ้น 65 รายการ

และลดลง 15 รายการ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 50 รายการ เมื่อเทียบกับปี 2537 )

7. ในปี 2548 ปรับปรุงน้ำหนักค่าใช้จ่ายและรายการสินค้าใหม่ ตามการสำรวจค่าใช้จ่าย

ของครัวเรือนปี 2545 ซึ่งเริ่มเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนแปลง รายการสินค้าจาก 326 รายการ เป็น

373 รายการ (มีรายการเพิ่มขึ้น 47 รายการ โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 19 รายการ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

เพิ่มขึ้น 28 รายการ)

ดัชนีราคาผู้บริโภคคือ นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณเนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

4.ตอบ แนวคิดของเคนส์ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานก็คือ อุปสงค์รวมมีน้อยกว่าอุปทานรวม เคนส์จึงให้ความสำคัญต่อ การวิเคราะห์อุปสงค์รวม เป็นอย่างมาก และแนวคิดในการแก้ปัญหาการว่างงานก็คือ ความจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินนโยบายการจัดการทางด้านอุปสงค์ (demand management policies) เพื่อให้มีเพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการผลิต ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ได้และนโยบายเศรษฐกิจที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการว่างงานก็คือ นโยบายการคลัง

แนวคิดฟรีดแมนทฤษฎีความต้องการถือเงิน

1. ฟรีดแมนมีความเห็นว่า เงินเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผลผลิต รายได้ และระดับราคาในระบบเศรษฐกิจ

2. สาระสำคัญของทฤษฎีปริมาณเงินสมันใหม่ ได้แก่ การที่ปริมารเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรายได้ ระดับราคา อุปสงค์รวมของสินค้า และสมการความต้องการถือเงินค่อนข้างมีเสถียรภาพ ในขณะที่เศรษฐกิจภาคเอกชนมักจะไม่ค่อยมีเสถียรภาพในตัวเอง ดังนั้น นโยบายการเงินจึงมีความสำคัญมากกว่านโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3. ทฤษฎีปริมาณเงินดั้งเดิมและทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่มีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เน้นความสำคัญของนโยบายการเงิน ในขณะที่ทฤษฎีของเคนส์เน้นความสำคัญของนโยบายการคลัง

ทฤษฎีความต้องการถือเงินของฟรีดแมน

1. ความหมายของเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม มีความหมายกว้างกว่านักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกและเคนส์ เนื่องจากถือว่าเงินทำหน้าที่เป็นที่พักชั่วคราวของอำนาจซื้ออีกด้วย ดังนั้น เงินตามแนวคิดของนักการเงินนิยมจึงครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และมีราคาค่อนข้างแน่นอน

2. ปัจจัยที่กำหนดความต้องการถือเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม ได้แก่ ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราผลตอบแทนจากการถือธนบัตร อัตราผลตอบแทนของการถือหุ้น อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ รายได้ถาวร และรสนิยม ตลอดจนความพอใจของผู้บริโภค

3. สมการความต้องการถือเงินของฟรีดแมน ได้อธิบายถึงสิ่งที่เป็นตัวกำหนดค่า k ในสมการความต้องการถือเงินของสำนักเคมบริดจ์อย่างมีระบบ โดยอธิบายตัวกำหนดค่า k ว่าเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ ที่ระบุไว้

ความหมายของเงินตามแนวคิดของนักการเงินนิยม

1. เหตุที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินนิยมให้ความหมายของเงินกว้างกว่านักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค เพราะ มีความเห็นว่า นอกจากเงินจะมีหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเครื่องรักษามูลค่าแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นที่พักชั่วคราวของอำนาจซื้ออีกด้วย

2. คุณสมบัติเบื้องต้นของเงิน ตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม มีดังนี้คือ

- เป็นสินทรัพย์ที่มีการกำหนดมูลค่าค่อนข้างแน่นอน และการเปลี่ยนแปลงมูลค่าดังกล่าวอาจมีได้ภายในขอบเขตที่จำกัด

- ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก เมื่อมีการเปลี่ยนประเภทของสินทรัพย์

ปัจจัยที่กำหนดความต้องการถือเงิน

ถ้าประชาชนคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง และถ้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะต่ำลงจะทำให้ความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้น

ถ้าประชาชนลงทุนในทรัพยากรมนุษย์มาก จะทำให้ความต้องการถือเงินน้อยและถ้าลงทุนในทรัพยากรมนุษย์น้อยจะทำให้มีความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้น

สมการความต้องการถือเงินของฟรีดแมนค่า k ในสมการความต้องการถือเงินของฟรีดแมน ต่างกับค่า k ของสำนักเคมบริดจ์ คือ มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยถูกกำหนดโดยปัจจัยต่าง ๆ ในขณะที่ค่า k ของสมการความต้องการถือเงินของสำนักเคมบริดจ์มีค่าคงที่

3.ตอบ การวิเคราะห์สินเชื่อ 7C’s และ 5P’s

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์คุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับตัวเลขทางการเงิน แต่จะใช้ข้อมูลอื่นในการประเมินความเสี่ยงของการให้สินเชื่อ ซึ่งมีหลักการวิเคราะห์ดังนี้

2.1.1.1 หลัก 5 P’s ได้แก่ Purpose People Payment Protection Prospect

2.1.1.2 หลัก 7 C’s ได้แก่ Character Capacity Capital Collateral Condition Country Control

พิจารณาเมื่อลูกค้าขอเครดิตมี 5 ประการหรือที่เรียกง่ายๆว่า 5 P’sคือ

1. วัตถุประสงค์ (Purpose)

2. บุคคล หรือ ผู้กู้ (People)

3. การชำระคืน (Payment)

4. การป้องกันความเสี่ยง (Protection)

5. ศักยภาพ (Prospect)

หลัก 7 C's ในการประเมินความเสี่ยงของการให้สินเชื่อ

1. Character พิจารณาลักษณะคุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริง และความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

6. Country คือ การประเมินถึงตัวประเทศผู้ขอกู้ ใช้พิจารณาในกรณีที่เป็นการกู้เงินต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีมากขึ้น การประเมินคุณค่าทางเครดิตจะต้องวิเคราะห์สภาวะการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมการค้าที่มีอยู่ในประเทศ เนื่องจากแนวความคิดในเรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับหนี้สินแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้นเอกสารทางการพาณิชย์และการปฏิบัติทางการค้าก็แตกต่างกัน

7. Control คือ การควบคุมเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของระบบข้อมูลที่ใช้โดยผู้กู้ที่จะบริหารธุรกิจไม่ใช่ผู้กู้ทั้งหมดทุกคนจะมีระบบการเงินและการดำเนินงานภายในที่ดีสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ไม่คาดว่าจะเกิดความต้องการทางการเงิน ผู้ให้สินเชื่อและผู้ลงทุนต้องแน่นใจว่าระบบบัญชีของบริษัทมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทสามารถปฏิบัติตามระเบียบและตามความต้องการทางกฎหมาย กล่าวคือ ระบบข้อมูลในการบริหาร มีพอเพียงในการบริหารควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศ

1.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่

2.สินเชื่อบ้านหลังใหม่

3.สินเชื่อเพื่อธุรกิจ sme

11.ตอบ ธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ปละใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินนั้นตามตั๋วแลกเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการอื่น ๆ

2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ พิจารณาได้จากบัญชีงบดุลของธนาคารพาณิชย์ซึ่งแสดงแหล่งที่มาของเงินจากบัญชีหนี้สินและทุน และแสดงการใช้เงินจากบัญชีสินทรัพย์

3. ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยนำเงินสดสำรองส่วนเกินให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และทำลายเงินฝากเมื่อผู้ฝากถอนเงิน หรือผู้กู้นำเงินมาใช้คืน ปริมาณเงินฝากที่ถูกสร้างหรือทำลายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าตัวทวีของเงินฝากและปริมาณเงินฝากที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น

4. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบสาขาและเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาดำเนินงานในประเทศไทย และธน

ข้อ9.

ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วยเงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ข้อ10.

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) เป็นเงินฝาก รูปแบบใหม่ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เปิดให้บริการ แก่ลูกค้าในลักษณะเป็นตราสารที่แสดงการกู้ยืมเงินที่ ธนาคารฯออกให้แก่ลูกค้าโดยมีสัญญาว่าจะจ่ายเงิน คืนพร้อมดอกเบี้ย ในอัตราที่กำหนด และ วัน เดือน ปี ที่กำหนดบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเมื่อทวงถาม อย่างไรก็ตามผู้ฝากสามารถถอนเงิน ก่อนครบ กำหนดได้และได้รับดอกเบี้ยตามกฎเกณฑ์ที่ธนาคารฯ กำหนดไว้

ประเภทของตั๋วสัญญาใช้เงิน

• ประเภทเมื่อทวงถาม (Call Deposit) หรือเผื่อเรียก

• ประเภทรายวัน (Day Deposit) มี 2 ชนิดคือ 7 วัน และ 14 วัน

• ประเภทกำหนดระยะเวลาครบกำหนด (Term Deposit ) หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภท 1-2-3-6-12 เดือน และ 1-2-3-5 ปี

เงื่อนไขในการให้บริการ

1. ลูกค้าต้องเปิดบัญชีเงินฝากตั๋วสัญญาใช้เงิน และต้องแสดงหลักฐานตามที่ธนาคารฯกำหนด

2. ชื่อบัญชีและเจ้าของบัญชีต้องเป็นบุคคลเดียวกัน จะใช้นามสมมติหรือนามแฝงไม่ได้

3. เปิดบัญชีใหม่ครั้งแรกต้องฝากเงินขั้นต่ำ 100,000 บาทขึ้นไปและในการฝากครั้งต่อไปตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องมียอดเงินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท

4. ในกรณีฝากประเภททวงถาม จะรับฝากเฉพาะนิติ บุคคล สถาบันการเงิน ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงินฝากขั้นต่ำ 1,000,000 บาทขึ้นไป และในการฝากครั้งต่อไปต้องมียอดเงินฝาก ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

5. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 1 ฉบับ ใช้รับฝากเงินได้ 1 ครั้ง

6. ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทกำหนดระยะเวลา (Term) หากไถ่ถอนก่อนกำหนดคิดอัตราดอกเบี้ยให้ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยประเภทออมทรัพย์แรงใจ ไทยของธนาคารฯ ณ วันที่ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. หากตั๋วสัญญาใช้เงินเกินกำหนดระยะเวลา (Over Due) นับตั้งแต่วันที่ตั๋วครบกำหนด ธนาคารฯจะคิดดอกเบี้ยเป็นอัตราออมทรัพย์ แรงใจไทย ของธนาคารฯ ณ ปัจจุบัน

8. ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทเมื่อทวงถาม อัตราดอกเบี้ยจะปรับเปลี่ยนตามประกาศ ของธนาคารฯ เป็นช่วงระยะเวลาหรืออัตรา ลอยตัว (Call Float Rate)

9. ธนาคารฯ จะหักภาษี ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ย รับทั้งจำนวนเพื่อนำส่งกรมสรรพากร

10. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำฝากที่ธนาคารฯ สาขาใด ต้องขึ้นเงินกับสาขานั้น

11. ในกรณีไถ่ถอนเงิน หรือ ต่ออายุตั๋ว สัญญาใช้เงินลูกค้าต้องลงนาม สลักหลังตั๋วฉบับนั้น

ตั๋วแลกเงิน ( B/E )

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) คือ ตราสารทางการเงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อระดมเงินฝากจากประชาชนซึ่งเป็นลักษณะกู้ยืมเงินจากประชาชน ผู้ลงทุนในตั๋วแลกเงินของธนาคารจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากไม่ได้ให้การค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยของตั๋ว แลกเงิน

ลักษณะบริการ

• ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) คือ ตราสารทางการเงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อระดมเงินฝากจากประชาชนซึ่งเป็นลักษณะกู้ยืมเงินจากประชาชน

• ผู้ลงทุนในตั๋วแลกเงินของธนาคารจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ ธนาคาร โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากไม่ได้ให้การค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยของตั๋ว แลกเงิน

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

• อัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินตามประกาศธนาคาร

• ตั๋วแลกเงินทุกประเภท ธนาคารชำระดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด ตามที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน ยกเว้นตั๋วแลกเงินประเภท 36 เดือน ชำระดอกเบี้ยแบบรายเดือน และธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามเงื่อนไขของกรมสรรพกร

• กรณีไถ่ถอนก่อนครบกำหนดได้รับดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป ณ วันที่ธนาคาร

เงื่อนไขการใช้บริการ

• การซื้อตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท และส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทต้องเป็นจำนวนทวีคูณของ 10,000 บาท

• ลูกค้าต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร เพื่อการโอนเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยของตั๋วแลกเงินเมื่อถึงวันครบกำหนด ตามที่ระบุไว้ในใบคำขอซื้อตั๋วแลกเงิน

ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อตั๋วสัญญาใช้เงินคือ บุคคลที่เป็นลูกค้า ที่ทำการประกอบธุรกิจ

ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อตั๋วแลกเงินคือ บุคคลที่ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร และเป็นการลงทุนแบบได้ดอกเบี้ย

ข้อ 8.

6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวอย่างเป็นทางการภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึง “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป และกินเวลาทั้งหมด 6 เดือน ดังนี้

1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง โดยจะปรับภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 91, 95 , E10, E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 3.30 บาท เหลือลิตรละ 0.0165 บาท จากปัจจุบันที่จัดเก็บลิตรละ 3.3165 บาทต่อลิตร และหากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดแล้วจะทำให้ลดลงได้ลิตรละ 3.88 บาท เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท ขณะที่น้ำมันดีเซล บี2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท เหลือลิตรละ 0.005 บาท หรือลดลงได้ลิตรละ 2.71 บาท และลดภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท เหลือลิตรละ 0.0048 บาท หรือลดลงได้ ลิตรละ 2.45 บาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 ก.ค. 51 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช่วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท

2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง

3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท

4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท

5. จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ คาดว่าจะใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท

6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท

ทั้งนี้ในมุมของนโยบาย6มาตรการ 6 เดือน ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้

หากไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ต้องยอมรับว่า 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน เป็นมาตรการที่ดี แต่ยังมีผู้ใช้บริการน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ทราบ รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้บริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะรถโดยสารหรือรถไฟฟรี ทั้งยังจะต้องสำรวจความพึงพอใจการปฏิบัติและค่าใช้จ่าย เพื่อหาโครงการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวมช่วยเหลือประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ หากรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจริง ก็ควรต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้ชัดเจน เพราะจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่เชื่อว่า จะต้องมีปัญหาแน่นอน

ข้อ7.

สภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ

หากมองย้อนกลับไป ผมคิดว่าปี 2553 น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย และอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ในด้านต่างประเทศ กลุ่มเศรษฐกิจหลักก็ฟื้นตัวได้ช้า จากตลาดแรงงานที่ซบเซาเรื้อรัง และปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับประเทศไทยแต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะงักไป นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาคการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยแบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในปีที่แล้วได้ถึงประมาณร้อยละ 8

จากแรงส่งทางเศรษฐกิจของปีก่อน กอปรกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่แข็งแกร่ง แบงก์ชาติจึงประเมินว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตต่อเนื่องและจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่กลับมาสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป แต่เป็นไปตามศักยภาพระยะยาวของประเทศ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการชะลอลงจากปีก่อน แต่ก็เพียงเพราะว่า การขยายตัวที่สูงในปีก่อนนั้นเป็นการคำนวณมาจากฐานที่ต่ำผิดปกติ ผมจึงคิดว่าปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เร่งขึ้นมากตามกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

ข้อ 6.

ดัชนีราคาผู้บริโภคคือ

นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

•บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณ เนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด

ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

* ดัชนีผู้บริโภคที่ผู้กำหนดนโยบายทางด้านการเงินของแต่ละประเทศมักจะให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตคือ

ตัวเลขที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับระยะเวลาปีฐาน

ขอบเขตของดัชนี

- เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาผลผลิตที่มีในประเทศ

- ผู้ผลิตหมายถึงเกษตรกรและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่

- ราคาที่ใช้ในการคำนวณ เป็นราคา ณ แหล่งผลิต หรือราคาหน้าโรงงาน

- เป็นการซื้อขายทั้งภายในประเมศและส่งออกแต่ไม่รวมการซื้อขายนอกระบบและการนำเข้า

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์ 54127326054 การเงินการธนาคาร ห้อง 02

ข้อ 1.

ความหมายของเงิน หน้าที่และประเภทของเงิน

เงิน คือ สื่อกลางในการเปลี่ยน โดยจะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้รับการยอมรับกันโดนทั่วไปไปตามกฎหมายให้สามารถจ่ายชำระหนี้ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคในอดีตเคยมีการใช้หอย ขนนก เป็นตน เป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแต่เนื่องจากมีปัญญาหาในการพกพา และอาจเเตกหักง่าย มีการพัฒนามาอยู่ในรูปของธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ โดยธนบัตรพิมพ์จากกระดาษคุณภาพสูงและเหรียญกษาปณ์ผลิตจากโลหะ ดังนั้นทั้งธนบัตรและเหรียญกษาปณ์จึงมีความคงทนและสะดวกในการพกพา ประเภทของเงิน จึงสามารถเเยกเป็น ประเภทธนบัตรและประเภทเหรียญกษาปณ์

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู่ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินในแต่ละประเทศแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันมากแต่ต่างก็มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่สังคมขยายตัว ระบบการเปลี่ยนแปลงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงได้มีวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินซึ่งพอสรุปได้ 3 ระยะคือ

1. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งของหรือบริการแลกเปลี่ยน

ในระยะแรกที่มนุษย์มีการติดต่อกัน มนุษย์ได้รู้จักเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของการผลิตได้มาแลกเปลี่ยน เช่น การนำเอาเสื้อผ้ามาแลกกับข้าวสาร ไข่มาแลกกับรองเท้า เป็นต้น การแลกเปลี่ยนนี้เกิดจากการของเงินขึ้น กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมีสิ่งที่เป็นค่านิยมที่ยอมรับในแต่ละสังคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

2. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของหรือการบริการ มีความไม่สะดวกหลายประการ มนุษย์ จึงหาวัตถุกลางมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุกลางนี้คือ เงิน ซึ่งเงินอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุใดๆก็ได้ โดยมีวิวัฒนาการมาดังนี้

2.1 เงินกษาปณ์

2.2 เงินกระดาษ

3. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในขณะที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น กิจการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างกว้างขวาง การซื้อขายกระทำกันคราวละมากๆ ย่อมไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเงินติดตัวเพื่อไปซื้อขาย จึงมีผู้คิดใช้เครดิตหรือความเชื่อในการซื้อขายสินค้ากัน เงินเครดิตจึงมีกำเนินขึ้น และเงินประเภทนี่จะมีใช้กันมากในสังคมที่มีระบบการธนาคารได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวงยอมรับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้วหนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

ธนบัตร เงินตราที่เป็นมากกว่าเงินตรา

ประเทศไทยมีการใช้เงินตรากระดาษครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่ธนบัตรที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับปัจจุบันเริ่มนำออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมีแบบของธนบัตรที่นำออกใช้จากแบบ ๑ จนถึงแบบที่ใช้ในปัจจุบัน มี ๑๕ แบบ

ข้อ 9 .

เงินเฟ้อ คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา ผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ

ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก

ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

เงินฝืด คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ข้อ 10.

ตั๋วสัญญาแลกเงิน ( Promissory Notes )

มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์แต่

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน"

ข้อ 11.

ธนาคารพาณิชย์ ที่กระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน การออม

1.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

4.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

5.ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

6.ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

7.ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

8.ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

9.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

10.ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

11.ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

12.ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

13.ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน)

14.ธนาคารซิตี้แบงค์

15.ธนาคารเอชเอสบีซี

ข้อ 3.

การวิเคราะห์สินเชื่อ

ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว

สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. นโยบาย

2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

- CHARACTER ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะชำระหนี้ของลูกค้า

- CAPACITY ความสามารถในการชำระหนี้คืน

- CAPITAL ส่วนของกิจการนำมาลงทุนในกิจการ

- COLLATERAL มีหลักทรัพย์ หรือหลักประกัน

- CONITION เงื่อนไข หรือกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่เหมาะสม

5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้

- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน

- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- ธุรกิจการค้า

- ธุรกิจประเภทให้บริการ

8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

-เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ

เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้

1. ผู้ขอเครดิต

บุคคลธรรมดา

- ชื่อ, ที่อยู่

- ฐานะ, โสด, สมรส

- พื้นฐานความรู้

- ตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่

นิติบุคคล

- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน

- กรรมการมีใครบ้าง

- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ

- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด

- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่

2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา

3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต

4. จำนวนเงินที่ขอกู้

5. ความสามารถในการชำระหนี้

6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

7. ความเหมาะสมของหลักประกัน

ประเภทของหลักประกัน

1. เงินฝาก

2. หุ้น

3. พันธบัตร

4. ตั๋วเงิน

5. ที่ดิน

6. สิ่งปลูกสร้าง

7. เครื่องจักร

8. เรือ

9. สินค้า

10.สิทธิการเช่า

11.สิทธิการรับเงิน

12.อื่น ๆ

การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน

- ผู้ถือกรรมสิทธิ์

- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ

- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง

- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา

- สภาพแวดล้อม

- ประโยชน์การใช้สอย

- อายุการใช้งาน

- สภาพความเสื่อมค่า

- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

1. สินเชื่อเงินสด เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีสภาพคล่องมากขึ้น

2. สินเชื่อรถยนต์ เพื่อที่จะมีช่องทางในการค้าขาย สะดวกต่อคมนาคมและส่งผลให้นำรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น

3.สินเชื่อเพื่อการเคหะ บริการสินเชื่อเพื่อการกู้ยืมสำหรับลูกค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปซื้อ หรือปลูก สร้างที่อยู่อาศัย, ซ่อมแซม โดยมีการผ่อนชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกๆ เดือนตามระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด

ข้อ 12.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภาระกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

สิ่งที่คิดว่าควรปรับปรุงในการดำเนินงานนั้น ส่วนตัวผมคิดว่าการบริหารงานและการดำเนินงานทำได้ดีอยู่แล้ว

ข้อ 6.

ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ มี 2 โครงสร้าง ได้แก่

1. โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (Classification of Products by Activity : CPA ) ประกอบด้วย ดัชนีรวม และ 3 หมวดใหญ่ คือ

- หมวดผลผลิตเกษตรกรรม

- หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง

- หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2.โครงสร้างแบ่งตามขั้นตอนการผลิต

(Stage of Processing : SOP ) ประกอบด้วย

- หมวดสินค้าสำเร็จรูป

- หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( สินค้าแปรรูป )

- หมวดสินค้าวัตถุดิบ

ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

นาย ธวัชชัย กุลดำแดง

เลขที่ 33 รหัส 54127326079

9. เงินเฟ้อ (Inflation)a

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

ประเภทของอัตราเงินเฟ้อ

ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภท คือ

1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ

2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 %

รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์มวลรวม(Aggregate Demand) และอุปทานมวลรวม (Aggregate Supply) ซึ่งพอจะจำแนกได้ 3 ประการใหญ่ๆดังนี้

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น(Demand Pull Inflation)

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น(Cost-Push Inflation)

3. เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง(Structural Inflation)

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation)

คือการปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์มวลรวม

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น

1.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนการผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการ

1.2 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

1.3 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น

1.4 ความต้องการสินค้าจากประเทศของเราของชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมต่อสินค้าและบริการทุกชนิดได้มีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นเรื่อยๆก็จริง แต่การสูงขึ้นของราคาดังกล่าวเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อหวังจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามมาในเวลาต่อมา และช่วยบรรเทาการสูงขึ้นของระดับราคาไม่ให้มากนักได้

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ

1.1 การเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มของปัจจัยแรงงาน(Wage-Push Inflation)

1.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มกำไรของผู้ผลิต

1.3 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(Structural Inflation)

กรณีที่ประเทศเกิดภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินในการสงครามและจำกัดขอบเขตการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้การผลิตอาวุธ ในช่วงสงคราม

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง

2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง

3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น

1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคง

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้

3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

ทำได้โดยดูว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุใด

1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมโดย

1.1 ลดค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Consumption Expenditure)

1.2 ใช้นโยบายทางการเงินโดยภาครัฐ กล่าวคือ ลดปริมาณเงินโดยการออกพันธบัตร เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาสนใจออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายเงิน

1.3 ใช้นโยบายการคลังโดยภาครัฐ กล่าวคือใช้มาตรการทางด้านภาษี การเก็บภาษีมากขึ้นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดน้อยลงและรัฐบาลจะต้องลดค่าใช้จ่ายลง

1.4 ลดค่าใช้จ่ายการลงทุน(Investment Expenditure)

1.5 การควบคุมระดับราคาโดยตรง(Price Control) โดยภาครัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการไว้แน่นอน

2. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย

2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน

3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

สาเหตุของภาวะเงินฝืด

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก

2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป

3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป

4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต

5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว

6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน

7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง

8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง

9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้

น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มี

หลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน

1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น

1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท ( กสช. ) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย

2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ ( ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป

2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้

2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษี และให้ความสะดวกทุกประการ

2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ

2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง

2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

5. ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

1.หน้าที่ของเงิน

เงินที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเงินชนิดใด ๆ ทำหน้าที่สำคัญ ๆ 4 ประการ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทำใด้้้สะดวกกว่าการแลกเปลี่ยนในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เพราะเมื่อมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผู้เป็นเจ้าของสินค้าก็จะแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับเงิน (คือการขายสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการ) ส่วนผู้ที่ต้องการสินค้าก็จะนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า (คือการซื้อสินค้าจากผู้ที่ต้องการขาย) การซื้อขายสินค้าทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะกระตุ้นให้การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อไป แต่การที่เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้นั้นเงินจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการคือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำเงินจะต้องเป็นของหายากหรือยากต่อการปลอมแปลง และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ เงินสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆได้ และสามารถนำติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย

2. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า

ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการใช้เงิน หน่วยในการวัดมูลค่าของสินค้า ได้แก่เกวียน อัน แท่ง เมตร และต้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ข้าว 1 เกวียน ไก่ 1 ตัว ผ้า 1 เมตร ระยนต์ 1 คัน ทำให้การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าต่างชนิดกันทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหลายอัตรา เช่น ข้าว 1 เกวียนเท่ากับไก่ 50 ตัว แต่เท่ากับผ้าไหม 5 เมตรเป็นต้น การที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมากหรือหลายอัตรา ทำให้เกิดความยุ่ยากและสับสน และบางทีเป็นการยากที่จะปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ทุกชนิด แต่เม่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่าได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป้นหน่วยในการวัดมูลค่า สินค้าและบริการทุกชนิดจะถูกกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงิน กล่าวคือ วัดมูลค่าสินค้าออกมาเป็นราคานั่นเอง เช่นข้าว 1 เกวียน มีมูลค่าหรือราคา 5,000 บาท ไก่ 1 ตัวมีมูลค่าหรือราคา 100 บาท ทำให้การวัดและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น เพราะอยู่ในหนว่ยเงินเดียวกัน

3. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า

ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า บุคคลจะต้องเก็บสะสมสินค้าไว้เพื่อการแลกเปลี่ยนในอนาคต หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่ง(wealth) ของตน แต่สินค้าหลายอย่างเก็บสะสมไว้ไม่ได้นาน เพราะเสื่อมคุณภาพโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าเกษตรต่าง ๆ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเก็บสะสมได้มาก เพราะต้องใช้เนื้อที่มากในการจัดเก็บ เช่น ข้าว เกลือ รถยนต์ เป็นต้น แต่เมื่อมีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ บุคคลไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมสินค้าไว้ เพียงแต่ขายสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาเก็บไว้แทน และเก็บสะสมเงินไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการสินค้าและบริการ ก็นำเงินที่สะสมไว้มาซื้อสินค้าที่ต้องการ ดังนั้น เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (a store of value) ทำให้บุคคลสามารถพักอำนาจซื้อสินค้าในปัจจุบัน หรือเลื่อนอำนาจซื้อในปัจจุบันไปสู่อนาคตหรือในเวลาอื่นที่ต้องการได้ แต่เงินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่ดีได้ก็ต่อเมื่ออำนาจซื้อของเงินที่สะสมไว้จะต้องไม่ลดลง กล่าวคือ เงินแต่ละหน่วยจะยังคงแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม เงินแต่ละหน่วยจะมีอำนาจซื้อลดลงก็ต่อเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นตัวอย่างเช่น เดิมเงินจำนวน 100 บาทซื้อส้มเขียวหวานได้ 2 กิโลกรัม แสดงว่าส้มราคากิโลกรัมละ 50 บาท ต่อมาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 100 บาท เท่าเดิมจะซื้อส้มได้น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จึงแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินลดลง ถ้าบุคคลคาดว่าอำนาจซื้อของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ บุคคลจะไม่เก็บหรือสะสมเงิน แต่จะหันไปสะสมสินทรัพย์อย่างอื่นแทนที่มีมูลค่าหรือราคาไม่ลดลง หรือไม่ลดลงมากเหมือนอำนาจซื้อของเงิน เช่น บ้านและที่ดิน ทองคำ เป็นต้น

4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้

ถ้าไม่มีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขอยืมข้าวเปลือกจากนาย ข. 1 ถัง โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดชำระคืน นาย ก. จะต้องหาข้าวเปลือกมาใช้คืนนาย ข. 1 ถัง และจะต้องเป็นข้าวเปลือกชนิดเดียวกับที่ขอยืมไปจาก นาย ข. ด้วย ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการกู้ยืมระหว่าง นาย ก.และนาย ข. ทำให้การกู้ยืมและการชำระหนี้ทำได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นาย ข. ก็เพียงคิดค่าข้าวที่นายก. ขอยืมไปว่ามีมูลค่าคิดเป็นเงินเท่ากับเท่าใด เมื่อถึงเวลาชำระหนี้คือ นาย ก. ก็เพียงแต่นำเงินมาชำระหนี้เท่านั้น ก็จะเป็นการสะดวกกว่าชำระหนี้ด้วยสิ่งของ ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน ทำให้มีการกู้ยืม การให้สินเชื่อแก่กัน ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการผลิตและการลงทุน จึงทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมเศรษฐกิจมากกว่าในระบบเศรษฐกิจที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า

3. 1. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามระยะเวลา

1.1 สินเชื่อระยะสั้น คือ สินเชื่อที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อการค้า เครื่องมือสินเชื่อประเภทนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills) และตราสารพาณิชย์ (Commercial Papers) เป็นต้น

1.2 สินเชื่อระยะกลาง คือ สินเชื่อที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้าคงทน เป็นต้น

1.3 สินเชื่อระยะยาว คือ สินเชื่อที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินจำนวนมาก หรือเป็นการบริโภคสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงมากเช่น บ้านและที่ดิน เป็นต้น

2. การแบ่งประเภทของสินเชื่อตามวัตถุประสงค์

2.1 สินเชื่อเพื่อการบริโภค หมายถึง สินเชื่อที่ให้กับบุคคล เพื่อประโยชน์ในการนำมาบริโภค สินเชื่อประเภทนี้อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบเช่น การเปิดบัญชีไว้กับร้านอาหาร เมื่อถึงสิ้นเดือนจึงชำระครั้งเดียว การผ่อนส่งจากการซื้อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้สินเชื่อจากบัตรเครดิตก็เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคเช่นกัน

2.2 สินเชื่อเพื่อการลงทุน อาจเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิตหรือสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการผลิตไม่ว่าจะเป็นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ สินเชื่อประเภทนี้มักเป็นสินเชื่อระยะยาวอาจอยู่ในรูปของการออกหุ้นกู้ หรือสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

2.3 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ หรือการซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ เป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยชำระค่าสินค้าภายหลังโดยทั่วไปจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น เช่น 30-60 วัน เป็นสินเชื่อที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การทำธุรกิจ ทั้งนี้รวมไปถึงการออก Letter of Credit เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในการชำระค่าสินค้าจากการซื้อขายระหว่างประเทศด้วย

3. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ขอรับสินเชื่อ

3.1 สินเชื่อสำหรับบุคคล มักเป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น

3.2 สินเชื่อสำหรับธุรกิจ เป็นสินเชื่อสำหรับกิจการห้างร้านไม่ว่าจะนำไปใช้เพื่อลงทุนเพื่อการผลิตหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

3.3 สินเชื่อสำหรับรัฐบาล ในยามที่รัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอแก่รายจ่ายหน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินซึ่งอาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบต่าง ๆ เช่น พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น

16.ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Notes )

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

ลักษณะทั่วไปของตั๋วสัญญาใช้เงิน

-เป็นตราสารที่มีคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน

-ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินคือ ลูกหนี้

-ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำสัญญาของลูกหนี้

-ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีอยู่เพียงประเภทเดียวคือ ตั๋วชนิดระบุชื่อ

-ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำมั่นของลูกหนี้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีการเซ็นรับรองอีก

-มีบุคคลเกี่ยวข้องในขั้นต้นของการออกตั๋ว 2 ฝ่าย คือ ผู้ออกตั๋ว คือลูกหนี้ กับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเงิน

ตั๋วแลกเงิน ( Bills of Exchange )

ตั๋วแลกเงินเป็น คำสั่งจ่าย ของผู้ออกตั๋วแลกเงิน โดยจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในขั้นที่ออกตั๋ว 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน

ประเภทของตั๋วแลกเงิน มี 2 ประเภท คือ

1.ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ คือตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายระบุชื่อผู้รับเงินไว้ขัดเจนในคำสั่งจ่ายเงิน

2.ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ คือตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายระบุในตั๋วว่าให้ผู้จ่ายใช้เงินตามตั๋วให้แก่ผู้ถือตั๋วโดยไม่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรืออาจจะระบุชื่อผู้รับเงินและมีคำว่า " ผู้ถือ "

ชนิดของตั๋วแลกเงิน มี 2 ชนิด คือ

1.ตั๋วแลกเงินภายในประเทศ ( Inland Bill ) เป็นตั๋วแลกเงินที่ใช้ภายในประเทศเดียวกัน และชำระเงินภายในประเทศเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

-ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้ลูกค้า ( draft ) สั่งให้ธนาคารสาขาตน ณ ที่ใดตามความประสงค์ของลูกค้า จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วไปขึ้นเงิน

-ตั๋วแลกเงินที่ธุรกิจทำให้กันในการติดต่อค้าขายซึ่งกันและกันภายในประเทศ เป็นทั้งตั๋วที่มีกำหนดเวลา ( time bill ) และตั๋วจ่ายเมื่อทวงถาม ( sight bill of demand )

2.ตั๋วแลกเงินต่างประเทศ (Foreign Bill) เป็นตั๋วที่ใช้กันระหว่างประเทศ ตั๋วแลกเงินต่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

-ตั๋วแลกเงินมีกำหนดเวลา ( Time bill) ตั๋วแลกเงินที่จ่ายเงินมีกำหนดระยะเวลา

-ตั๋วจ่ายเมื่อทวงถาม ( Sight bill of demand) ตั๋วแลกเงินชนิดนี้จ่ายเมื่อเห็นทวงถาม

ประโยชน์ของตั๋วแลกเงิน

-เป็นหลักฐานแสดงการเป็นหนี้สินได้ตามกฎหมาย

-ขายลดให้แก่ธนาคารได้จึงมีสภาพคล่องที่ดี

-เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้โดยการสลักหลังส่งมอบโดยไม่ต้องใช้เงินสด

-ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวทางการเงินเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องชำระเงินสดทันที

7. ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ มี 2 โครงสร้าง ได้แก่

(1) โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (Classification of Products by Activity : CPA ) ประกอบด้วย ดัชนีรวม และ 3 หมวดใหญ่ คือ

- หมวดผลผลิตเกษตรกรรม

- หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง

- หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(2) โครงสร้างแบ่งตามขั้นตอนการผลิต

(Stage of Processing : SOP ) ประกอบด้วย

- หมวดสินค้าสำเร็จรูป

- หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( สินค้าแปรรูป )

- หมวดสินค้าวัตถุดิบ

การจัดทำดัชนีราคาผู้ผลิต จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

ทั้งรายการสินค้า (Items) ลักษณะจำเพาะสินค้า (Specifications) แหล่งจัดเก็บราคาและน้ำหนักความสำคัญของสินค้า (Weights) ตลอดจนปีฐาน (Base year) ที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยลักษณะจำเพาะสินค้าและแหล่งจัดเก็บข้อมูลราคาจะดำเนินการปรับปรุงทุกปี เพื่อให้ทันสมัย ส่วนการปรับปรุงโครงสร้าง รายการ น้ำหนักสินค้าและปีฐาน จะปรับทุก 5 ปี ตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากข้อมูลในตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิตของประเทศไทย (Input-Output Table of Thailand) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรกรรม จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลเหมืองแร่ และอุตสาหกรรม จากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

12. . ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภาระกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

สิ่งที่ควรปรับปรุงคือการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนจนจึงต้องการกูเงินทุนจากธนาคารเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว

11. ธนาคารกรุงเทพ เพราะ กระตุ้น การใช้จ่าย การลงทุน การออม เพื่อส่งเสริมคนประชาชนมีเงินใช้ มีเงินเก็บเพื่อมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นและในอนาคต

การบริหารระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในทุกรัฐบาลต่างก็มุ่งหวังที่จะเพิ่มตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมุ่งหวังที่จะเพิ่มรายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ให้สูงขึ้นเช่นกัน โดยวิธีการเพิ่มตัวเลขดังกล่าวนั้นสามารถกระทำได้โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ

ส่วนใหญ่การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยวิธีนี้จะเป็นไปเพื่

ข้อ 1.

หน้าที่ของเงิน (The Function of Money)

เงินเป็นเครื่องมือสำคัญในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ มีราคาแน่นอน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในการซื้อขายและชำระหนี้ เงินมีหน้าที่สำคัญทางเศรษฐกิจดังนี้

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

- อำนวยความสะดวกให้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ระหว่างบุคคลในสังคมเป็นไปได้

คล่อง

- ช่วยให้สามารถแบ่งงานกันทำและเกิดความชำนาญ (Division labor and

Specialization) ซึ่งทำให้เกิดความสะดวก และมีการขยายตัวในการซื้อขายมากยิ่งขึ้น

2. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า และเป็นหน่วยบัญชี (Standard of value and unit of

Account)

- เงินเป็นเครื่องมือวัดมูลค่าของสิ่งของและบริการต่าง ๆ ทั้งนี้ด้วยการเทียบค่าของ

สิ่งของ และบริการเหล่านั้นออกมาเป็นหน่วยเงินตรา เช่น หมูราคา กก.ละ 35 บาท ไข่

ไก่ฟองละ 2 บาท เป็นต้น ในการทำ บ/ช เพราะสามารถรวมมูลค่าสิ่งของต่างๆ เข้า

ด้วยกันได้ เนื่องจากเป็นหน่วยเดียวกัน

3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payment )

- สามารถชำระหนี้สินกันด้วยเงิน ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้

4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of value)

- เงินเป็นสินทรัพย์รูปหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมสะสมไว้เป็นสมบัติ ทั้งนี้เพราะเงินเป็น

สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด สามารถซื้อสินค้าและบริการทุกชนิดตามความ

ต้องการได้ทันที แต่การสะสมทรัพย์ในรูปของเงินมีข้อเสียอยู่ประการหนึ่ง คือ ไม่เกิด

ดอกผลให้กับเจ้าของ ซึ่งตรงกับหุ้น, พันธบัตร จะให้ดอกผล

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของเงินที่ดี

โดยทั่วไปสิ่งของที่นำใช้เป็นเงินต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพท้องถิ่น ภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเงินควรมีคุณสมบัติดังนี้

ยอมรับกันโดยทั่วไป เงินจะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เงินจึงมีอยู่หลายชนิดตามความแตกต่างของสังคม เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและยอมรับเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

หายาก (Scarcity) สิ่งของที่หาได้ง่ายมักมีมูลค่าต่ำและไม่เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่จะใช้เป็นเงิน ในขณะที่สิ่งของหายากซึ่งมีมูลค่าในตัวสูงจะเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเงินมากกว่า

คงทนถาวร (Durability) สิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินควรมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อย สึกหรอ เพราะจะทำให้มูลค่าหมดไปและสังคมก็ไม่ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

มีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneity) เงินที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อให้เงินมีมูลค่าคงที่ เพื่อให้ผู้รับมีความพอใจเท่ากันและมีความเชื่อถือในเงินนั้น

ดูออกง่าย (Recognition) เป็นสิ่งที่เห็นจำได้ง่ายและรู้ได้ทันทีว่าเป็นเงินจริง ซึ่งจะทำให้สะดวกในการใช้เงินนั้น

แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ (Divisibility) เงินควรจะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้สะดวกและมีมูลค่าต่างกันได้ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมีการแลกเปลี่ยนในปริมาณที่มากน้อยแตกต่างกัน

มีมูลค่าคงตัว (Constant Value) เงินที่ดีจะต้องทนทาน ไม่เน่าเปื่อยและเสียได้ง่าย สามารถเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ขนย้ายได้สะดวก (Portable) เงินที่ดีต้องสะดวกที่จะนำไปใช้ในที่ต่างๆ มีขนาดไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไป พกติดตัวได้สะดวก

ข้อ 5.

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคานั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติ ปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะ

มีความสำคัญมาก นั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคเช่นกัน

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณ เนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด

ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

ข้อ 9.

เงินเฟ้อ (Inflation)

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง

2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง

3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น

1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคง

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้

3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

ทำได้โดยดูว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุใด

1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมโดย

1.1 ลดค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Consumption Expenditure)

1.2 ใช้นโยบายทางการเงินโดยภาครัฐ กล่าวคือ ลดปริมาณเงินโดยการออกพันธบัตร เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาสนใจออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายเงิน

1.3 ใช้นโยบายการคลังโดยภาครัฐ กล่าวคือใช้มาตรการทางด้านภาษี การเก็บภาษีมากขึ้นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดน้อยลงและรัฐบาลจะต้องลดค่าใช้จ่ายลง

1.4 ลดค่าใช้จ่ายการลงทุน(Investment Expenditure)

1.5 การควบคุมระดับราคาโดยตรง(Price Control) โดยภาครัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการไว้แน่นอน

2. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย

2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน

3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้

น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มี

หลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน

1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น

1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท ( กสช. ) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย

2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ ( ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป

2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้

2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษี และให้ความสะดวกทุกประการ

2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ

2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง

2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

ข้อ 10.

ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้น ในตั๋วแลกเงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

1. ผู้สั่งจ่าย

2. ผู้จ่ายเงิน

3. ผู้รับเงิน

ผู้สั่งจ่ายที่ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่ง จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ผู้สั่งจ่ายอาจมีฐานะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้

ตั๋วแลกเงิน ต้องมีรายการตามกฎหมายดังต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4. วันถึงกำหนดใช้เงิน

5. สถานที่ใช้เงิน

6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน

8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ลักษณะทั่วไปของการใช้ตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน หรือ Bills of Exchange (B/E) เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ผู้กู้ยืมเงินจะออกตั๋วเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงิน ในตั๋วจะกำหนดจำนวนเงินที่สัญญาจะจ่ายคืน ในวันที่ระบุในตั๋ว ส่วนใหญ่จะเป็นตั๋วระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี และไม่มีหลักประกัน

ลักษณะของตั๋วแลกเงินจะคล้ายๆกับตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ Promissory Note (P/N) หรือตั๋วพี.เอ็น. คือเป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินมักจะจ่ายดอกเบี้ยต่างหาก หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ดอกตาม” ขณะที่ตั๋วแลกเงินจะจ่ายดอกเบี้ยในลักษณะของส่วนลด หรือที่เรียกกันว่า “ดอกหัก” คือผู้ออกตั๋วหรือผู้กู้จะได้รับเงินที่ผู้ซื้อหรือผู้ให้กู้หักดอกเบี้ยไว้แล้ว

การหักดอกเบี้ยไว้นี้หากคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแล้วจะมากกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบ”ดอกตาม” เพราะไม่ได้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้น แต่คิดจากจำนวนเงินที่ต้องใช้คืน เช่น ออกตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมเงิน 1 ล้านบาท หากคิดอัตราส่วนลดร้อยละ 5 สำหรับระยะเวลา 1 ปี ผู้ซื้อหรือผู้ให้กู้จะจ่ายเงินให้ผู้กู้เพียง 950,000 บาทเท่านั้น โดยหักดอกเบี้ยจำนวน 50,000 บาทออกไป หากนำส่วนลด 50,000 บาทมาคำนวณบนเงินต้น 950,000 บาทแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับร้อยละ 5.26 ต่อปีทีเดียว ตรงนี้ทำให้ตั๋ว บี.อี.น่าสนใจ

ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ เพราะเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ดังนั้นระยะเวลากู้ยืมมักจะสั้น

แต่เดิมผู้ให้สินเชื่อประเภทนี้คือธนาคารพาณิชย์ ต่อมาธนาคารพาณิชย์ก็อาจจะนำตั๋วออกมาขายต่อบ้างโดยได้กำไรจากส่วนต่างเล็กน้อย และเพื่อให้ผู้ซื้อต่อสบายใจ ธนาคารก็อาจจะรับอาวัลตั๋ว คือรับว่าหากผู้ออกตั๋วไม่ชำระเงินคืน ธนาคารก็จะจ่ายคืนให้และจะไปเรียกคืนจากผู้ออกในภายหลัง โดยธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการอาวัลตั๋วเพิ่มอีกต่างหาก

เมื่อเครดิตของผู้ออกตั๋วดีขึ้น และค่าธรรมเนียมการอาวัลตั๋วของธนาคารสูงขึ้น ผู้ออกตั๋วบางรายก็ออกตั๋วขายให้กับผู้ลงทุน(ผู้กู้)โดยตรง แรกๆมีธนาคารคอยดูแลจัดการประมูลให้ โดยคิดค่าธรรมเนียมการจัดประมูล ตอนหลังผู้ออกตั๋วก็คิดว่าเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารไปไย สู้ออกขายตรงดีกว่า จึงออกขายโดยตรงให้กับผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน

ข้อดีของตั๋วแลกเงินคือ เปลี่ยนมือได้ ดังนั้นหากลงทุนไปสักพักหนึ่งแล้วต้องการใช้เงิน ก็สามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ ต่างกันตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งส่วนใหญ่จะห้ามเปลี่ยนมือ ตั๋วแลกเงินจึงมีสภาพคล่องมากกว่า

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือหนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จะมีผู้เกี่ยวข้องกัน 2 ฝ่าย คือ

1. ผู้จ่ายเงิน

2. ผู้รับเงิน

ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ เช่น

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องมีรายการตามกฎหมายดังนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ข้อ 12.

เป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ควบคุมการเงินของประเทศ เป็นนายธนาคารพาณิชย์ เป็นที่พึ่งแห่งสุดท้ายของธนาคารพาณิชย์ และเป็นสถาบันในการบริการควบคุมการเงินในระดับสูงของประเทศ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตในประเทศให้มีความคล่องตัว และมีหน้าที่เป็นผู้นำทางด้านการเงินและเครดิตของสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่ออำนวยผลให้เกิดความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ

ธนาคารกลางของประเทศไทยเรียกว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" (Bank of Thailand) มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร

เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน

ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ได้แก่ รับเงินฝาก กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท.

บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. (ไม่รวมสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา) การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล

เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล การเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการซื้อขายโลหะทองคำและเงิน การซื้อขายและโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์และใบหุ้น การควบคุมและการรวมไว้ในแหล่งกลางซึ่งเงินปริวรรตต่างประเทศ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกจากนี้ อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยมีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินส่งรายงานหรือชี้แจงเพื่ออธิบายเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพันได้

6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

7. กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ

8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

การดำเนินงานในปัจุบันเหมาะสมดีแล้ว ไม่มีเรื่องใดที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไขประเด็นอะไรทั้งสิ้น

ข้อ 3.

การวิเคราะห์สินเชื่อ

นักการธนาคารจะต้องวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะได้รับการชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากการให้สินเชื่อเป็นสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงบดุลและเป็นกิจกรรมหลักในการประกอบการของธนาคาร ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะทางการเงินของธนาคาร ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีการวิเคราะห์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย การวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

1.สินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยว

2.สินเชื่อเพื่อการเกษตร

3.สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ข้อ 6.

ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ มี 2 โครงสร้าง ได้แก่

(1) โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (Classification of Products by Activity : CPA ) ประกอบด้วย ดัชนีรวม และ 3 หมวดใหญ่ คือ

- หมวดผลผลิตเกษตรกรรม

- หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง

- หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(2) โครงสร้างแบ่งตามขั้นตอนการผลิต

(Stage of Processing : SOP ) ประกอบด้วย

- หมวดสินค้าสำเร็จรูป

- หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( สินค้าแปรรูป )

- หมวดสินค้าวัตถุดิบ

การจัดทำดัชนีราคาผู้ผลิต จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง ทั้งรายการสินค้า (Items) ลักษณะจำเพาะสินค้า (Specifications) แหล่งจัดเก็บราคาและน้ำหนักความสำคัญของสินค้า (Weights) ตลอดจนปีฐาน (Base year) ที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยลักษณะจำเพาะสินค้าและแหล่งจัดเก็บข้อมูลราคาจะดำเนินการปรับปรุงทุกปี เพื่อให้ทันสมัย ส่วนการปรับปรุงโครงสร้าง รายการ น้ำหนักสินค้าและปีฐาน จะปรับทุก 5 ปี ตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากข้อมูลในตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิตของประเทศไทย (Input-Output Table of Thailand) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรกรรม จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลเหมืองแร่ และอุตสาหกรรม จากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

ข้อ 11.

ธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ปละใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินนั้นตามตั๋วแลกเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการอื่น ๆ

2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ พิจารณาได้จากบัญชีงบดุลของธนาคารพาณิชย์ซึ่งแสดงแหล่งที่มาของเงินจากบัญชีหนี้สินและทุน และแสดงการใช้เงินจากบัญชีสินทรัพย์

3. ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยนำเงินสดสำรองส่วนเกินให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และทำลายเงินฝากเมื่อผู้ฝากถอนเงิน หรือผู้กู้นำเงินมาใช้คืน ปริมาณเงินฝากที่ถูกสร้างหรือทำลายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าตัวทวีของเงินฝากและปริมาณเงินฝากที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น

4. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบสาขาและเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาดำเนินงานในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของไทยไปเปิดสาขาในต่างประเทศเช่นกัน ให้บริการด้านการค้าต่างประเทศและระดมทุนในตลาดการเงินที่สำคัญของโลก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์มีวิวัฒนาการมานานหลายร้อยปี โดยในระยะแรกดำเนินในรูปธุรกิจการเงิน ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนเงินและโอนเงิน ต่อมาได้ทำหน้าที่ในการสร้างและทำลายเงินฝากโดยช่างทองในประเทศอังกฤษ และได้เริ่มมีการควบคุมดูแลโดยธนาคารกลางและรัฐบาลตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ลักษณะและวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้น ๆ

2. ระบบธนาคารพาณิชย์ตามสภาพการจัดการและขอบข่ายการดำเนินงานอาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ ธนาคารเดี่ยว ธนาคารสาขา และธนาคารกลุ่ม

3. ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ในการรับฝาก การให้กู้ยืม การโอนเงิน การให้บริการต่างๆ และการจัดการธุรกิจต่างประเทศ

4. ธนาคารพาณิชย์มีความสำคัญต่อระบบ

5.) ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

9.) ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่าเป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP(GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินเฟ้อ ประชาชนได้ประโยชน์ / รัฐบาลเสียประโยชน์

ภาวะเงินฝืด รัฐบาลได้ประโยชน์ / ประชาชนเสียประโยชน์

1.)บทบาทและหน้าที่ของเงิน

1.เป็นสื่อการกลางในการแลกเปลี่ยน

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า

3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า

4. เป็นรักษามูลค่าเครื่อง

ความสำคัญของเงิน

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญของเงินได้ดี ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจที่ใช้เงิน และเศรษฐกิจที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งมีความแตกต่างที่สำคัญและเห็นได้ง่ายๆ4ประการ คือ

1. ความสะดวกสบายในการซื้อขาย

2. ความสะดวกในการวัดมูลค่า

3. ความสะดวกในการชำระหนี้ในอนาคต

4. ความสะดวกในการสะสมทรัพย์สินในอนาคต

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. เป็นที่ยอมรับทั่วไปในสังคมเดียวกัน เพราะถ้าขากการยอมรับแล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นเงินไม่ได้

2. มีเสถียรภาพในมูลค่า เงินมีค่าเพราะประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ค่าของเงินจะต้องมีค่าค่อนข้างคงที่

3. มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้ เงินจำเป็นต้องมีปริมาณพอเพียงกับความต้องการและความจำเป็นของเศรษฐกิจ ถ้ามีปริมาณเงินน้อยเกินไปเศรษฐกิจก็จะชะงัก ดังนั้นเงินจึงควรทำจากวัตถุที่หาไม่ยากและมีจำนวนมากเพียวพอกับความต้องการอยู่เสมอ

4. มีน้ำหนักเบา เงินควรทำจากสัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็ก เพื่อสะดวกแก่การแลกเปลี่ยนและนำติดตัวไปในที่ต่างๆ

5. มีความคงทน เงินเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวัน สัตถุที่ใช้ทำเงินจึงควรมีคุณสมบัติคงทนำอสมควร มิอย่างนั้นก็จะชำรุดเสียหายได้ง่าย

6. เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านมูลค่า มูลค่าของวัตถุที่ใช้ทำเนหน่วยเดียวกันต้องเหมือนกัน มิฉะนั้นแล้วเงินที่มีมูลค่าทางวัตถุสูงกว่าจะหายไปจากการหมุนเวียนเหลือแต่เเงินที่มีมูลค่าต่ำกว่าวัตถุ

7. แบ่งปันหน่วยย่อยได้ง่าย

6.) แนวคิด ดัชนีราคาผู้บริโภค

พัฒนามาจากแนวคิดของดัชนีค่าครองชีพ ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผ็บริภึในเดือนๆหนึ่งๆโดยยังรักษามาตราฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาษี คุณภาพสินค้า เทคโนโลยั้เปลี่ยนแปลงไป และราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง

2.ตั้งให้เห็นว่าในกรณ๊ที่มีเงิน2ชนิดออกหมุนเวียน เงินหนึ่งเป็ยเงินที่ดีอีกเงินหนึ่เงเป็นเงินที่เลว เงินเลจะไล่เงินดีออกจากการหมุนเวียน ดังนั้นจะเหลือเงินชนิดเดียวคือเงินเลว ผู้เขียนได้อธิบายไว้ว่า กฎนี้ใช้อธิบายปัญหาเงินเลวไล่เงินดีภายใต้มาตรฐานโลหะคู่ได้ดังนี้ ถ้าอัตราโรงกษาปณ์แตกต่างจากอัตราการซื้อขายในตลาดเมื่อใด เงินที่ใช้อยู่ขณะนั้นชนิดหนุ่งจักลายเป็นเงินดี และเงินอีกชนิดหนึ่งจะกลายเป็นเงินเลว เมื่อเป็นเช่นนี้เงินดีก็จะถูกเก็บไปหมดไม่มีผู้ใดนำออกมาใช้ คงเหลือแต่เงินเลว มาตรฐานโลหะคู่จึงกลายเป็นมามาตราฐานโลหะเดี่ยว เงินดี คือ เงินที่รัฐบาลตีราคาเป็นโลหะต่ำกว่าราคาตลาด เงินเลว คือ เงินที่รัฐบาลตีราคาเป็นโลหะสูงกว่าราคาตลาด

4.) แนวคิด เคนส์ ฟรีดแมน เงินไม่ได้เป็นสื่อกลางในกรแลกเปลี่ยนและรักษามูลค่าเท่านั้น แต่ยังเป็นที่พักชั่วคราวของอำนาจซื้อด้วย ดังนั้นเงินจึงครอบคลุมถึงทรัพย์สินย์อื่นๆ ที่มีสภาพคล่องสูงอีกด้วย โดยที่อุปสงค์ของเงิน(demand for money) ขึ้นอยู่กับระดับสินค้า (price) ดอกเบี้ยเงินประจำ(return from fixed deposit) ดอกเบี้ยพันธบัตร(return from bond) ผลตอบแทนการลงทุนในหลักทรัพย์ อัตราการเปี่ยนแปลงของราคาสินค้าคงทน อัตราส่วนระหว่างทรัพยากรมนุษย์ต่อความมั่งคั่งรวม รายได้ และความพึงพอใจ

ทฤษฏีนี้เชื่อว่า ในสภาพเศรษฐกิจสามารถพยากรณ์ความต้องการถือเงินได้ เพราะถ้ามีพฤติกรรมที่แน่นอน ซึ่งแสดงว่าผตอบแทนจากการลงทุนในรูปของดอกเบี้บก็เป๋นส่วนหนึ่ง

5.) ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

9.) ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่าเป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP(GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินเฟ้อ ประชาชนได้ประโยชน์ / รัฐบาลเสียประโยชน์

ภาวะเงินฝืด รัฐบาลได้ประโยชน์ / ประชาชนเสียประโยชน์

1.)บทบาทและหน้าที่ของเงิน

1.เป็นสื่อการกลางในการแลกเปลี่ยน

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า

3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า

4. เป็นรักษามูลค่าเครื่อง

ความสำคัญของเงิน

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญของเงินได้ดี ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจที่ใช้เงิน และเศรษฐกิจที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งมีความแตกต่างที่สำคัญและเห็นได้ง่ายๆ4ประการ คือ

1. ความสะดวกสบายในการซื้อขาย

2. ความสะดวกในการวัดมูลค่า

3. ความสะดวกในการชำระหนี้ในอนาคต

4. ความสะดวกในการสะสมทรัพย์สินในอนาคต

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. เป็นที่ยอมรับทั่วไปในสังคมเดียวกัน เพราะถ้าขากการยอมรับแล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นเงินไม่ได้

2. มีเสถียรภาพในมูลค่า เงินมีค่าเพราะประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ค่าของเงินจะต้องมีค่าค่อนข้างคงที่

3. มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้ เงินจำเป็นต้องมีปริมาณพอเพียงกับความต้องการและความจำเป็นของเศรษฐกิจ ถ้ามีปริมาณเงินน้อยเกินไปเศรษฐกิจก็จะชะงัก ดังนั้นเงินจึงควรทำจากวัตถุที่หาไม่ยากและมีจำนวนมากเพียวพอกับความต้องการอยู่เสมอ

4. มีน้ำหนักเบา เงินควรทำจากสัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็ก เพื่อสะดวกแก่การแลกเปลี่ยนและนำติดตัวไปในที่ต่างๆ

5. มีความคงทน เงินเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวัน สัตถุที่ใช้ทำเงินจึงควรมีคุณสมบัติคงทนำอสมควร มิอย่างนั้นก็จะชำรุดเสียหายได้ง่าย

6. เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านมูลค่า มูลค่าของวัตถุที่ใช้ทำเนหน่วยเดียวกันต้องเหมือนกัน มิฉะนั้นแล้วเงินที่มีมูลค่าทางวัตถุสูงกว่าจะหายไปจากการหมุนเวียนเหลือแต่เเงินที่มีมูลค่าต่ำกว่าวัตถุ

7. แบ่งปันหน่วยย่อยได้ง่าย

6.) แนวคิด ดัชนีราคาผู้บริโภค

พัฒนามาจากแนวคิดของดัชนีค่าครองชีพ ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผ็บริภึในเดือนๆหนึ่งๆโดยยังรักษามาตราฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาษี คุณภาพสินค้า เทคโนโลยั้เปลี่ยนแปลงไป และราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง

2.ตั้งให้เห็นว่าในกรณ๊ที่มีเงิน2ชนิดออกหมุนเวียน เงินหนึ่งเป็ยเงินที่ดีอีกเงินหนึ่เงเป็นเงินที่เลว เงินเลจะไล่เงินดีออกจากการหมุนเวียน ดังนั้นจะเหลือเงินชนิดเดียวคือเงินเลว ผู้เขียนได้อธิบายไว้ว่า กฎนี้ใช้อธิบายปัญหาเงินเลวไล่เงินดีภายใต้มาตรฐานโลหะคู่ได้ดังนี้ ถ้าอัตราโรงกษาปณ์แตกต่างจากอัตราการซื้อขายในตลาดเมื่อใด เงินที่ใช้อยู่ขณะนั้นชนิดหนุ่งจักลายเป็นเงินดี และเงินอีกชนิดหนึ่งจะกลายเป็นเงินเลว เมื่อเป็นเช่นนี้เงินดีก็จะถูกเก็บไปหมดไม่มีผู้ใดนำออกมาใช้ คงเหลือแต่เงินเลว มาตรฐานโลหะคู่จึงกลายเป็นมามาตราฐานโลหะเดี่ยว เงินดี คือ เงินที่รัฐบาลตีราคาเป็นโลหะต่ำกว่าราคาตลาด เงินเลว คือ เงินที่รัฐบาลตีราคาเป็นโลหะสูงกว่าราคาตลาด

4.) แนวคิด เคนส์ ฟรีดแมน เงินไม่ได้เป็นสื่อกลางในกรแลกเปลี่ยนและรักษามูลค่าเท่านั้น แต่ยังเป็นที่พักชั่วคราวของอำนาจซื้อด้วย ดังนั้นเงินจึงครอบคลุมถึงทรัพย์สินย์อื่นๆ ที่มีสภาพคล่องสูงอีกด้วย โดยที่อุปสงค์ของเงิน(demand for money) ขึ้นอยู่กับระดับสินค้า (price) ดอกเบี้ยเงินประจำ(return from fixed deposit) ดอกเบี้ยพันธบัตร(return from bond) ผลตอบแทนการลงทุนในหลักทรัพย์ อัตราการเปี่ยนแปลงของราคาสินค้าคงทน อัตราส่วนระหว่างทรัพยากรมนุษย์ต่อความมั่งคั่งรวม รายได้ และความพึงพอใจ

ทฤษฏีนี้เชื่อว่า ในสภาพเศรษฐกิจสามารถพยากรณ์ความต้องการถือเงินได้ เพราะถ้ามีพฤติกรรมที่แน่นอน ซึ่งแสดงว่าผตอบแทนจากการลงทุนในรูปของดอกเบี้บก็เป๋นส่วนหนึ่ง

สวัสดีค่ะอาจารย์

เนื่องจากในวันที่ 24มกราคม 2555 ดิฉันได้ทำการสอบวิชาการเงินการธนาคาร และเกิดส่งงานผิด ได้ส่งไปที่ (การเงินการธนาคาร เทอม1/2554บล็กใหม่น่ะครับ) ซึ่งถ้าอาจารย์ได้เข้าไปดูก็จะเห็นงานที่ข้าพเจ้าได้ส่งไปจริงๆ และส่งงานทันตามเวลาที่อาจารย์ได้กำหนดค่ะ ดิฉันจึงขอความกรุณาจากอาจารย์ตรวจงานของดิฉันด้วยน่ะค่ะ

นางสาว ศิวาพร ฐิตะฐาน (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)

24 มกราคม 2555 15:35

#2592551

ข้อ 8. ตอบ นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง โดยจะปรับภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 91, 95 , E10, E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 3.30 บาท เหลือลิตรละ 0.0165 บาท จากปัจจุบันที่จัดเก็บลิตรละ 3.3165 บาทต่อลิตร และหากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดแล้วจะทำให้ลดลงได้ลิตรละ 3.88 บาท เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท

ขณะที่น้ำมันดีเซล บี2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท เหลือลิตรละ 0.005 บาท หรือลดลงได้ลิตรละ 2.71 บาท และลดภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท เหลือลิตรละ 0.0048 บาท หรือลดลงได้ ลิตรละ 2.45 บาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 ก.ค. 51 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช่วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท

2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง

3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท

4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท

5. จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ คาดว่าจะใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท

6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางรัฐจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยหน่วยงานต่าง ๆ จะยังคงได้รับรายได้เช่นเดิม แต่รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนให้โดยคาดว่า จะใช้เงินทั้งหมดประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

ผมคิดว่าที่นายสมัคร สุนทรเวช นั้นคิดมาตรการขึ้นมานั้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ในสภาวะเข้าตราจนจริงแล้วยังสามารถทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นที่จะช่วยให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตนี้ได้

ข้อ 1. ตอบ เงิน คือ อะไรก็ตามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการใช้ซื้อ-ขายสินค้าและบริการ รวมไปถึงการใช้ชำระหนี้ โดยในสมัยก่อน คนอาจจะใช้เปลือกหอย หรือทอง หรือโลหะอะไรก็ได้เพื่อใช้เป็นเงิน ตราบเท่าที่คนในสังคมยอมรับค่าของสิ่งนั้น ๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เมื่อกำหนดค่าของเงินแล้ว ค่านั้นจะต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไม่ใช่วันนี้มีค่า 1 บาท แต่อีกวันมีค่าแค่ 50 สตางค์ หรืออีกวันมีค่าถึง 100 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สิ่งๆ นั้นยังสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในสังคมได้ เนื่องจากหากค่าของเงินไม่คงที่ เช่น ด้อยลงเรื่อย ๆ คนในสังคมก็จะขาดความเชื่อถือ และไม่ยอมรับเงินนั้นเป็นสื่อกลาง รวมทั้งไม่ยอมรับให้เป็นสิ่งที่ใช้ชำระหนี้ในอนาคต

บทบาทหน้าที่ของเงิน

1.เงินเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทบาทของเงินครับ ระบบเศรษฐกิจเนี่ยจะดีไม่ดีนั้นการหมุนเวียนของเงินเนี่ยก็สำคัญอยู่เหมือนกัน เพราะการที่เราจะซื้อสินค้าหรือบริการใดๆก็ตาม เราจะต้องใช้เงินเนี่ยจ่ายผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการไปครับ

2.เงินเป็นมาตรฐานในการเทียบค่า กล่าวคือ เราสามารถที่จะใช้เงินเนี่ยเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งต่างๆได้ เช่น ถ้าเราแลกเปลี่ยนกันระหว่างสินค้า เช่น เนื้อไก่กับส้ม เราก็จะไม่รู้ว่าจะต้องแลกเนื้อไก่กับส้มในปริมาณเท่าใดถึงจะได้เสียเปรีบและได้เปรียบกัน ฉะนั้นเงินจึงเป็นตัวส่งเสริมในการแลกเปลี่ยน จะทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าง่ายขึ้น

3.เงินเป็นหน่วยรักษามูลค่า เนื้อหมูกับผลส้มเนี่ยถ้าจะเก้บไว้ ก็คงจะเก็บไว้ไม่ได้นาน มันจะเน่าและเสียครับ แต่ถ้าเก็บมูลค่าของสินค้าทั้ง 2 ชนิดนี้มาไว้นานๆเนี่ย ก็จะขายในตลาดได้ แล้วจึงเก็บเป็นเงินค่าเนื้อไก่กับผลส้มไว้ ซึ่งจะทำให้เก็บไว้ได้นาน เงินจึงเป็นตัวรักษามูลค่าของเนื้อไก่และผลส้มนั่นเอง

4.เงินเป็นมาตรฐานในการใช้หนี้ในภายภาคหน้า สมมิตว่าถ้ามีการยืมเงินเจ้าหนี้เงินกู้ขาประจำมา 2,000 บาท ตอนสิ้นเดือนหรือสิ้นปีเนี่ยก็ต้องจ่าย 2,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยมหาโหด เราก็ใช้เงินจ่ายใช่ไหมครับ ฉะนั้นแล้วเงินจึงเป็นมาตรฐานในการใช้หนี้ในอนาคตครับ ถ้าเราไม่มีเงินก็อาจถูกเจ้าหนี้เจ้นสินยึดนู่นขึดนี่ก็เป็นไปได้ แย่จริงๆนะ

5.เงินเป็นหน่วยในการลงบัญชี ดังจะเห็นได้ว่าในการลงเดบิตหรือเครดิตในวิชาบัญชีนั้นจะต้อเงินมูลค่าของเงินลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเงินบาท เงินดอลล่าร์ หรือ เงินเยน

ความสำคัญของเงิน

ความสำคัญของเงินคือ เงินคือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ มีค่าคงที่ เป็นหน่วยวัดมูลค่า เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

คุณสมบัติของเงินที่ดี

มีมูลค่าคงตัวหรือมีเสถียรภาพ มีความคงทนถาวร สามารถดูออกง่าย นำติดตัวและพกพาได้สะดวก

ข้อ 5. ตอบ ดัชนีผู้บริโภค

ดัชนีผู้บริโภค คือ นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณเนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

ข้อ10. ตอบ

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Notes )

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

ลักษณะทั่วไปของตั๋วสัญญาใช้เงิน

1.เป็นตราสารที่มีคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน

2.ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินคือ ลูกหนี้

3.ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำสัญญาของลูกหนี้

4.ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีอยู่เพียงประเภทเดียวคือ ตั๋วชนิดระบุชื่อ

5.ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำมั่นของลูกหนี้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีการเซ็นรับรองอีก

บุคคลเกี่ยวข้องในขั้นต้นของการออกตั๋ว 2 ฝ่าย คือ ผู้ออกตั๋ว คือลูกหนี้ กับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเงิน

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

บุคคลที่เกี่ยวข้องมี 3 ฝ่าย

1. ผู้สั่งจ่าย (ลูกหนี้ของผู้รับเงิน และเจ้าหนี้ของผู้จ่ายเงิน)

2. ผู้จ่าย (ลูกหนี้ของผู้สั่งจ่ายและอาจเป็นลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงิน)

3. ผู้รับเงิน (เจ้าหนี้ของผู้สั่งจ่าย)

ประโยชน์ของตั๋วแลกเงิน

1. เป็นหลักฐานแสดงการเป็นหนี้สินได้ตามกฎหมาย

2. ขายลดให้แก่ธนาคารได้จึงมีสภาพคล่องที่ดี

3. เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้โดยการสลักหลังส่งมอบโดยไม่ต้องใช้เงินสด

4. ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวทางการเงินเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องชำระเงินสดทันที

ข้อ3. ตอบ

การวิเคราะห์สินเชื่อ

ในแง่จุลภาค การให้สินเชื่อในทางปฏิบัติ นั้น นักการธนาคารจะต้องวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะได้รับการชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากการให้สินเชื่อเป็นสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงบดุลและเป็นกิจกรรมหลักในการประกอบการของธนาคาร ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะทางการเงินของธนาคาร ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีการวิเคราะห์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย การวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

ข้อ 9. ตอบ

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วๆไปโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆสาเหตุของเงินเฟ้อมี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง

ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ต่างกันก็คือ ภาวะเงินเฟ้อจะมีค่าเฉลี่ยของสิ้นค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ภาวะเงินฝืดจะมีภาวะของสินค้าที่ลดลงเรื่อยๆ ผู้ที่ได้ประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ คือ 1.ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ 2.ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3.ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง 4.ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

ผู้ที่เสียประโยชน์จากเงินเฟ้อ คือ 1) ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และบำนาญ 2) เจ้าหนี้ 3) ผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่า 4) ผู้มีรายได้ไม่แน่นอน 5) ผู้ที่มีเงินออม ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสภาวะเงินฝืด คือ กลุ่มผู้ได้เปรียบจากกภาวะเงินฝืด1) ผู้ที่มีรายได้ที่ประจำแน่นนอน 2) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย 3) ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง4) ผู้มีรายได้จากค่าผู้ที่เสียประโยชน์จากสภาวะเงินฝืดคือ1) ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นนอน 2) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม 3) พ่อค้านัก 4) ลูกหนี้ 5) ผู้เช่า

ข้อ 7. ตอบ

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการแถลงสื่อสารต่อประชาชน ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายในระยะหนึ่งปีข้างหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ทิศทางนโยบาย และแนวคิดที่มาของนโยบายดังกล่าว และเพื่อเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของแบงก์ชาติซึ่งผมและพนักงานแบงก์ชาติทุกคนถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของธนาคารกลางที่ดี ผมจึงขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนทุกท่านอย่างยิ่ง ที่ได้สละเวลามาร่วมงานแถลงในวันนี้

สภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ

หากมองย้อนกลับไป ผมคิดว่าปี 2553 น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย และอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ในด้านต่างประเทศ กลุ่มเศรษฐกิจหลักก็ฟื้นตัวได้ช้า จากตลาดแรงงานที่ซบเซาเรื้อรัง และปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับประเทศไทยแต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะงักไป นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาคการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยแบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในปีที่แล้วได้ถึงประมาณร้อยละ 8

จากแรงส่งทางเศรษฐกิจของปีก่อน กอปรกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่แข็งแกร่ง แบงก์ชาติจึงประเมินว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตต่อเนื่องและจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่กลับมาสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป แต่เป็นไปตามศักยภาพระยะยาวของประเทศ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการชะลอลงจากปีก่อน แต่ก็เพียงเพราะว่า การขยายตัวที่สูงในปีก่อนนั้นเป็นการคำนวณมาจากฐานที่ต่ำผิดปกติ ผมจึงคิดว่าปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เร่งขึ้นมากตามกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

ข้อ 6. ตอบ

ดัชนีราคาผู้ผลิตต่างจากดัชนีผู้บริโภคคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต หมายถึง ดัชนีราคาที่คำนวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้ผลิตมีอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศทางด้านผู้ผลิต 3. เป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของประเทศ 4. เป็นตัวปรับสัญญาซื้อขายระยะยาว 5. เป็นแนวทางกำหนดงบประมาณรายจ่าย แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพก็ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การรักษาพยาบาล ส่วนพวกสินค้าฟุ่มเฟือยก็ได้แก่ บริการส่วนบุคคล พาหนะ และบริการการขนส่ง การบันเทิง ยาสูบ และเครื่องดื่มที่ทีแอลกอฮอล

ส่วนการเก็บราคาสินค้านั้นเก็บได้จากตลาดต่างๆที่กำหนดไว้เป็นประจำ และจัดเก็บตามลักษณะจำเพาะของสินค้าที่กำหนดให้กับสินค้าแต่ละรายการ ตามการสำรวจความนิยมของ ผู้บริโภค เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน จนถึงรายไตรมาส ตัวอย่างการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ลองคำนวณเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ ปี 2543 กับ ปี 2544 สมมติตัวเลข ปี 2543 เป็น 197.7 และปี 2544 เป็น 202.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2544 เพิ่มจากปี 2543 ดังนี้ = (202.6/197.7) x 100 = 102.5 ดังนั้นดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 102.5-100 = 2.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2544 ที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจบ่งบอกได้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ไม่ถือว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

สวัสดีค่ะอาจารย์

เนื่องจากในวันที่ 24มกราคม 2555 ดิฉันได้ทำการสอบวิชาการเงินการธนาคาร และส่งข้อสอบทันค่ะ แต่ทีนี้ดิฉันไม่ได้ดูให้ละเอียดรอบคอบ คิดว่าส่งครบหมดแล้ว แท้จริงแล้วครบ6ข้อ ส่วนข้อที่ 7ติดแค่ครึ่งเดียวค่ะกับ เหลืออีกข้อค่ะ ดิฉันจึงขอความกรุณาจากอาจารย์ตรวจข้อสอบของดิฉันเพิ่มด้วยน่ะค่ะ

11.ตอบ ธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ปละใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินนั้นตามตั๋วแลกเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการอื่น ๆ

2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ พิจารณาได้จากบัญชีงบดุลของธนาคารพาณิชย์ซึ่งแสดงแหล่งที่มาของเงินจากบัญชีหนี้สินและทุน และแสดงการใช้เงินจากบัญชีสินทรัพย์

3. ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยนำเงินสดสำรองส่วนเกินให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และทำลายเงินฝากเมื่อผู้ฝากถอนเงิน หรือผู้กู้นำเงินมาใช้คืน ปริมาณเงินฝากที่ถูกสร้างหรือทำลายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าตัวทวีของเงินฝากและปริมาณเงินฝากที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น

4. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบสาขาและเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาดำเนินงานในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของไทยไปเปิดสาขาในต่างประเทศเช่นกัน ให้บริการด้านการค้าต่างประเทศและระดมทุนในตลาดการเงินที่สำคัญของโลก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์มีวิวัฒนาการมานานหลายร้อยปี โดยในระยะแรกดำเนินในรูปธุรกิจการเงิน ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนเงินและโอนเงิน ต่อมาได้ทำหน้าที่ในการสร้างและทำลายเงินฝากโดยช่างทองในประเทศอังกฤษ และได้เริ่มมีการควบคุมดูแลโดยธนาคารกลางและรัฐบาลตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ลักษณะและวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้น ๆ

2. ระบบธนาคารพาณิชย์ตามสภาพการจัดการและขอบข่ายการดำเนินงานอาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ ธนาคารเดี่ยว ธนาคารสาขา และธนาคารกลุ่ม

3. ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ในการรับฝาก การให้กู้ยืม การโอนเงิน การให้บริการต่างๆ และการจัดการธุรกิจต่างประเทศ

4. ธนาคารพาณิชย์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก เพราะเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่ใหญ่ที่สุด ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีความผิดชอบต่อสาธารณะชน ระบบเศรษฐกิจ ลูกค้า ตลอดจนผู้ถือหุ้น และพนักงานของธนาคาร

วิวัฒนาการณ์ของธนาคารพาณิชย์

การกำเนิดธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยมีช่างทองเป็นนายธนาคารพาณิชย์รุ่นแรก ธนาคารพาณิชย์อาจล้มละลายได้ ถ้าให้กู้ยืมมากเกินไป เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถใช้คืนเงินกู้ได้ และผู้ฝากเงินส่วนมากยังไม่สามารถถอนเงินฝากคืนได้ จะทำให้ผู้ฝากเงินรายอื่น ๆ หันมาถอนเงินฝากมากยิ่งขึ้น ในที่สุดธนาคารไม่มีเงินจ่ายคืนให้ จึงอาจถึงล้มละลายได้

หน้าที่และความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์

1. บริการอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้เช่าตู้เซฟนิรภัยเพื่อเก็บของมีค่า การให้คำปรึกษาในการศึกษาต่อต่างประเทศ

2. การที่ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ใช้ชื่อของธนาคารไปทำสัญญายืมเงินจากต่างประเทศ โดยไม่นำเงินมาเข้าบัญชีธนาคารถือว่าผู้บริหารของธนาคารนี้ ขาดความรับผิดชอบต่อลูกค้า

7. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการแถลงสื่อสารต่อประชาชน ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายในระยะหนึ่งปีข้างหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ทิศทางนโยบาย และแนวคิดที่มาของนโยบายดังกล่าว และเพื่อเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของแบงก์ชาติซึ่งผมและพนักงานแบงก์ชาติทุกคนถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของธนาคารกลางที่ดี ผมจึงขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนทุกท่านอย่างยิ่ง ที่ได้สละเวลามาร่วมงานแถลงในวันนี้

สภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ

หากมองย้อนกลับไป ดิฉันคิดว่าปี 2553 น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย และอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ในด้านต่างประเทศ กลุ่มเศรษฐกิจหลักก็ฟื้นตัวได้ช้า จากตลาดแรงงานที่ซบเซาเรื้อรัง และปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับประเทศไทยแต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะงักไป นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาคการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยแบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในปีที่แล้วได้ถึงประมาณร้อยละ 8

จากแรงส่งทางเศรษฐกิจของปีก่อน กอปรกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่แข็งแกร่ง แบงก์ชาติจึงประเมินว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตต่อเนื่องและจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่กลับมาสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป แต่เป็นไปตามศักยภาพระยะยาวของประเทศ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการชะลอลงจากปีก่อน แต่ก็เพียงเพราะว่า การขยายตัวที่สูงในปีก่อนนั้นเป็นการคำนวณมาจากฐานที่ต่ำผิดปกติ ผมจึงคิดว่าปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เร่งขึ้นมากตามกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

น.ส. วนิดา เกียรติเฉลิมคุณ

รหัส 54127326066 สาขา การเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดกลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ปี พ.ศ.2554 - ปี พ.ศ.2555

แรงคุกคามจากเงินเฟ้อต่อทิศทางเศรษฐกิจไทย

ภายใต้บริบทเศรษฐกิจของไทย ในปี 2554 การบริหารเศรษฐกิจมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายขั้นกลางข้อแรก คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 -5 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเทียบกับสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความน่ากังวลมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กรมการค้าภายในเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 4.06 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ระดับร้อยละ 4.19 อธิบายให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า หากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพเป็นมูลค่า 100 บาท ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในปีนี้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมด้วยเงิน 104.06 บาท สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-6.5 จากการประมวลข่าวและบทความด้านเศรษฐกิจของผู้เขียนพบว่านับตั้งแต่ช่วงหลังไตรมาสที่ 1 ปี 2554 นักวิชาการ นักการธนาคาร รวมทั้งนักธุรกิจได้แสดงความกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในอนาคต หากไม่มีมาตรการหรือนโยบายรับมือที่มีพลังเพียงพอ

เงินเฟ้อเกิดจากต้นทุนและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเกินสมดุล

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายสาเหตุเงินเฟ้อหรือภาวะที่ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าเกิดจาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรก เกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ (Cost Push Inflation) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และราคาปัจจัยการผลิต รวมทั้งการพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการ สาเหตุประการที่ 2 เกิดจากความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นจนระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองได้ ส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น (Demand Pull Inflation) อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินนิยม ศาสตราจารย์มิลตัน ฟรีดแมน ได้เคยกล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางการเงิน (Inflation is everywhere monetary phenomenon) เพราะต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาจากการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไปจน“เฟ้อ”

ปริมาณเงินหมุนเวียนเกิดอาการเฟ้อขึ้นได้นั้น เพราะปริมาณของมันมีมากเกินไปเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตมาให้ผู้บริโภคจับจ่าย ผลที่ตามมาคือเงินปริมาณมากไล่ซื้อสินค้าที่มีน้อย กลไกราคาในตลาดจึงเกิดการปรับตัว เพื่อให้อุปสงค์ได้สมดุลกับอุปทานในระบบ นั่นคือราคาสินค้าจะปรับสูงขึ้นตามปริมาณเงินหมุนเวียนในที่สุด

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคสูงเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงและจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในที่สุด การแก้ปัญหาเงินส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเนื่องจากเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารกลางมักแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือนกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่มีภาระเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการเติบโตลดลง แต่ทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่มีฐานะดีอยู่แล้วได้รับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยนโยบายการคลังทั้งการขึ้นภาษีและการลดการใช้จ่ายของภาครัฐก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัว

อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยด้านอุปสงค์ ด้านปัจจัยต้นทุน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 10.2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขณะที่สัดส่วนตัวเลขดังกล่าวนี้ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ แม้เดือนมิถุนายน 2554 ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง แต่เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกทั้งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น รวมทั้งการประกาศไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกโอเปก จึงประมาณการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าจะอยู่ที่ 105-115 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะยังคงเป็นปัจจัยกดกันภาวะเงินเฟ้อต่อไป

นอกจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้ว นโยบายการคลังของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยจะเป็นปัจจัยกดดันให้ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น พรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาช่วงหาเสียงทั้งการประกันราคาข้าว การเพิ่มวงเงินกองทุนหมู่บ้าน การแจกแท็บเล็ตนักเรียน นโยบายเหล่านี้รัฐบาลต้องเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณปี 2555 จากที่กำหนดไว้เดิม 350,000 ล้านบาท การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นกำลังซื้อกดดันให้เงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นพรรคเพื่อไทยยังให้คำมั่นสัญญาปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน คำมั่นสัญญาเหล่านี้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนเหล่านี้ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับกำไร นอกจากนั้นมาตรการดังกล่าวนี้มีผลกระทบทางจิตวิทยา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการมักปรับขึ้นราคาสินค้าล่วงหน้าทุกครั้งที่มีข่าวว่าจะมีการปรับเพิ่มเงินเดือนหรือค่าแรง กลุ่มประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากมาตรการเหล่านี้ต้องพลอยได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงไปไปด้วย

นโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องกัน ประชาชนถูกลงโทษ

การแก้ปัญหาเงินเฟ้อต้องอาศัยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่สอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องควบคุมสินเชื่อให้ขยายตัวในระดับที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาครัฐบาลต้องลดการใช้จ่ายหรือดำเนินนโยบายการคลังแบบเกินดุล เพิ่มอัตราภาษี เพื่อลดการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน) ในเดือนมิถุนายนปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 3.00 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี 8 เดือน คาดว่าสิ้นปี 2554 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ขณะที่นโยบายการคลังยังส่งสัญญาณในทิศทางที่ตรงข้ามกันเนื่องจากรัฐบาลต้องทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ประกาศไว้ การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้อง แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อผู้กู้เงินซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าจำเป็นต้องระดมทุนก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกพันธบัตรที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีหนี้สินเนื่องจากจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต กลุ่มประชาชนได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผู้มีเงินออมซึ่งมีวงเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รวม 511,301 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของเงินฝากเป็นบัญชีที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท (จำนวนบัญชีที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาทมีสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีมูลค่าเงินฝากร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินฝากทั้งหมด) สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินฝากซึ่งได้รับประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยเป็นผู้มีความมั่งคั่งอยู่แล้ว การแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการลงโทษผู้มีรายได้น้อยที่ต้องพึ่งพาเงินกู้ทั้งนี้ไม่ได้ทำอะไรผิด

แก้ปัญหาเงินเฟ้อทางเลือกที่เจ็บปวดของประชาชน

แม้รัฐบาลเพิ่มรายได้ประชาชนโดยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและประกันราคาสินค้าเกษตร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในรูปตัวเงินอาจเป็นแค่เพียงภาพลวงตา เพราะอำนาจซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากเงินเฟ้อ นอกจากนั้นแล้วยังมีประชาชนคนไทยจำนวนถึงกว่าร้อยละ 70 ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การดำเนินนโยบายประชานิยมที่เน้นความพึงพอใจของประชาชนระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว สุดท้ายแล้วหากนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องประสานกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวจะถูกปั่นทอนลงซึ่งต้องแก้ปัญหาโดยการลดการใช้จ่ายภาครัฐและขึ้นภาษีซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้

การรับมือกับเงินเฟ้อ ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังต้องกำหนดท่าทีร่วมกัน ภาครัฐต้องควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายโดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังระยะยาวและต้องส่งสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นหนี้เพราะกู้ซื้อปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีวิต มิใช่ฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะหนี้ที่ได้ก่อผูกพันระยะยาวไว้แล้ว ภาคเอกชนต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อมิให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป ประชาชนทั่วไปต้องประหยัด รวมทั้งต้องตระหนักว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาระดับโลกที่ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาใดที่ประชาชนไม่เจ็บปวด แต่อยู่ที่จะเลือกว่าจะมีความสุขวันนี้มากๆ เพื่อทุกข์หนักๆ ในวันหน้า หรือจะสุขอย่างพอดีๆ ในวันนี้เพื่อจะไม่ต้องทุกข์มากเกินไปในอนาคตข้างหน้า

ตามปกติในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี ผู้ประกอบการทั้งหลายมักจะต้องเตรียมวางแผนธุรกิจ หรือวางแผนงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานในปีหน้า ดังนั้น ในช่วงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการที่ทำนายเศรษฐกิจมักจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 ในเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไร เศรษฐกิจไทยก็คงจะขยายตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 4.5 ถึง 5.5 ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปีนี้

แต่หากมองในรายละเอียด คิดว่าการขยายตัวปีนี้กับปีหน้า จะมีภาพที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าจะไม่ใช่มาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีมากในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยเราส่วนใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงในปีหน้า

ขณะที่วงจรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก (ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก) ก็น่าจะเริ่มเปลี่ยนเป็นช่วงขาลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพึ่งการส่งออกให้เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงเป็นไปได้ยาก

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชน จะขยายตัวไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

แต่ในปีหน้าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ น่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อในปีหน้าน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตาม (demand ) ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง และเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คงไม่น่าที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงข้าม มองว่าในปีหน้า อัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสปรับลดลงได้บ้าง ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาก และประเทศคู่ค้าแข่งกันปรับลดดอกเบี้ยลง นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเดือนสองเดือนแล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวแปรสำคัญๆในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในปีหน้าอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การใช้จ่ายของภาคสาธารณะแม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP จะมีขนาดไม่ใหญ่นักและคงจะไม่สามารถทดแทนการส่งออกที่มีสัดส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 67 ของ GDP แต่การใช้จ่ายภาคสาธารณะ (ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา (ซึ่งศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Crowding-in Effect)

กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรจะรีบสร้างความชัดเจนในส่วนแผนการลงทุนภาครัฐให้เร็วที่สุด ภาคเอกชนเขาจะได้วางแผนการผลิตรองรับได้ทันเวลา

สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2555 คิดว่าเราไม่น่าห่วงอะไร เพราะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมากไม่ถึง 2% หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 50% ขณะที่เสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 เท่า

ในบทความนี้ดิฉันจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ดังนี้

1. ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2555

หากพิจารณาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2555 เราจะพบว่า ปัจจัยบวกที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2555 ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัว เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 0.9 (จากหดตัว ร้อยละ -0.2) ญี่ปุ่น ขยายตัว ร้อยละ 1.2 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 0.6 ไตรมาสก่อน ส่วนจีนนั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างร้อนแรง โดยในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวถึงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ปัจจัยด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่

สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อภาคเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยว ในปี พ.ศ.2555 อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มเกินดุลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่าการนำเข้า ประกอบกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรัฐบาลช่วยเรื่องภาษีน้ำมัน อุปสงค์ต่อน้ำมันจะเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนบางส่วนลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและหันมาถือครองสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำและน้ำมัน เพื่อการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

2. การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2555

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวทำให้อุปสงค์ในการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นตาม ประกอบกับต้นทุนการผลิต เช่น วัตถุดิบ และน้ำมันดิบที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เห็นได้จากดัชนีด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอีก นอกจากนี้การว่างงานที่เริ่มลดลงและมาตรการช่วยเหลือของรัฐที่ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น เช่น การแก้หนี้นอกระบบ หรือ การประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น ดิฉันคิดว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี พ.ศ.2555 ปรับตัวดีขึ้นจากปี พ.ศ.2554 การลงทุนภาคเอกชนจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นและมีแรงผลักดันจากนโยบายของรัฐบาลในโครงการไทยเข้มแข็งแต่ยังมีปัจจัยด้านลบที่กระทบต่อการลงทุน นั่นคือ ปัจจัยทางการเมือง แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและปัญหามาบตาพุดที่ยังคงต้องรับการแก้ไข

ในความคิดของดิฉันก็เห็นด้วย แต่มีอยู่ 2 เรื่องที่ดิฉันไม่เห็นด้วย ก็คือ

1. นโยบายการเงินที่ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ในความเป็นจริง เงินเฟ้อเกิดจากต้นทุนสูงขึ้น เป็นหลักอยู่แล้ว การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการซ้ำเติมที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของ SME สูงขึ้น ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ของผู้บริโภคก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะกลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก

2. นโยบายการคลัง รัฐบาลอาจขาดดุลมากขึ้นแต่ช่วยสกัดเงินเฟ้อได้ เช่น การลดภาษีสรรพสามิตต่างๆ เพื่อให้สินค้าราคาถูกลง หรือ การส่งเงินอุดหนุนวัตถุดิบใช้ผลิตอาหาร ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ราคาอาหารต่ำลงได้เช่นกัน

สรุปวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของปี 2554

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

และภาวะเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการใช้จ่าย ด้านการเงิน และ การคลัง ด้านต่างประเทศ

และ ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศรายละเอียดมีดังนี้

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 3.0 ลดลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนและรัฐบาลลดลงในขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น หากพิจารณา GDP ที่ปรับค่าฤดูกาลแล้วพบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 1.3

ภาวะเศรษฐกิจไทยในรอบไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 สามารถสะท้อนผ่านปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ด้านการผลิต

ภาคเกษตร การผลิตปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้โดยหมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตามผลผลิตข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพารา ผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจของโครงการประกันรายได้เกษตรกรอีกทั้งในปีที่ผ่านมาราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและผลผลิตมีปริมาณน้อยส่วนผลผลิตปาล์มนํ้ามันลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงต้นปี 2554 และการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งเป็นเหตุให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลงเช่นกัน สําหรับหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 1.7 ตามปริมาณผลผลิตโค กระบือ ที่ลดลงในขณะที่ผลผลิตสุกร ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สาขาประมงในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 2.7 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากปริมาณผลผลิตกุ้งและปลาลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

ภาคอุตสาหกรรม

การผลิตขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก หดตัวร้อยละ 0.9 และ 6.5 ตามลำดับ กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการปรับตัวลงได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ที่ลดลงจากการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันระยองและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก การผลิต Hard Disk Drives ที่ลดลงตามการส่งออก การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงจาการดำเนินมาตรการ Anti-Dumping จากจีน รวมทั้งการผลิตปูนซีเมนต์ ที่ลดลงตามการก่อสร้างที่หดตัว อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและ ยานยนต์ ยังคงขยายตัวร้อยละ 16.5 , 3.0 และ 11.0 ตามลำดับ ตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ภาคบริการ

รายรับด้านบริการขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยหลักจากการเร่งตัวของรายรับจากภาคการท่องเที่ยวในไตรมาส ที่ 1 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินเข้ามาประเทศไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 5.33 ล้านคนหรือขยายตัวร้อยละ 14.5 ปรับตัวขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยการเป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้น นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในภูมิภาค สำหรับภาบริการ ในสาขาโรงแรมและภัตคารขยายตัวร้อยละ 8.1 และมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.6

ด้านการใช้จ่าย

ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทน ขยายตัวลดลงอีกทั้งการใช้จ่ายในหมวดบริการหดตัว ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์นั่งสำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนในไตรมานนี้ ได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านการเงินและการคลัง

อัตตราดอกเบี้ย ในไตรมาสแรกของปี 2554 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.00 ต่อปี มาอยู่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเป็นการลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์เงินกู้เฉลี่ยของ 4 ธนาคารใหญ่ ณ ไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยมาอยู่ร้อยละ 1.87 และ 6.54 ตามลำดับ

ด้านต่างประเทศ

การส่งออก มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรกสูงถึง 56,002 ล้านดอลลาร์สหัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการนำเข้า การส่งออกและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้การนำเข้า ทั้งมูลค่า ปริมาณ และ ราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพภายในประเทศอยในเกณฑ์ดีแต่มีแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างชัดเจนและต่อเนื่องสะท้อนผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ ดังนี้อัตราการว่างงาน ผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 มีจำนวน 3.1 แสนคน ลดลงจำนวน 1.3 แสนคน เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 28.3 โดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจ้างงานในไตรมาสนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาอาหารสด ประเภทผัก ผลไม้ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศลดลงจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

วิเคราะห์โจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2554

ปี 2554 จะเป็นอีกปีที่ไม่ง่ายทางเศรษฐกิจ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะปัญหาซึ่งรุมเร้าทั้งจากภายในและภายนอกประเทศยังไม่จบ วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้วยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ขณะที่การแข่งขันในตลาดโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุนทวีความเข้มข้นมากขึ้น และความเปราะบางของเศรษฐกิจที่อาจจะนำไปสู่วิกฤตรอบใหม่กำลังสะสมตัวขึ้น โดย

1. โลกกำลังแบ่งตัวออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก คือ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชียขยายตัวในอัตราที่น่าพึงพอใจ (ประเทศจีน 10.5% ประเทศอินเดีย 9.7%) หลังจากเศรษฐกิจได้ผ่านช่วงการฟื้นตัวกลับไปสู่จุดเดิมก่อนที่จะเกิดวิกฤตไป เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา และปีนี้กำลังเข้าสู่ช่วงใหม่ของความท้าทายที่จะต้องเริ่มคิดอย่างจริงจัง เกี่ยวกับการดูแลความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และความยั่งยืนของการฟื้นตัว

กลุ่มที่สอง คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ยังวนเวียนกับการแก้ไขวิกฤตและผลพวงของปัญหา จากวิกฤตสภาพคล่องสถาบันการเงินมาสู่ปัญหาหนี้เสียภาคเอกชน ปัญหาสถาบันการเงินล้ม ปัญหาการคลัง ท้ายสุดกลายเป็นวิกฤตภาครัฐในบางประเทศ ซึ่งปัญหาที่ยังแก้ไม่จบเหล่านี้ ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่าปกติ และต้องกระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการด้วยการคงดอกเบี้ย ไว้ในระดับต่ำ (ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ 0.25% ยุโรปที่ 1.0%) พร้อมอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินไปอีกระยะหนึ่ง

2. ความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจโลกกำลังเพิ่มขึ้น ความแตกต่างของสองกลุ่มเศรษฐกิจข้างต้น จะทำให้เงินทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปไหลไปยังประเทศในกลุ่มตลาดเกิด ใหม่ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง นำมาสู่การย้ายฐานการผลิตเข้าไปลงทุนโดยตรง และการเก็งกำไรในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตร ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งตลาดสินค้า Commodities ต่างๆ อาทิ ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก ฝ้าย น้ำตาล และน้ำมัน ที่ได้ปรับตัวเข้าสู่ New High ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการเก็งกำไรในตลาดเหล่านี้ นำมาซึ่งการต่อสู้เชิงนโยบายของทางการ อาทิ นโยบายการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย นโยบายการแทรกแซงค่าเงิน การปรับขึ้นดอกเบี้ยและเพิ่ม Reserve Requirement การกำกับดูแลสถาบันการเงินและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เข้มงวดขึ้น

3. วิกฤตในยุโรปจะปะทุอีกรอบ โดยเฉพาะในกรณีของประเทศโปรตุเกส และอาจจะลุกลามไปยังประเทศสเปน รวมถึงยุโรปตะวันออกในบางประเทศ ซึ่งกำลังรอเวลาที่จะเป็นวิกฤต และการที่นักลงทุนเก็งกำไรไว้ในตลาดการเงินต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (จากสภาพคล่องที่ล้นโลก และดอกเบี้ยที่ต่ำ) ปัญหาที่จะปะทุขึ้นเป็นครั้งคราวในยุโรป จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินต่างๆ นำมาสู่การปรับตัวปรับฐานเป็นระยะๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนในตลาดพันธบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่ทำให้ความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในระดับที่สูงต่อไปอีกซักระยะ

โจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทย

คำถามสำคัญสำหรับประเทศไทยในปี 2554 ก็คือจะอยู่อย่างไรในโลกที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ยังคงขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำ กว่าปกติ ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น และมีวิกฤตรอที่จะเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ เช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของประเทศไทยเองนั้นก็มีแนวโน้มที่มีการชะลอตัวลง อย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา แม้จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนล่าสุด คือ เดือนพฤศจิกายน 2553 อีกทั้ง ความไม่แน่นอนทางการเมืองในปีหน้าก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ในประเด็นนี้ต้องยอมรับว่าสมดุลโจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยได้เปลี่ยนไปจาก การมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวในปีที่แล้ว ไปสู่การตอบโจทย์สำคัญๆ ของประเทศว่าจะทำให้การเจริญเติบโตยั่งยืนได้อย่างไร และจะจัดการกับเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมทั้งผลพวงของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่กำลังจะไหลเข้ามาอย่างไร อีกทั้งจะรักษาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไว้อย่างไร และจะเตรียมการเพื่อรองรับกับการแข่งขันในตลาดโลกที่เข้มข้นขึ้นอย่างไร ซึ่งเมื่อสมดุลของปัญหาเปลี่ยนไป แนวนโยบายภาครัฐที่เหมาะสมก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากการใช้นโยบายการเงินการคลังร่วมกันในการกระตุ้นเศรษฐกิจไปสู่ส่วนผสมใหม่ ที่แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลปัญหาต่างๆ อย่างสอดรับกันดังนี้

1. การดูแลให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายการเงินที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อเนื่องเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะต้องเปลี่ยนเป้าหมายมาเป็นการรักษาเสถียรภาพ เศรษฐกิจ โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไป เพื่อช่วยลดแรงจูงใจในการบริโภคและการเก็งกำไรของผู้บริโภคบางส่วนลง รวมทั้งช่วยให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงกลับไปเป็นบวกอีกครั้งจากปัจจุบัน ที่อยู่ที่ -2.6% และช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่จะเป็นปัญหาในระยะปานกลาง จากราคาต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ ที่กำลังปรับเพิ่มขึ้น และจากความตึงตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

2. การจัดการกับเงินทุนที่จะไหลเข้าประเทศไม่ให้ก่อปัญหาให้กับประเทศ โจทย์ใหญ่อย่างหนึ่งของปีนี้ก็คือหน้าที่ของทางการซึ่งจะต้องตัดสินใจในช่วง ที่เงินทุนไหลเข้ามาว่า จะจัดการกับเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่องอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้หลายๆ ฝ่ายได้ออกมาเรียกร้องให้ทางการนำมาตรการที่เข้มข้นมาใช้ในการควบคุมเงินทุน เคลื่อนย้าย แต่ทางการก็คงต้องชั่งใจว่าการจะเอามาตรการเหล่านี้มาใช้ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ในต่างประเทศพบว่า จะได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น และในส่วนของแรงกดดันต่อค่าเงิน ยิ่งถ้าปัญหามาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเองที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงไป มาตรการจำกัดเงินทุนเคลื่อนย้ายคงช่วยอะไรได้ไม่มากนัก

สิ่งที่ทางการพอจะทำได้ คือ การบรรเทาผลกระทบของเงินทุนไหลเข้า โดย

- ช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ผ่านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่มุ่งดูแลความผันผวนของค่าเงิน

ชะลอการแข็งค่าในระยะสั้น แต่ไม่ฝืนตลาดในระยะยาว

- จัดการกับสภาพคล่องในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนไหลเข้า

- ออกมาตรการเพื่อลดการเก็งกำไรในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ที่เปราะบางต่อเงินทุนไหลเข้า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคแบงก์ โดยเพิ่มความเข้มงวดกับการกำกับดูแล

สถาบันการเงินให้ปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง

3. การรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังต้องมุ่งเน้นเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต่อไป และคงต้องรับบทที่หนักขึ้นจากเดิม เนื่องจากแรงกระตุ้นจากนโยบายการเงินจะลดลงเรื่อยๆ ในช่วงถัดไป (ตรงนี้คงยาก เพราะความไม่แน่นอนทางการเมืองที่จะยิ่งมีมากเพิ่มขึ้นในปีนี้)

4. การรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นโยบายของภาครัฐ และนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐจะต้องมีแผนที่ชัดเจน มุ่งเน้นกับการสร้างรากฐานในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การพัฒนาตลาดทุนและสถาบันการเงิน การลดอุปสรรคต่างๆ โดยมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศทั้งขาเข้าและออกจะต้องสามารถแข่ง ขันกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ ตั้งแต่การดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศ การเอื้อให้บริษัทเอกชนไทยสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ เพื่อรองรับการแข่งขันในเวทีโลกที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงต่อไป

โดยสรุปจะเห็นได้ว่าจากโจทย์ดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะสามารถทำให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้ยั่งยืนถึงแม้ ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เกิดขึ้นมาก็ตาม

วิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2554

เศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2554 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังคงเปราะบางจากทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความ ผันผวน ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตหนี้สินยุโรปลุกลาม การดำเนินนโยบายเข้มงวดสกัดเงินเฟ้อของเอเชีย ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี จึงทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.3-3.4 อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 6-7% ในปี 2554 หลังจากเติบโตสูงถึง 11% ในปี 2553 สหรัฐอเมริกาจะมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 2.9-3.0% ในปี พ.ศ. 2554 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปี พ.ศ. 2553 ผลของการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ทำให้ดอลลาร์อ่อนลงช่วยปรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกาได้ดี ขึ้น ทำให้ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจด้านการค้าและภาคเศรษฐกิจแท้จริงของโลกดีขึ้น เพียงเล็กน้อย ขณะที่กลับทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงินโลก เงินทุนระยะสั้นไหลออกจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่มีผลตอบแทนต่ำและไหลเข้ามา ในเอเชียที่มีผลตอบแทนสูงกว่า จนทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าอย่างรวดเร็วพร้อมกับเริ่มเกิดภาวะฟองสบู่ใน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในบางประเทศ ซึ่งเป็นแรงกดดันที่สำคัญที่ทำให้ประเทศในเอเชียจำต้องดำเนินนโยบายทาง เศรษฐกิจที่เข้มงวดมากขึ้นในปี พ.ศ. 2554

การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก และการเกินดุลการค้าเป็นอย่างมากของจีนและประเทศเอเชียตะวันออกไม่ได้เป็นผล จากปัจจัยค่าเงินเพียงอย่างเดียว หากเป็นผลจากตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิต ซึ่งการปรับเปลี่ยนตัวแปรหรือปัจจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ขณะที่วิกฤตการณ์หนี้สินยุโรปมีแนวโน้มลุกลามไปยังประเทศโปรตุเกส สเปน และ ฝรั่งเศส อาจจะเกิดการปะทุขึ้นอีกระลอกหนึ่งภายใน 6 เดือนแรกของปี 2554 การทยอยปรับลดอัตราเครดิตประเทศยุโรปจะทำให้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดตราสาร หนี้บางประเทศอย่างไอร์แลนด์ถูกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดมากถึง 5 ขั้นเกินกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้

เศรษฐกิจยุโรปกลุ่มยูโรโซนในปีหน้ายังคงขยายตัวในระดับต่ำต่อไปโดยภาพรวม เติบโตที่ระดับ 1.2-1.3% ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปยังคงขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพโดยมีอัตรา การเติบโตต่ำกว่า 2% ราคาหุ้นและราคาพันธบัตรตราสารหนี้สกุลยูโรจะมีราคาตกต่ำและมีโอกาสผิดนัด ชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการอ่อนค่าลงของเงินสกุลยูโรมากที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางยุโรปน่าจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิง ปริมาณ (Quantitative Easing) เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหากพยายามใช้มาตรการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล แล้วประเทศยุโรปที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้สินล้วนมีข้อจำกัดทางด้านการคลังทั้ง สิ้น

ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 6.8-7.8% ในปี 2554 อัตราการขยายตัวของการส่งออกลดความร้อนแรงลงแต่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง พร้อมกับการเติบโตของการลงทุนและการบริโภคภายใน โดยมีแรงกดดันเงินเฟ้อ การแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่น และ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปีหน้า ประเทศที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกในปี 2554 ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย บราซิล และ รัสเซีย ขณะที่มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จีนจะเพิ่มการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวด

สำหรับเศรษฐกิจไทยได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2554 ไว้ที่ 3-4% ซึ่งเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงจากมูลค่าส่งออกสุทธิที่ลดลงอันเป็นผลจากการชะลอ ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยมีการออมที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในสหรัฐอเมริกา และยุโรป การชะลอตัวลงได้รับการชดเชยจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งจากเอเชีย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่ง ปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืช เพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณร้อยละ 3 ของจีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อย 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8 ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่งโดย อัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554 การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย หรือมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกายังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อน คลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล กลุ่มสถาบันการเงินได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของ อัตราดอกเบี้ย กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในขณะที่วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย ก็คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และการปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการ เปิดเสรีเพิ่มขึ้น ทำให้นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาว มากกว่าระยะสั้น เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว

โดยนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

จากการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554 คาดว่า

1.เศรษฐกิจไทยจะมีอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง

2.อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลง

3.ค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

4.อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่ง

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

วิเคราะห์โจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2554

สำหรับเศรษฐกิจไทย คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2554 ไว้ที่ 3-4% (คาดการณ์ 7 ธันวาคม 2553) เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากมูลค่าส่งออกสุทธิที่ลดลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ (ยุโรปและสหรัฐอเมริกา) มีการออมที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในสหรัฐอเมริกาและยุโรป การชะลอตัวลงได้รับการชดเชยจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งจากเอเชีย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะราคาเพิ่มสูงขึ้น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณร้อยละ 3 ของ จีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อย 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8

เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่งโดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย) กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และ การปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015

นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เนื่องจาก ผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปีเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงมุ่งหาเสียงด้วยนโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้ามากกว่า แล้วผลักภาระแก้ปัญหาระยะยาวที่อาจต้องเสียคะแนนนิยมไปในอนาคตเพิ่มขึ้นครับ

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2554” ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ “รุ่งหรือร่วงเศรษฐกิจไทยปี 54” ว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2554 ยังจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกต่อไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่มีหนี้สาธารณะเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลทำให้การค้าและการลงทุนทั่วโลกเกิดความไม่แน่นอน

ปัจจุบันปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่มีความผันผวนรุนแรง และรวดเร็วมาก จะเห็นได้จากการที่มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเงินนี้จะมาเร็วไปเร็ว ดังนั้นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการจะต้องนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาประกอบในการคิด วางแผน และตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ต้องตระหนักที่จะทำให้ได้หรือเสียประโยชน์คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนื่องจากมีความสำคัญต่อการค้า และการลงทุนของไทยมากที่สุดในปัจจุบัน โดยจะเห็นได้จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับประเทศเหล่านี้ โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น FTA ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ได้ลงนามไว้กับอาเซียน เช่น อาเซียนกับญี่ปุ่น อาเซียนกับจีน อาเซียนกับเกาหลี ฯลฯ

เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการเพิ่มฐานะและโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2554 ดังนั้นจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปสร้างปัญหากับประเทศดังกล่าว เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการค้าการลงทุนของไทย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 เศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับมลพิษทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อไปอีก โดยมลพิษทางเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ซึ่ง GDP เกิดมาจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 40 เกษตรร้อยละ 10 (ไม่รวมเกษตรแปรรูป) และบริการร้อยละ 50 ส่วนมลพิษทางการเมืองมีความสำคัญต่อการลงทุน และธุรกิจบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะถดถอยหรือก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

ประการแรก การแก้ปัญหา และบริหารมลภาวะที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ (มาบตาพุด) รวมถึงปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนถึง 2 แสนคน เนื่องจากหาแรงงานไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมาก

ประการที่สอง การบริหารของภาครัฐ และเอกชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคในช่วงปลายปี 2553 แต่หากไม่มีผลกระทบอะไรที่รุนแรงมากนัก จากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเชื่อว่าในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5

ประการที่สาม ความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่โครงสร้างใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่

- อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

- เพิ่มภาคการเกษตรที่เป็นอาหาร และพลังงานทดแทน โดยมีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียในการผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง

- เพิ่มภาคบริการที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมไทย เช่น เวชกรรมสำอาง ทันตกรรมสำอาง ศัลยกรรมสำอาง ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังรวมถึงเรื่องการคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารต่างๆ เนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางในเรื่องนี้ โดยล่าสุดมีการอนุมัติงบประมาณให้การรถไฟแห่งประเทศไทยถึง 170,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบรางให้ได้มาตรฐานสากลสำหรับรองรับการขนส่งในอนาคต และการใช้เงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2554 อีกด้วย

กล่าวโดยสรุปในปี 2554 ไทยยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกหลายด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองภายในประเทศ ที่สำคัญจะได้เห็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากโครงสร้างเดิมที่พึ่งพิงอุตสาหกรรมที่สร้างปัญหา และมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น

อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือจากธุรกิจการเกษตรเดิมที่มีประสิทธิภาพน้อย ได้แก่ การผลิตข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ โดยวิถีทางธรรมชาติ หรือธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มไม่มากนัก ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ และบริการที่ทันสมัย

เรื่องต่างๆ เหล่านี้จะเป็นมิติใหม่ของเศรษฐกิจไทยที่จะเริ่มขึ้นในปี 2554 แต่จะได้รับความสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ผู้บริหารประเทศ และประชาชน ดังนั้น เมื่อเราทราบทิศทางที่แน่นอนแล้ว ใครจะมาเป็นรัฐบาลจึงไม่ใช่ปัญหา และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยน่าจะได้รับความสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่างๆ ในปี 2554 อย่างแน่นอน

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจในปี2554

ปรับตัวดีขึ้นจากเก่าในทุกภาคเศรษฐกิจหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ

อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อชะลอลง อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ใน

ระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไป ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการ

ออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทยรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

ปัญหาการขนส่งและการเดินทางที่กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าและ

ชิ้นส่วนการผลิตที่บรรเทาลงหลังน้ำลด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม

แม้จะหดตัวร้อยละ 25.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ

เดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 47.2 โดยปรับดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอด

อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมสามารถกลับมา

ผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้า

จากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น และทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ

52.3 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 40.5 การฟื้นตัวของภาคการผลิตดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกเริ่มฟื้น

ตัวตาม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาผลิตได้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอ

ตัวต่อเนื่องยังทำให้การส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆชะลอลง อาทิ อาหารพร้อมปรุง รวมทั้งการส่งออก

ข้าวยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ แม้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือน

ก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป คาดว่าการผลิตและ

การส่งออกจะทยอยฟื้นตัวเป็นลำดับและกลับเป็นปกติในช่วงกลางปี 2555

ผลผลิตสินค้าเกษตร

กลับมาขยายตัวร้อยละ4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังคง

เสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมัน

เนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้า

เกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ในภาคการผลิตยานยนต์

ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่

ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนสำหรับอุปสงค์ใน ประเทศเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับภาคการผลิต

การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สะท้อน

จากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อน (%mom, sa)

ตามการขยายตัวของเครื่องชี้ในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น ปริมาณ

การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ รวมทั้งยอด

จำหน่ายยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพลังงาน ส่วน

การลงทุนภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนบ้างแล้วแม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ เริ่ม

ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และ

การลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เริ่มมีการนำ เข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่

เสียหาย ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

1.2 รายงานเศรษฐกิจและการเงิน เดือนธันวาคม ปี 2554การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 19.6 เทียบกับ

ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าทองคำค่อนข้างสูงหลังจากราคาทองคำในตลาดโลก

ปรับลดลง หากไม่รวมทองคำ การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเกือบ

ทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องมือเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อ

ชดเชยชิ้นส่วนการผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลนในประเทศ รวมทั้งมีการเร่งนำเข้า

น้ำมันดิบภายหลังการปิดซ่อมบำรุงรงกลั่นในเดือนก่อนหน้าภาคการท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณการ

ฟื้นตัวตั้ง แต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม ทำ ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศทั้งเดือนมีจำนวน 1.8

ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านคนในเดือนก่อน จากการกลับมาท่องเที่ยวของกลุ่มเอเชียตะวันออก

เป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.2 ส่วนการประกาศเตือนการก่อการ

ร้ายในเดือนมกราคมคาดว่าจะกระทบความเชื่อมั่นนักท่องท่องเที่ยวไม่มากนักหากไม่มีเหตุการณ์

ร้ายแรงเกิดขึ้น

ภาครัฐมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้มีการเบิกจ่ายมากขึ้น

และมีจำนวนมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ขาดดุลเงินสด 37.1

พันล้านบาท ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน

เพื่อบรรเทาภาระหนี้ และความต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของภาคครัวเรือน ทำให้ยอดคง

ค้างสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ยอดเงินฝากของสถาบันการเงินยังคงขยายตัวจากการระดม

เงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อสำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.53 และ 2.66 ตามลำดับ เป็นผลจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและราคาในกลุ่มอาหารเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทยภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัว

ชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดปัญหา

ขาดแคลนชิ้นส่วน และจากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลาง

ทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออก

การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

ในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตาม

ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปีสำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคง

โดยดุลการชำ ระเงินเกินดุล และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดปรับ

ลดลง

เศรษฐกิจในปี2554 ปรับตัวดีขึ้นจากเดิม แต่จากอุทกภัยของไทยอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมเสียหายมากแต่เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ภาคอุตสาหกรรมอาจจะหดตัวลงไปบ้างแต่ก็กำลังฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ด้านสินค้าเกษตรกรรม โดนผลกระทบจากอุทกภัยแต่ก็ส่งผลให้ข้าวเสียหายแต่ชนิดอื่นก็ยังขยายตัวได้ดี

วิเคราะห์ภาวะงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบทางเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2555

เศรษฐกิจไทยจะถดถอยหรือก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

1. การแก้ปัญหาและบริหารมลภาวะที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนถึง 2 แสนคน เนื่องจากหาแรงงานไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมาก

2. การบริหารของภาครัฐ และเอกชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคในช่วงปลายปี 2553 แต่หากไม่มีผลกระทบอะไรที่รุนแรงมากนัก จากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเชื่อว่าในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5 และ 3. ความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่โครงสร้างใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่

- อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

- เพิ่มภาคการเกษตรที่เป็นอาหาร และพลังงานทดแทน โดยมีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียในการผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง

- เพิ่มภาคบริการที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมไทย เช่น เวชกรรมสำอาง ทันตกรรมสำอาง ศัลยกรรมสำอาง ฯลฯ

สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ในช่วงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2554 พบว่า ภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและอุปสงค์จากต่างประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยราคาพืชผลสำคัญอยู่ในระดับสูง การขึ้นค่าจ้างของภาคเอกชน การสนับสนุนด้านสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ส่งผลให้อุปสงค์โดยรวมเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการบางรายในสาขาการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ จึงสามารถปรับราคาตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้บางส่วน รวมถึงมีการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อขยายกำลังการผลิต เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่า และเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบสำหรับการผลิตยานยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทย รวมถึงด้านการท่องเที่ยว แต่ผลกระทบในทันทียังมีไม่มากนัก เพราะยังมีสต็อกวัตถุดิบเหลืออยู่สำหรับการผลิตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นได้แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวดี โดยปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนอำนาจซื้อของประชาชน ได้แก่ ราคาพืชผลสำคัญอยู่ในระดับสูง เช่น ยางพาราปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย และการขึ้นค่าจ้างของภาคเอกชนในช่วงต้นปี ตามการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาททั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 รวมถึงการสนับสนุนด้านสินเชื่อเพื่อการบริโภคจากสถาบันการเงินต่างๆ

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ชะลอลงจากปัจจัยด้านฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วง Low Season ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าอุปสงค์ในปี 2554 ยังมีต่อเ นื่องจึงดำเนินการลงทุนตามแผน พร้อมกับยังคงใช้กิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขาย โดยราคาที่อยู่อาศัยใหม่โดยรวมปรับขึ้นร้อยละ 3-5 ตามต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเหล็ก ปูนซิเมนต์ และเครื่องสุขภัณฑ์

ธุรกิจท่องเที่ยว ขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากปัจจัยด้านฤดูกาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กลุ่มนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ อังกฤษ รัสเซีย สแกนดิเนเวีย เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวเอเชีย อาทิ เกาหลี อาเซียน จีน สำหรับผลกระทบจากอุทกภัยที่ภาคใต้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม มีบางจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เช่น สุราษฏร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากภูเก็ตและหาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้ที่ไม่ได้เกิดอุทกภัย ธุรกิจท่องเที่ยวจึงยังคงขยายตัวดี ด้านราคาที่พักยังไม่สามารถปรับขึ้นได้เนื่องจากอุปทานล้นเกินและมีการแข่งขันสูงจากเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และที่พักซึ่งไม่ใช่โรงแรม โดยปัจจุบัน อุปทานโรงแรมและที่พักมีมากกว่าอุปสงค์ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น

การผลิตและการส่งออก ขยายตัวดีในแทบทุกหมวดสินค้า ตามการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยสินค้าเกษตรกรรมได้รับผลดีจากอุปสงค์ของตลาดโลก ทำให้ราคาอยู่ในระดับสูง เช่น ยางพารา น้ำตาล มันสำปะหลัง โดยตลาดยุโรปหันมานำเข้ามันสำปะหลังจากไทยแทนสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมันสำปะหลังไทยปราศจากการตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดเต็มที่ในไตรมาสนี้หลังจากการเลื่อนฤดูเพาะปลูกในปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยเพิ่มขึ้น ด้านสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดี ทั้งในหมวดยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิก กระเป๋าหนัง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอาหารแปรรูป โดยอุปสงค์ของหมวดยานยนต์ขยายตัวดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรถปิกอัพและรถยนต์นั่งขนาดเล็กหรือ Eco-car เช่นเดียวกับอุปสงค์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งขยายตัวตามภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น สำหรับหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามตลาดโทรศัพท์ประเภท Smartphone และสินค้า Tablet รุ่นใหม่ รวมไปถึงตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่ม (Nichemarket) ขยายตัวดี เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเครื่องมือแพทย์ เป็นต้นการผลิตและการส่งออกของหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวดีต่อเนื่อง

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ของโลกรวมทั้งไทย ส่วนผลจากอุทกภัยที่ภาคใต้ ผู้ประกอบการประเมินว่าผลกระทบต่อการผลิตมีจำกัดและชั่วคราว

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมใช้กำลังการผลิตใกล้เต็มที่ และมีการลงทุนขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตผู้ประกอบการบางส่วนขยายการลงทุนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น การลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ การลงทุนเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรกรรมให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น โรงงานผลิตไส้กรอก โรงงานผลิตแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาลหรือมันสำปะหลัง หรือการลงทุนเพื่อแปรรูปของเสีย เช่น โรงงานไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล เป็นต้น

การจ้างงาน ขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยยังคงมีการย้ายแรงงานจากภาคก่อสร้างไปภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานต่อเนื่อง ทั้งแรงงานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ โดยมีสาเหตุจากการแย่งชิงแรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งจูงใจโดยให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าราคาสินค้าปรับสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรกรรม เช่น ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง ฝ้าย กุ้ง อยู่ในระดับสูงเป็นผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets) เช่น จีน อินเดีย ประกอบกับอุปทานโลกที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์และหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สินค้าหลายชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เซรามิก วัสดุก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปยังปรับตัว เพื่อรองรับแนวโน้มต้นทุนที่จะสูงขึ้นในอนาคต โดยลดระยะเวลารับคำสั่งล่วงหน้าสั้นลงเพื่อให้มีจังหวะในขอปรับขึ้นราคา ขณะที่ผู้ประกอบการบางอุตสาหกรรมปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้สามารถเพิ่มราคาขาย

สินเชื่อ สินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวดีต่อเนื่องตามความต้องการลงทุนในทรัพย์สินถาวรที่เพิ่มขึ้น จากการใช้กำลังการผลิตที่ใกล้เต็มที่ของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ธุรกิจมีความต้องการสินเชื่อหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ตามการขยายตัวของธุรกิจและราคาวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ด้านสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวดีจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นตามรายได้และความต้องการที่สูงขึ้น ภายใต้การแข่งขันปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวดี สถาบันการเงินแข่งขันปล่อยสินเชื่อโดยเฉพาะการ Refinance

ในช่วงไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ปี 2554 ภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัวจากไตรมาสก่อน แม้เผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังเติบโตดี ผู้ประกอบการจึงทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าตามต้นทุนที่สูงขึ้น แต่บางรายไม่สามารถปรับราคาได้ทั้งหมดเนื่องจากการแข่งขันสูง ด้านการผลิตแม้จะชะลอลงจากบริษัทรถยนต์ที่ลดการผลิตในช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม 2554 แต่การผลิตเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงปลายไตรมาสหลังจากสถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบจากญี่ปุ่นเริ่มคลี่คลาย

การบริโภค สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น รวมถึงการส่งมอบรถยนต์ที่ต้องล่าช้าออกไปจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต การบริโภคภาคเอกชนมีแรงส่งต่อเนื่องจากรายได้เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี ตามราคาพืชผลสำคัญที่อยู่ระดับสูงและผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นจากการเลื่อนฤดูเพาะปลูก และรายได้ของแรงงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างและเงินเดือนข้าราชการที่เริ่มเบิกจ่ายในไตรมาสนี้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้น ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากการแข่งขันปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ และการออกสินค้ารุ่นใหม่ โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยี เช่น Smartphone และ Tablet ต่างๆ

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากความต้องการซื้ออาคารชุดที่ชะลอลงหลังจากเร่งตัวมากในปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ยังมีต่อเนื่อง ราคาที่อยู่อาศัยใหม่ปรับเพิ่มขึ้น ตามต้นทุนที่ดิน วัสดุก่อสร้างและค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภคได้เพียงบางส่วนเนื่องจากการแข่งขันสูง ดังนั้น จึงปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน โดยการทำสัญญาซื้อวัสดุก่อสร้างล่วงหน้า และหันมาใช้วัสดุก่อสร้างสำเร็จรูป(Prefabrication) มากขึ้น เช่น ผนังสำเร็จรูป คานสำเร็จรูป รวมทั้งลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนบ้าน หรือซื้อจากผู้ประกอบการรายอื่น

ธุรกิจการท่องเที่ยว อยู่ในเกณฑ์ดีราคาที่พักโดยเฉลี่ยยังคงทรงตัว โดยเฉพาะตลาดที่พักในระดับกลางถึงล่าง เพราะโรงแรมต้องแข่งขันกับเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และที่พักซึ่งไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรมซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า ขณะที่โรงแรมระดับราคาสูงสามารถปรับขึ้นราคาได้บ้าง ขณะที่ผู้ประกอบการสามารถปรับขึ้นราคาอาหารและเครื่องดื่มตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้

การผลิตและการส่งออก ส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัวดี ยกเว้นการผลิตและการส่งออกรถยนต์ที่ลดลงจากผลกระทบจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวดีทั้งจากราคาที่ยังอยู่ในระดับสูงและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกข้าวจากทั้งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวใหม่และสต็อกข้าวของภาครัฐและเอกชน การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีเช่นกันจากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่มีต่อเนื่องและความต้องการจากญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ

- อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวจากสถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบ (Supply Chain Disruption) ได้เร็วการผลิตรถจักรยานยนต์ไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศและสามารถจัดหาชิ้นส่วนที่จำเป็นจากประเทศอื่นได้

- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบด้านการผลิตค่อนข้างน้อยจากภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น เนื่องจากสามารถจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นทดแทนได้ด้านการผลิตและการส่งออก Hard Disk Drive ที่ลดลงตั้งแต่ต้นปีเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายไตรมาสนี้

- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงขยายตัวดีทั้งการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งการผลิตตู้เย็นรุ่นใหม่และการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตมีส่วนทำให้ตลาดตู้เย็นขยายตัวสูงขึ้น

- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบจากราคาฝ้ายที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เร่งตัวสูงขึ้นในช่วงก่อน ทำให้ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อสินค้าเพื่อรอดูสถานการณ์ ผู้ผลิตจึงลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบโดยการผลิตเฉพาะที่มีคำสั่งซื้อแล้วเท่านั้น การผลิตและการส่งออกจึงหดตัวลง

- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยพืชผักผลไม้แปรรูปมียอดขายเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องประสบกับต้นทุนราคาปลาทูน่าที่สูงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อลง

การลงทุน ขยายตัวโดยมีทั้งการลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่า การลงทุนขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับอุปสงค์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การลงทุนด้านเครื่องจักรใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การลงทุนพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่ง สำหรับธุรกิจค้าส่งค้าปลีกมีการลงทุนขยายสาขา โชว์รูม และจุดจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างมีการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูป เช่น คานสำเร็จรูป ผนังสำเร็จรูป เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนเพื่อควบรวมกิจการเกิดขึ้นอีกด้วย

การจ้างงาน ตลาดแรงงานยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากการจ้างงานที่ขยายตัวดีตามภาวะเศรษฐกิจ จนทำให้ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในทุกระดับส่งผลให้ระดับค่าจ้างและอัตราการเปลี่ยนงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการแย่งชิงแรงงาน จึงปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาโดยการเพิ่มการจ้างงานล่วงเวลาทดแทน ปรับเพิ่มค่าจ้างเพื่อรักษาแรงงานเก่าและดึงดูดแรงงานใหม่ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้พึ่งพิงแรงงานน้อยลง ลงทุนเครื่องจักรเพื่อใช้ทดแทนแรงงานมากขึ้น

ต้นทุนและราคา โดยรวมยังอยู่ในระดับสูง ผู้ประกอบการทยอยปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่มแต่บางรายไม่สามารถปรับราคาได้ทั้งหมดเนื่องจากการแข่งขันสูง

สินเชื่อ สินเชื่อภาคธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SMEs ขยายตัวจากไตรมาสก่อนทุกประเภทโดยสินเชื่อเพื่อการลงทุนขยายตัวดีจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น สินเชื่อหมุนเวียนขยายตัวตามภาวะธุรกิจที่ดีขึ้น และราคาสินค้าและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวดีเช่นกันตามการบริโภคภาคเอกเชนที่เพิ่มขึ้น

ในช่วงไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ของปี 2554 ภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัวจากไตรมาสก่อน จากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดี การบริโภคภายในประเทศขยายตัวตามรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวขยายตัวดีในทุกภาคของประเทศ การผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และ Hard Disk Drive ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีและมีการกระจายตัวไปยังตลาดใหม่มากขึ้น

การบริโภค อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง แต่การบริโภคในบางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสการบริโภคโดยรวมยังมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการและผู้ซื้อบ้านเลื่อนการตัดสินใจเพื่อรอความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของทางการ

ธุรกิจท่องเที่ยว ขยายตัวดีต่อเนื่องในทุกภาคของไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศจากเอเชียขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

การผลิตและการส่งออก ขยายตัวดีจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มเอเชียยังได้รับคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง

การลงทุน ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีทั้งการลงทุนตามแผนเพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่า ขยายกำลังการผลิต แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ลงทุนเพิ่มเนื่องจากปัจจุบันใช้กำลังการผลิตในระดับสูง รวมทั้งมีการลงทุนยกระดับเทคโนโลยีเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติกลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ปลายน้ำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้านธุรกิจการค้าและบริการในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ห้าง Modern Trade ขนาดเล็ก โชว์รูมและอู่ซ่อมรถยนต์ มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจโรงแรมมีแผนปรับปรุงห้องประชุมและสัมมนาเพื่อดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติม

การจ้างงาน ภาวะการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยการเคลื่อนย้ายแรงงานจากนอกภาคเกษตรกรรมไปยังภาคเกษตรกรรมมากขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกและแรงจูงใจจากราคาพืชผลที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและมีการแย่งแรงงานระหว่างอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์สามารถดึงดูดแรงงานได้มากกว่าเนื่องจากให้ค่าจ้างในอัตราสูง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เห็นว่าเป็นอัตราที่ไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพของแรงงานที่ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ยอมรับได้สำหรับการจ้างแรงงานมีฝีมือ

ต้นทุนและราคา ราคาสินค้ายังคงปรับเพิ่มขึ้น แม้แรงกดดันด้านต้นทุนผ่อนคลายลงตามราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับลดลงจากการยกเลิกการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เนื่องจากราคาวัตถุดิบและต้นทุนโดยรวมยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรม เช่น น้ำตาล ยางพารา เนื้อสุกร และข้าว ผู้ประกอบการจึงทยอยปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่สามารถปรับราคาได้ ได้แก่ อาหารและอาหารแปรรูป วัสดุก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์การปรับราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังทำได้ยากเนื่องจากการแข่งขันสูงและการควบคุมราคาของทางการ ทำให้การขึ้นราคาที่ผ่านมายังไม่สามารถชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด

สินเชื่อ ขยายตัวต่อเนื่องทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือน โดยสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวดีทั้งสินเชื่อเพื่อการลงทุนและสินเชื่อหมุนเวียน ทั้งกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่และ SMEs โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจค้าส่งค้าปลีก สำหรับสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวดีตามการบริโภค ด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เร่งตัวขึ้นภายหลังการส่งมอบรถของบริษัทรถยนต์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ

ในช่วงไตรมาส 4 (ตุลาคม-ธันวาคม ) ของ ปี 2554 ภาวะธุรกิจโดยรวมชะลอตัวลงมากเนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน และจากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปีสำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคงโดยดุลการชำ ระเงินเกินดุล และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดปรับลดลง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้นภาคการท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้ง แต่ช่วงกลางเ ดือนธันวาคม ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ผลผลิตสินค้าเกษตร แม้ผลผลิตข้าวยังคงเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลง

การบริโภคภาคเอกชน ปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่

การลงทุนภาคเอกชน เริ่มกลับมาลงทุนบ้างแม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และการลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

ภาครัฐ มีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้มีการเบิกจ่ายมากขึ้นและมีจำนวนมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ขาดดุลเงิน ความไม่สมดุลนี้ก็จะคงอยู่ในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากฐานการผลิตมีความเสียหาย เศรษฐกิจจึงประสบกับภาวะเงินเฟ้อค่อนข้างสูง ทั้งจากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้น และการส่งออกที่ลดลงจากโรงงานที่ต้องปิดตัวซ่อมแซม อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลง ถึงแม้เป็นการดีต่อการส่งออก แต่ก็จะเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อจาก Import Inflation ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ที่ระดับ 3.5% และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอาจจะเพิ่มขึ้นได้อีก 1.0% หรือสูงกว่าเนื่องจากความต้องการสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ทั้งจากภาครัฐบาลที่มีรายได้ลดลงแต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และการเร่งการขยายสินเชื่อของธนาคารของรัฐ

ภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้ว ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คือภาวะที่สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นจากเดิม ซึ่งทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่ประสงค์ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนโดยรวมสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปี 2554 เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากราคาในหมวดพลังงานเร่งขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และปัจจัยพื้นฐานจากการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มเครื่องประกอบอาหารและอาหารบริโภคในและนอกบ้าน ที่ทยอยปรับราคาขึ้น แนวโน้มเงินเฟ้อในปี 2554 จึงเพิ่มสูงทั้งทางด้านต้นทุนและอุปสงค์ โดยต้นทุนผู้ประกอบการปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดี ผู้ประกอบการจำเป็นต้องส่งผ่านภาระต้นทุนไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้นหลังจากที่ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้มาแล้วระยะหนึ่ง โดยทั่วไปราคาสินค้าจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ เช่นราคาวัตถุดิบและแรงงาน ดังนั้น เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอาจส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในภาพรวมและนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งจะสูงขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้น อยู่ที่ความสามารถส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการไปยังระดับราคา ถ้าต้นทุนการผลิตปรับขึ้นชั่วคราว ผู้ประกอบการก็คงต้องแบกรับ ภาระไว้เอง เพราะอยู่ในตลาดแข่งขัน

ภาวะเงินเฟ้อที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในหลายด้าน อาทิเช่น

1. ต้นทุนสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ถ้าผู้ประกอบการไม่สามารถผลักภาระต้นทุนสินค้าที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อเข้าสู่ผู้บริโภคได้ก็ต้องรับภาระขาดทุนในกำไรที่ควรจะได้รับลงไป แต่ถ้าผลักภาระให้กับผู้บริโภคจะทำให้ ราคาสินค้าที่ขายนั้นมีราคาสูงกว่าราคาขายของคู่แข่งขัน ก็อาจเสียโอกาสทางการตลาด หรือเสียส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างถาวรในอนาคตได้

2. ต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิต เงินเฟ้อนอกจากจะส่งผลต่อผู้ประกอบการแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเนื่องถึงลูกจ้างและพนักงานของผู้ประกอบการด้วย กล่าวคือ ค่าแรงและเงินเดือนถ้าไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินค่าจ้างและเงินเดือน หรือปรับขึ้นในอัตราที่น้อยกล่าวอัตราเงินเฟ้อ ก็จะทำให้กำลังซื้อของลูกจ้างและพนักงานของสถานประกอบการนั้นๆ ลดลงจากเดิม ส่งผลต่อสภาพเงินหมุนเวียนในตลาด การครองชีพและการกินดีอยู่ดีของประชาชนในประเทศ

บทวิเคราะห์จากสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555

จากภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยในปี 2554 ดิฉันคิดว่า แนวโน้มฟื้นตัวกลับสู่เข้าภาวะปกติได้ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัย ที่ส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศอย่างรุนแรง หลายโรงงานจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2-3 เดือนในการซ่อมแซมและการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่สูญเสียจึงจะเริ่มการผลิตใหม่ได้ รวมถึงผลผลิตทางด้านการเกษตรก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์อุทกภัยได้ทำลายผลผลิตที่กำลังจะได้ผลในปี 2554 แล้วยังทำให้ผลผลิตในไตรมาสแรกของปีนี้เลื่อนออกไปอีก 3-4 เดือน ดังนั้นประเมินได้ว่าเศรษฐกิจปี 2555 ไตรมาสที่ 1 จะไม่แตกต่างจากปลายปี 2554 มากนัก

ในช่วงต้นปีเศรษฐกิจในปี 2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าหน้าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ตั้งแต่กลางปี 2555 หรือหลังจากไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตามความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง การใช้จ่ายภาคสาธารณะ ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2555 คาดว่าเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมาก ส่วนเสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น

เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจการส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนที่จะระดมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมาก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ รัฐบาลได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง อาทิเช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยในอนาคต การประกันราคาพืชผล และการปรับขึ้นค่าครองชีพของข้าราชการ นอกจากนี้ นโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงให้เป็นวันละ 300 บาท ก็จะกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่งด้วย โครงการทั้งหลายเหล่านี้คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555

นางสาวอัษฎางค์ คงอยู่

รหัส 54127326059 สาขา การเงินการธนาคาร (02)

ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไก ผลกระทบ ต่อ เศรษฐกิจ ปี 2554 - 2555

ภายใต้บริบทเศรษฐกิจของไทย ในปี 2554 การบริหารเศรษฐกิจมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายขั้นกลางข้อแรก คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 -5 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเทียบกับสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความน่ากังวลมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กรมการค้าภายในเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 4.06 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ระดับร้อยละ 4.19 กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพเป็นมูลค่า 100 บาท ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในปีนี้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมด้วยเงิน 104.06 บาท สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-6.5 จากการประมวลข่าวและบทความด้านเศรษฐกิจของผู้เขียนพบว่านับตั้งแต่ช่วงหลังไตรมาส 1 ปี 2554 นักวิชาการ นักการธนาคาร รวมทั้งนักธุรกิจได้แสดงความกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในอนาคต หากไม่มีมาตรการหรือนโยบายรับมือที่มีพลังเพียงพอ

เงินเฟ้อกำลังมาแรงทั่วโลก

มิใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เริ่มเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าปี 2554 อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับร้อยละ 7 สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว 3 เท่าเนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้น ในจีน ปัญหาเงินเฟ้อมีแนวโน้มรุนแรง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าสินค้าที่ผลิตในจีนซึ่งส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกราคาจะสูงขึ้น จีนจะกลายเป็นประเทศส่งออกเงินเฟ้อไปยังประเทศคู่ค้า จากเดิมที่เคยส่งออกเงินฝืด เนื่องจากผลิตสินค้าด้วยค่าแรงราคาถูก ในอินเดีย ประชาชนผู้มีรายได้น้อยนับล้านคนรวมตัวประท้วงรัฐบาลให้เร่งจัดการกับภาวะราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวียดนาม เมื่อเดือนพฤษภาคม ธนาคารกลางประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ระดับร้อยละ 14 เพื่อควบคุมอัตราเงินที่สูงถึงระดับร้อยละ 19.8 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อควบคุมมิให้อุปสงค์ปรับตัวสูง จึงอาจสรุปได้ว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก (Global Inflation)

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัว

อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยด้านอุปสงค์ ด้านปัจจัยต้นทุน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 10.2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขณะที่สัดส่วนตัวเลขดังกล่าวนี้ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ แม้เดือนมิถุนายน 2554 ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง แต่เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกทั้งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น รวมทั้งการประกาศไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกโอเปก จึงประมาณการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าจะอยู่ที่ 105-115 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะยังคงเป็นปัจจัยกดกันภาวะเงินเฟ้อต่อไป

นอกจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้ว นโยบายการคลังของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยจะเป็นปัจจัยกดดันให้ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น พรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาช่วงหาเสียงทั้งการประกันราคาข้าว การเพิ่มวงเงินกองทุนหมู่บ้าน การแจกแท็บเล็ตนักเรียน นโยบายเหล่านี้รัฐบาลต้องเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณปี 2555 จากที่กำหนดไว้เดิม 350,000 ล้านบาท การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นกำลังซื้อกดดันให้เงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นพรรคเพื่อไทยยังให้คำมั่นสัญญาปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน คำมั่นสัญญาเหล่านี้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนเหล่านี้ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับกำไร นอกจากนั้นมาตรการดังกล่าวนี้มีผลกระทบทางจิตวิทยา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการมักปรับขึ้นราคาสินค้าล่วงหน้าทุกครั้งที่มีข่าวว่าจะมีการปรับเพิ่มเงินเดือนหรือค่าแรง กลุ่มประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากมาตรการเหล่านี้ต้องพลอยได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงไปไปด้วย

นโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องกัน ประชาชนถูกลงโทษ

การแก้ปัญหาเงินเฟ้อต้องอาศัยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่สอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องควบคุมสินเชื่อให้ขยายตัวในระดับที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาครัฐบาลต้องลดการใช้จ่ายหรือดำเนินนโยบายการคลังแบบเกินดุล เพิ่มอัตราภาษี เพื่อลดการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน) ในเดือนมิถุนายนปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 3.00 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี 8 เดือน คาดว่าสิ้นปี 2554 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ขณะที่นโยบายการคลังยังส่งสัญญาณในทิศทางที่ตรงข้ามกันเนื่องจากรัฐบาลต้องทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ประกาศไว้

การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้อง แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อผู้กู้เงินซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าจำเป็นต้องระดมทุนก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกพันธบัตรที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีหนี้สินเนื่องจากจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต กลุ่มประชาชนได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผู้มีเงินออมซึ่งมีวงเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รวม 511,301 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของเงินฝากเป็นบัญชีที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท (จำนวนบัญชีที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาทมีสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีมูลค่าเงินฝากร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินฝากทั้งหมด) สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินฝากซึ่งได้รับประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยเป็นผู้มีความมั่งคั่งอยู่แล้ว การแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการลงโทษผู้มีรายได้น้อยที่ต้องพึ่งพาเงินกู้ทั้งนี้ไม่ได้ทำอะไรผิด

ความคิดเห็นของข้าพเจ้า

ณ ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยแค่ประเทศเดียวทีเกิดภาวะเงินเฟ้อ ตอนที่ภาวะเงินเฟ้อได้ลุกลามไปทั่วโลกและสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อมาจาก 2 สาเหตุ

1. เกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนของสินค้าและบริการ อาจเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และราคาปัจจัยการผลิต รวมทั้งการพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการ

2. เกิดจากความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นจนระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองได้ ส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น

การที่อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยทางด้านอุปสงค์ “นโยบายการคลังของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยจะเป็นปัจจัยกดดันให้ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น พรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาช่วงหาเสียงทั้งการประกันราคาข้าว การเพิ่มวงเงินกองทุนหมู่บ้าน การแจกแท็บเล็ตนักเรียน นโยบายเหล่านี้รัฐบาลต้องเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณปี 2555 จากที่กำหนดไว้เดิม 350,000 ล้านบาท การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นกำลังซื้อกดดันให้เงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้นเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน”

ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าการที่รัฐมีนโยบายก็มีทั่งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี เพื่อเป็นปัจจัยกดดันให้ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ช่วยชาวนาในเรื่องของข้าว

ข้อเสีย คือการที่รัฐบาลมีนโนบายแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นการแจกแท็บเล็ต การเพิ่มค่าแรง หรือเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน การแจกแท็บเล็ตนั้นข้าพเจ้าคิดว่ายกเลิกนโยบายนี้ไปเลยดีกว่าเพราะว่ามันเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแทนที่จะเอาเงินในส่วนนี้ไปจัดสันงบประมาณเรื่องน้ำท่วมจะดีกว่า ในยุคนี้เทคโนโลยีก้าวไปไกลแล้วก็ตามแต่แท็บเล็ตก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากมายนัก เด็กสมัยนี้หัวไว้ในเรื่องของเทคโนโลยีอยู่แล้วแล้วการที่ไปแจกให้กับเด็กเล็กๆนั้นถ้าข้าพเจ้าเป็นเด็กก็คงไม่ได้เล่นรู้อะไรมากนัก ข้าพเจ้าคงจะเอาไปเล่นเกมมากกว่าแล้วถ้าเอาไปเรียนแล้วถ้าเกิดฝนตกแท็บเล็ตเปรียกก็คงจะเสียเลยก็ต้องเอาไปซ่อมให้เสียเวลาและเสียเงิน ถ้าไม่เอางบประมาณส่วนนี้ไปช่วยน้ำท่วมก็ไปช่วยเด็กต่างจังหวัดที่ไม่โรงเรียนที่จะเรียน หนังสือยังไม่มีจะเรียนเอาไปช่วยเหลือจะดีกว่า ส่วนเรื่องเพิ่มค่าแรง หรือเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนตัวเงินถึงจะเพิ่มขั้นยังไงแต่สินค้าในการบริโภคและบริการก็ยังคงปริมาณเท่าเดิม มันก็เหมือนกับภาพลวงตา เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นคนที่โดยผลกระทบนี้ก็หนี้ไม่พ้นประชาชน ประชาชนในประเทศไทยส่วนนั้นไม่เป็นคนที่ร่ำรวยหรือเศรษฐีแต่อย่างใดแต่กลับเป็นแค่คนที่กินเงินเดือนฐานะปานกลางจนถึงพวกที่หาเช้ากินค่ำการที่ปรับก็ส่งผลกระทบต่อผู้กู้เงินซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ แล้วประชาชนที่ที่ต้องมีภาระที่จะต้องผ่อนค่าบ้าน ค่ารถ ฯลฯ ก็ต้องมาโดยค่าดอกเบี้ยที่สูงขึ้น คนที่ได้ประโยชน์ก็คงหนี้ไม่พ้นคนที่ร่ำรวยฝากเงินกินดอกเบี้ย

มาจาก : www.itd.or.th/articles?download=69%3Aar32

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554-2555

บทวิเคราะห์จากสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555

จากภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยในปี 2554 ดิฉันคิดว่า แนวโน้มฟื้นตัวกลับสู่เข้าภาวะปกติได้ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัย ที่ส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศอย่างรุนแรง หลายโรงงานจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2-3 เดือนในการซ่อมแซมและการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่สูญเสียจึงจะเริ่มการผลิตใหม่ได้ รวมถึงผลผลิตทางด้านการเกษตรก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์อุทกภัยได้ทำลายผลผลิตที่กำลังจะได้ผลในปี 2554 แล้วยังทำให้ผลผลิตในไตรมาสแรกของปีนี้เลื่อนออกไปอีก 3-4 เดือน ดังนั้นประเมินได้ว่าเศรษฐกิจปี 2555 ไตรมาสที่ 1 จะไม่แตกต่างจากปลายปี 2554 มากนัก

ในช่วงต้นปีเศรษฐกิจในปี 2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าหน้าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ตั้งแต่กลางปี 2555 หรือหลังจากไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตามความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง การใช้จ่ายภาคสาธารณะ ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2555 คาดว่าเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมาก ส่วนเสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น

เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจการส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนที่จะระดมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมาก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ รัฐบาลได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง อาทิเช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยในอนาคต การประกันราคาพืชผล และการปรับขึ้นค่าครองชีพของข้าราชการ นอกจากนี้ นโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงให้เป็นวันละ 300 บาท ก็จะกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่งด้วย โครงการทั้งหลายเหล่านี้คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555

หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยขยับขึ้นแตะระดับสูงสุดของปี 2553 ในเดือนมกราคมที่ร้อยละ 4.1 (YoY) แล้ว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็มีทิศทางชะลอลงมาเล็กน้อย ก่อนจะทรงตัวในระดับประมาณร้อยละ 3.0 (YoY) ในช่วงปลายปี 2553 ส่วนทิศทางของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น ทยอยขยับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 21 เดือนที่ร้อยละ 1.4 (YoY) ในเดือนสุดท้ายของปี 2553 ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่า แรงกดดันในช่วงขาขึ้นของเงินเฟ้อไทยในปี 2553 ที่ผ่านมา ถูกลดทอนลงบางส่วนจากผลของมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของรัฐบาล และการดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ขณะที่ การแข็งค่าของเงินบาทกว่าร้อยละ 10 ก็ช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อจากสินค้านำเข้า (โดยเฉพาะน้ำมัน) ลงด้วยเช่นกัน

และสำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองตามเดิมว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น และน่าที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงตัวหนึ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดช่วง 1 ปีข้างหน้า เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงนั้น นอกจากจะส่งผลมากดดันการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคแล้ว ยังมีผลเป็นนัยต่อเนื่องไปยังทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ ในตลาดเงินของไทยอีกด้วย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปประเด็นของแนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 โดยสังเขปไว้ดังนี้ :-

ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาส 1/2554 และไตรมาส 2/2554 อาจทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรือขยับสูงขึ้นกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 (YoY) โดยผลจากการส่งผ่านแรงกดดันของต้นทุนการผลิต และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นมายังราคาสินค้าผู้บริโภคอาจถูกลดทอนลงบางส่วนจากการคำนวณเทียบกับฐานดัชนีที่สูงในช่วงเดียวกันของปี 2553 ขณะที่ รัฐบาลได้ขยายอายุมาตรการบรรเทาค่าครองชีพออกไป พร้อมกับเข้าดูแลราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ

อย่างไรก็ดี คาดว่า ราคาสินค้าอาจขยับขึ้นในลักษณะเดือนต่อเดือน (Month on Month) ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาน้ำมันและราคาอาหารสำเร็จรูปยังคงรักษาทิศทางการปรับสูงขึ้นไว้ได้ต่อเนื่อง

ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อาจไล่ทยอยขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับร้อยละ 2.0 ในช่วงปลายไตรมาส 2/2554 และน่าที่จะขยับขึ้นได้ต่อเนื่องอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ซึ่งทำให้คาดว่า การคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อชะลอแรงกดดันเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาในประเทศน่าที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อยก็ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 หลังจากที่ธปท.ได้เริ่มวัฏจักรการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับปกติแล้วในปี 2553 ที่ผ่านมา (อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 0.75 ขึ้นสู่ระดับร้อยละ 2.00 ณ สิ้นปี 2553)

โดยสรุป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่มเป็นร้อยละ 3.0 (YoY) ตามคาด และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่พุ่งขึ้นเกินคาดมาที่ร้อยละ 1.4 (YoY) ในเดือนธันวาคม 2553 ที่ผ่านมานั้น อาจภาวะที่สะท้อนภาพได้ส่วนหนึ่งว่า ได้เริ่มมีสัญญาณการส่งผ่านการขยับขึ้นของต้นทุนการผลิตมายังราคาสินค้าผู้บริโภคบางรายการบ้างแล้วในขณะนี้ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า อาจเห็นการทยอยขยับขึ้นของราคาสินค้าในลักษณะเดือนต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ และราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีทิศทางขยับขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยคงจะต้องจับตาการวางแนวทางมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ และการดูแลราคาพลังงานในประเทศของรัฐบาลในช่วงหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ จากประมาณการกรณีพื้นฐานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย บ่งชี้ว่า ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 จะทรงตัว-ขยับสูงกว่าร้อยละ 2.8 (YoY) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาส 4/2553 ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจทยอยขยับสูงขึ้นเข้าใกล้ร้อยละ 2.0 ในช่วงกลางปี 2554 โดยทั้งแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงกรอบประมาณการของเงินเฟ้อปี 2554 ไว้ที่ร้อยละ 2.5-4.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และร้อยละ 1.8-2.6 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไว้ตามเดิม อนึ่ง ภาพของการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และการทรงตัวในระดับสูงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงเวลาหลังจากนี้ไปอีกหลายเดือน ทำให้เครือธนาคารกสิกรไทย มองว่า ภารกิจในการดูแลเสถียรภาพราคาในประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะยังไม่สิ้นสุดลง โดยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. น่าที่จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 2.25 ในการประชุมรอบแรกของปี 2554 ในวันที่ 12 มกราคม 2554 ที่จะถึงนี้ และวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เป็นอย่างน้อย

- ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า ปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาการเมืองในประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 54 เพราะเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวสูงขึ้น จากการอ่อนค่าของเงินบาท

- สศค.วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 54 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ (1) ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังมีอัตราการว่างงานสูงกว่าร้อยละ 9.4 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สหภาพยุโรปยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะ และญี่ปุ่นยังคงประสบภาวะการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอตัว และแนวโน้มค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อการส่งออก (2) ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย (3) แรงกดดันจากเงินเฟ้อ และ (4) การขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ในปี 54 เศรษฐกิจไทยยังได้รับปัจจับบวกจากแรงส่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 53 รวมถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจที่มั่นคง และการดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายต่อเนื่องในปี 54 ทำให้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 54 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ต่อปี)

น.ส.ศิริวรณ ขันตี 54127326064

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

เศรษฐกิจไทย คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2554 ไว้ที่ 3-4% (คาดการณ์ 7 ธันวาคม 2553) เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากมูลค่าส่งออกสุทธิที่ลดลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ (ยุโรปและสหรัฐอเมริกา) มีการออมที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในสหรัฐอเมริกาและ ยุโรป การชะลอตัวลงได้รับการชดเชยจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งจากเอเชีย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะราคาเพิ่มสูงขึ้น เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณร้อยละ 3 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อย 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8

เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่ง โดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย) กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และ การปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015

สรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงิน 19 - 23 ธันวาคม 2554

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสะท้อนถึงผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยต่ออุตสาหกรรมที่สำคัญเช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ดีธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่าในปี 2555 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะยังมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์เศรษฐกิจ

- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายนปรับสู่ระดับ 87.5 จากระดับ 89.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และลดลงต่ำสุดในรอบ 29 เดือน ทั้งนี้ค่าดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบในด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการซึ่งจากวิกฤตอุทกภัยได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่ต้องชะลอหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.3 ในเดือนตุลาคม

- การส่งออกไทยในเดือนพฤศจิกายนหดตัว 12.4% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 15,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าหดตัวลง 2.4% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 16,872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขาดดุลการค้าประมาณ 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุที่ทำให้ยอดส่งออกลดลงมาจากอุตสาหกรรมสำคัญได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยจนไม่สามารถส่งออกได้ตามปกติ โดยยานยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบยานยนต์ ลดลง 54.7%, สินค้าอิเลคทรอนิกส์ ลดลง 47.4% เป็นต้น

- ธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่าทิศทางดอกเบี้ยในปี 2555 จะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น แต่จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรปที่ยังสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทย พร้อมระบุว่าสภาพคล่องในระบบในขณะนี้ยังอยู่ระดับสูง แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีปัญหาวิกฤติน้ำท่วม แต่สถาบันการเงินได้มีการเตรียมสภาพคล่องไว้พร้อมเพื่อการเบิกจ่าย โดย ธปท.ยังทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ นอกจากนี้ยังคาดว่าสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2555 จะขยายตัว 10% อันเป็นผลมาจากความต้องการเงินเพื่อการลงทุนฟื้นฟูธุรกิจหลังน้ำท่วมและภาคครัวเรือนในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่จะชะลอตัวจากที่ขยายตัว 17-18% ในปีนี้

จากการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554 ข้างต้น ดิฉันจะแสดงความคิดเห็นว่าปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังมาจากผลกระทบน้ำท่วมเมื่อช่วงปลายปี 2554 ที่ส่งผลกระทบทำให้ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ยังทำให้อัตราการเติบโตของภาคการส่งออกชะลอตัวลงด้วย

จากข้อความที่กล่าวว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น ดิฉันคิดว่าไม่สมควรเพราะว่าจะทำให้กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

สุดท้ายนี้ดิฉันคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยจะเป็นไปในรูปแบบใดก็น่าจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วย เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้การเมืองต่างๆดูเหมือนจะวุ่นวายกันไปหมดส่งผลทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ค่อยน่าเชื่อถือ แล้วยังจะมีปัญหาวิกฤติน้ำท่วมอีกด้วย ทำให้ต่างชาติไม่กล้าเสี่ยงที่จะลงทุนจนเกิดปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจ คือ อัตราเงินเฟ้อ ค่าเงินผันผวน และยัง การปรับตัวในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น

นางสาวเกศปทุม ทองดอนคำ

54127326072

การเงินการธนาคาร

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 ปรับตัวดีขึ้น ปัญหาอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อชะลอลง อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไป ส่วนดุลการชาระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทย

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

ปัญหาการขนส่งและการเดินทางที่กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าและชิ้นส่วน การผลิตที่บรรเทาลงหลังน้าลด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้จะหดตัวร้อยละ 25.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 47.2 โดยปรับดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้าท่วมสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้าท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนาเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น และทาให้อัตราการใช้กาลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 52.3 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 40.5 การฟื้นตัวของภาคการผลิตดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกเริ่มฟื้นตัวตาม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาผลิตได้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องยังทาให้การส่งออกสินค้าสาคัญอื่นๆ ชะลอลง อาทิ อาหารพร้อมปรุง รวมทั้งการส่งออกข้าวยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ทาให้การส่งออกในเดือนนี้ แม้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวเป็นลาดับและกลับเป็นปกติในช่วงกลางปี 2555

ผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังคงเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ามัน เนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้าฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ในภาคการผลิตยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัว ไม่เต็มที่ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน

สำหรับอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับภาคการผลิต การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ตามการขยายตัวของเครื่องชี้ในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น ปริมาณการนาเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ รวมทั้งยอดจาหน่ายยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพลังงาน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนบ้างแล้ว แม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และ การลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ขณะที่ การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เริ่มมีการนาเข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย ส่วนปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

การนาเข้าขยายตัวร้อยละ 19.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนาเข้าทองคาค่อนข้างสูงหลังจากราคาทองคาในตลาดโลกปรับลดลง หากไม่รวมทองคา การนาเข้าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยเป็นการนาเข้าเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องมือเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อชดเชยชิ้นส่วนการผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลนในประเทศ รวมทั้งมีการเร่งนาเข้าน้ามันดิบภายหลังการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น

ภาคการท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม ทาให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศทั้งเดือนมีจานวน 1.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านคนในเดือนก่อน จากการกลับมาท่องเที่ยวของกลุ่มเอเชียตะวันออกเป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.2 ส่วนการประกาศเตือนการก่อการร้ายในเดือนมกราคมคาดว่าจะกระทบความเชื่อมั่นนักท่องท่องเที่ยวไม่มากนักหากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น

ภาครัฐมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้มีการเบิกจ่ายมากขึ้นและ มีจานวนมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทาให้ขาดดุลเงินสด 37.1 พันล้านบาท ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาภาระหนี้ และความต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของภาคครัวเรือน ทาให้ยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ยอดเงินฝากของสถาบันการเงินยังคงขยายตัวจากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อ

สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.53 และ 2.66 ตามลาดับ เป็นผลจากการชะลอตัวของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกและราคาในกลุ่มอาหารเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ส่วนดุลการชาระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุน ในต่างประเทศของธุรกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะราคาเพิ่มสูงขึ้น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณร้อยละ 3 ของ จีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อย 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8

เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่งโดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย) กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และ การปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015

นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เนื่องจาก ผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปีเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงมุ่งหาเสียงด้วยนโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้ามากกว่า แล้วผลักภาระแก้ปัญหาระยะยาวที่อาจต้องเสียคะแนนนิยมไปในอนาคตเพิ่มขึ้น

นางสาว ศรัญญา คลังนาค 54127326063

การเงินการธนาคาร02

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554 ได้พบว่ามีการวิเคราะห์ด้านการเงิน ด้านการคลัง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

โดยเรื่องแรกคือวิเคราะห์เรื่องอัตราดอกเบี้ยในปี2554 โดยคณะกรรมการมีการปรับนโยบายของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีมติเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เพื่อให้ดอกเบี้ยปรับอยู่ในภาวะปกติ และเป็นการลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราค่าน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้านอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของ 4 ธนาคารใหญ่ แต่บางประเทศก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

เรื่องที่สองคือเรื่องดุลการคลัง ตามระบบกระแสเงินสด ซึ่งมีการขาดดุล 259,627.4 ล้านบาท เป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 171,168.7 ลานบาท และเงินนอกงบประมาณ 88,458.7 ล้านบาท ทำให้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 60,584.0 ล้านบาท ทําให้ดุลเงินสด ขาดดุลลดลง 199,043.4 ล้านบาท

ส่งผลให้สถานะเงินคงคลัง มีจำานวนทั้งสิ้น 114,386 ล้านบาท จึงทำให้เงินคงคลังมีมูลค่าลดลงอีกด้วย ส่วนด้านการส่งออกและนำเข้าของไทย โดยตลาดส่งออกของไทยมีการขยายตัวทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ โดยมูลค่าการส่งออกในตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนการนำเข้าของไทยนั้น ทั้งมูลค่าปริมาณ และราคามีผลมาจากการส่งออกและลงทุนที่ขยายตัวได้ดี จึงทำให้การนำเข้าของไทยมีการเพิ่มขึ้น โดยจุดที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดนั้นมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ตามด้วยสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิง ตามลำดับ

นอกจากนี้ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจสินค้าเกษตรไทยปี 2554 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนและความต้องการสินค้าเกษตรจากไทยในต่างประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับแนวโน้มการบริโภคและส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในครึ่งหลังของปี 2554 ต่อเนื่องถึงปี 2555 คาดการณ์ว่ามูลค่าจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนคือ ราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์สูงจึงจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนให้มีการบริโภคและการลงทุนซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นจากปัจจัยเกื้อหนุนของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน

ภาวะเศรษฐกิจของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการขยายตัวของไทย โดยผลทางตรงนั้นเกิดจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าเกษตรทำให้การดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปสินค้าเกษตรมีการขยายตัวตามไปด้วย ส่วนผลกระทบเชิงบวกทางอ้อมนั้นเกิดจากการที่เกษตรกรหรือสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เรื่องที่สามคือเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีเสถียรภาพภายในประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยมีตัวชี้วัดดังนี้

1.อัตราการว่างงาน สำหรับการจ้างงานมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในภาคเกษตร จากแรงจูงใจทางด้านราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง โดยเฉพาะสาขาขนส่ง และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร แต่ก็ยังมีสาขาอุตสาหกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัวตามการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น

2.อัตราเงินเฟ้อทั่วไป มีการเพิ่มสูงขึ้นจากราคาอาหารสด ประเภทผัก ผลไม้ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศลดลงจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่ความต้องการสินค้าเกษตรยังคงขยายตัวได้ดี และการเพิ่มสูงขึ้นของราคานํ้ามันเชื้อเพลิง ตามการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคานํ้ามันดิบในตลาดโลก สาหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 แสดงถึงราคาสินค้าทั่วไปได้เริ่มสูงขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อชะลอแรงกดดันเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้น และเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคาภายในประเทศ

3.หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีจํานวน 4,246,114.1 ล้านบาท ลดลง 35,989.0 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.8 จากสิ้นไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2554 เมื่อเทียบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP คิดเป็นร้อยละ 41.3 ของ GDP ลดลง จากร้อยละ 42.4 ของ GDP ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2554 และยังคงรักษาระดับอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่ เกินร้อยละ 60ส่วนเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง มีตัวบ่งชี้ดังนี้

1.อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ในไตรมาสแรกมีอัตราที่อ่อนค่าลง เป็นผลจากความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อในภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งอื่นๆ

2.ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 6,795 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับ 207,903 ล้านบาท)

ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วที่เกินดุล 5,509 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากการเกินดุลการค้า 3,335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเกินดุลบริการรายได้และเงินโอน 3,460 ลานดอลลาร์สหรัฐ

3.เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ มีมูลค่าเท่ากับการนำเข้า 9.4 เดือน

จากการที่ดิฉันได้ศึกษาและวิเคราะห์พบว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2554 มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวอยู่ แต่ยังมีการชะลอตัวลงบ้างบางส่วนของการบริโภคและการลงทุน ย่อมจะส่งผลต่อต่อการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภาครัฐก็ได้มีการวางนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยวางนโยบายสำหรับช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจภายในไทยจะมีปัญหารุมเร้าอยู่บ้าง แต่ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2554 นี้ก็น่าจะยังขยายตัวได้อีกด้วย นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยในปี 2554 ที่ผ่านมานั้น มีปัญหาที่หนักคือสถานการณ์น้ำท่วม เป็นผลให้ระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะขัดข้อง สินค้าในการจำหน่ายมีไม่พอและประชาชนบางส่วนก็ขาดรายได้จากการทำงาน เป็นผลทำให้เศรษฐกิจของไทยมีการปรับตัวได้ช้าลง แต่ก็ยังอยู่ในภาวะที่ปกติ ไม่เกิดผลเสียมากนัก โดยจากสถานการณ์ที่กล่าวมานี้พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้ผลประกอบการธุรกิจของไทยไม่เป็นไปตามที่คาดหวังได้ เช่น ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน ค่าแรง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ผลผลิตเสียหายอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติหรือการระบาดของศัตรูพืชเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งสิ้น นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นผลกระทบเชิงลบที่ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

นางสาวจารุวรรณ ภู่สะอาด

รหัสนักศึกษา 54127326048 นักศึกษา การเงินการธนาคาร 02

การวิเคราะห์สถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจการเงินของไทยในปี 2554-2555

การวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2554-2555 นั้น สามารถสรุปการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจได้เป็นรายไตรมาส ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบแต่ละไตรมาสแล้วพบว่า การสรุปสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสของปี2554โดยประมวลตัวเลขจากสำนักเศรษฐกิจต่างๆมานำเสนอให้เห็นถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการใช้จ่าย ด้านการเงินและการคลัง ด้านต่างประเทศ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น มีสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคการผลิต การเกษตร ภาคบริการ การลงทุนภาคเอกชน ด้านการเงินและการคลัง และด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีด้านอื่นๆซึ่งสรุปได้ดังนี้

ด้านกระผลิต:

1.ภาคเกษตร การผลิตปรับตัวดีขึ้น โดยหมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตามผลผลิตข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพารา ผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจของโครงการประกันรายได้เกษตรกร แต่ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553-2554

2.ภาคอุตสาหกรรม การผลิตขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก หดตัวร้อยละ0.9และ6.5ตามลำดับ กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญมีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม การผลิต Hard Disk Dumping การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมทั้งการผลิตปูนซีเมนต์ เป็นต้น

3.ภาคบริการ รายรับภาคบริการขยายตัวร้อยละ5.9โดยมีปัจจัยหลักจากการเร่งตัวของรายรับจากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาประเทศไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ5.33ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ14.5

ด้านการใช้จ่าย:

1.การใช้จ่ายของครัวเรือน ขยายตัวชะลอลง เนื่องจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทนขยายตัวลดลง อีกทั้งการใช้จ่ายในหมวดบริการหดตัว ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่ง

2.การลงทุนภาคเอกชน มีการเร่งตัวขึ้น โดยการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ14.7จากที่ขยายตัวร้อยละ9.2ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการลงทุนเพิ่มขึ้นของการลงทุนในทุกหมวด การนำสินค้าทุนมีการขยายตัวเพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์

ด้านการเงินและการคลัง:

ด้านการเงินและการคลัง ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงิน สินเชื่อภาคเอกชน(ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนในเรื่องของสัดส่วนNPLsต่อยอดสินเชื่อคงค้างในระบบสถาบันการเงินมีการลดลงเนื่องจากในไตรมาสที่ผ่านมาจากการรับชำระหนี้เพิ่มขึ้น การปรับโครงสร้างหนี้และตัดหนี้สิน

ด้านต่างประเทศ:

ในด้านต่างประเทศทั้งการส่งออกและการนำเข้าอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุล3,334 ดอลลาร์สหรัฐ (101,845ล้านบาท)ต่ำกว่าการเกินดุล4,072ล้านดอลลาร์สหรัฐ(122,001ล้านบาท)ในไตรมาสที่แล้ว

การวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจในปี2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลัก

คาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าชะลอตัวลงในทุกประเภท ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้คลี่คลายลง ในไตรมาสนี้สินค้าคงทนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 73.5 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 ทั้งนี้ สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายในระยะต่อไปมากขึ้น

การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรชะลอตัวในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากได้มีการเร่งนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสตามแผนการลงทุนขยายกำลังการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 6.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.4 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงจากระดับ 55.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 53.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะธุรกิจในอนาคตลดลง จากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การปรับราคาสินค้าดำเนินการได้ยาก ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ตลอดจนปัญหาอุทกภัย ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะต่อไป

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามปี 2554 คิดเป็นมูลค่า 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,906,882 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 27.3 โดยปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 และ 6.4 ตามลำดับ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 68.6 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาส่งออกซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และ 17.6 ตามลำดับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศจีน ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้สดและแช่แข็ง สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และ 25.9 ตามลำดับ ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.2 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนขยายตัวร้อยละ 11.3 ยานพาหนะและชิ้นส่วนขยายตัวร้อยละ 10.8 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่สองที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.0 เนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมส่งออก พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 และ 36.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.3 และ 32.1 ในไตรมาสที่สอง ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสที่สองของปี 2554

ตลาดส่งออก: ขยายตัวทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป (15) และอาเซียน (9) ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 และ 34.7 ตามลำดับ ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวร้อยละ 21.0 และ 5.2 เทียบกับร้อยละ 35.9 และ 17.5 ในไตรมาสก่อนตามลำดับ ส่วนตลาดอื่นๆ ยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.8 จากร้อยละ 22.7 ในไตรมาสที่สอง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปออสเตรเลียกลับมาขยายตัวร้อยละ 10.8 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาสจากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบและทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป

การนำเข้า: ทั้งมูลค่า ปริมาณและราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สามของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 33.4ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากราคาสินค้าเชื้อเพลิงและทองคำที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 19.0 ในไตรมาสก่อนปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้าในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากอุปสงค์สินค้าเกือบทุกหมวดขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ชะลอตัวลงทั้งมูลค่า ปริมาณ และราคา

เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า สินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นทั้งมูลค่า ราคา และปริมาณ ยกเว้นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ชะลอตัวลงทั้งมูลค่า ปริมาณและราคา หลังจากขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ผ่านมา โดยสินค้าทุนมีมูลค่าขยายตัวร้อยละ 23.9 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 20.9 ในไตรมาสก่อน สินค้าทุนที่ยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งเครื่องจักรและชิ้นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้กับสายตา ภาพยนตร์และการถ่ายภาพ สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางมูลค่าขยายตัวร้อยละ 19.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.0 ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าขยายตัวร้อยละ20.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.2 สินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ชาและกาแฟและนาฬิกาและเครื่องประดับ ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นมูลค่าขยายตัวร้อยละ 63.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 38.0 ในไตรมาสก่อน โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเก็งกำไรในตลาดทุนและความไม่สงบในแอฟริกาเหนือ

อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สามของปี 2554 หดตัวร้อยละ 4.7 เป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 ไตรมาส

ดุลการค้า: เกินดุลเพิ่มขึ้น โดยเกินดุล 7,676 ล้านดอลลาร์ สรอ. (231,562 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล7,295 ล้านดอลลาร์ สรอ. (221,424 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ข้าวนาปี และนาปรังบางส่วนได้รับความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตสำคัญ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ให้ผลผลิต

ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 โดยราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 10.3 ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 36.4 และ 44.7 ในไตรมาสก่อน ตามลำดับ โดย

(1) ราคายางพาราชะลอลงตามอุปสงค์ในตลาดโลก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และ (2) ราคาปาล์มน้ำมันชะลอลงตามราคาในตลาดโลกเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากทั้งผลผลิตของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกันราคาข้าวเปลือกขยายตัวร้อยละ 14.3 จากการที่ผู้ประกอบการส่งออกข้าวมีความต้องการซื้อข้าวเก็บสำรองไว้ก่อนการปรับเปลี่ยนนโยบายดูแลราคาสินค้าเกษตรจากมาตรการประกันราคามาเป็นการรับจำนำข้าวเปลือกซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 7 ตุลาคม2554การลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรและการชะลอตัวของราคาสินค้าเกษตรสำคัญส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 43.1 และ 25.7 ในไตรมาสแรกและสองของปี ตามลำดับ

สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3 และ 9.2 ตามลำดับ หลังจากประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของการก่อสร้างภาคเอกชน ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์และคอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 9.3 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จากการที่สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังไม่คลี่คลายประกอบกับค่าเงินบาทที่ยังคงผันผวนทำให้อุปสงค์จากต่างประเทศต่อสินค้าอุตสาหกรรมบางประเทศของไทยหดตัวลง เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม หลอดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ที่หดตัวร้อยละ 26.5 9.8 และ 39.4 ตามลำดับ ส่วนดัชนีสินค้าคงคลังไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับไตรมาสก่อน แสดงให้เห็นว่ายังคงมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังในระบบอย่างต่อเนื่องและปัญหาต่างๆก็จะได้รับการปรับปรุงและแก้ไขต่อไป

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดกลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ปี พ.ศ.2554

เศรษฐกิจของไทยในปี 2554 การบริหารเศรษฐกิจมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายขั้นกลางข้อแรก คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อย ละ 4-5 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเทียบกับสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความน่ากังวลมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กรมการค้าภายในเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 4.06 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ระดับร้อยละ 4.19 กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพเป็นมูลค่า 100 บาท ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในปีนี้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมด้วยเงิน 104.06 บาท สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อ ในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-6.5 จากการประมวลข่าวและบทความด้านเศรษฐกิจของผู้เขียนพบว่า นับตั้งแต่ช่วงหลังไตรมาส 1 ปี 2554 นักวิชาการ นักการธนาคาร รวมทั้งนักธุรกิจ ได้แสดงความกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยในอนาคต หากไม่มีมาตรการหรือนโยบายรับมือที่มีพลังเพียงพอเงินเฟ้อกำลังมาแรงทั่วโลก

มิใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เริ่มเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า ปี 2554 อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับร้อยละ 7 สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว 3 เท่า เนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้น ในจีน ปัญหาเงินเฟ้อมีแนวโน้มรุนแรง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าสินค้าที่ผลิตในจีนซึ่งส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกราคาจะสูงขึ้น จีนจะกลายเป็นประเทศส่งออกเงินเฟ้อไปยังประเทศคู่ค้า จากเดิมที่เคยส่งออกเงินฝืด เนื่องจากผลิตสินค้าด้วยค่าแรงราคาถูก ในอินเดีย ประชาชนผู้มีรายได้น้อยนับล้านคนรวมตัวประท้วงรัฐบาลให้เร่งจัดการกับภาวะ ราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวียดนาม เมื่อเดือนพฤษภาคม ธนาคารกลางประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ระดับร้อยละ 14 เพื่อควบคุมอัตราเงินที่สูงถึงระดับร้อยละ 19.8 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements : BIS) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่ปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยลดการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อควบคุมมิให้อุปสงค์ปรับตัวสูง จึงอาจสรุปได้ว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก (Global Inflation)เงินเฟ้อเกิดจากต้นทุนและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเกินสมดุล

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายสาเหตุเงินเฟ้อหรือภาวะที่ระดับราคาปรับ ตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าเกิดจาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรก เกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ (Cost Push Inflation) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และราคาปัจจัยการผลิต รวมทั้งการพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการ สาเหตุประการที่ 2 เกิดจากความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นจนระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองได้ ส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น (Demand Pull Inflation)

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินนิยม ศาสตรา จารย์มิลตัน ฟรีดแมน ได้เคยกล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏ การณ์ทางการเงิน (Inflation is everywhere monetary phenomenon) เพราะต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาจากการที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไปจน "เฟ้อ"

ปริมาณเงินหมุนเวียนเกิดอาการเฟ้อขึ้นได้นั้น เพราะปริมาณของมันมีมากเกินไปเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตมา ให้ผู้บริโภคจับจ่าย ผลที่ตามมาคือ เงินปริมาณมากไล่ซื้อสินค้าที่มีน้อย กลไกราคาในตลาดจึงเกิดการปรับตัว เพื่อให้อุปสงค์ได้ดุลกับอุปทานในระบบ นั่นคือราคาสินค้าจะปรับสูงขึ้นตามปริมาณเงินหมุนเวียนในที่สุด

ภาวะเงินเฟ้อส่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่า กลุ่มอื่น เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคสูงเมื่อ เทียบกับรายได้ทั้งหมด การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงและจะส่งผล กระทบต่อคุณภาพชีวิตในที่สุด การแก้ปัญหาเงินส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารกลางมักแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลกระทบต่อครัว เรือนกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่มีภาระเงินกู้ ซึ่งส่วนใหญ่กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการเติบโตลดลง แต่ทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่มีฐานะดี อยู่แล้วได้รับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยนโยบายการคลังทั้งการขึ้นภาษีและการลดการใช้จ่ายของ ภาครัฐก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่นๆอัตราเงิน เฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัว

อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้น ทุนและปัจจัยด้านอุปสงค์ ด้านปัจจัยต้นทุน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 10.2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ขณะที่สัดส่วนตัวเลขดังกล่าวนี้ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าประเทศ อื่นๆ แม้เดือนมิถุนายน 2554 ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง แต่เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกทั้งจากปัญหาวิกฤติหนี้ สาธารณะในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น รวมทั้งการประกาศไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกโอเปก จึงประมาณการได้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าจะอยู่ที่ 105-115 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะยังคงเป็นปัจ จัยกดดันภาวะเงินเฟ้อต่อไป

นอกจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้ว นโยบายการคลังของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยจะเป็นปัจจัยกดดันให้ภาวะ เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น พรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาช่วงหาเสียงทั้งการประกันราคาข้าว การเพิ่มวงเงินกองทุนหมู่บ้าน การแจกแท็บเล็ตนักเรียน นโยบายเหล่านี้รัฐบาลต้องเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณปี 2555 จากที่กำหนดไว้เดิม 350,000 ล้านบาท การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นกำลังซื้อกดดันให้เงินเฟ้อสูง เพิ่มขึ้น

นอกจากนั้น พรรคเพื่อไทยยังให้คำมั่นสัญญาปรับเพิ่มค่าแรง ขั้นต่ำให้อยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน คำมั่นสัญญาเหล่านี้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนเหล่านี้ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับ กำไร นอกจากนั้นมาตรการดังกล่าวนี้มีผลกระทบทางจิตวิทยา พ่อค้า-แม่ค้า ผู้ประกอบการมักปรับขึ้นราคาสินค้าล่วงหน้าทุกครั้งที่มีข่าวว่าจะมีการปรับ เพิ่มเงินเดือนหรือค่าแรง กลุ่มประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากมาตรการเหล่านี้ต้องพลอย ได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงไปด้วยนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องกัน ประชาชนถูกลงโทษ

การแก้ปัญหาเงินเฟ้อต้องอาศัยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่สอดประสาน ไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องควบคุมสินเชื่อให้ขยายตัวในระดับที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อส่ง สัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ภาครัฐบาลต้องลดการใช้จ่ายหรือดำเนินนโยบายการคลังแบบเกินดุล เพิ่มอัตราภาษี เพื่อลดการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน) ในเดือนมิถุนายนปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 3.00 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี 8 เดือน คาดว่าสิ้นปี 2554 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ขณะที่นโยบายการคลังยังส่งสัญญาณในทิศทางที่ตรงข้ามกัน เนื่องจากรัฐบาลต้องทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ประกาศไว้

การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการส่งสัญญาณ ที่ถูกต้อง แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อผู้กู้เงินซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคาร เพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าจำเป็นต้องระดมทุนก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกพันธบัตรที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีหนี้สิน เนื่องจากจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต กลุ่มประชาชนได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผู้มี เงินออมซึ่งมีวงเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รวม 511,301 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของเงินฝากเป็นบัญชีที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท (จำนวนบัญชีที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีมูลค่าเงินฝากร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินฝากทั้งหมด) สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินฝากซึ่งได้รับประโยชน์จากการขึ้น ดอกเบี้ยเป็นผู้มีความมั่งคั่งอยู่แล้ว การแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการลงโทษผู้มีรายได้ น้อยที่ต้องพึ่งพาเงินกู้ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิดแก้ปัญหาเงินเฟ้อทางเลือก ที่เจ็บปวดของประชาชน

แม้รัฐบาลเพิ่มรายได้ประชาชนโดยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและประกันราคา สินค้าเกษตร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในรูปตัวเงินอาจเป็นแค่เพียงภาพลวงตา เพราะอำนาจซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากเงินเฟ้อ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีประชาชนคนไทยจำนวนถึงกว่าร้อยละ 70 ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การดำเนินนโยบายประชานิยมที่เน้นความ พึงพอใจของประชาชนระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว สุดท้ายแล้วหากนโยบายการเงินและการคลังไม่สอด คล้องประสานกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวจะถูกปั่นทอนลง ซึ่งต้องแก้ปัญหาโดยการลดการใช้จ่ายภาครัฐและขึ้นภาษี ซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ในความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันเห็นว่า

การรับมือกับเงินเฟ้อ ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังต้องกำหนดท่าทีร่วมกัน ภาครัฐต้องควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายโดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังระยะยาวและต้องส่งสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างระมัดระวังไม่ ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นหนี้เพราะกู้ซื้อปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีวิต มิใช่ฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะหนี้ที่ได้ก่อผูกพันระยะยาวไว้แล้ว ภาคเอกชนต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อมิให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมาก เกินไป ประชาชนทั่วไปต้องประหยัด เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก

น.ส. ประภา ทองหอม

สาขา การเงินการธนาคาร (02)

รหัสนักศึกษา 54127326085

ภาวะเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2554

ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนในทุกภาคเศรษฐกิจหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อชะลอลง อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไป ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทยรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้ปัญหาการขนส่งและการเดินทางที่กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าและชิ้นส่วนการผลิตที่บรรเทาลงหลังน้ำลด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้จะหดตัวร้อยละ 25.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 47.2 โดยปรับดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น และทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ52.3 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 40.5 การฟื้นตัวของภาคการผลิตดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกเริ่มฟื้นตัวตาม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาผลิตได้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องยังทำให้การส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆชะลอลง อาทิ อาหารพร้อมปรุง รวมทั้งการส่งออกข้าวยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ แม้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวเป็นลำดับและกลับเป็นปกติ

ในช่วงกลางปี 2555

ผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวร้อยละ4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังคงเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ในภาคการผลิตยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนสำ หรับอุปสงค์ใน ประเทศเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับภาคการผลิต การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อน (%mom, sa)ตามการขยายตัวของเครื่องชี้ในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ รวมทั้งยอดจำหน่ายยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพลังงาน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนบ้างแล้วแม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และการลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เริ่มมีการนำ เข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

ความคิดเห็นของดิฉันที่วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทย

จากที่ได้ศึกษาการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศจากข้อมูลของบุคคลอื่นนั้น ดิฉันมีความคิดเห็นตรงกันหลายอย่างอาทิเช่น อัตราการว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตกาลน้ำท่วมที่เกิดตอนปลายปี มีปัญหาในด้านการขนส่งสินค้าและการคมนาคมในพื้นที่ที่เกิดประสบภัยทำให้มีการเสียหายเป็นอย่างมาก และยังมีการขาดแคลนในสินค้าอุปโภค บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเกิดจากการกักตุนอาหารหารไว้จึงทำให้ตลาดขาดแคลนอาหาร และยังทำให้ราคาสินค้าแพงมากกว่าเดิมแต่เมื่อผ่านพ้นจากวิกฤตกาลน้ำท่วมมานั้นประเทศได้มีการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจในด้านต่างๆ และยังมีการจัดหางานให้ผู้ที่ตกงานนั้นได้ไปสมัครด้วยโครงการที่ว่า งานหาคน คนหางาน ที่รายการ 30 ยังแจ๋ว ได้ออกประชาสัมพันธ์ในสถานีช่อง3 นั้นเป็นต้น และในด้านเกษตรนั้นจากการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนั้นทำให้นักวิจัยพันธ์ข้าวขององค์กรหลายแห่งนั้นได้คิดค้นพันธ์ข้าวที่มีความคงทนต่อสภาพน้ำโดยที่แช่น้ำได้เป็นเดือนหรือหลายๆเดือนนั้นได้โดยไม่ตาย จากวิกฤตกาลที่ประเทศไทยได้รับจากน้ำท่วมนั้นประเทศไทยได้มีการป้องกันปัญหา เพื่อที่จะได้ไม่เกิดซ้ำอีก และเพื่อที่จะไม่เกิดผลกระทบต่อทางด้านระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะทำให้ประเทศอื่นที่สนใจในการลงทุนในประเทศมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุน

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปีพ.ศ 2554-2555

ยุคปัจจุบันเป็นยุคของเศรษฐกิจนโยบาย โดยมีการนำนโยบายเศรษฐกิจมาใช้ชักนำเศรษฐกิจจนกระทั่งระบบเศรษฐกิจไม่สามารถจะดำเนินได้ตามวัฎจักร ในการนี้ผู้ใช้นโยบายเศรษฐกิจจะเข้าแทรกแซงมือที่มองไม่เห็น (Invisible Hands) ทั้ง 4 ของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ย (2) อัตราแลกเปลี่ยน (3) อัตราเงินเฟ้อ และ (4)อัตราค่าจ้าง ดังนั้นแทนที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุถึงการเติบโตที่ยั่งยืน ผู้ใช้นโยบายเศรษฐกิจจะเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ต้องการ การกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ยากต่อการทำนายแนวโน้มของเศรษฐกิจ ยังเพิ่มความเสี่ยงของเศรษฐกิจต่อการผันผวนของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (Internal and External Shocks) เนื่องจากระบบเศรษฐกิจขาดความเสถียร ที่สำคัญคือทำให้ประชาชนพึ่งพานโยบายเศรษฐกิจมากเกินไป (Over-Dependence) และไม่สนใจที่จะปรับการบริโภคและการผลิตให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของเศรษฐกิจ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านค

การประมาณเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ยึดตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะมีอัตราการขยายตัวติดลบ 4.7% เหตุผลหลัก คือ การหดหายไปของการลงทุนภาคเอกชนซึ่งไม่สามารถกระทำได้ในช่วงมหาอุทกภัย แต่การประมาณการนี้อาจจะเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะหากนำตัวเลขด้านการผลิตมาพิจารณาที่ภาคอุตสาหกรรมผลิตลดลงกว่า 30% และภาคการเกษตรเสียหายเกือบ 10% ทำให้ GDP ในไตรมาสดังกล่าวมีโอกาสที่จะติดลบกว่า 10% ได้

ปัจจัยบวก

•ระบบการเงินมีสภาพคล่องเกินความจำเป็น (Liquidity Overhang) ทำให้ธนาคารพาณิชย์กับแข่งขันในการปล่อยสินเชื่อ

•อัตราเงินเฟ้อที่เริ่มทรงตัว

•อัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ

•การมีรัฐบาลทำให้การใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุลมีการกลับนำมาใช้อย่างเต็มที่

ปัจจัยลบ

•สิ้นสุดช่วงของ Pent-Up Demand

•สิ้นสุดช่วงของการสะสมสินค้าคงคลัง (Re-Stocking)

•อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยง

•การไหลกลับของเงินทุน (Reversal of Capital Flows) จากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป

•การไม่สามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลตามที่สัญญาไว้ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง

แนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2555

เศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะถูกกระทบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ (1) เหตุการณ์มหาอุทกภัยในปลายปี 2554 ซึ่งกระทบฐานการผลิตของประเทศอย่างรุนแรง (2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระทบทั้งการส่งออกและการไหลเข้าของเงินทุน และ (3) นโยบายรัฐบาลที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนที่จะระดมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมาก สำนักวิจัยเศรษฐกิจทั่วไปคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เป็นอย่างดีเนื่องจากปัจจัยที่ 3 กล่าวคือ รัฐบาลได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง อาทิเช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยในอนาคต การประกันราคาพืชผล และการปรับขึ้นค่าครองชีพของข้าราชการ นอกจากนี้ นโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงให้เป็นวันละ 300 บาท ก็จะกระตุ้นกำลังซื้อภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่งด้วย โครงการทั้งหลายเหล่านี้คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อการขยายตัวของ GDP ซึ่งหากดูจากสูตรการคำนวณGDP (Expenditure Approach) ข้างล่างนี้

GDP = C + I + G + X – M

ปัจจัยที่ 3 ดังกล่าวจะกระทบ I (Investment) โดยเฉพาะผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล G (Government) ผ่านการปรับขึ้นค่าครองชีพของข้าราชการ และ C (Consumption) ซึ่งจะมาจากทั้งข้าราชการที่ได้รับการปรับขึ้นค่าครองชีพและเอกชนที่ได้รับการปรับขึ้นค่าแรง จึงไม่แปลกใจที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจทั้งหลายจะประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2555 ที่ 4.5 –5.0%

หากแต่ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่อาจจะไม่ตระหนักว่าเศรษฐกิจมีขีดจำกัด นั่นก็คือความสามารถในการผลิตของประเทศ โดยดูได้จากสูตรข้างล่าง ซึ่งก็เป็นการคำนวณ GDP (Production Approach) อีกวิธีหนึ่ง[1]:

GDP = ผลผลิตด้านการเกษตร + ผลผลิตด้านอุตสาหกรรม + ผลผลิตด้านบริการ

โดยหลักทฏษฎีเศรษฐศาสตร์แล้ว หากประเทศมีปัญหาในด้านกำลังการผลิต C+I+G ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลจะถูกชดเชยด้วย M หรือการนำเข้า ด้วยประเทศไม่มีผลผลิตพอเพียงมารองรับการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้

C + I + G – M = Zero

กล่าวคือไม่มีการขยายตัวของ GDP ใดๆ เลย ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำปัจจัยที่ 1 กล่าวคือผลกระทบของเหตุการณ์มหาอุทกภัยมาพิจารณาร่วมด้วย

ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นการต่อสู้ของปัจจัยบวกคือการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งเชื่อได้ว่ารัฐบาลตั้งใจจะใช้เม็ดเงินจำนวนมาก โดยจะได้จากออกพระราชกำหนดและการออกแนวคิดหลายอย่างเพื่อลดภาระหนี้ของรัฐบาลทางกฎหมาย (รวมทั้งการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ทั้งนี้เพื่อปูทางให้รัฐบาลสามารถใช้เม็ดเงินได้เต็มที่ และปัจจัยลบคือ ฐานการผลิตที่เสียหายจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงเรื่อยๆ

การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไม่คำนึงถึงผลกระทบระยะยาวนำมาสู่ความเสี่ยงของตลาดการเงินที่อาจจะมี Crowding Out Effects ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นและมีการขาดดุลการค้าในระดับที่สูง นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นเช่น การปรับขึ้นค่าแรง ในภาวะที่สภาพคล่องหายากและเงินเฟ้อ อาจจะมีผลกระทบเชิงลบที่คาดไม่ถึงต่อการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน

หากปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายไม่เกิดขึ้น คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2555 จะอยู่ที่ 2.4% ซึ่งจะต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดหมายราว 5.0% ด้วย Supply จะยังเป็นปัญหาหนักในไตรมาสที่ 1 และต่อเนื่องบ้างสู่ไตรมาสที่ 2

ปัจจัยบวก

•สภาพคล่องของประเทศในครึ่งแรกยังมีเหลือมาก ทำให้สามารถจะรองรับการขยายตัวของการบริโภคและลงทุน และการก่อหนี้ภาครัฐ

•ธนาคารพาณิชย์มีฐานะทางการเงินที่ดี ทำให้เอื้อต่อการขยายตัวของสินเชื่อ

•คณะกรรมการนโยบายการเงินจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยในครึ่งแรกของปี

•ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากภาวะน้ำท่วม

•รัฐบาลมีความแน่วแน่ที่จะกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบผ่านโครงการต่างๆ

ปัจจัยลบ

•อัตราเงินเฟ้อที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งจากปัญหาด้านการขาดแคลนSupply ความพยายามที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล และการปรับตัวของราคาพลังงาน

•อัตราดอกเบี้ยจะถูกกดดันจากทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการระดมทุนภาครัฐที่จะใช้เม็ดเงินจำนวนมากในปีนี้ ทำให้คาดว่าอย่างน้อยที่สุดจะมีกาปรับเพิ่มอีก 0.5 - 1% โดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี

•อัตราแลกเปลี่ยน ที่อาจจะอ่อนค่าได้ 1 – 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะผลทำให้เกิด Import Inflation ได้

ปัจจัยเสี่ยง

•เศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากว่าจะเกิดการล่มสลายของ Eurozone ทำให้บางประเทศที่มีปัญหาด้านการชำระหนี้ต้องยกเลิกการใช้เงินสกุลยูโร ซึ่งจะนำไปสู่การชะลอตัวเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะต่อประเทศที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

•การผันผวนของเศรษฐกิจโลก จะทำไปสู่การปรับตัวครั้งรุนแรงของระบบทุนโลก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการไหลกลับของเงินทุน

•การหายไปของรายได้จากเหตุการณ์มหาอุทกภัย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านเรือน อาจจะมีผลลบต่อการบริโภคและการลงทุนในครึ่งหลังของปี

•รัฐบาลอาจจะประสบปัญหาการระดมทุนในภาวะสภาพคล่องขาดแคลน และอาจจะนำไปสู่การปรับตัวอย่างรุนแรงของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ

•การใช้จ่ายของรัฐบาลอาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ

•นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ภายในแรงกดดันของสภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย อาจกลับมามีผลเชิงลบเกินความคาดหมายต่อระบบเศรษฐกิจ

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปี 2554 - 2555

ในไตรมาสที่สามของปี 2554 และ 10 เดือนแรกของปี 2554 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 106.92 และ105.73 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ และ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ราคา 110.81ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาเฉลี่ยที่ 77.91 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2553 และ สศช.คาดว่าในปี 2554 และปี 2555 ราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 105 และ 105-110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

ทั้งนี้ หลายหน่วยงานได้ประมาณการราคาน้ำมัน WTI ในปี 2555 โดยหน่วยงานส่วนใหญ่คาดว่าราคาน้ำมัน WTI ในปี 2555 จะสูงกว่ากว่าราคาเฉลี่ยในปี 2554 ยกเว้น Energy Information Administration (EIA)ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าราคาน้ำมัน WTI ปี 2555 จะต่ำกว่าปี 2554 โดยประมาณราคาในปี 2555จะอยู่ที่ 91.13 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล ต่ำกว่าปี 2554 ที่คาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 93.80 ดอลลาร์สรอ. ต่อ บาร์เรล ส่วน Business Monitor International (BMI) คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ในปี2555 จะอยู่ที่ 93.50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่92.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในขณะที่ JP Morgan และ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบWTI ในปี 2555 จะอยู่ที่ 114.0 และ 109 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ทั้งนี้ สศช. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2555 จะอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล

ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มสูงขึ้น ได้แก่ (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (2) ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่ง EIA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 87.06ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2553 เป็น 88.23 และ 89.62 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2554 และปี 2555 ตามลำดับ (3) การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน และ (4) สถานการณ์ความไม่สงบในแอฟริกาเหนือ

สรุป การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของไทยปีพ.ศ 2554-2555

นับตั้งแต่ต้นปี 2554 เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และการขยายตัวของสินเชื่อที่มากเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อหนี้สินและฐานะทางการเงินของระบบธนาคารขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นในเอเชียตกต่ำ ประเทศในกลุ่มเอเชียรวมทั้งประเทศไทยได้รับแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและราคาสินค้าทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น

ต่อมาถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่ประเทศกรีซ ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย เพราะไม่ได้รับเงินกู้จากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และได้ ลุกลามไปสู่ประเทศสมาชิกใหญ่ลำดับที่สาม คือ ประเทศอิตาลี จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทำให้อัตราผลตอบแทนของประเทศกลุ่มอิตาลีและสเปนปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ต่อเนื่องมายังปี 2555 ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่า สหภาพยุโรปจะยังคงอยู่ได้หรือไม่ หรือจะมีการแยกตัวออกไปของบางประเทศอย่างไรหรือไม่ ทำให้ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่และทำให้นักลงทุนหนี้จากสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง (risk off) โดยจะถือหลักทรัพย์ประเภทตลาดเงินระยะสั้นและเงินสด

ทางด้านสหรัฐอเมริกาแม้ว่าจะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจและสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008-2009 ได้ แต่ก็เผชิญกับปัญหาเพดานหนี้ที่จะเกินกำหนดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเองก็ปรับตัวลดลงในช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา จึงมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยจึงมีความผันผวนขึ้นลงค่อนข้างมากตลอดปี 2554 นี้ และแนวโน้มนี้จะยังคงมีต่อเนื่องไปอีก

หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้มีการปรับลดคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกของปี 2554 และปี 2555 ลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย รวมทั้งประเทศไทย ที่ล่าสุด คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยในการประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนได้ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยอ้างลง 0.25% จากร้อยละ 3.50 ลงเหลือ 3.25% จากที่ก่อนหน้านั้น ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมารวม 9 ครั้งด้วยวัตถุประสงค์ในการจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ติดลบ จากคาดการณ์ของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 ดังนั้น การปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จึงเกิดขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์ของตลาด

การปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยสะท้อนถึงความกังวลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมหาอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน-ต้นพฤศจิกายน ที่สร้างความเสียหายต่อระบบการผลิตของประเทศอย่างรุนแรง สภาพัฒน์(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการจัดทำตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ได้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะขยายตัวติดลบ และทำให้เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.5 ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้เพียงร้อยละ 1.8 สำหรับ ปี 2555 นั้น คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเองจะเติบโตได้ประมาณร้อยละ 3.5-4.0 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าแนวโน้มปกติ และนอกจากนี้แล้ว ความเสี่ยงยังจากความไม่แน่นอนของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติหนี้ของยุโรปที่อาจนำไปสู่การปรับตัวหรือปฏิรูปครั้งใหญ่ของสหภาพยุโรปที่มีการพูดกันถึง โอกาสของการแยกตัวของประเทศในสหภาพยุโรป เพื่อให้มีความยืดหยุ่นตัวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติในบางประเทศ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกจะต้องถือปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำของสหภาพยุโรปในสัปดาห์ในการหาข้อยุติในการแก้ไขวิกฤติของยุโรปที่เป็นรูปธรรมและป้องกันการขยายลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างความชัดเจน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลก

จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนดังกล่าว จึงมีแนวโน้มว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยมีแนวโน้มที่อาจจะปรับตัวลดลงไปได้อีกในปีหน้านี้ แต่จะลดลงมากเพียงใดก็คงขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศไทยจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วเพียงใด จึงเป็นปัจจัยท้าทายต่อรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดถึงการใช้นโยบายการเงินการคลังที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้มากน้อยเพียงใด

ข้อคิดเห็น

สำหรับความคิดของของเกี่ยวกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยปี 2554-2555 นั้น ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงปลายปี2554 นั้นเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นภายในประเทศของเรา จึงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านภาคเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมการผลิต และด้านการท่องเที่ยว เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต รับผลกระทบคือโรงงานถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง และระยะเวลายาวนาน จึงทำให้ไม่สามารถ ผลิตสิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งทอ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเพื่อการส่งออกไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้น

ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัยน้ำท่วมภายในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2554 จึงอาจมีผลต่อเนื่องมายังปี 2555 จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าอาจมีราคาแพงขึ้น หรืออัตราดอกเบี้ยที่ยังลดลงเรื่อยๆ หรืออาจเป็นเพราะการใช้จ่ายที่มากในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารบ้านเรือน และรายได้ที่ลดลงของประเทศในระหว่างช่วงมหาอุทกภัย

นายสุเทพ ใจเย็น

54127326074

การเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบทางเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2555

สำหรับครึ่งปีแรกแนวโน้มเงินเฟ้อในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปประเด็นของแนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 โดยสังเขปไว้ดังนี้ :- ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาส 1/2554 และไตรมาส 2/2554 อาจทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรือขยับสูงขึ้นกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 (YoY) โดยผลจากการส่งผ่านแรงกดดันของต้นทุนการผลิต และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นมายังราคาสินค้าผู้บริโภคอาจถูกลดทอนลงบางส่วนจากการคำนวณเทียบกับฐานดัชนีที่สูงในช่วงเดียวกันของปี 2553 ขณะที่ รัฐบาลได้ขยายอายุมาตรการบรรเทาค่าครองชีพออกไป พร้อมกับเข้าดูแลราคาน้ำมันดีเซลในประเทศอย่างไรก็ดี คาดว่า ราคาสินค้าอาจขยับขึ้นในลักษณะเดือนต่อเดือน (Month on Month) ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาน้ำมันและราคาอาหารสำเร็จรูปยังคงรักษาทิศทางการปรับสูงขึ้นไว้ได้ต่อเนื่อง

แนวโน้มของเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากภาวะอุทกภัยที่เริ่มจากพายุโซนร้อนนกเต็น (Nock-Ten) ที่กระหน่ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปลายเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงในภูมิภาคดังกล่าว จากนั้นประเทศไทยก็ประสบภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง มีผลให้เกิดสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงและปริมาณมวลน้ำจำนวนมากในภาคเหนือได้ไหลเข้าท่วมภาคกลางของประเทศในเดือนกันยายนและตุลาคม ซึ่ง ณ ขณะนี้มีแนวโน้มสูงมากที่จะมวลน้ำจะเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

ผลกระทบโดยตรงของอุทกภัยครั้งนี้จะอยู่ในไตรมาสที่ 4 ที่คาดว่าจะทำให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสนี้มีอัตราขยายตัวติดลบ 2.0% (ตารางที่ 1) เนื่องจากผลผลิตภาคการเกษตรประมาณการว่าจะลดลงประมาณ 8% ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะลดลงกว่า 10% ซึ่งกระทบทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศโดยตรง

ภาพเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ได้รับผลดีจากการเมืองที่กลับเข้าสู่เสถียรภาพและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ทำให้ประชาชนเร่งการบริโภคสินค้าคงทนที่ได้เลื่อนการบริโภคจากไตรมาสก่อนหน้า ผลคืออัตราเงินเฟ้อในไตรมาสนี้เพิ่มไปอยู่ที่ 4.29% ในเดือนสิงหาคม และมีการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี ความไม่มั่นใจในทิศทางของเศรษฐกิจโลก มีผลให้การลงทุนและการสะสมสินค้าคงคลังชะลอตัวลง ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้คาดว่าจะขยายตัวที่ 4.4

ปัจจัยบวก

-การเมืองกลับคืนสู่สถียรภาพ ด้วยพรรคเพื่อไทยได้เสียงจำนวนมากและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยสะดวกและ

-รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีนโยบายประชานิยมที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างชัดเจน

-การส่งออกสามารถขยายตัวได้ในอัตราที่สูงมาก โดยในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมมีการขยายตัวของการส่งออก(เชิงมูลค่า)เพิ่มขึ้น 36.4% และ 28.4% ตามลำดับ ถึงแม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอย่างต่อเนื่อง แต่สภาพคล่องในระบบที่ยังมีอยู่เหลือเฝือ ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงตลอดเวลา โดยในเดือนสิงหาคมมีอัตราการขยายตัว17.2% อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวอยู่ราว 4.0% ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริโภค

ปัจจัยลบ

ความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป มีผลโดยตรงต่อตลาดทุนและการตัดสินใจในการลงทุนของเอกชน โดยที่ Private Investment Index ขยายตัวลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 7.7% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และขยายตัวคงนี้ในระดับดังกล่าวในไตรมาสที่

แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากอุทกภัยที่เริ่มต้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลลงมาสู่ภาคกลางและกรุงเทพมหานครในไตรมาสนี้ ภาวะน้ำท่วมนอกจากทำลายการผลิตภาคการเกษตรอย่างสิ้นเชิงในพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากเป็นการท่วมที่ต่อเนื่องยาวนาน ยังกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงในภาคกลางและกรุงเทพมหานครด้วย คาดว่าปริมาณการผลิตของประเทศจะลดลงเฉลี่ยราว 10% ส่งผลให้การขยายตัวของ GDP ติดลบ 2.0% ในไตรมาสนี้

นอกจากการหดตัวของเศรษฐกิจซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้จะเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้ออีกเนื่องจากผลผลิตลดลง หากแต่สภาวะน้ำท่วมก็จะทำให้การบริโภคลดลงเช่นกัน ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยอมรับได้และน่าจะไม่เป็นปัญหามาก โดยคาดว่าอาจจะเพิ่มสูงขี้นอีกราว 2% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมปริมาณสินค้าที่เข้าสู่ตลาดของรัฐบาล ในขณะเดียวกันดุลการค้ามีแนวโน้มที่จะติดลบเนื่องจากไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกได้ อีกทั้งระบบการขนส่งในประเทศเสียหาย การส่งออกที่ลดลงจำนวนมาก ประกอบกับ การชะลอตัวของการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวได้อีก 5 – 10% ไปอยู่ที่ 32.50 – 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายปี

ปัจจัยบวก

-การเมืองที่มีเสถียรภาพทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการควบคุมความเสียหายจากอุทกภัย การขาดแคลนสินค้า และการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้า คาดว่ารัฐบาลจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากมายหลายด้านเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งในขณะที่เกิดอุทกภัยและหลังจากนั้น โดยเฉพาะนโยบายขยายสินเชื่อจากธนาคารของรัฐ สภาพคล่องส่วนเกินในระบบ (Liquidity Overhang) จะยังทำให้เกิดภาวะการแข่งขันปล่อยสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะยังไม่มีการปรับตัวในไตรมาสนี้

ปัจจัยลบ

-ความเสียหายของฐานการผลิตรุนแรงกว่าที่คาด ทำให้เกิดภาวะ “ข้าวยากหมากแพง” ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค หากไม่มีการบริหารที่ดีจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในแนวโน้มเศรษฐกิจและส่งผลให้มีการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนเกินความจำเป็น

-การเร่งขยายสินเชื่อจากธนาคารของรัฐและการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล จะส่งผลให้มีการแย่งสภาพคล่องทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเพิ่มขึ้น

-การอ่อนตัวของค่าเงินบาทจากการส่งออกที่ลดลงจะทำให้ขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อผ่าน Import Inflation

ปัจจัยเสี่ยง

-การว่างงานหลายแสนอัตราจากโรงงานที่ต้องปิดตัวไปในระหว่างภาวะน้ำท่วมและปิดตัวเพื่อซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักร พร้อมกับใช้เวลาในการสะสมสินค้าวัตถุดิบเพื่อทดแทนวัตถุดิบที่เสียหาย จะเป็นแรงกดดันทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

-เศรษฐกิจโลกที่ยังขาดความมั่นคงจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่พร้อมที่จะปะทุขึ้นมาทุกขณะ

จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2554 ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555

เนื่องจากเกิดเหตุอุทกภัยและปัญหาเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกคือ”การส่งออกจะชะลอตัวลงถึงไตรมาส 1 ปี 2555 ที่คาดว่าจะขยายตัว 5-10%"

นายธนิต กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 ยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก โดยจะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยที่ได้รับปัญหาน้ำท่วมที่กระทบการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตร รวมทั้งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อความต้องการสินค้าในตลาดโลก ซึ่งปัญหาการเงินในสหภาพยุโรป (อียู) ยังมีปัญหาต่อเนื่องไปถึงกลางปีหน้าเป็นอย่างน้อย และปัญหาการว่างงานในสหรัฐที่สูงขึ้นจะมีผลต่อความต้องการสินค้าและอาจกระทบต่อการส่งออกไทย เขากล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยจะทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น และการขาดดุลงบประมาณ 2555-2556 อาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือด้านการคลังของประเทศ

(สศช.) กล่าวว่า น้ำท่วมครั้งนี้กระทบกับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาก แต่เมื่อมองเศรษฐกิจมหภาคพบว่าไม่กระทบรุนแรง เพราะยังมีโรงงานที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ สศช.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 1.5% ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 3.8% ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2555 จะได้รับแรงสนับสนุนจากงบประมาณรัฐที่ลงทุนเพื่อฟื้นฟูประเทศ และยังเชื่อว่าการลงทุนภาคเอกชนก็ยังขยายตัว เพราะคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 เพิ่มขึ้น ซึ่งคำขอที่ยื่นมาในปีนี้อย่างช้าก็จะเริ่มลงทุนได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 และเศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 2555-2556

นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2555 มีโอกาสขยายตัวได้ 4-5% ได้ โดยรัฐบาลจะต้องบริหารเศรษฐกิจปี 2555 ให้ดีและต้องมีการอัดฉีดงบประมาณเข้าสู่ระบบ ซึ่งการลงทุนภาครัฐจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเพราะการลงทุนภาคเอกชนคงพึ่งมากไม่ได้

จากการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554 ข้างต้น ดิฉันคิดว่าปัญหาหลักในช่วงไตรมาสแรกของปีคือ ปัญหาด้านภาวะเงินเฟ้อโดยผลจากการส่งผ่านแรงกดดันของต้นทุนการผลิต และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นมายังราคาสินค้าค่ะ ปัญหาหลักในช่วงไตรมาสหลังของปีคือภาวะน้ำท่วมและภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากต่างฝ่ายต่างไม่สามัคคีกัน ทำให้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมบางปลายจนกระทั้งส่งผลต่อเศรษฐกิจ ต่างชาติไม่เชื่อมั่นและไม่กล้ามาลงทุน เพราะไม่ไว้ใจว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพหรือไม่

ส่วนเศรษฐกิจในปี 2555 คิดฉันคิดว่าน่าจะดีขึ้นค่ะ เพราะรัฐบาลมีการปรับขึ้นเงินเดือน มีการส่งเสริมการลงทุน ตลอกจนโครงการต่างๆ และเรื่องที่น่าห่วงสำหรับปี 2555 เรื่องน้ำท่วมถ้ารัฐบาลยังไม่มีการจัดการดูแลที่ดี ผลกระทบเรื่องน้ำท่วมจะใหญ่หลวงกว่าที่ผ่านมาแน่ จากข่าวที่เห็นในเรื่องของนักลงทุนเริ่มที่จะย้ายฐานลงทุนไปที่ประเทศเพื่อนบ้านแล้ว

นางสาว วนิดา เกียรติเฉลิมคุณ

การเงินการธนาคาร 02

54127326066

ภาวะเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2554

ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนในทุกภาคเศรษฐกิจหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อชะลอลง อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไป ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทยรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้ปัญหาการขนส่งและการเดินทางที่กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าและชิ้นส่วนการผลิตที่บรรเทาลงหลังน้ำลด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้จะหดตัวร้อยละ 25.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 47.2 โดยปรับดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น และทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ52.3 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 40.5 การฟื้นตัวของภาคการผลิตดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกเริ่มฟื้นตัวตาม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาผลิตได้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องยังทำให้การส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆชะลอลง อาทิ อาหารพร้อมปรุง รวมทั้งการส่งออกข้าวยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ แม้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวเป็นลำดับและกลับเป็นปกติ

ในช่วงกลางปี 2555

ผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวร้อยละ4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังคงเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ในภาคการผลิตยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนสำ หรับอุปสงค์ใน ประเทศเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับภาคการผลิต การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อน (%mom, sa)ตามการขยายตัวของเครื่องชี้ในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ รวมทั้งยอดจำหน่ายยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพลังงาน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนบ้างแล้วแม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และการลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เริ่มมีการนำ เข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

ความคิดเห็นของดิฉันที่วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทย

จากที่ได้ศึกษาการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศจากข้อมูลของบุคคลอื่นนั้น ดิฉันมีความคิดเห็นตรงกันหลายอย่างอาทิเช่น อัตราการว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตกาลน้ำท่วมที่เกิดตอนปลายปี มีปัญหาในด้านการขนส่งสินค้าและการคมนาคมในพื้นที่ที่เกิดประสบภัยทำให้มีการเสียหายเป็นอย่างมาก และยังมีการขาดแคลนในสินค้าอุปโภค บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเกิดจากการกักตุนอาหารหารไว้จึงทำให้ตลาดขาดแคลนอาหาร และยังทำให้ราคาสินค้าแพงมากกว่าเดิมแต่เมื่อผ่านพ้นจากวิกฤตกาลน้ำท่วมมานั้นประเทศได้มีการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจในด้านต่างๆ และยังมีการจัดหางานให้ผู้ที่ตกงานนั้นได้ไปสมัครด้วยโครงการที่ว่า งานหาคน คนหางาน ที่รายการ 30 ยังแจ๋ว ได้ออกประชาสัมพันธ์ในสถานีช่อง3 นั้นเป็นต้น และในด้านเกษตรนั้นจากการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนั้นทำให้นักวิจัยพันธ์ข้าวขององค์กรหลายแห่งนั้นได้คิดค้นพันธ์ข้าวที่มีความคงทนต่อสภาพน้ำโดยที่แช่น้ำได้เป็นเดือนหรือหลายๆเดือนนั้นได้โดยไม่ตาย จากวิกฤตกาลที่ประเทศไทยได้รับจากน้ำท่วมนั้นประเทศไทยได้มีการป้องกันปัญหา เพื่อที่จะได้ไม่เกิดซ้ำอีก และเพื่อที่จะไม่เกิดผลกระทบต่อทางด้านระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะทำให้ประเทศอื่นที่สนใจในการลงทุนในประเทศมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุน

หากย้อนไปดูสถานการณ์เงินเฟ้อในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปัจจัยแรกที่ต้องนำมาเชื่อมโยงก็คือเศรษฐกิจภาพรวมภายในประเทศซึ่งมีแนวโน้มความต้องการสินค้าบริการเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่สองเห็นจะได้แก่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยทิศทางของตลาดทั่วโลก สินค้าโภคภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เป็นไปตามสภาพในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็เป็นเรื่องราคาน้ำมัน ปัจจัยที่สาม ปัญหาสภาพคล่อง ว่าสภาพคล่องมีอยู่มากมายในระบบเศรษฐกิจของโลก ตรงนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต้องเร่งตัวขึ้น ส่วนปัจจัยที่สี่ ข้อนี้ยังมีความสำคัญไม่น้อย เรื่องราคาอาหารคงต้องปรับตัวขึ้นตามพิษภัยของวิกฤตทางธรรมชาติ ดัชนีราคาอาหารในตลาดโลกปรับขึ้นแล้ว เนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยซึ่งเร่งให้เงินเฟ้อต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่มีข้อน่าสังเกตว่าปัจจัย 3 ใน 4 นั้นเป็นปัจจัยภายนอก อาจจะยากและเหนือการควบคุม ฉะนั้นถ้าหากผู้รับผิดชอบไม่มีวิธีลดแรงกดดันก็คาดหมายได้ถึง “ปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศจะต้องเป็นผลติดตามมาแน่นอน”

เมื่อทิศทางของเงินเฟ้อต้องเป็นไปเช่นนั้น เราก็สามารถประเมินได้ทันทีว่าแรงกดดันเงินเฟ้อย่อมมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใน พ.ศ. 2554 จะต้องเร่งขึ้น ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายจะใช้วิธีส่งผ่านภาระต้นทุนไปยังราคาสินค้ามากขึ้น มีเหตุผลที่อ้างจากการอั้นการปรับขึ้นราคามาเป็นเวลานานแล้วระยะหนึ่ง เห็นชัดสำหรับต้นทุนของวัตถุดิบที่ต้องสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ยังอาจบวกต้นทุนค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเข้าไปด้วยก็ได้

เช่นเมื่อสมัยรัฐบาลชุดที่แล้วก็มีการ อนุมัติให้ขึ้นราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันพืช นี่เป็นเพียงภาพสะท้อนแรกๆที่กำลังเกิดขึ้น รายการอาหารสดอีกหลายหมวดหมู่จะเดินพาเหรดปิดป้ายราคาใหม่ สภาพปัญหาเงินเฟ้อน่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงขวบปี 2555

สิ่งที่เป็น “ปัจจัยเสี่ยง” ตรงนั้นก็สามารถบังเกิดอะไรขึ้นมาได้เสมอ โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งเห็นจะไว้วางใจอะไรได้ไม่เต็มที่ ยังมีปัญหาที่แทรกซ้อนในเรื่องของการเมือง การประท้วงเรียกร้องและต่อต้านรัฐบาลที่อาจดำเนินไปในหลายหัวข้อ ปัจจัยเหล่านี้จะกระทบไปถึง “เสถียรภาพของรัฐบาล”

แม้กระทั่งปัญหาคอร์รัปชันที่ซ้ำเติมเข้ามาในช่วงจังหวะที่เกิดเงินเฟ้อ กลายเป็นผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเข้าไปอีกด้าน ตัวอย่างการเพิ่มราคาน้ำมันพืช ความจริงควรสะท้อนมาจากต้นทุนที่เป็นจริง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบซึ่งเป็นเหตุผลอยู่เหมือนกัน แต่อีกเบื้องหลังที่สำคัญแล้วได้ผลักดันให้เกิดการปรับราคาพร้อมทั้งเกิดวิกฤตน้ำมันพืชขาดแคลนและแพงเกินควรยังมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับการซ้ำเติมสถานการณ์โดยปัญหาคอร์รัปชัน

ด้วยเหตุและผลในการจัดการบริหาร สำหรับปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องรักษาความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องใช้นโยบายการเงินกับการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา...นี่เป็นการกล่าวถึงในภาพรวมและวิธีการที่ถือเป็นสูตรสำเร็จทั่วไป แต่เมื่อถึงภาคปฏิบัติแล้วยังมีปัจจัยที่ซับซ้อนคอยเบียดตัวแทรกเข้ามาเป็นความเสี่ยงที่คาดหมายได้ยากอยู่เหมือนกัน

ในหมวดหมู่ “สินค้า” โดยเฉพาะประเภทอาหารสดที่เราคาดหมายได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2554 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อก็ทุกข์ระทมพอสมควร หากซ้ำเติมเข้าด้วยการบริหารจัดการที่ผิดพลาด การฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากช่องว่างของความย่ำแย่ พูดตรงๆก็คือการทุจริตคอร์รัปชันและฉวยโอกาสจากความทุกข์ยากของประชาชน สิ่งเหล่านี้จะยิ่งซ้ำเติมจนมีโอกาสเกินขีดจำกัดของผู้บริโภคที่จะแบกรับเอาไว้...อะไรก็เกิดขึ้นได้

เงินเฟ้อเป็นผลร้ายที่กระทบโดยตรงต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ ราคาสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า “การเพิ่มขึ้นของรายได้” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รายได้ที่แท้จริงลดลง เห็นได้ชัดเจนในกลุ่มมนุษย์เงินเดือนซึ่งไม่มีเงินงอกเงยในทางอื่นออกมา จำต้องเฝ้ารออย่างเดียวจนกว่าจะถึงสิ้นเดือน เราอาจเคยเห็นเสียงเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนทุกครั้งเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น นี่เป็นภาพสะท้อนที่เงินเฟ้อได้ส่งผลต่อระดับราคาโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าวปลาอาหารหรือปัจจัยยังชีพอื่นๆให้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเงินเฟ้อยังส่งผลร้ายแรงต่อเงินออมทั้งในรูปหุ้น พันธบัตร เงินฝาก เนื่องจากเงินที่เก็บออมไว้ย่อมเท่ากับมีค่าลดลง ผู้คนเลยเลือกที่จะลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อเก็งกำไร ต้องการเปลี่ยนสภาพหรือเคลื่อนย้ายเงินออมไปให้พ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดดิน หวังให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถรักษามูลค่าเอาไว้ได้ ทั้งนี้ จะเฝ้ารอวันเวลาให้อสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นกลับเป็นเงินทุนในมูลค่าที่มากกว่า หรืออย่างน้อยก็เท่าเดิมโดยไม่ขาดทุน

เงินเฟ้อจึงเป็นปัญหาอย่างแน่นอน ก็ได้แต่หวังว่าคงจะไม่เป็นเงินเฟ้อชนิด Hyper Inflation เพราะถ้ารุนแรงขนาดนั้นราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลงท้ายสินค้าก็จะหายไปจากตลาด สัญญาณแบบนี้หมายถึงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด เป็นสภาวะ Stagflation ย่อมส่งผลกระทบไปทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานปี54 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่ยังกดดันการลงทุนยังคงอยู่ เป็นเรื่องของเงินที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ขณะที่สภาพคล่องในระบบการเงินยังสูง แต่ไม่มีการตัดสินใจที่จะขยายการลงทุน ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นปัญหาต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ น่าจะเป็นเศรษฐกิจปากท้อง ค่าใช้จ่ายของภาคประชาชน และการลงทุนในภาครัฐเพื่อจะเป็นกลไกในการบริหารนโยบายและเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่การเมือง เศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยกดดันการเติบโตของประเทศ สิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า คือเรื่องของการลงทุนภาครัฐ แต่ต้องตรวจสอบคุณภาพโครงการก่อนที่จะอนุมัติเงินลงทุน

ปี54 อัตราเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีก 3-4ครั้ง เศรษฐกิจไทยในปี54 ปัจจัยทาง การเมืองคาดว่าจะนิ่งขึ้น แต่ยังมีเรื่องของปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก อาทิ สหรัฐ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น ที่จะไปคนละทิศละทาง รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อโลกที่แนวโน้มสูงขึ้นชัดเจน ส่งผลให้ราคาอาหารและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้น เห็นได้จากปัจจุบันที่ราคาทองคำและราคาอาหารปรับสูงขึ้นแล้ว ทำให้หลายประเทศมีปัญหาฟองสบู่และเงินเฟ้อตามมา ดังนั้นรัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการลงทุนในสินค้าเกษตรมากขึ้นแต่ต้องเป็นเกษตรที่มีมูลค่าสูง เช่น เกษตรอินทรีย์ หรือสินค้าแปรรูปจากการเกษตร

เศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอลงเล็กน้อย โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งปีจะเติบโต ซึ่งรวมผลที่ได้จากแพ็กเกจประชาวิวัฒน์ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มาก เพราะเป็นโครงการรัฐสวัสดิการ ที่ไม่ได้ผลด้านเศรษฐกิจ แต่จะได้ฐานเสียงเพิ่มขึ้น ในปี54 ไม่ต้องห่วงเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะเอกชนไทยทั้งภาคท่องเที่ยวและการส่งออกมีความแข็งแกร่งอยู่มาก หากรัฐบาลเร่งดำเนินการเพียงการพยายามรักษาเสถียรภาพในเรื่องของต้นทุนทางการเงินต้นทุนพลังงานอย่าให้สูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการเร่งสร้างระบบ โครงสร้างพื้นฐาน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภาคเกษตรของไทยให้โดยเร็ว เพราะแนวโน้มสินค้าเกษตรยังคงไปได้สวย

ในปี54 ปัจจัยที่คาดว่าจะทำ ให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้ ขึ้นอยู่กับฝีมือของรัฐบาลว่าจะสามารถเร่งผลักดันงบประมาณ และลงทุนที่มีอยู่ ไปสู่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ให้เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนได้มากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ ต้องจับตาดูว่าการยุบสภาจะเกิดขึ้นในช่วงใด หากเป็นช่วงต้นปีจะไม่ส่งผลดี

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี54 แม้ว่าจะชะลอตัวลง แต่มองว่าการบริโภค จะขยายตัวได้ดีอยู่ ขณะที่ภาคเอกชนเริ่มปรับตัวรับมือในการทำธุรกิจมากขึ้น ด้านการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว

ส่วนปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจจากต่างประเทศ ยังต้องคอยระมัดระวัง แต่มองว่าปัญหาต่างๆ จะทรงตัวจากปี53 ทั้งเรื่องเงินทุนไหลเข้า อัตรา แลกเปลี่ยนของไทย และราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัญหาทั้งโลกไม่ได้มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจในปี54

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาวะเศรษฐกิจโลกมากกว่าเศรษฐกิจใน นั่นหมายความว่า เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจโลกเกิดความผันผวน... เมื่อไหร่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในต่างประเทศเช่น สงครามหรือเหตุการณ์ก่อการร้าย.... เมื่อไหร่ที่ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างผิดปกติ.... ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบตามไปด้วยในทันที

ดังนั้น หากถามถึง “มุมมองของเศรษฐกิจไทยในปี 2555” โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยในปี 2555 น่าจะมีแนวโน้มที่ขยายตัวได้ดีกว่าปี 2554 เพราะมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องจับตามองในปี 2555 อยู่ 3 ปัจจัยสำคัญด้วยกัน

ปัจจัยแรก คือ ความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐและของสหภาพยุโรป ที่จะส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย

ในปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด จำนวนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศทั้ง 2 ยังมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 31 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด หากตลาดทั้งสองยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วภายในปีนี้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย จากกำลังซื้อ กำลังการลงทุน ที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย กลับมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวได้ดีในปีนี้ จึงน่าจะช่วยทำให้การส่งออกของไทย สามารถขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าไว้

ปัจจัยที่สอง คือ ความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งจะเกิดขึ้นจากกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี หากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนตัวลง ก็น่าจะสร้างปัจจัยบวกให้กับการส่งออกของประเทศ ก็จะเป็นการเพิ่มความได้เปรียบทางการค้าของไทยได้

ปัจจัยสุดท้าย เป็นความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ทั้งจากพายุฝนและสภาพอากาศที่แปรปรวน อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตโดยเฉพาะในภาคเกษตร ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการวางแนวทางการป้องกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน โดยมีแผนเตรียมกู้เงินเพื่อลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำทั้งระบบในวงเงินเบื้องต้น 350,000 ล้านบาท

การที่ไทยต้องพึ่งพาเศรษฐกิจต่างประเทศ บวกกับปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้ว ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก “

การบริโภคภายในประเทศ น่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่าช่วงปลายปี 2554 เนื่องจากระดับการจ้างงานจะคืนสู่ภาวะปกติ ประกอบกับนโยบายต่างๆ ของภาครัฐจะเริ่มส่งผลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของแรงงาน การเพิ่มเงินเดือนข้าราชการปริญญาตรี 15,000 บาท รวมถึงมาตรการรับจำนำพืชผลการเกษตรที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และจะเป็นผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอย ในระบบเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ รัฐบาลจะเร่งใช้กองทุนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นแล้ว เช่น กองทุนหมู่บ้าน เงิน SML รวมถึงกองทุนที่จะตั้งขึ้นใหม่ เช่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในระดับชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

กล่าวโดยสรุป ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยปี 2555 แม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ โดยมีนโยบายของรัฐบาลเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังแข็งแกร่งและสามารถรองรับความผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 178 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่ามีความมั่นคงมาก

สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย คาดว่าจะปรับเพิ่มไม่มากนักจาก

อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ อัตราการว่างงานยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ

ดิฉันจึงมั่นใจว่า การดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวทางต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว บวกกับพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 กลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่จะกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่หลังประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังจากน้ำท่วมผ่านโครงการทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามที่ กยอ. และ กยน. เสนอ ซึ่งสามารถลงทุนได้ทันทีภายหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายฯ มีผลบังคับใช้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของประเทศในปี 2555 นี้ สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน 54127326065 การเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดกลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปี พ.ศ.2554 - ปี พ.ศ.2555

ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2554

ตามปกติในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี ผู้ประกอบการทั้งหลายมักจะต้องเตรียมวางแผนธุรกิจ หรือวางแผนงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานในปี2555 ดังนั้น ในช่วงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการที่ทำนายเศรษฐกิจมักจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี2555 ในเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไร เศรษฐกิจไทยก็คงจะขยายตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 4.5 ถึง 5.5 ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปี2554

แต่หากมองในรายละเอียด คิดว่าการขยายตัวปี2554กับปี2555 จะมีภาพที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี2555จะไม่ใช่มาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีมากในปี2554 เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยเราส่วนใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงในปี2555

ขณะที่วงจรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก (ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก) ก็น่าจะเริ่มเปลี่ยนเป็นช่วงขาลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพึ่งการส่งออกให้เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี2555 คงเป็นไปได้ยาก

เศรษฐกิจไทยในปี2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปี2554การใช้จ่ายภาคเอกชน จะขยายตัวไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

แต่ในปี2555ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ น่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อในปี2555น่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตาม demand ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง และเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คงไม่น่าที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก

ในทางตรงข้าม มองว่าในปี2555 อัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสปรับลดลงได้บ้าง ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาก และประเทศคู่ค้าแข่งกันปรับลดดอกเบี้ยลง

นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเดือน สองเดือนแล้ว

ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวแปรสำคัญๆ ในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในปี2555อีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การใช้จ่ายของภาคสาธารณะ แม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP จะมีขนาดไม่ใหญ่นัก และคงจะไม่สามารถทดแทนการส่งออก ที่มีสัดส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 67 ของ GDP แต่ การใช้จ่ายภาคสาธารณะ (ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้พลิกฟื้นกลับ กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรจะรีบสร้างความชัดเจนในส่วนแผนการลงทุนภาครัฐให้เร็วที่สุด ภาคเอกชนเขาจะได้วางแผนการผลิตรองรับได้ทันเวลา

สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี2555 คิดว่าประเทศไทยเราไม่น่าห่วงอะไร เพราะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมากไม่ถึง 2% หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 50%

ขณะที่เสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 เท่า

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการสรุปทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2555

แนวโน้มเศรษฐกิจปี2555มีแนวโน้มอย่างไรนั้น มีหลายหน่วยงานได้ประเมินและเสนอรายงานการวิเคราะห์ออกมา จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ซึ่งมุมมองของเศรษฐกิจไทยปี2555มีดังนี้

ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2555

หากพิจารณาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2555 เราจะพบว่า ปัจจัยบวกที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2555 ได้แก่

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้นในปีข้างหน้า เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัว เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 0.9 (จากหดตัว ร้อยละ -0.2) ญี่ปุ่น ขยายตัว ร้อยละ 1.2 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 0.6 ไตรมาสก่อน ส่วนจีนนั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างร้อนแรง โดยในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวถึงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ส่วนปัจจัยด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่

สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพ จากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ จะเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อภาคเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยวในปี 2555

อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น เนื่องจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มเกินดุลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่าการนำเข้า ประกอบกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก รัฐบาลช่วยเรื่องภาษีน้ำมัน อุปสงค์ต่อน้ำมันจะเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนบางส่วนลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและหันมาถือครองสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำและน้ำมัน เพื่อการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2555

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวทำให้อุปสงค์ในการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นตาม ประกอบกับต้นทุนการผลิต เช่น วัตถุดิบ และน้ำมันดิบที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น

การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่ส่งผลหักล้างกัน โดยปัจจัยบวกเห็นได้จากดัชนีด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอีก ทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น หรือการจัดเก็บภาษีมูลค่าที่ขยายตัวขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้การว่างงานที่เริ่มลดลงและมาตรการช่วยเหลือของรัฐ เช่น การแก้หนี้นอกระบบ หรือ การประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น ที่ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่วนปัจจัยลบที่ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ได้แก่ แนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจะมีผลมากกว่า ซึ่งจะมีผลทำให้การบริโภคภาคเอกชนในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2554

การลงทุนภาคเอกชนจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นและแรงมีผลักจากนโยบายของรัฐบาลในโครงการไทยเข้มแข็ง แต่ยังมีปัจจัยด้านลบที่กระทบต่อการลงทุน นั่นคือ ปัจจัยทางการเมือง แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและปัญหามาบตาพุดที่ยังคงต้องรับการแก้ไข

การส่งออกขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ค่อยฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะแข็งค่าขึ้น แต่เป็นการแข็งค่าขึ้นที่เกาะกลุ่มกับภูมิภาค จึงไม่กระทบการส่งออกมากนัก

เศรษฐกิจปี 2555 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552 เนื่องจาก การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นจากวิกฤติเมื่อปีที่ผ่านมา ประกอบกับการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าอาจมีปัจจัยเรื่องการเมือง รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาฉุดการบริโภคและการส่งออกบ้างก็ตาม

สรุปและข้อเสนอแนะการจัดการเศรษฐกิจปี 2555

ในระยะสั้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนการผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้น เช่น การสนับสนุนการนำเข้าเครื่องจักรใหม่เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต หรือการผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ระบบขนส่งมวลชน ระบบน้ำ ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น เนื่องจากการก่อสร้างโครงการเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการจ้างงานอย่างต่อเนื่องด้วย

นอกจากนี้ยังควรร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการส่งออกต้องได้รับผลกระทบมากนัก เช่น การพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนระยะสั้นอย่างเจาะจงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในภาพรวม เป็นต้น

ในระยะยาว ประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซโซฮอล์เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้น จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและตลาดทุน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมีความสามารถในการปรับตัวต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

ดิฉันจึงคิดว่า เรื่องเงินเฟ้อเป็นปัญหาเรื้อรังจึงอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินนโยบายการเงินให้นำเรื่องราคาอาหารและน้ำมันเข้ามาพิจารณาด้วย โดยเน้นดูเงินเฟ้อทั่วไปแทนการดูเงินเฟ้อพื้นฐาน เพราะขณะนี้เหลือเพียงประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ยังคงใช้เงินเฟ้อพื้นฐาน(ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน)ในการพิจารณานโยบายการเงิน และการคาดการณ์เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นนั้น ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามด้วย

ข้อดีของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่มีการรวมราคาอาหารสด และราคาพลังงาน เข้ามาคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเข้าใจได้ง่ายและสามารถสะท้อนความเป็นอยู่ที่แท้จริงได้ดี ขณะเดียวกันการใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็มีข้อเสียคือ ราคาอาหารสด และราคาพลังงานจะมีความผันผวนค่อนข้างมาก หากเกิดปัจจัยสถานการณ์การเมือง หรือเกิดอุทกภัยทางธรรมชาติจนทำลายพืชผลทางการเกษตรเสียหายหรือเกิดโรคระบาด ฯลฯปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยชั่วคราวที่จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเกิดความผันผวนตาม

น.ส.พิมพิกา ขึมจันทร์ รหัสนักศึกษา 54127326084

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัวชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน และจากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออกการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปีสำหรับเสถียรภาต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคงโดยดุลการชำ ระเงินเกินดุล และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดปรับลดลง

ในเดือนธันวาคม 2554 รายได้เกษตรกร

ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 โดยผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าผลผลิตข้าวจะได้รับความเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญชนิดอื่นๆ ยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกเมื่อหลายปีก่อน ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลผลิตของหมวดปศุสัตว์ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกรและไก่ จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากราคายางพาราที่ปรับลดลงต่อเนื่องตามความต้องการผลิตภัณฑ์ยางพาราในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์และ

ชิ้นส่วนที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก รวมทั้งตลาดยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ ยูโร โดยราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญมีความเคลื่อนไหว ดังนี้

1. ข้าว ราคาข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 ซึ่งเป็นราคานอกโครงการรับจำ นำ มีราคาเฉลี่ยตันละ10,322 บาท ทรงตัวในระดับสูงและเพิ่มขึ้นร้อยละ22.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติจากอุทกภัยที่สร้างความเสียหายในพื้นที่เพาะปลูกในช่วงก่อนหน้าอย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่หันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและอินเดียซึ่งมีราคาถูกกว่าไทย เป็นปัจจัยที่กดดันให้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

2. ยางพารา ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 87.07 บาท หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 31 จากระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับทิศทางราคาในตลาดโลกที่หดตัวมากขึ้น เนื่องจากตลาดยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโร ประกอบกับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยางเป็นวัตถุดิบการผลิตในประเทศชะลอตัวลงตามการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับเป็นปกติ

3. มันสำปะหลัง ราคาหัวมันสดเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.22 บาทในเดือนก่อน มาเฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 2.45 บาทในเดือนนี้ เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการมันสำปะหลังในช่วงเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก

4. ปาล์มน้ำมัน ราคาผลปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 4.85 บาท หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 29.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากโรงกลั่นชะลอการซื้อเพื่อรอดูความชัดเจนของมาตรการภาครัฐในการดูแล

ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ทั้งนี้ ราคายังสอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันปาล์มอ้างอิงในตลาดมาเลเซียที่

ยังคงหดตัวต่อเนื่อง จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโร

5. ปศุสัตว์ ราคาชะลอตัวต่อเนื่องจากระดับที่สูงมากในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะไข่ไก่ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสุกรเร่งสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลาย ส่งผลให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยได้สะดวกขึ้น

6. กุ้งเพาะเลี้ยง ราคาเร่งขึ้นจากเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 โดยมีสาเหตุจากปัญหาด้านอุปทานที่ตึงตัวหลังจากเกษตรกรเร่งจับกุ้งไปแล้วในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับอุทกภัยในภาคใต้ และอากาศหนาวทางภาคตะวันออก ประกอบกับมีโรคระบาดในบางพื้นที่ ในขณะที่ความต้องการของตลาดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

สรุปภาวะเกษตรกรรมปี 2554 รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงจากทั้งด้านผลผลิตและราคาโดยเฉพาะด้านราคาที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งแรกของปีเนื่องจากจีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์ยางพาราและมันสำปะหลังสูงขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจประกอบกับภาวะอุทกภัยในภาคใต้ช่วงปลายปี 2553ที่ทำให้ผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยในช่วงต้นปีนอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่เร่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาในกลุ่มพืชพลังงานทั้งปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง เพิ่มสูงขึ้นสำหรับราคาปศุสัตว์ในปีนี้เร่งสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมีปัญหาโรคระบาดในสุกรและแม่พันธุ์ไก่ไข่สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวนาปีในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญชนิดอื่นๆ

โดยเฉพาะอ้อยและปาล์มน้ำ มัน ได้รับผลดีจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ ผลผลิตที่ขยายตัวดียังเป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉพาะอ้อย เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง และยางพาราที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตมากขึ้นจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากเมื่อหลายปีก่อน ส่วนผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นมากจากปัญหาเพลี้ยระบาดที่คลี่คลายลง

ภาคอุตสาหกรรม

ภาพรวมในปี 2554 การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเกิดภัยพิบัติในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ซึ่งสถานการณ์ได้คลี่คลายในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ดี อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไทยในไตรมาสที่ 4 ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงเกือบทุกหมวด ทั้งจากผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2554 หดตัวร้อยละ 9.3 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงจากร้อยละ 63.2 ในปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 58.2 ในปีนี้

การท่องเที่ยวและโรงแรม

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลายลงตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในเดือนนี้มีจำนวน 1.8ล้านคน หลังขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 20 จากการกลับมาท่องเที่ยวของกลุ่มเอเชียตะวันออกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.2 สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 57.1 ลดลงระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 58.9 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง

สรุปการท่องเที่ยวในปี 2554 ขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือรวมทั้งภัยพิบัติในญี่ปุ่นในไตรมาส 1 และปัญหาอุทกภัยในไตรมาส 4 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอยู่ที่ 19.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ19.9 จากปีก่อน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวดีสะท้อนจากสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากจีน อินเดีย และรัสเซียที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่ม G3 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนลดลง สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยของ ปี 2554 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 57.5 จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 50.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าอุทกภัยในไตรมาส 4 จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง แต่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสดังกล่าวไม่ได้ลดลงมากนัก เนื่องจากชดเชยโดยการเข้าพักของผู้ประสบอุทกภัยชาวไทยในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

ภาคอสังหาริมทรัพย์

สำหรับภาพรวมภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2554 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน จากปัญหาอุทกภัย ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ทำให้ตลาดชะลอตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นมา ทั้งการก่อสร้างโครงการและการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการรวมทั้งการโอนกรรมสิทธิ์ของผู้บริโภค แม้ในครึ่งปีแรกของปี ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม ในระยะต่อไป คาดว่าแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นปี 2555 จะยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปลายปี 2554 สะท้อนจากดัชนีความ

เชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้าของไตรมาสที่ 4 ปี 2554ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 68.6

ภาคการค้า

ภาพรวมทั้งปี 2554 ภาวะการค้าขยายตัวดีจากแรงหนุนของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดย

การค้าปลีกใน 3 ไตรมาสแรกของปี ขยายตัวทั้งยอดขายสินค้าคงทนและไม่คงทน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์สำหรับการค้าส่งขยายตัวดีในเกือบทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะการขายส่งเครื่องทอง เงิน นาก ตามราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี อย่างไรก็ตาม ภาวะอุทกภัยในไตรมาส 4 ส่งผลให้ภาคการค้าหดตัวทั้งการค้าปลีกและการค้าส่ง จากปัญหาอุปทานสินค้าขาดแคลนและอุปสรรคในการขนส่งเป็นสำคัญ

โทรคมนาคม

ภาพรวมปี 2554 ภาคโทรคมนาคมขยายตัวดีตามความต้องการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนทีโดยเฉพาะ Smart Phone และคอมพิวเตอร์ประเภท Tablet ที่พัฒนาศักยภาพให้รองรับการใช้งานด้าน

ข้อมูล (Non-Voice) ได้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ ขณะที่ผู้ให้บริการขยาย

โครงข่าย 3G ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น และเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ไตรมาสที่ 3

ของปี 2554 ทำให้จำนวนเลขหมายขยายตัวต่อเนื่องขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เหนือกว่าของโทรศัพท์เคลื่อนที่

ดังกล่าวมีส่วนทำให้จำนวนเลขหมายการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานลดลงจากปีก่อน โดยเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานที่ยังคงใช้บริการอยู่เป็นไปเพื่อรองรับงานประจำ สำ นักงานของทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นสำคัญ

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน

สรุปภาพรวมทั้งปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน แม้ว่าปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน ได้แก่ รายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตร การจ้างงาน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ในภาพรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นและอุทกภัย ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถตอบสนองความต้องการซื้อที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องได้ นอกจากนี้สถานการณ์อุทกภัยยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน ทำให้การใช้จ่ายในช่วงไตรมาสที่ 4ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดอุทกภัย สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไปคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะฟื้นตัวเป็นปกติได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1ปี 2555 จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายจากอุทกภัย รวมทั้งยังมีความต้องการที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนจากแนวโน้มของรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรในปี 2555 ที่คาดว่า จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ และภาวะการเงินที่ยังเอื้ออำนวย

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนปี 2554 ชะลอลงจากที่เร่งลงทุนไปแล้วในปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาทางด้านการผลิตในไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 4 ของปี ที่ทำให้ขาดแคลนสินค้าเพื่อการลงทุน ส่วนความต้องการลงทุนในระยะต่อไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการซ่อมแซมความเสียหาย ประกอบกับความเชื่อมั่นที่ยังคงดีอยู่สะท้อนจากความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้นกว่าระดับ 50 อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ในระยะยาวยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนของแผนบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ

ภาคการคลัง

รายได้ภาษี หดตัวร้อยละ 1.0 จากภาษีฐานการบริโภคภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ขยายตัวร้อยละ 12.2 ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากอุทกภัย โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 3.1 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 21.9 จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนและดอกเบี้ยภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค หดตัวร้อยละ 7.2 โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่หดตัวร้อยละ 28.9 เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ประกอบกับยังมีผลของมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวดี และส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเลื่อนนำส่งภาษีในช่วงอุทกภัยที่สิ้นสุดในเดือนธันวาคมภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ขยายตัวร้อยละ 22.4 เนื่องจากในเดือนนี้มีการนำเข้าสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วน

ค่อนข้างสูง

รายได้ที่มิใช่ภาษี เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18 ตามการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเป็นสำคัญ

ด้านรายจ่าย (ไม่รวมชำระคืนต้นเงินกู้)รัฐบาลมีการเบิกจ่ายจำนวน 172.6 พันล้านบาทขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5 ทั้งรายจ่ายจากการดำเนินงานของรัฐบาลและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยเฉพาะหมวดการซื้อสินค้าและบริการ และหมวดเงินอุดหนุน

การค้าต่างประเทศและดุลการชำระเงิน

ปี 2554 การส่งออก มีมูลค่า 225.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 16.4 หากไม่รวมทองคำที่ปีนี้มีการส่งออกมูลค่า 5.9พันล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 17.3 สำหรับสินค้าที่มีสัดส่วนต่ออัตราการขยายตัวสูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ยางพาราตามการขยายตัวดีด้านราคาในช่วง 9 เดือนแรกของปีผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์ ตามการส่งออกไปจีนและอาเซียนที่เศรษฐกิจยังขยายตัวในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม การส่งออกคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักหดตัวทั้งจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศส่วนยานยนต์หดตัวจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนอันเป็นผลจากภัยธรรมชาติทั้งต่างประเทศและในประเทศการนำเข้า มีมูลค่า 201.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 24.7 โดยในปีนี้มีการนำเข้าทองคำสูงถึง 16.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. หากไม่รวมทองคำ การนำเข้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 20.4 โดยสินค้าที่มีสัดส่วนต่ออัตราการขยายตัวสูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ทองคำน้ำมันดิบ แร่และโลหะ เคมีภัณฑ์และพลาสติกและเครื่องจักรอุตสาหกรรม ตามภาคการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวดีในช่วงก่อนเกิอุทกภัย ทั้งนี้ ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 23.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 31.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อน จากการนำเข้าที่ขยายตัวมากกว่าการส่งออกในปีนี้ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุล11.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขาดดุลลดลงจากปีก่อนที่ขาดดุล 18.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของรายรับในรายการเงินโอนอื่นๆ ซึ่งเกิดจากบริษัทประกันภัยต่างประเทศจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ทำประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี เมื่อรวมกับดุลการค้าส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.9พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 13.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการปรับลดลงของดุลการค้าเป็นสำคัญ

ดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน ไหลออกสุทธิ6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่ไหลเข้าสุทธิ 24.2พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน โดยเป็นการไหลออกในเกือบทุกภาคยกเว้นภาครัฐบาลการไหลออกของเงินทุนส่วนใหญ่อยู่ในภาคสถาบันรับฝากเงินจากการที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์เพิ่มเงินฝากในบัญชีต่างประเทศอันเป็นผลจากการปรับฐานะ เนื่องจากยอดคงค้างการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกลดลงจากค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวในสองทิศทางมากขึ้น ในปีนี้ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจากปัญหาอุทกภัยนอกจากนี้ ยังมีการกู้ระยะสั้นลดลงเทียบกับปีก่อนที่มีการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกค่อนข้างมากเนื่องจากเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องส่วนภาคอื่นๆ เป็นการไหลออกสุทธิจากการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศเพิ่มขึ้นของนักลงทุนไทย และการได้รับสินเชื่อการค้าลดลงตามการนำเข้าที่ชะลอลงจากผลของอุทกภัย ส่วนภาคธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเป็นไหลออกสุทธิจากปีก่อนที่ไหลเข้าสุทธิเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่ภาครัฐบาลเป็นภาคเดียวที่มีการไหลเข้าสุทธิใกล้เคียงกับปีก่อนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

ดุลการชำระเงิน ในปีนี้เกินดุลเล็กน้อยที่1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากจากที่เกินดุล 31.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน จากดุลบัญชีการเงินที่ปรับจากการไหลเข้าสุทธิจำนวนมากเป็นการไหลออกสุทธิในปีนี้เป็นสำคัญ

ฐานเงินและปริมาณเงิน

สำหรับทั้งปี 2554 ฐานเงินยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนเป็นสำคัญ โดยฐานเงินขยายตัวสูงมากในช่วงอุทกภัย จากความต้องการถือเงินสดเพื่อใช้ยามฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้นของประชาชน แต่ได้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย โดย ณ สิ้นปี 2554 ฐานเงินขยายตัว อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากปีก่อน และสำหรับทั้งปี 2554 ปริมาณเงินความหมายกว้างขยายตัวสูงตลอดทั้งปี จากการเร่งระดมเงินฝากและตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อประกอบกับมีการทยอยไหลกลับของเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่ครบกำหนดในช่วงต้นปี โดย ณ สิ้นปี 2554ปริมาณเงินความหมายกว้างอยู่ที่ระดับ 13,543.9พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.9

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)

ในปี 2554 ปรับอ่อนค่าลงร้อยละ 1.02 จากปีก่อน ตามการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินสกุลหลักและภูมิภาคบางสกุล โดยเงินยูโรเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน แม้ปรับแข็งค่าขึ้นในบางช่วงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป แต่ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป ส่งผลให้เงินยูโรโน้มอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นส่วนเงินหยวนโน้มแข็งค่าขึ้น เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นสำคัญ

อัตราเงินเฟ้อ

สำหรับภาพรวมเงินเฟ้อในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยสำหรับปี 2554 เร่งตัวจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.81 และ2.36 ตามลำดับ โดยเฉพาะราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากภาวะอุปทานตึงตัวในตลาดโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยสำหรับปี 2554เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า จากราคาผลผลิตเกษตรกรรมที่ปรับลดลงในทุกหมวด ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมือง และราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเร่งขึ้นจากปีก่อน แรงกดดันเงินเฟ้อในระยะต่อไป โดยรวมมีแนวโน้มแผ่วลง ทั้งแรงกดดันด้านต้นทุนที่ชะลอลงจาก

แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าของผู้ประกอบการที่ปรับตัวลดลง ขณะที่การคาดการณ์ต้นทุนยังคงทรงตัว อย่างไร ก็ดีนโยบายภาครัฐยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ยังคงมีอยู่

ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ

สำหรับปี 2554 เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกชะลอลง ตามอุปสงค์โดยรวมของโลกที่อ่อนแอลง ผนวกกับผลกระทบชั่วคราวจากปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่น และปัญหาอุทกภัยในไทย ทำ ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2554 ส่วนใหญ่เร่งขึ้นจากปีก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ราคาอาหารและพลังงานเพิ่มสูงขึ้น สร้างแรงกดดันเงินเฟ้อ ทำ ให้ธนาคารกลางในภูมิภาคทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเพิ่มอัตราส่วนการดำรงเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปีความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง ทำ ให้ธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่บางประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายในเดือนมกราคม 2555 ธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายโดยมีรายละเอียด ดังนี้วันที่ 19 มกราคม 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Reverse Repo Rate) ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.50 ต่อปีเป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาดที่มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงวันที่ 24 มกราคม 2555 ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Repo Rate และReverse Repo Rate ไว้ที่ร้อยละ 8.5 และ 7.5ต่อปี แต่ปรับลดอัตราส่วนเงินสดสำรองต่อเงินฝาก(Cash Reserve Ratio: CRR) ของธนาคารพาณิชย์ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เนื่องจาก (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียชะลอลง (2) ระดับเงินเฟ้อ (Wholesale Price Index : WPI) ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง (3) สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัว

ในการวิเคราะห์ ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย ก็คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และการปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการ เปิดเสรีเพิ่มขึ้น ทำให้นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาว มากกว่าระยะสั้น เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว

แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้ง อุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนสำหรับเศรษฐกิจไทย

- มาตรการเร่งรัดการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการสนับสนุนสินเชื่อ ปรับลด ภาษีรายได้นิติบุคคล เร่งสร้างความเชื่อมั่น และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆจากภาครัฐ

- เศรษฐกิจเอเชียยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี

- รายได้ภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี จากนโยบายต่างๆ ปัจจัยเสี่ยง

- ความอ่อนแอของภาคเศรษฐกิจในช่วงแรกของการฟื้นฟูจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวในไตรมาสแรก โดยภาคเศรษฐกิจบางส่วนอาจไม่สามารถดำเนินกิจการได้ เต็มศักยภาพทำให้การส่งออกในช่วงดังกล่าวต่ำกว่าระดับปกติ

- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป

- ตลาดเงิน ตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยนยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวน

- ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง

- รายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ยังมีข้อจำกัดจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2555

จากบทความต่างๆข้างต้นนี้ดิฉันจึงมีความมั่นใจว่า การดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวทางต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว บวกกับพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 กลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่จะกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่หลังประสบปัญหาน้ำท่วม และรัฐบาลได้มีการปรับมาตรการขึ้นเงินเดือน มีการส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนโครงการต่างๆ ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในภาครัฐบาลเพิ่มมากขึ้น

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์ รหัสนักศึกษา 54127326054

บริหารธุรกิจ เอกการเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจโลกในปี 2554 IMF คาดว่าขยายตัวร้อยละ 4.0 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวจากปัญหาวิกฤตทางการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปที่ขณะนี้กำลังลุกลามสู่ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศจีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล และอาเซียนชะลอตัว นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติ และเหตุการณ์น้ำท่วมของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมดังกล่าว

สถานการณ์การเงินโลกธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศ มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากต้นปี โดยราคาน้ำมันดิบ (Dubai) เฉลี่ย 11 เดือนอยู่ที่ 105.76 USD:Barrel และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากความหนาวเย็นที่ทวีความรุนแรงขึ้นในยุโรป ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในช่วงหน้าหนาวเพิ่มมากขึ้น ปริมาณสำรองน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังในปลายปีนี้จะลดลงค่อนข้างมาก และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อไป รวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์สร้างความกังวลต่อตลาด หากเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางที่อาจลดลงได้ Energy Administration Information (EIA) คาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2555 จะขยายตัวในอัตรา 1.25 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกทำให้อุปสงค์น้ำมันลดลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX มีราคาอยู่ที่ 101.28 USD:Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ ในปี 2554 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 3.0 เนื่องจากการบริโภคภายในสหรัฐฯ ที่หดตัว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 อยู่ที่ระดับ 57.8 ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 40.9 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 74.7 ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 75.4 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 90.1 ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 91.3

การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.4 การนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.7

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.7 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2555 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัว 1.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 จากวิกฤติการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ ที่เริ่มคลี่คลาย

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 IMF คาดว่า GDP หดตัวร้อยละ 0.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 0.6 ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เนื่องจากการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 38.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.0 การลงทุนภาคก่อสร้างในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ 0.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 92.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 94.3

การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 การส่งออกที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 12.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.9

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.9 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติในช่วงเดือนมีนาคม

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554) เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาภัยพิบัติ แต่ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจึงคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2555 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวจากผลกระทบของภัยพิบัติในปี 2554

เศรษฐกิจจีน

เศรษฐกิจประเทศจีนในปี 2554 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศจีนขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.6 อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดของรัฐบาล เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน และปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มูลค่าการค้าปลีกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.0 ในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 อยู่ที่ระดับ 104.2 ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 100.5 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.2 ในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 24.9 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.0 ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 13.2

การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 22.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.4 การส่งออกที่ลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ๆ เกิดการชะลอตัว การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 27.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 43.9

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี ตั้งแต่กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา อยู่ที่ร้อยละ 6.56 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนในปี 2555 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 9.0 มีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2554 อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่ความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจประเทศจีนยังคงขยายตัว

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2554 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.4 การบริโภคในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 101.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.4

การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 15.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.1 การนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 14.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.8

ภาวะเงินเฟ้อของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2554อยู่ที่ร้อยละ 9.9

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2555 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.1 ขยายตัวลดลงจากปี 2554 จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ยังคงกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรป

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 26 แห่ง เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554” พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.9 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ 90.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7

ในส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 76.1 เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับร้อยละ 2.75 ภายในสิ้นปี 2554 ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าจะอยู่ที่ 29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 14.6 ด้านการเคลื่อนไหวของ SET Index นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 62.0 เชื่อว่าดัชนียังคงมีทิศทางขาขึ้นโดยจุดสูงสุดของปีจะอยู่ที่ 1,150 จุด

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2554 คือ อันดับ 1 ปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (ร้อยละ 67.6) อันดับ 2 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล (ร้อยละ 64.8) อันดับ 3 ปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นค่าเงินบาทแข็งค่า/สงครามค่าเงิน/ค่าเงินหยวน (ร้อยละ 59.2)

สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2554 คือ

- รักษาความสมดุลระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้นโยบายการเงินและการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา

- ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ด้วยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ดูแลการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม

- แก้ปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมจนเกินไป แต่ควรเน้นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืน

ความคิดเห็นของดิฉัน

สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนธ.ค.ปรับตัวลดลงจากเดือนพ.ย.2554 เป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอาหารสด เช่น ผักสด ผลไม้ ไข่ไก่ และ ไก่สด ประกอบกับเป็นช่วงฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาน้ำมันในประเทศได้ปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก ส่งผลให้ต้นทุนลดลง

จากสถานการณ์น้ำท่วม ถึงแม้จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงแต่อัตราเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 2.0% เนื่องจากต้นปีสภาวะเศรษฐกิจก็ธรรมดา ปกติ

นางสาวสุดารัตน์ แก้วมาตย์

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326076

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 และแนวโน้มปี 2555

ตามปกติในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี ผู้ประกอบการทั้งหลายมักจะต้องเตรียมวางแผนธุรกิจ หรือวางแผนงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานในปีหน้า ดังนั้น ในช่วงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการที่ทำนายเศรษฐกิจมักจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ในเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไร เศรษฐกิจไทยก็คงจะขยายตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 4.5 ถึง 5.5 ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปีนี้

แต่หากมองในรายละเอียด คิดว่าการขยายตัวปีนี้กับปีหน้า จะมีภาพที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าจะไม่ใช่มาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีมากในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยเราส่วนใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงในปีหน้า

ขณะที่วงจรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก (ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก) ก็น่าจะเริ่มเปลี่ยนเป็นช่วงขาลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพึ่งการส่งออกให้เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงเป็นไปได้ยาก

เศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชน จะขยายตัวไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง

แต่ในปีหน้าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ น่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อในปีหน้าน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตาม demand ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง และเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คงไม่น่าที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก

ในทางตรงข้าม มองว่าในปีหน้า อัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสปรับลดลงได้บ้าง ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาก และประเทศคู่ค้าแข่งกันปรับลดดอกเบี้ยลง

นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเดือน สองเดือนแล้ว

ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวแปรสำคัญๆ ในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในปีหน้าอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การใช้จ่ายของภาคสาธารณะ

แม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP จะมีขนาดไม่ใหญ่นัก และคงจะไม่สามารถทดแทนการส่งออก ที่มีสัดส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 67 ของ GDP แต่ การใช้จ่ายภาคสาธารณะ (ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา (ซึ่งศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Crowding-in Effect)

กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรจะรีบสร้างความชัดเจนในส่วนแผนการลงทุนภาครัฐให้เร็วที่สุด ภาคเอกชนเขาจะได้วางแผนการผลิตรองรับได้ทันเวลา

สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปีหน้า คิดว่าเราไม่น่าห่วงอะไร เพราะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมากไม่ถึง 2% หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 50%

ขณะที่เสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 เท่า

ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2555

เวลาอีกไม่กี่เดือนก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2555 แล้ว แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้ามีแนวโน้มอย่างไรนั้น มีหลายหน่วยงานได้ประเมินและเสนอรายงานการวิเคราะห์ออกมา ในบทความนี้ผมจะแสดงความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ซึ่งมุมมองของผมต่อเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีดังนี้

1. ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2555

หากพิจารณาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2555 เราจะพบว่า ปัจจัยบวกที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2555 ได้แก่

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาจกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้นในปีข้างหน้า เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัว เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 0.9 (จากหดตัว ร้อยละ -0.2) ญี่ปุ่น ขยายตัว ร้อยละ 1.2 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 0.6 ไตรมาสก่อน ส่วนจีนนั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างร้อนแรง โดยในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวถึงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ส่วนปัจจัยด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่

สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีเสถียรภาพ จากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ จะเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อภาคเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยวในปี 2555

อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น เนื่องจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มเกินดุลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีกว่าการนำเข้า ประกอบกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก รัฐบาลช่วยเรื่องภาษีน้ำมัน อุปสงค์ต่อน้ำมันจะเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนบางส่วนลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและหันมาถือครองสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำและน้ำมัน เพื่อการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

2. การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2555

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวทำให้อุปสงค์ในการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นตาม ประกอบกับต้นทุนการผลิต เช่น วัตถุดิบ และน้ำมันดิบที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นต้น

การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่ส่งผลหักล้างกัน โดยปัจจัยบวกเห็นได้จากดัชนีด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอีก ทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น หรือการจัดเก็บภาษีมูลค่าที่ขยายตัวขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้การว่างงานที่เริ่มลดลงและมาตรการช่วยเหลือของรัฐ เช่น การแก้หนี้นอกระบบ หรือ การประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น ที่ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่วนปัจจัยลบที่ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ได้แก่ แนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าปัจจัยบวกจะมีผลมากกว่า ซึ่งจะมีผลทำให้การบริโภคภาคเอกชนในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2554

การลงทุนภาคเอกชนจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นและแรงมีผลักจากนโยบายของรัฐบาลในโครงการไทยเข้มแข็ง แต่ยังมีปัจจัยด้านลบที่กระทบต่อการลงทุน นั่นคือ ปัจจัยทางการเมือง แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและปัญหามาบตาพุดที่ยังคงต้องรับการแก้ไข

การส่งออกขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ค่อยฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะแข็งค่าขึ้น แต่เป็นการแข็งค่าขึ้นที่เกาะกลุ่มกับภูมิภาค จึงไม่กระทบการส่งออกมากนัก

เศรษฐกิจปี 2555 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2552 เนื่องจาก การบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นจากวิกฤติเมื่อปีที่ผ่านมา ประกอบกับการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าอาจมีปัจจัยเรื่องการเมือง รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาฉุดการบริโภคและการส่งออกบ้างก็ตาม

3. สรุปและข้อเสนอแนะการจัดการเศรษฐกิจปี 2555

ในระยะสั้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนการผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้น เช่น การสนับสนุนการนำเข้าเครื่องจักรใหม่เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต หรือการผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ระบบขนส่งมวลชน ระบบน้ำ ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น เนื่องจากการก่อสร้างโครงการเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการจ้างงานอย่างต่อเนื่องด้วย

นอกจากนี้ยังควรร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการส่งออกต้องได้รับผลกระทบมากนัก เช่น การพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนระยะสั้นอย่างเจาะจงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในภาพรวม เป็นต้น

ในระยะยาว ประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซโซฮอล์เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้น จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและตลาดทุน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมีความสามารถในการปรับตัวต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา: seksanpantu.wordpress.com

แสดงความคิดเห็น

จากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัวลงและมีการคาดการณ์ตัวเลขGDP ปี 2554 ที่ลดลง และกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคสินค้าและบริการที่ลดลง โดยเฉพาะผู้บริโภค ที่เป็นแรงงานในโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ตามปกติ

ดิฉันคิดว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในปี 2555 เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับความท้าทายหลาประการที่สำคัญ คือ (1) แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทย

(2) ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นแรก เศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะมีแรงขับเคลื่อนจากการเร่งการผลิตในหลายสาขาอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมถนน อาคารสถานที่และที่พักอาศัย รวมไปถึงการสั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อแทนที่เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย

ประเด็นที่ 2 ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่มยูโรปเพิ่มขึ้นมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะเศรษฐกิจประเทศหลักอย่างสหรัฐฯ และกลุ่มยูโรปอ่อนแอลงมากในช่วงที่ผ่านมา และอาจฉุดให้เศรษฐกิจโลกชะลอลงมากกว่าที่เคยคาดไว้ กรณีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราต่ำเป็นเวลายาวนาน ช่องทางกระตุ้นจากนโยบายการเงินการคลังมีจำกัดมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะต้องลดการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนที่ผูกพันไว้

ดิฉันเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะการจัดการเศรษฐกิจปี 2555 ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และมีความสามารถในการปรับตัวต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น

นางสาวปวีณา ผดาเวช 54127326075

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554-2555

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 และแนวโน้มปี 2554 - 2555

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2554 (ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เฉลี่ยในช่วง 9เดือนแรกของปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

ปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสนี้สูงถึง 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 27.3 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.1 10.8 และ 30.6 ตามลำดับรวม 9 เดือนแรกของปี การส่งออกมีมูลค่า 176,641 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 24.6 ตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัว ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 62.8 25.5 34.7 21.0 และ 10.8 ตามลำดับ

(2) ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยในไตรมาสสาม มีจำนวน 4.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 43.8 และ 38.1 ตามลำดับ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 197,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเข้าพักอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.9 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 46.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.0 รวม 9 เดือนแรกของปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1

(3) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหลัก เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3และ 9.2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.1 และ64.2 ของไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6

(4) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.1 และ 6.1 ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และปูนซิเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI) เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา

ปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการลดลงของผลผลิตยางเนื่องจากภาวะฝนตกชุกในภาคใต้ ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ชะลอตัว ทำให้โดยรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 25.7ในไตรมาสก่อน

(2) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการบริโภคในสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งแนวโน้มที่สูงขึ้นของเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านคน ดังนั้นในการแถลงภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 จากร้อยละ 3.5 — 4.0 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 17.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2553

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลัก คาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าชะลอตัวลงในทุกประเภท ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้คลี่คลายลง ในไตรมาสนี้สินค้าคงทนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 73.5 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 ทั้งนี้ สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายในระยะต่อไปมากขึ้น

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ข้าวนาปี และนาปรังบางส่วนได้รับความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตสำคัญ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ให้ผลผลิต ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 โดยราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 10.3 ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 36.4 และ 44.7 ในไตรมาสก่อน ตามลำดับ

ภาวะการคลัง

ในไตรมาสสี่ปีงบประมาณ 2554 (กรกฎาคม — กันยายน 2554) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ504,151.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และสูงกว่าประมาณการ59,381.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ได้แก่ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวค่อนข้างสูงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บจากยอดการประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบบัญชีปี 2554 (ภ.ง.ด. 51) ที่ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในครึ่งปีแรกของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับรายได้รวมสุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กันยายน 2554) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,891,026 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการ 241,017 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อน 186,548.9ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9

ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มสูงขึ้น ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 3.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี จากความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนอินเดียและสหภาพยุโรป ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากได้ปรับขึ้นในไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยมีสาเหตุหลักจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลงและปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ ในขณะที่อินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลลดลง อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสหรัฐฯจะขาดดุลการคลังลดลงจากร้อยละ 6.0-7.0 ต่อ GDP ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 ในปี 2555 เพื่อลดแรงกดดันจากหนี้สาธารณะที่สูงถึงร้อยละ 100.0 ต่อ GDP ในปี 2554 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอเนื่องจากยังคงเผชิญแรงกดดันจากอัตราว่างงานสูง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.5-9.0 ในปี 2555รวมถึงความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0-1.5 จากร้อยละ 2.2 ในปี 2554

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี 2555 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 เนื่องจากการปรับลดลงการใช้จ่ายภาครัฐและการชะลอลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงอัตราว่างงานที่สูงยังเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่เสถียรภาพของสถาบันการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากความกังวลเรื่องประเทศกรีซจะผิดชำระหนี้ รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ส่วนแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ด้านนโยบายการเงินมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น คาดว่าธนาคารกลางสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หลังจากได้ปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2554

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี2554 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกสุทธิโดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวในปี 2554 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงถึง230 ต่อ GDP และคาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลสูงถึงร้อยละ 9.0-10.0 ต่อ GDP ด้านการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกซึ่งได้แรงส่งจากการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติของภาคการผลิต ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบที่ร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นมากในปี 2554

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0ในปี 2555 เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปี 2554 นอกจากนี้แนวโน้มราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ลดลงจากร้อยละ 5.5-6.0 ในปี2554 ด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวสูง ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ส่วนนโยบายการเงินยังคงมีแนวโน้มเข้มงวดทั้งการชะลอการปล่อยสินเชื่อและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

(3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 105-110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 105 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2554 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ (1) อุปสงค์ของน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง OPEC คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2555จะเพิ่มขึ้นเป็น 89.0 ล้านบารเรลต่อวัน จาก 87.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2554 โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากถึง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (2) การเก็งกำไรในช่วงสภาพคล่องในตลาดการเงินสูง และ (3) ปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งการผลิตน้ำมัน แม้ว่าสถานการณ์ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่ความตึงเครียดในด้านผลิตอื่นๆ ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

(4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 เทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจาก (1) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตได้รับกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปี รวมถึงนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาล และ (2) การปรับเพิ่มค่าจ้างภายในประเทศ ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ชะลอเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5เนื่องมาจากราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2554

(5) อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ในช่วง 30.0-31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปี2554 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 30.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นต่อการถือเงินสกุลยูโรลดลงจากความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะที่มีอย่างต่อเนื่อง

(6) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2555 คาดว่าจะมีประมาณ 20.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

อุทกภัยในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคเกษตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1,464,790 ราย มีพื้นที่เสียหาย 11,429,901 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 9,180,657 ไร่

2. ภาคอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนตร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการในช่วงน้ำท่วม

3. ภาคบริการ

3.1 การท่องเที่ยว: เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประกอบกับประเทศต่างๆ ออกคำเตือนการเดินทางมายังไทย ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.41 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อรวม 10 เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0จากเดิมที่ประมาณการทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.5 ล้านคน จากผลกระทบอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง 0.7ล้านคนจากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 23,800 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 34,000 บาท) ดังนั้นทั้งปี2554 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 18.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 2553

3.2 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 176,639 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตามแนวโน้มการส่งออกนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะมีมูลค่า 243,144 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 24.5 สูงกว่าประมาณการเดิมของ สศช. ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 และสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้เพียงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางส่วน และนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางหลายแห่งได้รับความเสียหาย สินค้าส่งออกที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อาหาร ยางและผลิตภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และทำให้การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 17.2 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 226,900 ล้านดอลลาร์ สรอ.

3.3 ภาคการค้า ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ได้รับผลกระทบในช่วงน้ำท่วม จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ในอนาคต และการปิดกิจการชั่วคราวในช่วงน้ำท่วม

4. ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2554 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นโดย สศช. ความเสียหายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำปี ลดลง 248,386 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมลดลงร้อยละ 2.3 ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

ความคิดเห็นของดิฉัน...สำหรับการวิเคราะห์งเกี่ยวกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินของประเทศในปี 2554-2555 นั้น ปัญหาหลักในช่วงไตรมาสแรกของปีคือ ปัญหาด้านภาวะเงินเฟ้อโดยผลจากการส่งผ่านแรงกดดันของต้นทุนการผลิต และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นมายังราคาสินค้า ส่วนไตรมาสต่อมาก็เกิดปัญหาน้ำท่วมจึงทำให้กิดปัญหาทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆไม่ว่าจะในด้านภาคเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงชาวต่างชาติไม่กล้าเสี่ยงที่จะมลงทุนในปรเทศไทย เพราะกลัวประเทศไทยจะมีทางแก้ไขปัญหานี้และอาจจะเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นปัญหาทางเศรษฐกิจหลักๆที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในช่วงปลายปี 2554 คือปํญหหาน้ำท่วม จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อไปถึงปี 2555 ทำให้สภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะเงินเฟ้อ ของใช้เสียหายหรือชำรุดทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มมายิ่งขึ้น บวกกับราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องรีบหาทางแก้ปัญนี้ให้เร็วที่สุดค่ะ

นางสาวจันธิมา เตมีพัฒนพงษา

54127326061

การเงินและการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2554

ปัจจุบันมีการกล่าวถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดมากขึ้นตามปัญหาฟื้นตัวเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจว่าจะเห็นภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจแข็งแกร่งในอนาคต

ไทยเป็นประเทศแบบเปิด ที่ส่งออกสำคัญถึงเกือบ 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและยังต้องพึ่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ที่มีมูลค่าถึงกว่า 2-3 พันล้านดอลลาร์แต่ละปี ซึ่งยังไม่นับรวมเงินลงทุนหลักทรัพย์และการให้กู้ยืมประเภทอื่นๆ เศรษฐกิจไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบปัจจัยความเสี่ยงต่างประเทศต่างๆ กรณีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวถ้าทวีความรุนแรงทางการไม่สามารถออกมาตรการรองรับทันเหตุการณ์ อาจเพิ่มโอกาสเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญภาวะเงินฝืด(Deflation)หรือเงินเฟ้อรุนแรง(Hyperinflation)ได้ซึ่งวิเคราะห์ทั้ง 2 สถานการณ์ได้ดังนี้

1. ภาวะเงินฝืด(Deflation)ทางการควรรีบจัดการก่อนปัญหาจะเกิดภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนรู้สึกขาดความมั่นใจและเลือกจะถือเงินสดมากกว่าสินค้าและบริการ ส่งผลความต้องการบริโภคสินค้าและบริการชะลอตัว เป็นการสะท้อนผ่านระดับราคาสินค้าและบริการลดลงตามลำดับ ระดับราคาอาจลดจากเดือนก่อนหน้าติดต่อกันกรณีดังกล่าว แม้ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินขยายตัวเพิ่มเติมด้วยการลดดอกเบี้ยแต่อาจไม่ประสบผลสำเร็จเพิ่มระดับผลผลิต โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจตกอยู่ในช่วงกับดักสภาพคล่อง(Liquidity Trap) เมื่อเป็นเช่นนี้ นโยบายการคลังอาจมีประสิทธิภาพมากกว่ากระตุ้นระดับการใช้จ่ายและการผลิต เพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากช่วงกับดักสภาพคล่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากประเทศมีหนี้สาธารณะมากและรัฐบาลมีงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอยู่แล้ว อาจทำให้ยากที่รัฐบาลจะใช้มาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด เพราะการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะทำให้ฐานะการคลังและหนี้สาธารณะยิ่งเพิ่มขึ้นอีก ระหว่างนั้น ผลเสียจากการตกอยู่ในช่วงภาวะเงินฝืดคือ ภาคธุรกิจจะไม่สามารถขายสินค้ามากพอที่จะมีรายได้จ่ายดอกเบี้ยให้สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการมีปัญหาขาดสภาพคล่อง กลายเป็นปัญหาหนี้เสียสถาบันการเงินพอกพูนขึ้น

พร้อมกันนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์จะหดตัว ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันที่สถาบันการเงินลดลง กลายเป็นส่วนสูญเสียที่สถาบันการเงินต้องแบกรับมากขึ้นอีก สัญญาณทางลบต่างๆ ดังกล่าว จะส่งผลเร่งประชาชนสูญเสียความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น ถ้ารัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยเพิ่มระดับการออมเงิน และลดความต้องการบริโภคสินค้ายิ่งขึ้น จะมีผลซ้ำเติมภาวะเงินฝืดให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอีก

2. ภาวะเงินเฟ้อ(Hyperinflation)อาจเป็นไปได้ในภาวะที่อาจมีสงครามเนื่องจากระยะหลัง ประเด็นความขัดแงทางการเมืองส่งผลเสียทางจิตวิทยา ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม กรณีเลวร้ายที่ความขัดแย้งดังกล่าวไม่สามารถหาข้อยุติและมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นสงครามยืดเยื้อ หรือกระจายวงกว้าง เศรษฐกิจไทยอาจเคลื่อนเข้าหาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นกรณีตรงกันข้ามกรณีภาวะเงินฝืด แต่นำมาสู่ผลลัพธ์เดียวกันนั้นคือภาวะถดถอยเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรณีสงครามรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าคาด เศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบผ่านการชะลอตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ และผลกระทบและผลกระทบจิตวิทยาแง่ลบ กล่าวคือ ราคาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจะผลักดันราคาสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้นตาม ขณะเดียวกัน เมื่อประชาชนรู้สึกถึงความไม่แน่นอนว่าจะเริ่มกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค อย่างเช่นเมื่อตอนน้ำท่วมที่ผ่านมานี้ จำนวนน้ำ จำนวนบะหมี่กึ่งสำเร็จและจำนวนน้ำมันพืชจึงทำให้สินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากมีการกักตุนกันไว้ในปริมาณมาก แนวทางการแก้ปัญหาคือต้องไปสั่งซื้อจากต่างประเทศมาทำให้ราคาสินค้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยสูงขึ้น

ระหว่างที่ราคาสินค้าจำเป็นสูงขึ้นระยะแรก เป็นผลจากต้นทุนนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าอื่นๆในประเทศสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้สินค้าอีกหลายประเภทผลิตในประเทศต้นทุนสูงขึ้นตาม ผู้ผลิตสินค้าในประเทศอาจฉวยโอกาสปรับเพิ่มราคาสินค้า มีผลซ้ำเติมราคาสินค้าขยับสูงขึ้นอีกจากตอนแรก ความกลัวที่นำมาสู่การเร่งกักตุนสินค้า ประชาชนอาจเร่งถอนเงินจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งกรณีการถอนเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปริมาณสถาบันการเงินอาจไม่สามารถเตรียมสภาพคล่องทัน จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางอาจถูกบังคับให้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ เพื่อช่วยชะลอผลกระทบทางลบจากการไหลออกเงินฝากที่อาจเกิดกับเสถียรภาพระบบการเงินประเทศได้ หมายความว่า ธนาคารกลางอาจต้องนำทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบ ขณะเดียวกัน แม้ปัจจุบันสถาบันการเงินจะมีสภาพคล่องส่วนเกินระดับสูง พร้อมสภาพคล่องระยะสั้นต่างประเทศอีกไม่น้อย แต่หากกระแสถอนเงินยังคงเกิดต่อเนื่อง และสภาพคล่องสถาบันการเงินอาจไม่เพียงพอ สถาบันการเงินอาจต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แนวทางดังกล่าวจะทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แนวทางดังกล่าวจะทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศกลับสูงขึ้น มีผลซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจได้อีก

ภาวการณ์ดังกล่าว นโยบายการเงินแบบขยายตัวด้วยการปรับลดดอกเบี้ยคงไม่สามารถทำได้ เพราะเผชิญข้อจำกัดอัตราเงินเพิ่มขึ้น ระดับทุนสำรองจำกัดเมื่อเทียบกับฐานะหนี้ต่างประเทศ

ผลการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน พบว่าเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาเกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่จึงทำให้ประชาชนนั้นหันไปกักตุนน้ำดื่ม และ น้ำมันพืช กันมากจึงทำให้ต้องไปรับปริมาณน้ำดื่มและน้ำมันพืชจากต่างประเทศมาแทนเพื่อที่จะให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการสถานการณ์นี้ก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นซึ่งมีผลกระทบมากต่อประเทศ ยกตัวอย่างสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมเพราะจำเป็นมากในการดำรงชีพ เช่น เรือ น้ำดื่ม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

น.ส.พรรณนิภา ภิรมย์รอด

54127326049

การเงินการธนาคาร (02)

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 และแนวโน้มปี 2555

เศรษฐกิจไทยในปี 2554

ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากปัญหาวิกฤติมหาอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยได้ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชะลอตัวลง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และโรงแรมภัตตาคาร และยังส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงตามผลผลิตทางการเกษตรที่เสียหาย นอกจากนี้ ระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอันเนื่องมาจากเกิดภาวะขาดแคลนสินค้าในช่วงอุทกภัยยังส่งผลให้ภาระค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีส่วนทำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอลงตามปัญหาการหยุดชะงักของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในแถบภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาอุทกภัย โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจะลดลงมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกในสัดส่วนสูง ได้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับความไม่แน่นอนของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการจ้างงานในสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป ที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มอุปสงค์โลกให้ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด และส่งผลกระทบให้ภาคการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2554 คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2555 ที่ส่งผลให้การเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -6.6 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่โครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เริ่มเบิกจ่ายลดลงมากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ทำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ -7.8

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

ปัญหาการขนส่งและการเดินทางที่กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าและชิ้นส่วนการผลิตที่บรรเทาลงหลังน้ำลด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มฟื้นตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้จะหดตัวร้อยละ 25.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 47.2 โดยปรับดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนและโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมโดยตรงสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น และทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ52.3 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 40.5 การฟื้นตัวของภาคการผลิตดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกเริ่มฟื้นตัวตาม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาผลิตได้

อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องยังทำให้การส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆชะลอลง อาทิ อาหารพร้อมปรุง รวมทั้งการส่งออกข้าวยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ แม้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ในระยะต่อไป คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะทยอยฟื้นตัวเป็นลำดับและกลับเป็นปกติในช่วงกลางปี 2555

ผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังคงเสียหายจากอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังขยายตัวดี โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นปาล์มได้รับน้ำฝนที่เพียงพอ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 4.3 ตามราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ในภาคการผลิตยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน

สำหรับอุปสงค์ใน ประเทศเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับภาคการผลิต การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อน (%mom, sa)ตามการขยายตัวของเครื่องชี้ในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ รวมทั้งยอดจำหน่ายยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มพลังงาน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนบ้างแล้วแม้ดัชนีการลงทุนจะยังหดตัว แต่เครื่องชี้ต่างๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง เป็นผลจากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และการลงทุนตามแผนเดิมของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เริ่มมีการนำ เข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 19.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าทองคำค่อนข้างสูงหลังจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับลดลง หากไม่รวมทองคำ การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องมือเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อชดเชยชิ้นส่วนการผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลนในประเทศ รวมทั้งมีการเร่งนำเข้าน้ำมันดิบภายหลังการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในเดือนก่อนหน้า

ภาคการท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้ง แต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม ทำ ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศทั้งเดือนมีจำนวน 1.8ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านคนในเดือนก่อน จากการกลับมาท่องเที่ยวของกลุ่มเอเชียตะวันออกเป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังลดลงร้อยละ 2.2 ส่วนการประกาศเตือนการก่อการร้ายในเดือนมกราคมคาดว่าจะกระทบความเชื่อมั่นนักท่องท่องเที่ยวไม่มากนักหากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น

ภาครัฐมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้มีการเบิกจ่ายมากขึ้นและมีจำนวนมากกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ขาดดุลเงินสด 37.1พันล้านบาท ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาภาระหนี้ และความต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของภาคครัวเรือน ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ยอดเงินฝากของสถาบันการเงินยังคงขยายตัวจากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อ

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.53 และ 2.66 ตามลำดับ เป็นผลจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและราคาในกลุ่มอาหารเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทย

สรุปแล้วภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัวชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน และจากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออกการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปีสำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคงโดยดุลการชำระเงินเกินดุล และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดปรับลดลง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2555

ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวเร่งขึ้น โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 — 4.3) ตามการจ้างงานที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจำนำข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.3 — 11.3) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากวิกฤติมหาอุทกภัยคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปในอัตราที่ชะลอลง ภายหลังจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปเริ่มมีสัญญาณอ่อนแอจากปัญหาหนี้สาธารณะที่ยืดเยื้อ คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2555 ขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.9 — 9.9) ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.6 — 10.6) ตามความต้องการนำเข้าชิ้นส่วนและเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาทดแทนส่วนที่เสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2555 คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0) ตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของรัฐบาลในปี 2555 ที่คาดว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.8 — 9.8)

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2555

1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย

(1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555

(1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ

(1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย

(1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน

2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ

3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 — 4.0) ชะลอลงจากปี 2554 อันเป็นผลจากความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยโดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่คาดว่าจะส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกชะลอลง ประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6 — 0.8 ของกำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลที่ 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.9 — 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 26.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 25.7 — 27.7) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.1 — 15.1)

แสดงความคิดเห็น

เนื่องจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมาจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตรหรือภาคอุตสาหกรรม ทำให้การผลิตสินค้าต่างๆต้องหดตัวลง รวมไปถึงการใช้จ่ายของคนในพื้นที่ก็ลดน้อยลง เนื่องจากของมีราคาแพงขึ้น รวมทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการจ้างงานในสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป ที่ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อแนวโน้มอุปสงค์โลกให้ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้

และจากการศึกษาแนวโน้มและนโยบายเศรษฐกิจปี 2555 ผมคิดถ้าหากสามารถทำตามนโยบายที่วางไว้ได้ก็จะสามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น และสามารถแข่งขันกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการจัดการกับระบบน้ำเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย

วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อประเทศไทย 2554

ภาวะเงินเฟ้อ

หากดูเปรียบเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน (นับตั้งแต่ประมาณปี 51-ปัจจุบัน) พบว่าจะมีลักษณะหลายๆประการ ที่อาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ ซึ่งผมไม่ขอฟันธงว่ามันเป็นเงินเฟ้อหรือไม่ แต่จะอธิบายให้เห็นลักษณะของปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อดังนี้

ประการแรก ต้นทุนสินค้าเพิ่ม ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายต้องปรับสินค้าขึ้น ซึ่งต้นทุนหลักของเกือบทุกกิจการ ก็คือน้ำมัน พบว่ามีอยู่ช่วงนึง น้ำมันเพิ่มราคาสูงมาก อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าราคาน้ำมันเพิ่มการขนส่งก็ต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้น ราคาวัตถุดิบก็ต้องสูงขึ้นตาม ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก็จะทำให้ประชาชนทั่วไปต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าแต่ละชนิด

ประการที่สอง ความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าในยุคเศรษฐกิจตกต่ำจะมีความต้องการสินค้าเพิ่มได้อย่างไร การต้องการสินค้าที่เพิ่ม อาจจะเกิดจากการคาดเดาในอนาคตว่าของจะขายได้ดีขึ้น เศรษฐกิจจะดีขึ้น เลยต้องมีการสั่งสินค้าเพิ่ม โดยปัจจัยในการคาดเดานั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุเช่น นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ความต้องการสินค้าในต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน เป็นต้น เมื่อมีการขายสินค้าได้คล่อง คนก็จะมีการสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้มากขึ้น การใช้จ่ายก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

หากมองย้อนกลับมาดูในช่วงปีที่ได้กล่าวไปข้างต้น การคาดเดาว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น อาจจะถูกคอนเฟิร์มได้จาก การที่ SET index พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดย หุ้นเกือบทุกตัวในตลาด มีราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัวหรือมากกว่านั้น แน่นอนว่านักลงทุนที่ถือหุ้นเหล่านั้น ย่อมได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนดังกล่าว แต่ถ้าถามว่าเศรษฐกิจจริงๆ ดีขึ้นหรือยังคงไม่มีใครตอบได้ บางทีมันอาจเป็นเพียงแค่การคาดหวังหรือความคิดของคนหมู่มากว่าเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว

การลงทุน หากเชื่อตนเองมากเกินไป หรือเชื่อคนอื่นมากเกินไป ก็อาจจะทำให้การตัดสินใจในบางอย่างนั้น ผิดพลาดไปได้ ดังนั้น จริงๆควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่จริงให้อย่างถี่ถ้วน ไม่คาดหวังอะไรที่มากเกินไป และปรับใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์ ผมเชื่อว่า ทุกคนที่ทำได้ตามนี้จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีเลยทีเดียวเลยครับ

ภาวะเงินฝืด

เงินฝืดกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อ ดร.โกร่ง หรือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร โอลด์ อีโคโนมิสต์ กล่าวระหว่างการอภิปรายบนเวทีในหัวข้อ " ไทยพึ่งไทย ทางออกเศรษฐกิจไทย" ซึ่งจัดโดย มูลนิธิไทยพึ่งไทย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเผชิญหน้ากับภาวะเงินฝืด ๆเป็นอาการทางเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นน้อยครั้งในบ้านเรา ครั้งล่าสุดที่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าเข้าข่ายเงินฝืด คือช่วงที่ไทยเผชิญกับวิกฤติน้ำมันครั้งที่สองระหว่างปี 2522-2523 หรือเกือบ 30 ปีล่วงมาแล้ว

ในช่วงเวลานั้น ระดับราคาน้ำมันขยับขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 17.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบราเรล์ ในปี 2522 เป็น 31 และ 36 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบราเรล์ ในปี 2523 และ 2524 ตามลำดับ การปรับขึ้นของราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่องในช่วงปีดังกล่าว ส่งผลให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจลดจาก 5.3 % ในปี 2522 เหลือ 4.8 % ในปี 2523 แต่อัตราเงินเฟ้อกับพุ่งสวนทางจากระดับ 9.9 % ในปี 2522 เป็น 19.7 % และ 12.8 % ในปี 2523 และ 2524 ตามลำดับ และหลังจากนั้นไม่ปรากฎว่ามีช่วงใดที่เงินเฟ้อกระตุกแซงหน้าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอีกเลยแม้มีวิกฤติน้ำมันเกิดขึ้นอีกก็ตาม

กล่าวสำหรับการฟันธงของ ดร.โกร่ง ในครั้งนี้ ไม่ได้วางน้ำหนักที่ราคา น้ำมันเป็นอันดับต้นๆ แต่จับสัญาณจาก ค่าเงินบาทที่แนวโน้มจะแข็งค่าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2551 และข้อเสียของมาตรการกันสำรอง 30 % ของแบงก์ชาติที่ทำให้ตลาดค้าเงินแบ่งเป็น 2 ตลาด คือ ออนชอว์ (การซื้อขายเงินในประเทศ) กับ ออฟชอร์ (การซื้อขายเงินในตลาดต่างประเทศ) ซึ่งนำไปสู่การชี้นำกันเอง และกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าง่ายกว่าปกติ

บนเวทีเดียวกัน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยังอีโคโนมิสต์ ขานรับมุมมอง โอลด์ อีโคโนมิสต์อย่างดร.โกร่งทันที

ในมุมของ ดร.ศุภวุฒิมองว่า ประเทศไทยมีโอกาสเกิดเงินฝืด เนื่องจากอัตรการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่สม่ำเสมอ บางช่วงโตช้า เงินเฟ้อสูง บางช่วงเติบโตสูง ทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวได้ทัน แต่จะให้ระบุว่าจะเกิดเมื่อใด (เงินฝืด) มีผลกระทบอย่างไร คงไม่สามารถสรุปได้ในขณะนี้เพราะต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ซึ่งในต่างประเทศใช้เวลา 7-8 ปี เขาบรรยายลักษณะอาการของเงินฝืดไว้ด้วยว่า "การที่จะเกิดภาวะเงินฝืดเศรษฐกิจต้องโตช้า เงินเฟ้อสูง อยู่ในภาวะชะลอตัว "

อย่างไรก็ดีนักเศรษฐศาสตร์ประจำกระทรวงการคลังอย่าง ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังกลับมองต่างมุมจาก สองนักเศรษฐศาสตร์ต่างวัยอย่างสิ้นเชิง โดยเขาฟันธงเหมือนกันว่า "เศรษฐกิจไทยไม่เข้าข่ายว่าเกิดภาวะเงินฝืด"

เขาบอกว่าเศรษฐกิจต้องมีอาการ 2 ประการดังต่อไปนี้จึงจะถือว่าเข้าข่าย"เงินฝืด" แล้ว!! หนึ่ง อัตราเงินเฟ้อมากกว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ และสอง อัตราว่างงานไม่เกิน 2 % ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากอาการดังกล่าว เพราะอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้คาดว่าจะขยายตัวระหว่าง 4-5 % ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ตุลาคม ที่ผ่านมาอยู่ 2.5 % ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี และอัตราว่างงานอยู่ที่ 1.6 % เท่านั้น

สำหรับข้อมูลเงินเฟ้อ และอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ในส่วนของเงินเฟ้อนั้นอยู่ในสภาวะทรงอ่อนเป็นหลักเงินเฟ้อรายเดือนอยู่ในระดับ 1 % เศษเป็นหลักเพิ่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2 %เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ 2 ไตรมาสที่ผ่านมา แม้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าหากคงรักษาระดับ 4 % ไว้ได้ ( ดูตารางประกอบ) ซึ่งเป็นระดับที่มากว่าอัตราเงินเฟ้อเท่าตัวโดยเฉลี่ย ส่วนการว่างงานนั้นตัวเลขแบงก์ชาติ ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม (ล่าสุด) มีตำแหน่งว่างงาน คงค้างทั้งสิ้น 29,330 คน แม้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าหากเปรียบเทียบกับยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนเดือน ธันวาคม 2549 ซึ่งมีอยู่ 38,588 คน ถือว่าต่ำกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ถ้าเอาหลักในการตรวจวัดอาการเงินฝืด ของโฆษกกระทรวงการคลัง เป็นเกณฑ์ในการ

วัดระดับความฝืดของเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยพิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อ และอัตราว่างงาน ข้อมูลข้างต้นบ่งชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากอาการเงินฝืด อย่างน้อยที่สุดก็ในห้วงเวลานี้ และถ้ารัฐบาลหน้าที่มาจากการเลือกตั้ง สามารถดึง ความเชื่อมั่นและขยับลงทุนโครงการใหญ่ๆอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน และมีพลังมากพอจะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง หรือ ดียิ่งกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ ประเทศไทยคงสามารถประกาศว่าเป็นประเทศที่ปลอดโรคเงินฝืดได้กระมัง

ความคิดของดิฉัน

จากในช่วงปลายปี 2554 เกิดอุทกภัยอย่ารุนแรงในประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกทำให้ประเทศผู้นำเข้าสินค้าที่ผลิตจากไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น ไม่สามารถนำเข้าสินค้าได้ เพราะเครื่องจักรในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆของไทยได้เสียหายทั้งหมด อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เพราะจะเกิดจากผลิตสินค้าไม่ทัน

อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้ออยู่แล้ว และยิ่งเศรษฐกิจของต่างประเทศ อย่างเช่น ยุโรป ในขณะนี้ที่ประสบปัญหาอยู่ เนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอลง ก็ยิ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน บวกกับเหตุการณ์อุทกภัยที่ประเทศไทยต้องเร่งฟื้นฟูและพัฒนาประเทศของตนให้ดีขึ้น

นางสาวสิราวรรณ สนิดชัย

การเงินการธนาคาร 02

54127326069

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2554

ปัจจุบันมีการกล่าวถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดมากขึ้นตามปัญหาฟื้นตัวเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจว่าจะเห็นภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจแข็งแกร่งในอนาคต

ไทยเป็นประเทศแบบเปิด ที่ส่งออกสำคัญถึงเกือบ 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและยังต้องพึ่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ที่มีมูลค่าถึงกว่า 2-3 พันล้านดอลลาร์แต่ละปี ซึ่งยังไม่นับรวมเงินลงทุนหลักทรัพย์และการให้กู้ยืมประเภทอื่นๆ เศรษฐกิจไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบปัจจัยความเสี่ยงต่างประเทศต่างๆ กรณีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวถ้าทวีความรุนแรงทางการไม่สามารถออกมาตรการรองรับทันเหตุการณ์ อาจเพิ่มโอกาสเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญภาวะเงินฝืด(Deflation)หรือเงินเฟ้อรุนแรง(Hyperinflation)ได้ซึ่งวิเคราะห์ทั้ง 2 สถานการณ์ได้ดังนี้

1. ภาวะเงินฝืด(Deflation)ทางการควรรีบจัดการก่อนปัญหาจะเกิดภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนรู้สึกขาดความมั่นใจและเลือกจะถือเงินสดมากกว่าสินค้าและบริการ ส่งผลความต้องการบริโภคสินค้าและบริการชะลอตัว เป็นการสะท้อนผ่านระดับราคาสินค้าและบริการลดลงตามลำดับ ระดับราคาอาจลดจากเดือนก่อนหน้าติดต่อกันกรณีดังกล่าว แม้ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินขยายตัวเพิ่มเติมด้วยการลดดอกเบี้ยแต่อาจไม่ประสบผลสำเร็จเพิ่มระดับผลผลิต โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจตกอยู่ในช่วงกับดักสภาพคล่อง(Liquidity Trap) เมื่อเป็นเช่นนี้ นโยบายการคลังอาจมีประสิทธิภาพมากกว่ากระตุ้นระดับการใช้จ่ายและการผลิต เพื่อดึงเศรษฐกิจออกจากช่วงกับดักสภาพคล่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากประเทศมีหนี้สาธารณะมากและรัฐบาลมีงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอยู่แล้ว อาจทำให้ยากที่รัฐบาลจะใช้มาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด เพราะการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะทำให้ฐานะการคลังและหนี้สาธารณะยิ่งเพิ่มขึ้นอีก ระหว่างนั้น ผลเสียจากการตกอยู่ในช่วงภาวะเงินฝืดคือ ภาคธุรกิจจะไม่สามารถขายสินค้ามากพอที่จะมีรายได้จ่ายดอกเบี้ยให้สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการมีปัญหาขาดสภาพคล่อง กลายเป็นปัญหาหนี้เสียสถาบันการเงินพอกพูนขึ้น

พร้อมกันนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์จะหดตัว ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันที่สถาบันการเงินลดลง กลายเป็นส่วนสูญเสียที่สถาบันการเงินต้องแบกรับมากขึ้นอีก สัญญาณทางลบต่างๆ ดังกล่าว จะส่งผลเร่งประชาชนสูญเสียความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น ถ้ารัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยเพิ่มระดับการออมเงิน และลดความต้องการบริโภคสินค้ายิ่งขึ้น จะมีผลซ้ำเติมภาวะเงินฝืดให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอีก

2. ภาวะเงินเฟ้อ(Hyperinflation)อาจเป็นไปได้ในภาวะที่อาจมีสงครามเนื่องจากระยะหลัง ประเด็นความขัดแงทางการเมืองส่งผลเสียทางจิตวิทยา ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม กรณีเลวร้ายที่ความขัดแย้งดังกล่าวไม่สามารถหาข้อยุติและมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นสงครามยืดเยื้อ หรือกระจายวงกว้าง เศรษฐกิจไทยอาจเคลื่อนเข้าหาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นกรณีตรงกันข้ามกรณีภาวะเงินฝืด แต่นำมาสู่ผลลัพธ์เดียวกันนั้นคือภาวะถดถอยเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรณีสงครามรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าคาด เศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบผ่านการชะลอตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ และผลกระทบและผลกระทบจิตวิทยาแง่ลบ กล่าวคือ ราคาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจะผลักดันราคาสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้นตาม ขณะเดียวกัน เมื่อประชาชนรู้สึกถึงความไม่แน่นอนว่าจะเริ่มกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค อย่างเช่นเมื่อตอนน้ำท่วมที่ผ่านมานี้ จำนวนน้ำ จำนวนบะหมี่กึ่งสำเร็จและจำนวนน้ำมันพืชจึงทำให้สินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากมีการกักตุนกันไว้ในปริมาณมาก แนวทางการแก้ปัญหาคือต้องไปสั่งซื้อจากต่างประเทศมาทำให้ราคาสินค้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยสูงขึ้น

ระหว่างที่ราคาสินค้าจำเป็นสูงขึ้นระยะแรก เป็นผลจากต้นทุนนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าอื่นๆในประเทศสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้สินค้าอีกหลายประเภทผลิตในประเทศต้นทุนสูงขึ้นตาม ผู้ผลิตสินค้าในประเทศอาจฉวยโอกาสปรับเพิ่มราคาสินค้า มีผลซ้ำเติมราคาสินค้าขยับสูงขึ้นอีกจากตอนแรก ความกลัวที่นำมาสู่การเร่งกักตุนสินค้า ประชาชนอาจเร่งถอนเงินจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งกรณีการถอนเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปริมาณสถาบันการเงินอาจไม่สามารถเตรียมสภาพคล่องทัน จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางอาจถูกบังคับให้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ เพื่อช่วยชะลอผลกระทบทางลบจากการไหลออกเงินฝากที่อาจเกิดกับเสถียรภาพระบบการเงินประเทศได้ หมายความว่า ธนาคารกลางอาจต้องนำทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบ ขณะเดียวกัน แม้ปัจจุบันสถาบันการเงินจะมีสภาพคล่องส่วนเกินระดับสูง พร้อมสภาพคล่องระยะสั้นต่างประเทศอีกไม่น้อย แต่หากกระแสถอนเงินยังคงเกิดต่อเนื่อง และสภาพคล่องสถาบันการเงินอาจไม่เพียงพอ สถาบันการเงินอาจต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แนวทางดังกล่าวจะทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แนวทางดังกล่าวจะทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศกลับสูงขึ้น มีผลซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจได้อีก

ภาวการณ์ดังกล่าว นโยบายการเงินแบบขยายตัวด้วยการปรับลดดอกเบี้ยคงไม่สามารถทำได้ เพราะเผชิญข้อจำกัดอัตราเงินเพิ่มขึ้น ระดับทุนสำรองจำกัดเมื่อเทียบกับฐานะหนี้ต่างประเทศ

ผลการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน พบว่าเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาเกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่จึงทำให้ประชาชนนั้นหันไปกักตุนน้ำดื่ม และ น้ำมันพืช กันมากจึงทำให้ต้องไปรับปริมาณน้ำดื่มและน้ำมันพืชจากต่างประเทศมาแทนเพื่อที่จะให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการสถานการณ์นี้ก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นซึ่งมีผลกระทบมากต่อประเทศ ยกตัวอย่างสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมเพราะจำเป็นมากในการดำรงชีพ เช่น เรือ น้ำดื่ม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

น.ส.พรรณนิภา ภิรมย์รอด

54127326049

การเงินการธนาคาร (02)

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 และแนวโน้มปี 2555

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2554ร้อยละ 0.5 (%QoQ SA)

ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5และ 4.7 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ19.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 10.3ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.0 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2554 และในปี 2555 (1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย (1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555 (1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ (1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย และ (1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน(2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ และ (3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลลดลง อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสหรัฐฯจะขาดดุลการคลังลดลงจากร้อยละ 6.0-7.0 ต่อ GDP ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 ในปี 2555 เพื่อลดแรงกดดันจากหนี้สาธารณะที่สูงถึงร้อยละ 100.0 ต่อ GDP ในปี 2554 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอเนื่องจากยังคงเผชิญแรงกดดันจากอัตราว่างงานสูง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.5-9.0 ในปี 2555รวมถึงความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0-1.5 จากร้อยละ 2.2 ในปี 2554

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี 2555 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 เนื่องจากการปรับลดลงการใช้จ่ายภาครัฐและการชะลอลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงอัตราว่างงานที่สูงยังเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่เสถียรภาพของสถาบันการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากความกังวลเรื่องประเทศกรีซจะผิดชำระหนี้ รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ส่วนแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ด้านนโยบายการเงินมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น คาดว่าธนาคารกลางสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หลังจากได้ปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2554

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี2554 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกสุทธิโดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวในปี 2554 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงถึง230 ต่อ GDP และคาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลสูงถึงร้อยละ 9.0-10.0 ต่อ GDP ด้านการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกซึ่งได้แรงส่งจากการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติของภาคการผลิต ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบที่ร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นมากในปี 2554

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0ในปี 2555 เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปี 2554 นอกจากนี้แนวโน้มราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ลดลงจากร้อยละ 5.5-6.0 ในปี2554 ด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวสูง ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ส่วนนโยบายการเงินยังคงมีแนวโน้มเข้มงวดทั้งการชะลอการปล่อยสินเชื่อและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

(3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 105-110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 105 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2554 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ (1) อุปสงค์ของน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง OPEC คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2555จะเพิ่มขึ้นเป็น 89.0 ล้านบารเรลต่อวัน จาก 87.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2554 โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากถึง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (2) การเก็งกำไรในช่วงสภาพคล่องในตลาดการเงินสูง และ (3) ปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งการผลิตน้ำมัน แม้ว่าสถานการณ์ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่ความตึงเครียดในด้านผลิตอื่นๆ ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

(4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 เทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจาก (1) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตได้รับกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปี รวมถึงนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาล และ (2) การปรับเพิ่มค่าจ้างภายในประเทศ ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ชะลอเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5เนื่องมาจากราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2554

(5) อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ในช่วง 30.0-31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปี2554 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 30.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นต่อการถือเงินสกุลยูโรลดลงจากความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะที่มีอย่างต่อเนื่อง

(6) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2555 คาดว่าจะมีประมาณ 20.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

การประเมินผลกระทบความเสียหายจากอุทกภัย

อุทกภัยในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคเกษตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1,464,790 ราย มีพื้นที่เสียหาย 11,429,901 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 9,180,657 ไร่

2. ภาคอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนตร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการในช่วงน้ำท่วม

3. ภาคบริการ

3.1 การท่องเที่ยว: เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประกอบกับประเทศต่างๆ ออกคำเตือนการเดินทางมายังไทย ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.41 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อรวม 10 เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0จากเดิมที่ประมาณการทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.5 ล้านคน จากผลกระทบอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง 0.7ล้านคนจากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 23,800 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 34,000 บาท) ดังนั้นทั้งปี2554 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 18.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 2553

3.2 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 176,639 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตามแนวโน้มการส่งออกนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะมีมูลค่า 243,144 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 24.5 สูงกว่าประมาณการเดิมของ สศช. ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 และสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้เพียงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางส่วน และนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางหลายแห่งได้รับความเสียหาย สินค้าส่งออกที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อาหาร ยางและผลิตภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และทำให้การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 17.2 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 226,900 ล้านดอลลาร์ สรอ.

3.3 ภาคการค้า ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ได้รับผลกระทบในช่วงน้ำท่วม จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ในอนาคต และการปิดกิจการชั่วคราวในช่วงน้ำท่วม

4. ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2554 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นโดย สศช. ความเสียหายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำปี ลดลง 248,386 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมลดลงร้อยละ 2.3 ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

ความเห็นของดิฉันมั่นใจว่าบทความข้างต้นของรัฐบาล จะดำเนินงานตามที่วางแผนไว้รวมกับพื้นฐานของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 กลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจในปี2555 จะดีขึ้นไม่ว่าจะทั้งด้านภาคเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและด้านการท่องเที่ยวหลังจากเกิดปัญหาน้ำท่วมในช่วงปลายปี2554 จะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในรัฐบาลมากยิ่งขึ้น

นางสาวคนัสพร แก้วไกรสอน

54127326050

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554-2555

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2554-2555

- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

- หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2554ร้อยละ 0.5 (%QoQ SA)

- ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5และ 4.7 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

- การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ19.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 10.3ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.0 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

- ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2554 และในปี 2555 (1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย (1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555 (1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ (1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย และ (1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน(2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ และ (3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านคน

ดังนั้นในการแถลงภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 จากร้อยละ 3.5 — 4.0 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 17.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2553

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลักคาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำเนื่องจากอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบอุทกภัย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแต่การขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่งผลให้การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติด้านการนำเข้ายังขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ทำให้การส่งออกสุทธิหดตัว ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเกษตรเนื่องจากผลิตได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากอุทกภัยรวมถึงความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐในปีงบประมาณ 2555 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการบริโภคสินค้าคงทนและใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลด ในไตรมาสที่สองเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสแรก คาดว่ามีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ และการจ้างงาน รวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ จะทำให้มีการเร่งผลิตสินค้าเพื่อชดเชยสินค้าคงคลังที่ลดลงในช่วงการผลิตหยุดชะงัก ประกอบกับการส่งออกสามารถกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติ และการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูง ด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดี เป็นผลมาจากการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวสูงของสินค้าคงทน เนื่องจาก (1) รายได้ภาคการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาสินค้าที่สำคัญและ (2) การซื้อรถยนต์ที่มีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุล และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ

ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

(1) มาตรการเร่งรัดการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการสนับสนุนสินเชื่อ ปรับลดภาษีรายได้นิติบุคคล เร่งสร้างความเชื่อมั่น และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆจากภาครัฐ จะส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุน ทั้งการก่อสร้างใหม่ การซ่อมแซมและการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ได้รับความเสียหาย

(2) เศรษฐกิจเอเชียยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี IMF ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 6.6 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทย มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าปี 2554รวมถึงการขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพระดับสูงของ จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบกรณีที่เศรษฐกิจยุโรปขยายตัวในระดับต่ำ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้การส่งออกไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง

(3) รายได้ภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะจากนโยบาย (1) การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท (2) การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรี เป็นเดือนละ 15,000 บาทและ (3) การรับจำนำสินค้าเกษตร แม้ว่าผลผลิตทางการเกษตรบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยคาดว่าเมื่อสถานการณ์การผลิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติรายได้เกษตรกรจะสูงขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบจากอุทกภัยต่อการจ้างงานจะมีผลในระยะสั้น ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว และเมื่อรวมมาตรการการลดค่าครองชีพและกระตุ้นการบริโภค ทั้งด้าน (1) การชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซินและดีเซล (2) การคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก (ไม่เกินคันละ 1 แสนบาท)คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวได้อย่างเข้มแข็ง

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลลดลง อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสหรัฐฯจะขาดดุลการคลังลดลงจากร้อยละ 6.0-7.0 ต่อ GDP ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 ในปี 2555 เพื่อลดแรงกดดันจากหนี้สาธารณะที่สูงถึงร้อยละ 100.0 ต่อ GDP ในปี 2554 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอเนื่องจากยังคงเผชิญแรงกดดันจากอัตราว่างงานสูง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.5-9.0 ในปี 2555รวมถึงความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0-1.5 จากร้อยละ 2.2 ในปี 2554

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี 2555 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 เนื่องจากการปรับลดลงการใช้จ่ายภาครัฐและการชะลอลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงอัตราว่างงานที่สูงยังเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่เสถียรภาพของสถาบันการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากความกังวลเรื่องประเทศกรีซจะผิดชำระหนี้ รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ส่วนแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ด้านนโยบายการเงินมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น คาดว่าธนาคารกลางสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หลังจากได้ปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2554

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี2554 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกสุทธิโดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวในปี 2554 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงถึง230 ต่อ GDP และคาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลสูงถึงร้อยละ 9.0-10.0 ต่อ GDP ด้านการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกซึ่งได้แรงส่งจากการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติของภาคการผลิต ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบที่ร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นมากในปี 2554

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0ในปี 2555 เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปี 2554 นอกจากนี้แนวโน้มราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ลดลงจากร้อยละ 5.5-6.0 ในปี2554 ด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวสูง ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ส่วนนโยบายการเงินยังคงมีแนวโน้มเข้มงวดทั้งการชะลอการปล่อยสินเชื่อและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

(3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 105-110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 105 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2554 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ (1) อุปสงค์ของน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง OPEC คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2555จะเพิ่มขึ้นเป็น 89.0 ล้านบารเรลต่อวัน จาก 87.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2554 โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากถึง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (2) การเก็งกำไรในช่วงสภาพคล่องในตลาดการเงินสูง และ (3) ปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งการผลิตน้ำมัน แม้ว่าสถานการณ์ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่ความตึงเครียดในด้านผลิตอื่นๆ ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

(4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 เทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจาก (1) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตได้รับกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปี รวมถึงนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาล และ (2) การปรับเพิ่มค่าจ้างภายในประเทศ ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ชะลอเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5เนื่องมาจากราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2554

(5) อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ในช่วง 30.0-31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปี2554 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 30.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นต่อการถือเงินสกุลยูโรลดลงจากความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะที่มีอย่างต่อเนื่อง

(6) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2555 คาดว่าจะมีประมาณ 20.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

การประเมินผลกระทบความเสียหายจากอุทกภัย

อุทกภัยในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคเกษตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1,464,790 ราย มีพื้นที่เสียหาย 11,429,901 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 9,180,657 ไร่

2. ภาคอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนตร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการในช่วงน้ำท่วม

3. ภาคบริการ

3.1 การท่องเที่ยว: เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประกอบกับประเทศต่างๆ ออกคำเตือนการเดินทางมายังไทย ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.41 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อรวม 10 เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0จากเดิมที่ประมาณการทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.5 ล้านคน จากผลกระทบอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง 0.7ล้านคนจากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 23,800 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 34,000 บาท) ดังนั้นทั้งปี2554 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 18.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 2553

3.2 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 176,639 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตามแนวโน้มการส่งออกนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะมีมูลค่า 243,144 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 24.5 สูงกว่าประมาณการเดิมของ สศช. ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 และสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้เพียงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางส่วน และนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางหลายแห่งได้รับความเสียหาย สินค้าส่งออกที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อาหาร ยางและผลิตภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และทำให้การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 17.2 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 226,900 ล้านดอลลาร์ สรอ.

3.3 ภาคการค้า ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ได้รับผลกระทบในช่วงน้ำท่วม จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ในอนาคต และการปิดกิจการชั่วคราวในช่วงน้ำท่วม

4. ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2554 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นโดย สศช. ความเสียหายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำปี ลดลง 248,386 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมลดลงร้อยละ 2.3 ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

ความคิดเห็นของผม ผมได้อ่านจากบทความข้างต้นแล้ว ผมมั่นใจว่าการดำเนินงานของรัฐบาลในการฟื้นฟู แก้ไข และพัฒนาในปี พ.ศ.2555 เพื่อการขยายตัวที่ดีขึ้นไม่ว่าจะทั้งในภาคเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและด้านการท่องเที่ยว ให้ประชาชนทั้งที่จะมาเที่ยวในประเทศเราหรือกลุ่มนักลงทุนได้มั่นใจยิ่งขึ้นครับ

นายสุริยา พลขันธ์

54127326081

การเงินการธนาคาร 02

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2554-2555

ข่าวเศรษฐกิจ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -- พุธที่ 14 ธันวาคม 2554 15:46:16 น.

- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

- หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2554ร้อยละ 0.5 (%QoQ SA)

- ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5และ 4.7 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

- การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ19.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 10.3ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.0 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

- ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2554 และในปี 2555 (1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย (1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555 (1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ (1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย และ (1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน(2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ และ (3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 และแนวโน้มปี 2554 - 2555

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2554 (ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เฉลี่ยในช่วง 9เดือนแรกของปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

ปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสนี้สูงถึง 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 27.3 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.1 10.8 และ 30.6 ตามลำดับ

รวม 9 เดือนแรกของปี การส่งออกมีมูลค่า 176,641 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 24.6

ตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัว ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 62.8 25.5 34.7 21.0 และ 10.8 ตามลำดับ

(2) ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยในไตรมาสสาม มีจำนวน 4.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 43.8 และ 38.1 ตามลำดับ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 197,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเข้าพักอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.9 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 46.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.0

รวม 9 เดือนแรกของปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1

(3) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหลัก เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3และ 9.2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.1 และ64.2 ของไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6

(4) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.1 และ 6.1 ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และปูนซิเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI) เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา

ปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการลดลงของผลผลิตยางเนื่องจากภาวะฝนตกชุกในภาคใต้ ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ชะลอตัว ทำให้โดยรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 25.7ในไตรมาสก่อน

(2) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการบริโภคในสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งแนวโน้มที่สูงขึ้นของเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านคน

ดังนั้นในการแถลงภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 จากร้อยละ 3.5 — 4.0 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 17.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2553

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลัก

คาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าชะลอตัวลงในทุกประเภท ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้คลี่คลายลง ในไตรมาสนี้สินค้าคงทนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 73.5 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 ทั้งนี้ สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายในระยะต่อไปมากขึ้น

การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรชะลอตัวในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากได้มีการเร่งนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสตามแผนการลงทุนขยายกำลังการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 6.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.4 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงจากระดับ 55.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 53.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะธุรกิจในอนาคตลดลง จากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การปรับราคาสินค้าดำเนินการได้ยาก ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ตลอดจนปัญหาอุทกภัย ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะต่อไป

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามปี 2554 คิดเป็นมูลค่า 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,906,882 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 27.3 โดยปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 และ 6.4 ตามลำดับ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 68.6 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาส่งออกซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และ 17.6 ตามลำดับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศจีน ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้สดและแช่แข็ง สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และ 25.9 ตามลำดับ ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.2 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนขยายตัวร้อยละ 11.3 ยานพาหนะและชิ้นส่วนขยายตัวร้อยละ 10.8 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่สองที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.0 เนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมส่งออก พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 และ 36.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.3 และ 32.1 ในไตรมาสที่สอง ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสที่สองของปี 2554

ตลาดส่งออก: ขยายตัวทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป (15) และอาเซียน (9) ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 และ 34.7 ตามลำดับ ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวร้อยละ 21.0 และ 5.2 เทียบกับร้อยละ 35.9 และ 17.5 ในไตรมาสก่อนตามลำดับ ส่วนตลาดอื่นๆ ยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.8 จากร้อยละ 22.7 ในไตรมาสที่สอง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปออสเตรเลียกลับมาขยายตัวร้อยละ 10.8 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาสจากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบและทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป

การนำเข้า: ทั้งมูลค่า ปริมาณและราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สามของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 33.4ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากราคาสินค้าเชื้อเพลิงและทองคำที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 19.0 ในไตรมาสก่อนปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้าในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากอุปสงค์สินค้าเกือบทุกหมวดขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ชะลอตัวลงทั้งมูลค่า ปริมาณ และราคา

เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า สินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นทั้งมูลค่า ราคา และปริมาณ ยกเว้นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ชะลอตัวลงทั้งมูลค่า ปริมาณและราคา หลังจากขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ผ่านมา โดยสินค้าทุนมีมูลค่าขยายตัวร้อยละ 23.9 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 20.9 ในไตรมาสก่อน สินค้าทุนที่ยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งเครื่องจักรและชิ้นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้กับสายตา ภาพยนตร์และการถ่ายภาพ สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางมูลค่าขยายตัวร้อยละ 19.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.0 ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าขยายตัวร้อยละ20.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.2 สินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ชาและกาแฟและนาฬิกาและเครื่องประดับ ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นมูลค่าขยายตัวร้อยละ 63.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 38.0 ในไตรมาสก่อน โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเก็งกำไรในตลาดทุนและความไม่สงบในแอฟริกาเหนือ

อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สามของปี 2554 หดตัวร้อยละ 4.7 เป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 ไตรมาส

ดุลการค้า: เกินดุลเพิ่มขึ้น โดยเกินดุล 7,676 ล้านดอลลาร์ สรอ. (231,562 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล7,295 ล้านดอลลาร์ สรอ. (221,424 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ข้าวนาปี และนาปรังบางส่วนได้รับความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตสำคัญ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ให้ผลผลิต

ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 โดยราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 10.3 ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 36.4 และ 44.7 ในไตรมาสก่อน ตามลำดับ โดย

(1) ราคายางพาราชะลอลงตามอุปสงค์ในตลาดโลก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และ (2) ราคาปาล์มน้ำมันชะลอลงตามราคาในตลาดโลกเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากทั้งผลผลิตของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกันราคาข้าวเปลือกขยายตัวร้อยละ 14.3 จากการที่ผู้ประกอบการส่งออกข้าวมีความต้องการซื้อข้าวเก็บสำรองไว้ก่อนการปรับเปลี่ยนนโยบายดูแลราคาสินค้าเกษตรจากมาตรการประกันราคามาเป็นการรับจำนำข้าวเปลือกซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 7 ตุลาคม2554การลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรและการชะลอตัวของราคาสินค้าเกษตรสำคัญส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 43.1 และ 25.7 ในไตรมาสแรกและสองของปี ตามลำดับ

สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3 และ 9.2 ตามลำดับ หลังจากประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของการก่อสร้างภาคเอกชน ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์และคอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 9.3 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จากการที่สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังไม่คลี่คลายประกอบกับค่าเงินบาทที่ยังคงผันผวนทำให้อุปสงค์จากต่างประเทศต่อสินค้าอุตสาหกรรมบางประเทศของไทยหดตัวลง เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม หลอดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ที่หดตัวร้อยละ 26.5 9.8 และ 39.4 ตามลำดับ ส่วนดัชนีสินค้าคงคลังไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับไตรมาสก่อน แสดงให้เห็นว่ายังคงมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังในระบบอย่างต่อเนื่อง

อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 59.1 และร้อยละ 64.2 ตามลำดับ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 90.3) การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (ร้อยละ 83.7) การผลิตยางรถยนต์ (ร้อยละ 83.4) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 82.6) การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 80.8) และการผลิตเม็ดพลาสติก (ร้อยละ 80.5) ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 50 เช่น การผลิตยาสูบ (ร้อยละ 49.6) การผลิตเหล็กกล้า (ร้อยละ49.4) การผลิตเครื่องนุ่งห่ม (ร้อยละ 48.2) อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ร้อยละ 44.8) การผลิตหนังฟอก (ร้อยละ40.7) และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ร้อยละ 28.9) เป็นต้น

สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 5.6 ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากก่อสร้างภาครัฐที่หดตัวร้อยละ 15.3 เนื่องจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ส่วนใหญ่สิ้นสุดลง ประกอบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจชะลอลง ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นผลจากการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ

ราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 6.5 เป็นผลมาจากราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ส่วนราคาไม้ และซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 12.5 ชะลอจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 และ 15.2 ตามลำดับ การที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป

สาขาอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการชะลอการตัดสินใจในการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อรอความชัดเจนของมาตรการอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐบาล ซึ่งเห็นได้จากเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.8 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา ประกอบกับระดับราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งราคาบ้านเดี่ยว ทาวส์เฮาวส์ และอาคารชุด รวมถึงราคาที่ดิน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 9.2 15.7 และ 8.6 ตามลำดับ

สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 10.0 ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 19.8 ไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวน 4.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชีย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 43.8 และ 38.1 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 56.9 ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 46.7

ด้านรายรับจากการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้มีมูลค่า 197,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 142,424 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9

การท่องเที่ยวภายในประเทศยังคงขยายตัว สะท้อนจากจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 และ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามลำดับ

เหตุการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในไตรมาสนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมากนัก จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามเมื่อเมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมได้ขยายมาถึงเขตปริมณฑลและกรุงเทพตั้งแต่เดือนตุลาคม และสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ประกอบกับประเทศต่างๆจำนวน 42 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554) ได้ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2554 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยในเดือนตุลาคมมีจำนวน 1.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7

การจ้างงาน ไตรมาสที่สาม ปี 2554 มีการจ้างงาน 39.32 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยเฉพาะสาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาอุตสาหกรรม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 2.3 และ 0.9 ตามลำดับ

สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 2.62 แสนคน ลดลงจำนวน 0.79 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 23.0 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.7

สถานการณ์ตึงตัวของตลาดแรงงานในไตรมาสนี้เริ่มผ่อนคลายลง โดยสะท้อนจากสัดส่วนของตำแหน่งงานว่างทั้งประเทศต่อผู้สมัครงานใหม่เท่ากับร้อยละ 0.7 ลดลงจากไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองที่ร้อยละ 1.0และ 0.8 ตามลำดับ

ภาวะการคลัง

ในไตรมาสสี่ปีงบประมาณ 2554 (กรกฎาคม — กันยายน 2554) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ504,151.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และสูงกว่าประมาณการ59,381.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ได้แก่ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวค่อนข้างสูงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บจากยอดการประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบบัญชีปี 2554 (ภ.ง.ด. 51) ที่ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในครึ่งปีแรกของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับรายได้รวมสุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กันยายน 2554) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,891,026 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการ 241,017 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อน 186,548.9ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9

การเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสสี่ปีงบประมาณ 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 479,370.6 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 จำนวน 457,956 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.1 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ทั้งหมด ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 25 โดยเป็นการเบิกจ่ายในส่วนของรายจ่ายประจำ 384,839 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.2 ของรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน 73,117.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.6 ของรายจ่ายลงทุน และ 2)การเบิกจ่ายงบประมาณกันเหลื่อมปี จำนวน 21,414.6 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 11.7 ของงบประมาณกันเหลื่อมปีทั้งหมด ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 17.7 เมื่อรวมทั้งปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กันยายน 2554) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี2554 รวม 2,050,523.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.5 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งหมด สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.5 (เป้าหมายการเบิกจ่าย ร้อยละ 93.0) ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนมีการเบิกจ่ายรวม263,557.4 คิดเป็นร้อยละ 74.1 ของงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 72.0 ขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณกันเหลื่อมปี รวม 127,355.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 69.3 ของงบกันเหลื่อมปีทั้งหมด

โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายรวม12,094.8 ล้านบาท โดย ณ สิ้นไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณ ทั้งสิ้น342,666.4 ล้านบาท มีการเบิกจ่าย 295,763.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.3 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.3 โดยมีโครงการที่มีการเบิกจ่ายเสร็จสมบูรณ์ 29,384 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้ว 12,205 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 27.4 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) ยังไม่มีการเบิกจ่าย 377 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 1,791 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 4.0 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) และโครงการที่รอการจัดสรรงบประมาณ 872 โครงการ (คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของจำนวนโครงการทั้งหมด) โดยมีโครงการที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมด 44,629 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 349,960.4 ล้านบาท

ฐานะการคลังในไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2554 ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสดก่อนกู้เกินดุล159,018.3 ล้านบาท เป็นการเกินดุลเงินงบประมาณ 21,019.9 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ137,998.4 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บ

นายวันเฉลิม เล็กวิไล

ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งนั้น ก่อนที่ผมจะดูผลกระทบต่อเศรษฐกิจของปี พ.ศ. 2554 -2555 นั้นผมจะพูดถึงสาเหตุของเงินเฟ้อและเงินฝืดก่อนนะครับ

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึงายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ อาจจะสงสัยว่าเงินเฟ้อคืออะไร แล้วเมื่อไรถึงจะเรียกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คำว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง ตัวอย่างของค่าของเงินที่ลดลงเช่น ราคาน้ำมันเคยอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร สมมติเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร ก็จะใช้เงิน 140 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 28 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 140 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ ซึ่งหากต้องการที่จะเติมน้ำมัน 10 ลิตร เท่าเดิม แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 280 บาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง ทำให้ซื้อของได้น้อยลงอย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด

ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

ภาวะเงินฝืดคืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่าเป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand side คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัว โดยอาการของภาวะเงินฝืดนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงและทำให้เงินเฟ้อติดลบเช่นกัน แต่คราวนี้ การติดลบเกิดจากความต้องการบริโภคของผู้คนที่ลดลงเช่นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนไม่มีรายได้จะจับจ่ายใช้สอย คนขายสินค้าจึงลดราคาสินค้าลงเพื่อให้ยังขายได้ โดยการติดลบของเงินเฟ้อจะน่ากลัวและมีผลต่อเศรษฐกิจได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2-3 ประการได้แก่

(1) ราคาสินค้าและบริการลดลงโดยทั่วไป ไม่ได้เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคที่ลดลง

(2) ราคาสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผู้คนชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป โดยหวังว่า (Expect) ราคาสินค้าและบริการจะถูกลงไปอีก

(3) เมื่อคนคิดเหมือน ๆ กันคือรอให้ราคาสินค้าถูกลง โดยคิดว่า “ถ้าซื้อพรุ่งนี้ ราคาน่าจะถูกกว่าซื้อวันนี้” ในที่สุดจะส่งผลทำให้สินค้าของผู้ผลิตขายไม่ออก ก็เริ่มมีสินค้าเหลือในสต็อก ผู้ผลิตเริ่มขาดทุน และเริ่มปลดคนงานออก คนก็เริ่มตกงาน เมื่อตกงานก็ไม่มีกำลังซื้อไปซื้อสินค้า ก็ทำให้ผู้ผลิตขาดทุนขายของไม่ออกไปอีก และในที่สุดก็ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันไปอีกหลายปี

และผลกระทบต่อเงินเฟ้อต่อระบบเศรษฐกิจเงินเฟ้อของปี 2554 นั้น ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวแปรชี้นำ 7 รายการในเดือนตุลาคม 2554 มีค่า 99.4 (ปี 2545 = 100) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ เนื่องจากการลดลงของตัวแปรชี้นำ 4 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก และอัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรเพิ่มขึ้น 3 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า ส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade และอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 ลดลงร้อยละ 6.7

ดัชนีวัฏจักรเงินเฟ้อ เดือนธันวาคม 2554

อัตราเงินเฟ้อในอนาคตมีแนวโน้มชะลอลง

ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวแปรชี้นำ 7 รายการในเดือนธันวาคม 2554 มีค่า 100.3 (ปี 2545 = 100) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของตัวแปรชี้นำ 5 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก และส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรลดลง 2 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง และอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้าทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 ลดลงร้อยละ 4.5

และข้อมูลภาวะเงินเฟ้อนั้นของปี 2554 นั้น จะเห็นได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นสูงขึ้น แต่การผลิตปรับตัวลงเพราะเกิดผลกระทบคือสึนามึจากประเทศญี่ปุ่น และทำให้การผลิตสินค้าปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสินค้าที่สำคัญๆและการนำเข้าขยายตัวสูงมากขึ้น และที่สำคัญ เงินก็ขยายตัวสูงขึ้นไม่มากนัก และปีนี้คาดว่า จะมีหลายปัจจัยที่อาจจะทำให้เงินเฟ้อมีค่าสูงขึ้น รงกดดันแรก ก็คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะทำให้ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศสูง แรงกดดันสอง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และในกรณีของราคาน้ำมัน ความไม่สงบในแถบแอฟริกาตอนเหนือยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันมีความอ่อนไหวและ ผันผวนอยู่ต่อไป รงกดดันสาม ก็คือ สภาพคล่องที่มีมากในระบบการเงินโลกจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ทำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้ามากขึ้น เพื่อประกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ กดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นไปอีก แรงกดดันสี่ ก็คือ ราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ปีที่แล้ว จากความต้องการที่สูงขึ้นในตลาดโลกและการผลิตที่ลดลงจากผลของภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของภาวะอากาศ อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อจะประมาทไม่ได้ในปีนี้ก็เพราะ ลักษณะของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากราคาอาหารและราคาน้ำมันจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น ดังนี้ ลักษณะแรก จากสี่แรงกดดันที่พูดถึงในทางเศรษฐศาสตร์ต้องถือว่าราคาอาหารสำคัญที่สุด เพราะกระทบค่าครองชีพ ความเป็นอยู่ และเสถียรภาพของสังคม ประสบการณ์เงินเฟ้อในเศรษฐกิจโลกในอดีตชี้ชัดว่าคราวใดที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัว พร้อมกับหรือนำโดยการเร่งตัวของราคาอาหาร คราวนั้นปัญหาอัตราเงินเฟ้อมักจะต่อเนื่องและรุนแรง ดังนั้นคราวนี้จึงประมาทเรื่องเงินเฟ้อไม่ได้ เพราะราคาอาหารก็ปรับสูงขึ้น ที่สำคัญปัจจัยที่ทำให้ราคาอาหารปรับสูงขึ้นคราวนี้ไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว แต่มาจากการบริโภคอาหารในโลกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศอย่างจีน และ อินเดีย ที่มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีการใช้พืชเกษตรมาเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มีการใช้พืชอาหารเพื่อผลิตพลังงานทดแทน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว แต่เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อเนื่องต่ออัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตอาหารก็จะสูงขึ้นอีก จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น นกรณีของประเทศไทยถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศส่งออกอาหาร แต่ประเทศไทยก็นำเข้าน้ำมันมากในการใช้พลังงาน ดังนั้นผลกระทบคงจะมี จึงทำให้ต้องมีการเตรียมปรับตัว แต่จากที่สามในสี่แรงกดดันที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นก็คือ ราคาอาหาร ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และสภาพคล่อง เป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมของประเทศไทย ดังนั้นการแก้ไขเงินเฟ้อในปี 2554 จึงมีความยากมากยิ่งขึ้น แต่ก็สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ โดยดำเนินนโยบายภายในประเทศให้ถูกต้อง และทันเหตุการณ์ ซึ่งที่สำคัญคงมีสองเรื่องที่ต้องติดตามได้แก่

เรื่องแรก นโยบายการเงินและการคลัง ต้องดูแลการใช้จ่ายในประเทศให้เหมาะสม ไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่ไม่จำเป็น

เรื่องที่สอง มีการช่วยเหลือกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มยากจนที่จะถูกกระทบมากจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการปรับตัวต่อราคาที่จะแพงขึ้นให้ได้โดยเฉพาะราคาอาหาร การช่วยเหลือที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแบบนี้ จะทำให้รัฐบาลมีความประหยัด ตรงประเด็น และมีเหตุมีผลกว่า การอุดหนุนเป็นการทั่วไปที่ให้แก่ทุกๆ คน อย่างกรณีของน้ำมันที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหากับงบประมาณของรัฐบาลได้ในอนาคต จะกล่าวคือไม่ว่า อย่างไรก็ตามชีวิตของคนเราจำเป็นต้องกินข้าว เพราะความหิว

และในปี 2554 ยังเกิดภาวะปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยซึ่งเกิดปัญหาต่างๆมากมายเช่น ของแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือกระสอบทราย มีการกักตุนน้ำ มีการขึ้นราคาของเรือ ของไม้พายซึ่งเกิดปัญหาต่างๆในด้ารเศรษฐกิจไทย ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคการผลิตยังมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่จะเข้ามาในนิคมอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้การผลิตได้มีการชะลอตัวลงไป ในขณะที่ดุลการค้ายังมีค่าเป็นบวก เพราะการนำเข้ายังปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกันภาวะการเงินยังทรงตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ได้ว่าดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีค่าลดลง แต่ดุลการค้ายังมีค่าเป็นบวกอยู่ เนื่องจากการนำเข้ายังปรับตัวลดลง ส่วนการส่งออกมีการขยายตัวที่ลดลงไปตามภาวะการผลิตที่มีค่าลดลง จึงทำให้ดุลการค้ามีค่าลดน้อยลงไปด้วย ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมามีค่าเป็นลบ เนื่องจากมีเงินไหลออกจากประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีทิศทางที่เป็นลบ อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ อย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทรวมไปถึงยังมีปัจจัยลบอื่นๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว และจากปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วทำให้ภาวะการค้าในเดือนนี้มีค่าลดลงมาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นปี 2554 เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมมีการเติบโตที่ไม่สูงเท่าไรนัก โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวได้แค่ 1.1% ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอตัวลงจากเหตุการณ์อุทกภัยส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชะลอตัวลงตามไปด้วย และจากปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จึงส่งผลให้การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจของประเทศจึงมีการปรับตัวลดลงไป ารบริโภคจากภาคเอกชนมีการขยายตัวที่ลดลงไป เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนของภาครัฐมีการขยายตัวลดลง เนื่องจากภาครัฐไม่ได้เร่งการลงทุน เพราะเป็นช่วงที่รัฐบาลใหม่เพิ่งเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ ส่วนอุปสงค์ภายนอกประเทศหรือการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง ในขณะที่การนำเข้าก็มีการขยายตัวลดลงตามไปด้วย แต่ก็ยังมีผลทำให้มีการเกินดุลการค้าอยู่อย่างต่อเนื่องจากปี 2553 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 โดยคาดการณ์ว่าจะมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.9 ในปี 2554 ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้นมานั้น เนื่องมาจากสาเหตุหลักของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีความผันผวน อีกทั้งการเกิดปัญหาอุทกภัยได้ส่งผลทำให้สินค้าเกิดการขาดแคลนจนทำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของราคามีค่าสูงขึ้นมาเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จึงส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2554 มีแนวโน้มการขยายตัวที่ลดลงไปจากเดิมเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ผ่านมาแต่ที่เกิดเหตุการ์ณสำคัญครั้งนี้ คือเกิดปัญหาน้ำท่วมนั้นเอง

คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 – 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลักรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 คาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตได้สูงขึ้นกว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยได้มีการประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดับ 4.5-5.5% เนื่องจากได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงมีการขยายตัวในอัตราเร่งมากขึ้นตามความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากปัญหาวิกฤตอุทกภัยได้คลี่คลายไป ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่ออกมาในเรื่องของการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ โครงการจำนำข้าวเปลือก ในขณะที่การลงทุนของภาคเอกชนในปี 255 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ต่อปี เพราะต้องมีการเร่งการผลิตมากขึ้นภายหลังจากสถานการณ์ปัญหาอุทกภัยได้ผ่านไปแล้ว เนื่องจากความต้องการสินค้าของผู้บริโภคสำหรับใช้ในการฟื้นฟูมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงจากความเปราะบางและความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ แต่อาจจะมีเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่มีการเติบโตที่ดีจะช่วยทำให้การส่งออกของไทยยังขยายตัวได้อยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามในปี 2555 การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจะเป็นปัจจัยในการช่วยสนับสนุนและประคับประคองให้การใช้จ่ายภายในประเทศให้เกิดการขยายตัว โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐในปี 2555 จะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.5 และ ร้อยละ 8.8 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้จ่ายของภาครัฐสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งการเสริมสภาพคล่องผ่านการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอย่างเพียงพอจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวได้ในกรณีสูงที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี

โดยสรุปจะเห็นได้ว่ายังมีปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายนอกและในประเทศที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมจะส่งผลต่อการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจในปี 2555 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐได้วางนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้วางนโยบายต่างๆ ที่สำคัญสำหรับช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาที่รุมเร้าและภาวะเศรษฐกิจของโลกที่อาจจะมีการฟื้นตัวได้อย่างล่าช้าตามสถานการณ์ที่ยังแก้ไขได้ไม่เรียบร้อยเท่าไรนัก ดังนั้นจึงคาดว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2555 จึงน่าจะยังขยายตัวได้ในอัตราที่สูงขึ้นภายหลังจากปัญหาวิกฤตอุทกภัยได้ผ่านไปแล้ว และจะทำให้การเติบโตปรับตัวเพิ่มขึ้นไปเมื่อเทียบกับในปี 2554 ที่ผ่านมา

• ภาพรวมภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2554

ในปี 2554 นี้ การทำตลาดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบในช่วงปลายปีที่ประสบกับปัญหาวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่จนทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องตกงานและขาดรายได้ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อบ้านของผู้บริโภคและการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการ ประกอบกับสถาบันการเงินก็ยังเข้มงวดในเรื่องของการปล่อยสินเชื่ออย่างอยู่ด้วย

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางที่หดตัวลง เห็นได้จากที่อยู่อาศัยจดทะเบียนในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมมีจำนวน 58,645 หน่วย ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 มีที่อยู่อาศัยจดทะเบียน 59,108 หน่วย หรือมีอัตราลดลงร้อยละ 1.0 โดยในส่วนที่มีการขยายตัวลดลงมากที่สุดคือที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่มีจำนวนลดลงไปถึงร้อยละ 13 เนื่องจากอาคารชุดต้องเข้ามาตรการ LTV ที่บังคับใช้โดยธนาคารแห่งประเทศตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา จึงส่งผลทำให้การพัฒนาโครงการอาคารชุดทำได้ยากมากขึ้น เพราะผู้ซื้อต้องมีการวางเงินดาวน์ที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าให้ปรับตัวลดน้อยลงไป อีกทั้งในช่วงปลายปีได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ จึงทำให้ประมาณการว่าจะมียอดจดทะเบียนอยู่ที่ 90,000 หน่วย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.80 เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีจำนวนอยู่ที่ 106,893 หน่วย

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2554 การทำตลาดยังเป็นปีที่มีความยากลำบากอยู่ต่อไป เนื่องจากปัจจัยลบที่มีเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการแข่งขันในตลาดที่ค่อนข้างจะรุนแรง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงได้เข้ามากระทบกับตลาดโดยรวม จึงมีผลทำให้ในปี 2554 นี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการขยายตัวลดลงไปเมื่อเทียบกับปี 2553 โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากปัจจัยลบต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเอง

• แนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2555

แนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2555 คาดการณ์ว่าจะยังมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำตลาดก็จะยิ่งมีความยากมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปีทำให้มีการชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอื่นๆ อีก ในเรื่องของเสถียรภาพทางด้านการเมือง เพราะการเมืองเริ่มมีความผันผวนภายหลังจากที่เริ่มจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้าหากการเมืองยังไม่นิ่งก็อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งแนวโน้มเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ยังมีสัญญาณไม่แน่นอนว่าจะปรับตัวลดลงหรือสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้ประกอบการอาจจะมีการชะลอเปิดตัวโครงการใหม่และต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่ภาครัฐได้เร่งดำเนินนโยบายได้การสร้างโครงข่ายคมนาคมไปยังพื้นที่ชานเมือง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่าโครงการที่จะทำการพัฒนาจะมีการกระจายตัวไปตามโครงการสาธารณูปโภคที่รัฐบาลได้วางแผนในการดำเนินการก่อสร้างเอาไว้ ซึ่งจะเป็นทำเลที่ผู้บริโภคมีความต้องการเป็นอย่างมาก

ในปี 2555 นี้ ตลาดระดับกลางและบ้านราคาที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งในแง่ของการนำราคาบ้านมาหักภาษีได้ 5 ปี การอัดฉีดเงินกู้ดอกเบี้ย 0% ที่จะช่วยกระตุ้นตลาดได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในภาพรวมราคาสินค้าในปี 2555 น่าจะมีการขยับราคาขึ้นไปตามภาวะต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันจากภาวะในตลาดที่ยังมีการแข่งขันกันอยู่ ดังนั้นจึงคาดว่าผู้ประกอบการน่าจะไม่ปรับราคาขึ้นไปสูงมาก และยังคาดการณ์ว่าผู้ประกอบการน่าจะใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดหรือช่วงชิงจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยอาจใช้วิธีการลดขนาดของบ้านหรือคุณภาพของวัสดุก่อสร้างบางอย่างลง เพื่อให้ยอดรายได้ไม่ตกลงไปมาก ซึ่งจะมีผลทำให้ผลตอบแทนหรือกำไรของผู้ประกอบการอาจจะลดลงมาบ้าง ซึ่งยังเป็นอีกปีหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะแข่งขันในเรื่องการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายและคุณภาพเป็นสำคัญ

จากภาวะการแข่งขันที่ยังเป็นไปอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการจึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ โดยจะต้องมีการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคว่ามีความต้องการแบบไหน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในสินค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างบ้านให้มีคุณภาพและบริการที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้นตามไปด้วย และในปี 2555 ผู้ประกอบการยังต้องคำนึงถึงการบริหารต้นทุนและการบริหารสภาพคล่องเป็นสำคัญมากกว่ากลยุทธ์ด้านราคา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อไป และคาดการณ์ว่าในปี 2555 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีสภาพของตลาดโดยรวมที่เติบโตขึ้นแต่อาจจะไม่แตกต่างจากปี 2554 มากนัก ตามเหตุผลต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งนั้น ก่อนที่ผมจะดูผลกระทบต่อเศรษฐกิจของปี พ.ศ. 2554 -2555 นั้นผมจะพูดถึงสาเหตุของเงินเฟ้อและเงินฝืดก่อนนะครับ

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึงายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ อาจจะสงสัยว่าเงินเฟ้อคืออะไร แล้วเมื่อไรถึงจะเรียกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คำว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง ตัวอย่างของค่าของเงินที่ลดลงเช่น ราคาน้ำมันเคยอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร สมมติเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร ก็จะใช้เงิน 140 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 28 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 140 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ ซึ่งหากต้องการที่จะเติมน้ำมัน 10 ลิตร เท่าเดิม แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 280 บาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง ทำให้ซื้อของได้น้อยลงอย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด

ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

ภาวะเงินฝืดคืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่าเป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand side คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัว โดยอาการของภาวะเงินฝืดนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงและทำให้เงินเฟ้อติดลบเช่นกัน แต่คราวนี้ การติดลบเกิดจากความต้องการบริโภคของผู้คนที่ลดลงเช่นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนไม่มีรายได้จะจับจ่ายใช้สอย คนขายสินค้าจึงลดราคาสินค้าลงเพื่อให้ยังขายได้ โดยการติดลบของเงินเฟ้อจะน่ากลัวและมีผลต่อเศรษฐกิจได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2-3 ประการได้แก่

(1) ราคาสินค้าและบริการลดลงโดยทั่วไป ไม่ได้เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคที่ลดลง

(2) ราคาสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผู้คนชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป โดยหวังว่า (Expect) ราคาสินค้าและบริการจะถูกลงไปอีก

(3) เมื่อคนคิดเหมือน ๆ กันคือรอให้ราคาสินค้าถูกลง โดยคิดว่า “ถ้าซื้อพรุ่งนี้ ราคาน่าจะถูกกว่าซื้อวันนี้” ในที่สุดจะส่งผลทำให้สินค้าของผู้ผลิตขายไม่ออก ก็เริ่มมีสินค้าเหลือในสต็อก ผู้ผลิตเริ่มขาดทุน และเริ่มปลดคนงานออก คนก็เริ่มตกงาน เมื่อตกงานก็ไม่มีกำลังซื้อไปซื้อสินค้า ก็ทำให้ผู้ผลิตขาดทุนขายของไม่ออกไปอีก และในที่สุดก็ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันไปอีกหลายปี

และผลกระทบต่อเงินเฟ้อต่อระบบเศรษฐกิจเงินเฟ้อของปี 2554 นั้น ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวแปรชี้นำ 7 รายการในเดือนตุลาคม 2554 มีค่า 99.4 (ปี 2545 = 100) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ เนื่องจากการลดลงของตัวแปรชี้นำ 4 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก และอัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรเพิ่มขึ้น 3 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า ส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade และอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2554 ลดลงร้อยละ 6.7

ดัชนีวัฏจักรเงินเฟ้อ เดือนธันวาคม 2554

อัตราเงินเฟ้อในอนาคตมีแนวโน้มชะลอลง

ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวแปรชี้นำ 7 รายการในเดือนธันวาคม 2554 มีค่า 100.3 (ปี 2545 = 100) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของตัวแปรชี้นำ 5 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก และส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรลดลง 2 รายการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินที่แท้จริงตามความหมายกว้าง และอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้าทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 ลดลงร้อยละ 4.5

และข้อมูลภาวะเงินเฟ้อนั้นของปี 2554 นั้น จะเห็นได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นสูงขึ้น แต่การผลิตปรับตัวลงเพราะเกิดผลกระทบคือสึนามึจากประเทศญี่ปุ่น และทำให้การผลิตสินค้าปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสินค้าที่สำคัญๆและการนำเข้าขยายตัวสูงมากขึ้น และที่สำคัญ เงินก็ขยายตัวสูงขึ้นไม่มากนัก และปีนี้คาดว่า จะมีหลายปัจจัยที่อาจจะทำให้เงินเฟ้อมีค่าสูงขึ้น รงกดดันแรก ก็คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะทำให้ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศสูง แรงกดดันสอง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และในกรณีของราคาน้ำมัน ความไม่สงบในแถบแอฟริกาตอนเหนือยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันมีความอ่อนไหวและ ผันผวนอยู่ต่อไป รงกดดันสาม ก็คือ สภาพคล่องที่มีมากในระบบการเงินโลกจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ทำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้ามากขึ้น เพื่อประกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ กดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นไปอีก แรงกดดันสี่ ก็คือ ราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ปีที่แล้ว จากความต้องการที่สูงขึ้นในตลาดโลกและการผลิตที่ลดลงจากผลของภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของภาวะอากาศ อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อจะประมาทไม่ได้ในปีนี้ก็เพราะ ลักษณะของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากราคาอาหารและราคาน้ำมันจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น ดังนี้ ลักษณะแรก จากสี่แรงกดดันที่พูดถึงในทางเศรษฐศาสตร์ต้องถือว่าราคาอาหารสำคัญที่สุด เพราะกระทบค่าครองชีพ ความเป็นอยู่ และเสถียรภาพของสังคม ประสบการณ์เงินเฟ้อในเศรษฐกิจโลกในอดีตชี้ชัดว่าคราวใดที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัว พร้อมกับหรือนำโดยการเร่งตัวของราคาอาหาร คราวนั้นปัญหาอัตราเงินเฟ้อมักจะต่อเนื่องและรุนแรง ดังนั้นคราวนี้จึงประมาทเรื่องเงินเฟ้อไม่ได้ เพราะราคาอาหารก็ปรับสูงขึ้น ที่สำคัญปัจจัยที่ทำให้ราคาอาหารปรับสูงขึ้นคราวนี้ไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว แต่มาจากการบริโภคอาหารในโลกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศอย่างจีน และ อินเดีย ที่มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีการใช้พืชเกษตรมาเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มีการใช้พืชอาหารเพื่อผลิตพลังงานทดแทน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว แต่เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อเนื่องต่ออัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตอาหารก็จะสูงขึ้นอีก จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น นกรณีของประเทศไทยถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศส่งออกอาหาร แต่ประเทศไทยก็นำเข้าน้ำมันมากในการใช้พลังงาน ดังนั้นผลกระทบคงจะมี จึงทำให้ต้องมีการเตรียมปรับตัว แต่จากที่สามในสี่แรงกดดันที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นก็คือ ราคาอาหาร ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และสภาพคล่อง เป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมของประเทศไทย ดังนั้นการแก้ไขเงินเฟ้อในปี 2554 จึงมีความยากมากยิ่งขึ้น แต่ก็สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ โดยดำเนินนโยบายภายในประเทศให้ถูกต้อง และทันเหตุการณ์ ซึ่งที่สำคัญคงมีสองเรื่องที่ต้องติดตามได้แก่

เรื่องแรก นโยบายการเงินและการคลัง ต้องดูแลการใช้จ่ายในประเทศให้เหมาะสม ไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่ไม่จำเป็น

เรื่องที่สอง มีการช่วยเหลือกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มยากจนที่จะถูกกระทบมากจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการปรับตัวต่อราคาที่จะแพงขึ้นให้ได้โดยเฉพาะราคาอาหาร การช่วยเหลือที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแบบนี้ จะทำให้รัฐบาลมีความประหยัด ตรงประเด็น และมีเหตุมีผลกว่า การอุดหนุนเป็นการทั่วไปที่ให้แก่ทุกๆ คน อย่างกรณีของน้ำมันที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหากับงบประมาณของรัฐบาลได้ในอนาคต จะกล่าวคือไม่ว่า อย่างไรก็ตามชีวิตของคนเราจำเป็นต้องกินข้าว เพราะความหิว

และในปี 2554 ยังเกิดภาวะปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยซึ่งเกิดปัญหาต่างๆมากมายเช่น ของแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือกระสอบทราย มีการกักตุนน้ำ มีการขึ้นราคาของเรือ ของไม้พายซึ่งเกิดปัญหาต่างๆในด้ารเศรษฐกิจไทย ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคการผลิตยังมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่จะเข้ามาในนิคมอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้การผลิตได้มีการชะลอตัวลงไป ในขณะที่ดุลการค้ายังมีค่าเป็นบวก เพราะการนำเข้ายังปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกันภาวะการเงินยังทรงตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ได้ว่าดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีค่าลดลง แต่ดุลการค้ายังมีค่าเป็นบวกอยู่ เนื่องจากการนำเข้ายังปรับตัวลดลง ส่วนการส่งออกมีการขยายตัวที่ลดลงไปตามภาวะการผลิตที่มีค่าลดลง จึงทำให้ดุลการค้ามีค่าลดน้อยลงไปด้วย ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมามีค่าเป็นลบ เนื่องจากมีเงินไหลออกจากประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีทิศทางที่เป็นลบ อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ อย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทรวมไปถึงยังมีปัจจัยลบอื่นๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว และจากปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วทำให้ภาวะการค้าในเดือนนี้มีค่าลดลงมาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นปี 2554 เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมมีการเติบโตที่ไม่สูงเท่าไรนัก โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวได้แค่ 1.1% ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอตัวลงจากเหตุการณ์อุทกภัยส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชะลอตัวลงตามไปด้วย และจากปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จึงส่งผลให้การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจของประเทศจึงมีการปรับตัวลดลงไป ารบริโภคจากภาคเอกชนมีการขยายตัวที่ลดลงไป เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนของภาครัฐมีการขยายตัวลดลง เนื่องจากภาครัฐไม่ได้เร่งการลงทุน เพราะเป็นช่วงที่รัฐบาลใหม่เพิ่งเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ ส่วนอุปสงค์ภายนอกประเทศหรือการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง ในขณะที่การนำเข้าก็มีการขยายตัวลดลงตามไปด้วย แต่ก็ยังมีผลทำให้มีการเกินดุลการค้าอยู่อย่างต่อเนื่องจากปี 2553 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 โดยคาดการณ์ว่าจะมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.9 ในปี 2554 ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้นมานั้น เนื่องมาจากสาเหตุหลักของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีความผันผวน อีกทั้งการเกิดปัญหาอุทกภัยได้ส่งผลทำให้สินค้าเกิดการขาดแคลนจนทำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของราคามีค่าสูงขึ้นมาเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จึงส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2554 มีแนวโน้มการขยายตัวที่ลดลงไปจากเดิมเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ผ่านมาแต่ที่เกิดเหตุการ์ณสำคัญครั้งนี้ คือเกิดปัญหาน้ำท่วมนั้นเอง

คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 – 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลักรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 คาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตได้สูงขึ้นกว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยได้มีการประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดับ 4.5-5.5% เนื่องจากได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงมีการขยายตัวในอัตราเร่งมากขึ้นตามความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากปัญหาวิกฤตอุทกภัยได้คลี่คลายไป ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่ออกมาในเรื่องของการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ โครงการจำนำข้าวเปลือก ในขณะที่การลงทุนของภาคเอกชนในปี 255 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ต่อปี เพราะต้องมีการเร่งการผลิตมากขึ้นภายหลังจากสถานการณ์ปัญหาอุทกภัยได้ผ่านไปแล้ว เนื่องจากความต้องการสินค้าของผู้บริโภคสำหรับใช้ในการฟื้นฟูมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงจากความเปราะบางและความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ แต่อาจจะมีเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่มีการเติบโตที่ดีจะช่วยทำให้การส่งออกของไทยยังขยายตัวได้อยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามในปี 2555 การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจะเป็นปัจจัยในการช่วยสนับสนุนและประคับประคองให้การใช้จ่ายภายในประเทศให้เกิดการขยายตัว โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐในปี 2555 จะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.5 และ ร้อยละ 8.8 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้จ่ายของภาครัฐสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งการเสริมสภาพคล่องผ่านการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอย่างเพียงพอจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวได้ในกรณีสูงที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี

โดยสรุปจะเห็นได้ว่ายังมีปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายนอกและในประเทศที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมจะส่งผลต่อการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจในปี 2555 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐได้วางนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้วางนโยบายต่างๆ ที่สำคัญสำหรับช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาที่รุมเร้าและภาวะเศรษฐกิจของโลกที่อาจจะมีการฟื้นตัวได้อย่างล่าช้าตามสถานการณ์ที่ยังแก้ไขได้ไม่เรียบร้อยเท่าไรนัก ดังนั้นจึงคาดว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2555 จึงน่าจะยังขยายตัวได้ในอัตราที่สูงขึ้นภายหลังจากปัญหาวิกฤตอุทกภัยได้ผ่านไปแล้ว และจะทำให้การเติบโตปรับตัวเพิ่มขึ้นไปเมื่อเทียบกับในปี 2554 ที่ผ่านมา

• ภาพรวมภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2554

ในปี 2554 นี้ การทำตลาดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบในช่วงปลายปีที่ประสบกับปัญหาวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่จนทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องตกงานและขาดรายได้ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อบ้านของผู้บริโภคและการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการ ประกอบกับสถาบันการเงินก็ยังเข้มงวดในเรื่องของการปล่อยสินเชื่ออย่างอยู่ด้วย

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีทิศทางที่หดตัวลง เห็นได้จากที่อยู่อาศัยจดทะเบียนในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมมีจำนวน 58,645 หน่วย ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 มีที่อยู่อาศัยจดทะเบียน 59,108 หน่วย หรือมีอัตราลดลงร้อยละ 1.0 โดยในส่วนที่มีการขยายตัวลดลงมากที่สุดคือที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่มีจำนวนลดลงไปถึงร้อยละ 13 เนื่องจากอาคารชุดต้องเข้ามาตรการ LTV ที่บังคับใช้โดยธนาคารแห่งประเทศตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา จึงส่งผลทำให้การพัฒนาโครงการอาคารชุดทำได้ยากมากขึ้น เพราะผู้ซื้อต้องมีการวางเงินดาวน์ที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าให้ปรับตัวลดน้อยลงไป อีกทั้งในช่วงปลายปีได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ จึงทำให้ประมาณการว่าจะมียอดจดทะเบียนอยู่ที่ 90,000 หน่วย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.80 เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีจำนวนอยู่ที่ 106,893 หน่วย

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2554 การทำตลาดยังเป็นปีที่มีความยากลำบากอยู่ต่อไป เนื่องจากปัจจัยลบที่มีเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการแข่งขันในตลาดที่ค่อนข้างจะรุนแรง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงได้เข้ามากระทบกับตลาดโดยรวม จึงมีผลทำให้ในปี 2554 นี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการขยายตัวลดลงไปเมื่อเทียบกับปี 2553 โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากปัจจัยลบต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเอง

• แนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2555

แนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2555 คาดการณ์ว่าจะยังมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำตลาดก็จะยิ่งมีความยากมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปีทำให้มีการชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอื่นๆ อีก ในเรื่องของเสถียรภาพทางด้านการเมือง เพราะการเมืองเริ่มมีความผันผวนภายหลังจากที่เริ่มจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้าหากการเมืองยังไม่นิ่งก็อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งแนวโน้มเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ยังมีสัญญาณไม่แน่นอนว่าจะปรับตัวลดลงหรือสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้ประกอบการอาจจะมีการชะลอเปิดตัวโครงการใหม่และต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่ภาครัฐได้เร่งดำเนินนโยบายได้การสร้างโครงข่ายคมนาคมไปยังพื้นที่ชานเมือง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่าโครงการที่จะทำการพัฒนาจะมีการกระจายตัวไปตามโครงการสาธารณูปโภคที่รัฐบาลได้วางแผนในการดำเนินการก่อสร้างเอาไว้ ซึ่งจะเป็นทำเลที่ผู้บริโภคมีความต้องการเป็นอย่างมาก

ในปี 2555 นี้ ตลาดระดับกลางและบ้านราคาที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งในแง่ของการนำราคาบ้านมาหักภาษีได้ 5 ปี การอัดฉีดเงินกู้ดอกเบี้ย 0% ที่จะช่วยกระตุ้นตลาดได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในภาพรวมราคาสินค้าในปี 2555 น่าจะมีการขยับราคาขึ้นไปตามภาวะต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันจากภาวะในตลาดที่ยังมีการแข่งขันกันอยู่ ดังนั้นจึงคาดว่าผู้ประกอบการน่าจะไม่ปรับราคาขึ้นไปสูงมาก และยังคาดการณ์ว่าผู้ประกอบการน่าจะใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดหรือช่วงชิงจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยอาจใช้วิธีการลดขนาดของบ้านหรือคุณภาพของวัสดุก่อสร้างบางอย่างลง เพื่อให้ยอดรายได้ไม่ตกลงไปมาก ซึ่งจะมีผลทำให้ผลตอบแทนหรือกำไรของผู้ประกอบการอาจจะลดลงมาบ้าง ซึ่งยังเป็นอีกปีหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะแข่งขันในเรื่องการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายและคุณภาพเป็นสำคัญ

จากภาวะการแข่งขันที่ยังเป็นไปอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการจึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ โดยจะต้องมีการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคว่ามีความต้องการแบบไหน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในสินค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างบ้านให้มีคุณภาพและบริการที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้นตามไปด้วย และในปี 2555 ผู้ประกอบการยังต้องคำนึงถึงการบริหารต้นทุนและการบริหารสภาพคล่องเป็นสำคัญมากกว่ากลยุทธ์ด้านราคา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อไป และคาดการณ์ว่าในปี 2555 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีสภาพของตลาดโดยรวมที่เติบโตขึ้นแต่อาจจะไม่แตกต่างจากปี 2554 มากนัก ตามเหตุผลต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

นายวันเฉลิม เล็กวิไล

การเงินการธนาคาร ห้องเรียน 02

54127326067

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 และแนวโน้มปี 2554 – 2555

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2554 (ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เฉลี่ยในช่วง 9เดือนแรกของปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

ปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสนี้สูงถึง 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 27.3 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.1 10.8 และ 30.6 ตามลำดับรวม 9 เดือนแรกของปี การส่งออกมีมูลค่า 176,641 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 24.6 ตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัว ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 62.8 25.5 34.7 21.0 และ 10.8 ตามลำดับ

(2) ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยในไตรมาสสาม มีจำนวน 4.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 43.8 และ 38.1 ตามลำดับ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 197,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเข้าพักอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.9 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 46.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.0 รวม 9 เดือนแรกของปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1

(3) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหลัก เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3และ 9.2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.1 และ64.2 ของไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6

(4) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.1 และ 6.1 ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และปูนซิเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI) เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา

ปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการลดลงของผลผลิตยางเนื่องจากภาวะฝนตกชุกในภาคใต้ ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ชะลอตัว ทำให้โดยรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 25.7ในไตรมาสก่อน

(2) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการบริโภคในสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งแนวโน้มที่สูงขึ้นของเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านคน ดังนั้นในการแถลงภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 จากร้อยละ 3.5 — 4.0 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 17.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2553

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลัก คาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าชะลอตัวลงในทุกประเภท ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้คลี่คลายลง ในไตรมาสนี้สินค้าคงทนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 73.5 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 ทั้งนี้ สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายในระยะต่อไปมากขึ้น

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ข้าวนาปี และนาปรังบางส่วนได้รับความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตสำคัญ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ให้ผลผลิต ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 โดยราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 10.3 ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 36.4 และ 44.7 ในไตรมาสก่อน ตามลำดับ

ภาวะการคลัง

ในไตรมาสสี่ปีงบประมาณ 2554 (กรกฎาคม — กันยายน 2554) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ504,151.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และสูงกว่าประมาณการ59,381.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ได้แก่ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวค่อนข้างสูงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บจากยอดการประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบบัญชีปี 2554 (ภ.ง.ด. 51) ที่ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในครึ่งปีแรกของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับรายได้รวมสุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กันยายน 2554) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,891,026 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการ 241,017 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อน 186,548.9ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9

ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มสูงขึ้น ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 3.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี จากความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนอินเดียและสหภาพยุโรป ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากได้ปรับขึ้นในไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยมีสาเหตุหลักจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลงและปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ ในขณะที่อินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลลดลง อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าสหรัฐฯจะขาดดุลการคลังลดลงจากร้อยละ 6.0-7.0 ต่อ GDP ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.5-5.5 ในปี 2555 เพื่อลดแรงกดดันจากหนี้สาธารณะที่สูงถึงร้อยละ 100.0 ต่อ GDP ในปี 2554 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอเนื่องจากยังคงเผชิญแรงกดดันจากอัตราว่างงานสูง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.5-9.0 ในปี 2555รวมถึงความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0-1.5 จากร้อยละ 2.2 ในปี 2554

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี 2555 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 เนื่องจากการปรับลดลงการใช้จ่ายภาครัฐและการชะลอลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงอัตราว่างงานที่สูงยังเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่เสถียรภาพของสถาบันการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากความกังวลเรื่องประเทศกรีซจะผิดชำระหนี้ รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ส่วนแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ด้านนโยบายการเงินมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น คาดว่าธนาคารกลางสหภาพยุโรปมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หลังจากได้ปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2554

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี2554 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกสุทธิโดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับดีขึ้นอย่างชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวในปี 2554 ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงถึง230 ต่อ GDP และคาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลสูงถึงร้อยละ 9.0-10.0 ต่อ GDP ด้านการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกซึ่งได้แรงส่งจากการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติของภาคการผลิต ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบที่ร้อยละ 0.5-1.0 ส่วนเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นมากในปี 2554

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0ในปี 2555 เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปี 2554 นอกจากนี้แนวโน้มราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ลดลงจากร้อยละ 5.5-6.0 ในปี2554 ด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวสูง ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ส่วนนโยบายการเงินยังคงมีแนวโน้มเข้มงวดทั้งการชะลอการปล่อยสินเชื่อและปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

(3) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 105-110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 105 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2554 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ (1) อุปสงค์ของน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง OPEC คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2555จะเพิ่มขึ้นเป็น 89.0 ล้านบารเรลต่อวัน จาก 87.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2554 โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากถึง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (2) การเก็งกำไรในช่วงสภาพคล่องในตลาดการเงินสูง และ (3) ปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งการผลิตน้ำมัน แม้ว่าสถานการณ์ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่ความตึงเครียดในด้านผลิตอื่นๆ ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

(4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 เทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจาก (1) ราคาส่งออกสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตได้รับกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปี รวมถึงนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาล และ (2) การปรับเพิ่มค่าจ้างภายในประเทศ ด้านราคานำเข้าในรูปดอลลาร์สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ชะลอเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5เนื่องมาจากราคาน้ำมันในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2554

(5) อัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าจะอยู่ในช่วง 30.0-31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปี2554 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 30.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นต่อการถือเงินสกุลยูโรลดลงจากความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะที่มีอย่างต่อเนื่อง

(6) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2555 คาดว่าจะมีประมาณ 20.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 18.8 ล้านคน

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

อุทกภัยในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคเกษตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1,464,790 ราย มีพื้นที่เสียหาย 11,429,901 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 9,180,657 ไร่

2. ภาคอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนตร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการในช่วงน้ำท่วม

3. ภาคบริการ

3.1 การท่องเที่ยว: เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประกอบกับประเทศต่างๆ ออกคำเตือนการเดินทางมายังไทย ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.41 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อรวม 10 เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0จากเดิมที่ประมาณการทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.5 ล้านคน จากผลกระทบอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง 0.7ล้านคนจากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 23,800 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 34,000 บาท) ดังนั้นทั้งปี2554 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 18.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 2553

3.2 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 176,639 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตามแนวโน้มการส่งออกนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะมีมูลค่า 243,144 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 24.5 สูงกว่าประมาณการเดิมของ สศช. ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 และสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้เพียงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางส่วน และนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางหลายแห่งได้รับความเสียหาย สินค้าส่งออกที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อาหาร ยางและผลิตภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และทำให้การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 17.2 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 226,900 ล้านดอลลาร์ สรอ.

3.3 ภาคการค้า ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ได้รับผลกระทบในช่วงน้ำท่วม จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ในอนาคต และการปิดกิจการชั่วคราวในช่วงน้ำท่วม

4. ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2554 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นโดย สศช. ความเสียหายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำปี ลดลง 248,386 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมลดลงร้อยละ 2.3 ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

……… >>> การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของปี พ.ศ. 2554 จากที่ดิฉันศึกษาข้อมูล พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ของปี พ.ศ.2554 เศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศต่างก็มีการขยายตัว และอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่มาถึงช่วงไตรมาสที่ 4 พบว่า มีภาวะหดตัวเนื่องจากภาวะอุทกภัยที่ขยายวงกว้าง ธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะน้ำท่วมและโดยอ้อมจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ปัญหาด้านการขนส่งและการหยุดโรงงาน การบริโภคมีแนวโน้มชะลอลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มหดตัว การท่องเที่ยวในภาคเหนือและภาคกลางได้รับผลกระทบ ขณะที่การท่องเที่ยวในภาคใต้ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีแนวโน้มขยายตัว การผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้งภาคการเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม การจ้างงานมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะอุทกภัยในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ต้นทุนและราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นจากอุปทานที่ขาดแคลนและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงอุทกภัย และสินเชื่อมีแนวโน้มลดลงชั่วคราวจากผลกระทบของอุทกภัย และดิฉันคาดการณ์ว่าจะกลับมาขยายตัวขึ้นในภายหลังช่วงน้ำลดจากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเพื่อการบูรณะ ซ่อมแซม และภาวะนี้มีแนวโน้มครอบคลุมไปถึงไตรมาสที่ 1 ของ ปี พ.ศ. 2555 และหลังจากนี้คาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ หากทุกฝ่ายรวมมือกัน และดำเนินไปตามหลักการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ปี 2555

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2555 1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย (1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555 (1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ (1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย (1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน 2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ 3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

สำหรับภาวะการเงิน

ปี 2554 ฐานเงินยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนเป็นสำคัญ โดยฐานเงินขายตัวสูงมากในช่วงอุทกภัย จากการต้องการถือเงินสดเพื่อใช้ ยามฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้นของประชาชน แต่เข้าสู่ระดับปกติหลังจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย ปริมาณเงินความหมายกว้างขยายตัวสูงตลอดทั้งปี จากการเร่งระดมเงินฝากและตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับรองการขยายตัวของสินเชื่อ ประกอบกับมีการทยอยไหลกลับของเงินลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (FIF) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีการเคลื่อนไหวสองทิศทางมากขึ้น ตามปัจจัยภายนอกและในประเทศ โดย ดัชนีเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลอย่างต่อเนื่อง จากการขาดมาตรการการแก้ไขปัญหาหนีสาธารณะในยุโรป เป็นรูปธรรมในภาพรวมดัชนีค่าเงินบาท อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปลายปี พ.ศ.2553 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและปานกลางประตัวเพิ่มขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนในครึ่งหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนใหญ่ปรับลดลง ตามการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศ เงินฝากรวมตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงินขยายตัว ร้อยละ 14 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10. 8 สอดคล้องกับภาคเอกชนที่ขยายตัวทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนและธุรกิจ ภายใต้ภาวการณ์เงินที่ผ่อนคลายและเศรษฐกิจที่ขยายตัวในช่วงเกิดอุทกภัย และปัญหาอุทกภัยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่หยุดชะงักลงชั่วคราว ส่งผลให้สินเชื่อภาคเอกชนชะลอตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.55 ต่อปี ณ สิ้นปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.87 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้าชั้นดี (MLR) ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 7.25 ต่อปี ตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้น

นางสาวศศิธร ดอนซ้าย

54127326071

การเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจปี พ.ศ.2554-2555

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เผยแพร่ รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนมกราคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

1. ทิศทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์อุทกภัยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบทั้งผลทางตรงจากฐานการผลิตที่เสียหาย และทางอ้อมจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและปัญหาการขนส่ง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่กระทบการส่งออกสินค้าของไทยมาก่อนแล้วระยะหนึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.0 ซึ่งชะลอลงมากจากร้อยละ 7.8 ในปีก่อน

เศรษฐกิจไทยได้เริ่มฟื้นตัวแล้วนับตั้งแต่สถานการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 โดยมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญซึ่งจะช่วยชดเชยแรงส่งจากภาคการส่งออกที่จะแผ่วลงตามอุปสงค์โลกที่มีแนวโน้มอ่อนแอ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า การบริโภคภาคเอกชนจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 เนื่องจากผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องเร่งใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทดแทนทรัพย์สินที่เสียหาย รวมทั้งความต้องการบริโภคที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้า (Pent-up Demand) ยังมีสูงโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยในระยะต่อไปกำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความแข็งแกร่งจากแนวโน้มรายได้และการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากนัก ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนและภาคการผลิตได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าการบริโภคและคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิม 1-2 เดือน เนื่องจากเครื่องจักรบางส่วนเสียหายมากจนต้องนำเข้าใหม่จากต่างประเทศแทนการซ่อมแซม ผู้ประกอบการบางรายยังรอความชัดเจนเรื่องแผนการบริหารจัดการน้ำจากภาครัฐ อีกทั้งการประเมินความเสียหายและการจ่ายเงินของบริษัทประกันภัยมีความล่าช้า ทั้งนี้ ภาครัฐและภาคการเงินจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของภาคเอกชน โดยภาครัฐมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านรายจ่ายโดยตรงและมาตรการเพิ่มเติมต่างๆ โดยเฉพาะแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะที่ภาคการเงินมีบทบาทในการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว

สำหรับภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อนโดยคาดว่าจะกลับเข้าสู่แนวโน้มเดิมได้ในไตรมาสที่ 3 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ล่าช้า ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูง โดยในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ปรับลดข้อสมมติอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าลงตามเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรที่คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยและเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะชะลอลงตามการส่งออกที่แผ่วลง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ประเมินว่าจะมีแรงส่งสำหรับการขยายตัวที่มากกว่าครั้งก่อน ขณะเดียวกัน การนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอตัวในระยะสั้นตามทิศทางการส่งออกและการผลิตบางส่วนที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการนำเข้าเครื่องจักรและการทดแทนสินค้าที่ยังไม่สามารถผลิตได้ตามปกติในช่วงครึ่งปีแรก

2. แรงกดดันเงินเฟ้อ

แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มแผ่วลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 โดยแรงกดดันด้านอุปสงค์ชะลอตัวตามการฟื้นตัวของภาคเอกชนที่ล่าช้า ขณะที่ราคาอาหารสดเริ่มชะลอตัวหลังจากอุทกภัยคลี่คลาย ประกอบกับผลของโครงการรับจำนำข้าวต่อราคาข้าวและราคาอาหารมีไม่มากนักเนื่องจากมีปริมาณข้าวที่เข้าร่วมโครงการน้อยกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ดี ราคาในหมวดพลังงานอาจเร่งขึ้นบ้างจากผลของการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมันและการกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่จะเริ่มในช่วงครึ่งปีแรก รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เร่งตัวขึ้นจากผลของความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก

ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2555 เป็นต้นไป แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งกลับขึ้นมาได้บ้างจนใกล้เคียงกับแนวโน้มเดิม โดยแรงกดดันด้านอุปสงค์จะทยอยเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคเอกชนซึ่งจะทำให้ช่องว่างการผลิต (Output Gap) ปิดลงและเอื้อให้การส่งผ่านต้นทุนทำได้มากขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตจะได้รับผลจากมาตรการภาครัฐที่เริ่มบังคับใช้ในช่วงครึ่งปีแรกชัดเจนขึ้นทั้งในส่วนของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานและมาตรการที่มีผลบวกต่อราคาน้ำมัน ประกอบกับแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากแผนการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐที่จะเริ่มมีการทยอยลงทุนตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป ทั้งนี้ แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจากภายในประเทศจะเร่งขึ้นแต่แรงกดดันจากต่างประเทศจะชะลอตัวลงชัดเจน โดยประเมินว่าอุปสงค์โลกที่อ่อนแอจะกดดันให้ราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นในตลาดโลกชะลอตัวลงในระยะต่อไป

3. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจข้างต้น คณะกรรมการฯ ประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีฐานสำหรับปี 2555 จะสูงขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ส่วนหนึ่งจากผลของฐานที่อยู่ในระดับต่ำในปีก่อนหน้าเนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี ผลบวกดังกล่าวจะถูกทอนลงบางส่วนจากกระบวนการฟื้นฟูการผลิตที่คาดว่าจะล่าช้าจากเดิม ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจต่างประเทศจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงด้านลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีมากกว่าความเสี่ยงด้านบวก และความไม่แน่นอนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปมีสูงขึ้น ทำให้แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเบ้ลงและกว้างมากขึ้นตลอดช่วงประมาณการ

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯ ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2555 และ 2556 ตามแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มแผ่วลง แม้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 การฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนและผลของมาตรการภาครัฐจะทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อเร่งขึ้นบ้าง แต่จะชดเชยด้วยราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นในตลาดโลกที่ชะลอตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 หลังจากผลของมาตรการภาครัฐค่อยๆ ทยอยหมดลง จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางโน้มลงต่อเนื่องเข้าสู่ระดับปกติ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงด้านสูงและด้านต่ำต่อเงินเฟ้ออยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แผนภาพรูปพัดของประมาณการเงินเฟ้อจึงสมดุลตลอดช่วงประมาณการ

4. การดำเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสองครั้งล่าสุด เพื่อสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังอุทกภัยคลี่คลาย โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอลงมีมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศยูโรมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความเปราะบาง ขณะเดียวกัน ปัญหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้าทั้งต่อภาคการผลิต ภาคการส่งออก และความเชื่อมั่นของภาคเอกชน แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจะมีอยู่จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและอุปสงค์ภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวหลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย แต่ไม่น่าจะเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า นโยบายการเงินแม้จะผ่อนปรนอยู่แล้วในขณะนั้น แต่ก็สามารถมีบทบาทสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้มากขึ้น จึงมีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี โดย 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50

ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2555 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงจากการประชุมครั้งก่อน โดยคาดว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นแต่ยังคงมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ขณะที่ปัญหาอุทกภัยส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน และกระบวนการฟื้นฟูมีแนวโน้มล่าช้าออกไปโดยคาดว่าภาคการผลิตจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ซึ่งอุปสงค์ภาคเอกชนทื่ฟื้นตัวล่าช้ามีผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงด้วยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังมีไม่มาก ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อยังคงเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.00 ต่อปี เพื่อสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่ระดับปกติได้เร็วขึ้น

เงินเฟ้อคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เงินเฟ้อจึงไม่ใช่มากับภาวะของแพง แต่คือคำนิยามของภาวะข้าวของปรับราคาแพงขึ้น ๆ ต่อเนื่อง

ทีนี้เงินฝืดก็คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปในท้องตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

คำถามที่ว่า เกิดเงินฝืดพร้อมไปกับสินค้าแพง จึงน่าจะเป็นเรื่องเข้าใจไขว้เขวไป

มีรายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจออกมา ซึ่งสรุปว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจปรับลดลงทุกรายการ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับภาวะของแพง หรือเรื่องเงินเฟ้อ-เงินฝืด

เพียงแต่ว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ติดลบ แสดงว่าผู้บริโภคถ้าจะตัดสินใจใช้จ่ายก็คงคิดหน้าคิดหลังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าคงทนที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือมีภาระการจ่ายยาว ส่วนถ้าเป็นผู้ผลิตหรือนักลงทุน ก็คงให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นว่า จะยังเดินหน้าการลงทุนเพิ่มต่อหรือรอดูสถานการณ์ก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อไปถึงภาวะการชะลอตัวของการใช้จ่ายและการลงทุน หรือที่สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจจะไปวัดดูอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวอยู่แล้วตามฐานตัวเลขที่ใหญ่ขึ้นจากการขยายตัวก่อนหน้านี้ แต่จะน่ากลัวยิ่งขึ้นหากชะลอในอัตราที่กลับมาถึงขั้นติดลบกันอีก

ที่วงการนักเศรษฐศาสตร์จับตากันอยู่เวลานี้คือ ในภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังมีสูง จากภาระต้นทุนพลังงานและระดับราคาอาหารรวมถึงสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มขาขึ้นของเงินเฟ้อนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ยืนยัน จากผลการติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนต่อเนื่องกันมา ขณะเดียวกันก็ประสบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หรือมีการว่างงานเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปด้วย ที่เรียกกันว่า ภาวะ Stagflation ภาวะ Stagflation เป็นช่วงที่แก้ปัญหาทำได้ยาก เพราะในทางหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวด เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาวไม่ให้เกิดปัญหาฝังตัวลึกในระบบเศรษฐกิจ แต่เวลาเดียวกันการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็อาจไม่ช่วยลดเงินเฟ้อจากภาวะต้นทุนน้ำมันแพง ยังจะซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงไปอีกในช่วงภาวะค่าครองชีพสูง

หรือการเข้าไปควบคุมราคาสินค้า ออกระเบียบเข้มงวดหนักข้อขึ้น ยิ่งกระทบกลไกตลาด อาจส่งผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจและยิ่งซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อให้เลวร้ายหนักยิ่งขึ้นไปอีก

ความคิดเห็น

จากผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัยน้ำท่วมภายในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2554 จึงทำให้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นตกต่ำ เกิดเงินเฟ้อเนื่องจากสินค้าราคาแพงเพราะมีการกักตุนอาหาร กักตุนสินค้า มีเงินจำนวนเท่าเดิมแต่ไม่สามารถซื้อสินค้าชนิดเดิมได้ เศรษฐกิจฟื้นฟูเร็วขึ้นในช่วงแรกของปี 2555 เพราะอุปสงค์หรือความต้องการของผู้คนจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องการที่จะซื้อสินค้า หรืออุปกรณ์เพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากน้ำท่วม ช่างซ่อมบ้านก็จะมีงานทำ คนทำความสะอาดก็จะมีงานเยอะขึ้น ทำให้เงินสะพัด เมื่อเงินเริ่มเยอะคนก็จะนำไปใช้สอย ดังนั้นช่วงต้นปี2555 เศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นฟู ภาวะเงินเฟ้อจะยังมีไม่มาก แต่เมื่อเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติในช่วงปลายปี ก็อาจเกิดเงินเฟ้อเล็กน้อย แต่ทางรัฐบาลคงจะรับมือได้

นายพิริยพงษ์ มนูญ 54127326078

ประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี 2554

สศช. ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลงเป็นร้อยละ 1.5 เทียบกับการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยว่าทั้งปี2554 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2554

(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยการใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ลดลงจากร้อยละ 3.0 การใช้จ่ายครัวเรือนจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ปรับลดลงจากขยายตัวร้อยละ 3.3 ในการประมาณการครั้งก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานรายได้ของประชาชนในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ลดลงจากผลกระทบของอุทกภัย ทั้ง (1) ภาคเกษตรที่ผลผลิตสำคัญได้รับความเสียหายจำนวนมาก (2)ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีโรงงานจำนวนมากต้องหยุดการผลิตเป็นเวลานาน และ (3) ภาคบริการที่จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง นอกจากนี้การบริโภคยังได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

(2) การลงทุนรวมจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ปรับลดลงจากร้อยละ 6.2 โดยเป็นผลมาจากการหดตัวอย่างรุนแรงของการลงทุนภาครัฐซึ่งคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 7.9 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวเพียงร้อยละ1.5 เนื่องจากใน 3 ไตรมาสแรกการลงทุนภาครัฐหดตัวถึงร้อยละ 7.8 ประกอบกับความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2555 อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการประการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 เนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกขยายตัวมากกว่าการคาดการณ์ที่ร้อยละ 10.1

(3) การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 17.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออก เป็นขยายตัวร้อยละ 10.7 จากเดิมที่ประมาณการไว้ร้อยละ 9.7 เนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 14.7 ขณะที่ราคาส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 ปรับลดลงจากร้อยละ6.8 ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.9 ปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.8 เนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.2

(4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 27.2 เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณดุลชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย(7) รวมทั้งได้ปรับเพิ่มทั้งปริมาณและราคานำเข้า โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 16.7 เพิ่มจากร้อยละ 12.5 ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก3 ไตรมาสแรก ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 21.0 และการนำเข้ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ด้านราคานำเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.8 ซึ่งมีผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 11.3

(5) ดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 21.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุล 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณดุลชำระเงินประกอบกับใน 9 เดือนแรกมีการเกินดุลการค้าสูงถึง 23.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 2.2 ของ GDP ซึ่งเป็นการเกินดุลลดลงจาก 8.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากในไตรมาสที่ 4ดุลการค้าและดุลการบริการมีแนวโน้มหดตัวจากผลกระทบของอุทกภัย

(6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2554 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ซึ่งอยู่ในช่วงเดิมจากการประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 3.6-4.0 ส่วนการจ้างงานมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากผลกระทบของอุทกภัย ส่งผลให้อัตราการว่างงานยังคงมีแนวโน้มอยู่ระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 สะท้อนถึงภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำเนื่องจากอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบอุทกภัย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแต่การขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่งผลให้การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติด้านการนำเข้ายังขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ทำให้การส่งออกสุทธิหดตัว ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเกษตรเนื่องจากผลิตได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากอุทกภัยรวมถึงความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐในปีงบประมาณ 2555 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการบริโภคสินค้าคงทนและใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลด ในไตรมาสที่สองเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสแรก คาดว่ามีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ และการจ้างงาน รวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ จะทำให้มีการเร่งผลิตสินค้าเพื่อชดเชยสินค้าคงคลังที่ลดลงในช่วงการผลิตหยุดชะงัก ประกอบกับการส่งออกสามารถกลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติ และการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูง ด้านอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดี เป็นผลมาจากการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวสูงของสินค้าคงทน เนื่องจาก (1) รายได้ภาคการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาสินค้าที่สำคัญและ (2) การซื้อรถยนต์ที่มีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุล และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ

ในความคิดของดิฉัน เศรษฐกิจในปี54 ในช่วงแรกน่าจะมีการขยายตัวที่ดีเนื่องจากไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากระทบ แต่ช่วงปลายปีอาจมีการหยุดชะงักด้านเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากว่าประเทศได้ประสบปัญหาอุทกภัยขั้นรุนแรงมีความเสียหายแทบจะทั้งประเทศ แน่นอนผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลเสียเนื่องจากธุรกิจต่างๆต้องหยุดการผลิตสินค้า เนื่องจากเส้นทางสัญจรไม่สะดวก ของใช้อุปโภคบริโภคเริ่มขาดแคลน พ่อค้าที่มีสินค้ากักตุนไว้ก็มีสิทธิ์ขึ้นราคาเพื่อเอากำไรได้เต็มที่เพราะอย่างไรผู้บริโภคต้องซื้อต้องใช้ต้องกินเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นช่วงนี้น่าจะมีพ่อค้าฝ่ายเดียวที่ได้ประโยชน์ คาดว่าปัญหาจากปี54 น่าจะส่งผลกระทบต่อ ปี55 ดิฉันคิดว่าภาวะเงินเฟ้อน่าจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากปี54 และคาดว่าน่าจะมีการฟื้นฟูเพื่อขยายความเติบโตให้กลับเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นเหมือนเดิม

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด กลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2554

เศรษกิจไทยปี 2554 มีแนวโน้มตกต่ำหรือ ขยายตัวขึ้น ดูยังไม่แน่ชัด แต่จากเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน ขณะที่สถานการณ์ในประเทศภาพรวมอาจดูคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่อะไรก็ไม่แน่ไม่นอนทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของหลาย ๆ สำนักมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกัน โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทย 2554 จะชะลอมาอยู่ที่ 3.5-4.5% เป็นผลมาจากมูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทเริ่มติดลบ รวมทั้งราคาน้ำมันและค่าจ้างในภาคเอกชนสูงขึ้น ขณะที่การเมืองเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภาคเศรษฐกิจ เนื่องจากจะนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่ขณะที่รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แม้จะกระทบต่อจีดีพีเพียง 0.3% แต่ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในวงกว้างมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และจะกระทบต่อเงินเฟ้อที่ขยับสูงขึ้นหวั่นกำลังซื้อไตรมาส 1 สะดุดจากผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาจะทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวลง และระมัดระวังการจับจ่ายมากขึ้น โดยอาจจะต้องมีแคมเปญ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อปลุกยอดขายกันอย่างเต็มที่ เพื่อตุนยอดขายไว้ก่อนน้ำมัน ตัวแปรสินค้าขยับราคานอกจากนี้จากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยอาจจะมีการตรึงสินค้าอุปโภคบริโภคไปได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะต้นทุนหลาย ๆ อย่างปรับตัวสูงขึ้น และเร็ว ๆ นี้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำก็เตรียมจะปรับอีก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับราคา

ด้านสมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังมองภาพรวมเป็นมุมบวก “บุษบา จิราธิวัฒน์” ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย มั่นใจว่าแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกปี 2554 จะเติบโตดีกว่าปี 2553 โดยมีปัจจัยบวกมาจากการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโต 8% จากปี 2553 ที่เติบโต 7.3%

หากรัฐบาลสามารถรักษาเสถียรภาพทางการเมืองให้มีความน่าเชื่อถือ ก็จะสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคกล้าจับจ่ายใช้สอย ขณะที่นักธุรกิจเองก็กล้าที่จะลงทุนมากขึ้นเช่นเดียวกัน

นับเป็นสัญญาณที่ไม่ดี น่ากังวลใจ และเรายังมีปัจจัยอีกเสี่ยง 4 ด้านที่ต้องคิดถึง

(1) ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก วิกฤตการเงินโลกยังไม่จบ ยังจะมีปัญหาปะทุลุกลามเป็นระยะๆ โดยเฉพาะกรณีของโปรตุเกส ที่อาจจะลามไปถึง สเปน เบลเยี่ยม ตรงนี้ ปัญหาจะสลับกันไปมาระหว่างการเก็งกำไรของนักเก็งกำไรที่ส่งผลต่อตลาดการเงินและตลาดทุนโลก และการปรับลดอันดับ Rating ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกรณีของยุโรปตะวันออก และวิกฤตในตลาดพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐ ที่ยังตายใจไม่ได้

(2) ความเสี่ยงจากเงินทุนไหลเข้าและค่าเงิน ค่าเงินคงจะผันผวนทั้งปี และอาจจะมีแนวโน้มแข็งค่าเป็นระยะๆ จากปัญหาในสหรัฐที่ยังไม่จบลง จากเงินที่จะไหลเข้า และจากค่าเงินหยวนที่จะแข็งขึ้น ประเด็นนี้สำคัญเพราะหมายถึงแรงกดดันที่จะเพิ่มขึ้นต่อภาคการส่งออกซึ่งจะต้องปรับตัว นอกจากนี้เงินที่ไหลเข้าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทางการไทยจะต้องตามดูกันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เงินที่ไหลเข้านำไปสู่ปัญหา Easy Money, Easy Credit และฟองสบู่

(3) ความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศ เรื่องนี้สำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังมีปัญหาไม่จบ เราหวังจะพึ่งเศรษฐกิจในประเทศ คือ การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภค ให้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในช่วงต่อไป แต่ถ้าปัญหาการเมืองยังเกิดขึ้น รัฐบาลไม่นิ่ง การลงทุนของภาคเอกชน และการใช้จ่ายในโครงการสำคัญของภาครัฐ ก็จะเกิดได้ไม่เต็มที่

(4) ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย นโยบายภาครัฐปีหน้าจะลำบากกว่าปีนี้ เพราะปีนี้เป้าหมายชัดคือ “ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นให้ได้” แต่ปีหน้า เศรษฐกิจได้ฟื้นแล้ว สมดุลของความเสี่ยง กำลังย้ายมาที่ปัญหาด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งหลายคนยังไม่ชัดว่า ลำดับความสำคัญของภาครัฐในช่วงต่อไปคืออะไร แผนก็กำหนดได้ยาก

ด้วยเหตุนี้ ทางการจึงต้องพยายามลดความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย เพื่อเอกชนจะได้วางแผนรองรับและเดินต่อไปได้ โดยนโยบายที่สำคัญปีหน้าที่ต้องสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้น มีอยู่หลายเรื่อง

(1) ดอกเบี้ย ที่จะอยู่ในช่วงขาขึ้นและทยอยขึ้นไปอีกระยะ เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นแล้ว

(2) ค่าเงิน ที่ผืนตลาดได้ยาก โดยค่าเงินบาทจะผันผวนขึ้นลง แต่ท้ายสุดปัญหาที่ยังไม่จบในสหรัฐ จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ก็จะอ่อนลง ส่งผลให้ค่าเงินเอเชียและบาทแข็งค่าขึ้น

(3) นโยบายดูแลเงินทุนไหลเข้า ที่จะช่วยได้ไม่มาก (ต่อให้ใช้ยาแรง) และเราไม่ควรฝากความหวังในเรื่องนี้ไว้มาก และ

(4) นโยบายภาครัฐ ที่ต้องให้ชัดว่า นโยบายสำคัญ ๆ เช่น 3G รวมไปถึงนโยบายการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญจะเป็นอย่างไร

ปีหน้าจึงเป็นปีที่ไม่ง่ายอีกปี เป็นคนละแบบกับปีนี้ โดยเป้าหมายสำคัญของปีหน้า คือ ทำให้เศรษฐกิจไปได้ต่อเนื่องท่ามกลางความผันผวนและความท้าทายของเศรษฐกิจโลกและไทยที่ยังจะมีอยู่ต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ทุกคนก็คงต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทไปอีกระยะ

จากบทความข้างต้น ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเนื่องจากปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมอย่างหนักและมีปัญหาอื่นๆตามมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นข้าวของที่มีราคาแพงเกินความเป็นจริงทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและประชากรในประเทศที่มีอาชีพเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายไม่ ด้ายผลผลิตที่ต้องการและยังประสบปัญหาการขาดทุนและไม่มีเงินทุนมาทำต่ออีกด้วย ทำให้ไม่มีเงินมาใช้ในชีวิตประจำวัน โรงงานได้รับความเสียหายทำให้เกิดการหยุดงานพนักงานที่เคยทำงานก็ต้องหยุดงานขาดรายได้ในการเลี้ยงชีพทำให้เกิดปัญหาเงินฝืดตามมา เพราะว่าถึงข้าวของจะมีราคาถูกหรือแพงแค่ไหน ก็ไม่มีเงินไปซื้อและปีพ.ศ.2555 น่าจะมีแน้วโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเพราะหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นโดยการแก้ปัญหาเงินฝืดลงได้

ผู้จัดทำ นางสาว วรรณา ว่องสาริกิจ การเงินการธนาคาร(02) 54127326058

เเก้ไขงานเพิ่มเติมค่ะ

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ดิฉันขอยกตัวอย่างของเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 และแนวโน้มปี 2554 – 2555 มาสรุปในภาพรวม

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวของภาคการส่งออก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2554 (ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.5 เฉลี่ยในช่วง 9เดือนแรกของปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1

ปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสนี้สูงถึง 63,296 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 27.3 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.1 10.8 และ 30.6 ตามลำดับรวม 9 เดือนแรกของปี การส่งออกมีมูลค่า 176,641 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 24.6 ตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัว ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 62.8 25.5 34.7 21.0 และ 10.8 ตามลำดับ

(2) ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยในไตรมาสสาม มีจำนวน 4.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 43.8 และ 38.1 ตามลำดับ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 197,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเข้าพักอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.9 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 46.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 10.0 รวม 9 เดือนแรกของปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1

(3) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหลัก เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.3 4.3และ 9.2 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.1 และ64.2 ของไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6

(4) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.1 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือและการก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.1 และ 6.1 ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และปูนซิเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI) เฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ระดับ 50.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา

ปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม ปี 2554

(1) ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการลดลงของผลผลิตยางเนื่องจากภาวะฝนตกชุกในภาคใต้ ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ชะลอตัว ทำให้โดยรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 25.7ในไตรมาสก่อน

(2) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการบริโภคในสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งแนวโน้มที่สูงขึ้นของเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554

ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัติอุทกภัยตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สาม ต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ภาคการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เป็นต้น และเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน และวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศเตือนในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 18.8 ล้านคน ลดลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ 19.5 ล้านคน ดังนั้นในการแถลงภาวะเศรษฐกิจในครั้งนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 จากร้อยละ 3.5 — 4.0 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เป็นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.8 การบริโภคของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 17.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2553

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555

สศช. คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการปรับตัวดีขึ้นทั้งอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พร้อมทั้งการดำเนินมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อและมาตรการภาษีที่มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในการสร้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการลงทุนของภาคเอกชนในเครื่องจักรใหม่และซ่อมแซมเครื่องจักร ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศปรับได้ดีจากขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นหลัก คาดว่าในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0 การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 1.2 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ปี 2554 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าชะลอตัวลงในทุกประเภท ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้คลี่คลายลง ในไตรมาสนี้สินค้าคงทนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.2 ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือน ได้แก่การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้เท่ากับ 73.5 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 71.3 ทั้งนี้ สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายในระยะต่อไปมากขึ้น

ด้านการผลิต

สาขาเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 0.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ข้าวนาปี และนาปรังบางส่วนได้รับความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตสำคัญ อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0 เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ให้ผลผลิต ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 โดยราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 10.3 ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 36.4 และ 44.7 ในไตรมาสก่อน ตามลำดับ

ภาวะการคลัง

ในไตรมาสสี่ปีงบประมาณ 2554 (กรกฎาคม — กันยายน 2554) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ504,151.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และสูงกว่าประมาณการ59,381.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการค่อนข้างมาก ได้แก่ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวค่อนข้างสูงของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บจากยอดการประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบบัญชีปี 2554 (ภ.ง.ด. 51) ที่ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในครึ่งปีแรกของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับรายได้รวมสุทธิของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 — กันยายน 2554) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,891,026 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการ 241,017 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.6 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อน 186,548.9ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9

ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มสูงขึ้น ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 3.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี จากความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนอินเดียและสหภาพยุโรป ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเริ่มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากได้ปรับขึ้นในไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยมีสาเหตุหลักจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลงและปัญหาอุทกภัยภายในประเทศ ในขณะที่อินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555

(1) กรณีที่ไม่มีภาวะอุทกภัยในขั้นวิกฤติ หรือในกรณีที่เกิดอุทกภัยได้มีการเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำและลงทุนในระบบป้องกันพื้นที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกับปี 2554 ที่ร้อยละ3.6 - 4.0 และ 6.7-7.7 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ6.6 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงและคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยมากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อของโลกในปี 2555 มีแนวโน้มชะลอลง

อุทกภัยในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้

1. ภาคเกษตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1,464,790 ราย มีพื้นที่เสียหาย 11,429,901 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 9,180,657 ไร่

2. ภาคอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานการผลิตในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมนวนตร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่นๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเนื่องจากการหยุดดำเนินกิจการในช่วงน้ำท่วม

3. ภาคบริการ

3.1 การท่องเที่ยว: เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประกอบกับประเทศต่างๆ ออกคำเตือนการเดินทางมายังไทย ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2554 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.41 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อรวม 10 เดือนมีจำนวนนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0จากเดิมที่ประมาณการทั้งปี 2554 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.5 ล้านคน จากผลกระทบอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลง 0.7ล้านคนจากประมาณการเดิม ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 23,800 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 34,000 บาท) ดังนั้นทั้งปี2554 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 18.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 2553

3.2 การส่งออก: มูลค่าการส่งออกใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 176,639 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตามแนวโน้มการส่งออกนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะมีมูลค่า 243,144 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 24.5 สูงกว่าประมาณการเดิมของ สศช. ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 และสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้เพียงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางส่วน และนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางหลายแห่งได้รับความเสียหาย สินค้าส่งออกที่จะได้รับผลกระทบประกอบด้วย อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ อาหาร ยางและผลิตภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และทำให้การส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 17.2 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 226,900 ล้านดอลลาร์ สรอ.

3.3 ภาคการค้า ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ได้รับผลกระทบในช่วงน้ำท่วม จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ในอนาคต และการปิดกิจการชั่วคราวในช่วงน้ำท่วม

4. ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2554 จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นโดย สศช. ความเสียหายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำปี ลดลง 248,386 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมลดลงร้อยละ 2.3 ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

……… >>> การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของปี พ.ศ. 2554 จากที่ดิฉันศึกษาข้อมูล พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1, 2 ของปี พ.ศ.2554 เศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศต่างก็มีการขยายตัว และอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เเละในช่วงไตรมาสที่ 3ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลดลง เรื่อยมาจนถึงช่วงไตรมาสที่ 4 จะพบว่า มีภาวะหดตัวเนื่องจากภาวะอุทกภัยที่ขยายวงกว้าง ธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะน้ำท่วมและโดยอ้อมจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ปัญหาด้านการขนส่งและการหยุดโรงงาน การบริโภคมีแนวโน้มชะลอลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มหดตัว การท่องเที่ยวในภาคเหนือและภาคกลางได้รับผลกระทบ ขณะที่การท่องเที่ยวในภาคใต้ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีแนวโน้มขยายตัว การผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้งภาคการเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม การจ้างงานมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะอุทกภัยในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ต้นทุนและราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นจากอุปทานที่ขาดแคลนและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงอุทกภัย และสินเชื่อมีแนวโน้มลดลงชั่วคราวจากผลกระทบของอุทกภัย และดิฉันคาดการณ์ว่าจะกลับมาขยายตัวขึ้นในภายหลังช่วงน้ำลดจากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเพื่อการบูรณะ ซ่อมแซม และภาวะนี้มีแนวโน้มครอบคลุมไปถึงไตรมาสที่ 1 ของ ปี พ.ศ. 2555 และหลังจากนี้คาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ หากทุกฝ่ายรวมมือกัน และดำเนินไปตามหลักการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ปี 2555

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2555 1) การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2555ประกอบด้วย (1.1) การเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูและเยียวยา เพื่อให้ภาคการผลิตและกำลังซื้อของภาคครัวเรือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสแรกของปี 2555 (1.2) การดูแลป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้าและความเป็นธรรมทางด้านราคาสินค้าในช่วงหลังน้ำลด โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูบูรณะที่อยู่อาศัยของประชาชนและภาคธุรกิจ (1.3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยซ้ำซ้อนและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งเร่งรัดการสร้างระบบเตือนภัยและระบบป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย (1.4) การวางแผนและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวเพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน 2) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของระบบการเงินโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรป โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของค่าเงิน และการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังอย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ 3) การเร่งรัดการปฏิรูปทางการคลังเพื่อเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างอัตราภาษี ควบคู่ไปกับการขยายฐานภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายภาครัฐ

สำหรับภาวะการเงิน

ปี 2554 ฐานเงินยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนเป็นสำคัญ โดยฐานเงินขายตัวสูงมากในช่วงอุทกภัย จากการต้องการถือเงินสดเพื่อใช้ ยามฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้นของประชาชน แต่เข้าสู่ระดับปกติหลังจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย ปริมาณเงินความหมายกว้างขยายตัวสูงตลอดทั้งปี จากการเร่งระดมเงินฝากและตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับรองการขยายตัวของสินเชื่อ ประกอบกับมีการทยอยไหลกลับของเงินลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (FIF) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีการเคลื่อนไหวสองทิศทางมากขึ้น ตามปัจจัยภายนอกและในประเทศ โดย ดัชนีเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลอย่างต่อเนื่อง จากการขาดมาตรการการแก้ไขปัญหาหนีสาธารณะในยุโรป เป็นรูปธรรมในภาพรวมดัชนีค่าเงินบาท อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปลายปี พ.ศ.2553 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและปานกลางประตัวเพิ่มขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนในครึ่งหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนใหญ่ปรับลดลง ตามการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศ เงินฝากรวมตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงินขยายตัว ร้อยละ 14 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10. 8 สอดคล้องกับภาคเอกชนที่ขยายตัวทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนและธุรกิจ ภายใต้ภาวการณ์เงินที่ผ่อนคลายและเศรษฐกิจที่ขยายตัวในช่วงเกิดอุทกภัย และปัญหาอุทกภัยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่หยุดชะงักลงชั่วคราว ส่งผลให้สินเชื่อภาคเอกชนชะลอตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.55 ต่อปี ณ สิ้นปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.87 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้าชั้นดี (MLR) ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 7.25 ต่อปี ตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้น

นางสาวศศิธร ดอนซ้าย

54127326071

การเงินการธนาคาร 02

เศรษฐกิจโลกในปี 2554 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังคงเปราะบางจากทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤติหนี้สินยุโรปลุกลาม

การดำเนินนโยบายเข้มงวดสกัดเงินเฟ้อของเอเชีย ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.3-3.4 อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 6-7% ในปี 2554 หลังจากเติบโตสูงถึง 11% ในปี 2553 สหรัฐอเมริกาจะมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 2.9-3.0% ในปี พ.ศ. 2554 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปี พ.ศ. 2553 ผลของการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ทำให้ดอลลาร์อ่อนลงช่วยปรับ

การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกาดีขึ้น ทำให้ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจด้านการค้าและภาคเศรษฐกิจแท้จริงของโลกดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่กลับทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงินโลก เงินทุนระยะสั้นไหลออกจากยุโรปและสหรัฐฯที่มีผลตอบแทนต่ำทะลักเข้าเอเชียที่มีผลตอบแทนสูงกว่า จนทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าอย่างรวดเร็วพร้อมกับเริ่มเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในบางประเทศ เป็นแรงกดดันสำคัญให้ประเทศในเอเชียจำต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดมากขึ้นในปี พ.ศ. 2554

ดิฉันคิดว่า การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาจำนวนมหาศาล การเกินดุลการค้าจำนวนมากของจีนและประเทศเอเชียตะวันออก ไม่ได้เป็นผลจากปัจจัยค่าเงินเพียงอย่างเดียว หากเป็นผลจากตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิต ซึ่งการปรับเปลี่ยนตัวแปรหรือปัจจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ขณะที่วิกฤตการณ์หนี้สินยุโรปมีแนวโน้มลุกลามไปยังประเทศโปรตุเกส สเปน และ ฝรั่งเศส อาจจะเกิดการปะทุขึ้นอีกระลอกหนึ่งภายใน 6 เดือนแรกของปีหน้า (2554) การทยอยปรับลดอัตราเครดิตประเทศยุโรปจะทำให้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดตราสารหนี้ บางประเทศอย่างไอร์แลนด์ถูกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดมากถึง 5 ขั้นเกินกว่าตลาดคาดการณ์

เศรษฐกิจยุโรปกลุ่มยูโรโซนในปีหน้ายังคงขยายตัวในระดับต่ำต่อไปโดยภาพรวมเติบโตที่ระดับ 1.2-1.3% ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปยังคงขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพโดยมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า 2% ราคาหุ้นและราคาพันธบัตรตราสารหนี้สกุลยูโรจะมีราคาตกต่ำและมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ จะเกิดการอ่อนค่าลงของเงินสกุลยูโรมากที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

ดิฉันมองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางยุโรปจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหากพยายามใช้มาตรการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล แล้วประเทศยุโรปที่ประสบปัญหาวิกฤติหนี้สินล้วนมีข้อจำกัดทางด้านการคลังทั้งสิ้น

ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 6.8-7.8% ในปี 2554 อัตราการขยายตัวของการส่งออกลดความร้อนแรงลงแต่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงพร้อมกับการเติบโตของการลงทุนและการบริโภคภายใน โดยมีแรงกดดันเงินเฟ้อ การแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่น และ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปีหน้า

ประเทศที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกในปีหน้า (2554) ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย บราซิล และ รัสเซีย ขณะที่มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จีนจะเพิ่มการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวด

สำหรับเศรษฐกิจไทย คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2554 ไว้ที่ 3-4% (คาดการณ์ 7 ธันวาคม 2553) เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากมูลค่าส่งออกสุทธิที่ลดลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ (ยุโรปและสหรัฐอเมริกา) มีการออมที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในสหรัฐอเมริกาและยุโรป การชะลอตัวลงได้รับการชดเชยจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งจากเอเชีย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะราคาเพิ่มสูงขึ้น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณร้อยละ 3 ของ จีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อย 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8

เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่งโดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย) กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และ การปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015

นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เนื่องจาก ผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปีเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงมุ่งหาเสียงด้วยนโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้ามากกว่า แล้วผลักภาระแก้ปัญหาระยะยาวที่อาจต้องเสียคะแนนนิยมไปในอนาคตเพิ่มขึ้น

นางสาว วิลาสินี เอกทวีกูล การเงินการธนาคาร 02 54127326053

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดกลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปีพ.ศ.2554 -2555

ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่1ของปี2554 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 3.0 ลดลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนและรัฐบาลลดลงในขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น หากพิจารณา GDP ที่ปรับค่าฤดูกาลแล้วพบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ภาวะเศรษฐกิจไทยในรอบไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 สามารถสะท้อนผ่านปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ด้านการผลิต

ภาคเกษตร การผลิตปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้โดยหมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตามผลผลิตข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพาราผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจของโครงการประกันรายได้เกษตรกรอีกทั้งในปีที่ผ่านมาราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและผลผลิตมีปริมาณน้อยส่วนผลผลิตปาล์มนํ้ามันลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงต้นปี2554 และการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งเป็นเหตุให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลงเช่นกันสําหรับหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 1.7 ตามปริมาณผลผลิตโค กระบือ ที่ลดลงในขณะที่ผลผลิตสุกร ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สาขาประมงในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 2.7 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากปริมาณผลผลิตกุ้งและปลาลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก หดตัวร้อยละ 0.9 และ 6.5 ตามลำดับ กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการปรับตัวลงได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ที่ลดลงจากการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันระยองและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก การผลิต Hard Disk Drives ที่ลดลงตามการส่งออก การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงจาการดำเนินมาตรการ Anti-Dumping จากจีน รวมทั้งการผลิตปูนซีเมนต์ ที่ลดลงตามการก่อสร้างที่หดตัว อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและ ยานยนต์ ยังคงขยายตัวร้อยละ 16.5 , 3.0 และ 11.0 ตามลำดับ ตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ด้านการใช้จ่าย

ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทน ขยายตัวลดลงอีกทั้งการใช้จ่ายในหมวดบริการหดตัว ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์นั่งสำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนในไตรมานนี้ ได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านการเงินและการคลัง อัตราดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปี 2554 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.00 ต่อปี มาอยู่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ด้านต่างประเทศการส่งออก มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรกสูงถึง 56,002 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการนำเข้า การส่งออกและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้การนำเข้า ทั้งมูลค่า ปริมาณ และ ราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีแต่มีแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างชัดเจนและต่อเนื่องสะท้อนผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ ดังนี้อัตราการว่างงาน ผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 มีจำนวน 3.1 แสนคน ลดลงจำนวน 1.3 แสนคน เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 28.3 โดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจ้างงานในไตรมาสนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาอาหารสด ประเภทผัก ผลไม้ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศลดลงจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

แรงคุกคามจากเงินเฟ้อต่อทิศทางเศรษฐกิจไทย

ภายใต้บริบทเศรษฐกิจของไทย ในปี 2554 การบริหารเศรษฐกิจมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายขั้นกลางข้อแรก คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 -5 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเทียบกับสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความน่ากังวลมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กรมการค้าภายในเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 4.06 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ระดับร้อยละ 4.19 อธิบายให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า หากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพเป็นมูลค่า 100 บาท ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในปีนี้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมด้วยเงิน 104.06 บาท สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-6.5 จากการประมวลข่าวและบทความด้านเศรษฐกิจของผู้เขียนพบว่านับตั้งแต่ช่วงหลังไตรมาสที่ 1 ปี 2554 นักวิชาการ นักการธนาคาร รวมทั้งนักธุรกิจได้แสดงความกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในอนาคต หากไม่มีมาตรการหรือนโยบายรับมือที่มีพลังเพียงพอ

เงินเฟ้อเกิดจากต้นทุนและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเกินสมดุล

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายสาเหตุเงินเฟ้อหรือภาวะที่ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าเกิดจาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรก เกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ (Cost Push Inflation) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และราคาปัจจัยการผลิต รวมทั้งการพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการ สาเหตุประการที่ 2 เกิดจากความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นจนระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองได้ ส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น (Demand Pull Inflation) อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินนิยม ศาสตราจารย์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางการเงิน (Inflation is everywhere monetary phenomenon) เพราะต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาจากการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไปจน“เฟ้อ”

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคสูงเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงและจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในที่สุด การแก้ปัญหาเงินส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเนื่องจากเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารกลางมักแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือนกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่มีภาระเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการเติบโตลดลง แต่ทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่มีฐานะดีอยู่แล้วได้รับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยนโยบายการคลังทั้งการขึ้นภาษีและการลดการใช้จ่ายของภาครัฐก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัว

อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยด้านอุปสงค์ ด้านปัจจัยต้นทุน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 10.2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขณะที่สัดส่วนตัวเลขดังกล่าวนี้ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ แม้เดือนมิถุนายน 2554 ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง แต่เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกทั้งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น รวมทั้งการประกาศไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกโอเปก จึงประมาณการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าจะอยู่ที่ 105-115 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะยังคงเป็นปัจจัยกดกันภาวะเงินเฟ้อต่อไปจากธนาคารเพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าจำเป็นต้องระดมทุนก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกพันธบัตรที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีหนี้สินเนื่องจากจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต กลุ่มประชาชนได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผู้มีเงินออมซึ่งมีวงเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รวม 511,301 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของเงินฝากเป็นบัญชีที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท (จำนวนบัญชีที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาทมีสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีมูลค่าเงินฝากร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินฝากทั้งหมด

เศรษฐกิจไทยจะถดถอยหรือก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.การแก้ปัญหา และบริหารมลภาวะที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ (มาบตาพุด) รวมถึงปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนถึง 2 แสนคน เนื่องจากหาแรงงานไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมาก

2.การบริหารของภาครัฐ และเอกชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคในช่วงปลายปี 2553 แต่หากไม่มีผลกระทบอะไรที่รุนแรงมากนัก จากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเชื่อว่าในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5

3.ความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่โครงสร้างใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นเพิ่มภาคการเกษตรที่เป็นอาหาร และพลังงานทดแทน โดยมีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียในการผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลังเพิ่มภาคบริการที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมไทย เช่น เวชกรรมสำอาง ทันตกรรมสำอาง ศัลยกรรมสำอาง ฯลฯ

แก้ปัญหาเงินเฟ้อทางเลือกที่เจ็บปวดของประชาชน

แม้รัฐบาลเพิ่มรายได้ประชาชนโดยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและประกันราคาสินค้าเกษตร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในรูปตัวเงินอาจเป็นแค่เพียงภาพลวงตา เพราะอำนาจซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากเงินเฟ้อ นอกจากนั้นแล้วยังมีประชาชนคนไทยจำนวนถึงกว่าร้อยละ 70 ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การดำเนินนโยบายประชานิยมที่เน้นความพึงพอใจของประชาชนระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว สุดท้ายแล้วหากนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องประสานกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวจะถูกปั่นทอนลงซึ่งต้องแก้ปัญหาโดยการลดการใช้จ่ายภาครัฐและขึ้นภาษีซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ การรับมือกับเงินเฟ้อ ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังต้องกำหนดท่าทีร่วมกัน ภาครัฐต้องควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายโดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังระยะยาวและต้องส่งสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นหนี้เพราะกู้ซื้อปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีวิต มิใช่ฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะหนี้ที่ได้ก่อผูกพันระยะยาวไว้แล้ว ภาคเอกชนต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อมิให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป ประชาชนทั่วไปต้องประหยัด รวมทั้งต้องตระหนักว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาระดับโลกที่ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาใดที่ประชาชนไม่เจ็บปวด แต่อยู่ที่จะเลือกว่าจะมีความสุขวันนี้มากๆ เพื่อทุกข์หนักๆ ในวันหน้า หรือจะสุขอย่างพอดีๆ ในวันนี้เพื่อจะไม่ต้องทุกข์มากเกินไปในอนาคตข้างหน้า ตามปกติในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี ผู้ประกอบการทั้งหลายมักจะต้องเตรียมวางแผนธุรกิจ หรือวางแผนงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานในปีหน้า ดังนั้น ในช่วงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการที่ทำนายเศรษฐกิจมักจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 ในเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไร เศรษฐกิจไทยก็คงจะขยายตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 4.5 ถึง 5.5 ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปีนี้แต่หากมองในรายละเอียด คิดว่าการขยายตัวปีนี้กับปีหน้า จะมีภาพที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าจะไม่ใช่มาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีมากในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยเราส่วนใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงในปีหน้าขณะที่วงจรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก (ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก) ก็น่าจะเริ่มเปลี่ยนเป็นช่วงขาลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพึ่งการส่งออกให้เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงเป็นไปได้ยากเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชน จะขยายตัวไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองแต่ในปีหน้าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ น่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อในปีหน้าน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตาม (demand ) ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง และเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คงไม่น่าที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงข้าม มองว่าในปีหน้า อัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสปรับลดลงได้บ้าง ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาก และประเทศคู่ค้าแข่งกันปรับลดดอกเบี้ยลง นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเดือนสองเดือนแล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวแปรสำคัญๆในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในปีหน้าอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การใช้จ่ายของภาคสาธารณะแม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP จะมีขนาดไม่ใหญ่นักและคงจะไม่สามารถทดแทนการส่งออกที่มีสัดส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 67 ของ GDP แต่การใช้จ่ายภาคสาธารณะ (ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา (ซึ่งศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Crowding-in Effect)กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรจะรีบสร้างความชัดเจนในส่วนแผนการลงทุนภาครัฐให้เร็วที่สุด ภาคเอกชนเขาจะได้วางแผนการผลิตรองรับได้ทันเวลาสำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2555 คิดว่าเราไม่น่าห่วงอะไร เพราะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมากไม่ถึง 2% หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 50% ขณะที่เสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 เท่า

ความคิดเห็นของดิฉัน...คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี2555จะขยายตัวและได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่จะกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่หลังประสบปัญหาน้ำท่วม เพราะปัญหาของน้ำท่วมจากปลายปี2554 ที่ผ่านมาทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจไทยปี2555 แต่ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวและดีขึ้นกว่าปีก่อนๆที่ผ่อนมาแต่อย่างไรเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นได้ก็ต้องได้รับรวมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนเป็นอย่างยิ่งเพื่อการต้อนรับหรือเปิดโอกาสให้ต่างประเทศชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิตและด้านการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังจากน้ำท่วม

นางสาวสนธยา เจริญสุพงศ์

การเงินการธนาคาร 02

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554-2555

1.ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ

-ด้านการบริโภค

การบริโภคในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการบริโภคที่ลดลง คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากการบริโภคในปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และคาดว่ามีอัตราการขยายตัวของการบริโภคในปี 2555 จะขยายตัวประมาณที่ร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากปี 2554

-ด้านการลงทุน

สถานการณด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอลงตัวลงจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีที่การลงทุนขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ส่งผลสถานการณ์ด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 หดตัวลง

คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนโดยตลอดปี 2554 น่าจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 4.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 และคาดว่าการลงทุนโดยรวมในปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่ดีที่ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี 2554

-การค้าระหว่างประเทศและดุลการค้า

ในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าการส่งออกจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยคาดว่าภาวะการส่งออกตลอดทั้งปี 2554 จะสามารถขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 และคาดว่าการส่งออกปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวของการส่งออกในปี 2554

-ปัจจัยเกื้อหนุน

•ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง

•ระดับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง

-ปัจจัยบั่นทอน

•ผลกระทบจากสถานการณ์น้าท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

•การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง

•ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

2.ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ

-ภาคเกษตรกรรม

ภาคเกษตรกรรมไตรมาสที่ 4 หดตัวลงร้อยละ 5.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีหลังภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญ คือ ข้าวนาปรังลดลงจากการรณรงค์ของภาครัฐให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 รวมถึงผลผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ามัน มันปะหลัง และประมง มีปริมาณออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทาการเกษตรเป็นจานวนมาก คาดว่าในปี 2554 ภาคเกษตรกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4 อันเป็นผลมาจากการในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี สาหรับการคาดการณ์ปี 2555 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวในเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

-ภาคอุตสาหกรรม

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

-ปัจจัยเกื้อหนุน

•ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

•การบริโภคในประเทศขยายตัวในระดับที่ดี ปัจจัยบั่นทอน

•สถานการณ์น้าท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

•ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

สำหรับ GDP ภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

-ภาคการท่องเที่ยว

ไตรมาส 4/54 คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 4.2 ล้านคน หดตัวลงร้อยละ 8.6 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.60 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

•ทั้งปี 2554 คาดว่ามีจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 18.6 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 16.6 และมีรายได้จานวน 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.1

•ทั้งปี 2555 คาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.7 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 7.32 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2554

-ปัจจัยบั่นทอน

-สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่

-ปัญหาหนี้ของภูมิภาคยุโรป

- การเกิดสึนามิ และการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น + ฤดูกาลท่องเที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน + ช่วงปลายปีมีเทศกาลมากมาย เช่น เทศกาลกินเจ ปีใหม่ การจัดมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ และงานเฉลิมฉลองในหลวงครบรอบ 84 พรรษา + การจัดการส่งเสริมการขายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย + สถานการณ์การเมืองของไทยที่คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น

-ดัชนีความเชื่อมั่น

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมถือเป็นดัชนีความเชื่อมั่นเดียวที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน รวมถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและเริ่มมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ออกมามากขึ้น

3.ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-ด้านการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ในช่วงไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และคาดว่ามีโอกาสในปี 2555 คาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก 0.5-0.75 ไตรมาสที่ 4 ปริมาณเงินฝากและสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ปี 2555 นั้น ปริมาณเงินฝากอาจทรงตัวทั้งนี้จากการที่ต้องใช้เงินในการซ่อมแซมต่างๆ ส่วนทางด้านของสินเชื่อนั้นคาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยน

ไตรมาส 4/54 ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

•ตลอดปี 2554 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมายืนที่ระดับ 30.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

•ตลอดปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 29.0-30.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

•ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวอ่อนค่าลง ยกเว้นค่าเงินเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น

•การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง

•พื้นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี

•ความต้องการเงินบาทลดลงจากการที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย ท้าให้นักลงทุนชะลอการลงทุน

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2554-2555

- ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5และ 4.7 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

- การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ19.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 10.3ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.0 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

ความคิดเห็นของข้าพเจ้า

จากภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 การขยายตัวได้ชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลน จากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออกการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปี

และคาดว่าในช่วงกลางปี 2555 เศรษฐกิจของไทยในทุกภาคส่วนจะเริ่มปรับตัวและมีสภาวะที่กลับมาเป็นปกติและมีการพัฒนาที่ดีขึ้น เพื่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554-2555

1.ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ

-ด้านการบริโภค

การบริโภคในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการบริโภคที่ลดลง คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากการบริโภคในปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และคาดว่ามีอัตราการขยายตัวของการบริโภคในปี 2555 จะขยายตัวประมาณที่ร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากปี 2554

-ด้านการลงทุน

สถานการณด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอลงตัวลงจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีที่การลงทุนขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ส่งผลสถานการณ์ด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 หดตัวลง

คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนโดยตลอดปี 2554 น่าจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 4.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 และคาดว่าการลงทุนโดยรวมในปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่ดีที่ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี 2554

-การค้าระหว่างประเทศและดุลการค้า

ในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าการส่งออกจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยคาดว่าภาวะการส่งออกตลอดทั้งปี 2554 จะสามารถขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 และคาดว่าการส่งออกปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวของการส่งออกในปี 2554

-ปัจจัยเกื้อหนุน

•ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง

•ระดับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง

-ปัจจัยบั่นทอน

•ผลกระทบจากสถานการณ์น้าท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

•การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง

•ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

2.ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ

-ภาคเกษตรกรรม

ภาคเกษตรกรรมไตรมาสที่ 4 หดตัวลงร้อยละ 5.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีหลังภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญ คือ ข้าวนาปรังลดลงจากการรณรงค์ของภาครัฐให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 รวมถึงผลผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ามัน มันปะหลัง และประมง มีปริมาณออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทาการเกษตรเป็นจานวนมาก คาดว่าในปี 2554 ภาคเกษตรกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4 อันเป็นผลมาจากการในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี สาหรับการคาดการณ์ปี 2555 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวในเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

-ภาคอุตสาหกรรม

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

-ปัจจัยเกื้อหนุน

•ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

•การบริโภคในประเทศขยายตัวในระดับที่ดี ปัจจัยบั่นทอน

•สถานการณ์น้าท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

•ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

สำหรับ GDP ภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้าท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม

-ภาคการท่องเที่ยว

ไตรมาส 4/54 คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 4.2 ล้านคน หดตัวลงร้อยละ 8.6 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.60 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

•ทั้งปี 2554 คาดว่ามีจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 18.6 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 16.6 และมีรายได้จานวน 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.1

•ทั้งปี 2555 คาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจานวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.7 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 7.32 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2554

-ปัจจัยบั่นทอน

-สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่

-ปัญหาหนี้ของภูมิภาคยุโรป

- การเกิดสึนามิ และการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น + ฤดูกาลท่องเที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน + ช่วงปลายปีมีเทศกาลมากมาย เช่น เทศกาลกินเจ ปีใหม่ การจัดมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ และงานเฉลิมฉลองในหลวงครบรอบ 84 พรรษา + การจัดการส่งเสริมการขายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย + สถานการณ์การเมืองของไทยที่คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น

-ดัชนีความเชื่อมั่น

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมถือเป็นดัชนีความเชื่อมั่นเดียวที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน รวมถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและเริ่มมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ออกมามากขึ้น

3.ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-ด้านการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ในช่วงไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และคาดว่ามีโอกาสในปี 2555 คาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก 0.5-0.75 ไตรมาสที่ 4 ปริมาณเงินฝากและสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ปี 2555 นั้น ปริมาณเงินฝากอาจทรงตัวทั้งนี้จากการที่ต้องใช้เงินในการซ่อมแซมต่างๆ ส่วนทางด้านของสินเชื่อนั้นคาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยน

ไตรมาส 4/54 ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

•ตลอดปี 2554 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมายืนที่ระดับ 30.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

•ตลอดปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 29.0-30.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

•ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวอ่อนค่าลง ยกเว้นค่าเงินเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น

•การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง

•พื้นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี

•ความต้องการเงินบาทลดลงจากการที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย ท้าให้นักลงทุนชะลอการลงทุน

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2554-2555

- ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 17.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.5และ 4.7 ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP

- การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2554 โดยมีแรงกระตุ้นทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ19.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 10.3ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 — 4.0 อัตราการว่างงานร้อยละ 0.7และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP

ความคิดเห็นของข้าพเจ้า

จากภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 การขยายตัวได้ชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลน จากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออกการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปี

และคาดว่าในช่วงกลางปี 2555 เศรษฐกิจของไทยในทุกภาคส่วนจะเริ่มปรับตัวและมีสภาวะที่กลับมาเป็นปกติและมีการพัฒนาที่ดีขึ้น เพื่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

นางสาว นริศรา ทองอินทร์

54127326082

การเงินการธนาคาร 02

วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดกลไกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปีพ.ศ.2554 -2555

ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่1ของปี2554 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 3.0 ลดลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนและรัฐบาลลดลงในขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น หากพิจารณา GDP ที่ปรับค่าฤดูกาลแล้วพบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ภาวะเศรษฐกิจไทยในรอบไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 สามารถสะท้อนผ่านปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ด้านการผลิต

ภาคเกษตร การผลิตปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้โดยหมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตามผลผลิตข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพาราผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจของโครงการประกันรายได้เกษตรกรอีกทั้งในปีที่ผ่านมาราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและผลผลิตมีปริมาณน้อยส่วนผลผลิตปาล์มนํ้ามันลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงต้นปี2554 และการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งเป็นเหตุให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลงเช่นกันสําหรับหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 1.7 ตามปริมาณผลผลิตโค กระบือ ที่ลดลงในขณะที่ผลผลิตสุกร ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สาขาประมงในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 2.7 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากปริมาณผลผลิตกุ้งและปลาลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก หดตัวร้อยละ 0.9 และ 6.5 ตามลำดับ กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการปรับตัวลงได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ที่ลดลงจากการปิดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันระยองและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก การผลิต Hard Disk Drives ที่ลดลงตามการส่งออก การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงจาการดำเนินมาตรการ Anti-Dumping จากจีน รวมทั้งการผลิตปูนซีเมนต์ ที่ลดลงตามการก่อสร้างที่หดตัว อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต น้ำตาล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและ ยานยนต์ ยังคงขยายตัวร้อยละ 16.5 , 3.0 และ 11.0 ตามลำดับ ตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ด้านการใช้จ่าย

ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทน ขยายตัวลดลงอีกทั้งการใช้จ่ายในหมวดบริการหดตัว ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์นั่งสำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนในไตรมานนี้ ได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น

ด้านการเงินและการคลัง อัตราดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปี 2554 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.00 ต่อปี มาอยู่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ด้านต่างประเทศการส่งออก มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรกสูงถึง 56,002 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการนำเข้า การส่งออกและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้การนำเข้า ทั้งมูลค่า ปริมาณ และ ราคาขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีแต่มีแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างชัดเจนและต่อเนื่องสะท้อนผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ ดังนี้อัตราการว่างงาน ผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 มีจำนวน 3.1 แสนคน ลดลงจำนวน 1.3 แสนคน เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 28.3 โดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจ้างงานในไตรมาสนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาอาหารสด ประเภทผัก ผลไม้ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศลดลงจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

แรงคุกคามจากเงินเฟ้อต่อทิศทางเศรษฐกิจไทย

ภายใต้บริบทเศรษฐกิจของไทย ในปี 2554 การบริหารเศรษฐกิจมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายขั้นกลางข้อแรก คือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 -5 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเทียบกับสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายด้านการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความน่ากังวลมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กรมการค้าภายในเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 4.06 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ระดับร้อยละ 4.19 อธิบายให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า หากผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพเป็นมูลค่า 100 บาท ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในปีนี้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิมด้วยเงิน 104.06 บาท สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-6.5 จากการประมวลข่าวและบทความด้านเศรษฐกิจของผู้เขียนพบว่านับตั้งแต่ช่วงหลังไตรมาสที่ 1 ปี 2554 นักวิชาการ นักการธนาคาร รวมทั้งนักธุรกิจได้แสดงความกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในอนาคต หากไม่มีมาตรการหรือนโยบายรับมือที่มีพลังเพียงพอ

เงินเฟ้อเกิดจากต้นทุนและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเกินสมดุล

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายสาเหตุเงินเฟ้อหรือภาวะที่ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าเกิดจาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรก เกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ (Cost Push Inflation) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และราคาปัจจัยการผลิต รวมทั้งการพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการ สาเหตุประการที่ 2 เกิดจากความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นจนระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองได้ ส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น (Demand Pull Inflation) อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงินนิยม ศาสตราจารย์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางการเงิน (Inflation is everywhere monetary phenomenon) เพราะต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาจากการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไปจน“เฟ้อ”

ภาวะเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคสูงเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาจะทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงและจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในที่สุด การแก้ปัญหาเงินส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเนื่องจากเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารกลางมักแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือนกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่มีภาระเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการเติบโตลดลง แต่ทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ผู้ฝากเงินซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่มีฐานะดีอยู่แล้วได้รับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยนโยบายการคลังทั้งการขึ้นภาษีและการลดการใช้จ่ายของภาครัฐก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัว อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยเกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยด้านอุปสงค์ ด้านปัจจัยต้นทุน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 10.2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขณะที่สัดส่วนตัวเลขดังกล่าวนี้ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ แม้เดือนมิถุนายน 2554 ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง แต่เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกทั้งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น รวมทั้งการประกาศไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกโอเปก จึงประมาณการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าจะอยู่ที่ 105-115 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตจะยังคงเป็นปัจจัยกดกันภาวะเงินเฟ้อต่อไปจากธนาคารเพื่อการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูงไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าจำเป็นต้องระดมทุนก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่น เช่น การออกพันธบัตรที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีหนี้สินเนื่องจากจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อซื้อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต กลุ่มประชาชนได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผู้มีเงินออมซึ่งมีวงเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์รวม 511,301 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของเงินฝากเป็นบัญชีที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท (จำนวนบัญชีที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาทมีสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีมูลค่าเงินฝากร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินฝากทั้งหมด

เศรษฐกิจไทยจะถดถอยหรือก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.การแก้ปัญหา และบริหารมลภาวะที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ (มาบตาพุด) รวมถึงปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนถึง 2 แสนคน เนื่องจากหาแรงงานไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมาก

2.การบริหารของภาครัฐ และเอกชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคในช่วงปลายปี 2553 แต่หากไม่มีผลกระทบอะไรที่รุนแรงมากนัก จากพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเชื่อว่าในปี 2554 เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4 – 5

3.ความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่โครงสร้างใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นเพิ่มภาคการเกษตรที่เป็นอาหาร และพลังงานทดแทน โดยมีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียในการผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลังเพิ่มภาคบริการที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมไทย เช่น เวชกรรมสำอาง ทันตกรรมสำอาง ศัลยกรรมสำอาง ฯลฯ

แก้ปัญหาเงินเฟ้อ ทางเลือกที่เจ็บปวดของประชาชนแม้รัฐบาลเพิ่มรายได้ประชาชนโดยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและประกันราคาสินค้าเกษตร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในรูปตัวเงินอาจเป็นแค่เพียงภาพลวงตา เพราะอำนาจซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากเงินเฟ้อ นอกจากนั้นแล้วยังมีประชาชนคนไทยจำนวนถึงกว่าร้อยละ 70 ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การดำเนินนโยบายประชานิยมที่เน้นความพึงพอใจของประชาชนระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว สุดท้ายแล้วหากนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องประสานกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวจะถูกปั่นทอนลงซึ่งต้องแก้ปัญหาโดยการลดการใช้จ่ายภาครัฐและขึ้นภาษีซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ การรับมือกับเงินเฟ้อ ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังต้องกำหนดท่าทีร่วมกัน ภาครัฐต้องควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายโดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังระยะยาวและต้องส่งสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นหนี้เพราะกู้ซื้อปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีวิต มิใช่ฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะหนี้ที่ได้ก่อผูกพันระยะยาวไว้แล้ว ภาคเอกชนต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อมิให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป ประชาชนทั่วไปต้องประหยัด รวมทั้งต้องตระหนักว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาระดับโลกที่ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาใดที่ประชาชนไม่เจ็บปวด แต่อยู่ที่จะเลือกว่าจะมีความสุขวันนี้มากๆ เพื่อทุกข์หนักๆ ในวันหน้า หรือจะสุขอย่างพอดีๆ ในวันนี้เพื่อจะไม่ต้องทุกข์มากเกินไปในอนาคตข้างหน้า ตามปกติในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี ผู้ประกอบการทั้งหลายมักจะต้องเตรียมวางแผนธุรกิจ หรือวางแผนงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานในปีหน้า ดังนั้น ในช่วงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการที่ทำนายเศรษฐกิจมักจะเนื้อหอมเป็นพิเศษ เพราะจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 ในเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไร เศรษฐกิจไทยก็คงจะขยายตัวอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 4.5 ถึง 5.5 ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปีนี้แต่หากมองในรายละเอียด คิดว่าการขยายตัวปีนี้กับปีหน้า จะมีภาพที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าจะไม่ใช่มาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีมากในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยเราส่วนใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลงในปีหน้าขณะที่วงจรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก (ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก) ก็น่าจะเริ่มเปลี่ยนเป็นช่วงขาลง นอกจากนั้น ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพึ่งการส่งออกให้เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คงเป็นไปได้ยากเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2555 คงจะต้องพึ่งการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชน จะขยายตัวไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากทั้งผู้บริโภค และผู้ลงทุนประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และยังเจอปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองแต่ในปีหน้าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ น่าจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย เพราะเงินเฟ้อในปีหน้าน่าจะปรับตัวลดลง จากราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่น่าจะชะลอการขยายตัวลงตาม (demand ) ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่น้อยลง และเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คงไม่น่าที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงข้าม มองว่าในปีหน้า อัตราดอกเบี้ยน่าจะมีโอกาสปรับลดลงได้บ้าง ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาก และประเทศคู่ค้าแข่งกันปรับลดดอกเบี้ยลง นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้นแล้ว ก็น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเดือนสองเดือนแล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวแปรสำคัญๆในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในปีหน้าอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การใช้จ่ายของภาคสาธารณะแม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP จะมีขนาดไม่ใหญ่นักและคงจะไม่สามารถทดแทนการส่งออกที่มีสัดส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 67 ของ GDP แต่การใช้จ่ายภาคสาธารณะ (ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีความสำคัญมากในการช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมา (ซึ่งศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Crowding-in Effect)กล่าวคือ เมื่อภาครัฐมีการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย มาตอบสนองความต้องการมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรจะรีบสร้างความชัดเจนในส่วนแผนการลงทุนภาครัฐให้เร็วที่สุด ภาคเอกชนเขาจะได้วางแผนการผลิตรองรับได้ทันเวลาสำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2555 คิดว่าเราไม่น่าห่วงอะไร เพราะเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มลดลง อัตราการว่างงาน ก็อยู่ในระดับต่ำมากไม่ถึง 2% หนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 50% ขณะที่เสถียรภาพภายนอกก็มีความมั่นคงอยู่มาก โดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 เท่า

ความคิดเห็นของดิฉัน...คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี2555จะขยายตัวและได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่จะกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่หลังประสบปัญหาน้ำท่วม เพราะปัญหาของน้ำท่วมจากปลายปี2554 ที่ผ่านมาทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจไทยปี2555 แต่ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวและดีขึ้นกว่าปีก่อนๆที่ผ่อนมาแต่อย่างไรเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นได้ก็ต้องได้รับรวมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนเป็นอย่างยิ่งเพื่อการต้อนรับหรือเปิดโอกาสให้ต่างประเทศชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิตและด้านการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังจากน้ำท่วม

นางสาวสนธยา เจริญสุพงศ์

การเงินการธนาคาร 02

นางสาวดวงใจ จอดนอก

รหัสนักศึกษา 54127326070

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทยสำหรับปี 2554

ทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2554

โดย : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "พลวัตเศรษฐกิจ"

เศรษฐกิจโลกในปี2554 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังคงเปราะบางจากทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน ความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤติหนี้สินยุโรปลุกลาม

การดำเนินนโยบายเข้มงวดสกัดเงินเฟ้อของเอเชีย ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.3-3.4 อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 6-7% ในปี 2554 หลังจากเติบโตสูงถึง 11% ในปี 2553 สหรัฐอเมริกาจะมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 2.9-3.0% ในปี พ.ศ. 2554 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปี พ.ศ. 2553 ผลของการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ทำให้ดอลลาร์อ่อนลงช่วยปรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกาดีขึ้น ทำให้ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจด้านการค้าและภาคเศรษฐกิจแท้จริงของโลกดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่กลับทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงินโลก เงินทุนระยะสั้นไหลออกจากยุโรปและสหรัฐฯที่มีผลตอบแทนต่ำทะลักเข้าเอเชียที่มีผลตอบแทนสูงกว่า จนทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าอย่างรวดเร็วพร้อมกับเริ่มเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในบางประเทศ เป็นแรงกดดันสำคัญให้ประเทศในเอเชียจำต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดมากขึ้นในปี พ.ศ. 2554

ผมคิดว่า การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกาจำนวนมหาศาล การเกินดุลการค้าจำนวนมากของจีนและประเทศเอเชียตะวันออก ไม่ได้เป็นผลจากปัจจัยค่าเงินเพียงอย่างเดียว หากเป็นผลจากตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิต ซึ่งการปรับเปลี่ยนตัวแปรหรือปัจจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ขณะที่วิกฤตการณ์หนี้สินยุโรปมีแนวโน้มลุกลามไปยังประเทศโปรตุเกส สเปน และ ฝรั่งเศส อาจจะเกิดการปะทุขึ้นอีกระลอกหนึ่งภายใน 6 เดือนแรกของปีหน้า (2554) การทยอยปรับลดอัตราเครดิตประเทศยุโรปจะทำให้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดตราสารหนี้ บางประเทศอย่างไอร์แลนด์ถูกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดมากถึง 5 ขั้นเกินกว่าตลาดคาดการณ์

เศรษฐกิจยุโรปกลุ่มยูโรโซนในปีหน้ายังคงขยายตัวในระดับต่ำต่อไปโดยภาพรวมเติบโตที่ระดับ 1.2-1.3% ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปยังคงขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพโดยมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า 2% ราคาหุ้นและราคาพันธบัตรตราสารหนี้สกุลยูโรจะมีราคาตกต่ำและมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ จะเกิดการอ่อนค่าลงของเงินสกุลยูโรมากที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

ผมมองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางยุโรปจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหากพยายามใช้มาตรการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล แล้วประเทศยุโรปที่ประสบปัญหาวิกฤติหนี้สินล้วนมีข้อจำกัดทางด้านการคลังทั้งสิ้น

ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 6.8-7.8% ในปี 2554 อัตราการขยายตัวของการส่งออกลดความร้อนแรงลงแต่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงพร้อมกับการเติบโตของการลงทุนและการบริโภคภายใน โดยมีแรงกดดันเงินเฟ้อ การแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่น และ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปีหน้า

ประเทศที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกในปีหน้า (2554) ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย บราซิล และ รัสเซีย ขณะที่มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จีนจะเพิ่มการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวด

สำหรับเศรษฐกิจไทย คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2554 ไว้ที่ 3-4% (คาดการณ์ 7 ธันวาคม 2553) เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากมูลค่าส่งออกสุทธิที่ลดลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ (ยุโรปและสหรัฐอเมริกา) มีการออมที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในสหรัฐอเมริกาและยุโรป การชะลอตัวลงได้รับการชดเชยจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งจากเอเชีย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4-5% และมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจหลุดกรอบด้านบนของทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาอาหารและราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบน้ำท่วมและการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นพลังงาน พืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้จะราคาเพิ่มสูงขึ้น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น

อัตราการเติบโตของภาคส่งออกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 7-8% ขณะที่มีอัตราการนำเข้าขยายตัวที่ระดับ 8-10% ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11 พันล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณร้อยละ 3 ของ จีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 4.3 ส่วนภาคการบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 3-4 ภาคการลงทุนโดยรวมเติบโตได้ในระดับร้อยละ 7-8

เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งปีครึ่งโดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะแตะระดับสูงสุดปลายปี 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 3.50% ปลายปี 2554

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดฟองสบู่และเกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง แต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อค่าเงินและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือ มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ออัตราดอกเบี้ยและค่าเงินสูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ กิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย เป็นต้น

ส่วนค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.5 บาทต่อดอลลาร์และมีบางช่วงอาจจะแข็งค่าแตะระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์หากไม่มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) และ เงินยูโรอ่อนค่าลงด้วยปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงขึ้น เคลื่อนไหวตามเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองภายในประเทศ โดย Sector ที่น่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (ได้รับประโยชน์จาก Mega Projects ของรัฐบาล) กลุ่มสถาบันการเงิน (ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย) กลุ่มที่มีการชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2554 ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยจะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะยุบสภาหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางรัฐสภา หากมีการเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทางประชาธิปไตยจึงมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าเงินผันผวน และ การปรับตัวทางด้านความสามารถในการแข่งขันของบางธุรกิจอุตสาหกรรมจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตามกรอบประชาคมอาเซียน 2015

นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2554 ควรจะเน้นมาตรการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งระยะกลางและระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เนื่องจาก ผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปีเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆ จึงมุ่งหาเสียงด้วยนโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้ามากกว่า แล้วผลักภาระแก้ปัญหาระยะยาวที่อาจต้องเสียคะแนนนิยมไปในอนาคตเพิ่มขึ้นครับ

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/anusorn/20101224/368855/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2554.html

รายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม 2554 และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย

1.สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวม

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ขยายตัวชะลอลงมากจากปีก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน และจากสถานการณ์อุทกภัยของไทยที่รุนแรงและขยายวงกว้างในพื้นที่ภาคกลางทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาในการกระจายสินค้า ส่งผลให้การส่งออกการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เริ่มแผ่วลงในช่วงปลายปีสำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคงโดยดุลการชำ ระเงินเกินดุล และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดปรับลดลง

2.ภาวะเศรษฐกิจในประเทศในแต่ละส่วน

2.1 อุปทาน

2.1.1 ภาคเกษตรกรรม

สรุปภาวะเกษตรกรรมปี 2554 รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงจากทั้งด้านผลผลิตและราคาโดยเฉพาะด้านราคาที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งแรกของปีเนื่องจากจีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์ยางพาราและมันสำปะหลังสูงขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจประกอบกับภาวะอุทกภัยในภาคใต้ช่วงปลายปี 2553ที่ทำให้ผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยในช่วงต้นปีนอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่เร่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาในกลุ่มพืชพลังงานทั้งปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง เพิ่มสูงขึ้นสำหรับราคาปศุสัตว์ในปีนี้เร่งสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมีปัญหาโรคระบาดในสุกรและแม่พันธุ์ไก่ไข่สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวนาปีในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญชนิดอื่นๆโดยเฉพาะอ้อยและปาล์มน้ำ มัน ได้รับผลดีจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ ผลผลิตที่ขยายตัวดียังเป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉพาะอ้อย เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง และยางพาราที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตมากขึ้นจากการเพิ่มพื้นที่

เพาะปลูกจำนวนมากเมื่อหลายปีก่อน ส่วนผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นมากจากปัญหาเพลี้ยระบาดที่

คลี่คลายลง

2.1.2 ภาคอุตสาหกรรม

ภาพรวมในปี 2554 การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึง

การเกิดภัยพิบัติในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะในกลุ่ม

ยานยนต์ซึ่งสถานการณ์ได้คลี่คลายในไตรมาสที่ 3อย่างไรก็ดี อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไทยในไตรมาสที่ 4 ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงเกือบทุกหมวด ทั้งจากผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2554หดตัวร้อยละ 9.3 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงจากร้อยละ 63.2 ในปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 58.2 ในปีนี้

2.1.3 การท่องเที่ยวและโรงแรม

การท่องเที่ยวในปี 2554 ขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทาง

การเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือรวมทั้งภัยพิบัติในญี่ปุ่นในไตรมาส 1 และปัญหาอุทกภัยในไตรมาส 4 โดยจำ นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอยู่ที่ 19.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ19.9 จากปีก่อน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวดีสะท้อนจากสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากจีน อินเดีย และรัสเซียที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่ม G3ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนลดลง สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยของปี 2554 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 57.5 จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 50.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าอุทกภัยในไตรมาส 4 จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง แต่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสดังกล่าวไม่ได้ลดลงมากนัก เนื่องจากชดเชยโดยการเข้าพักของผู้ประสบอุทกภัยชาวไทยในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

2.1.4 ภาคอสังหาริมทรัพย์

ภาพรวมภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2554 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน จากปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อภkคอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ทำให้ตลาดชะลอตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นมา ทั้งการก่อสร้างโครงการและการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการรวมทั้งการโอนกรรมสิทธิ์ของผู้บริโภค แม้ใน

ครึ่งปีแรกของปี ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม

ในระยะต่อไป คาดว่าแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นปี 2555 จะยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปลายปี 2554 สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้าของไตรมาสที่ 4 ปี 2554ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 68.6

2.1.5 ภาคการค้า

ทั้งปี 2554 ภาวะการค้าขยายตัวดีจากแรงหนุนของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการค้าปลีกใน 3 ไตรมาสแรกของปี ขยายตัวทั้งยอดขายสินค้าคงทนและไม่คงทน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์สำหรับการค้าส่งขยายตัวดีในเกือบทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะการขายส่งเครื่องทอง เงิน นาก ตามราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี อย่างไรก็ตาม ภาวะอุทกภัยในไตรมาส 4ส่งผลให้ภาคการค้าหดตัวทั้งการค้าปลีกและการค้าส่ง จากปัญหาอุปทานสินค้าขาดแคลนและอุปสรรคในการขนส่งเป็นสำคัญ

2.1.6 โทรคมนาคม

ภาพรวมปี 2554 ภาคโทรคมนาคมขยายตัวดีตามความต้องการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

โดยเฉพาะ Smart Phone และคอมพิวเตอร์ประเภท Tablet ที่พัฒนาศักยภาพให้รองรับการใช้งานด้าน

ข้อมูล (Non-Voice) ได้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ ขณะที่ผู้ให้บริการขยาย

โครงข่าย 3G ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น และเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ไตรมาสที่ 3

ของปี 2554 ทำให้จำนวนเลขหมายขยายตัวต่อเนื่องขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เหนือกว่าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมีส่วนทำให้จำนวนเลขหมายการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานลดลงจากปีก่อน โดยเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานที่ยังคงใช้บริการอยู่เป็นไปเพื่อรองรับงานประจำ สำ นักงานของทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นสำคัญ

2.2 อุปสงค์ในประเทศ

2.2.1 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน

ภาพรวมทั้งปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน แม้ว่าปัจจัยสนับสนุนการ

ใช้จ่ายของครัวเรือน ได้แก่ รายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตร การจ้างงาน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ในภาพรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นและอุทกภัย ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถตอบสนองความต้องการซื้อที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องได้ นอกจากนี้สถานการณ์อุทกภัยยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน ทำให้การใช้จ่ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดอุทกภัย

สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไปคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะฟื้นตัวเป็นปกติได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1ปี 2555 จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ เพื่อทดแทนส่วน

ที่เสียหายจากอุทกภัย รวมทั้งยังมีความต้องการที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนจากแนวโน้มของรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรในปี 2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ และภาวะการเงินที่ยังเอื้ออำนวย

2.2.2 การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนปี 2554 ชะลอลงจากที่เร่งลงทุนไปแล้วในปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็น

ผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาทางด้านการผลิตในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 ของปี ที่ทำให้ขาดแคลนสินค้าเพื่อการลงทุน ส่วนความต้องการลงทุนในระยะต่อไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการซ่อมแซมความเสียหาย ประกอบกับความเชื่อมั่นที่ยังคงดีอยู่สะท้อนจากความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้นกว่าระดับ 50 อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ในระยะยาวยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนของแผนบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ

2.2.3 ภาคการคลัง

รายได้รัฐบาล ในเดือนธันวาคม 2554รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 143.5 พันล้านบาท ทรงตัว

ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

รายได้ภาษี หดตัวร้อยละ 1.0 จากภาษีฐานการบริโภค

ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ขยายตัวร้อยละ 12.2 ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจาก

อุทกภัย โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 3.1 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขยายตัวร้อยละ 21.9 จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนและดอกเบี้ย

ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค หดตัวร้อยละ 7.2 โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่หดตัวร้อยละ 28.9 เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ประกอบกับยังมีผลของมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวดี และส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเลื่อนนำส่งภาษีในช่วงอุทกภัยที่สิ้นสุดในเดือนธันวาคม

ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ขยายตัวร้อยละ 22.4 เนื่องจากในเดือนนี้มีการนำเข้าสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วน

ค่อนข้างสูง

รายได้ที่มิใช่ภาษี เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18 ตามการนำส่งรายได้ของ

รัฐวิสาหกิจเป็นสำคัญ

ด้านรายจ่าย (ไม่รวมชำระคืนต้นเงินกู้)รัฐบาลมีการเบิกจ่ายจำนวน 172.6 พันล้านบาท

ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5 ทั้งรายจ่ายจากการดำเนินงานของรัฐบาลและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยเฉพาะหมวดการซื้อสินค้าและบริการ และหมวดเงินอุดหนุนในเดือนนี้ดุลเงินสดจากการดำเนินงานของรัฐบาลขาดดุล 15.1 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและเงินนอก

งบประมาณ ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 37.1พันล้านบาท ซึ่งชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม2554 ลดลงมาอยู่ที่ 264.7 พันล้านบาท

2.3 อุสงค์ภาคต่างประเทศ

2.3.1 การค้าต่างประเทศและดุลการชำระเงิน

ปี 2554 การส่งออก มีมูลค่า 225.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 16.4

หากไม่รวมทองคำที่ปีนี้มีการส่งออกมูลค่า 5.9พันล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกจะขยายตัว

ร้อยละ 17.3 สำหรับสินค้าที่มีสัดส่วนต่ออัตราการขยายตัวสูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ยางพาราตามการ

ขยายตัวดีด้านราคาในช่วง 9 เดือนแรกของปีผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และ

เคมีภัณฑ์ ตามการส่งออกไปจีนและอาเซียนที่เศรษฐกิจยังขยายตัวในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม การ

ส่งออกคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักหดตัวทั้งจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศส่วนยานยนต์หดตัวจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนอันเป็นผลจากภัยธรรมชาติทั้งต่างประเทศและในประเทศ

การนำเข้า มีมูลค่า 201.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 24.7 โดยในปีนี้มี

การนำเข้าทองคำสูงถึง 16.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. หากไม่รวมทองคำ การนำเข้าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 20.4 โดยสินค้าที่มีสัดส่วนต่ออัตราการขยายตัวสูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ทองคำน้ำมันดิบ แร่และโลหะ เคมีภัณฑ์และพลาสติกและเครื่องจักรอุตสาหกรรม ตามภาคการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวดีในช่วงก่อนเกิดอุทกภัยทั้งนี้ ดุลการค้า เกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 23.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 31.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อน จากการนำเข้าที่ขยายตัวมากกว่าการส่งออกในปีนี้

ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุล11.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขาดดุลลดลงจาก

ปีก่อนที่ขาดดุล 18.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของรายรับในรายการเงินโอนอื่นๆ ซึ่ง

เกิดจากบริษัทประกันภัยต่างประเทศจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ทำประกันภัยที่ได้รับความ

เสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี เมื่อรวมกับดุลการค้าส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.9

พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 13.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการปรับลดลงของดุลการค้า

เป็นสำคัญ

ดุลบัญชีเงินทุนและการเงิน ไหลออกสุทธิ6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่ไหลเข้าสุทธิ

24.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน โดยเป็นการไหลออกของเงินทุนส่วนใหญ่อยู่ในภาคสถาบันรับฝากเงินจากการที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์เพิ่มเงินฝากในบัญชีต่างประเทศอันเป็นผลจากการปรับฐานะ เนื่องจากยอดคงค้างการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกลดลงจากค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวในสองทิศทางมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจากปัญหาอุทกภัยนอกจากนี้ ยังมีการกู้ระยะสั้นลดลงเทียบกับปีก่อนที่มีการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกค่อนข้างมากเนื่องจากเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องส่วนภาคอื่นๆ เป็นการไหลออกสุทธิจากการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศเพิ่มขึ้นของนักลงทุนไทย และการได้รับสินเชื่อการค้าลดลงตามการนำเข้าที่ชะลอลงจากผลของอุทกภัย ส่วนภาคธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเป็นไหลออกสุทธิจากปีก่อนที่ไหลเข้าสุทธิเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่ภาครัฐบาลเป็นภาคเดียวที่มีการไหลเข้าสุทธิใกล้เคียงกับปีก่อนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

ดุลการชำระเงิน ในปีนี้เกินดุลเล็กน้อยที่1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากจากที่เกินดุล

31.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน จากดุลบัญชีการเงินที่ปรับจากการไหลเข้าสุทธิจำนวนมากเป็นการไหลออกสุทธิในปีนี้เป็นสำคัญ

2.4 ภาวะการเงิน

2.4.1 ฐานเงินและปริมาณเงิน

ฐานเงิน สำหรับทั้งปี 2554 ฐานเงินยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนเป็นสำคัญ โดยฐานเงินขยายตัวสูงมากในช่วงอุทกภัย จากความต้องการถือเงินสดเพื่อใช้ยาม

ฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้นของประชาชน แต่ได้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย โดย ณ สิ้นปี 2554 ฐานเงินขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ชะลอลงเ มื่อ เทียบกับ ณ สิ้น ปีก่อนที่ขยายตัว

ร้อยละ 12.7 จากปีก่อน

ปริมาณเงินความหมายกว้าง (Broad Money) สำหรับทั้งปี 2554 ปริมาณเงินความหมาย

กว้างขยายตัวสูงตลอดทั้งปี จากการเร่งระดมเงินฝากและตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ประกอบกับมีการทยอยไหลกลับของเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่ครบกำ หนดในช่วงต้นปี โดย ณ สิ้นปี 2554ปริมาณเงินความหมายกว้างอยู่ที่ระดับ 13,543.9พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นจากณ สิ้นปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.9

2.4.2 อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งปี 2554 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีการเคลื่อนไหว 2 ทิศทางมากขึ้น ตามปัจจัยภายนอกและในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดย ณ สิ้นปี 2554 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 4.44 จากระดับ ณ สิ้นปีก่อน โดยในช่วงแรกเงินบาทโน้มอ่อนค่าลง จากการปรับน้ำ หนักการลงทุนในสินทรัพย์ไทยของกองทุนต่างๆ และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อในภูมิภาค อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้น จากการคาดการณ์ว่า กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่ต่อมาเมื่อความเสี่ยงในตลาดการเงินโลกมีมากขึ้น จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ไม่ชัดเจน รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย ทำให้นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และเพิ่มการถือครองเงินดอลลาร์สรอ. และเยน ส่งผลให้เงินบาทโน้มอ่อนค่าลงในช่วงท้ายของปี

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในปี 2554 ปรับอ่อนค่าลงร้อยละ 1.02 จาก

ปีก่อน ตามการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินสกุลหลักและภูมิภาคบางสกุล โดยเงินยูโรเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน แม้ปรับแข็งค่าขึ้นในบางช่วงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป แต่

ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป ส่งผลให้เงินยูโรโน้ม

อ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นส่วนเงินหยวนโน้มแข็งค่าขึ้น เนื่องจากปัจจัยพื้นฐาน

ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นสำคัญ

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน สำหรับปี 2554 อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.95 และร้อยละ 2.84 ต่อปี ตามลำดับสอดคล้องกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สำหรับทั้งปี 2554 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและปานกลางปรับเพิ่มขึ้น ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนใหญ่ปรับลดลง ตามการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศ

2.4.3 เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงิน

เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินรวมตั๋วแลกเงิน สำหรับทั้งปี 2554 พบว่าเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ14 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.8สอดคล้องกับสินเชื่อภาคเอกชนที่ขยายตัวทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนและธุรกิจ ภายใต้ภาวะการเงินที่ผ่อนคลายและเศรษฐกิจที่ขยายตัวในช่วงก่อนเกิดอุทกภัย อย่างไรก็ดี ปัญหาอุทกภัยที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่หยุดชะงักลงชั่วคราวส่งผลให้สินเชื่อภาคเอกชนชะลอลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดย ณ สิ้นปี 2554 ขยายตัวที่ร้อยละ16.2 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.6

สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงิน สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินของระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 88.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 86.8 สะท้อนสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มตึงตัวขึ้นบ้าง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของสินเชื่อ

2.5 เสถียรภาพในประเทศ

2.5.1 อัตราเงินเฟ้อ

ภาพรวมเงินเฟ้อในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยสำหรับ

ปี 2554 เร่งตัวจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.81 และ2.36 ตามลำดับ โดยเฉพาะราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากภาวะอุปทานตึงตัวในตลาดโลกและปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยสำหรับปี 2554เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า จากราคาผลผลิตเกษตรกรรมที่ปรับลดลงในทุกหมวด ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมือง และราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า

แรงกดดันเงินเฟ้อในระยะต่อไป โดยรวมมีแนวโน้มแผ่วลง ทั้งแรงกดดันด้านต้นทุนที่ชะลอลงจากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าของผู้ประกอบการที่ปรับตัวลดลง ขณะที่การคาดการณ์ต้นทุนยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดีนโยบายภาครัฐยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ยังคงมีอยู่

2.5.2 หนี้สาธารณะ

ยอดคงค้างหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ 4,304 พันล้านบาท คิดเป็น

ร้อยละ 40.5 ของ GDP

การเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะในเดือนนี้ปรับลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 33.2 พันล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลลดลงสุทธิ 5.7 พันล้านบาท จากการปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก.ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นสำคัญ ซึ่งมีการกู้ล่วงหน้าในเดือนก่อน เพื่อมาไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดในเดือนนี้ นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีก

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.เรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคือกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมามากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด

เมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนกรณีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเป็นห่วงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ยืนยันว่าจะทำในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายด้วย เพื่อไม่ให้มีการกระทบค่าเงินเฟ้อมากนัก ส่วนเม็ดเงินที่ที่จะนำมาลงทุนนั้น คงต้องมีการทำแผนร่างนโยบายให้เรียบร้อยเสียก่อน

2.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

3.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

4.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

5.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

6.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

7.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

8. "ยิ่งลักษณ์" ใช้นโยบาย "เงินบาทแข็ง"ต่อสู้เงินเฟ้อ อ้างเพื่อประโยชน์นำเข้า ยอมรับนโยบายขึ้นค่าแรงจะกระตุ้นเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า ด้าน "พรายพล"หนึ่งในกรรมการ กนง.หนุนแนวคิด ขณะที่คลังถกแบงก์รัฐวันนี้หาแนวทางปล่อยกู้นโยบายประชานิยมกว่า 6 แสนล้านบาท ว่า ไทยจะเดินหน้าปล่อยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสกัดการปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้ารายการหลักๆ ส่วนมาตรการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั่วประเทศ ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 40% เป็นวันละ 300 บาท จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2555 ขณะที่นายจ้างจะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่พรรคเพื่อไทยวางแผนว่าจะปรับให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 23% จาก 30% ในปัจจุบัน และจะลดเหลือ 20% ในปี 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยช่วงปีแรกอาจมีผลกระทบเล็กน้อย แต่พรรคเพื่อไทยเน้นความสำคัญของอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มอัตราการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป ในการชดเชยอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของเธอจะพยายามลดต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันประกอบอาหาร หรือน้ำตาล พร้อมกับเสริมว่ารัฐบาลกำลังวางแผนยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวลดลง

9.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร และรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลักแรก รถคันแรก โครงการพักชำระหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี และการเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอีกกองทุนละ 1 ล้านบาท ว่า จะต้องใช้สินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ มาใช้ในการดำเนินนโยบายเร่งด่วนรวมกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบด้วย บัตรเครดิตและจำนำข้าว 2.7 แสนล้านบาท บัตรเครดิตมันสำปะหลังและเอทานอล จำนวน 1.3 แสนล้านบาท โครงการบ้านหลังแรก 4.8 หมื่นล้านบาท โครงการรถยนต์คันแรก 7.5 หมื่นล้านบาท และโครงการกองทุนหมู่บ้านอีก 8 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลอภิสิทธิ์

1.เศรษฐกิจ ยกเพียงตัวอย่างเดียวว่าในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสินเชื่อ เราก็ต้องใช้หลายมาตรการ และสามารถทำให้มีการปล่อยสินเชื่อรวมไปได้ในช่วงแรก 22,800 กว่าล้านบาท และในปัจจุบันหลังจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยในโครงการต่างๆ เหล่านี้มีการเร่งในอัตราที่สูงขึ้นทุกเดือนๆ

2.ยังมีนโยบายบางเรื่อง ก็คือกรณีของ อสม. ทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน ที่ได้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน ดังนั้น จะเห็นว่ามาตรการในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงที่ยากลำบากนั้น ได้ทำเพื่อคนไทยทุกภาคทุกคน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 - 80 ปี มาตรการเหล่านี้ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

3.จัดทำแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แล้วก็ได้มีการจัดแผนในเรื่องของการระดมทุนเข้ามา ซึ่งก็คือเงินที่เป็นเงินฝากของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบธนาคารส่วนหนึ่ง และขณะนี้ก็ได้มาซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งไปแล้ว ที่เหลือจะเป็นการกู้เงินจากภายในประเทศ เพราะว่าเงินในระบบธนาคาร สภาพคล่องของเรายังมีมาก ไม่ได้เป็นเรื่องของการไปก่อหนี้โดยการไปกู้เงินจากต่างประเทศแต่อย่างใด ในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งนั้น สิ่งที่เรากำลังทำคือเรากำลังวางรากฐานสำหรับประเทศไทย

4.สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร นี่คืออัตราการเติบโตของ GDP เทียบไตรมาสต่อไตรมาส แล้วขณะนี้กำลังมีแนวโน้มของการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างเร่งตัวขึ้นมาพอ สมควร ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาก็จะพูดว่าเป็นการฟื้นฟูแบบตัววี คือลงเร็วแล้วก็ขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราไล่ดูตัวเลขอื่นๆ ที่ตามมา มันจะบ่งบอกสัญญาณในลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ถ้าเทียบในลักษณะของไตรมาสต่อไตรมาสก็จะเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ตัวอื่นๆ ก็เหมือนกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตก็กำลังผงกหัวขึ้นมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งอันนี้คือเป้าหมายหลักของบรรดามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกนะ ว่าจะสามารถหยุดยั้งการทรุดลงของสถานการณ์และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน

นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน การเงินการธนาคาร 02

54127326065

(ถ้าส่งซ้ำขออภัยด้วยค่ะ เนื่องจากครั้งแรกที่ส้ง เน็ตค้าง)

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.เรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคือกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมามากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด

เมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนกรณีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเป็นห่วงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ยืนยันว่าจะทำในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายด้วย เพื่อไม่ให้มีการกระทบค่าเงินเฟ้อมากนัก ส่วนเม็ดเงินที่ที่จะนำมาลงทุนนั้น คงต้องมีการทำแผนร่างนโยบายให้เรียบร้อยเสียก่อน

2.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

3.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

4.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

5.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

6.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

7.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

8. "ยิ่งลักษณ์" ใช้นโยบาย "เงินบาทแข็ง"ต่อสู้เงินเฟ้อ อ้างเพื่อประโยชน์นำเข้า ยอมรับนโยบายขึ้นค่าแรงจะกระตุ้นเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า ด้าน "พรายพล"หนึ่งในกรรมการ กนง.หนุนแนวคิด ขณะที่คลังถกแบงก์รัฐวันนี้หาแนวทางปล่อยกู้นโยบายประชานิยมกว่า 6 แสนล้านบาท ว่า ไทยจะเดินหน้าปล่อยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสกัดการปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้ารายการหลักๆ ส่วนมาตรการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั่วประเทศ ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 40% เป็นวันละ 300 บาท จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2555 ขณะที่นายจ้างจะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่พรรคเพื่อไทยวางแผนว่าจะปรับให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 23% จาก 30% ในปัจจุบัน และจะลดเหลือ 20% ในปี 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยช่วงปีแรกอาจมีผลกระทบเล็กน้อย แต่พรรคเพื่อไทยเน้นความสำคัญของอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มอัตราการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป ในการชดเชยอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของเธอจะพยายามลดต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันประกอบอาหาร หรือน้ำตาล พร้อมกับเสริมว่ารัฐบาลกำลังวางแผนยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวลดลง

9.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร และรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลักแรก รถคันแรก โครงการพักชำระหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี และการเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอีกกองทุนละ 1 ล้านบาท ว่า จะต้องใช้สินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ มาใช้ในการดำเนินนโยบายเร่งด่วนรวมกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบด้วย บัตรเครดิตและจำนำข้าว 2.7 แสนล้านบาท บัตรเครดิตมันสำปะหลังและเอทานอล จำนวน 1.3 แสนล้านบาท โครงการบ้านหลังแรก 4.8 หมื่นล้านบาท โครงการรถยนต์คันแรก 7.5 หมื่นล้านบาท และโครงการกองทุนหมู่บ้านอีก 8 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลอภิสิทธิ์

1.เศรษฐกิจ ยกเพียงตัวอย่างเดียวว่าในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสินเชื่อ เราก็ต้องใช้หลายมาตรการ และสามารถทำให้มีการปล่อยสินเชื่อรวมไปได้ในช่วงแรก 22,800 กว่าล้านบาท และในปัจจุบันหลังจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยในโครงการต่างๆ เหล่านี้มีการเร่งในอัตราที่สูงขึ้นทุกเดือนๆ

2.ยังมีนโยบายบางเรื่อง ก็คือกรณีของ อสม. ทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน ที่ได้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน ดังนั้น จะเห็นว่ามาตรการในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงที่ยากลำบากนั้น ได้ทำเพื่อคนไทยทุกภาคทุกคน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 - 80 ปี มาตรการเหล่านี้ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

3.จัดทำแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แล้วก็ได้มีการจัดแผนในเรื่องของการระดมทุนเข้ามา ซึ่งก็คือเงินที่เป็นเงินฝากของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบธนาคารส่วนหนึ่ง และขณะนี้ก็ได้มาซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งไปแล้ว ที่เหลือจะเป็นการกู้เงินจากภายในประเทศ เพราะว่าเงินในระบบธนาคาร สภาพคล่องของเรายังมีมาก ไม่ได้เป็นเรื่องของการไปก่อหนี้โดยการไปกู้เงินจากต่างประเทศแต่อย่างใด ในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งนั้น สิ่งที่เรากำลังทำคือเรากำลังวางรากฐานสำหรับประเทศไทย

4.สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร นี่คืออัตราการเติบโตของ GDP เทียบไตรมาสต่อไตรมาส แล้วขณะนี้กำลังมีแนวโน้มของการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างเร่งตัวขึ้นมาพอ สมควร ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาก็จะพูดว่าเป็นการฟื้นฟูแบบตัววี คือลงเร็วแล้วก็ขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราไล่ดูตัวเลขอื่นๆ ที่ตามมา มันจะบ่งบอกสัญญาณในลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ถ้าเทียบในลักษณะของไตรมาสต่อไตรมาสก็จะเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ตัวอื่นๆ ก็เหมือนกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตก็กำลังผงกหัวขึ้นมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งอันนี้คือเป้าหมายหลักของบรรดามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกนะ ว่าจะสามารถหยุดยั้งการทรุดลงของสถานการณ์และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน

นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน การเงินการธนาคาร 02

54127326065

(ถ้าส่งซ้ำขออภัยด้วยค่ะ เนื่องจากครั้งแรกที่ส้ง เน็ตค้าง)

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.เรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคือกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมามากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด

เมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนกรณีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเป็นห่วงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ยืนยันว่าจะทำในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายด้วย เพื่อไม่ให้มีการกระทบค่าเงินเฟ้อมากนัก ส่วนเม็ดเงินที่ที่จะนำมาลงทุนนั้น คงต้องมีการทำแผนร่างนโยบายให้เรียบร้อยเสียก่อน

2.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

3.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

4.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

5.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

6.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

7.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

8. "ยิ่งลักษณ์" ใช้นโยบาย "เงินบาทแข็ง"ต่อสู้เงินเฟ้อ อ้างเพื่อประโยชน์นำเข้า ยอมรับนโยบายขึ้นค่าแรงจะกระตุ้นเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า ด้าน "พรายพล"หนึ่งในกรรมการ กนง.หนุนแนวคิด ขณะที่คลังถกแบงก์รัฐวันนี้หาแนวทางปล่อยกู้นโยบายประชานิยมกว่า 6 แสนล้านบาท ว่า ไทยจะเดินหน้าปล่อยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสกัดการปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้ารายการหลักๆ ส่วนมาตรการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั่วประเทศ ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 40% เป็นวันละ 300 บาท จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2555 ขณะที่นายจ้างจะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่พรรคเพื่อไทยวางแผนว่าจะปรับให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 23% จาก 30% ในปัจจุบัน และจะลดเหลือ 20% ในปี 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยช่วงปีแรกอาจมีผลกระทบเล็กน้อย แต่พรรคเพื่อไทยเน้นความสำคัญของอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มอัตราการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป ในการชดเชยอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของเธอจะพยายามลดต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันประกอบอาหาร หรือน้ำตาล พร้อมกับเสริมว่ารัฐบาลกำลังวางแผนยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวลดลง

9.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร และรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลักแรก รถคันแรก โครงการพักชำระหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี และการเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอีกกองทุนละ 1 ล้านบาท ว่า จะต้องใช้สินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ มาใช้ในการดำเนินนโยบายเร่งด่วนรวมกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบด้วย บัตรเครดิตและจำนำข้าว 2.7 แสนล้านบาท บัตรเครดิตมันสำปะหลังและเอทานอล จำนวน 1.3 แสนล้านบาท โครงการบ้านหลังแรก 4.8 หมื่นล้านบาท โครงการรถยนต์คันแรก 7.5 หมื่นล้านบาท และโครงการกองทุนหมู่บ้านอีก 8 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลอภิสิทธิ์

1.เศรษฐกิจ ยกเพียงตัวอย่างเดียวว่าในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสินเชื่อ เราก็ต้องใช้หลายมาตรการ และสามารถทำให้มีการปล่อยสินเชื่อรวมไปได้ในช่วงแรก 22,800 กว่าล้านบาท และในปัจจุบันหลังจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยในโครงการต่างๆ เหล่านี้มีการเร่งในอัตราที่สูงขึ้นทุกเดือนๆ

2.ยังมีนโยบายบางเรื่อง ก็คือกรณีของ อสม. ทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน ที่ได้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน ดังนั้น จะเห็นว่ามาตรการในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงที่ยากลำบากนั้น ได้ทำเพื่อคนไทยทุกภาคทุกคน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 - 80 ปี มาตรการเหล่านี้ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

3.จัดทำแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แล้วก็ได้มีการจัดแผนในเรื่องของการระดมทุนเข้ามา ซึ่งก็คือเงินที่เป็นเงินฝากของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบธนาคารส่วนหนึ่ง และขณะนี้ก็ได้มาซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งไปแล้ว ที่เหลือจะเป็นการกู้เงินจากภายในประเทศ เพราะว่าเงินในระบบธนาคาร สภาพคล่องของเรายังมีมาก ไม่ได้เป็นเรื่องของการไปก่อหนี้โดยการไปกู้เงินจากต่างประเทศแต่อย่างใด ในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งนั้น สิ่งที่เรากำลังทำคือเรากำลังวางรากฐานสำหรับประเทศไทย

4.สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร นี่คืออัตราการเติบโตของ GDP เทียบไตรมาสต่อไตรมาส แล้วขณะนี้กำลังมีแนวโน้มของการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างเร่งตัวขึ้นมาพอ สมควร ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาก็จะพูดว่าเป็นการฟื้นฟูแบบตัววี คือลงเร็วแล้วก็ขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราไล่ดูตัวเลขอื่นๆ ที่ตามมา มันจะบ่งบอกสัญญาณในลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ถ้าเทียบในลักษณะของไตรมาสต่อไตรมาสก็จะเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ตัวอื่นๆ ก็เหมือนกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตก็กำลังผงกหัวขึ้นมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งอันนี้คือเป้าหมายหลักของบรรดามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกนะ ว่าจะสามารถหยุดยั้งการทรุดลงของสถานการณ์และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน

นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน การเงินการธนาคาร 02

54127326065

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาล

นโยบายรัฐบาลของนาย อภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ

       ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1ปี                                                                                                                กล่าวว่า  รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

  1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง
  2.  สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน
  3.  ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
  4.  พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้                                                                                                                             1.>นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก                                                                                               1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค                                                                                                                 1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท        1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม                                                          1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง                                                                                                                                 1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน                                                                         1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้                                                                                                             1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น                                                                                                                                               1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ                                                                                                                                                                                                         1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน                                                                                                        1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน                                                                                  1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน                                                                                         1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร                                                                                                              1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย                     1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ                                                                                                                                                                                                           1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว                                                                                                                                                  1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ                                             1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก                                                                                                                                       1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน                                                                                                                                                    1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อ.ส.ม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อ.ส.ม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ                                                                                                                                                       1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน                                                                                                                                         1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง                                                                                                                           1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค                                                                                             1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด                                                                                  1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

 

นโยบายรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์    ชินวัตร

         8 กรอบนโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ โดยมี 16 ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องทำในปีแรก เน้นการสร้างความปรองดอง ปราบยาเสพติดตามพระราชเสาวนีย์ของพระราชินี และเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันสำหรับร่างนโยบายที่รัฐบาลจะแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 23-24 สิงหาคม นี้ แบ่งเป็น 8 ด้าน คือ                                                                                                    1.นโยบายเร่งด่วน                                                                                                                                            2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ                                                                                                                          3.นโยบายเศรษฐกิจ                                                                                                                                              4.นโยบายคุณภาพชีวิต                                                                                                                                     5.นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                                                                                  6.นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม                                                                            7.นโยบายด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ                                                                              8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี                                                                                                             โดยในปีแรก จะเร่งทำนโยบายเร่งด่วนใน 16 ภารกิจหลักก่อน ประกอบด้วย...                                                1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย                                                                 2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ                                                                     3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง                                                                          4.เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว                                         5.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ                              6.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง                                                               7.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย เพิ่มรายขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และ รายได้ปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท เบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ และมาตรการภาษี                                                                                                                                                    8.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558                                                                                                                                                                    9.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย เช่น เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษา                                                                                                10.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร                                                         11.ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก                     12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555                       13.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ และบริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ                                                         14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค                                                                                          15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี                                                                                                                                                                         16.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

แสดงความคิดเห็นของทั้งสองรัฐบาล    

ยกตัวอย่าง เช่น  ข้าว ทั้งสองรัฐบายก็มีนโยบายที่แตกต่างกันเนื่องจากในช่วงที่

        นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีก็มีนโยบายคือประกันราคาข้าว คือ เมื่อชาวเกษตรกรได้ขายข้าวไปแล้วได้เงินไม่เพียงพอในการลงทุนนโยบายนี้ก็จะเข้ามาช่วยเยียวยาหรือช่วยส่งเสริมในเรื่องของค่าใช้จ่ายในงวดต่อไป

ข้อเสียของนโยบายนี้ คือ เขาไม่ได้ตามจำนวนไร่ของเรา เช่น เรามีจำนวนนาที่ทำอยู่ 50 ไร่แต่เขาก็จะให้เราแค่ 40 ไร่

          ส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์   ชินวัตร ก็จะเป็นรูปแบบของการรับจำนำข้าวซึ่งนโยบายนี้ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีเลยทีเดียวเพราะเนื่องจากเกษตรกรจะได้ราคาข้าวที่ขายสูงขึ้นกว่าเดิมเพราะนโยบายนี้คือการทำใบรับจำนำเพื่อไปแลกกับพ่อค้าคนกลางจึงจะได้ราคาที่แพงขึ้นกว่าเดิมจึงทำให้เกษตรกรได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย    

ข้อเสียของนโยบายนี้ คือ ดูเหมือนว่าผลดีมันจะตกเป็นของพ่อค้าคนกลางมากเพราะเนื่องจากการที่เรานำใบจำนำราคาข้าวนี้ไปแลกกับพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าคนกลางซื้อใบไปจากเราก็จะทำให้พ่อค้าคนกลางนั้นก็นำไปแลกกับที่อื่นเหมือนกันแต่ต่างกันที่ว่าพ่อค้าคนกลางนั้นจะได้ในราคาที่แพงกว่าเราเป็นจำนวนมาก เขาจึงบอกว่าผลประโยชน์จะตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลางมากกว่า

 

 

 

น.ส.  พรรณนิภา   ภิรมย์รอ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาล

นโยบายรัฐบาลของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี กล่าวว่า รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4. พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้ 1.>นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค 1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท 1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม 1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน 1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้ 1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน 1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน 1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน 1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร 1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย 1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ 1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว 1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ 1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก 1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน 1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อ.ส.ม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อ.ส.ม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ 1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง 1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค 1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด 1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

8 กรอบนโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ โดยมี 16 ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องทำในปีแรก เน้นการสร้างความปรองดอง ปราบยาเสพติดตามพระราชเสาวนีย์ของพระราชินี และเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันสำหรับร่างนโยบายที่รัฐบาลจะแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 23-24 สิงหาคม นี้ แบ่งเป็น 8 ด้าน คือ 1.นโยบายเร่งด่วน 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 3.นโยบายเศรษฐกิจ 4.นโยบายคุณภาพชีวิต 5.นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม 7.นโยบายด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยในปีแรก จะเร่งทำนโยบายเร่งด่วนใน 16 ภารกิจหลักก่อน ประกอบด้วย... 1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย 2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ 3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง 4.เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว 5.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ 6.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 7.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย เพิ่มรายขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และ รายได้ปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท เบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ และมาตรการภาษี 8.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 9.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย เช่น เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษา 10.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร 11.ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก 12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555 13.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ และบริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ 14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค 15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี 16.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

แสดงความคิดเห็นของทั้งสองรัฐบาล

ยกตัวอย่าง เช่น ข้าว ทั้งสองรัฐบายก็มีนโยบายที่แตกต่างกันเนื่องจากในช่วงที่

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีก็มีนโยบายคือประกันราคาข้าว คือ เมื่อชาวเกษตรกรได้ขายข้าวไปแล้วได้เงินไม่เพียงพอในการลงทุนนโยบายนี้ก็จะเข้ามาช่วยเยียวยาหรือช่วยส่งเสริมในเรื่องของค่าใช้จ่ายในงวดต่อไป

ข้อเสียของนโยบายนี้ คือ เขาไม่ได้ตามจำนวนไร่ของเรา เช่น เรามีจำนวนนาที่ทำอยู่ 50 ไร่แต่เขาก็จะให้เราแค่ 40 ไร่

ส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะเป็นรูปแบบของการรับจำนำข้าวซึ่งนโยบายนี้ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ดีเลยทีเดียวเพราะเนื่องจากเกษตรกรจะได้ราคาข้าวที่ขายสูงขึ้นกว่าเดิมเพราะนโยบายนี้คือการทำใบรับจำนำเพื่อไปแลกกับพ่อค้าคนกลางจึงจะได้ราคาที่แพงขึ้นกว่าเดิมจึงทำให้เกษตรกรได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อเสียของนโยบายนี้ คือ ดูเหมือนว่าผลดีมันจะตกเป็นของพ่อค้าคนกลางมากเพราะเนื่องจากการที่เรานำใบจำนำราคาข้าวนี้ไปแลกกับพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าคนกลางซื้อใบไปจากเราก็จะทำให้พ่อค้าคนกลางนั้นก็นำไปแลกกับที่อื่นเหมือนกันแต่ต่างกันที่ว่าพ่อค้าคนกลางนั้นจะได้ในราคาที่แพงกว่าเราเป็นจำนวนมาก เขาจึงบอกว่าผลประโยชน์จะตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลางมากกว่า

น.ส. พรรณนิภา ภิรมย์รอด

54127326049

การเงินการธนาคาร (02)

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ

รวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง

ดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย

กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้

สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริม สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัด ให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูป การเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟู เศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่ง ลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วม มือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้าง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้าง รายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนิน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัด ตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้ กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นายกยิ่งลักษณ์

กองทุนหมู่บ้าน

วันนี้ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นกองทุนชั้นดี ที่เหลือก็เป็นกลางบ้าง แย่บ้าง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เขากำลังพัฒนาเป็นสถาบันการเงินของหมู่บ้าน เอากำไรมาจัดสวัสดิการหมู่บ้าน เพราะฉะนั้น

รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเพิ่มเงินทุนขึ้นอีก 1 ล้านบาท เพิ่มการหมุนเวียนของเงินทุน แก้ไขปัญหาเงินนอกระบบในหมู่บ้าน โดยเอาระบบไอที เชื่อมกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด ทำเป็นธนาคารชาวบ้านอย่างแท้จริง

พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี

คนที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท จะมีการพักหนี้อย่างต่ำ 3 ปี สำหรับผู้เป็นหนี้เกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านจะมาปรับโครงสร้างหนี้ เพราะตอนวิกฤตเศรษฐกิจ มีการปรับโคงสร้างหนี้ ลดหนี้ให้กับนักธุรกิจ จนทุกวันนี้รัฐบาลยังต้องใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูอยู่ เพราะฉะนั้น วิกฤตที่เกิดขึ้น 5 ปีที่ผ่านมาทำให้ประชาชนลำบาก จึงต้องเอาหนี้แขวนไว้ก่อน มาทำมาหากิน พอมีรายได้ค่อยมาใช้

30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง

เป็นโครงการที่ต้องการบอกว่า ไม่ว่าเป็นคนยากดีมีจนก็ซื้อบริการสาธารณะเท่ากัน ทุกวันนี้ ใช้เงินประมาณหัวละ 2,800 บาท ซึ่งเป็นราคาเพิ่มขึ้นมาก แต่คุณภาพแย่ลง เพราะฉะนั้น เราจะนำกลับมาดูใหม่ ให้รักษาทุกโรคอย่างมีคุณภาพ ปรับปรุงโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ให้ทั่วประเทศไทย

โอท็อปเราจะนำโอท็อปกลับมาทำใหม่ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง นำขายได้ทั่วโลกงบองค์กรท้องถื่น 25 เปอร์เซ็นต์

งบจะไปองค์กรท้องถื่นจะได้ขั้นต่ำ 25 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ที่ต้องเอาเงินใต้โต๊ะไปแลกจึงจะได้งบ พรรคเพื่อไทยจะให้งบ 25 เปอร์เซ็นต์เต็มๆ ไม่ต้องวิ่งเต้น เพื่อให้เงินในสะพัดท้องถิ่น มีเงินในการ แก้ปัญหา นอกจากนี้ องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่ถึง 10 ล้านบาท จะให้ได้รายได้เป็น 10 ล้านบาท ที่มีรายได้เกิน 10 ล้าน แต่ไม่ถึง 20 จะให้เป็น 20 บาท

SML

เราจะให้งบประมาณหมู่บ้านและชุมชนไปบริหารเอง ก็คือระบบประชาธิปไตยในหมู่บ้าน หมู่บ้านเล็กให้ 3 แสนบาท ขนาดกลาง 4 แสนบาท ขนาดใหญ่ 5 แสนบาท

จำนำข้าวเปลือก 15,000 บาท

ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้ คือระบบประกันเป็นระบบที่ไม่ถึงมือชาวบ้าน พรรคเพื่อไทยจึงนำวิธีรับจำนำมาใช้ คือ ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท นี่คือราคาจำนำของพรรคเพื่อไทย อันเนื่องมาจากต้นทุนข้าวราคามักสูงขึ้นทุกวัน

เครดิตการ์ดกับเกษตรกร

เกษตรกรอยู่ต่างจังหวัดเมื่อไม่มีเงินก็ต้องไปวิงวอนเถ้าแก่ขอปุ๋ย ยอมจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ แต่หากเอาการ์ดไปวางแล้วรูด มันเท่ มีศีกดิ์ศรีกว่า วิธีการคือ จากที่รับรัฐบาลรับจำนำอยู่แล้ว ก็คำนวณข้าวว่าทำข้าวได้กี่ตันเป็นเงินเท่าไหร่ แล้วตั้งวงเงินไว้ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเอาไปซื้อพันธุ์ ซื้อปุ๋ย หรือใช้เป็นค่าจ้างวาน โดยจำกัดการใช้ไม่ให้ไปซื้อสิ่งของอย่างอื่น เมื่อเอาข้าวส่งมอบจำนำครั้งหนึ่ง ล้างบัญชีแล้วก็จบ ครั้งหน้าก็เอาไปใหม่ เพราะฉะนั้นจะไม่มีหนี้เสีย และเมื่อพบว่าที่ไหนที่ได้ผลผลิตต่ำก็ต้องปรับปรุงผลการผลิต เชิญชวนให้เปลี่ยนชนิดพืช และจะการันตีให้กับเกษตรกรว่าผลผลิตต้องได้ไม่น้อยกว่าที่ได้ในปัจจุบัน

ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะภาษีต่ำ

ประเทศที่แข่งขันได้หรือเจริญแล้วจะจ่ายภาษีไม่สูง อย่างสิงค์โปร์เก็บภาษีนิติบุคคล 18 เปอร์เซ็นต์ มีฟิลิปปินส์กับไทยเก็บ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเราจะปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน การลดภาษีและเพิ่มรายได้ประชาชนจะทำให้มีกำลังเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อสูงขึ้น ในที่สุดก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น เป็นหลัก "เก็บน้อยเพื่อได้มาก"

กองทุนตั้งตัวได้

ประชาชนชาวไทยจะต้องตั้งตัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี คนอยากตั้งตัวมักไม่รู้ว่าจะตั้งตัวอย่างไร ระบบธนาคารเป็นระบบเหมือนโรงรับจำนำ แต่คนที่จะตั้งตัวมักไม่มีทรัพย์สินติดตัว การที่จะทำให้ตั้งตัวได้ก็คือ ตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน ตั้งกรรมการ มาควบคุม ประกอบด้วยอาจารย์ ศิษ์เก่า ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ตัวแทนภาครัฐ และเอกชน เราใช้แนวคิดนี้ เพราะที่มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนักศึกษาที่กำลังจะจบ องค์ความรู้อยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้ได้เปรียบกว่า จึงสร้างผู้ประกอบการได้มากกว่า จึงตั้งกองทุนเริ่มต้นที่ 1 พันล้านบาท เพื่อเป็นทุนตั้งตัวให้นักศึกษาหรือแม้แต่อาจารย์เองกู้ไปใช้

ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด

เพื่อให้พี่น้องในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยกรรมการที่เข้าใจเศรษฐกิจในจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้อนุมัติเงินกู้ให้กับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจคืนภาษีและเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรกเราจะช่วยคนที่เริ่มตั้งตัว ให้แข็งแรง โดยลดภาษีให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เช่นภาษีค่าโอน และยังเพิ่มค่าลดหย่อนเป็น 5 แสนบาท โยดูราคาบ้านเหมาะสม สำหรับคนเริ่มตั้งตัว

คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก

คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท โดยต้องถือครองรถคันนี้ไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะขายต่อได้ หากขายต่อภายใน 5 ปีแรกจะไม่ได้รับคืนภาษี จะทำให้อุตสาหกรรมรถแข็งแรงขึ้น ประเทศไทยก็จะดึงดูดโรงงานผลิตรถมากขึ้น การส่งออกก็จะมากขึ้นด้วย

การขึ้นเงินเดือนให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท

นายกอภิสิทธิ์

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ

รวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง

ดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย

กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้

สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริม สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัด ให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูป การเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟู เศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่ง ลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วม มือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้าง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้าง รายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนิน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัด ตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้ กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

ทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต.กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส “รักพี่ทหาร”) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาทที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก

แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้

การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติีรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิืทธิ์็คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

หนี้กองทุนฟื้นฟูฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ประเด็นขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติเกิดจากการออกพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯฉบับปี 2541 และฉบับปี 2545 กำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยระบุให้แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นส่วนกระทรวงการคลังรับชำระดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาลอ้างว่าเป็นภาระหนี้ที่ธปท.ต้องรับผิดชอบ บ้างก็ยกเหตุผลว่าแบงค์ชาติต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้กำกับสถาบันการเงินที่บกพร่องจนหนี้เสียมากมาย

ดิฉันคิดว่าการที่แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นนั้นก็ชดเชยในส่วนนี้แล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ร่วมก่อหนี้เสียโดยการอนุมัติให้เปิดเสรีทางการเงิน แม้ว่าแบงค์ชาติเป็นผู้ตัดสินว่าธนาคารใดได้ใบอนุญาตประกอบวิเทศธนกิจ แต่การเปิดเสรีทางการเงินต้องผ่านการอนุมัติของรัฐบาล ถ้าฝ่ายการเมืองเสนอนโยบายแย่ๆแล้วแบงค์ชาติตอบสนองฝ่ายการเมืองเพราะกฎหมายอนุญาตให้รมต.คลังปลดผู้ว่าฯแบงค์ชาติได้ ก็แปลว่าฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือแบงค์ชาติ ฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าก็น่าจะต้องรับผิดชอบมากกว่า

อย่างไรก็ดี อดีตผู้ว่าฯเริงชัย มะระกานนท์โดนฟ้องร้องให้จ่ายค่าเสียหาย 1.86 แสนล้านบาท ศาลชั้นต้นตัดสินให้มีความผิดแต่ศาลอุทธรณ์ตัิดสินให้ยกฟ้อง คดีนี้ยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอศาลฎีกาตัดสิน แต่ยังไม่มีอดีตรมต.คลังคนไหนโดนดำเนินคดีจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ความล้มเหลวของการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส.เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯต้องรับภาระสูง กองทุนฟื้นฟูฯในบางประเทศ (เช่น สวีเดน)สามารถทำกำไรให้กระทรวงการคลังจากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินเพื่อปฎิรูปสถาบันการเงินหลังวิกฤตการเงิน

ชัดเจนว่าความล้มเหลวของปรส.คือความล้มเหลวของฝ่ายรัฐบาล แต่คดีปรส.เพิ่งจะสืบพยานกันเมื่อปี 2 ปีที่แล้ว แล้วเราควรปล่อยให้ฝ่ายรัฐบาลรวบรัดออกกฎหมายผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูหรือ? สุดท้ายแล้วภาระการคลังจะตกอยู่กับผู้เสียภาษีผ่านอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้เงินบาทอ่อนลงแต่็นั่นก็จะไม่้มีผลดีต่อผู้ส่งออก เพราะอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย

โดยหลักการแล้วหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมาจากสถาบันการเงิน ดังนั้นสถาบันการเงินก็น่าจะมีส่วนร่วมในการชำระหนี้ ถ้ากังวลว่าสถาบันการเงินจะผลักภาระให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นค่าธรรมเนียม รัฐบาลและแบงค์ชาติสามารถออกกฎเพื่อป้องกันได้ อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ ปัจจุบันค่าธรรมเนียมในระบบธนาคารไทยก็สูงกว่ามาตรฐานสากลอยู่แล้ว การกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมไม่น่าจะทำให้ธนาคารไทยขาดทุน อย่างมากก็ทำให้กำไรลดลงเท่านั้น

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน เนื่องจากดิฉันเคยเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ“สองมาตรฐาน”ดิฉันจึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี

อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายการเงินของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ

1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.4 เร่งสร้างคามเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

3.3 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นางสาวศิริวรรณ ขันตี 54127326064

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

นางสาวพิมพิกา ขึมจันทร์ รหัสนักศึกษา 54127326084

การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

นางสาวพิมพิกา ขึมจันทร์ รหัสนักศึกษา 54127326084

การเงินการธนาคาร 02

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากงาน การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา ดิฉันได้ส่งงานไปแล้วแต่เมื่อกลับมาทวนดูอีกรอบจึงพบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่คบทั้งหมด แต่ในส่วนของที่เป็น paper ที่ว่งไปนั้นครบตามที่ดิฉันต้องการค่ะ ถ้าอาจารย์ตรวจใน blog เนื้อหาก็จะไม่ครบ แต่ถ้าอาจารย์ตรวจใน paper ก็จะครบค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอส่งงานในส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปนะค่ะ ถึงแม้จะช้าแล้วก็ตาม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางสาวดวงใจ จอดนอก

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมีการไถ่ถอนพันธบัตรทั้งหมดที่ครบกำหนดในวันที่ 30พฤศจิกายน 2554 จำนวน 30.4 พันล้านบาท ทำให้ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นผลจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

2.5.3 ภาวะแรงงาน

ภาพรวมของภาวะตลาดแรงงานในปี2554 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับเพิ่มขึ้นจาก

ผลกระทบของอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงตึงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

นำไปสู่การเพิ่มชั่วโมงทำงานและระดับค่าจ้าง

2.6 เสถียรภาพต่างประเทศ

ภาพรวมหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก

สิ้นปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐบาลจำนวน3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่นักลงทุนต่างชาติ

ถือครองพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นในตลาดรอง และอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินระยะยาวของภาคสถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงินส่งผลให้โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 46.1ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากสิ้นปีก่อน

ที่ร้อยละ 50.4

ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีจำนวน 175.1 พันล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตรา

ต่างประเทศล่ว ง ห น้าสุท ธิของ ธปท . (NetForward Position) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ต่อมูลค่าการนำเข้า แม้ว่าจะลดลงตามการปรับลดลงของเงินสำรองระหว่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล

ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/report/Pages/econreport_monthly.aspx

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ และรายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือนธันวาคม และปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศ

ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญและมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2554 คือ ปัญหาเงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเมือง

ปัจจัยจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ เมื่อภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะว่านักลงทุนจะไม่มั่นใจว่าเมื่อผลิตสินค้าออกไปแล้วจะขายได้หรือไม่ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ย่อมจะทำให้ขาดทุนถ้าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ในราคาต่ำ นอกจากนี้รัฐบาลเองยังต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้น

ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะถ้าการเมืองของไทยมีเสถียรภาพย่อมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะเสถียรภาพทางการเมืองทำให้นักลงทุนรู้แนวทางนโยบายที่แน่นอนวางแผนในการทำธุรกิจหรือลงทุนได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าการเมืองไทยไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ หรือการประท้วงทางการเมืองแน่นอนว่าย่อมส่งผลถึงภาวะเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญคือ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

ปัจัยราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สำคัญมาก เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถ้าหากราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลถึงราคาสินค้าต่างๆ อันจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ปัจจัยประเทศมหาอำนาจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซึ่งในขณะนี้ ประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางเศรษกิจภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าจำนวนมาก อัตราการว่างงานก็สูง ประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นลดการนำเข้าสินค้าจากไทย ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้ดุลการชำระเงินก็จะลดลงด้วย

ไม่ว่าจะยังไงก็ตามทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศก็มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

ด้านนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

ด้านนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

ด้านนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อม

เปรียบเทียบนโนบายการเงินของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาล อภิสิทธิ์

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.เรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคือกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมามากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด

เมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนกรณีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเป็นห่วงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ยืนยันว่าจะทำในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายด้วย เพื่อไม่ให้มีการกระทบค่าเงินเฟ้อมากนัก ส่วนเม็ดเงินที่ที่จะนำมาลงทุนนั้น คงต้องมีการทำแผนร่างนโยบายให้เรียบร้อยเสียก่อน

2.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

3.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

4.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

5.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

6.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

7.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

8. "ยิ่งลักษณ์" ใช้นโยบาย "เงินบาทแข็ง"ต่อสู้เงินเฟ้อ อ้างเพื่อประโยชน์นำเข้า ยอมรับนโยบายขึ้นค่าแรงจะกระตุ้นเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า ด้าน "พรายพล"หนึ่งในกรรมการ กนง.หนุนแนวคิด ขณะที่คลังถกแบงก์รัฐวันนี้หาแนวทางปล่อยกู้นโยบายประชานิยมกว่า 6 แสนล้านบาท ว่า ไทยจะเดินหน้าปล่อยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสกัดการปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้ารายการหลักๆ ส่วนมาตรการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั่วประเทศ ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 40% เป็นวันละ 300 บาท จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2555 ขณะที่นายจ้างจะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่พรรคเพื่อไทยวางแผนว่าจะปรับให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 23% จาก 30% ในปัจจุบัน และจะลดเหลือ 20% ในปี 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าจ้างจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยช่วงปีแรกอาจมีผลกระทบเล็กน้อย แต่พรรคเพื่อไทยเน้นความสำคัญของอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มอัตราการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป ในการชดเชยอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของเธอจะพยายามลดต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันประกอบอาหาร หรือน้ำตาล พร้อมกับเสริมว่ารัฐบาลกำลังวางแผนยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวลดลง

9.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร และรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลักแรก รถคันแรก โครงการพักชำระหนี้ครัวเรือนที่มีหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี และการเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอีกกองทุนละ 1 ล้านบาท ว่า จะต้องใช้สินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ มาใช้ในการดำเนินนโยบายเร่งด่วนรวมกว่า 6 แสนล้านบาท ประกอบด้วย บัตรเครดิตและจำนำข้าว 2.7 แสนล้านบาท บัตรเครดิตมันสำปะหลังและเอทานอล จำนวน 1.3 แสนล้านบาท โครงการบ้านหลังแรก 4.8 หมื่นล้านบาท โครงการรถยนต์คันแรก 7.5 หมื่นล้านบาท และโครงการกองทุนหมู่บ้านอีก 8 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลอภิสิทธิ์

1.เศรษฐกิจ ยกเพียงตัวอย่างเดียวว่าในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสินเชื่อ เราก็ต้องใช้หลายมาตรการ และสามารถทำให้มีการปล่อยสินเชื่อรวมไปได้ในช่วงแรก 22,800 กว่าล้านบาท และในปัจจุบันหลังจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยในโครงการต่างๆ เหล่านี้มีการเร่งในอัตราที่สูงขึ้นทุกเดือนๆ

2.ยังมีนโยบายบางเรื่อง ก็คือกรณีของ อสม. ทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน ที่ได้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน ดังนั้น จะเห็นว่ามาตรการในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในช่วงที่ยากลำบากนั้น ได้ทำเพื่อคนไทยทุกภาคทุกคน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 - 80 ปี มาตรการเหล่านี้ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

3.จัดทำแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แล้วก็ได้มีการจัดแผนในเรื่องของการระดมทุนเข้ามา ซึ่งก็คือเงินที่เป็นเงินฝากของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบธนาคารส่วนหนึ่ง และขณะนี้ก็ได้มาซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งไปแล้ว ที่เหลือจะเป็นการกู้เงินจากภายในประเทศ เพราะว่าเงินในระบบธนาคาร สภาพคล่องของเรายังมีมาก ไม่ได้เป็นเรื่องของการไปก่อหนี้โดยการไปกู้เงินจากต่างประเทศแต่อย่างใด ในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งนั้น สิ่งที่เรากำลังทำคือเรากำลังวางรากฐานสำหรับประเทศไทย

4.สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร นี่คืออัตราการเติบโตของ GDP เทียบไตรมาสต่อไตรมาส แล้วขณะนี้กำลังมีแนวโน้มของการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างเร่งตัวขึ้นมาพอ สมควร ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาก็จะพูดว่าเป็นการฟื้นฟูแบบตัววี คือลงเร็วแล้วก็ขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราไล่ดูตัวเลขอื่นๆ ที่ตามมา มันจะบ่งบอกสัญญาณในลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ถ้าเทียบในลักษณะของไตรมาสต่อไตรมาสก็จะเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ตัวอื่นๆ ก็เหมือนกัน อัตราการใช้กำลังการผลิตก็กำลังผงกหัวขึ้นมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งอันนี้คือเป้าหมายหลักของบรรดามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกนะ ว่าจะสามารถหยุดยั้งการทรุดลงของสถานการณ์และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกัน

นางสาวสุดารัตน์ แก้วมาตย์ การเงินการธนาคาร 02

54127326076

เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1) นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

แบ่งออกเป็น 16 ข้อย่อย โดยส่วนมากคือนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้ช่วงก่อนการเลือกตั้ง

• สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

• กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

• เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

• เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและ

• แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

• ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

• ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

• ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

• ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

• เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

• เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

2) นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

• พัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้กองทัพพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารกับมิตรประเทศ และมีความพร้อมในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ พัฒนาความสัมพันธ์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานของการสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามหลักฐานพื้นฐานของกฎหมายและสนธิสัญญาที่มีอยู่เพื่อมิให้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อระงับยับยั้งและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติดให้หมดไป

• ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราเห็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับกองทัพในเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาพรมแดนกับกัมพูชา ในนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เน้นเรื่องนี้อย่างชัดเจน ในการสร้างมิตรภาพและความร่วมมือในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องทำหลักเขตแดนด้วย

• พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือภัยคุกคามด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มากขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ รวมถึงให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย และอุบัติภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงในยุคโลกาภิวัตน์

3) นโยบายเศรษฐกิจ

• ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

• ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

• บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนนํ้ามัน เชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

• จุดที่น่าสนใจในข้อนี้คือ “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” หรือ Sovereign Wealth Fund (SWF) ซึ่งจะนำเงินทุนสำรองของประเทศไปลงทุนให้งอกเงยกว่าเดิม แนวคิดนี้พูดกันมานานแล้ว และมีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างที่คนไทยคุ้นเคยกันดีคือกองทุนเทมาเส็ค ของสิงคโปร์ แต่ก็ยังมีกองทุนของประเทศอื่นๆ ที่ขนาดใหญ่กว่ามาก เช่น GIC กองทุนอีกกองของสิงคโปร์, ADIA ของอาบูดาบี, CIC ของรัฐบาลจีน เป็นต้น

• จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

• พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษ และพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าวกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

• ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะเทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต และเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทย

• กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน

• นโยบายนี้อธิบายง่ายๆ คือ Wi-Fi สาธารณะ ในสถานที่ราชการ และสถานศึกษา ซึ่งมีบางประเทศหรือบางเมืองใหญ่ของโลกประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น สิงคโปร์ที่ให้บริการ Wi-Fi ขั้นพื้นฐานฟรีทั้งเกาะ

4) นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

๔.๑ นโยบายการศึกษา

เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนำร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดำเนินการตามภารกิจได้นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประเด็นหลักคงอยู่ที่แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา แต่ก็ยังมีเรื่องเครือข่ายการเรียนรู้ภายในบ้านหรือ “ไซเบอร์โฮม” เพิ่มเข้ามาด้วย

๔.๒ นโยบายแรงงาน

เตรียมการรองรับการเปิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเน้นระบบบริหารจัดการเพื่อจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ จัดระบบอำนวยความสะดวก และมาตรการการกำกับดูแล ติดตามการเข้าออกของแรงงานทุกประเภทเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีฝีมือเข้าประเทศควบคู่กับการป้องกันผลกระทบจากการเข้าประเทศของแรงงานไร้ฝีมือ

๔.๓ นโยบายสุขภาพ

ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชีย โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างความก้าวหน้าในทางวิชาการ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย สนับสนุนเอกชนให้จัดบริการศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยที่มีมาตรฐาน รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการใช้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน

5) นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๕.๔ สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ 6) นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

7) นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

๗.๑ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน

๗.๒ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง

จะเห็นว่าในนโยบายรัฐบาลได้ยกเรื่องประเทศเพื่อนบ้านและเรื่องอาเซียนไว้เป็นสองข้อแรก ต้องรอดูว่ากระทรวงการต่างประเทศในยุคของรัฐมนตรีสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่ถูกมองว่าเป็น “รูรั่ว” ของรัฐบาลนี้ จะตอบสนองนโยบายได้มากน้อยเพียงใด

๗.๘ ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคให้เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการลงทุน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่อยู่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและเมืองชายแดน

8) นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

กฎหมายและการยุติธรรมปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการโดยอิสระตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รวมถึงสนับสนุนคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นรูปธรรม

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบาย รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้แก่

1.1 เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดมั่นใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทาน

5.เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

6.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2554

16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารบ้านเมืองขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรง รวมถึงประมาณการรายได้ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มจะปรับลดลงจากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ 10

ในปี 2552 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคน อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่นนโยบายการประกันราคาข้าว กรณีที่เกษตรกรมีการขายข้าว แต่ได้รับเงินไม่เพียงพอที่นำไปใช้ในการลงทุน จึงมีการดูแลและช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายจากการขายข้าวในงวดต่อไป

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

5. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

6. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

7. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

8. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

9. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

10. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

11. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

12. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

13. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

14. แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

15. ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

5. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยจะแบ่งกลุ่มเงินเดือนออกเป็น 4 กลุ่มคือ

- กลุ่มปริญญาตรีผู้ได้รับเงินเดือนเกิน 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000บาท จะมีเงินค่าครองชีพเพิ่มให้อีก

- กลุ่มปริญญาตรีที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้เป็น 15,000 บาท

- กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือน 9000 บาทขึ้นไป รับค่าครองชีพ 1,500 บาท

- กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้ถึง 9,000 บาท

8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

11. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

13. สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

เปรียบเทียบนโยบา

นางสาวจารุวรรณ ภู่สะอาด

54127326048 การเงินการธนาคาร 02

นโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาระหว่างวันที่ 23-24 ส.ค. แบ่งเป็นนโยบาย 8 ด้าน คือ 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 3.นโยบายเศรษฐกิจ4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม 7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง ดังนี้

1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ

2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน

5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ

6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556

10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน

11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน

14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม

15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ

16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย

4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ

7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 นำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1.ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

จากการที่ดิฉันได้ศึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 คน พบว่ามีนโยบายที่คล้ายกันอยู่หลายนโยบาย เช่น การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ เพื่อให้ประชาชนยุติความรุนแรง และความขัดแย้งต่างๆภายในประเทศ การคุ้มครองแรงงานไทยตามกฎหมาย ในด้านความปลอดภัย และสวัสดีการในการทำงานตามมาตรฐานแรงงานสากล การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของนายจ้างและลูกจ้าง การเพิ่มประสิทธิภาพของประกันสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถรับการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกันตน มีการฝึกอบรมแรงงาน เพื่อให้เข้ากับตลาดแรงงาน และเทคโนโลยี มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในประเทศไทย เร่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับราคาน้ำมัน เกี่ยวกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ การยกระดับราคาสินค้าเกษตร เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในประเทศ มีการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และการบริหารบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยของประเทศ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แกประชาชน

นางสาวอัษฎางค์ คงอยู่

นักศึกษาการเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326059

อาจารย์ค่ะบล๊อกที่แล้วส่งไปแล้วเนื้อหาขึ้นไม่คบค่ะ (ถ้าส่งซ้ำต้องขออภัยด้วยนะค่ะ)

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารบ้านเมืองขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรง รวมถึงประมาณการรายได้ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มจะปรับลดลงจากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ 10

ในปี 2552 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคน อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่นนโยบายการประกันราคาข้าว กรณีที่เกษตรกรมีการขายข้าว แต่ได้รับเงินไม่เพียงพอที่นำไปใช้ในการลงทุน จึงมีการดูแลและช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายจากการขายข้าวในงวดต่อไป

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

5. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

6. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

7. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

8. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

9. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

10. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

11. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

12. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

13. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

14. แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

15. ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

5. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยจะแบ่งกลุ่มเงินเดือนออกเป็น 4 กลุ่มคือ

กลุ่มปริญญาตรีผู้ได้รับเงินเดือนเกิน 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000บาท จะมีเงินค่าครองชีพเพิ่มให้อีก

กลุ่มปริญญาตรีที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้เป็น 15,000 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือน 9000 บาทขึ้นไป รับค่าครองชีพ 1,500 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้ถึง 9,000 บาท

8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

11. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

13. สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรร

นางสาวอัษฎางค์ คงอยู่

นักศึกษาการเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326059

อาจารย์ค่ะบล๊อกที่แล้วส่งไปแล้วเนื้อหาขึ้นไม่คบค่ะ (ถ้าส่งซ้ำต้องขออภัยด้วยนะค่ะ)

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารบ้านเมืองขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรง รวมถึงประมาณการรายได้ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มจะปรับลดลงจากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ 10

ในปี 2552 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคน อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก

และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่นนโยบายการประกันราคาข้าว กรณีที่เกษตรกรมีการขายข้าว แต่ได้รับเงินไม่เพียงพอที่นำไปใช้ในการลงทุน จึงมีการดูแลและช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายจากการขายข้าวในงวดต่อไป

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

5. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

6. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

7. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

8. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

9. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

10. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

11. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

12. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

13. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

14. แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

15. ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

5. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยจะแบ่งกลุ่มเงินเดือนออกเป็น 4 กลุ่มคือ

กลุ่มปริญญาตรีผู้ได้รับเงินเดือนเกิน 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000บาท จะมีเงินค่าครองชีพเพิ่มให้อีก

กลุ่มปริญญาตรีที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้เป็น 15,000 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือน 9000 บาทขึ้นไป รับค่าครองชีพ 1,500 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้ถึง 9,000 บาท

8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

11. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

13. สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหล

13 นโยบายเร่งด่วน "ยิ่งลักษณ์"ลุยประชานิยม-แก้รธน.มาตรา 291 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะประชุมร่วมกับคณะทำงาน จัดทำร่างนโยบายรัฐบาล ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมกัน วันนี้ (15 ส.ค.) ก่อนจะนำร่างนโยบายรัฐบาลฉบับสมบูรณ์เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ใน วันที่ 16 ส.ค. นี้

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า คณะทำงานจัดทำร่างนโยบายรัฐบาล ได้สรุปนโยบายเร่งด่วนที่จะเร่งดำเนินการในปีแรก 13 เรื่อง พร้อมรายละเอียดของนโยบายด้านต่างๆ 8 ด้าน ประกอบด้วย นโยบายความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ด้านที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และ นวัตกรรม ด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะเร่งดำเนินการในปีแรก 13 เรื่อง

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการตรวจสอบความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บในช่วงการชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือนเม.ย. และเดือนพ.ค. 2553

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท การจัดตั้งกองทุนสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ย 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อ สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติที่ใช้จริงต่อเดือน

ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

ขณะเดียวกัน ก็จะจัดให้มีการพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี มีการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ผู้ที่เป็นหนี้เกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ เพื่อจัดทำระบบบัตรเครดิต สำหรับเกษตรกร พร้อมผลักดันราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญให้รายได้สูง โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและในเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว การส่งออก

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 291 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยบนหลักนิติรัฐ นิติธรรม องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายมีความรับผิดชอบที่ยึดโยงกับระบบ และพร้อมรับการตรวจสอบ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านการออกเสียงประชาชน

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนาและอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมอำนวยความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมทั่วถึง

แสดงความคิดเห็น

นโยบายของคุณยิ่งลักษณ์ เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ และปัญหาของเรื่องความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นในเรื่องของการปราบปรามของยาเสพติด การตรวจสอบการคอร์รัปชันของรัฐบาล ส่งเสริมการท่องเที่ยว การแทบเล็ตใช้ในการศึกษาแบบใหม่ แก้ไขปัญหาความขัดแข้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ ดูแลในเรื่องของสินค้าของเกษตรกร การให้เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ การขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท และนักศึกษาที่เรียนจบ 15,000 บาท

การบริหารที่ล้มเหลวของนายกยิ่งลักษณ์

ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมานี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกิดความผิดพลาดจนสร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างมาก

เรื่องที่หนึ่ง เรื่องของการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการพูดแบบอ่านเอกสารทุกประโยค นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคุณยิ่งลักษณ์ใช้คำภาษาไทยผิดความหมายหลายครั้ง เช่น การใช้คำว่า “หญ้าแพรก” แทน คำว่า “หญ้าแฝก” หรือในการกล่าวต้อนรับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เธอพูดว่า “ I overcome you”. แทนที่ จะเป็น “I welcome you”.

เรื่องที่สอง ด้านการสื่อสาร สำหรับการพูดแบบอ่านเอกสารทุกประโยคเป็นพฤติกรรมที่สามารถใช้ได้ในวาระสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อความหมาย แต่การพูดแบบอ่านเอกสารในทุกวาระทุกโอกาสเป็นเป็นสิ่งไม่เหมาะสมกับบุคคลที่เป็นผู้นำประเทศ เพราะการกระทำนั้นเป็นดัชนีของการขาดความสามารถในการทำความเข้าใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร และนั่นย่อมบ่งชี้ถึงข้อจำกัดทางปัญญาของผู้พูดด้วย

เรื่องที่สาม ความล้มเหลวของรัฐบาลในการบริหารจัดการมหาอุทกภัยประเทศไทยในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายแก่ประชาชนอย่างเหลือประมาณ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 800 กว่าคน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจนับล้านล้านบาท มีความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างประชาชนเกี่ยวกับการกั้นน้ำและการระบายน้ำนับครั้งไม่ถ้วนมีการทุจริตฉ้อฉลบนความเดือดร้อนของประชาชนเป็นจำนวนมาก

สำหรับตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ แม้กระทั่งคุณสมบัติพื้นฐานของคนเป็นผู้บริหารยังแทบค้นหาไม่พบในตัวเธอ เห็นได้จากการที่เธอจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำไม่ได้ สิ่งที่ควรทำในบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายบริหารเธอทำน้อยมากและดูเหมือนไม่อยากทำเท่าไรนัก กลับไปทำในเรื่องที่จะสร้างความบันเทิงแก่ตนเองเสียมากกว่า การจัดระความสำคัญของนายกรัฐมนตรี

หกเดือนของการบริหารประเทศโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำให้คะแนนนิยมตกลงไปอย่างมาก ด้วยสาเหตุนานาประการดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วตั้งแต่ในตอนที่ 1 ในที่สุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ ชินวัตรผู้บงการรัฐบาลเห็นว่ารัฐบาลคงไปไม่รอดเพราะเสียทั้งคะแนนนิยม และตนเองก็ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าที่ควร ดังนั้นจึงเกิดการปรับคณะรัฐมนตรีขึ้นในกลางเดือนมกราคม 2555

รัฐมนตรีที่ถูกปรับออกมี 8 คน เช่น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และนายพิชัย นริพทะพันธ์ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้มีทั้งเป็นประเภททำงานไม่เป็นเฉื่อยชา ประเภทไม่ยอมตามใจตอบสนองความต้องการของทักษิณ และประเภทใช้ไม่ได้ดังใจ เมื่อใช้เสร็จจึงทิ้งไป

อันที่จริงรัฐมนตรีประเภททำงานไม่เป็นเฉื่อยชา ยังมีอีกหลายคนในรัฐบาลแต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ถูกปรับออก เพราะบางคนประจบสอพลอเก่ง เป็นคนเชื่อฟังคำสั่ง ใช้ง่ายให้ทำอะไรก็ทำโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แต่อย่างใด ส่วนบางคนเป็นรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบทำงานจัดการเรื่องน้ำท่วม ซึ่งผลงานออกมาไม่ได้เรื่องได้ราว ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งเมือง แต่ทำตัวเป็นหนังหน้าไฟ รับเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ และคำตำหนิ แทนนายกรัฐมนตรี จึงได้รับการตอบแทนให้อยู่ในตำแหน่งต่อไป

สำหรับรัฐมนตรีที่มีการปรับตำแหน่งและได้รับการแต่งตั้งใหม่มีแบบแผนของการแต่งตั้ง 5 ประการ ประการแรก แต่งตั้งคนใกล้ชิดที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจการสื่อสารและพลังงานเพื่อให้มาเร่งรัดการใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์เศรษฐกิจแก่ตระกูล โดยเฉพาะธุรกิจด้านโทรคมนาคม และพลังงาน เพราะผู้บงการรัฐบาลมีธุรกิจด้านนี้จำนวนไม่น้อยทั้งในและต่างประเทศ ผู้ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าวย่อมจะมีโอกาสเอื้อประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแก่ตระกูลเจ้านายของตนเอง

ประการที่สองปรับเปลี่ยนคนที่สั่งได้มานั่งตำแหน่งกระทรวงการคลังและกลาโหม นั่งกระทรวงการคลังเพื่อให้หาเงินมาใช้ในโครงการประชานิยมทั้งหลาย เช่น การโอนหนี้ไปให้ ธปท. และการพยายามขายหุ้นการปิโตเลียมแห่งประเทศไทย และการบินไทย ออกไป 2 % เพื่อให้องค์การทั้งสองหลุดพ้นจากสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้กลุ่มทุนเจ้าของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนี้สามารถเข้าไปแทรกแซงและฉกฉวยผลประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

สำหรับการเปลี่ยนรัฐมนตรีกลาโหม ทั้งที่รัฐมนตรีคนเดิมทำงานตามหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ตอบสนองความต้องการของนายใหญ่ในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร จึงถูกเปลี่ยนออกไป และนำเพื่อนคนสนิทที่สั่งได้มานั่งแทน ด้วยหวังว่าจะให้เพื่อนผู้นี้จะโยกย้ายนายทหารตามที่ตนเองต้องการเพื่อทำให้กองทัพตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนายใหญ่ผู้บงการรัฐบาลอย่างสมบูรณ์แบบ

ประการที่สาม การเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและใช้สื่อของรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ โดยนำคนใกล้ชิดมาเป็นรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีภารกิจเพื่อดูแลกุมสภาพสื่อของรัฐให้เป็นประโยชน์ต่อนายใหญ่และตระกูลผู้บงการรัฐบาล

ประการที่สี่ การตั้งคนที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับการทำธุรกิจในประเทศแอฟริกา ทั้งนี้เพื่อให้การทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองเพชร เหมืองทอง ที่แอฟริกาของนายใหญ่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่เผอิญว่ารัฐมนตรีที่คาดหวังว่าจะทำเรื่องนี้ให้นายใหญ่ ถูกประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำ ห้ามทำธุรกิจใดกับบริษัทในประเทศอเมริกา รวมทั้งการอายัดทรัพย์สินต่างๆที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย รัฐมนตรีผู้นี้เป็นบุคคลที่ถูกสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำเพราะมีการทำธุรกิจร่วมกับนายมูกาเบ้ ประธานาธิบดีประเทศซิบบับเว ซึ่งเป็นคนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปประนามและไม่คบค้าด้วย

ประการที่ห้า การตั้งผู้ต้องหาก่อการร้ายเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองเป็นรัฐมนตรี เพื่อเป็นค่าจ้างค่าตอบแทนในการทำงานล้มรัฐบาลเก่า และเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับมวลชนเสื้อแดงเพื่อหลอกใช้เป็นฐานในการสนับสนุนทางการเมืองต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงการตบหน้า ไม่แยแส กองทัพและสถาบันในระบบยุติธรรม รวมทั้งประชาชนอีก 45 ล้านคนที่ไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทย

นางสาว มาลีวัลย์ ธัมเนียมอินทร์

54127326086

การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาล

นโยบายการเงินของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

นโยบายเศรษฐกิจมหาภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

ภาคการตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายการเงินของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ

ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วง

ซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

-มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation) • จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้

งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้ • ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

-ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way) งบประมาณระบบนี้คือ

-จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน ( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

-มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

-กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย ( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

3. งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

-PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การ-

วางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

-จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

-จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

-จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการ

-วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

-พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

-PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

-การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1. Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2. Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปีต่อ ๆ ไป

3. Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและทางเลือกโครงการต่าง ๆ งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

-ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

-ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

-กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

-จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งบประมาณ

-คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

-กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

-ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

-เน้นการควบคุมภายใน

-การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

1. ระบบงบประมาณเดิม

- ใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input)

-เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

2.ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting)

- เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting) ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

3. วัตถุประสงค์

-เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

-เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ

- เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

รัฐบาลอภิสิทธิ์

ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1 ได้เพียงไม่กี่วัน รัฐบาลชุดนี้ก็ "ติดสปีด" มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแล้วถึง 2 ล็อตใหญ่

ได้แก่ มาตรการในการกระตุ้นการบริโภค และมาตรการด้านภาษี วงเงินรวมกว่า 155,000 ล้านบาท

1. โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียวเมื่องบประมาณผ่านสภา เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 8 ล้านคน และข้าราชการ 1.45 ล้านคน วงเงินรวม 18,970.4 ล้านบาท

2. โครงการช่วยเหลือคนตกงาน โดยการจัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เป็นเวลา 6 เดือน ขณะ อบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณ 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี 2553 ให้ครบ 500,000 คน

3. โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปีตั้งแต่อนุบาล-ม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา ใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียน

4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท

5. ต่ออายุโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ ที่จะต่ออายุออกไปอีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ. เมตร และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย ใช้งบ 11,409.2 ล้านบาท

6. โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา โดยช่วยเหลือคนชราอายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน ใช้งบ ประมาณ 9,000 ล้านบาท

7. ช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท

8. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท

9. โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กม. 1,500 ล้านบาท

10. โครงการจำหน่วยสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนไม่ เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งโครงการธงฟ้าลดค่าครอง ชีพวงเงิน 1,000 ล้านบาท

11. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท วงเงิน 1,095.8 ล้านบาท

12. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับช้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท เป็นเงิน 1,808.8 ล้านบาท

13. โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท

14. โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท

15. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท

16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท

17. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท สุดท้าย

18. เป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อง่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน ซึ่งกรณีนี้เป็นรายการแถมที่ไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

19.มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในปี 2552 นำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยเงินกู้หักลดหย่อนอีก 100,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท และต่ออายุค่าธรรมเนียมการโอนธุรกิจเฉพาะและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถึงเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากต้องการให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านในปี 2552 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบมากขึ้น และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการซื้อขายบ้านใหม่ 100,000 หน่วย โดยรัฐสูญรายได้จากมาตรการนี้ ค่าธรรมเนียมการโอน ธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 30,000 ล้านบาท และภาษีอากรรายได้บุคคลธรรมดา 6,500 ล้านบาท

20.ภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีร้อยละ0.5 จากเดิม 60,000 บาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนและเอสเอ็มอี เท่ากับเป็นการยกเว้นภาษีจาก 300 บาท/ปี เป็นกว่า 5,000 บาท/ปี ครอบคลุมเอสเอ็มอี 97,000 ราย โดยคาดรัฐสูญเสียรายได้ 1,400 ล้านบาท

21.การช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มวงเงินรายได้ยกเว้นภาษีจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท/ปี ให้เฉพาะปีภาษี 52-53 เท่านั้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 58,000 แห่ง คาดว่ารัฐสูญรายได้ 200 ล้านบาท

22.มาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยว โดยให้บริษัทห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ สามารถนำรายได้จากการสัมมนาค่าฝึกอบรมไปคำนวณหักภาษี 2 เท่าของที่จ่ายจริง ใช้สำหรับรอบบัญชีปี 52 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับโรงแรมร้านค้า บริษัททัวร์ โดยคาดว่าภาครัฐสูญรายได้ 1,800 ล้านบาท

23.มาตรการเงินร่วมลงทุน เพื่อเป็นการช่วยเหลือกองทุนร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล ฟันด์) สำหรับนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ด้านภาษี จากกำหนดเวลาได้ประโยชน์ในสิ้นปี 51 ขยายเป็นสิ้นปี 54 โดยยกเลิกเงื่อนไขที่บริษัทร่วมลงทุนต้องลงทุนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนในปีแรก และยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผลประโยชน์ของการโอนหุ้นของเอสเอ็มอี เพื่อให้เป็นแหล่งทุนระยะยาวของเอสเอ็มอี และสนับสนุนให้กระจายหุ้นในตลาดหลัดทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

24.มาตรการทางภาษีสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่น โดยเจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ดังกล่าวมาลดหย่อน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์การขายสินค้า และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้ไปชำระแก่เจ้าหนี้ จากการโอนสินทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนอง เป็นหลักประกันการกู้ให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้รองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

25. มาตรการเกี่ยวกับการโอนกิจการบางส่วนด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์ และนิติกรรม กรมที่ดินที่เกิดจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทมหาชนหรือบริษัทจำกัด โดยต้องโอนให้เสร็จภายในสิ้นปี 52 ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย

นโบยยิ่งรักษ์ ชินวัตร

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก คือ

1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ

2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน

5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ

6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556

10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน

11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน

14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม

15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ

16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย

4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ

7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องนายà¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

นโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸«à¸ à¸²à¸„

1.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3.พัฒนาระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์à¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ รวมทั้งพิจารณาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนที่สามารถใช้ในà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸´à¸™à¸—รัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น à¸à¸­à¸‡à¸—ุนมั่งคั่งà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸­à¸‡à¸—ุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวจาà¸à¸—ั้งภายนอà¸à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ จัดให้มีà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวà¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่องเที่ยว ให้มีรายได้จาà¸à¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศมาเป็นเวลานานให้à¸à¹‰à¸²à¸§à¸‚้ามไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸¨à¸¹à¸™à¸¢à¹Œà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸„้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องà¸à¸²à¸£à¸‚องผู้บริโภคที่มีà¸à¸²à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸£à¸ªà¸™à¸´à¸¢à¸¡à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศไทยให้เป็นศูนย์à¸à¸¥à¸²à¸‡à¸•à¸¥à¸²à¸”ซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£ จะทำให้เป้าหมายà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸„รัวที่มีคุณภาพของโลà¸à¸ªà¸±à¸¡à¸¤à¸—ธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¥à¸±à¸à¸”ันให้อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸›à¸´à¹‚ตรเลียมà¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นสามารถสร้างรายได้จาà¸à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ รวมทั้งสร้างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศโดยถือเป็นอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸¢à¸¸à¸—ธศาสตร์ใหม่

4.ยà¸à¸£à¸°à¸”ับความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันà¹à¸¥à¸°à¸‚ยายช่องทางà¸à¸²à¸£à¸•à¸¥à¸²à¸”ของธุรà¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¸à¸•à¸ªà¸²à¸«à¸à¸£à¸£à¸¡ ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีคุณค่าà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประà¸à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸‚ยายà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านà¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸•à¸–ุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

6.ดึงดูดà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีพื้นà¸à¸²à¸™à¸—างเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรà¸à¸±à¸šà¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อม รวมถึงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่เหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างพื้นà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะ

7.เสริมสร้างà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž สร้างงานที่มีคุณภาพà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้สูงให้à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸—ั่วถึง

8.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายความเชื่อมโยงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸„้า à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ ภายใต้ประโยชน์ร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมือà¹à¸¥à¸°à¸‚้อตà¸à¸¥à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸£à¸„้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¸‚องเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸²à¸£à¸à¸±à¸šà¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¸žà¸±à¸’นาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¸”้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของà¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢

2.เพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸žà¸·à¸Š โดยà¸à¸²à¸£à¸§à¸´à¸ˆà¸±à¸&cen

เปรียบเทียบนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องนายà¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์à¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸¢à¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องนายà¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

นโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸«à¸ à¸²à¸„

1.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3.พัฒนาระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์à¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ รวมทั้งพิจารณาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนที่สามารถใช้ในà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸´à¸™à¸—รัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น à¸à¸­à¸‡à¸—ุนมั่งคั่งà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸­à¸‡à¸—ุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวจาà¸à¸—ั้งภายนอà¸à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ จัดให้มีà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวà¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่องเที่ยว ให้มีรายได้จาà¸à¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศมาเป็นเวลานานให้à¸à¹‰à¸²à¸§à¸‚้ามไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸¨à¸¹à¸™à¸¢à¹Œà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸„้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องà¸à¸²à¸£à¸‚องผู้บริโภคที่มีà¸à¸²à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸£à¸ªà¸™à¸´à¸¢à¸¡à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศไทยให้เป็นศูนย์à¸à¸¥à¸²à¸‡à¸•à¸¥à¸²à¸”ซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£ จะทำให้เป้าหมายà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸„รัวที่มีคุณภาพของโลà¸à¸ªà¸±à¸¡à¸¤à¸—ธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¥à¸±à¸à¸”ันให้อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸›à¸´à¹‚ตรเลียมà¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นสามารถสร้างรายได้จาà¸à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ รวมทั้งสร้างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศโดยถือเป็นอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸¢à¸¸à¸—ธศาสตร์ใหม่

4.ยà¸à¸£à¸°à¸”ับความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันà¹à¸¥à¸°à¸‚ยายช่องทางà¸à¸²à¸£à¸•à¸¥à¸²à¸”ของธุรà¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¸à¸•à¸ªà¸²à¸«à¸à¸£à¸£à¸¡ ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีคุณค่าà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประà¸à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸‚ยายà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านà¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸•à¸–ุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

6.ดึงดูดà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีพื้นà¸à¸²à¸™à¸—างเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรà¸à¸±à¸šà¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อม รวมถึงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่เหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างพื้นà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะ

7.เสริมสร้างà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž สร้างงานที่มีคุณภาพà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้สูงให้à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸—ั่วถึง

8.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายความเชื่อมโยงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸„้า à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ ภายใต้ประโยชน์ร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมือà¹à¸¥à¸°à¸‚้อตà¸à¸¥à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸£à¸„้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¸‚องเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸²à¸£à¸à¸±à¸šà¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¸žà¸±à¸’นาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¸”้วยตนเองตà¸&

นโยบายด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚อง นางสาว ยิ่งลัà¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

1.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3.พัฒนาระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์à¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ รวมทั้งพิจารณาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนที่สามารถใช้ในà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸´à¸™à¸—รัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น à¸à¸­à¸‡à¸—ุนมั่งคั่งà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸­à¸‡à¸—ุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวจาà¸à¸—ั้งภายนอà¸à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ จัดให้มีà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวà¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่องเที่ยว ให้มีรายได้จาà¸à¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศมาเป็นเวลานานให้à¸à¹‰à¸²à¸§à¸‚้ามไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸¨à¸¹à¸™à¸¢à¹Œà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸„้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องà¸à¸²à¸£à¸‚องผู้บริโภคที่มีà¸à¸²à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸£à¸ªà¸™à¸´à¸¢à¸¡à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศไทยให้เป็นศูนย์à¸à¸¥à¸²à¸‡à¸•à¸¥à¸²à¸”ซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£ จะทำให้เป้าหมายà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸„รัวที่มีคุณภาพของโลà¸à¸ªà¸±à¸¡à¸¤à¸—ธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¥à¸±à¸à¸”ันให้อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸›à¸´à¹‚ตรเลียมà¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นสามารถสร้างรายได้จาà¸à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ รวมทั้งสร้างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศโดยถือเป็นอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸¢à¸¸à¸—ธศาสตร์ใหม่

4.ยà¸à¸£à¸°à¸”ับความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันà¹à¸¥à¸°à¸‚ยายช่องทางà¸à¸²à¸£à¸•à¸¥à¸²à¸”ของธุรà¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¸à¸•à¸ªà¸²à¸«à¸à¸£à¸£à¸¡ ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีคุณค่าà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประà¸à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸‚ยายà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านà¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸•à¸–ุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

6.ดึงดูดà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีพื้นà¸à¸²à¸™à¸—างเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรà¸à¸±à¸šà¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อม รวมถึงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่เหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างพื้นà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะ

7.เสริมสร้างà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž สร้างงานที่มีคุณภาพà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้สูงให้à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸—ั่วถึง

8.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายความเชื่อมโยงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸„้า à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ ภายใต้ประโยชน์ร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมือà¹à¸¥à¸°à¸‚้อตà¸à¸¥à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸£à¸„้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¸‚องเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸²à¸£à¸à¸±à¸šà¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¸žà¸±à¸’นาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¸”้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของà¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢

2.เพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸žà¸·à¸Š โดยà¸à¸²à¸£à¸§à¸´à¸ˆà¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาสายพà¸

นโยบายด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚อง นางสาว ยิ่งลัà¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

1.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3.พัฒนาระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์à¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ รวมทั้งพิจารณาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนที่สามารถใช้ในà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸´à¸™à¸—รัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น à¸à¸­à¸‡à¸—ุนมั่งคั่งà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸­à¸‡à¸—ุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวจาà¸à¸—ั้งภายนอà¸à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ จัดให้มีà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวà¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่องเที่ยว ให้มีรายได้จาà¸à¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศมาเป็นเวลานานให้à¸à¹‰à¸²à¸§à¸‚้ามไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸¨à¸¹à¸™à¸¢à¹Œà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸„้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องà¸à¸²à¸£à¸‚องผู้บริโภคที่มีà¸à¸²à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸£à¸ªà¸™à¸´à¸¢à¸¡à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศไทยให้เป็นศูนย์à¸à¸¥à¸²à¸‡à¸•à¸¥à¸²à¸”ซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£ จะทำให้เป้าหมายà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸„รัวที่มีคุณภาพของโลà¸à¸ªà¸±à¸¡à¸¤à¸—ธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¥à¸±à¸à¸”ันให้อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸›à¸´à¹‚ตรเลียมà¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นสามารถสร้างรายได้จาà¸à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ รวมทั้งสร้างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศโดยถือเป็นอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸¢à¸¸à¸—ธศาสตร์ใหม่

4.ยà¸à¸£à¸°à¸”ับความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันà¹à¸¥à¸°à¸‚ยายช่องทางà¸à¸²à¸£à¸•à¸¥à¸²à¸”ของธุรà¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¸à¸•à¸ªà¸²à¸«à¸à¸£à¸£à¸¡ ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีคุณค่าà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประà¸à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸‚ยายà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านà¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸•à¸–ุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

6.ดึงดูดà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีพื้นà¸à¸²à¸™à¸—างเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรà¸à¸±à¸šà¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อม รวมถึงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่เหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างพื้นà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะ

7.เสริมสร้างà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž สร้างงานที่มีคุณภาพà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้สูงให้à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸—ั่วถึง

8.ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายความเชื่อมโยงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸„้า à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ ภายใต้ประโยชน์ร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมือà¹à¸¥à¸°à¸‚้อตà¸à¸¥à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸£à¸„้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¸‚องเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸²à¸£à¸à¸±à¸šà¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¸žà¸±à¸’นาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¸”้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของà¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢

2.เพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸žà¸·à¸Š โดยà¸à¸²à¸£à¸§à¸´à¸ˆà¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาสายพà¸

เปรียบเทียบนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ เวชชาชีวะ à¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸‡à¸ªà¸²à¸§à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์ ชินวัตร

นโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸«à¸ à¸²à¸„

1. ดำเนิน à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3. พัฒนา ระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้อง à¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ ที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครง สร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7. บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์à¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ รวมทั้งพิจารณาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนที่สามารถใช้ในà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸´à¸™à¸—รัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น à¸à¸­à¸‡à¸—ุนมั่งคั่งà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸­à¸‡à¸—ุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1. ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวจาà¸à¸—ั้งภายนอà¸à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ จัดให้มีà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวà¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่องเที่ยว ให้มีรายได้จาà¸à¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2. ขยาย บทบาทให้ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศมา เป็นเวลานานให้à¸à¹‰à¸²à¸§à¸‚้ามไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸¨à¸¹à¸™à¸¢à¹Œà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸„้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องà¸à¸²à¸£à¸‚องผู้บริโภคที่มีà¸à¸²à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸£à¸ªà¸™à¸´à¸¢à¸¡à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศไทยให้เป็นศูนย์à¸à¸¥à¸²à¸‡à¸•à¸¥à¸²à¸”ซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£ จะทำให้เป้าหมายà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸„รัวที่มีคุณภาพของโลà¸à¸ªà¸±à¸¡à¸¤à¸—ธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3. ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¥à¸±à¸à¸”ันให้อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸›à¸´à¹‚ตรเลียมà¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นสามารถสร้าง รายได้จาà¸à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ รวมทั้งสร้างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศโดยถือเป็นอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸¢à¸¸à¸—ธศาสตร์ใหม่

4. ยà¸à¸£à¸°à¸”ับความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันà¹à¸¥à¸°à¸‚ยายช่องทางà¸à¸²à¸£à¸•à¸¥à¸²à¸”ของธุรà¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¸à¸•à¸ªà¸²à¸«à¸à¸£à¸£à¸¡ ธุรà¸à¸´à¸ˆà¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸° บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่มีคุณค่าà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพสูง

5. ส่งเสริมให้ผู้ประà¸à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸‚ยายà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡ ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านà¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸•à¸–ุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

6. ดึงดูดà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸ªà¸´à¸™à¸„้าà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีพื้นà¸à¸²à¸™à¸—างเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรà¸à¸±à¸šà¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อม รวมถึงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่เหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างพื้นà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะ

7. เสริมสร้างà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž สร้างงานที่มีคุณภาพà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้สูงให้à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸—ั่วถึง

8. ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายความเชื่อมโยงทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸„้า à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ ภายใต้ประโยชน์ร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมือà¹à¸¥à¸°à¸‚้อตà¸à¸¥à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸£à¸„้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£

1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¸‚องเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸²à¸£à¸à¸±à¸š รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à&cedil

นโยบายรัà¸à¸šà¸²à¸¥ อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วน 1 ปี

รัà¸à¸šà¸²à¸¥ ถือเป็นภารà¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สำคัà¸à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸—ี่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจาà¸à¸§à¸´à¸à¸¤à¸•

เศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹‚ลà¸à¸—ี่à¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¹€à¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตอย่างยั่งยืน

à¹à¸à¹‰à¹„ขวิà¸à¸¤à¸•à¸—างสังคมที่มีความà¹à¸•à¸à¹à¸¢à¸à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ส่วนนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์มีดังนี้ค่ะ

1.) นโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

สนับสนุนให้เศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸™à¹‚ยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราà¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตของเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ เสถียรภาพของระดับราคาà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™ เสนอà¹à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸à¸³à¸«à¸™à¸”นโยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันให้มีประสิทธิผลà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรม สร้างเสถียรภาพà¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงของระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ บริหารสภาพคล่องทางà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸”ูà¹à¸¥à¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายทุนระหว่าง

ประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรà¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹ƒà¸à¸¥à¹‰à¸Šà¸´à¸” เพื่อป้องà¸à¸±à¸™à¸œà¸¥à¸à¸£à¸°à¸—บที่จะเà¸à¸´à¸”ขึ้นจาà¸à¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸„วามร่วมมือทางด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸•à¹‰à¸à¸£à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸¸à¸¡à¸ªà¸¸à¸”ยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือà¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¹ƒà¸™à¸à¸£à¸“ีที่เà¸à¸´à¸”วิà¸à¸¤à¸•à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„เสนอà¹à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸à¸³à¸«à¸™à¸”นโยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันให้มีประสิทธิผลà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมพัฒนาตลาดทุนà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸ªà¸–าบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้มà¹à¸‚็งà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–รองรับผลà¸à¸£à¸°à¸—บจาà¸à¸„วามผันผวนของสภาวะà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹‚ลภà¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินธุรà¸à¸´à¸ˆà¹„ด้อย่างมั่นคง โดยà¸à¸²à¸£à¹à¸à¹‰à¹„ขà¸à¸Žà¸£à¸°à¹€à¸šà¸µà¸¢à¸š à¹à¸¥à¸°à¸§à¸²à¸‡à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¸”ูà¹à¸¥à¹ƒà¸«à¹‰à¸ªà¸­à¸”คล้องà¸à¸±à¸šà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸™à¸§à¸±à¸•à¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸„วามเข้มà¹à¸‚็งของตลาดเงินà¹à¸¥à¸°à¸•à¸¥à¸²à¸”ทุนรวมทั้งบริหารจัดà¸à¸²à¸£à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะให้คล่องตัวà¹à¸¥à¸°à¸•à¸­à¸šà¸ªà¸™à¸­à¸‡à¹à¸™à¸§à¸™à¹‚ยบายในà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาภายใต้วินัยà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ à¸à¸²à¸£à¸„ลัง ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¸­à¸¡à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเพื่อ

ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มที่ยั่งยืน ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงà¹à¸™à¸§à¸—างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”สรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องà¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ิน รวมทั้งเร่งออà¸à¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸²à¸£à¸„ลังของรัà¸à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸£à¸­à¸šà¹à¸™à¸§à¸—างในà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸šà¸±à¸•à¸´à¸—ี่ดี บริหารทรัพย์สินของภาครัà¸à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸¡à¸¹à¸¥à¸„่าเพิ่มà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸›à¸£à¸°à¹‚ยชน์ต่อรัà¸à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹€à¸«à¸¡à¸²à¸°à¸ªà¸¡ เสนอà¹à¸™à¸°à¹à¸¥à¸°à¸à¸³à¸«à¸™à¸”นโยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันให้มีประสิทธิผลà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรม บริหารà¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸šà¸ˆà¹ˆà¸²à¸¢à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องรัà¸à¸šà¸²à¸¥ รวมทั้งบริหารจัดà¸à¸²à¸£à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸²à¸˜à¸²à¸£à¸“ะให้คล่องตัวà¹à¸¥à¸°à¸•à¸­à¸šà¸ªà¸™à¸­à¸‡à¹à¸™à¸§à¸™à¹‚ยบายในà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นา ภายใต้วินัยà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ à¸à¸²à¸£à¸„ลังà¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¸›à¸£à¸¸à¸‡à¹‚ครงสร้างองค์à¸à¸£ พัฒนาบุคลาà¸à¸£à¹à¸¥à¸°à¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸—ี่เà¸à¸µà¹ˆà¸¢à¸§à¸‚้อง ปรับปรุงโครงสร้างภาษีà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸ à¸²à¸©à¸µ เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸©à¸µà¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸«à¸¢à¸±à¸”พลังงาน à¹à¸¥à¸° พลังงานทางเลือภà¸à¸³à¸«à¸™à¸”à¸à¸£à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนภาครัภทั้งในระยะปานà¸à¸¥à¸²à¸‡à¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸¢à¸°à¸¢à¸²à¸§à¸—ี่มีความชัดเจนของà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™ รูปà¹à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸šà¸—บาทของภาคเอà¸à¸Šà¸™à¸—ี่เหมาะสมรวมทั้งพัฒนาเครื่องมือà¹à¸¥à¸°à¸à¸¥à¹„à¸à¸à¸²à¸£à¸£à¸°à¸”มทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงà¸à¸²à¸£à¸‚นาดใหà¸à¹ˆ โดยคำนึงถึงวินัยà¸à¸²à¸£à¸„ลัง à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸£à¸°à¸‡à¸šà¸›à¸£à¸°à¸¡à¸²à¸“ของภาครัภปรับปรุงประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸”ำเนินงานของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¹‚ดยมุ่งเน้นà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ต้นทุนดำเนินงาน à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸„วามเสี่ยง à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸•à¹‰à¸«à¸¥à¸±à¸à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸²à¸ à¸´à¸šà¸²à¸¥ à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¸”ูà¹à¸¥à¸—ี่ดี รวมทั้งà¸à¸²à¸£à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸£à¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¹€à¸šà¸´à¸à¸ˆà¹ˆà¸²à¸¢à¸¥à¸‡à¸—ุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เร่งรัดà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาระบบโลจิสติà¸à¸ªà¹Œà¸—าง à¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£ เพื่อเพิ่มผลตอบà¹à¸—นด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸žà¸·à¸Šà¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸³à¸„ัà¸à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸«à¸¡à¸²à¸°à¸ªà¸¡à¸à¸±à¸šà¸ªà¸ à¸²à¸žà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸§&agrav

ขอส่งอีกรอบนะคะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต

เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ส่วนนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์มีดังนี้ค่ะ

1.) นโยบายเศรษฐกิจ

สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคาและการจ้างงาน เสนอแนะและกำหนดนโยบายการคลังและระบบการเงิน เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้มีประสิทธิผลและความเป็นธรรม สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่าง

ประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคเสนอแนะและกำหนดนโยบายการคลังและระบบการเงิน เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้มีประสิทธิผลและความเป็นธรรมพัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงินเพิ่มความเข้มแข็งของตลาดเงินและตลาดทุนรวมทั้งบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้คล่องตัวและตอบสนองแนวนโยบายในการพัฒนาภายใต้วินัยการเงิน การคลัง ส่งเสริมการออมและการลงทุนเพื่อ

ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี บริหารทรัพย์สินของภาครัฐเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นประโยชน์ต่อรัฐและประชาชนอย่างเหมาะสม เสนอแนะและกำหนดนโยบายการคลังและระบบการเงิน เพื่อสร้างความยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้มีประสิทธิผลและความเป็นธรรม บริหารการรับจ่ายเงินของรัฐบาล รวมทั้งบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้คล่องตัวและตอบสนองแนวนโยบายในการพัฒนา ภายใต้วินัยการเงิน การคลังการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และ พลังงานทางเลือก กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสมรวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทาง การเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตรรวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงโดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง และ ประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรมยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วมปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.) นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค โดยส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขากับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ และเร่งแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สนองพระราชกรณียกิจ และสร้างโอกาสให้ผู้นำและเจ้าหน้าที่สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งใช้กรอบการประชุมทวิภาคีและจัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีรองรับความสัมพันธ์ที่ขยายตัวส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามกฎบัตรอาเซียน โดยให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกร่วมกันเคารพสิทธิมนุษยชน และผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทนำที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศรวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศในเอเชียอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอื่น ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกและประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาและขยายความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากร วัตถุดิบ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลก ในเรื่องการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องการค้าสินค้าเกษตร และกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญา การปกป้องรักษาและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง การส่งเสริมและคุ้มครองค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาขององค์การระหว่างประเทศ และมีความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน โดยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องและความเชื่อมั่นของนานาประเทศ ต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และสนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศและประชาชนไทย

และนโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์มีดังนี้ค่ะ

ประเทศไทยอยู่ในสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแนวคิดในการบริหารบ้านเมือง

จึงไม่สามารถใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีตได้ ดังนั้น กรอบแนวคิดใหม่ ๆ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องนํามาใช้

เพิ่มเติมร่วมกับต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามี เพื่อรวบรวมพลังจากทุกภาคส่วนมาช่วยกันสร้างความเปลี่ยนแปลง

ใหกับประเทศของเราให้ดียิ่งขึ้น

1.) นโยบายเศรษฐกิจ

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดําเนินการให้มีการกระจายรายไ ด้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดําเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศรวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิ ภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับพรอมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาสสามารถให้บริการที่ตอบสนอง

ต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ด้วยค่าบริการที่ตํ่าและการบริการที่มีประสิทธิภาพการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงโดยการออกมาตรการที่จําเป็นและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบการเงิน ปรับปรุงระบบกํากับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

และสร้างฐานรายได้ ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มีใช้ภาษี

ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสมมีระบบบริหารความเสี่ยง

ทางการคลังที่มีประสิทธิภาพจัดลําดับความสําคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐาน

ของการพัฒนาในอนาคตส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดําเนินการในกิจการของรัฐตลอดจนส่งเสริมองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงินรวมทั้งปฏิรูประบบการกํากับดูแลการลงทุนและการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนเพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทนต่อความเปลี่ยนแปลง บริหารสินทรัพย์ของประเทศ

ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น

วิถีชีวิตวัฒนธรรมรวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่นคงแห่งชาติ กองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงสํารองแห่งชาติ และกองทุนความม่ันคงทางอาหาร เป็นต้น

2.) นโยบายสร้างรายได้

ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศจัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว

รวมทงหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤตรวมทงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปาที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มส่งให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ขยายบทบาทให้ธุรกิจการ เกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต

และการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัวการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว นํ้าตาล มันสําปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศรวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศและธุรกิจวิสาหกิจชุมชนใหเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ความชํานาญและความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดความรู้สู้การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรมผลิตภัณฑัชุมชน อัญมณี และ อื่นๆ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูงเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทยรวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะโดยปรับปรุงกฎระเบียบและสภาวะแวดลอมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุนเสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพสร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบในทุกระดับชั้นความรู้และส่งเสริมให้เกิดความรู้ความชํานาญและความคดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถขายได้ในราคาที่ดีส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทนุ และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลง

ทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

นางสาว ฟ้าสีทอง ขันตี การเงิน 02 54127326055

นโยบายด้านการเงินของ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายด้านการเงินของ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม สนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมสร้างความสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูทรัพยากรให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยร่วมกับภาคเอกชนประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริม การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริการจัดการน้ำและการชลประทาน

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม และบริการทุกระดับ โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 3 หมื่นบาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรเดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้รวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า ของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับอสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.3 ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยให้สนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุด นักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

สรุปการเปรียบนโยบายนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

-ความยากจนต้องหมดจากประเทศภายใน 4 ปี ต้องเพิ่มทุนเข้ากองทุนหมู่บ้านอีก 1 ล้านต่อหนึ่งกองทุนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน

-กลับมาใช้ระบบจำนำข้าว แทนการประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์

-ริเริ่มแนวคิด “เครดิตการ์ดเกษตรกร”

-ปรับลดภาษีจาก 30 เหลือ 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 แล้วจะให้เงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบ ป.ตรี ที่ 15,000 บาท แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน

-ดำเนินการแจกแท็บเล็ต พีซี เด็กไปโรงเรียนต้องถือไปหนึ่งเครื่อง ให้มีสัญญาณ Wi-Fi ฟรี ในที่สาธารณะ

-พักหนี้ คนที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 5 แสนจะพักหนี้ไม่น้อย 3-5 ปี คนที่เป็นหนี้ 5 แสนแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

-ยกระดับพัฒนา OTOP แบบเต็มสูบ

นโยบาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

-เพิ่มเงินกำไรอีกร้อยละ 25 จากโครงการประกันรายได้เกษตรกร

-ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ในเวลา 2 ปี พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยทั้งหมดได้มีการวางแผนระยะเวลา กลไก การปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ และลดต้นทุนของผู้ประกอบการควบคู่กันไป

-จัดโฉนดชุมชนให้เกษตรกรมีที่ทำกินอีก 250,000 คน บนที่ดินของรัฐ

-ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และสร้างโอกาสใหม่ แก่ชีวิตของประชาชนให้ครบ 1 ล้านคน

-ขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกรและแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม 25 ล้านคน เพื่อรับเงินชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และบำเหน็จชราภาพ

-จัดให้มีบำนาญประชาชนหลังอายุ 60 ปี โดยรัฐร่วมสมทบในกองทุนการออมแห่งชาติ

-พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างสินค้าและบริการ บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยงบประมาณ 20,000 ล้านบาท

นโยบายการเงิน

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

แสดงความคิดเห็นค่ะ นโยบายนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่น ดำเนินการให้แรงงานมี “รายได้” เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท

ข้อดี การขึ้นค่าแรงงานและรายได้ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นนั้น ทำให้เรามีเงินมากขึ้นในด้านการจับจ่ายใช้สอย ทำให้เราได้รายได้เพิ่มขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความมั่นคงขึ้น เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจคงตัว

ข้อเสีย ทำให้ผู้ประกอบขึ้นราคาสินค้ามากขึ้น เพราะอ้างว่าต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อแรงงานเพราะรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากกว่ารายรับอยู่ดี

นโยบาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เช่น ให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุคนละ 500 บาท

ข้อดี ทำให้ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ๆมีรายได้ในการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน

ข้อเสีย การให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุมีขั้นตอนให้ยุ่งยาก ซับซ้อนกว่าจะได้เบี้ยยังชีพมา และเงินที่ได้ก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่ค่าครองชีพสูงขึ้นมาก

นางสาว วนิดา เกียรติเฉลิมคุณ

รหัส 54127326066

การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายการเงิน อภิสิทธิ์ เวชชาชีว่ะ

เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

3 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

4 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

5 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

นโยบายเศรษฐกิจ

1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายการเงินรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์กับนายกอภิสิทธิ์

นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นยายการเงินของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

๑ สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมี

เสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่าง

อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

๒ สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบัน

การเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้าย

ทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงิน

อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว

รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน

ในภูมิภาค

๓ พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง

และสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถ

สนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และ

วางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริม

การออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

๔ ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทาง

การจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออก

กฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการ

ปฏิบัติที่ดี

๕ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มี

ความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

๖ กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลาง

และระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของ

ภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุน

ดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบ

การกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัด

การเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

๑ ภาคเกษตร

๑.๑ เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทาง

การเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร

โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและ

พัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็น

พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุน

ทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม

มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคง

ด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

๑.๒ ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง

โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและ

เชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและ

เขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้

โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริม

ความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และ

ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไข

ปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และ

อุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง

๑.๓ พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุง

และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการ

ป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน

สินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์

อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๑.๔ ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและ

การตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนา

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก

สินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก

และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

๑.๕ ส่ง เ ส ริม ก า ร เ พิ่ม มูล ค่า สิน ค้า เ ก ษ ต ร

โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและ

อาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับ

อุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล

ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

เกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้า

เกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนา

เครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

๑.๖ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริม

การทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตร

ทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และ

สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการ

ของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือ

ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

๑.๗ เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำ ให้ทั่วถึงและ

เพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้น

การเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริม

การใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทาน

ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่

ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

๑.๘ คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับ

การทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐาน

การผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

ยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและ

ชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุน

การพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

๑.๙ พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง

โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิต

และการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

๑.๑๐ แ ก้ไ ข ปัญ ห า ห นี้สิน ฟื้น ฟูอ า ชีพ แ ล ะ

ความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและ

นอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

ภาคอุตสาหกรรม

๑ สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถ

ในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อ

ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และ

สถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์

และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ

๒ กำ หนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละ

อุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิต

เครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรม

อัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถ

จูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยี

ขั้นสูง

๓ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุง

คุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไก

การระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุน

ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

๔ เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความ

ต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี

และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

๕ สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม

ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และ

ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกัน

สินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลาง

และขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้

๖ จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริม

การลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนา

พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึง

การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

๗ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบ

ต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัย

ในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

๑ ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิต

ของประเทศ โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการ

แข่งขัน พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ

ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหาร

และการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและ

ภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

๒ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน

โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของ

ชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่ง

ท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น

กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์ ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือ

เป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลก

และมรดกธรรมชาติ เป็นต้น

๓ พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว

โดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว

มาตรฐานการเดินทาง มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรม

เป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม

พนักงานบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น และ

ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้าน

ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ

๔พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์

การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและ

กลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความ

โดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการ

ทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยว

เชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

ประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

๕ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

การท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ

ของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

การตลาด การค้า และการลงทุน

๑ ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมี

ภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้

กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกัน

การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบ

ผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจ

ค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

๒ ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย

โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้ว

และขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และ

เอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิง

แหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

๓ ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี

ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่

อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการ

เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๔ ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อ

ป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและ

ความปลอดภัย

๕ ส่ง เ ส ริม ผู้ป ร ะ ก อ บ ก า ร ไ ท ย ใ ห้มีก า ร

ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

๖ ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม

และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์

สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง

สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้าง

เครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการ

อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบ

การตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๘ ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณา

อุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมา

อยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสิน

อุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นางสาว ศิวาพร ฐิตะฐาน

การเงินการธนาคาร 02

54127326045

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากบล๊อกงานการเปรียบเทียบนโยบายของสองรัฐบาล ส่งงานไปแล้วข้อมูลขึ้นไม่ครบค่ะ

ขออนุญาติส่งงานใหม่เป็นสองความคิดเห็นต่อกันนะค่ะ

นางสาวอัษฎางค์ คงอยู่

นักศึกษาสาขาการเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326059

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารบ้านเมืองขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรง รวมถึงประมาณการรายได้ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มจะปรับลดลงจากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ 10

ในปี 2552 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคน อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่นนโยบายการประกันราคาข้าว กรณีที่เกษตรกรมีการขายข้าว แต่ได้รับเงินไม่เพียงพอที่นำไปใช้ในการลงทุน จึงมีการดูแลและช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายจากการขายข้าวในงวดต่อไป

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

5. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

6. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

7. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

8. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

9. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

10. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

11. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

12. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

13. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

14. แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

15. ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

( มีข้อมูลต่ออีกนะค่ะ )

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์กับนายกอภิสิทธิ์

นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายการเงินของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

๑ สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

๒ สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็วรวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

๓ พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และ

วางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

๔ ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

๕ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

๖ กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

๑ ภาคเกษตร

๑.๑ เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทาง

การเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตรโดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

๑.๒ ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงโดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง

๑.๓ พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๑.๔ ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนา

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลกและส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

๑.๕ ส่ง เ ส ริม ก า ร เ พิ่ม มูล ค่า สิน ค้า เ ก ษ ต รโดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

๑.๖ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตร

ทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

๑.๗ เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำ ให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้น

การเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่

ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

๑.๘ คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐาน

การผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

๑.๙ พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งโดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

๑.๑๐ แ ก้ไ ข ปัญ ห า ห นี้สิน ฟื้น ฟูอ า ชีพ แ ล ะความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและ

นอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรภาคอุตสาหกรรม

๑ สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อ

ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุน

โลจิสติกส์และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ

๒ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละ

อุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถ

จูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง

๓ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไก

การระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

๔ เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี

และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

๕ สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และ

ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้

๖ จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

๗ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อมภาคการท่องเที่ยวและบริการ

๑ ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศ โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

๒ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชนโดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น

กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์ ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลกและมรดกธรรมชาติ เป็นต้น

๓ พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว

มาตรฐานการเดินทาง มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรมเป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรมพนักงานบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น และปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ

๔พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและ

กลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยว

เชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

๕ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ

ของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การตลาด การค้า และการลงทุน

๑ ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจ

ค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

๒ ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

๓ ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๔ ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อ

ป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและ

ความปลอดภัย

๕ ส่ง เ ส ริม ผู้ป ร ะ ก อ บ ก า ร ไ ท ย ใ ห้มีก า รขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

๖ ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๘ ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมา

อยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นางสาว ศิวาพร ฐิตะฐาน

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326045

ข้อมูลต่อ

นางสาวอัษฎางค์ คงอยู่

นักศึกษาสาขาวิชาการเงินการธนาคาร 02

รหัส 54127326059

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

5. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยจะแบ่งกลุ่มเงินเดือนออกเป็น 4 กลุ่มคือ

กลุ่มปริญญาตรีผู้ได้รับเงินเดือนเกิน 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000บาท จะมีเงินค่าครองชีพเพิ่มให้อีก

กลุ่มปริญญาตรีที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้เป็น 15,000 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือน 9000 บาทขึ้นไป รับค่าครองชีพ 1,500 บาท

กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้ถึง 9,000 บาท

8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

11. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

13. สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การดำเนินนโยบายของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีวัตถุที่ความคล้ายคลึงกัน แต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยมุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยเฉพาะ ปัญหาเงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ และปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาความรุนแรงในภาคใต้และปัญหามหาอุทกภัย นโยบายสำคัญที่ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเช่น การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในการลงทุน รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค พักหนี้เกษตรกร การปรับลดภาษีและวิธีการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินนโยบายเพื่อที่ช่วยเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก รวมถึงนโยบายการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มรายได้ของประชาชน แก้ปัญหาการว่างงาน และลดค่าครองชีพ

หลังจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ถึงแม้ว่าปัญหาส่วนใหญ่จะช่วยคลี่คลายความรุนแรงลง แต่ยังมีบางนโยบายที่หลังจากดำเนินการแล้วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายขึ้นใหม่ซึ่งอาจจะเปลี่ยนวิธีการจากเดิมมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น สมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ถึงแม้ทางรัฐบาลจะมีการกำหนดนโยบายที่ช่วยแก้ปัญหาลงได้บ้างแต่ก็ยังเป็นปัญหาหลักมาจนถึงรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้จัดการแก้ไขโดยลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ตัวอย่างเช่น นโยบายบ้านหลังแรก และรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่สร้างความฮือฮาและได้รับการตอบรับจากประชาชนในประเทศไทยจำนวนมาก

( กราบขออภัยในความไม่สะดวกในการตรวจงาน )

เรียนอาจารย์ กฤษฎา สังขมณี ดิฉันขอส่งงานอีกรอบนะค่ะ เนื่องจากส่งครั้งแรกระบบ ไม่สามารถอ่านภาษาได้

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายการเงิน รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1. ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้อง การที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครง สร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2. ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3. ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลง ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6. ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7. เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8. ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3. เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4. พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5. เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6. จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7. เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8. พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9. ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2. ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3. พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5. กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6. พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรอง รับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7. เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8. ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10. เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1. ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2. สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3. สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4. ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลง ทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5. ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6. พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7. ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8. เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์

รหัสนักศึกษา 54127326054 การเงินการธนาคาร 02

( ขอส่งเนื้อหาที่เหลือเพิ่มเติมนะค่อาจารย์ )

นโยบายการเงิน รัฐบาลอดีตนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีดังนี้

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุน เวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงิน สูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตาม กฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการ ดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมาย กำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดย เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่ เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด ตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้ เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับ ช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน ทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยน แปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มี ประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของ ประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการ ของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

- สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

- สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นางสาวเบญจมาศ มหายศนันท์

รหัสนักศึกษา 54127326054 การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

1.8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

1.10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

1.10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1.10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

1.11 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

1.13 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

1.13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource) เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 3 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

• งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting)

• งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting )

• งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

• งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

- มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation)

- จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้ งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้

- ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

- ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way) งบประมาณระบบนี้คือ

- จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน ( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

- มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

- กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย ( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

3. งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

- PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การวางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

- จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

- จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

- จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการ

- วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

- พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

- PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

- การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1.) Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2.) Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงินงบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปีต่อ ๆ ไป

3.) Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

4. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB ) เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

- ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

- ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

- กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

- จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

- คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

- กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

- ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

- เน้นการควบคุมภายใน

- การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รั

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

1.8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

1.10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

1.10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1.10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

1.11 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

1.13 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

1.13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource) เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 3 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

• งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting)

• งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting )

• งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

• งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

- มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation)

- จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้ งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้

- ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

- ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way) งบประมาณระบบนี้คือ

- จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน ( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

- มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

- กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย ( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

3. งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

- PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การวางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

- จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

- จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

- จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการ

- วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

- พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

- PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

- การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1.) Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2.) Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงินงบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปีต่อ ๆ ไป

3.) Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

4. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB ) เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

- ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

- ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

- กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

- จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

- คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

- กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

- ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

- เน้นการควบคุมภายใน

- การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มทำในปีแรก แบ่งเป็น

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

1.4 เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

1.5 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

1.6 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

1.7.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

1.7.2 เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท

1.7.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

1.7.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

1.8 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

1.9 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย

1.9.1 เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท

1.9.2จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.9.3จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษา

1.10 ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.11 ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554 - 2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิลาเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

1.13 สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

1.13.2บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค

1.15จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทปเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแทปเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหารและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

2. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ เช่น เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์, พัฒนาและเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศของกองทัพให้มีความมั่นคง

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายคุณภาพชีวิต

5.นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นายพิริยพงษ์ มนูญ การเงินการธนาคาร 02 54127326078

เปรียบเทียบนโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีว

นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

6. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน

เชื้อเพลิง

7. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

8 .ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี

9. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย

10. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์13.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูป

นโยบายของนายอภิสิทธิ์

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและ

เอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง

เศรษฐกิจ ( กรอ. )

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรัก

สามัคคีของคนในชาติ

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย

และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของกับประเทศ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความ

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา

3.2 นโยบายแรงงาน

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ

4. นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ของประเทศ

4.4 นโยบายพลังงาน

4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากร

ทางทะแลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ

5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ

5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ

5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตราย มลพิษทางอากาศ

กลิ่น เสียง และน้ำเสีย

5.5 พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและ

5.6 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ

6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนอง

ความต้องการของภาคการผลิต

6.3 ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของ

7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

7.1 พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ

7.2 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 7.3 ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศ

7.4 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก

7.5 ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลก

7.6 สนับสนุนการเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ 7.7 ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระทบต่อ

ประเทศไทย

7.8 สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน

7.9 คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และภาคธุรกิจเอกชนไทยใน

ต่างประเทศ

8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

8.2 กฎหมายและการยุติธรรม

8.3 สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1.ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

สำหรับนโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ในช่วงระยะเวลา 1 ปีแรก

1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ

2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน

5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ

6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556

10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน

11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน

14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม

15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ

16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย

4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ

7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ

ความแตกต่างของนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้า ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

ความแตกต่างนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษ์ ชินวัตรและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั่นก็คือ "ทำ" ให้ได้อย่างที่ "พูด"

เมื่อแรกเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จุดเด่นคือ ตอบโต้ทุกเม็ด ไม่ยอมใครง่ายๆ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมือนกับเป็นคนอ่อน แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ดำรงจุดมุ่งหมายของตนอย่างมั่นแน่ว

เพียงแต่ด้วยอาศัยท่าทีอันนุ่มนวล และอาศัยความเป็นผู้หญิงมาใช้ให้ก่อประโยชน์นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการปะทะกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ไม่ว่าจะถูกเย้ายั่ว ไม่ว่าจะถูกโจมตีทั้งต่อหน้าและลับหลังอย่างไร ก็ยิ้มรับแต่ก็มิได้หมายความว่าจะยอมรับหรือเห็นด้วย ตรงกันข้าม กลับอาศัยจุดแข็งของตนมาเป็นประโยชน์และสามารถเอาชนะในตอนปลายได้ในที่สุดความพยายามในการไม่ตอบโต้ ไม่ปะทะด้วยกำลังแต่เวลา 1 เดือนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจถูกเยาะเย้ย หยามหมิ่น จากฝ่ายตรงกันข้าม อย่างรุนแรงและร้ายกาจตรงกันข้าม สิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนหยัดแสดงออกคือ การลงมือทำงานตามคำมั่นที่ได้ประกาศให้ไว้กับประชาชน ไม่ว่าการลดราคาน้ำมัน ช่วยค่าครองชีพประชาชน

ไม่ว่าบ้านหลังแรก ไม่ว่ารถยนต์คันแรก ไม่ว่าเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และไม่ว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และเดินหน้าต่อไปในเรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ให้กับผู้ใช้แรงงาน

เป็นการ พูดและลงมือทำ แต่ของอภิสิทธิ์เป็นการพูดและลงมือทำในบ้างข้อของนโยบายและเกิดปัญหาต่างๆที่อภิสิทธิ์แก้ไม่ได้เช่นการทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัยส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง และราคาไข่ที่ต้องชั่งกีโลขายรวมทั้งราคานำมันที่เพิ่มขึ้นและมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชาชน เป็นการพูดแต่ไม่ลงมือทำ

นางสาว คนัสพร แก้วไกรสอน รหัสนักศึกษา54127326050(ขออภัยด้วยนะค่ะที่ส่งซำพอดีลืมเขียนชื่อและรหัสนักศึกษาค่ะ)

ความแตกต่างของนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้า ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

ความแตกต่างนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษ์ ชินวัตรและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั่นก็คือ "ทำ" ให้ได้อย่างที่ "พูด"

เมื่อแรกเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จุดเด่นคือ ตอบโต้ทุกเม็ด ไม่ยอมใครง่ายๆ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมือนกับเป็นคนอ่อน แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ดำรงจุดมุ่งหมายของตนอย่างมั่นแน่ว

เพียงแต่ด้วยอาศัยท่าทีอันนุ่มนวล และอาศัยความเป็นผู้หญิงมาใช้ให้ก่อประโยชน์นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการปะทะกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ไม่ว่าจะถูกเย้ายั่ว ไม่ว่าจะถูกโจมตีทั้งต่อหน้าและลับหลังอย่างไร ก็ยิ้มรับแต่ก็มิได้หมายความว่าจะยอมรับหรือเห็นด้วย ตรงกันข้าม กลับอาศัยจุดแข็งของตนมาเป็นประโยชน์และสามารถเอาชนะในตอนปลายได้ในที่สุดความพยายามในการไม่ตอบโต้ ไม่ปะทะด้วยกำลังแต่เวลา 1 เดือนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจถูกเยาะเย้ย หยามหมิ่น จากฝ่ายตรงกันข้าม อย่างรุนแรงและร้ายกาจตรงกันข้าม สิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนหยัดแสดงออกคือ การลงมือทำงานตามคำมั่นที่ได้ประกาศให้ไว้กับประชาชน ไม่ว่าการลดราคาน้ำมัน ช่วยค่าครองชีพประชาชน

ไม่ว่าบ้านหลังแรก ไม่ว่ารถยนต์คันแรก ไม่ว่าเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และไม่ว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และเดินหน้าต่อไปในเรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ให้กับผู้ใช้แรงงาน

เป็นการ พูดและลงมือทำ แต่ของอภิสิทธิ์เป็นการพูดและลงมือทำในบ้างข้อของนโยบายและเกิดปัญหาต่างๆที่อภิสิทธิ์แก้ไม่ได้เช่นการทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัยส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง และราคาไข่ที่ต้องชั่งกีโลขายรวมทั้งราคานำมันที่เพิ่มขึ้นและมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชาชน

ความแตกต่างของนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้า ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

ความแตกต่างนโยบายของสองรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษ์ ชินวัตรและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั่นก็คือ "ทำ" ให้ได้อย่างที่ "พูด"

1 เดือนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความแตกต่างไปจาก 2 ปีเศษของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างแน่นอน

อย่าไปตำหนิความตื่นเต้นของ นายฐิติมา ฉายแสง โฆษกรัฐบาลเลย

เนื้อความที่ นางฐิติมา ฉายแสง แถลงมิได้ใกล้เคียงอะไรเลยกับบทสรุปจาก นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ที่ว่า

"น่าเสียใจ อดสูที่สุด"

เพราะเพียงการยืนยันทำ "ทันที" ในโครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก และการเดินหน้าปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท

ก็ได้รับเสียงชโยโห่ร้องอย่างอึงคะนึงแล้ว

ยิ่งการสนธิกำลังทั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย ในเรื่องยาเสพติด ภายใต้การกำกับของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี

ก็เป็นเรื่องที่แทบไม่เคยได้เห็นได้สัมผัสในยุครัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ยอมรับเถิดว่ายุครัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นบังเกิดสภาวะ "เกร็ง" อย่างรุนแรงในเรื่องการปราบยาเสพติด

เพราะหวาดเกรงจากการทำสงครามยาเสพติดในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เป็นความหวาดเกรงเพราะ "ภาพ" ที่วาดหัวต่อหาง คือ การฆ่าตัดตอนกระทั่งจำนวนศพพุ่งทะยานไปถึง 2,500 จากทั่วประเทศ

เมื่อ "เกร็ง" เสียแล้ว ยาเสพติดจึงหวนกลับมาสู่สังคมไทยอีกหนหนึ่ง

กว่ารัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะสั่งการให้ปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังก็ตอนปลายรัฐบาล และก็เป็นการปราบยาเสพติดอย่างมีวาระแอบแฝงโดยร่วมกับทหารเข้าไปในชุมชนอันเป็นพื้นที่ฐานเสียงพรรคเพื่อไทย

และก็ขันนอตประสานเกลียวเอาในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งซะด้วย

มีความแตกต่างอย่างแน่นอนในรายละเอียดการปราบปรามยาเสพติดระหว่างยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

บังเอิญ 2 ปีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เงียบเชียบอย่างยิ่ง

บังเอิญในห้วง 30 วันหรือ 1 เดือนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ประกาศสงครามและยกเอาปัญหายาเสพติดมาเป็นวาระแห่งชาติ

เป็นการ "สนธิ" กำลังทั้งพลเรือน ตำรวจและทหาร

นอกจากจะมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เดินหน้าลุยตลอดแนวแล้ว ยังมีมือวางอย่าง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ยังมีคนทำงานมวลชนอย่าง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว

พอย่างเข้าเดือนที่ 2 อีก 30 วันข้างหน้าผลงานก็จะปรากฏเป็นที่ประจักษ์

จึงมิได้เป็นเรื่องน่าอดสู น่าละอายแก่ใจอะไรเลย หากจะกล่าวถึง "ผลงาน" 30 วัน

เป็น 30 วันในยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อนำเม็ดงานไปเปรียบเทียบกับ 2 ปีเศษในยุครัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หาก 2 ปีเศษมากด้วยผลงานเหตุใดจึงพ่ายแพ้ในวันที่ 3 กรกฎาคม

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้วต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น

4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

• งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting)

• งบประมาณแบบแสดงผลงาน( Performance Budgeting )

• งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

• งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

• มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation)

• จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้

งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้

• ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถ

ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและ

ผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

• ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way)

งบประมาณระบบนี้คือ

• จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน

( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา

ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

• มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input )เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

• กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย

( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

• PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การ-

วางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

• จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

• จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

• จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของ

โครงการ

• วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

• พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

• PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

• การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1. Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2. Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-

งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี

ต่อ ๆ ไป

3. Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

• ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

• ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนดOutput Outcomeและงบประมาณ

• กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

• จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

• คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

• กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

• ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

• เน้นการควบคุมภายใน

• การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน(Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

• ระบบงบประมาณเดิม

– ใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input)

– เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

• ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting)

– เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting)

ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

• วัตถุประสงค์

– เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

– เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ

– เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

เปรียบเทียบระบบงบประมาณเก่า-ใหม่

• ระบบเก่า

• ทรัพยากรนำเข้า

• ควบคุมการจัดสรรอย่างเข้มงวด

• เคร่งครัดการเบิกจ่าย

• ระบบใหม่

• ผลผลิตและผลลัพธ์

• ความรับผิดชอบ, ความโปร่งใส

• การมอบและกระจายอำนาจ

• การจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้า

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

เปรียบเทียบนโยบาย

นโยบายนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำ มันเชื้อเพลิงสำ หรับน้ำ มันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

2.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผน การปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

2.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทและผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรรวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

2.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุโดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐

บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

2.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

3. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี

พ.ศ. ๒๕๕๖เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบ

อาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยรวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

4.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

4.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพผนวกกับกลไกของ“หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

4.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญา

เ ศรษฐกิจพอเพียงเป็นจำนวนเงิน๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้านเพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

5. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ

ที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรัจำนำ

ข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

6. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“MiracleThailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วม

เฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

7. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพโดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

8. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่าง

ทั่วถึงและเป็นธรรม

9. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาวรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

10. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม

มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต

11. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำ เนินงานของรัฐวิสาหกิจ

12. บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต

2. ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลา

นานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูงให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาลมันสำปะหลัง และอื่น ๆ

3. ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศ

4. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ

ในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6. ดึงดูดการลงทุนเข้า สู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมี มูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7. เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

เป็นระบบในทุกระดับชั้นความรู้

8. ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย

ภาคเกษตร

1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชโดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก

3. เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐานปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4. พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5. เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอนโดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ

6. จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร

7. เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตรโดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8. พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

9. ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความ

เข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลกสร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก

ภาคอุตสาหกรรม

1. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพ

มาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

2. ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3. พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมโดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ ส่งเสริมสถาบันเฉพาะทางให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้

5. กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

6. พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7. เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชน

ได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

8. ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษี และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมี

ความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ความเพียงพอของแหล่งพลังงานการจัดการของเสีย การจัดการมลพิษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

10. เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1. ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนา

บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน

2. สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ

3. สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลงทุนตั้โรงงานผลิต

สินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยใน

4. ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5. ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลักโดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย และยุโรปตะวันออก

6. พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้อง

การของผู้บริโภคในตลาดโลก

7. ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลง

การค้าเสรีในระบบพหุภาคี และทวิภาคีโดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว

8. เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพโดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน

เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุนการจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.4 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.5 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.6 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2. ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงาน

3. เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤต

เศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมาย

4. สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

5. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

6. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน

7. ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

8. เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

9. จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

10. ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1. ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

2. กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

3. ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทางก๊าซหุงต้ม และบริการด้าน

สาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

4. ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

ภาคเกษตร

1. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อ

เพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตรโดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2. ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงโดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และ

ประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม

3. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ

เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

4. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตรโดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้าน

ราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค

5. ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน

6. สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการ

เรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่โครงการอาหารกลางวันและธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ

7. เ ร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร

8. คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว

9. แก้ไขปัญหาหนี้สินฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยเร่งดำ เนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ

ภาคอุตสาหกรรม

1. สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการ

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า

2. กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต

3. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับ

สากล โดยสนับสนุนให้มีกลไกการระดมทุนและประกันความเสี่ยง

4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการ

จัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ

5. จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจรัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด

2. ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้ว และขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ๆ

3. ใ ช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจา

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว

4. ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้

มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

5. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครอง

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

6. ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหาร

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำ

ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

8. ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษีโดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสิน

อุทธรณ์

น.ส. เกศปทุม ทองดอนคำ

54127326072

การเงินการธนาคาร

เปรียบเทียบนโยบายรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยระบุว่า นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่น คำนึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ

1. นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศมากขึ้น

2. นำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน

3. นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคง

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ มีดังนี้

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

5. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

11. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้ใหม่ๆ

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

นอกจากนี้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ พักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก จะดำเนินการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

นโยบายเศรษฐกิจ

1.นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.1ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพโดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศโดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

1.2ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่าง

ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทาการเงิน ชุมชน กลุ่มเกษตรกรกลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

1.3 พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาสสามารถให้

บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงโดยการออกมาตรการที่จำเป็นและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบ

การเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

1.4ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาวรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

1.5 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม

มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มี

ประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

1.6 ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำ เนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนเพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้

อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความเปลี่ยนแปลง

1.7บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของ

ภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรมรวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติและกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

2 นโยบายสร้างรายได้

2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่ง

ท่องเที่ยวรวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปา ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูงให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2เท่าตัวในเวลา 5ปี

2.2 ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร คุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาลมันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลก

สัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.3 ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้

จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

2.4ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะงาน

ศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณีและอื่น ๆ

2.5 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

2.6 ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และ

สภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

2.7 เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตการแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

2.8 ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

3 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

3.1 ภาคเกษตร

1) ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชโดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิดทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3) เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออกเพิ่มสมรรถนะการควบคุม ป้องกัน วินิจฉัยและบำบัดโรค การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนการพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์สัตว์และการตรวจสอบคุณภาพ

4) พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำ ต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำ เข้าโดยการพัฒนา

กองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล

5) เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอนโดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดสร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน

6) จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

7) เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตรโดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนา

รูปแบบ การจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อยมันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

8) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้างกลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นำในเรื่องราคาโดยเฉพาะตลาดข้าว เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุนภาคเกษตรในต่างประเทศ

9) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความ

เข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลกสร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำ กินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

3.2 ภาคอุตสาหกรรม

1) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2) ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ใช้ปัญญาใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักโดยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัฒนธรรมของชาติเพื่อนำ รายได้เข้าประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมอาหารไทยอุตสาหกรรมการกีฬา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการออกแบบเป็นต้น

3) พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4) สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมโดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ ส่งเสริมสถาบันเฉพาะทางให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทดสอบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น

5) กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากรรมสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน

6) พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าวกับท่าเรือน้ำ ลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7) เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อนรวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่อ

8) ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษี และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานจากภาคเกษตรอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงานอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนและสะอาด ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล

และก๊าซธรรมชาติ (NGV)

9) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ความเพียงพอของแหล่งพลังงานการจัดการของเสีย การจัดการมลพิษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการจัดและวางระบบการผลิตที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

10) เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

3.3การตลาด การค้า และการลงทุน

1) ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนา

บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายมาตรการต่าง ๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภครวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

2) สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรมการทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีคุณภาพที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแส

การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต

3) สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทย ตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4) ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ โดยเน้นกิจการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

5) ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออกพร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลงตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยี และวิทยาการที่

จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคตและเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่างๆ

6) พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้อง

การของผู้บริโภคในตลาดโลก ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก ลดต้นทุนจากเพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลักการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับโดยให้ความสำ คัญในการเชื่อมโยงให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดโลกของภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศและศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลในโลก

7) ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลง

การค้าเสรีในระบบพหุภาคี และทวิภาคีโดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วพร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ

8) เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพโดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน

เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุนการจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29-30 ธ.ค.51 ดำเนินการภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการ คือ ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์, สร้างความปรองดองสมานฉันท์, ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง

"นโยบายดังกล่าวที่รัฐบาลจัดทำขึ้น สืบเนื่องจากเห็นว่าสังคมขณะนี้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อีกทั้งมีวิกฤติเศรษฐกิจโลกซึ่งจะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้จากดัชนีหุ้นเข้าสู่จุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี, ตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ย.51 ลดลงถึง 18.6%, นักท่องเที่ยวในเดือน ก.ย.51 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.5%, การลงทุนช่วง 11 เดือนแรกลดลง 40% ตลอดจนประมาณการณ์รายได้ในปีงบประมาณ 52 จะต่ำกว่าประมาณการณ์ 10% แนวโน้มการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนเป็น 1 ล้านคน"แนวนโยบาย ระบุ

รัฐบาลกำหนดนโยบายหลัก 8 ด้าน ได้แก่

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

2.นโยบายความมั่นคงของรัฐ

3.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

4.นโยบายเศรษฐกิจ

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นโยบายเศรษฐกิจ

1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยประสานนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล ระหว่างอัตราการเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

1.2สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

1.3พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผัน

ผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำ ลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

1.6กำ หนดกรอบการลงทุนภาครัฐทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงินรูปแบบการลงทุนและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่โดยคำ นึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐงบประ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 (ส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี)

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1.) ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2.) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3.) ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4. พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.) การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

2.) การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

3.) การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

3.5 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี

1.) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1 สร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติโดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการแลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

3.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากล เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง(การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ความคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง)เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม และธรรมภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลุกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมไทยให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

4.) เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวง ตามแนวทางพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา และอัตลักษณ์ของพื้นที่ โดยการบังคับใช้กฎหมายและอำนวยความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมทั่วถึง พร้อมทั้งการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อนสร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

5.) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิประเทศ

6.) แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

6.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันทีและปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน และจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

6.2 ดูแลระบบราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

6.3 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

7.) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหาภาค ดังนี้

7.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาทรวมทั้งการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคง และสามารถใช้หนี้คืน

7.2 เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบเพื่อลดภาระแก่ผูประกอลการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

7.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุโดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

7.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก และรถยนต์คันแรก

8.) ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

9.) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชนจัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

9.1 เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท

9.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

9.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจใหม่ที่เป็นแหล่งมีงานทำ รวมทั้งเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

10.) ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดุแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ในการภัยพืชผลเพื่อลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

11.) ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ และเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทานโดยการจัดให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้วได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และฟื้นฟู ขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และจัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา ขยายเขตการจัดรูปที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิต ส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดของพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่และชุมชนอย่างทั่วถึง

12.) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554 - 2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์(Miracle Thailand Year) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

13.) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าที่มีความสามารถสูง และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ

13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายสินค้าถาวรในภูมิภาค และเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

14.) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพื่อประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม ร่วมทั้งบูรณาการแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงต่างๆ ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการในให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ และภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

15.) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหาร และในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

16.) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้างโดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

นโยบายการเงินของนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

2. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

3. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน

4. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

6. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาประจำปี 2555 เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 3.0 โดยสามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางนี้ได้ + ร้อยละ 1.5

2. กำหนดให้มีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจำทุกไตรมาส และเมื่อมีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควรเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงินให้สามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

3. กรณีที่การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกนอกช่วงเป้าหมายตามที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงินชี้แจงถึงสาเหตุ แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

4. ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

นายวันเฉลิม เล็กวิไล

การเงินการธนาคาร 54127326067

หมู่เรียน 002

เรียนอาจารย์ที่เคารพเนื่องด้วยดิฉันส่งงานมาในครั้งแรกแล้วส่งไม่ครบ จึงขออนุญาตส่งใหม่อีกครั้ง

เปรียบเทียบนโยบายรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยระบุว่า นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่น คำนึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ

1. นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศมากขึ้น

2. นำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน

3. นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคง

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ มีดังนี้

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

5. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

11. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้ใหม่ๆ

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

นอกจากนี้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ พักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก จะดำเนินการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

นโยบายเศรษฐกิจ

1.นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.1ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพโดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศโดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

1.2ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่าง

ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทาการเงิน ชุมชน กลุ่มเกษตรกรกลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

1.3 พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาสสามารถให้

บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงโดยการออกมาตรการที่จำเป็นและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบ

การเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

1.4ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาวรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

1.5 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม

มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มี

ประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

1.6 ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำ เนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนเพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้

อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความเปลี่ยนแปลง

1.7บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของ

ภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรมรวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติและกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

2 นโยบายสร้างรายได้

2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่ง

ท่องเที่ยวรวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปา ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูงให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2เท่าตัวในเวลา 5ปี

2.2 ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร คุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาลมันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลก

สัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.3 ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้

จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

2.4ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะงาน

ศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณีและอื่น ๆ

2.5 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

2.6 ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และ

สภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

2.7 เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตการแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

2.8 ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

3 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

3.1 ภาคเกษตร

1) ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชโดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิดทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3) เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออกเพิ่มสมรรถนะการควบคุม ป้องกัน วินิจฉัยและบำบัดโรค การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนการพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์สัตว์และการตรวจสอบคุณภาพ

4) พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำ ต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำ เข้าโดยการพัฒนา

กองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล

5) เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอนโดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดสร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน

6) จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

7) เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตรโดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนา

รูปแบบ การจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อยมันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

8) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้างกลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นำในเรื่องราคาโดยเฉพาะตลาดข้าว เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุนภาคเกษตรในต่างประเทศ

9) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความ

เข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลกสร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำ กินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

3.2 ภาคอุตสาหกรรม

1) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2) ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ใช้ปัญญาใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักโดยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัฒนธรรมของชาติเพื่อนำ รายได้เข้าประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมอาหารไทยอุตสาหกรรมการกีฬา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการออกแบบเป็นต้น

3) พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4) สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมโดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ ส่งเสริมสถาบันเฉพาะทางให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทดสอบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น

5) กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากรรมสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน

6) พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าวกับท่าเรือน้ำ ลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7) เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อนรวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่อ

8) ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษี และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานจากภาคเกษตรอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงานอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนและสะอาด ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล

และก๊าซธรรมชาติ (NGV)

9) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ความเพียงพอของแหล่งพลังงานการจัดการของเสีย การจัดการมลพิษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการจัดและวางระบบการผลิตที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

10) เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

3.3การตลาด การค้า และการลงทุน

1) ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนา

บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายมาตรการต่าง ๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภครวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

2) สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรมการทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีคุณภาพที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแส

การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต

3) สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทย ตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4) ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ โดยเน้นกิจการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

5) ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออกพร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลงตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยี และวิทยาการที่

จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคตและเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่างๆ

6) พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้อง

การของผู้บริโภคในตลาดโลก ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก ลดต้นทุนจากเพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลักการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับโดยให้ความสำ คัญในการเชื่อมโยงให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดโลกของภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศและศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลในโลก

7) ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลง

การค้าเสรีในระบบพหุภาคี และทวิภาคีโดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วพร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ

8) เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพโดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน

เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุนการจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29-30 ธ.ค.51 ดำเนินการภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการ คือ ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์, สร้างความปรองดองสมานฉันท์, ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง

"นโยบายดังกล่าวที่รัฐบาลจัดทำขึ้น สืบเนื่องจากเห็นว่าสังคมขณะนี้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อีกทั้งมีวิกฤติเศรษฐกิจโลกซึ่งจะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้จากดัชนีหุ้นเข้าสู่จุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี, ตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ย.51 ลดลงถึง 18.6%, นักท่องเที่ยวในเดือน ก.ย.51 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.5%, การลงทุนช่วง 11 เดือนแรกลดลง 40% ตลอดจนประมาณการณ์รายได้ในปีงบประมาณ 52 จะต่ำกว่าประมาณการณ์ 10% แนวโน้มการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนเป็น 1 ล้านคน"แนวนโยบาย ระบุ

รัฐบาลกำหนดนโยบายหลัก 8 ด้าน ได้แก่

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

2.นโยบายความมั่นคงของรัฐ

3.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

4.นโยบายเศรษฐกิจ

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นโยบายเศรษฐกิจ

1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยประสานนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล ระหว่างอัตราการเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

1.2สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

1.3พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผัน

ผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำ ลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

1.6กำ หนดกรอบการลงทุนภาครัฐทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงินรูปแบบการลงทุนและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระ

นางสาวดวงใจ  จอดนอก

รหัสนักศึกษา  54127326070

 

เปรียบเทียบนโยบายการเงินการคลังของ

รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร และรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

เนื่องจากนโยบายการเงินเป็นนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ  ดิฉันจึงขอยกประเด็นนโยบายเศรษฐกิจมานำเสนอดังนี้

นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค
1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 
2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 
3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ
4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี
5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ 
6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน
7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้
1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี
2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่
4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง
5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค
6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ 
7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 
8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคเกษตร
1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก 
4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า 
5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน 
6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้
8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก 

ภาคอุตสาหกรรม
1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย
2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด 
4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ 
5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ
6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ 
8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร 
9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า การลงทุน
1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค 
2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม 
3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก
4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ 
5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก 
7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี 
8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313721848&grpid=01&catid=05

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

        1.  นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

        1.1  สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน 

        1.2  สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ  บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ  และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ  โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด  เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน  เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค 

        1.3  พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก  และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง  โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต 

        1.4  ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง  โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี 

        1.5  ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี  เพื่อให้มีความเป็นธรรม  โปร่งใส  และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก  

        1.6  กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงินรูปแบบการลงทุน  และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม  รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่  โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง  และภาระงบประมาณของภาครัฐ 

        1.7  ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การลดต้นทุนดำเนินงาน  การบริหารความเสี่ยง  การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล  และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี  รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน  และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย   

        2.  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ      

         2.1  ภาคเกษตร

        2.1.1  เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร  เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์  จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร  รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร  

        2.1.2  ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม  ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม  ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง  และบังคับใช้โดยเคร่งครัด  รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง  รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ  ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง  

        2.1.3  พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์  โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์  พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์   และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

        2.1.4  ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร  พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง  สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา  รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร 

        2.1.5  ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน  และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตร  ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า  จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร  และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร  

        2.1.6  สร้างความมั่นคงด้านอาหาร  โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่  โครงการอาหารกลางวัน  และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ  และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์  เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน  เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร  รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร 

        2.1.7  เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ  รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร  โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง  ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช  เพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก  ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ  

        2.1.8  คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว  เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่ เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน  รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร 

        2.1.9  พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย 

        2.1.10  แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน  และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร  

        2.2  ภาคอุตสาหกรรม

        2.2.1  สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า  โดยร่วมมือกับภาคเอกชน  สถาบันวิจัย  และสถาบันการศึกษา  ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน  ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร  พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์  ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ 

        2.2.2  กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ  อุตสาหกรรมยานยนต์  อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอัญมณี  เป็นต้น  โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถจูงใจนักลงทุนได้  และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง   

        2.2.3  ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล  โดยสนับสนุนให้มีกลไกการระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น  รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย   

        2.2.4  เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้ 

        2.2.5  สร้างความเข็มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม  โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม  และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ  และประกันสินเชื่อ  โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ  เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้  

        2.2.6  จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น  ทั้งนี้  โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่   

         2.2.7 ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม 

         2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

         2.3.1 ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศ  โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ  เพิ่มมูลค่า  เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว  รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 

         2.3.2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน  โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว  ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน  รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  เช่น กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์  ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลกและมรดกธรรมชาติ  เป็นต้น 

        2.3.3 พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว  โดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว  เช่น  มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว  มาตรฐานการเดินทาง  มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรม เป็นต้น  รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว  เช่น พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัทนำเที่ยว  มัคคุเทศก์  พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น  และปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ   

        2.3.4   พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก   โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก 

        2.3.5  ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 

         2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

         2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ  รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล  และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม  ป้องกันการผูกขาดตัดตอน  ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค  และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค  รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน 

         2.4.2  ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก  ตะวันออกกลาง  และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

         2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  ภาคเอกชน  และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

        2.4.4  ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย   

        2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ 

       2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร  อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล  อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ  และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

      2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่  ศูนย์บริการครบวงจร  ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 

      2.4.8  ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง  และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ  รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ 

      3.  นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

      3.1  ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง   เพียงพอ และมีคุณภาพ  ทั้งบริการน้ำสะอาด  ไฟฟ้า  สื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน และที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น โดยยกระดับมาตรฐานทางในชนบทเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยาง  

      3.2  พัฒน

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉันขออนุญาตส่งงานชิ้นนี้ใหม่ เนื่องจากงานชิ้นเดิมโหลดไม่เสร็จ ข้อมูลไม่ครบค่ะ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

2.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

2.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

2.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

2.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

3. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

4.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

4.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

4.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

5. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

6. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

7. สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

7.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

7.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

8. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

9. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.3 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.4 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.5 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.6 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.7 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.8 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.9 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.10 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.11 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

2. การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

2.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

2.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

2.3 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

3. ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource) เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 3 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

• งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting)

• งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting )

• งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

• งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

1. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

- มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation)

- จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้ งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้

- ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

- ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way) งบประมาณระบบนี้คือ

- จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน ( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

- มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

- กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย ( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

3. งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

- PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การวางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

- จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

- จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

- จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการ

- วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

- พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

- PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

- การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1.) Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2.) Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-

งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี

ต่อ ๆ ไป

3.) Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

4. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB ) เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

- ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

- ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

- กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

- จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

- คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

- กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

- ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

- เน้นการควบคุมภายใน

- การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

- ระบบงบประมาณเดิมใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input) เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

- ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting) เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting) ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

- วัตถุประสงค์ เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จะเน้นแก้ไขในเรื่องแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศที่ประสบในปีที่ผ่านมา และแก้ใขปัญหาใหม่ที่เกี่ยวกับภาวะอุทกภัยที่ผ่านมา เรื่องที่แก้ไขเป็นส่วนมากคือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนทุกภูมิภาค ปัญหารายได้ที่ไม่เพียงพอกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การปรับลดภาษีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และการสร้างความเชื่อมั่น และการสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศเพื่อความน่าเชื่อถือ

นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

จะเน้นในเรื่องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ การเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน แก้ไขปัญหาว่างงานและนักศึกษาจบใหม่ให้มีรายได้ ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ดังเช่นนโยบายการคลัง ที่โดดเด่น คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ และการกระจายรายได้ นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ การซื้อขายหลักทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง

ทั้งสองรัฐบาลจะดำเนินนโยบายแตกต่างกันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจต่าง และภาวะการณ์นั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และประเทศชาติมีเสถียรภาพ มีความเชื่อมั่นต่อสายตาโลก

นางสาวศศิธร ดอนซ้าย

54127326071

การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายการเงินรัฐบาล นายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

1.8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

1.10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

1.10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1.10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

1.11 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 2554-2555

1.13 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

1.13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การดำเนินนโยบายของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีวัตถุที่ความคล้ายคลึงกัน แต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยมุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยเฉพาะ ปัญหาเงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ และปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาความรุนแรงในภาคใต้และปัญหามหาอุทกภัย นโยบายสำคัญที่ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเช่น การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในการลงทุน รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค พักหนี้เกษตรกร การปรับลดภาษีและวิธีการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินนโยบายเพื่อที่ช่วยเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก รวมถึงนโยบายการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มรายได้ของประชาชน แก้ปัญหาการว่างงาน และลดค่าครองชีพ

หลังจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ถึงแม้ว่าปัญหาส่วนใหญ่จะช่วยคลี่คลายความรุนแรงลง แต่ยังมีบางนโยบายที่หลังจากดำเนินการแล้วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายขึ้นใหม่ซึ่งอาจจะเปลี่ยนวิธีการจากเดิมมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น สมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ถึงแม้ทางรัฐบาลจะมีการกำหนดนโยบายที่ช่วยแก้ปัญหาลงได้บ้างแต่ก็ยังเป็นปัญหาหลักมาจนถึงรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้จัดการแก้ไขโดยลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ตัวอย่างเช่น นโยบายบ้านหลังแรก และรถยนต์คันแรก เป็นนโยบายที่สร้างความฮือฮาและได้รับการตอบรับจากประชาชนในประเทศไทยจำนวนมาก

สวนดุสิตโพลล์: เปรียบเทียบผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

น.ส. ประภา ทองหอม

สาขา การเงินการธนาคาร (02)

รหัสนักศึกษา 54127326085

นโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยแบ่งเป็นนโยบาย 8 ด้าน คือ 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 3.นโยบายเศรษฐกิจ4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม 7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง ดังนี้

1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้แก่

1.1 เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดมั่นใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทาน

5.เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

6.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2554 16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ.

นโยบายของนายก อภิสิทธิ์

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นายวุฒินันท์ รอบคอบ

การเงินการธนาคาร

54127326057

เปรียบเทียบนโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑ . ๑ . ๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบโดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ดำ เนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติดสารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด ที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริงปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำ ที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำ ในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ

ขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืชและจัดหาแหล่งน้ำ ในระดับไร่นาและ

ชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำ รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธีโดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึงเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิตสร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำ มันเชื้อเพลิงสำ หรับน้ำ มันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความ

เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผน ฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดัณคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทและผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้งกัผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำ หรับผู้สูงอายุโดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ใหเหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยรวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพผนวกกับกลไกของ“หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป ็นจำนวนเงิน๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้านเพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“MiracleThailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการการ เข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรคเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลายรวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งรวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำ เนินการในโรงเรียนนำ ร่องสำ หรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบทั้งนี้ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

๑.๑ การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

๑.๑.๑ เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็วโดยใช้แนวทางสันติรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ภายใต้กรอบของบทบาท อำ นาจและหน้าที่ขององค์กร

๑.๑.๒ จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนา และวัฒนธรรม

๑.๑.๓ ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

๑.๑.๔ เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลกโดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

๑.๑.๕ ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกรภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยวภาคการส่งออกภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒ พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

๑.๑.๖ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

๑.๑.๗ เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแ ละการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี ๒๕๕๒ โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้และการรักษาวินัยการคลังของประเทศรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

๑.๒ การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

๑.๒.๑ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

๑.๒.๒ ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ ๕๐๐,๐๐๐คน ในระยะเวลา ๑ ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

๑.๒.๓ เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็วการหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระการสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

๑.๒.๔ สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพหรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ๖๐ ปีขึ้นไป ที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น ๓๐,๐๐๐ บาทต่อราย

๑.๒.๕ เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

๑.๒.๖ สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากโดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงและจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรรวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

๑.๒.๗ ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

๑.๒.๘ เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

๑.๒.๙ จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรรวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

๑.๒.๑๐ ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

๑.๓ การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

๑.๓.๑ ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา ๒๕๕๒ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

๑.๓.๒ กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

๑.๓.๓ ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทางก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

๑.๓.๔ ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำ มันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

๑.๔ จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

นายธวัชชัย กุลดำแดง

รหัส 54127326079 เลขที่ 33

การเงินการธนาคาร 02

เปรียบเทียบนโยบายรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

1. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

2. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

3. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน

4. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

6. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายการคลัง

กำหนดโดยรัฐบาล ผ่านการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และมาตรการภาษี

รัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่เข้าบริหารงานก็กำหนดงบประมาณเป็นแบบขาดดุลมาโดยตลอด เพราะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปีแรก และเกือบฟื้นในปีถัดมา

การกำหนดงบประมาณแบบขาดดุล คือกำหนดให้รายรับของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และก็เป็นที่มาของการกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายในส่วนที่เกินกว่ารายรับ

ส่วนในด้านภาษีเท่าที่เห็นก็มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วน150,000 บาทแรกในปี 51และ 52 เพื่อให้คนทั่วไปมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกนโยบายการเงิน

คือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับภาวะภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความสมดุล และเติบโตไปอย่างมีเสถียรภาพ ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงคือธนาคารแห่งประเทศไทย

เช่นเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นให้คนอยากใช้จ่าย อยากกู้ อยากลงทุน มากกว่าอยากเก็บเงิน ทำให้เกิดการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ก็เริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมาก็ขึ้นไปนิดหน่อย

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างไรก็ตามเมื่อทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต. กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส "รักพี่ทหาร") รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาทที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก

แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้

การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์็คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

ระหว่างกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติใครควรรับผิดชอบมากกว่ากัน?

หนี้กองทุนฟื้นฟูฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ประเด็นขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติเกิดจากการออกพ. ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯฉบับปี 2541 และฉบับปี 2545 กำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยระบุให้แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นส่วนกระทรวงการคลังรับชำระดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาลอ้างว่าเป็นภาระหนี้ที่ธปท.ต้องรับผิดชอบ บ้างก็ยกเหตุผลว่าแบงค์ชาติต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้กำกับสถาบันการเงินที่บกพร่องจนหนี้เสียมากมาย

ดิฉันคิดว่าการที่แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นนั้นก็ชดเชยในส่วนนี้แล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ร่วมก่อหนี้เสียโดยการอนุมัติให้เปิดเสรีทางการเงิน แม้ว่าแบงค์ชาติเป็นผู้ตัดสินว่าธนาคารใดได้ใบอนุญาตประกอบวิเทศธนกิจ แต่การเปิดเสรีทางการเงินต้องผ่านการอนุมัติของรัฐบาล ถ้าฝ่ายการเมืองเสนอนโยบายแย่ๆแล้วแบงค์ชาติตอบสนองฝ่ายการเมืองเพราะกฎหมายอนุญาตให้รมต. คลังปลดผู้ว่าฯแบงค์ชาติได้ ก็แปลว่าฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือแบงค์ชาติ ฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าก็น่าจะต้องรับผิดชอบมากกว่า

อย่างไรก็ดี อดีตผู้ว่าฯเริงชัย มะระกานนท์โดนฟ้องร้องให้จ่ายค่าเสียหาย 1.86 แสนล้านบาท ศาลชั้นต้นตัดสินให้มีความผิดแต่ศาลอุทธรณ์ตัิดสินให้ยกฟ้อง คดีนี้ยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอศาลฎีกาตัดสิน แต่ยังไม่มีอดีตรมต.คลังคนไหนโดนดำเนินคดีจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ความล้มเหลวของการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส. เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯต้องรับภาระสูง กองทุนฟื้นฟูฯในบางประเทศ (เช่น สวีเดน)สามารถทำกำไรให้กระทรวงการคลังจากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินเพื่อปฎิรูปสถาบันการเงินหลังวิกฤตการเงิน

ชัดเจนว่าความล้มเหลวของปรส.คือความล้มเหลวของฝ่ายรัฐบาล แต่คดีปรส.เพิ่งจะสืบพยานกันเมื่อปี 2 ปีที่แล้ว แล้วเราควรปล่อยให้ฝ่ายรัฐบาลรวบรัดออกกฎหมายผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูหรือ? สุดท้ายแล้วภาระการคลังจะตกอยู่กับผู้เสียภาษีผ่านอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้เงินบาทอ่อนลงแต่็นั่นก็จะไม่้มีผลดีต่อผู้ส่งออก เพราะอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย

โดยหลักการแล้วหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมาจากสถาบันการเงิน ดังนั้นสถาบันการเงินก็น่าจะมีส่วนร่วมในการชำระหนี้ ถ้ากังวลว่าสถาบันการเงินจะผลักภาระให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นค่าธรรมเนียม รัฐบาลและแบงค์ชาติสามารถออกกฎเพื่อป้องกันได้ อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ ปัจจุบันค่าธรรมเนียมในระบบธนาคารไทยก็สูงกว่ามาตรฐานสากลอยู่แล้ว การกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมไม่น่าจะทำให้ธนาคารไทยขาดทุน อย่างมากก็ทำให้กำไรลดลงเท่านั้น

บทสรุป

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน เนื่องจากดิฉันเคยเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ"สองมาตรฐาน"ดิฉันจึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี

อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

นายสุริยา พลขันธ์

54127326081

การเงินการธนาคาร 002

เปรียบเทียบนโยบายรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายการเงิน ของรัฐบาลอภิสิทธิ์

แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔

สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามควาเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

นโยบายการเงิน

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

นโยบายการคลัง

- งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

- อัดชีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

- ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว (น้ำชาแต่ยังไม่ได้ทำจริง)

1.เร่งออกมาตรการเยียวยา ศก.

2.ดันเมกะโปรเจกต์เต็มที่

3.เชื่อนโยบายคลัง-เงินสอดคล้อง

4.คลังเน้นนโยบายขาดดุล

5.เร่งรัดเบิกจ่ายงบสู่ระบบ

6. ใช้มาตรการภาษีกระตุ้น ศก.

7.ลุยโครงการขนาดเล็ก

นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

4.2.1 ภาคเกษตร

4.2.1.1 เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

4.2.1.2 ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง

4.2.1.3 พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2.1.4 ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

4.2.1.5 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

4.2.1.6 สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

4.2.1.7 เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

4.2.1.8 คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

4.2.1.9 พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

4.2.1.10 แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

4.2.2.1 สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ

4.2.2.2 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถจูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง

4.2.2.3 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไกการระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

4.2.2.4 เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

4.2.2.5 สร้างความเข็มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้

4.2.2.6 จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

4.2.2.7 ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

อีกแหล่งค่ะ

รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

1. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

2. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

3. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน

4. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

6. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายการคลัง

กำหนดโดยรัฐบาล ผ่านการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และมาตรการภาษี

รัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่เข้าบริหารงานก็กำหนดงบประมาณเป็นแบบขาดดุลมาโดยตลอด เพราะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปีแรก และเกือบฟื้นในปีถัดมา

การกำหนดงบประมาณแบบขาดดุล คือกำหนดให้รายรับของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และก็เป็นที่มาของการกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายในส่วนที่เกินกว่ารายรับ

ส่วนในด้านภาษีเท่าที่เห็นก็มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วน150,000 บาทแรกในปี 51และ 52 เพื่อให้คนทั่วไปมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกนโยบายการเงิน

คือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับภาวะภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความสมดุล และเติบโตไปอย่างมีเสถียรภาพ ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงคือธนาคารแห่งประเทศไทย

เช่นเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นให้คนอยากใช้จ่าย อยากกู้ อยากลงทุน มากกว่าอยากเก็บเงิน ทำให้เกิดการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ก็เริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมาก็ขึ้นไปนิดหน่อย

หากต้องการอ่านเพิ่มเติม คลิกไปที่http://www.nesdb.go.th/gov_policy/AB/krm/เอกสารประกอบ_นโยบายที่%204_final.pdf

น่ะค่ะ เนื้อหาเยอะมากค่ะ

ส่วนการให้ความเห็นของประชาชนในการให้คะแนนรัฐบาลทั้งสอง

สวนดุสิตโพลล์: เปรียบเทียบผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท