ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การเงินและการธนาคาร เทอม 2 / 2554 หมู่ 001


Money & Banking

Good morning my lovely students

             Today , Tuesday December , the thirteen , 2011.

             New semester and first year in SSRU.

             You will graduate soon so you must know everything in finance and economic world.

             We 'll communicate in my blog, assignment , homeworks and so on.

             Thank you for joining us , go together and receive your success.

                                  Bye

         Assistant Professor Doctor Krisada

 

My students : early to visit Bank of Thailand , search knowledge and present your impression in that Palace in my BLOG.

 On Tuesday 20 Dec. I’ll go to research in the field of finance at Samut Songkram Province all day so all of you won’t go to class but do your assignment with best effort.

                               Your Professor

                                Dr. Krisada

 

My students.

Best wishes to all of you and a Happy New Year. 2012 : 2555

         Your Professor

          Dr. Krisada

 

สวัสดีตอนเช้าหลังวันตรุษจีน 1 วัน

       วันนี้สอบภลางภาค ให้ทำ 8 ข้อ ใน 12 ข้อ คำสั่งโดยละเอียดอยู่ในกระดาษคำถาม ก่อนหมดเวลา 5 นาที ให้ส่งโดยยิงเข้า Blog นี้ครับ

       โชคดีในการสอบทุกคน

          ผ.ศ.ดร.กฤษฎา 24/1/2555

 

วันอังคารที่ 14 ให้ทุกคนไปเรียนรู้ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำรายงานเดี่ยวส่งในวันที่ 21 ตามแนวทางบทที่ 12 และ 13

ส่วนการบ้านวันนี้คือให้เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์ ส่งทางBlog ภายใน 24.00 น.วันที่ 13 ก.พ.55

             โชคดีในเดือนแห่งความรัก

               ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

หมายเลขบันทึก: 471091เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2011 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (140)
นางสาว สุรัชดา ธรรมสวัสดิ์

จากที่ได้รับมอบหมายให้ไปธนาคารแห่งชาติ ดิฉันและเพื่อนก็ได้เดินทางไปธนาคารแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2554 ซึ่งบริเวณภายในแบงค์ชาติมีการจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทยที่ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม โดยงานจัดระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2554 - 13 มกราคม 2555 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร) ดิฉันเองก็ได้เข้าชมนิทรรศการ โดยภายในงานมีการนําเสนอเรื่องราวอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยที่ธนาคารแห่งชาตินั้น ได้นำมาเป็นภาพด้านหลังธนบัตรรุ่นต่าง ๆ โดยมีการใช้ ipad เป็นสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย และได้คัดเลือกธนบัตรที่หาชมได้ยาก มาให้ได้ชม อาทิเช่น ภาพต้นแบบของธนบัตรที่ไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ธนบัตรรัชกาลปัจจุบันที่หายากที่สุด ธนบัตรเลขสวย เป็นต้น ซึ่งภายในนิทรรศการก็จะจัดเป็นโซนให้เข้าชม แต่โซนที่ดิฉันประทับใจก็คือ โซนธนบัตรหาชมยากซึ่งโซนนี้ได้จัดแสดงธนบัตรของรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่การพิมพ์ธนบัตร รุ่นแรก ที่จัดว่าหาชมได้ยาก โดยมูลค่าของแบงค์ที่ซื้อขายมีค่า ตั้งแต่หลักพัน ถึงหลักแสน เพราะเป็นแบงค์ที่หายาก ซึ่งโซนนี้ได้แสดงธนบัตรตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นที่ 15 ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ โดยผู้บรรยายได้ให้ความรู้ในเรื่องธนบัตรปลอมด้วย ซึ่งธนบัตรราคา 50 บาท เป็นธนบัตรที่นิยมปลอมกันมาก โดยทางธนาคารแห่งชาติจะมีการเปลี่ยนธนบัตรราคา 50 บาท ในเดือนมกราคม 2555 เป็นธนบัตรรุ่นที่ 16 ของรัชกาลที่ 9 หลังจากชมธนบัตรหายากแล้วก็มีมุมตัวอย่างของการแกะแม่พิมพ์ธนบัตร โดยทางธนาคารไม่ได้นำแม่พิมพ์ตัวจริงออกมาจัดแสดงเพราะแม่พิมพ์นั้นจะต้องเก็บเป็นความลับ โดยใช้เหล็กมาเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์แทน ซึ่งการแกะแม่พิมพ์ธนบัตรแต่ละรูปนั้นต้องใช้เวลาในการนั่งแกะประมาณ 4-6 เดือน เพราะเป็นงานปราณีตมาก ดิฉันและเพื่อนๆ ได้ฟังและมีความสนใจมาก ทางผู้จัดก็ได้มอบรูปที่พิมพ์มาจากแม่พิมพ์ให้ 2 ใบ โดยบอกให้มาจับฉลากกันเอง โดยบอกให้เก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะอนาคตจะมีมูลค่ามาก หลังจากชมนิทรรศการเสร็จ ก็มากรอกแบบประเมิน โดยทางธนาคารได้มอบเข็มกัดรูปในหลวงให้เป็นของที่ระลึก

( นางสาว สุรัชดา ธรรมสวัสดิ์ )

นางสาว ภัสรา เขาวงกฎ

ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความรู้ในการผลิต การแกะสลักแม่พิมพ์รูปภาพแบงค์ ได้รับชมและฟังบรรยายเรื่องธนบัตรแต่ละสมัยว่ามีความแตกต่างอย่างไร และได้รับรู้ว่าธนบัตรปลอมมีลักษณะเด่นอย่างไร ซึ่งในการรับชมนั้นก็ได้ดูการแกะสลักแม่พิมพ์ที่มีความยากมาก แต่ก็ออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งในการพิมพ์ธนบัตรแต่ละใบ จะมีการแฝงพระราชกรณียกิจของในหลวงเพื่อบ่งบอกให้เรารู้ว่าพระองค์ท่าน มีความสามารถและทรงทำเพื่อประชาชนมากมาย ซึ่งสิ่งที่ภูมิใจคือ ธนบัตรแต่ละใบมีความลำบาก มีความสวยและแฝงให้เรารู้ว่าพระจ้าอยู่หัว ท่านทำเพื่อเรามากแค่ไหน

ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ดิฉันและกลุ่มเพื่อน สาขา การเงินการธนาคาร ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ที่ธนาคารแห่งชาติ การเดินทางไปธนาคารแห่งชาติ ดิฉันและกลุ่มเพื่อนได้ออกไปนั่งรถเมล์ทางด้านประตูข้างของวิทยาลัยนานาชาติ พอนั่งรถไปถึงได้เข้าไปแลกบัตรนักศึกษาและนำกระเป๋าไปฝาก เนื่องจากในส่วนของพิพิธภัณฑ์ไม่สามารถที่จะเอากระเป๋าเข้าไปได้ พอเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ก็ได้เห็นห้องที่เก็บเงินตราในสมัยต่างๆ ไว้มากมาย และยังมีวีดีทัศที่เกี่ยวกับการผลิตเงินออกมาให้ประชาชนได้ใช้ว่ามีขั้นตอนในการผลิตอย่างไร การผลิตเงินต้องมีความประณีตแค่ไหนผิดแค่หนึ่งจุดเงินเหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้ได้เลย พอเราได้เรียนรู้ห้องแรกเสร็จเรียบร้อยเราก็ไปดูห้องต่อไป เป็นเงินสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย เราดูชั้นล่างเรียบร้อยแล้วก็พากันขึ้นไปชั้นบน ในวันนั้นที่ธนาคารเขามีการจัดนิทรรศการธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เราก็ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศในงาน

สาระสำคัญที่ได้จากการไปธนาคารแห่งชาติ คือ ประวัติของธนาคารแห่งชาติเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย พุทธศักราช 2483 เปิดดำเนินงาน ในวันที่ 24 พ.ศ. 2483 อาคารสองชั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุนพรม โดยได้ดำเนินการบริหารงานมาถึงปัจจุบัน

บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งชาติ

• การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

• การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

• การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

• การพัฒนาระบบการชำระเงิน

• การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

• การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจให้กับรัฐบาล

• การบริหารจัดการเงินสำรองทางการ

• การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร

• การเผยแผ่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเงิน

• การส่งเสริมด้านการศึกษา

จัดทำโดย

นางสาว ธาวินี จันทร์คง คณะ วิทยาการจัดการ สาขา บริหารธุรกิจ เอก การเงินการธนาคาร

รหัสนักศึกษา 54127326013

กลุ่มเรียน วันอังคาร เวลา 8.00 - 11.00

ณ วันที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554 เวลา 10.00 น ดิฉันได้เดินไปธนาคารแห่งชาติ ณ วังบางขุนพรม

เมื่อดิฉันได้วังบางขุนพรมรู้สึกว่าเป็นวังที่สวยงามสง่างามเป็นเอกลักษณ์ด้วยการตกแต่งผนังปูนปั้นอันวิจิตร นับเป็นอาคารที่มีลวดลายประดับงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เมื่อเดินเข้าได้มีเจ้าหน้าออกมาต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม สดใส เจ้าหน้าบอกว่าห้ามนำอุปกรณ์สื่อสารต่างๆเข้าไปข้างในให้นำเก็บไว้ในล็อคเกอร์เพื่อความปลอดภัย ดิฉันเดินเข้าแลกบัตรเพื่อจะเข้าข้างใน ณ วังบางขุนพรมนั้นมี2ชั้น ห้องที่ดิฉันได้เข้าไปชมมีดังนี้ค่ะ แต่ล่ะห้องมีได้ความรู้แตกต่างกันไป ชั้นล่าง ห้องที่ 1 เปิดโลกเงินตราไทย ได้รู้ประวัติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิเป็นอย่างไรและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน เช่น เงินตราสมัยโบราณ ,เงินพดด้วงต่างๆ, กษาปณ์ไทย ต่อไปเดินไปห้องที่ 2 ธนบัตรไทยได้รู้จักธนบัตรไทยเงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินเป็นครั้งแรก การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทยตั้งแต่ หมาย ใบพระราชทานเงินตรา อัฐกระดาษ บัตรธนาคาร ตั่วเงินกระดาษ หรือ เงินกระดาษหลวง มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ต่อไปห้องที่3 ธนบัตรต่างประเทศได้รู้จักธนบัตรประเทศต่างๆที่เราไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย หรืออาจจะเป็นธนบัตรที่พิมพ์อีกแล้วต่อไปเดินชั้นบน ห้องที่1 ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งชาติไดได้ได้เรียนรู้ถึงตราพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไปห้องที่2 เชิดชูเกียรติ ได้แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน นอกจากนี้ผู้ชมยังจะได้ชมวีดิทัศน์การสัมภาษณ์ผู้ว่าการตั้งแต่ผู้ว่าการเสนาะ อูนากูล จนถึงผู้ว่าการคนปัจจุบันห้องที่3 บริพัตรได้รู้ประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” และหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่นดูมีสง่า

เมื่อดิฉันได้เดินชมเสร็จเจ้าหน้าที่ได้บอกว่าวันนี้มีงานขายธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ดิฉันได้นำเงินไปซื้อธนบัตรมา1ใบฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้มานานๆจะมีสักครั้งที่ผลิตออกมาเข็มกลัดที่ระลึกงาน ภัทรมาหหาราช ธนบัตรชาติไทย กับเหรียญวังขุนพรหม การที่ฉันได้มาในครั้งนี้รู้สึกสนุกสนาน แถมได้ความรู้มากมายที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง ทำให้เราได้รู้คุณค่าของเงินมากยิ่งขึ้นควรใช้อย่างจำเป็นที่สุดและรู้ประวัติของเงินตราต่างๆของประเทศต่างๆและรู้การผลิตธนบัตรเป็นสิ่งที่ทุกวันเคยรู้มาก่อนเลย

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเรียกว่าแบงค์ชาติ

ทำให้ดิฉันรู้สึกแปลกที่ไม่มีป้ายบอกว่าเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อได้เดินเข้าไปดิฉันรู้สึกว่ามันสถานที่สวยมากและใหญ่มาก เนื่องจากเป็นวังเก่าหรือเรียกว่าวังบางขุนพรหม ดิฉันก็ได้เดินไปศึกษาดูเหรียญของไทยในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่เหรียญในอดีตจนถึงเหรียญในปัจจุบันซึ่งมีหลายแบบมาก และได้เดินดูธนบัตรของไทยด้วยซึ่งมีตั้งแต่ธนบัตรในอดีตจนถึงปัจจุบันรวมถึงธนบัตรที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อครบเนื่องในวโรกาสต่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีธนบัตร อยู่

หลายแบบมากและดิฉันก็ได้ดูวีดีโอที่เขาเปิดให้ดูการผลิตธนบัตรของไทย หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนะนำให้ดิฉันและเพื่อนๆไปดูนิทรรศการที่ธนาคารเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 ธันวาคม 2554 โดยได้จัดแสดงธนบัตรที่มีคุณค่ามาให้ชมและมีการจำหน่ายธนบัตร

จากที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูธนาคารทำให้ดิฉันได้ความรู้ เกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และได้ความรู้เรื่องเหรียญและธนบัตรไทยเพิ่มมากขึ้น

นางสาวกนกพร ธรรมศิริ

สาขาวิชา การเงินการธนาคาร

ห้อง 01

เลขที่ 54127326022

การที่ข้าพเจ้าได้ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับความรู้มากมาย ได้เดินชมพิพิธภัณฑ์อย่างเพลิดเพลิน และได้รับความรู้ในเรื่องของเงินตราไทยในห้องเปิดโลกเงินตราไทย ซึ่งประกอบด้วยเงินตราหลายแบบมาก เช่น เงินตราโบราณ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย เงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินพดด้วง เงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ส่วนกษาปณ์ไทยได้รู้เรื่องราวของเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เหรียญแต้เม้ง” สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เหรียญหนวด” สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เหรียญทองคำต้นแบบ” สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ได้รู้จักธนบัตรไทยที่ห้องธนบัตรไทยมีทุกแบบตั้งแต่ธนบัตรแบบหนึ่งเป็นต้นมา รวมทั้งธนบัตรที่ระลึกและบัตรธนาคาร และมีรายละเอียดของธนบัตรแต่ละรุ่นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ส่วนสิ่งที่ฉันประทับใจมากที่สุดคือห้องสีชมพูเป็นห้องที่สวยมากตกแต่งด้วยสีชมพูสวยงามในอดีตนั้นเคยเป็นห้องท้องพระโรงสำหรับแขกสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระและการพิธีต่าง ๆและห้องสีน้ำเงินซึ่งห้องนี้มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ซึ่งท่านพระราชทานแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ส่วนบรรยากาศก็เป็นสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากเช่นกันโดยพื้นที่รอบๆนั้นก็จัดและตกแต่งอย่างสวยงามมาก

นางสาวขวัญนภัส ตั้งจิตสวัสดิ์

หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เข้าชมนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย ที่ตำหนักสมเด็จ หรือเรียกว่าแบงค์ชาติ โดยเข้าไปตอนแรกๆได้มีวิทยากรหลายๆคนมาตอนรับเป็นอย่างดี และท่านวิทยากรได้บรรยายในส่วนต่างๆหรือการทำธนบัตรได้มีส่วนที่จัดโชว์ธนบัตรที่หายาก เช่น ต้นแบบของธนบัตร ธนบัตรที่มีเลขสวยหรือเลขเรียง ธนบัตรเก่าที่นำมาซื้อขายตอนนี้นับว่ามีราคาสูงมากเลยที่เดียว โดยทีจะดูลายเซ็นต์ว่าเป็นลายเซ็นของใคร มูลค่าของธนบัตรจะมีมูลค่ามากกว่าธนบัตรจิง และข้าพเจ้าได้เดินชมนิทรรศการอีกที่หนึ่งซึ่งนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงหลายๆด้านมาพิมพ์ลงธนบัตร ซึ่งจะเป็นเครื่องเตือนความจำคนไทยมาตลอด ในการทำธนบัตรนั้นขั้นตอนการแกะสลักซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะว่ากว่าจะได้แม่พิมพ์ออกมาแต่ละรูปนั้นจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ เลย ในการเข้าชมนิทรรศการครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในหลายๆเรื่องเกี่ยวกับธนบัตรและเหร๊ยญกษาปณ ซึ่งข้าพเจ้าได้รู้จักคุณค่าของธนบัตรแต่ละใบมากยิ่งขึ้น จัดแสดงธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย ได้แก่ ธนบัตรที่อันเชิญภาพพระราชกรณียกิจมาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุการทรงงานอันยิ่งใหญ่ โดยในงานนิทรรศการจัดทำเป็นสื่อมัลติมิเดีย โดยใช้ ipad ไห้เราศึกษาค้าคว้าเอง ซึ่งเราอยาดรู้อะไรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านไหน เราสามารถเปิดดูเรื่องราวต่างๆของพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้ ในนิทรรศการ ได้มีวิทยากรไห้คำแนะนำตลอดเวลา ซึ่งทำไห้การชมนิทรรศการในครั้งนี้ทำไห้ข้าพได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังรวบรวมธนบัตรหาชมยากไว้กว่า 100 ฉบับ นับตั้งแต่ต้นรัชกาลมาไว้จัดแสดงไห้ชมด้วย โดยจัดเป็นโซนมีอยู่ 4 โซนด้วยกัน โซนที่ 1 บทนำนิทรรศการ ซึ่งในโซนนี้จะรวบรวมธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจ ที่มีคุณค่าเปรียบเหมือนจดหมายเหตุสำคัญของชาติ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆไว้เป็นอย่างดีซึ่งทำไห้เรายิ่งเห็นคุณค่าของธนบัตรมากอีกด้วย โซน 2 เอกธนบัตรรัชการที่ 9 จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย โซนนี้จัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจพร้อมทั้งบอกความหมายและเล่าเรื่องราวที่น่าประทับใจไว้ข้างหลังภาพ และยังมีธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โซนที่ 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน โซนนี้บอกเล่าเรื่องราวการทรงงานเพื่อประชาชนในภูมิภาคต่างๆผ่านเส้นทางทุรกันดารหลายๆอย่าง โซน 4 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 ธนบัตรหาชมยาก จัดแสดงธนบัตรหาชมยากของรัชกาลปัจจุบัน และข้าพเจ้าไดชมการแกะสลักแม่พิมพ์เพื่อที่จะพิมพ์ธนบัตรซึ่งต้องใช้ความประณีตมากและท่านวิทยากรยังไห้ของที่ระลึกกลับมาอีกด้วยการเข้าชมนิทรรศการในคร้งนี้ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมและยินดีเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้ากลับมาพร้อมความรู้มากมายเกี่ยวกับธนบัตรอีกด้วย ขอบคุณค่ะ

ผมได้ไปเดินไปธนาคารแห่งชาติ ณ วัดบางขุนพรม เมื่อไปถึงวันนั้นมีการจัดนิทรรศการขึ้นเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ไปดูไปชมการพิมธนบัตรขึ้นว่ามีวิธีการทำอย่างไร และยังได้เห็นชั่งแกะสลักเป็นแม่พิมพ์ เพื่อจะนำไปประทับตราลงบนธนบัตร ผมได้รู้วิธีพิมพ์ธนบัตร ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้างและได้รู้ว่ากว่าจะได้ธนบัตรแต่ละใบนั้นมันยากมากและ ผมยังได้รู้ประวัติอะไรอีกหลายอย่างที่ผมยังไม่รู้เกี่ยวกับการพิมพ์ธนบัตรออกมาให้กับประชาชนได้ใช้กันพอผมดูเสร็จเจ้าหน้าได้เดินมาบอกผมว่าให้ผมอยู่ต่อถึงเย็นเพราะว่าตอนเย็นจะมีดนตรีให้ฟังและมีอาหารเลี้ยงฟรีอีกด้วยแต่ผมติดเรียนเลยไม่ได้อยู่ต่อและ เมื่อผมจะกลับ เจ้าหน้าที่ได้บอกผมอีกว่าวันนี้มีงานขายธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ผมสนุกมากในการไปเยี่ยมชมที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รู้อะไรหลายๆอย่างที่ผมไม่รู้ก็ได้รู้ผมประทับใจมากๆที่ เจ้าหน้าให้ความรู้กับผม ผมมีความสุขที่สุดเลยและผมจะไม่ลืมเหตุการณ์ในวันนี้เด็ดขาดเลยครับ

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

จากการที่ดิฉันไปที่ ธนคารแห่งประเทศไทย(แบงค์ชาติ) ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก ทั้งด้านความสวยงามของวังและความสงบ อีกทั้งยังได้รับความรู้ต่างๆมากมายจากห้องที่ได้จัดแสดงสิ่งต่างๆในสถานที่แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ เหรียญกษาปณ์ตั้งแต่สมัยยุคฟูนัน จนถึงปัจจุบัน มีเหรียญตั้งแต่เหรียญหอย เหรียญพดด้วง และเหรียญอื่นๆอีกมากมาย จนมาถึงเหรียญบาท นอกจากเหรียญแล้วยังมีธนบัตรสมัยที่ยังเป็นใบใหญ่ๆที่เรียกว่าหมายนั่นเอง ธนบัตรก็มีทั้งของไทยและของต่างประเทศ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เรื่องธนบัตรของต่างประเทศมาไม่น้อยเลย เนื่องจากข้างในยังมีห้องบรรยายต่างๆเพื่อที่จะให้ความรู้แก่ผู้มาเยี่ยม ในรูปของภาพ เสียง และเนื้อหาผ่านหน้าจอภาพ โดยที่เราสามารถเลือกที่จะรับชมเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือไทยก็สามารถที่จะรับชมได้ทั้งนั้น ในบางห้องก็มีเกมให้เล่นซึ่งเป็นเกมที่ให้ความรู้ทั้งนั้น ทำให้เพลิดเพลินไม่เครียด บางห้องก็มีโทรศัพท์ตั้งเอาไว้ ตอนแรกดิฉันและเพื่อนๆไม่ทราบว่าตั้งไว้ทำไมจึงยกหูมาฟังลองดูด้วยความสงสัย พอฟังก็ตกใจมีเสียงคนพูดออกมาฟังไปเรื่อยๆก็ได้รู้ว่าเป็นเสียงคนให้ความรู้จึงรู้สึกแปลกใจมากที่ ณ แห่งนี้มีอะไรแปลกๆน่าสนใจให้เราได้มารับความรู้อย่างไม่รู้สึกเบื่อเลย บางห้องก็มีกระดาษและสีตั้งอยู่ให้เราสามารถที่จะนำกระดาษนั้นทับบนแป้นพิมพ์ธนบัตรแล้วระบายด้วยสี ออกมาเป็นลายที่กระดาษอย่างสวยงามตามลายของลายนั้นๆ และก็นำกลับไปเป็นที่ระลึกได้ค่ะ และยังมีตราชั่งให้เราสามารถนำเหรียญมาชั่งดูมาตราเงินในสมัยก่อนด้วยค่ะ ในบางห้องก็มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับทำเหรียญในสมัยก่อน จึงทำให้ดิฉันรู้ว่าคนสมัยก่อนนั้นทำเหรียญยากมากค่ะ โดยความรู้สึกส่วนตัวนะคะ และสิ่งที่ดิฉันประทับใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย ข้างในมีโซนต่างๆจัดแสดงธนบัตรที่ระลึก เป็นธนบัตรที่มีรูปพระราชกรณียกิจอยู่หลายรูป เปิดให้ดูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการจัดแสดงธนบัตรหายาก เช่นธนบัตรที่มีลายเซ็นบุคคลสำคัญ ธนบัตรที่พิมพ์ผิด ธนบัตรที่ไม่ใช้แล้ว และมีพระราชดำริต่างๆอยู่ให้เราได้เกิดแง่คิดค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เงินเป็นส่วนใหญ่ค่ะ โดยในตอนแรกก็มีวิทยากรมาแนะนำเกี่ยวกับธนบัตรที่ระลึกด้วย ทำให้ดิฉันมีความรู้มากยิ่งขึ้นค่ะ

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

เมื่อวันที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554 ดิฉันและเพื่อนๆได้ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่วังบางขุนพรม เมื่อเข้าไปถึงดิฉันรู้สึกว่าเป็นวังที่สวยงามถือได้ว่าเป็นอาคารที่มีลวดลายประดับงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เมื่อเข้าไปด้านในจะมีเจ้าหน้าออกมาต้อนรับ เจ้าหน้าบอกว่าห้ามนำอุปกรณ์สื่อสารต่างๆและกล้องถ่ายภาพเข้าไปด้านในให้นำเก็บไว้ในล็อคเกอร์เพื่อความปลอดภัย และต้องแลกบัตรเพื่อจะเข้าไปชมด้านใน วังบางขุนพรมนั้นมี 2 ชั้น แต่ล่ะห้องมีได้ความรู้แตกต่างกันไป ชั้นล่างมีห้องเปิดโลกเงินตราไทย ได้รู้ประวัติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิเป็นอย่างไรและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน เช่น เงินตราสมัยโบราณ เงินพดด้วงต่างๆ กษาปณ์ไทย ต่อไปเป็นห้องธนบัตรไทยได้รู้จักธนบัตรไทยเงินกระดาษชนิดแรก การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทยตั้งแต่หมายใบพระราชทานเงินตรา อัฐกระดาษ บัตรธนาคาร ตั่วเงินกระดาษ หรือ เงินกระดาษหลวง มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต่อไปเป็นห้องธนบัตรต่างประเทศได้รู้จักธนบัตรประเทศต่างๆที่เราไม่รู้จักไม่เคยเห็นมาก่อนเลย หรืออาจจะเป็นธนบัตรที่ไม่พิมพ์อีกแล้ว และเดินขึ้นไปชั้นบนห้องแรกที่ดิฉันเข้าไปเป็นห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งชาติไได้เรียนรู้ถึงตราพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไปเป็นห้องที่เชิดชูเกียรติได้แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน ต่อไปเป็นห้องบริพัตรเป็นห้องที่จัดแสดงประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ มีตราประจำพระองค์และหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือ เมื่อดิฉันเดินลงมาด้านล่างและแลกบัตรคืนเจ้าหน้าที่ก็บอกว่ามีการจัดแสดงนิทรรศการธนบัตรและขายธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ดิฉันได้ความรู้มากมายเป็นสิ่งที่ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อน ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

จากการที่ดิฉันไปที่ ธนคารแห่งประเทศไทย(แบงค์ชาติ) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก ทั้งด้านความสวยงามของวังและความสงบ อีกทั้งยังได้รับความรู้ต่างๆมากมายจากห้องที่ได้จัดแสดงสิ่งต่างๆในสถานที่แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ เหรียญกษาปณ์ตั้งแต่สมัยยุคฟูนัน จนถึงปัจจุบัน มีเหรียญตั้งแต่เหรียญหอย เหรียญพดด้วง และเหรียญอื่นๆอีกมากมาย จนมาถึงเหรียญบาทในสมัยปัจจุบัน นอกจากเหรียญแล้วยังมีธนบัตรสมัยที่ยังเป็นใบใหญ่ๆที่เรียกว่าหมายนั่นเอง มีการจัดแสดงธนบัตรของไทยในหลายๆแบบมาก มีลายพิมพ์ธนบัตรมากมายตามผนัง และของต่างประเทศก็มีทั้งเหรียญและธนบัตรเช่นเดียวกันค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เรื่องธนบัตรของต่างประเทศมาไม่น้อยเลย เนื่องจากข้างในยังมีห้องบรรยายต่างๆเพื่อที่จะให้ความรู้แก่ผู้มาเยี่ยม ในรูปของภาพ เสียง และเนื้อหาผ่านหน้าจอภาพ โดยที่เราสามารถเลือกที่จะรับชมเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือไทยก็สามารถที่จะรับชมได้ทั้งนั้น ในบางห้องก็มีเกมให้เล่นซึ่งเป็นเกมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเงินๆทั้งนั้น ทำให้เพลิดเพลินไม่เครียด บางห้องก็มีโทรศัพท์ตั้งเอาไว้ ตอนแรกดิฉันและเพื่อนๆไม่ทราบว่าตั้งไว้ทำไมจึงยกหูมาฟังลองดูด้วยความสงสัย พอฟังก็ตกใจมีเสียงคนพูดออกมาฟังไปเรื่อยๆก็ได้รู้ว่าเป็นเสียงคนให้ความรู้จึงรู้สึกแปลกใจมากที่ ณ แห่งนี้มีอะไรแปลกๆน่าสนใจให้เราได้มารับความรู้อย่างไม่รู้สึกเบื่อเลย บางห้องก็มีกระดาษและสีตั้งอยู่ให้เราสามารถที่จะนำกระดาษนั้นทับบนแป้นพิมพ์ธนบัตรแล้วระบายด้วยสี ออกมาเป็นลายที่กระดาษอย่างสวยงามตามลายของลายนั้นๆ ซุ่งลายเหล่านั้นก็คือลายน้ำที่อยู่บนธนบัตรเมื่อสมัยก่อนนั่นเอง และก็สามารถนำกลับไปเป็นที่ระลึกได้ค่ะ และยังมีตราชั่งให้เราสามารถนำเหรียญมาชั่งดูมาตราเงินในสมัยก่อนด้วยค่ะ ในบางห้องก็มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับทำเหรียญในสมัยก่อน จึงทำให้ดิฉันรู้ว่าคนสมัยก่อนนั้นทำเหรียญยากมากค่ะ โดยความรู้สึกส่วนตัวนะคะ และสิ่งที่ดิฉันประทับใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ข้างในมีโซนต่างๆจัดแสดงธนบัตรที่ระลึก เป็นธนบัตรที่มีรูปพระราชกรณียกิจอยู่หลายรูป เปิดให้ดูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการจัดแสดงธนบัตรหายาก เช่นธนบัตรที่มีลายเซ็นบุคคลสำคัญ ธนบัตรที่พิมพ์ผิด ธนบัตรที่ไม่ใช้แล้ว และมีพระราชดำริต่างๆอยู่ให้เราได้เกิดแง่คิดค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เงินเป็นส่วนใหญ่ค่ะ โดยในตอนแรกก็มีวิทยากรมาแนะนำเกี่ยวกับธนบัตรที่ระลึกด้วย ทำให้ดิฉันมีความรู้มากยิ่งขึ้นค่ะ สำหรับนิทรรศการทำให้ดิฉันรู้สึกรักในหลวงของเรามากยิ่งขึ้นค่ะ จากการที่พระองค์ท่านได้ทรงงานหนักมาก เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้อยู่อย่างมีความสุขค่ะ

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะ ที่ส่งไปสองครั้ง ครั้งแรกดิฉันเผลอกดส่งผิดไปค่ะ ไม่คิดว่าจะส่งได้แล้ว ดิฉันขอรบกวนอาจารย์ช่วยลบโพสต์ครั้งแรกของดิฉันได้มั้ยคะ ขอขอบคุนอาจารย์มากนะคะ

ณิชนารา บุญจนานนท์

ความประทับใจที่ได้รับจากการไปธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันคิดว่าการได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ได้เป็นโอกาสที่ดีของตัวดิฉันเพราะ การที่ได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นความใฝ่ฝันของดิฉันตอนที่ยังเป็นเด็กๆ ซึ่งคิดว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่อยากจะทำงานในภายภาคหน้า ดูแล้วน่าจะมีความน่าเชื่อถือสูง และดิฉันได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยว่าเป็นหน่วยงานอิสระที่ทำตนเป็นกลาง ไม่อยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และทำงานเพื่อประเทศชาติ ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนไปในตัวซึ่งดิฉันคิดว่าหากไม่มีธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่างๆขึ้นได้ และการไปเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ดิฉันมีความประทับใจเป็นอย่างมาก ซึ่งดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากมีโอกาสในภายภาคหน้าดิฉันอยากจะไปเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทยอีกสักหลายๆครั้ง

นางสาว ณิชนารา บุญจนานนท์

ปรียารัตน์ ศรีจันทะ

ความประทับใจที่ได้รับจากการไปธนาคารแห่งประเทศไทย จากการที่ได้ไปเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา ดิฉันรู้สึกมีความประทับใจมากที่ได้ไปในสถานที่ที่ยังไม่เคยไป ภายในธนาคารแห่งประเทศไทยมีสถานที่สำคัญอยู่หลายแห่ง ซึ่งตัวดิฉันเองได้เข้าไปศึกษาพิพิธภัณฑ์ ธปท. ได้รู้จักประวัติความเป็นมาไปบ้างบางส่วน ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดนิทรรศการแสดงความรู้ต่างๆเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิวัฒนาการด้านเงินตราที่สมบูรณ์แบบของประเทศ ซึ่งทางธนาคารแหง่ประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเยาวชน ให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ การอนุรักษ์(Conservation) การดูแลและเก็บรักษาวัตถุประเภทธนบัตร การดูแลและเก็บรักษาวัตถุประเภททองคำ การดูแลและเก็บรักษาวัตถุประเภทเงิน และการดูแลและเก็บรักษาวัตถุประเภทตะกั่วและชิน และยังมีการแสดงความรู้อีกมากมาย ทำให้ตัวดิฉันมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวพวกนี้มากขึ้นจากที่ได้ศึกษามาก่อนในเว็ปไซด์ก่อนที่จะไปเยี่ยมชมและศึกษาในสถานที่จริง และยังมีความประทับใจในด้านสถานที่และบริเวณรอบๆที่ถูกจัดสรรด้วยต้นไม้นานาชนิด และดอกไม้ที่สวยงามมากมาย พนักงานต้อนรับมีการต้อนรับที่ดี มีการบรรยายถึงความสำคัญของสถานที่ได้ชัดเจนเป็นอย่างดี

นางสาว ปรียารัตน์ ศรีจันทะ

ภคินี สิริชื่นสุวรรณ

ในการที่ข้าพเจ้าได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรม ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสถานที่ที่ข้าพเจ้าไม่เคยไปและอยากไปมาก ข้าพเจ้าได้รับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง ประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย และยังได้รู้ประวัติความเป็นมาของวังบางขุนพรมอีกด้วย ข้าพเจ้าได้เข้าชมในส่วนของวังบางขุนพรมซึ่งจัดเป็นห้องต่างๆให้ชมกัน คือ ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ๑.ห้องเปิดโลกเงินตราไทย จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน ๒.ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ๓. ห้องธนบัตรต่างประเทศ จัดแสดงเกี่ยวกับธนบัตรต่างประเทศ ๔.ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ๕.ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ๖. ห้องเชิดชูเกียรติ แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน นอกจากนี้ผู้ชมยังจะได้ชมวีดิทัศน์การสัมภาษณ์ผู้ว่าการตั้งแต่ผู้ว่าการเสนาะ อูนากูล จนถึงผู้ว่าการคนปัจจุบัน ๗. ห้องจุมภฏพงษ์บริพัตร ๘. ห้องสีชมพู ๙.ห้องสีน้ำเงิน ๑o. ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๑๑. ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ๑๒. ห้องประชุมเล็ก ข้าพเจ้าได้รับความรู้และประโยชน์เป็นอย่างมากเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่ข้าพเจ้าได้เข้าชมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

นางสาว ภคินี สิริชื่นสุวรรณ

ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 15 ธันวาคม 2554

ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาหาความรู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเรียกอีกชื่อหนี่งว่า “แบงค์ชาติ” และเป็น พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นและดีใจมากที่ได้ไป เมื่อข้าพเจ้าไปถึงสิ่งที่สะดุดตาของข้าพเจ้าคือ ต้นไม้ที่ร่มรื่น ตลอดจนอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพะยา แลมีการก่อสร้างอาคารไว้อย่างสวยงาม ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นแต่เดิม เป็น พระราชวัง บางขุนพรม ที่รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างไห้แก่พระราชโอรถ ภายในเป็น พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงเกี่ยวกับเงินตรา ในสมัยก่อน จนถึงเงินตราสมัยปัจจุปัน และมี วีดีทัศน์ บรรยายการพิมพ์ธนบัตรอีกด้วย ภายในก็จะแยกเป็น โซนต่างๆ ได้อย่างสวยงาม ประกอบกับ วีดีทัศน์บรรยาย ทำไห้ข้าพเจ้าเข้าใจในเรื่องของเงินอย่างมากขี้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยก้อได้แนะนำไห้ไปชมนิทรรศการที่ธนาคารเฉลิมพระเกียรติ เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 ธันวาคม ภายในก็จะจัดแสดงเกี่ยวกับ ธนบัตรที่มีคุณค่าและธนบัตรหาชมอยาก รวมถึงพระราชกรณียกิจ ของพระองค์อีกด้วย

จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปศีกษาหาความรู้ ธนาคารแห่งประเทศนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าใจประวัติความเป็นมาของธนบัตร และ เหรียญกษาปณ์ รวมถึงการใช้เงินในสมัยต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และในสมัยก่อนใช้อะไรในการแลกเปลี่ยนสินค้า ทำไห้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากขึ้น

เนื่องด้วยดิฉันนางสาว เบญจมาศ จันทราช ได้ไปชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 นิทรรศการนี้จะเริ่มมีตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2555 ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตำหนัก วังบางขุนพรหม ก้าวแรกที่ดิฉันได้เดินเข้าไปในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ก็รู้สึกได้ถึงความสวยงามบริเวณของธนาคารแห่งประเทศไทยและภายในธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีลักษณะของวังเก่าเยอะมากมีความสวยงามแบบไทยๆอย่างโดดเด่นเห็นได้ชัด เหมือนได้ย้อนยุคเข้าไปในสมัยนั้นจริงๆอาจจะพูดเหมือนนิยายไปหน่อย แต่ดิฉันก็รู้สึกแบบนี้จริงๆ ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่มีการซื้อขายกันตามตลาด ถ้าอยากได้รับกับความรู้สึกนี้ต้องได้เข้ามาสัมผัสกับตัวเองแล้วจะได้รับถึงความรู้สึกนี้อย่างแท้จริงและอีกอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยมีบรรยากาศที่ร่มรื่นมาก เย็นสบาย ไม่น่าเชื่อเลยว่าบรรยากาศแบบนี้จะมีในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่แบ้งค์ชาติตั้งอยู่ในบริเวณที่ล้อมรอบไปด้วยตึกใหญ่ รถวิ่งกันวุ่นวาย มลพิษเยอะแยะเต็มไปหมด ก็เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก และน่าประทับใจมาก เมื่อดิฉันเดินไปถึง ตำหนัก วังบางขุนพรหม ก็จะมีเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับอย่างดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง เจ้าหน้าที่ก็จะให้คำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับวังบางขุนพรหม ไม่ว่าจะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของวังบางขุนพรหม เงินตราตั้งแต่ยุคโบราณ สมัยก่อน วิวัฒนาการของเงินตรา เมื่อเจ้าหน้าที่ได้แนะแนวเสร็จ ดิฉันก็อยากเห็นของจริงก็เลยได้เดินชมนิทรรศการดูเงินตราต่างๆ เงินตราก็จะมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ขนาดเล็กก็เล็กมากถ้าเปรียบเทียบกับเม็ดทรายก็ขนาดใหญ่กว่าเม็ดทรายหน่อยนึง เงินตราที่มีขนาดใหญ่ก็ใหญ่มากลำบากในการพกพา ลักษณะเงินตราก็มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ลักษณะเงินตราสมัยก่อนก็จะพบเห็นได้ยาก สถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็นวังเก็บเงินตราชนิดต่างๆลักษณะแปลกๆของประเทศไทยให้เราได้ศึกษาดู ทำให้เราได้พบเห็นกันได้ไม่ยาก นอกจากวังบางขุนพรหมที่มีเงินลักษณะแปลกๆมากมายให้ดูแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์เงินในสมัยก่อนให้ดูด้วยและเครื่องนี้ยังสามารถใช้ได้จริงในปัจจุบัน และยังมีวิดีทัศน์ของคนสมัยก่อน แล้วยังมีเกมส์การเล่นหุ้น เกมส์ทายปัญหาเกี่ยวกับเงินตราว่าอยู่ในยุคไหน สมัยรัชกาลไหนก็เป็นเกมส์ที่ช่วยในการฝึกสมอง ฝึกวัดความรู้ไปในตัว จากนั้นก็ได้ไปรับประทานอาหารที่เจ้าหน้าที่ได้จัดไว้ให้ อาหารอร่อยมาก ก็ทำให้ดิฉันไม่ผิดหวังจริงๆที่มาได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนมันเป็นอะไรที่แปลกใหม่กับชีวิตมาก สิ่งที่เขาเล่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี แต่ดิฉันบอกได้เลยว่าโลกนี้ยังมีสิ่งหนึ่งที่ได้มาอย่างฟรีๆไม่เสียเงินเลยสักบาท นั่นก็คือที่วังบางขุนพรหมนี่แหละค่ะ ได้ทั้งประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ความรู้มากมาย และยังได้ทานอาหารอร่อยๆ แต่เราอาจจะเสียเงินค่ารถในการเดินทางมาสถานที่นี้ ถึงจะเสียเงินเล็กๆน้อยๆแต่ก็เป็นอะไรที่น่าลงทุนเพราะสิ่งที่ได้รับกลับคืนมานั้นมีค่ามาก ดิฉันมีความประทับใจมากกับธนาคารแห่งประเทศไทย

นางสาวอรนุช เพียราชโยธา

จากที่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ ดิฉันได้ไป ณ ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีความประทับใจในหลายๆ อย่างที่ได้ปฏิบัติเพื่อฝึกการมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และอีกทั้งยังได้ความรู้และประสบการณ์มากมายเพิ่มขึ้นด้วยยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลย ในการที่ดิฉันได้ไปนิทรรศการ นับว่าเป็นโอกาศอันดี ที่มีรอบสองอีกครั้งเพราะดิฉันคิดว่าที่แห่งนี้เป็นสำนักงานที่ใหญ่และมีบทบาทหน้าที่สำคัญ มากทั้งในด้าน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ สถาบันทางการเงินและรวมทั้งการดำเนินงานทางธุรกิจกับต่างประเทศ ดังนั้นฉันจึงคิดว่า บุคคลภายนอกธรรมดาทั่วไป ไม่อาจสามารถเดินเข้าเดินออกได้ง่ายๆเหมือนที่สาธารณะ ดิฉันรู้สึกว่าโชคดีกว่าใครอีกหลายๆคนที่มีโอกาสมาถึงตัวก็เลือกรับไว้ เพราะประโยชน์ทั้งสิ้นก็ตกอยู่กับเราไม่มีใครโขมยเอาไปได้ ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่อง แบงค์ ธนบัตร ประวัติความเป็นมา ตัวอย่าง การพิมพ์ลายเส้น อันประณีต ใจเย็น จึงทำให้ได้ผลงานอันสำเร็จด้วยฝีไม้ลายมือนิ่ง,นุ่มนวล และที่สำคัญที่สุด ใจมันรัก ด้านศิลปะ สถานที่แต่ละจุดก็ใหญ่โตสวยงามมากเหเมือนได้ข้ามมิติ มาอีกโลกนึงเหมือนอยู่ในความฝันที่มีอยู่จริงๆ ยิ่งได้ก้าวเท้าเดินเข้าไปสิ่งที่อยู่ข้างในนั้นงดงามยิ่งกว่า ทั้งธนบัตร แห่งรัชสมัย นับตั้งแต่ต้นรัชกาลมาจนถึงปัจจุบันกาล หรือเรียกอีกอย่างว่า ธนบัตรหาชมยาก ตามที่เจ้าหน้าที่ได้อธิบายไว้ และ พระราชกรณียกิจต่างๆพร้อมภาพประกอบเจ้าหน้าที่ที่นี่ให้การต้อนรับดิฉันและเพื่อนๆดีมาก และก็พร้อมที่จะอธิบายให้คำแนะนำ และตอบคำถามอยู่เสมอ ตั้งแต่เริ่มจนจบ เจ้าหน้าที่ก็เริ่มบรรยายประวัติความรู้และให้เนื้อหาสาระสำคัญของ ธนบัตรหาชมยากกว่าประมาณ 100 ฉบับได้ที่ไม่มีที่ไหนมีแสดงเหมือนที่นี่อีกแล้ว คุณค่าราคาของธนบัตรเหล่านี้ ปัจจุบันมีค่าราคาสูงนัก แต่ฉันก็ไม่ได้สัมผัสด้วยมือ ได้แต่สัมผัสแค่สายตาเท่านั้น นับเป็นบุญตายิ่งนัก คุณค่าราคาแต่ละใบก็มีราคาแตกต่างกันไป ขนาด,ความกว้าง ของธนบัตรต่างกันอีก และที่ชัดเด่นสายตาเห็นก็คือ ธนบัตรแต่ละใบมีสีแตกต่างกันไป ตามจำนวนราคา/บาท รหัสนำหน้าของเลขธนบัตรแต่ละใบมีรหัสแตกต่างกันไป ลายเซ็นของธนบัตรก็ด้วย และในธนบัตรแต่ละใบจะมีพระราชกรณียกิจ มาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุ การทรงงานอันยิ่งใหญ่ จากเรื่องราวการทรงงานเพื่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั่วประเทศ อีกทั้ง ธนบัตรเลขสวยหรือเลขเรียง แบบร่างสี และตัวอย่างธนบัตร มีการสาธิตขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ธนบัตร อันประณีต สมาธิแน่วแน่ และใช่แว่นขยายส่องมองเส้นชัดๆ ขึ้น ต่อมากก็ดูการพิมพ์ธนบัตรเริ่มก่อน จนสุดท้าย เสร็จสิ้นออกมาเป็นธนบัตรให้เราได้ใช้ในทุกวันนี้ ชมจนรอบๆนิทรรศการแล้วก็ถ่ายรูปเก็บภาพอันงดงาม และล้ำค่ากับเพื่อนๆอย่างสนุกไม่น่าเบื่อ มาเก็บไว้ในกล้อง และความทรงจำไม่ลางเลือน ดิฉันจะบอกให้คนอื่นได้ปฏิบัติตามและนำมาพัฒนาเกี่ยวกับ การเงินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ อันมีคุณค่าเพื่อการใช้เงินในทางที่ถูกที่ควรและก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง” ระหว่างเดินออก…ก็เก็บรูปภาพกับแก๊งค์เพื่อนๆได้หลายซีนเลยค่ะและได้รู้เจอกับสิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก อิอิ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ กฤษฏา สังขมณี

นางสาวอรนุช เพียราชโยธา (54127326032)

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

ความประทับใจที่ได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ ดิฉันได้ไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราของไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและได้รับฟังการบรรยายเรื่องธนบัตรในแต่ละสมัยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ได้รู้ในเรื่องการแกะสลักแม่พิมพ์รูปภาพแบงค์ ในพิพิธภัณฑ์มีการแบ่งเป็นห้องต่างๆเพื่อให้ง่ายแก่การชม ได้แก่ ๑.ห้องเปิดโลกเงินตราไทย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตรา ๒.ห้องธนบัตรไทย ๓. ห้องธนบัตรต่างประเทศ ๔.ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ๕.ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ๖. ห้องเชิดชูเกียรติ ๗. ห้องจุมภฏพงษ์บริพัตร ๘. ห้องสีชมพู ๙.ห้องสีน้ำเงิน ๑o. ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๑๑. ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ๑๒. ห้องประชุมเล็ก ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีความรู้กี่ยวกันเงินที่แตกต่างกันไปในการไปเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้จึงทำให้ดิฉันมีความประทับใจมากและรู้เรื่องเงินเพิ่มมากขึ้น

( นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ )

ผมได้ไปเดินไปธนาคารแห่งชาติ ณ วัดบางขุนพรม เมื่อไปถึงวันนั้นมีการจัดนิทรรศการขึ้นเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ไปดูไปชมการพิมธนบัตรขึ้นว่ามีวิธีการทำอย่างไร และยังได้เห็นชั่งแกะสลักเป็นแม่พิมพ์ เพื่อจะนำไปประทับตราลงบนธนบัตร ผมได้รู้วิธีพิมพ์ธนบัตร ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้างและได้รู้ว่ากว่าจะได้ธนบัตรแต่ละใบนั้นมันยากมากและ ผมยังได้รู้ประวัติอะไรอีกหลายอย่างที่ผมยังไม่รู้เกี่ยวกับการพิมพ์ธนบัตรออกมาให้กับประชาชนได้ใช้กันพอผมดูเสร็จเจ้าหน้าได้เดินมาบอกผมว่าให้ผมอยู่ต่อถึงเย็นเพราะว่าตอนเย็นจะมีดนตรีให้ฟังและมีอาหารเลี้ยงฟรีอีกด้วยแต่ผมติดเรียนเลยไม่ได้อยู่ต่อและ เมื่อผมจะกลับ เจ้าหน้าที่ได้บอกผมอีกว่าวันนี้มีงานขายธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ผมสนุกมากในการไปเยี่ยมชมที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รู้อะไรหลายๆอย่างที่ผมไม่รู้ก็ได้รู้ผมประทับใจมากๆที่ เจ้าหน้าให้ความรู้กับผม ผมมีความสุขที่สุดเลยและผมจะไม่ลืมเหตุการณ์ในวันนี้เด็ดขาดเลยครับ

นายฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์

หลังจากที่กระผมได้ไปเยี่ยมชม แบค์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับความรู้ประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 และต่อมาในปี พ.ศ. 2488 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุนพรหม ได้ดำเนินการมาเรื่อยๆจนมาถึงปัจจุบัน ได้รับความรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีหน้าที่ในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน การพัฒนาระบบการชำระเงิน การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร แล้วก็ได้รู้จักเงินตราไทย ซึ่งประกอบไปด้วยเงินตราโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก่อนมีเงินตรา ได้แก่ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย เงินพดด้วง เป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า 600 ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เงินพดด้วงที่ถือว่าเด่นและดึงดูดสายตาผู้ชมมากคือ “พดด้วงตราพระมหามงกุฎ” “พดด้วงตราช่อรำเพย” ซึ่งเป็นพดด้วงเถาครบชุด หาชมได้ยากและ “พดด้วงทองคำ” ซึ่งมีสภาพสมบูรณ์และหาชมได้ยาก กษาปณ์ไทย เป็นเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ที่เด่นและมีชื่อเสียงในแต่ละสมัย เช่น เหรียญแต้เม้ง เหรียญหนวด เหรียญทองคำต้นแบบ และ เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2536 ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ”

ต่อมาใน พ.ศ. 2533 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. 2545ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หลังจากที่จะไปศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย และ เงินตราต่างๆที่มีมากมายตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น

การที่ผมได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยมีประโยชน์อย่างมาก ได้รู้เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยโดยผู้บรรยาย ได้เห็นเงินตราต่างๆที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้รู้ว่าประเทศไทยมีทุนสำรอง หรือทองคำเป็นลำดับที่ 25 ของโลก ได้รู้ถึงประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด ณ ตึกธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ซึ่งยังได้รู้ว่าธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทยหรือในปัจจุบัน เรียกว่า HSBC ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ สยามกัมมาจล(ชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์ในอดีต) เป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขอเช่าธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เพราะอาคารที่ทำการสำนักงานธนาคารชาติไทยตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังมีพื้นที่จำกัดไม่เพียงพอต่อการประกอบธุรกิจธนาคารกลาง ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุนพรหม จนถึงปัจจุบัน

ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ และทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นไปด้วยความราบรื่น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินตราต่างประเทศ และตลาดเงินระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้า และการลงทุน รวมถึงการบริหารจัดการเงินสำรอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสภาพคล่อง และการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อการชำระหนี้ตลอดจนใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ และเพื่อความมั่นคง และการสร้างความเชื่อมั่นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การจัดพิมพ์และออกใช้ธนาบัตร มีหน้าที่ผลิตธนบัตร และบริหารจัดการออกใช้ธนบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ ในการพิมพ์ธนบัตรต้องมีทุนสำรองเงินตราหนุนหลังประกอบด้วย 1.ทองคำ 2.เงินตราต่างประเทศ 3.หลักทรัพย์ / สินทรัพย์ต่างประเทศ 4.ใบสำคัญแสดงสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDRs) 5.ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อส่วนสำรอง 6.หลักทรัพย์รัฐบาลไทย 7.ตั๋วเงินในประเทศ ถึงจะพิมพ์ธนบัตรได้ การเยี่ยมชมครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมาก ผู้บรรยายก็ต้อนรับด้วยความยินดี ที่สำคัญแจกขนมให้รับประทานด้วยครับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ดิฉันและกลุ่มเพื่อน สาขา การเงินการธนาคาร ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ที่ธนาคารแห่งชาติ การเดินทางไปธนาคารแห่งชาติ ในวันนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย พอเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ก็ได้เห็นห้องที่เก็บเงินตราในสมัยต่างๆ ไว้มากมาย และยังมีวีดีทัศที่เกี่ยวกับการผลิตเงินออกมาให้ประชาชนได้ใช้ว่ามีขั้นตอนในการผลิตอย่างไร การผลิตเงินต้องมีความประณีตแค่ไหนผิดแค่หนึ่งจุดเงินเหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้ได้เลย ในห้องนิทรรศการจะประกอบไปด้วย

โซน 1 บทนำนิทรรศการ

โซน 2 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 : จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย

โซน 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน

โซน 4 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 : ธนบัตรหาชมยาก

สาระสำคัญที่ได้จากการไปธนาคารแห่งชาติ คือ ประวัติของธนาคารแห่งชาติเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย พุทธศักราช 2483 เปิดดำเนินงาน ในวันที่ 24 พ.ศ. 2483 อาคารสองชั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุนพรม โดยได้ดำเนินการบริหารงานมาถึงปัจจุบัน

ความประทับใจคือ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเงินตรา การใช้ธนบัตรในสมัยก่อน ได้เห็นถึงการทรงงานของพ่อหลวง ที่ทรงเข้าไปแก้ปัญหา บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร์ทุกหมู่เหล่าอันเป็นพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่ที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ อีกสิ่งหนึ่งคือผู้ที่ทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

จัดทำโดย

นางสาว ขนิษฐา เอกแก้ว

คณะ วิทยาการจัดการ สาขา บริหารธุรกิจ เอก การเงินการธนาคาร

รหัสนักศึกษา 54127326020

กลุ่มเรียน วันอังคาร เวลา 8.00 - 11.00

นางสาวมาริษา กำลังมาก

จากการที่ดิฉันได้ไปทำการศึกษาหาความรู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ภายในธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีห้องจัดแสดงโชว์ต่างๆ ซึ่งห้องแรกที่ดิฉันได้เข้าไปศึกษา ได้จัดแสดงการผลิตเหรียญกษาปณ์ในสมัยปัจจุบัน โดยให้เราสามารถที่จะหยอดเหรียญเพื่อที่จะดูวิธีการผลิตเหรียญบนหน้าจอทีวีที่มีให้ และได้จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ต่างๆในสมัย ร.9 ,ร.8และ ร.7 ในห้องถัดๆไปจัดแสดงเหรียญต่างประเทศหรือเงินเหรียญนอกทำให้ดิฉันได้รู้ว่า หลังสมัยร.4 พ่อค้าชาวตะวันตกนำเหรียญเงินต่างประเทศมาแลกเหรียญพดด้วง ทำให้ผลิตเงินพดด้วงไม่ทัน จึงทำให้สมัยนั้นประชาชนชาวไทย ได้ใช้เหรียญต่างประเทศในการซื้อขายสินค้าและชำระภาษีได้ และแสดงเหรียญบรรณาการ ซึ่งได้ความรู้ว่า หลังจากที่ผลิตพดด้วงไม่ทัน สมเด็จพระบรมราชินีวิกตอเรียได้ถวายเครื่องจักรผลิตเงินเหรียญ เป็นเครื่องราชบรรณาการ จึงเป็นที่มาของชื่อเหรียญบรรณาการ มีการจัดแสดงเหรียญกษาปณ์ สมัยร.4 และ ร.5 ทำให้รู้ว่าในพ.ศ.2400ได้มีการผลิตเงินเหรียญกษาปณ์อย่างเป็นทางการขึ้น และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ เงินตราพระมหามงกุฏ-กรุงสยาม เหรียญดีบุก เหรียญทองแดง เหรียญทองคำ เหรียญนิกเกิล และยังทำเหรียญอีแปะจำลองใหญ่ๆโชว์ด้วย ข้างในเหรียญจะมีรูให้เราดูรูปภาพได้ และได้รับความรู้ว่า อีแปะเป็นเงินทางภาคใต้ที่ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นเหรียญที่ทำด้วยดีบุกผสมตะกั่ว ในห้องจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้เล่นเกม เช่น เกมแฟนพันธ์แท้เงินตราไทย บางห้องมีการโชว์หอยเบี้ยซึ่งใช้เป็นเงินปลีกในสมัยสุโขทัยจนถึงร.4 และจัดแสดงปี้ ซึ่งเป็นวัตถุที่ใช้แทนเงินตราสำหรับเล่นการพนันในโรงบ่อน มีการโชว์กฎหมายตราสามดวงซึ่งได้จัดทำขึ้นเนื่องจากในสมัยอยุธยามีการจัดทำพดด้วงปลอมกันมาก และยังมีมาตราชั่งน้ำหนักไว้เทียบหน่วยมาตราเงินของไทยในสมัยโบราณ มีการโชว์พดด้วงทองคำ และมีการผลิตเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่กระทรวงมหาสมบัติอยู่ข้างในตู้กระจก ซึ่งจะมีรูปปั้นคนที่กำลังผลิตเงินพดด้วง มีการบรรยายเป็นเสียงให้เราได้ฟังด้วย(มีให้เลือกทั้งอังกฤษและภาษาไทย) และที่ดิฉันประหลาดใจก็คือเขาใช้กระดูกขาช้างในการตีตราเงินออกมา ในห้องมีการโชว์สัณฐานของเงินพดด้วงขนาดใหญ่หมุนอยู่สามารถจับต้องได้ และมีตู้โชว์รูปปั้นเรือสำเภาที่เกี่ยวกับการค้าขายมีย่านตลาดและแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีการบรรยายเป็นเสียงประกอบพร้อมกับมีวิดีโอบรรยาย ในบางห้องมีการจัดแสดงเงินกำไล เงินตู้ เงินฮาง เงินตะนาวศรี เหรียญทองคำบางและอีแปะจีน บางห้องมีความรู้เกี่ยวกับร่องรอยเงินตราของเมืองคู่ค้า ได้แก่จีนจะใช้เงินไซซี แผ่นทองคำและอีแปะจีน พม่าจะใช้เงินพยู อินเดียจะใช้เงินรูปี เวียดนามจะใช้เงินฮางและเงินตู้ โดยใช้ของจริงในการโชว์ และมีการโชว์เหรียญในสมัยทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง อีกทั้งยังมีการโชว์เส้นทางการค้าและบ้านเมืองสำคัญในดินแดนสุพรรณภูมิ โดยมีหน้าจอโทรทัศน์บรรยาย มีแผนที่ผิวนูนสามารถเลือกที่จะฟังความรู้ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 3-24บางมุมยังมีการโชว์สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน หม้อบ้านเชียง ตุ้มหูหิน กำไลเปลือกหอยและกำไลหิน

เมื่อเดินต่อไปเรื่อยๆก็เจอห้องธนบัตรไทย ได้รับความรู้ว่า ในมุมแรกมีเงินกระดาษไทย นั่นก็คือหมายซึ่งเป็นเงินกระดาษ ราคาต่ำที่อออกใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ไขภาวะขาดแคลนเงินปลีก และยังมีใบพระราชทานเงินตรา เงินกระดาษหลวง บัตรธนาคาร มีทีวีหน้าจอเล็กให้ดูภาพเงินกระดาษต่างๆ ในบางมุมมีการโชว์ทุนสำรองเงินตราซึ่งเป็นทองคำนั่นเอง แล้วยังมีจอโทรทัศน์ให้ดูชื่อว่าจากอดีตถึงปัจจุบันของเงินธนบัตรไทย มีการโชว์ธนบัตรตั้งแต่แบบหนึ่งถึงสิบห้าและธนบัตรที่เลิกใช้แล้ว ในหลายๆมุมมีการโชว์แผ่นฟิล์มกระจกที่ใช้ในการพิมพ์ธนบัตร มีลักษณะเหมือนภาพกระจกเงา น่าสนใจมาก ในห้องนี้ยังมีตู้กระจกจัดแสดงธนบัตรไทยในสมัยเอเชียบูรพา โดยในสมัยนั้นให้กรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร ในตู้มีโมเดลและรูปปั้นคนที่กำลังขนส่งธนบัตรมาจากญี่ปุ่นโดยรถไฟ ในระหว่างทางได้ถูกโจมตีจากฝ่ายสัมพันธมิตรจึงไม่สามารถขนส่งธนบัตรได้ ไทยก็ต้องผลิตธนบัตรขึ้นเองแต่ก็ไม่ดีนัก หลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้รับบทเรียนในการที่จะต้องพึ่งพาตนเอง จึงได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการขึ้นในที่สุด ในห้องนี้มีหน้าจอทีวีไว้ให้ดูการพิมพ์ธนบัตร และบางมุมยังมีกล่องดำให้ท้าพิสูจน์สัมผัสกระดาษว่าใบไหนเป็นธนบัตรจริงๆ ข้างๆจะมีกระดาษและสีคั้งไว้เพื่อที่จะให้เราสามารถนำกระดาษนั้นมาวางทับบนภาพลายน้ำในธนบัตรแบบต่างๆ เช่น ลายดอกพุดตาน(ธนบัตรแบบที่สิบสาม) ลายเรือสำเภา(ธนบัตรแบบที่สิบห้า) ลายรัฐธรรมนูญ(ธนบัตรแบบที่สี่) ลายสิงห์(ธนบัตรแบบที่สิบเอ็ด) และถัดไปข้างๆอีกมีที่พิมพ์ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์และลายประจำยาม ที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษปรากฏบนธนบัตรแบบที่สิบห้า เดินต่อไปอีกก็จะมีห้องธนบัตรต่างประเทศ โชว์นานาพันธบัตร วิวัฒนาการในลายน้ำธนบัตร เดินออกมาจากห้องมีมุมส่งโปสการ์ดด้วยสวยมากเลยค่ะ เป็นภาพธนาคารแห่งประเทศไทยบางมุมตอนกลางคืน และยังมีธนบัตรที่ระลึกและแผ่นพับจ่ายแลกราคาชุดละ 200บาทที่ห้องเปิดโลกเรียนรู้ด้วยค่ะ

หลังจากนั้น ดิฉันก็ได้เดินไปที่ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรม ซึ่งได้มีการจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย โดยข้างในจัดเป็นโซน ซึ่งโซนที่ 1 เป็นบทนำนิทรรศการคือ ธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจนั้น มีคุณค่าเปรียบดังจดหมายเหตุสำคัญของชาติ และเป็นสิ่งเตือนใจให้น้อมนำแนวพระราชดำริไปใช้เพื่อให้เกิดความสุขอันยั่งยืน โซนที่ 2 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทยทได้จัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจ พร้อมความหมายและเรื่องราวน่าประทับใจ ข้างหลังภาพคือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้กับชาวไทยและแสดงธนบัตรที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โซนที่ 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน โซนที่ 4 ธนบัตรหาชมยาก และมีการสาธิตแกะแม่พิมพ์ธนบัตร สิ่งได้รู้คือธนบัตรแต่ละแบบแต่ละรุ่นที่พิมพ์ขึ้นมีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ยกเว้นหมวดเลขหมาย ที่สำคัญในโซนต่างนี้มีพระราชดำริที่สอนคนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องเงินอยู่ด้วยค่ะ หลังจากชมเสร็จพี่วิทยากรก็ให้ใบประเมินมาทำแล้วให้ของที่ระลึกค่ะ

สำหรับความรู้สึกที่มีต่อธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ดิฉันมีความรู้สึกดีมากค่ะที่ได้ไปสัมผัสที่แห่งนั้น ทำให้อยากที่จะไปบ่อยๆ เพราะสถานที่แห่งนี้ไม่ได้ทำให้เราสนุกและชื่นชมความสวยงามโดยรอบและภายในตำหนักเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้เราได้มีความรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดิฉันเชื่อว่าการที่เราได้ไปแค่ครั้งเดียวมันไม่ได้ทำให้เราสามารถรับรู้ทุกอย่างที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้ได้หมดภายในวันเดียว ถ้าหากเราได้ไปเยี่ยมชมบ่อยครั้งมันอาจจะทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นๆเรื่อยก็เป็นได้ ส่วนการไปของดิฉันครั้งนี้ก็นับว่าเป็นการไปครั้งที่สามแล้วค่ะ ก็ยังประทับใจเหมือนเดิมค่ะ พร้อมทั้งได้ถ่ายรูปมาให้อาจารย์ได้ดูด้วยค่ะ ไปทุกครั้งก็ถ่ายรูปทุกครั้งเนื่องจากวิวสวยมากค่ะ ไม่ว่าจะมุมไหนก็สวยราวกับว่าอยู่เมืองนอกเลย ก็สถาปัตยกรรมที่นั่นเป็นแบบแบบเรอเนซองส์ ผสมผสานกับลวดลายศิลปะแบบบาร็อก ประตูวังสร้างด้วยเหล็กดัดและเสาปูนประดับลวดลายปูนปั้นที่งดงาม กึ่งกลางสนามมีน้ำพุประดับขอบบ่อด้วยรูปเงือกฝรั่งชายหญิงและสัตว์น้ำต่างๆ ดิฉันจึงอดใจไม่ได้ที่จะถ่ายรูปเก็บไว้ค่ะ สุดท้าย ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์กฤษฎา เป็นอย่างสูงนะคะ ที่ทำให้ดิฉันได้ไปที่นั่นอีกครั้งค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวมาริษา กำลังมาก

รหัส 54127326043

หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเรียกว่าแบงค์ชาติ สาระสำคัญที่ได้จากการไปธนาคารแห่งชาติ คือ ประวัติของธนาคารแห่งชาติเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย พุทธศักราช 2483 เปิดดำเนินงาน ในวันที่ 24 พ.ศ. 2483 ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุน...พรม โดยได้ดำเนินการบริหารงานมาถึงปัจจุบัน

และได้เยี่ยมชมห้องต่างๆ แต่ล่ะห้องได้ความรู้แตกต่างกันไป ชั้นล่าง เปิดโลกเงินตราไทย ได้รู้ประวัติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนาการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน เช่น เงินตราสมัยโบราณ ,เงินพดด้วงต่างๆ กษาปณ์ไทย ต่อไปเป็น ธนบัตรไทยได้รู้จักธนบัตรไทยเงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอู่หัว รัชกาลที่ ๔ ชั้นบน ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งชาติได้เรียนรู้ถึงตราพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไปเป็นห้อง บริพัตรได้รู้ประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” และหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือ

(นางสาวอรสา รักไร่

จากที่ดิฉันได้ไปเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทย (หรือชื่อไม่เป็นทางการแบงค์ชาติ) ดิฉันได้รับความรู้หลายอย่างเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รู้ว่าธนาคารแบงค์ชาติเป็นธนาคารกลางของประเทศไทย

และได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2485 และธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการดูแลกับกับเรื่องการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทยยังต้องควบคุมสถาบันการเงินและคอยเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบเท่ากับสกุนเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชน และดิฉันยังได้เรียนรู้ถึงประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเมื่อปี พ.ศ.2482 ได้เกิดเหตุการณ์โลกครั้งที่สองจำเป็นต้องเร่งรัดให้ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และที่ดิฉันประทับใจเพราะที่ธนาคารแบงค์ชาติมีการต้อนรับนักศึกษาอย่างพวกเราอย่างดี มีของว่างอร่ยๆ ให้รับประมาน และได้มีการให้เดินเที่ยวชมนิทรรศกาลภายในแบงค์ชาติ ได้รู้ถึงเงินตราต่างๆ ในสมัยก่อนว่ามีหน้าตามีความเป็นมาอย่างไร และสำนักงานแห่งประเทศไทยไม่ได้มีแค่กรุงเทพที่เดียว ยังมีสำนักงานของแต่ล่ะจังหวัด ซึ่งได้แบ่งเป็นภาคๆ ไป และเมื่อดิฉันได้ชมนิทรรศกาลเสร็จก็ได้ออกมากรอกแบบผลประเมินค่ะ

(54127326042 นางสาวฐิตาภา ศรีวัฒนา คณะวิทยาการจัดการ)

จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมชมที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ตำหนัก วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมาก ทั้งด้านความสวยงามของอาคารต่างๆและความสงบเงียบ บรรยากาศร่มรื่น อีกทั้งยังได้รับความรู้ต่างๆมากมายจากการเดินชมห้องที่ได้จัดแสดงสิ่งต่างๆไว้และได้ฟังคำบรรยายจากเจ้าหน้าที่ถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย ประวัติความเป็นมาของตำหนัก วังบางขุนพรหม ข้าพเจ้าได้เข้าชมในส่วนของวังบางขุนพรมซึ่งจัดเป็นห้องต่างๆให้ชมกัน คือ ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ 1.ห้องเปิดโลกเงินตราไทย จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน 2.ห้องธนบัตรไทย มีการจัดแสดงธนบัตรของไทยในหลายๆแบบมาก มีลายพิมพ์ธนบัตรมากมายตามผนัง และของต่างประเทศก็มีทั้งเหรียญและธนบัตร 3.ห้องธนบัตรต่างประเทศ จัดแสดงเกี่ยวกับธนบัตรต่างประเทศ 4.ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ 5.ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย 6.ห้องเชิดชูเกียรติ แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน 7.ห้องจุมภฏพงษ์บริพัตร 8.ห้องสีชมพู 9.ห้องสีน้ำเงิน 10.ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 11.ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ 12.ห้องประชุมเล็ก การเดินเยี่ยมชมในแต่ละห้องทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความรู้ที่ข้าพเจ้าได้สามารถนำไปใช้ในการเรียนของข้าพเจ้าได้อีกด้วย

นางสาวจินตนา ชินชงจู

รหัส 54127326006

หลังจากที่ดิฉันได้เดินทางไปธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรม เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณ 12.00 น. พอก้าวไปถึงมีความประทับใจหลายๆอย่าง ทั้งบรรยากาศ สีสันของตึก และเจ้าหน้าที่ที่ต้อนรับเป็นอย่างดี ที่แห่งนี้ใหญ่มาก ดิฉันก็เลยตรงเข้าไปที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ( The Bank of Thailand Museum ) พอไปถึงได้ความรู้มากมาย เช่น เงินตราในสมัยต่างๆ เช่น เงินตราสมัยโบราณ เงินพดด้วงต่างๆ กษา...ปณ์ไทย เป็นต้น รู้จักธนบัตรไทยเงินกระดาษชนิดแรกเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินเป็นครั้งแรก การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทยตั้งแต่หมายใบพระราชทานเงินตรา อัฐกระดาษ ตั๋วเงินกระดาษ หรือ เงินกระดาษหลวง มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ภาพต่างๆ และมีเรื่องเล่าเป็นวีดีทัศน์ให้ดูถึงเรื่องราวที่จะมาเป็นแบงค์ชาติแห่งนี้ รู้เรื่องราวที่ย้อนอดีตสุวรรณภูมิ ดินแดนของการค้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้รับความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นประวัติการทำงานของผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ท่านแรกถึงปัจจุบัน และจะมีอยู่ห้องๆหนึ่งที่เป็นการเล่นหุ้นผ่านจอภาพ กลุ่มของดิฉันเล่นจนเพลิน ได้ความรู้เรื่องการวางแผน การคิดวิเคราะห์ การศึกษาเรื่องหุ้นตก ทำอย่างไรถึงจะมีหุ้นเพิ่ม เงินเพิ่ม ก็สนุกดีจมลืมไปดูห้องอื่นๆ ที่ฉันเล่นมันจะเป็นภาพการ์ตูนคล้ายๆเกม เล่นกัน 2 คน แล้วแข่งกัน กลุ่มของดิฉันเล่นกันจนนานมากก็ยังเล่นไม่จบ เพราะเงินจะมีขึ้นๆลงๆ แต่ก็สนุกดี พอเลิกเล่นก็ไปห้องต่างๆ จนได้ความรู้พอสมควรแล้ว กลุ่มของดิฉันจึงออกจากพิพิธภัณฑ์แล้วก็ไปถ่ายรูป รู้สึกว่าที่แห่งนี้บรรยากาศดี มีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพราะที่แห่งนี้สำคัญมาก กว่าจะเข้ามาถึงที่แห่งนี้ได้ต้องแลกบัตรก่อนเพื่อที่ดิฉันจะเข้ามาเยี่ยมชมได้ ที่แห่งนี้ฉันประทับใจมากและได้รับความรู้ที่ศึกษาที่แห่งนี้มากค่ะ :)

นางสาว กมลรัตน์ อัศวเลิศพิพัฒน์

สาขาวิชา การเงินการธนาคาร

ห้อง 01

เลขที่ประจำตัวนักศึกษา 54127326007

จากที่ไปศึกษาหาความรู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเรียกอีกชื่อหนี่งว่า “แบงค์ชาติ” และเป็น พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันบางขุนพรม

ความประทับใจคือ การได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด ณ ตึกธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ต่อมาทางธนาคารได้จะขยายพื้นที่ แต่พื้นเดิมมีพื้นที่จำกัดเลยย้ายธนาคารแห่งประเทศไทยมายังตำหนักวังบางขุนพรหม จนถึงปัจจุบัน แลหยังรู้ถึงหน้าที่และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่ามีหน้าในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ และทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นไปด้วยความราบรื่น และยังมีหน้าที่ดูแลการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินตราต่าง ประเทศ และตลาดเงินระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้า และการลงทุน รวมถึงการบริหารจัดการเงินสำรอง และหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การจัดพิมพ์และออกใช้ธนาบัตร มีหน้าที่ผลิตธนบัตร และบริหารจัดการออกใช้ธนบัตรอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ได้ความรู้เกี่ยวเงินตราของประเทศจากในอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งธนบัตรและที่เป็นเหรียญ มีรูปแบบแตกต่างกันมา ที่่ไปครั้งนี้ก็ได้ความรู้กลับมามากมายเลย แต่บ้างเรื่องก็อาจจะลืมไปแล้วบาง แต่กลับเลยเอาแผ่นพับที่เป็นประวัติและเรื่องราวในธนาคารแห่งประเทศไทยกลับมาอีกด้วย และได้ข้อถ่ายรูปแต่เจ้าหน้าที่เขาไม่ให้ถ่าย ผมเลยไปถ่ายที่บริเวณสนามที่นั่งเล่นข้างๆพิพิธภัณฑ์มาครับ

นายชานน เกตุรัตน์

54127326039

การเงิน การธนาคาร

นางสาวเกวลี แจ้งสำอาง

การเข้าชมธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการบรรยายถึงธนบัตรในรัชการที่ ๙ หรือ รุ่น ๙ รู้ถึงคุณค่าของธนบัตรเก่า ถ้าธนบัตรยิ่งเก่ายิ่งให้ราคาสูง ได้ศึกษาวิธีการดูธนบัตร ให้ดูที่ตัวเลขที่พิมพ์ลงบนธนบัตรถ้่าธนบัตรที่มีตัวเลขหรือรหัสเหมือนกันธนบัตรนั้นจะให้ราคาสูง ธนบัตรที่พิมพ์เป็นตัวอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยจะมอบให้กับธนาคารพาณิชย์และธนาคารต่างประเทศ ธนบัตรนั้นจะไม่สามารถใช้ได้เพราะจะพิมพ์ว่าธนบัตรตัวอย่างเพื่อให้ทราบว่าประเทศไทยได้ใช้ธนบัตรรุ่นนี้อยู่ และได้ศึกษาการแกะสลักแม่พิมพ์บนโลหะที่นำมาพิมพ์ลงบนธนบัตร ซึ่งมีวิธีการแกะสลักที่ยากมาก หนึ่งภาพใช้เวลาแกะสลักปีะมาณ ๕-๗ เดือน แต่ละภาพที่แกะสลักลงบนธนบัตรจะมีความหมายทุกภาพ แต่ละภาพที่แกะสลักบนธนบัตรคือภาพที่พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชกรณียกิจ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการทรงงานเพื่อพสกนิกรในภูมิภาคต่างๆ ผ่านเส้นทางทุรกันดาร เข้าไปทรงแก้ปัญหา บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎรทุกหมู่เหล่าอันเป็นพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่ที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ

ข้าพเจ้าประทับใจ ในการแกะสลักภาพที่พิมพ์ลงบนธนบัตร เพราะกว่าจะเป็นธนบัตรแต่ละใบที่พิมพ์ออกมาให้เราได้ใช้นั้นต้องใช้ความสามารถ ความอดทน ความตั้งใจ อย่างสูง และใช้เวลานาน ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกถึงคุณค่าของธนบัตรแต่ละใบที่ให้ความหมาย และความสำคัญ เป็นอย่างมาก

นางสาวเกวลี แจ้งสำอาง รหัส 54127326018

สาขา การเงินการธนาคาร 01

หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเรียกว่าแบงค์ชาติ สาระสำคัญที่ได้จากการไปธนาคารแห่งชาติ คือ ประวัติของธนาคารแห่งชาติเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย พุทธศักราช 2483 เปิดดำเนินงาน ในวันที่ 24 พ.ศ. 2483 ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังตำหนักวังบางขุน...พรม โดยได้ดำเนินการบริหารงานมาถึงปัจจุบัน

และได้เยี่ยมชมห้องต่างๆ แต่ล่ะห้องได้ความรู้แตกต่างกันไป ชั้นล่าง เปิดโลกเงินตราไทย ได้รู้ประวัติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนาการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน เช่น เงินตราสมัยโบราณ ,เงินพดด้วงต่างๆ กษาปณ์ไทย ต่อไปเป็น ธนบัตรไทยได้รู้จักธนบัตรไทยเงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอู่หัว รัชกาลที่ ๔ ชั้นบน ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งชาติได้เรียนรู้ถึงตราพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และรู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไปเป็นห้อง บริพัตรได้รู้ประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” และหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือ

(นางสาวอรสา รักไร่)

จากการที่ดิฉันได้ไปทำการศึกษาหาความรู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
ภายในธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีห้องจัดแสดงโชว์ต่างๆ ซึ่งห้องแรกที่ดิฉันได้เข้าไปศึกษา ได้จัดแสดงการผลิตเหรียญกษาปณ์ในสมัยปัจจุบัน โดยให้เราสามารถที่จะหยอดเหรียญเพื่อที่จะดูวิธีการผลิตเหรียญบนหน้าจอทีวีที่มีให้ และได้จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ต่างๆในสมัย ร.9 ,ร.8และ ร.7 ในห้องถัดๆไปจัดแสดงเหรียญต่างประเทศหรือเงินเหรียญนอกทำให้ดิฉันได้รู้ว่า หลังสมัยร.4 พ่อค้าชาวตะวันตกนำเหรียญเงินต่างประเทศมาแลกเหรียญพดด้วง ทำให้ผลิตเงินพดด้วงไม่ทัน จึงทำให้สมัยนั้นประชาชนชาวไทย ได้ใช้เหรียญต่างประเทศในการซื้อขายสินค้าและชำระภาษีได้ และแสดงเหรียญบรรณาการ ซึ่งได้ความรู้ว่า หลังจากที่ผลิตพดด้วงไม่ทัน สมเด็จพระบรมราชินีวิกตอเรียได้ถวายเครื่องจักรผลิตเงินเหรียญ เป็นเครื่องราชบรรณาการ จึงเป็นที่มาของชื่อเหรียญบรรณาการ มีการจัดแสดงเหรียญกษาปณ์ สมัยร.4 และ ร.5 ทำให้รู้ว่าในพ.ศ.2400ได้มีการผลิตเงินเหรียญกษาปณ์อย่างเป็นทางการขึ้น และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ เงินตราพระมหามงกุฏ-กรุงสยาม เหรียญดีบุก เหรียญทองแดง เหรียญทองคำ เหรียญนิกเกิล และยังทำเหรียญอีแปะจำลองใหญ่ๆโชว์ด้วย ข้างในเหรียญจะมีรูให้เราดูรูปภาพได้ และได้รับความรู้ว่า อีแปะเป็นเงินทางภาคใต้ที่ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นเหรียญที่ทำด้วยดีบุกผสมตะกั่ว ในห้องจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้เล่นเกม เช่น เกมแฟนพันธ์แท้เงินตราไทย บางห้องมีการโชว์หอยเบี้ยซึ่งใช้เป็นเงินปลีกในสมัยสุโขทัยจนถึงร.4 และจัดแสดงปี้ ซึ่งเป็นวัตถุที่ใช้แทนเงินตราสำหรับเล่นการพนันในโรงบ่อน มีการโชว์กฎหมายตราสามดวงซึ่งได้จัดทำขึ้นเนื่องจากในสมัยอยุธยามีการจัดทำพดด้วงปลอมกันมาก และยังมีมาตราชั่งน้ำหนักไว้เทียบหน่วยมาตราเงินของไทยในสมัยโบราณ มีการโชว์พดด้วงทองคำ และมีการผลิตเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่กระทรวงมหาสมบัติอยู่ข้างในตู้กระจก ซึ่งจะมีรูปปั้นคนที่กำลังผลิตเงินพดด้วง มีการบรรยายเป็นเสียงให้เราได้ฟังด้วย(มีให้เลือกทั้งอังกฤษและภาษาไทย) และที่ดิฉันประหลาดใจก็คือเขาใช้กระดูกขาช้างในการตีตราเงินออกมา ในห้องมีการโชว์สัณฐานของเงินพดด้วงขนาดใหญ่หมุนอยู่สามารถจับต้องได้ และมีตู้โชว์รูปปั้นเรือสำเภาที่เกี่ยวกับการค้าขายมีย่านตลาดและแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีการบรรยายเป็นเสียงประกอบพร้อมกับมีวิดีโอบรรยาย ในบางห้องมีการจัดแสดงเงินกำไล เงินตู้ เงินฮาง เงินตะนาวศรี เหรียญทองคำบางและอีแปะจีน บางห้องมีความรู้เกี่ยวกับร่องรอยเงินตราของเมืองคู่ค้า ได้แก่จีนจะใช้เงินไซซี แผ่นทองคำและอีแปะจีน พม่าจะใช้เงินพยู อินเดียจะใช้เงินรูปี เวียดนามจะใช้เงินฮางและเงินตู้ โดยใช้ของจริงในการโชว์ และมีการโชว์เหรียญในสมัยทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง อีกทั้งยังมีการโชว์เส้นทางการค้าและบ้านเมืองสำคัญในดินแดนสุพรรณภูมิ โดยมีหน้าจอโทรทัศน์บรรยาย มีแผนที่ผิวนูนสามารถเลือกที่จะฟังความรู้ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 3-24บางมุมยังมีการโชว์สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน หม้อบ้านเชียง ตุ้มหูหิน กำไลเปลือกหอยและกำไลหิน
เมื่อเดินต่อไปเรื่อยๆก็เจอห้องธนบัตรไทย ได้รับความรู้ว่า ในมุมแรกมีเงินกระดาษไทย นั่นก็คือหมายซึ่งเป็นเงินกระดาษ ราคาต่ำที่อออกใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ไขภาวะขาดแคลนเงินปลีก และยังมีใบพระราชทานเงินตรา เงินกระดาษหลวง บัตรธนาคาร มีทีวีหน้าจอเล็กให้ดูภาพเงินกระดาษต่างๆ ในบางมุมมีการโชว์ทุนสำรองเงินตราซึ่งเป็นทองคำนั่นเอง แล้วยังมีจอโทรทัศน์ให้ดูชื่อว่าจากอดีตถึงปัจจุบันของเงินธนบัตรไทย มีการโชว์ธนบัตรตั้งแต่แบบหนึ่งถึงสิบห้าและธนบัตรที่เลิกใช้แล้ว ในหลายๆมุมมีการโชว์แผ่นฟิล์มกระจกที่ใช้ในการพิมพ์ธนบัตร มีลักษณะเหมือนภาพกระจกเงา น่าสนใจมาก ในห้องนี้ยังมีตู้กระจกจัดแสดงธนบัตรไทยในสมัยเอเชียบูรพา โดยในสมัยนั้นให้กรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร ในตู้มีโมเดลและรูปปั้นคนที่กำลังขนส่งธนบัตรมาจากญี่ปุ่นโดยรถไฟ ในระหว่างทางได้ถูกโจมตีจากฝ่ายสัมพันธมิตรจึงไม่สามารถขนส่งธนบัตรได้ ไทยก็ต้องผลิตธนบัตรขึ้นเองแต่ก็ไม่ดีนัก หลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้รับบทเรียนในการที่จะต้องพึ่งพาตนเอง จึงได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการขึ้นในที่สุด ในห้องนี้มีหน้าจอทีวีไว้ให้ดูการพิมพ์ธนบัตร และบางมุมยังมีกล่องดำให้ท้าพิสูจน์สัมผัสกระดาษว่าใบไหนเป็นธนบัตรจริงๆ ข้างๆจะมีกระดาษและสีคั้งไว้เพื่อที่จะให้เราสามารถนำกระดาษนั้นมาวางทับบนภาพลายน้ำในธนบัตรแบบต่างๆ เช่น ลายดอกพุดตาน(ธนบัตรแบบที่สิบสาม) ลายเรือสำเภา(ธนบัตรแบบที่สิบห้า) ลายรัฐธรรมนูญ(ธนบัตรแบบที่สี่) ลายสิงห์(ธนบัตรแบบที่สิบเอ็ด) และถัดไปข้างๆอีกมีที่พิมพ์ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์และลายประจำยาม ที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษปรากฏบนธนบัตรแบบที่สิบห้า เดินต่อไปอีกก็จะมีห้องธนบัตรต่างประเทศ โชว์นานาพันธบัตร วิวัฒนาการในลายน้ำธนบัตร เดินออกมาจากห้องมีมุมส่งโปสการ์ดด้วยสวยมากเลยค่ะ เป็นภาพธนาคารแห่งประเทศไทยบางมุมตอนกลางคืน และยังมีธนบัตรที่ระลึกและแผ่นพับจ่ายแลกราคาชุดละ 200บาทที่ห้องเปิดโลกเรียนรู้ด้วยค่ะ
หลังจากนั้น ดิฉันก็ได้เดินไปที่ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรม ซึ่งได้มีการจัดนิทรรศการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย โดยข้างในจัดเป็นโซน ซึ่งโซนที่ 1 เป็นบทนำนิทรรศการคือ ธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจนั้น มีคุณค่าเปรียบดังจดหมายเหตุสำคัญของชาติ และเป็นสิ่งเตือนใจให้น้อมนำแนวพระราชดำริไปใช้เพื่อให้เกิดความสุขอันยั่งยืน โซนที่ 2 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทยทได้จัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจ พร้อมความหมายและเรื่องราวน่าประทับใจ ข้างหลังภาพคือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้กับชาวไทยและแสดงธนบัตรที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โซนที่ 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน โซนที่ 4 ธนบัตรหาชมยาก และมีการสาธิตแกะแม่พิมพ์ธนบัตร สิ่งได้รู้คือธนบัตรแต่ละแบบแต่ละรุ่นที่พิมพ์ขึ้นมีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ยกเว้นหมวดเลขหมาย ที่สำคัญในโซนต่างนี้มีพระราชดำริที่สอนคนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องเงินอยู่ด้วยค่ะ หลังจากชมเสร็จพี่วิทยากรก็ให้ใบประเมินมาทำแล้วให้ของที่ระลึกค่ะ
สำหรับความรู้สึกที่มีต่อธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ดิฉันมีความรู้สึกดีมากค่ะที่ได้ไปสัมผัสที่แห่งนั้น ทำให้อยากที่จะไปบ่อยๆ เพราะสถานที่แห่งนี้ไม่ได้ทำให้เราสนุกและชื่นชมความสวยงามโดยรอบและภายในตำหนักเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้เราได้มีความรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดิฉันเชื่อว่าการที่เราได้ไปแค่ครั้งเดียวมันไม่ได้ทำให้เราสามารถรับรู้ทุกอย่างที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้ได้หมดภายในวันเดียว ถ้าหากเราได้ไปเยี่ยมชมบ่อยครั้งมันอาจจะทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นๆเรื่อยก็เป็นได้ ส่วนการไปของดิฉันครั้งนี้ก็นับว่าเป็นการไปครั้งที่สามแล้วค่ะ ก็ยังประทับใจเหมือนเดิมค่ะ พร้อมทั้งได้ถ่ายรูปมาให้อาจารย์ได้ดูด้วยค่ะ ไปทุกครั้งก็ถ่ายรูปทุกครั้งเนื่องจากวิวสวยมากค่ะ ไม่ว่าจะมุมไหนก็สวยราวกับว่าอยู่เมืองนอกเลย ก็สถาปัตยกรรมที่นั่นเป็นแบบแบบเรอเนซองส์ ผสมผสานกับลวดลายศิลปะแบบบาร็อก ประตูวังสร้างด้วยเหล็กดัดและเสาปูนประดับลวดลายปูนปั้นที่งดงาม กึ่งกลางสนามมีน้ำพุประดับขอบบ่อด้วยรูปเงือกฝรั่งชายหญิงและสัตว์น้ำต่างๆ ดิฉันจึงอดใจไม่ได้ที่จะถ่ายรูปเก็บไว้ค่ะ สุดท้าย ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์กฤษฎา เป็นอย่างสูงนะคะ ที่ทำให้ดิฉันได้ไปที่นั่นอีกครั้งค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวมาริษา กำลังมาก
รหัส 54127326043

น.ส.พรนภัส โกไสยาภรณ์

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2554 ข้าพเจ้าได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยที่บางขุนพรหมแล้ว มีทั้งด้านความสวยงามของอาคารต่างๆและความสงบเงียบ บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ยังได้รับความรู้ต่างๆมากจากการเดินชมห้องที่ได้จัดแสดงสิ่งต่างๆ และได้ฟังคำบรรยายจากเจ้าหน้าที่ถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เดินชมนิทรรศการดูเงินตราต่างๆ ทั้งพดด้วง เหรียญ เงินต่างประเทศและอื่นๆอีกมาก สถานที่บางขุนพรหมแห่งนี้ถือว่าเป็นวังเก็บเงินตราชนิดต่างๆลักษณะแปลกๆของประเทศไทยให้เราได้ศึกษาดู ที่ไม่ค่อยจะมีในประเทศหรือไม่มีแล้วทั้งในประเทศและก็นอกประเทศ ยังมีเครื่องพิมพ์เงินในสมัยก่อนพร้อมทั้งเครื่องนี้ยังสามารถใช้ได้จริงในปัจจุบัน และยังมีวิดีทัศน์ของคนสมัยก่อน แล้วยังมีเกมส์การเล่นหุ้น เกมส์ทายปัญหาเกี่ยวกับเงินตราว่าอยู่ในยุคไหน เป็นเกมส์ที่ช่วยในการฝึกสมอง ฝึกวัดความรู้ไปในตัว นอกจากนี้ก็ได้ไปรับประทานอาหารที่เจ้าหน้าที่ได้จัดไว้ให้ อาหารอร่อยมาก ไม่ทำให้ข้าพเจ้าผิดหวังจริงๆที่มาได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนมันเป็นอะไรที่แปลกใหม่กับชีวิตมาก ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ความรู้มากมาย และยังได้ทานอาหารอร่อยๆ พร้อมทั้งบรรยากาศและตึกที่มีความเก่าเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากมากในปัจจุบัน

นางสาวพรนภัส โกไสยาภรณ์

54127326012

สาขา การเงินการธนาคาร

ผมได้เข้าไปเที่ยวชมตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๑๕๕๔ มีการจัดแสดงธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย มี ธนบัตรที่อัญเชิญภาพพระราชกรณียกิจมาบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุการณ์งานอันยิ่งใหญ่ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”สู่การทรงงานตามลำดับขั้น และเส้นทางการทรงงานเพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าจนเกิดประโยชน์สุขอย่างแท้จริงตามพระราชปณิธาน และยังมีธนบัตรหาชมยากกว่า ๑๐๐ ฉบับ ตั้งแต่ต้นรัชกาลมาจัดแสดงไว้ด้วยกัน มีธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจนั้น มีคุณค่าเปรียบดังจดหมายเหตุสำคัญของชาติและเป็นสิ่งเตือนใจให้น้อมนำแนวพระราชดำริไปใช้เพื่อให้เกิดความสุขอันยั่งยืน แล้วก็มีเส้นทางแห่งการทรงงาน บอกเล่าเรื่องราวการทรงงานเพื่อพสกนิกรในภูมิภาคต่างๆผ่านเส้นทางทุรกันดาร เข้าไปทรงแก้ปัญหา บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎรทุกหมู่เหล่าอันเป็นพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่ที่นำมาซึ่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ มีธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจพร้องความหมายและเรื่องราวน่าประทับใจข้างหลังภาพ คือการทรงงานเพื่อสร้างประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้กับชาวไทย และยังมีธนบัตรที่หาชมยากของรัชกาลปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรเลขสวย แบบร่างสี และตัวอย่างธนบัตรซึ่งไม่อาจหาชมได้ที่อื่น สาธิตการแกะแม่พิมพ์ธนบัตร นอกจากนี้ยังจัดแสดงธนบัตรที่ระลึกในวาระอันสำคัญยิ่งนี้ คือ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๑๕๕๔

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร

รหัสนักศึกษา 54127326019

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร รหัสนักศึกษา 54127326019

        จากการที่ได้เข้าไปดูงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันได้รับความรู้มากมาย ดังนี้

1. รู้ประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารแห่งชาติ ขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน  

  2. รู้บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา และควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน  

    3. ได้เห็นพัฒนาการของเงินตราไทยตั้งแต่โบราณ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน หลาย ๆยุคได้ทราบว่าเงินมียุคดังต่อไปนี้ 1. ยุคฟูนัน 2. ยุคทวาราวดี 3. ยุคศรีวิชัย 2. 4.ยุคสุโขทัย 5. ยุคศรีอยุธยา 6.ยุคธนบุรี 7.ยุครัตนโกสินทร์ เงินไซซีหรือเงินขาคีม เงินลาดและเงินฮ้อย

รูปแบงค์ชาติจัดทำโดย นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ สาขา บริหารธุรกิจ เอก การเงินการธนาคาร หมู่ 001 รหัสนักศึกษา 54127326019 กลุ่มเรียน วันอังคาร เวลา 8.00 - 11.00 วันที่ 7 ธันวาคา พ.ศ. 2554

ดิฉันได้ไปพิพิธพัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วังบางขุนพรหม ได้รับความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ และที่สำคัญคือบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางของประเทศ แบงค์ชาติเป็นสถานที่ที่มีความงดงาม พี่ๆนั้นก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดีในการเข้าไปศึกษา สำหรับห้องแรกที่ได้เข้าไปคือ “ห้องเปิดโลกเงินตราไทย” ห้องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับเงินตราในสมัยต่างๆ และมีเรื่องราวที่ย้อนอดีตสุวรรณภูม ดินแดนทองของกา...รค้า ตั้งเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินตราก็ใช้เครื่องประดับ ลูกปัด อาวุธแทนเงิน และเมื่อเวลาต่อมาก็มีการเริ่มใช้เงินตรามาเป็นสื่อในการซื้อสินค้า นอกจากเรื่องราวของประวัติก็ได้เห็นเงินตราของสมัยต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น เงินตราสมัยโบราณ เงินพดด้วง และเงินกษาปณ์ไทย ที่วิวัฒน์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในห้องนี้นอกจากมีเงินตราแล้วยังมี Multimedia แสดงกรรมวิธีการทำเงินพดด้วง และบรรยากาศช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้เข้าใจมากขึ้น ถือเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ได้ดีมากค่ะ เเละสุดท้ายของห้องนี้ก็เป็นห้องกษาปณ์ไทย ห้องที่สองคือ “ห้องธนบัตรไทยเละธนบัตรต่างประเทศ” ห้องธนบัตรไทยนี้ก็จัดแสดงธนบัตรที่หายาก หรือแทบจะไม่เคยพบเห็นเลย นอกจากที่นี่ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นธนบัตรแบบแรก ที่เรียกกันว่าเงินกระดาษ หรือหมาย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และธนบัติสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ก้ยังมีธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรที่สวยงามน่าเก็บสะสม และยังได้เรียนรูเพิ่มเติมจาก Diorama แสดงถึงเรื่องราวของธนบัตรไทยในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รู้จักวิธีการผลิตธนบัตร วิธีสังเกตธนบัตรไทย ได้พบกับธนบัตรต่างประเทศอีกมากมาย สำหรับห้องที่สามที่ได้เข้าชมคือ “ห้องบริพัตร” เป็นห้องที่จัดแสดงพระประวัติของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ที่ประทาน กำเนิดวังบางขุนพรหม สถานที่ที่งดงามแห่งนี้ และยังได้พบกับ หุ่นจำลองของพระองค์ และสิ่งของที่ทรงคุณค่า เช่น ฉลองพระองค์ เคื่องประดับส่วนพระองค์ และสิ่งของต่างๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับท่านและเต็มไปด้วยความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รู้จากที่ไหนมาก่อน และที่สุดท้ายที่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้นั่นคือ ตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจัดนิทรรศการ “ ภัทรมหาราช ธนบัตชาติไทย” ที่นี้ก็จัดแสดงธนบัตรมากมาย ที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งธนบัตรในอดีต ธนบัตรปัจจุบัน ธนบัตรที่ระลึกมากมาย และยังได้ความรู้เกียวกับพระกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย หลังจากที่ดิฉันได้เข้าไปเยี่ยมชมทำให้ได้รับความรู้มากมาย ที่ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ

จากที่ได้ไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า “แบงค์ชาติ” ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ ที่สืบทอดความเป็นแหล่งเรียนรู้ ตั้งแต่ครั้งเป็นบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้ จวบจนปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้นแบบการบริหารและการจัดการเรียนรู้ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราไทยที่สมบูรณ์และได้รับมาตรฐานสากล” ในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตรา ประวัติศาสตร์ และบทบาทหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศตลอดจนเรื่องราวของวังบางขุนพรหม เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย

พอได้เข้ามาในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยและรู้สึกประทับใจในหลายๆสิ่ง นั้นก็คือ สถานที่ที่กว้างขวาง และงดงามมาก ยังมีทิวทัศน์ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ในส่วนของพระตำหนัก ประกอบไปด้วย ห้องธนบัตรไทย ห้องเปิดโลกเงินตราไทย ห้องธนบัตรต่างแระเทศ ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ห้องบริพัตร ห้องเชิดชูเกียรติ ห้องจุมภฎพงษ์บริพัตร ห้องประวัติและการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องสีน้ำเงิน และห้องสุดท้าย คือ ห้องสีชมพู ซึ่งห้องสีชมพูนี้ดิฉันชอบมาก เพราะในห้องเป็นสีชมพูทั้งหมด ซึ่งในอดีตเคยเป็นห้องท้องพระโรงสำหรับแขกสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

และวันที่ไปเยี่ยมชม ทางพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ชื่อนิทรรศการ “ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย” เป็นการจัดแสดงธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกในบรรดาธนบัตรแห่งรัชสมัย เป็นการรวบรวมธนบัตรหาชมยากมากกว่า 100 ฉบับ และได้แบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่

โซน 1 บทนำนิทรรศการ ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย เป็นการรวบรวมธนบัตรที่มีภาพพระราชกรณียกิจ และ จดหมายเหตุสำคัญของชาติ

โซน 2 เอกธนบัตรรัชกาลที่ 9 : จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย เป็นการจัดแสดงธนบัตรที่บันทึกภาพพระราชกรณียกิจพร้อมความหมายและเรื่องราวน่าประทับใจข้างหลังภาพ

โซน 3 เส้นทางแห่งการทรงงาน เป็นการบรรยายเรื่องราวการทรงงาน การแก้ไขปัญหา บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎรทุกหมูเหล่า

โซน 4 เอกธนบัตรหาชมยากรัชกาลที่ 9 : ธนบัตรหาชมยาก เป็นการจัดแสดงธนบัตรหาชมยากของรัชกาลปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรเลขสวย

และดิฉันหวังว่าจะได้มาหาความรู้ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยนี้อีกครั้ง

นางสาวกรรณิกา โกมล

รหัสนักศึกษา 54127326011

สาขา การเงินการธนาคาร 01

การเดินทางสู่ประตูวังบางขุนพรหม ดิฉันได้นั่งรถเมล์จากประตูมหาวิทยาลัยฝั่งถนนสามเสนเพื่อเดินทางไปสู่ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ภายในวังบางขุนพรหม ถนนสามเสน พอถึงพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เยี่ยมชมต้องทำการแลกบัตรกับพนักงานคุ้มการเยี่ยมชม โดยห้ามนำกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป เข้าไปภายในพิพิธภัณฑ์ จึงต้องเก็บไว้ในล๊อกเกอร์ด้านนอกโดยมีกุญแจล็อคให้เรียบร้อย ภายในพ...ิพิธภัณฑ์จะมีห้องสีชมพู ห้องจัดแสดงเงินไทยในแต่ละยุค แต่ละสมัย ห้องแสดงประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย มีจุดจำหน่ายของที่ระลึก พร้อมทั้งจุดรับประทานอาหารว่างที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดเตรียมไว้ให้สำหรับผู้มาเยี่ยมชม จากการที่ได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า เมื่อก่อนธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตึกของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้มาก่อน โดยเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2485 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด ณ ตึกธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ถนนสี่พระยา (เนื่องจากอาคารที่ทำการสำนักงานธนาคารชาติไทยซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังมีพื้นที่จำกัดไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจธนาคารกลาง จึงขอเช่าอาคารธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ถนนสี่พระยาเป็นสถานที่ทำการ) มี ม.จ.วิวัฒไชย ไชยันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยท่านแรก และทำให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน การพัฒนาระบบการชำระเงิน การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจให้กับรัฐบาล การบริหารจัดการเงินสำรองทางการ การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร การเผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเงิน และการส่งเสริมด้านการศึกษา

ในการไปชมธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ ทำให้ดิฉันทราบถึงประวัติความเป็นมา และบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างละเอียด และได้รับประทานอาหารว่างที่อร่อยมาก การเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้ได้ทราบเรื่องราวในอดีตหลายๆ อย่าง ห้องที่จัดแสดงให้ชมในแต่ละห้องมีความสำคัญมากเมื่อในอดีต และบรรยากาศรอบๆ พิพิธภัณฑ์ทำให้ดิฉันมีความสดชื่นมาก จึงได้เก็บภาพความประทับใจมาไว้

ชื่อ น.ส. เบญจมาศ มีเจริญ การเงินการธนาคาร01 เลขประจำตัว 54127326002

หลังจากที่ได้ไปเข้าชมพิพิธพันธ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันนั้นทางธนาคารได้จัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ภายในนิทรรศการได้มีการจัดแสดงธนบัตรอันมีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาติไทย ธรบัตรที่หาชมได้ยาก และรวมถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เกิดในดินแดนไทยแห่งนี้ ดินแดนที่มีพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆๆนำมาซึ่งความสุขของประชาชน และนอกจากนี้แล้วดิฉันยังได้รับรู้ข้อมูลต่างๆๆๆเกี่ยวกับธนบัตรที่ยังไม่เคยได้รู้มาก่อนอีกมากมาย

นางสาวปัทมาวรรณ คงถาวร

สาขา การเงินการธนาคาร 01

ข้าพเจ้าได้เข้าชมนิทรรศกาลการภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทยที่ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม หรือแบงค์ชาติ โดยเข้ารับฟังจากวิทยากรบรรยาย ข้่าพเจ้าได้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวเรื่องราวพระราชกรณียกิจและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จของพระเจ้าอยู่หัว โดยที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำลงบนธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ และส่วนอีกโซนได้จัดให้ชมกับธนบัตรที่หายาก เช่น ต้นแบบของธนบัตร ธนบัตรเลขสวย ธนบัตรเก่าที่ซื้อขายกันราคาประมูลนั้นสูงมาก เป็นต้น ส่วนที่ข้าพเจ้าประทับใจ คือการแกะสลักแบบพิมพ์นั้นทางธนาคารไม่ได้นำของจริงมาจัดแสดงแต่ ได้นำแบบพิมพ์มาจัดแสดงให้ดูแทนเนื่องจากเป็นความลับ การแกะสลักแบบพิมพ์นั้นจะต้องใช้ความปราณีตและสมาธิในการแกะเป็นอย่างมาก ซึ่งการเข้าชมในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์และความรู้เป็นอย่างมากทำให้ข้าพเจ้ารู้คุณค่าของเงิน และการใช้เงินอย่างเป็นประโยชน์

ข้อ1. ตอบ การที่สิ่งไหนจะถูกเรียกว่าเงินได้นั้น ต้องมีหน้าที่ 3 อย่างด้วยกันคือ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) คือ คนทุกคนต้องยอมรับในการที่สิ่งๆนั้นเป็นสื่อกลาง เวลาพ่อค้าขายของให้กับลูกค้าก็ต้องยอมรับเงินที่ลูกค้านำมาให้ (ดังที่เขียนไว้ด้านหน้าธนบัตรทุกใบว่า ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)

2. สามารถเป็นหน่วยวัดได้ (Unit of account) หรือสามารถแยกย่อยได้ ดังที่ได้กล่าวมาในข้อหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องการขายเป็นหน่วยย่อย ก็สามารถใช้เงินมาแทนได้ โดยผู้เลี้ยงหมูก็จะขายหมูให้พ่อค้าคนกลาง แล้วพ่อค้าคนกลางก็จะไปแยกขายหาคนซื้อเอาเอง (บวกกำไรเป็นค้าหาคนซื้อและรับความเสี่ยงที่หมูจะเน่าไป)

3. เก็บรักษามูลค่าได้ (Store of value) เนื่องจากเงินไม่เสื่อมสภาพ ไม่เน่าเสีย เหมือนสินค้าปกติทั่วไป ไม่มีตกรุ่นไม่มีเก่าเหมือน ipod iphone ราคาหรือมูลค่าของมันก็ยังคงเดิม วันรุ่งขึ้นหรือวันถัดๆไปก็ยังสามารถเอาไปซื้อหมูมากิน ซื้อข้าวมากินได้เหมือนเดิม (กรณีนี้ขอยังไม่พูดถึงเรื่องเงินเฟ้อนะครับ เดี๋ยวจะงงกว่าเดิม)

ในความเป็นจริง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกนำมาใช้เป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นทอง เงิน ทองแดง ข้าว เกลือ หิน เปลือกปอย บุหรี่ หรืออื่นๆ แต่หลายๆสิ่งหลายๆอย่างก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นเงินในรูปแบบปัจจุบัน และกำลังวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต โดยอาจอยู่ในรูปของเครดิตต่อไป แต่มิติที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วกว่าในอดีต ไม่ว่าการค้าที่เป็นแบบ globalization การเชื่อมโยงทางข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็อาจทำให้เงินวิวัฒนาการต่อไปได้อีกครับ

ข้อ3. ตอบ การวิเคราะห์สินเชื่อ

ในแง่จุลภาค การให้สินเชื่อในทางปฏิบัติ นั้น นักการธนาคารจะต้องวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะได้รับการชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากการให้สินเชื่อเป็นสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงบดุลและเป็นกิจกรรมหลักในการประกอบการของธนาคาร ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะทางการเงินของธนาคาร ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีการวิเคราะห์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย การวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

ข้อ5. ตอบ ดัชนีราคาผู้บริโภคคือ นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณเนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

ข้อ7. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการแถลงสื่อสารต่อประชาชน ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายในระยะหนึ่งปีข้างหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ทิศทางนโยบาย และแนวคิดที่มาของนโยบายดังกล่าว และเพื่อเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของแบงก์ชาติซึ่งผมและพนักงานแบงก์ชาติทุกคนถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของธนาคารกลางที่ดี ผมจึงขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนทุกท่านอย่างยิ่ง ที่ได้สละเวลามาร่วมงานแถลงในวันนี้

สภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ

หากมองย้อนกลับไป ผมคิดว่าปี 2553 น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย และอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ในด้านต่างประเทศ กลุ่มเศรษฐกิจหลักก็ฟื้นตัวได้ช้า จากตลาดแรงงานที่ซบเซาเรื้อรัง และปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับประเทศไทยแต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะงักไป นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาคการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยแบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในปีที่แล้วได้ถึงประมาณร้อยละ 8

จากแรงส่งทางเศรษฐกิจของปีก่อน กอปรกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่แข็งแกร่ง แบงก์ชาติจึงประเมินว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตต่อเนื่องและจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่กลับมาสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป แต่เป็นไปตามศักยภาพระยะยาวของประเทศ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการชะลอลงจากปีก่อน แต่ก็เพียงเพราะว่า การขยายตัวที่สูงในปีก่อนนั้นเป็นการคำนวณมาจากฐานที่ต่ำผิดปกติ ผมจึงคิดว่าปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เร่งขึ้นมากตามกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

ข้อ8. ตอบ ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนมีดังนี้

1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง โดยจะปรับภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 91, 95 , E10, E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 3.30 บาท เหลือลิตรละ 0.0165 บาท จากปัจจุบันที่จัดเก็บลิตรละ 3.3165 บาทต่อลิตร และหากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดแล้วจะทำให้ลดลงได้ลิตรละ 3.88 บาท เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท

ขณะที่น้ำมันดีเซล บี2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท เหลือลิตรละ 0.005 บาท หรือลดลงได้ลิตรละ 2.71 บาท และลดภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท เหลือลิตรละ 0.0048 บาท หรือลดลงได้ ลิตรละ 2.45 บาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 ก.ค. 51 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช่วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท

2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง

3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท

4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท

5. จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ คาดว่าจะใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท

6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางรัฐจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยหน่วยงานต่าง ๆ จะยังคงได้รับรายได้เช่นเดิม แต่รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนให้โดยคาดว่า จะใช้เงินทั้งหมดประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

ผมคิดว่าที่นายสมัคร สุนทรเวช นั้นคิดมาตรการขึ้นมานั้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ในสภาวะเข้าตราจนจริงแล้วยังสามารถทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นที่จะช่วยให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตนี้ได้

ข้อ9. ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ข้อ10. ตอบ ตั๋วเงิน หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ในวงธุรกิจทั่วไป ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน จะใช้ตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)

2.ตั่วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

3.เช็ค (Cheque)

1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ส่วนตั๋วแลกเงิน คือ มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั่วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

ตั๋วทั้งสองใบแตกต่างกันตรงที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ไว้ใช้สำหรับเรียกเก็บเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีคำมั่นสัญญาไว้ต่อกันว่าสักวันจะต้องคืนเงินก้อนนี้ให้กับคนนี้ตามเวลาที่ได้สัญญากันเอาไว้แล้วส่วนตั๋วแลกเงินใช้สำหรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เราได้หยิบยืมเงินเค้ามาแล้วนั้นเพื่อทำธุระบางอย่างก็ตาม ลูกหนี้จะเป็นคนออกเท่านั้น

ข้อ11. ตอบ ธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ปละใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินนั้นตามตั๋วแลกเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการอื่น ๆ

2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ พิจารณาได้จากบัญชีงบดุลของธนาคารพาณิชย์ซึ่งแสดงแหล่งที่มาของเงินจากบัญชีหนี้สินและทุน และแสดงการใช้เงินจากบัญชีสินทรัพย์

3. ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยนำเงินสดสำรองส่วนเกินให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และทำลายเงินฝากเมื่อผู้ฝากถอนเงิน หรือผู้กู้นำเงินมาใช้คืน ปริมาณเงินฝากที่ถูกสร้างหรือทำลายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าตัวทวีของเงินฝากและปริมาณเงินฝากที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น

4. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบสาขาและเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาดำเนินงานในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของไทยไปเปิดสาขาในต่างประเทศเช่นกัน ให้บริการด้านการค้าต่างประเทศและระดมทุนในตลาดการเงินที่สำคัญของโลก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์มีวิวัฒนาการมานานหลายร้อยปี โดยในระยะแรกดำเนินในรูปธุรกิจการเงิน ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนเงินและโอนเงิน ต่อมาได้ทำหน้าที่ในการสร้างและทำลายเงินฝากโดยช่างทองในประเทศอังกฤษ และได้เริ่มมีการควบคุมดูแลโดยธนาคารกลางและรัฐบาลตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ลักษณะและวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้น ๆ

2. ระบบธนาคารพาณิชย์ตามสภาพการจัดการและขอบข่ายการดำเนินงานอาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ ธนาคารเดี่ยว ธนาคารสาขา และธนาคารกลุ่ม

3. ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ในการรับฝาก การให้กู้ยืม การโอนเงิน การให้บริการต่างๆ และการจัดการธุรกิจต่างประเทศ

4. ธนาคารพาณิชย์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก เพราะเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่ใหญ่ที่สุด ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีความผิดชอบต่อสาธารณะชน ระบบเศรษฐกิจ ลูกค้า ตลอดจนผู้ถือหุ้น และพนักงานของธนาคาร

วิวัฒนาการณ์ของธนาคารพาณิชย์

การกำเนิดธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยมีช่างทองเป็นนายธนาคารพาณิชย์รุ่นแรก ธนาคารพาณิชย์อาจล้มละลายได้ ถ้าให้กู้ยืมมากเกินไป เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถใช้คืนเงินกู้ได้ และผู้ฝากเงินส่วนมากยังไม่สามารถถอนเงินฝากคืนได้ จะทำให้ผู้ฝากเงินรายอื่น ๆ หันมาถอนเงินฝากมากยิ่งขึ้น ในที่สุดธนาคารไม่มีเงินจ่ายคืนให้ จึงอาจถึงล้มละลายได้

หน้าที่และความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์

1. บริการอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้เช่าตู้เซฟนิรภัยเพื่อเก็บของมีค่า การให้คำปรึกษาในการศึกษาต่อต่างประเทศ

2. การที่ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ใช้ชื่อของธนาคารไปทำสัญญายืมเงินจากต่างประเทศ โดยไม่นำเงินมาเข้าบัญชีธนาคารถือว่าผู้บริหารของธนาคารนี้ ขาดความรับผิดชอบต่อลูกค้า

นางสาว ภคินี สิริชื่นสุวรรณ

ข้อที่ 1.

บทบาทหน้าที่ของเงิน

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรากันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทั่วไปการค้าขายจะมีการพลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงผู้ยอมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใช้เครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู่ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของเงินที่ดี

เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม มีเสถียรภาพในมูลค่า มีความคงทนถาวร แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้และสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้จ่าย

ข้อที่ 6.

ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วน ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพก็ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การรักษาพยาบาล ส่วนพวกสินค้าฟุ่มเฟือยก็ได้แก่ บริการส่วนบุคคล พาหนะ และบริการการขนส่ง การบันเทิง ยาสูบ และเครื่องดื่มที่ทีแอลกอฮอล์

ข้อที่ 7.

ประเทศไทยตกอยู่ภาวะการเงินแบบ ภาวะเงินฝืด

สาเหตุของเงินฝืด

เงินฝืดเป็นภาวะที่อุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีมากว่าอุปสงค์มวลรวม เนื่องจากปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอกับความต้องการถือเงิน หรือความต้องการใช้เงินของประชาชน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการ

2. การที่ประเทศมีฐานะดุลการค้า ดุลการชำระเงินขาดดุลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้ประเทศต้องสุญเสียเงินตราให้แก่ต่างประทศ ส่งผลให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีน้อยลง

3. รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้ปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินน้อยลง)

4. สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

5. ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เช่น การที่ธนาคารกลางประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงตามกฎหมาย หรือการประกาศใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณเงินในบทเศรษฐกิจน้อยลง

6. รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบเงินดุล กล่าวคือ รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ทำให้มีปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินลดลง)

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดสารมารถแก้ไขได้ด้วยนโยบายการเงินและการคลัง ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ นั้นคือจะต้องใช้นโยบายในการเพิ่มอุปสงค์รวมให้มากขึ้น ด้วยการใช้นโยบายการเงินซึ่งจะต้องเพิ่มปริมาณเงินให้มากขึ้น ซื้อคืนพันธบัตร ที่ขายให้กับประชาชนตอนเกิดภาวะเงินเฟ้อ กำหนดนโยบายให้ ธนาคารพาณิชย์และสถาบัน การเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น โดยลดอัตราเงินฝากสำรองให้น้อยลงทำให้ธนาคาร มีเงินเหลือพอที่จะปล่อยให้กู้มากขึ้น โดยการลดอัตราเงินสดสำรอง, ลดอัตราส่วนลด, ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดเป็นต้นถ้าใช้นโยบายการคลัง ก็ต้องเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐโดยกำหนดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เช่นสร้างระบบสาธารณูปโภค ขุดหนองคลองบึง สร้างถนนหนทาง เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงาน, ลดอัตราภาษีแก่ประชาชนเพื่อให้มีเงินเหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอย เร่งสร้างงาน, หรือก็คือการใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ฯลฯ

ข้อที่ 8.

นโยบาย 6 มาตรการ คือ

1. ลดอัตราภาษีน้ำมัน เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำมันราคาถูกลงและรัฐจะยอมแบกภาษีไว้ 6 เดือนเพื่อรองรับเมกะโปรเจ็คเกิดขึ้น

2.ชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มแอลพีจี ในครัวเรือน เพื่อรักษาสภาพครัวเรือน

3.ลดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำประปา สำหรับผู้ที่ใช้ไม่เกิน 50 คิวต่อหนึ่งเดือน

4.จ่ายค่าไฟฟ้าถ้าใช้ไม่เกิน 80 ยูนิต แต่หากใช้ 81-150 ยูนิต รัฐบาลจะจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

5.ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยจัดรถเมล์ร้อนขึ้นฟรี 800 คันโดยจะมีรถออกวิ่งรถคันที่เก็บเงินกับไม่เก็บเงินวิ่งคันเว้นคัน

6.รถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศไม่เสียเงินทั่วประเทศ

ในมุมมองความคิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าดีนะค่ะ จะได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน

ควรปรับปรุงในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆให้ลดลงมากกว่านี้ และควรเพิ่มเติม ในเรื่อง ลดภาษีอากรให้แก่ประชาชน

ข้อที่ 9.

ภาวะเงินเฟ้อ inflation หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ภาวะเงินเฟ้อได้ประโยชน์

ภาวะเงินฝืดเสียประโยชน์

ข้อที่ 10.

ตั๋วสัญญาแลกเงิน ( Promissory Notes )

มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

แต่

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน"

ข้อที่ 11. ธนาคารพาณิชย์ ที่กระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน การออม

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารเกียรตินาคิน

ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

ธนาคารทหารไทย

ธนาคารทิสโก้

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย

ธนาคารธนชาต

ธนาคารยูโอบี

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ เพื่อรายย่อย

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธนาคารออมสินธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ข้อที่ 12

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีภารกิจเกี่ยวข้องกับระบบธนาคารพาณิชย์ใดบ้าง คือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เช่น การจำหน่ายพันธบัตรกองทุน การจำหน่ายหลักทรัพย์โดยวิธียื่นซองเสนอราคาและทรัพย์สินรอการขายของกองทุน

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งดำเนินการปิดกองทุน

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

ข้อ 1

หน้าที่ของเงิน

ด้วยปัญหาข้างต้น เงินจึงเกิดขึ้นและทำหน้าที่ดังนี้

• เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)

• เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value)

• เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)

• เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment) หน้าที่นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกัน เพราะการกำหนดเป็นการคืนด้วยเงินนั้น ย่อมที่จะดีกว่าการกำหนดการคืนด้วยสินค้า ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งด้านขนาด ปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสินค้าบางอย่างยังอาจเน่าเสียได้ง่าย

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างแหมาะสม

ข้อ 3

หลัก 5’C ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

ปัจจุบันมีผู้สอบถามมาทางโพสต์ทูเดย์จำนวนมาก เกี่ยวกับเกณฑ์ของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนว่า ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่ออย่างไร คำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง ในการอนุมัติสินเชื่อ เพราะมีปัญหาในการขอสินเชื่อบ่อยครั้ง ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากปริมาณหนี้เสียมีเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงขอให้ทนายคลายทุกข์นำหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อมานำเสนอในโพสต์ทูเดย์ ด้วยความยินดีทนายคลายทุกข์จึงขอจัดเต็มเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารจะให้ความสำคัญ และพิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อให้กับท่านหรือไม่ หรือจะปล่อยมากหรือน้อย หรือปล่อยแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ เป็นข้อ ๆ ดังนี้ ซึ่งเรียกกันว่า หลัก 5’C ได้แก่

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

3. เงินทุน (CAPITAL)

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

5. สถานการณ์ (CONDITION)

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

อุปนิสัยของลูกค้า เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่ หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่ หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า โครงการนั้น ๆ ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้ ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ จากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่ เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้ กลับนำไปใช้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

3. เงินทุน(CAPITAL)

โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไร เพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้น เพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้น สัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไร เช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำ ก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง เช่น ธุรกิจAPARTNENT ให้เช่า ซึ่งมีรายรับไม่มากนักเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ผู้กู้คงต้องใช้เงินลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มองอีกด้านหนึ่ง ก็คือรายได้ของธุรกิจที่เป็นข้อกำหนดความสามารถในการขอสินเชื่อได้เป็นจำนวนเท่าไร แต่ในทางธุรกิจแล้วการที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อไม่สามารถขอสินเชื่อได้ตามที่กำหนด ผู้กู้ควรเพิ่มทุนเพียงพอ และธนาคารก็ไม่ควรที่จะให้กู้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ มิฉะนั้น จะเป็นผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

ในการวิเคราะห์สินเชื่อ ถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นหัวใจสำคัญแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หลักประกัน เพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมาย ทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกัน ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไร โดยพิจารณาจากความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อย ถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

แม้ว่าหลักประกันจะสำคัญมีอยู่บ่อยครั้งที่ธนาคารจะให้สินเชื่อชนิดที่ไม่มีหลักประกัน (CLEAN BASIS) เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้ามีฐานะทางการเงินดี มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ติดต่อกับธนาคารมาเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่ขอด้วยว่ามีความเสี่ยงเพียงใด อาจจะเสี่ยงน้อย เข่น การขอออก L/G (ยื่นซอง) โดยไม่เอางาน การขายลดงวดงาน ซึ่งผู้กู้ได้ส่งมอบงานแล้ว ขอรับเงินเท่านั้น หรือการเปิด L/C สั่งซื้อเครื่องจักร ธนาคารอาจเรียกหลักประกันแค่บางส่วน เพราะจะได้เครื่องจักรมาเป็นหลักประกันอีกส่วนหนึ่ง

5. สถานการณ์ (CONDITION)

เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอ หมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที วิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป ควรกระจายไปในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท

ข้อ 5

ดัชนีราคาผู้บริโภค คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการ ที่ใช้ในการบริโภค ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

- ในขณะนี้ค่าครองชีพ Cost of living สูงหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

- อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไร

- บริษัทจะต้องเพิ่มลดราคาสินค้า

การรายงานตัวเลขของดัชนี ผู้บริโภคนั้นมี 2 ชนิด

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน core cpi คือดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณ เนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้ เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป cpi คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด

ดัชนีของผู้บริโภคจึงเห็นถึงอัตตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมาค้เพิ่มขึ้น

ข้อ 6

ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ มี 2 โครงสร้าง ได้แก่

(1) โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (Classification of Products by Activity : CPA ) ประกอบด้วย ดัชนีรวม และ 3 หมวดใหญ่ คือ

- หมวดผลผลิตเกษตรกรรม

- หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง

- หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(2) โครงสร้างแบ่งตามขั้นตอนการผลิต

(Stage of Processing : SOP ) ประกอบด้วย

- หมวดสินค้าสำเร็จรูป

- หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( สินค้าแปรรูป )

- หมวดสินค้าวัตถุดิบ

การจัดทำดัชนีราคาผู้ผลิต จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

ทั้งรายการสินค้า (Items) ลักษณะจำเพาะสินค้า (Specifications) แหล่งจัดเก็บราคาและน้ำหนักความสำคัญของสินค้า (Weights) ตลอดจนปีฐาน (Base year) ที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยลักษณะจำเพาะสินค้าและแหล่งจัดเก็บข้อมูลราคาจะดำเนินการปรับปรุงทุกปี เพื่อให้ทันสมัย ส่วนการปรับปรุงโครงสร้าง รายการ น้ำหนักสินค้าและปีฐาน จะปรับทุก 5 ปี ตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากข้อมูลในตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิตของประเทศไทย (Input-Output Table of Thailand) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรกรรม จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลเหมืองแร่ และอุตสาหกรรม จากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

ข้อ 9

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่าเป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ข้อ 10

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่ในตั๋วเงิน แสดงว่ายอมให้ผู้มีสิทธิในตั๋วนั้นลงวันที่ได้โดยสุจริต ตั๋วเงินนั้นย่อมสมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำมั่นอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน มีวัยถึงกำหนดใช้เงิน (ถ้าไม่มี ถือว่าใช้เงินเมื่อเห็น) / มีสถานที่ใช้เงิน (ถ้าไม่มี ให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) / มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋ว (ถ้าไม่ระบุวันออกตั๋ว ผู้ทรงตั๋วชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริต จะจดวันถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ออกตั๋วไว้ ให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) และที่สำคัญคือ ต้องลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว อนึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องระบุชื่อผู้รับเงินเสมอ จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

ประโยชน์

• ธนาคารเป็นผู้รับรองและค้ำประกันการจ่ายเงินตามตราสารทางการเงิน เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ เช็ค เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการชำระเงินตามกำหนดเวลาให้คู่สัญญา

• เพิ่มความน่าเชื่อถือทางด้านการเงิน เพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจ

• สะดวกใช้งาน ทำได้รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก เมื่อเปรียบเทียบกับการค้ำประกันด้วยหลักประกันอื่น

ข้อ 12

ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551

1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร

เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน

ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ได้แก่ รับเงินฝาก กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท.

บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. (ไม่รวมสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา) การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล

เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล การเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการซื้อขายโลหะทองคำและเงิน การซื้อขายและโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์และใบหุ้น การควบคุมและการรวมไว้ในแหล่งกลางซึ่งเงินปริวรรตต่างประเทศ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกจากนี้ อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยมีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินส่งรายงานหรือชี้แจงเพื่ออธิบายเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพันได้

6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

7. กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ

8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

ก. ส่วนงานในสำนักงานใหญ่ ประกอบด้วย

(1) สายนโยบายการเงิน มีหน้าที่ เสนอแนะการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การประเมินผลกระทบของมาตรการต่างๆ ที่จะมีผลต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

(2) สายตลาดการเงิน มีหน้าที่ ดำเนินการผ่านตลาดการเงินตามกรอบนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา การบริหารทุนสำรองทางการ และกำกับ ดูแล การควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตรา

(3) สายนโยบายสถาบันการเงิน มีหน้าที่ กำหนดนโยบาย และ หลักเกณฑ์ ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน มีความมั่นคง แข็งแกร่ง เป็นที่เชื่อถือของประชาชน และมีความสามารถในการแข่งขันในตลาด

(4) สายกำกับสถาบันการเงิน มีหน้าที่ กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะการดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน

(5) สายช่วยงานบริหาร มีหน้าที่ สนับสนุนระบบการบริหารจัดการงานต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านกฎหมาย สื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูง การปฏิบัติงานภายในของธนาคารแห่งประเทศไทย และงานอื่นซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดชอบของสายอื่น

(6) สายระบบข้อสนเทศ มีหน้าที่ ดำเนินการงานพัฒนาและบริการระบบการชำระเงิน เงินฝากและตราสารหนี้ บริหารจัดการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเศรษฐกิจ การเงิน และธุรกิจสถาบันการเงิน งานระบบข้อสนเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย

(7) สายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร มีหน้าที่ บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล พัฒนาบุคลากร และพัฒนาองค์กร ของธนาคารแห่งประเทศไทย

(8) สายวางแผนและงบประมาณ มีหน้าที่ ดำเนินการงานวางแผน งานงบประมาณ และงานบัญชี ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน รวมถึงการกำกับดูแลสำนักงานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

(9) สายออกบัตรธนาคาร มีหน้าที่ ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาล และบัตรธนาคาร ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

(10) สายตรวจสอบกิจการภายใน มีหน้าที่ พัฒนาระบบการกำกับดูแล และการตรวจสอบกิจการภายใน ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ข. สำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยในภูมิภาค ภายใต้การกำกับดูแลของสายวางแผนและงบประมาณ

มีหน้าที่ ศึกษาติดตามและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงิน กำกับดูแลการประกอบธุรกิจการเงินการธนาคาร ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน และประกอบธุรกิจการธนาคารภายในประเทศในขอบเขตพื้นที่ภูมิภาค คือ

(1) สำนักงานภาคเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

(2) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

(3) สำนักงานภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี และยะลา

ค. ศูนย์จัดการธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสายออกบัตรธนาคาร

มีหน้าที่ ดำเนินการรับเงิน จ่ายเงิน การตรวจนับธนบัตรเพื่อทำลาย การตรวจพิสูจน์ธนบัตรชำรุดและธนบัตรปลอม และการจ่ายค่าแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด มีจำนวน 10 แห่ง คือ ศูนย์จัดการธนบัตร กรุงเทพ ฯ และอีก 9 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัด ระยอง เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี พังงา และหาดใหญ่

ง. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทยในต่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของสายตลาดการเงิน

มีหน้าที่ ศึกษาติดตามและวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจและพัฒนาการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบริหารทุนสำรองทางการ และปฏิบัติงานในการติดต่อกับสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างประเทศ และงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีสำนักงานตัวแทน 3 แห่ง ได้แก่

1. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

2. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย นครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร

3. สำนักงานตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย นครปักกิ่ง ประเทศจีน

ข้อ1. ตอบ หน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน

2. เป็นหน่วยวัดมูลค่า

3. เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า

4. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้

ความสำคัญของเงิน คือ ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. เป็นสิ่งที่หายาก

2. มีมูลค่าคงที่

3. มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้

4. นำติดตัวไปได้สะดวก

5. สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้

6. มีความคงทน

ข้อ3. ตอบ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้

4. Collateral คือ หลักประกัน

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

ข้อ5. ตอบ ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพก็ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การรักษาพยาบาล ส่วนพวกสินค้าฟุ่มเฟือยก็ได้แก่ บริการส่วนบุคคล พาหนะ และบริการการขนส่ง การบันเทิง ยาสูบ และเครื่องดื่มที่ทีแอลกอฮอล

ส่วนการเก็บราคาสินค้านั้นเก็บได้จากตลาดต่างๆที่กำหนดไว้เป็นประจำ และจัดเก็บตามลักษณะจำเพาะของสินค้าที่กำหนดให้กับสินค้าแต่ละรายการ ตามการสำรวจความนิยมของ ผู้บริโภค เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน จนถึงรายไตรมาส ตัวอย่างการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ลองคำนวณเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ ปี 2543 กับ ปี 2544 สมมติตัวเลข ปี 2543 เป็น 197.7 และปี 2544 เป็น 202.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2544 เพิ่มจากปี 2543 ดังนี้ = (202.6/197.7) x 100 = 102.5 ดังนั้นดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 102.5-100 = 2.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2544 ที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจบ่งบอกได้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ไม่ถือว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

ข้อ7. ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 4.19 และ2.90 ตามลำดับ สำหรับตลาดแรงงาน เริ่มเห็นสัญญาณการว่างงานเพิ่มขึ้นบ้างจากจำนวนแรงงานที่ขึ้นทะเบียนขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้น เกิดจากหดตัวจากปัญหาอุทกภัยทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการส่งออก การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนขณะเดียวกัน การผลิตและการส่งออกในหลายอุตสาหกรรมยังได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย สำหรับอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง ส่วนเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์มั่นคง

แนวทางการแก้ไข

1.การให้ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

2.การพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย

3.การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ

ข้อ9. ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ คือ การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน ผู้ซื้อก็จะเสียประโยชน์ ผู้ผลิตก็จะได้ประโยชน์

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด คือ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อก็จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ซื้อก็จะได้ประโยชน์ ผู้ผลิตก็จะเสียประโยชน์

ข้อ11. ตอบ 1.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

4.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

5.ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

6.ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

7.ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

8.ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

9.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

10.ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

11.ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

12.ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

13.ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน)

14.ธนาคารซิตี้แบงค์

15.ธนาคารเอชเอสบีซี

ข้อ12. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (bank of thailand) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อในตลาด โดยกำหนดอัตราเงินสำรอง อัตราส่วนลดและการซื้อขายหลักทรัพย์ของรัฐบาล และการกำหนดสถาบันการเงิน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ 273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดังนี้

1. เป็นผู้จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร

2. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน

3. เป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

4. รักษาเสถียรภาพทางการเงิน

5. กำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐาน

6. การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ

นางสาวเบญจมาศ จันทราช

ข้อ1.หน้าที่ของเงิน

• เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)

• เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value)

• เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)

• เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment) หน้าที่นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกัน เพราะการกำหนดเป็นการคืนด้วยเงินนั้น ย่อมที่จะดีกว่าการกำหนดการคืนด้วยสินค้า ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งด้านขนาด ปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสินค้าบางอย่างยังอาจเน่าเสียได้ง่าย

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

ความสำคัญในด้านการผลิต

ในทุกวันนี้ ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างก็แสวงหาเงินมาลงทุนในการประกอบการผลิตหรือทำการค้า โดยหวังผลตอบแทนในด้านกำไรที่เป็นตัวเงินเป็นสำคัญ ในระยะใดที่ผู้ประกอบกาคาดว่าจะได้รับกำไรสูงก็จะมีการลงทุนมาก เช่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในระหว่างเวลาเศรษฐกิจรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 20 จะเห็นได้ว่ามีผู้ประกอบการทั้งหลายได้หาเงินมาลงทุนตั้งโรงงานและจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประกอบการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ในระยะที่จะแสวงหาผลกำไรได้โดยง่าย การใช้จ่ายลงทุนจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคม ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก แทนที่จะต้องผลิตตามที่ผู้ใดผู้หนึ่งต้องการและสั่งทำโดยเฉพาะ

ความสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค

เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในสังคม เงินจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่มือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะตามปกติผู้บริโภคจะได้รบผลตอบแทนจาการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นเงินตราในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้จ่ายเงินรายได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้กว้างขวางกว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของต่อสิ่งของ ในระบบที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะช่วยให้ระบบการแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอ ชุมชนและสังคมมีมาตรฐานในการครองชีพสูงขึ้น เพราะช่วยให้มีการผลิตสินค้าสู่มือผู้บริโภคสูงขึ้น

ความสำคัญในสังคม

ผู้ใดที่ปรารถนาจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน ความมั่นคง ความบันเทิง จะมีฐานะหรือแม้แต่จะแสวงหาอำนาจก็ตาม ก็ต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ทุกชนิด เงินตราจะเป็นหลักประกันท่มั่นคงในระบบการแลกเปลี่ยน แต่ละคนจึงเลือกงานแต่เฉพาะที่ตนเองมีความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตราไปใช้จ่าย การแบ่งงานกันทำ เช่นนี้เป็นลักษณะของสังคมยุคปจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตการค้า และความเป็นอยู่ของสังคมดีขึ้น

ความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ

เงินมีความสำคัญในระบบเศราฐกิจทุกระบบ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจท่เอกชนทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เขามีอยู่ และมีเสรีภาพที่จะเลือกประกอบอาชีพอะไรก็ได้ การผลิตเป็นเรื่องของเอกชนที่จะดำเนินการได้โดยเสรี ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้เงินม่ความสำคัญมาก การใช้เงินจะทำให้ระบบเศรษฐกิจและตลาดขยายตัวออกไป สำหรับระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์นั้นเงินมีความสำคัญเช่นเดียวกัน การจ่ายค่าจ้างแรงงานในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ก็จ่ายเงินและประชาชนก็เอกาเงินไปซื้อสินค้าและบริการเช่นเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจแบบนายทุน จะต่างกันตรงที่รัฐบาลของประเทศคอมมิวนิสต์ก็จะเป็นผู้ตั้งราคาสินค้าและบริการเองเท่านั้น

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. เปนสิ่งที่หายาก 2. มีมูลคาคงที่

3. มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้ 4. นำาติดตัวไปได้สะดวก

5. สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ 6. มีความคงทน

ข้อ 3.ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่

1. ระยะเวลาที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสินเชื่อ

2. ลักษณะของข้อมูลสินเชื่อ

3. ปริมาณของข้อมูลสินเชื่อ

4. ความถูกต้องของข้อมูลสินเชื่อ

5. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรวบรวมข้อมูลสินเชื่อ

หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

ธนาคารจะให้ความสำคัญ และพิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อให้กับท่านหรือไม่ หรือจะปล่อยมากหรือน้อย หรือปล่อยแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ เป็นข้อ ๆ ดังนี้ ซึ่งเรียกกันว่า หลัก 5’C ได้แก่

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

3. เงินทุน (CAPITAL)

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

5. สถานการณ์ (CONDITION)

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

อุปนิสัยของลูกค้า เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่ หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่ หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า โครงการนั้น ๆ ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้ ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ จากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่ เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้ กลับนำไปใช้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

3. เงินทุน(CAPITAL)

โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไร เพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้น เพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้น สัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไร เช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำ ก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง เช่น ธุรกิจ APARTNENT ให้เช่า ซึ่งมีรายรับไม่มากนักเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ผู้กู้คงต้องใช้เงินลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มองอีกด้านหนึ่ง ก็คือรายได้ของธุรกิจที่เป็นข้อกำหนดความสามารถในการขอสินเชื่อได้เป็นจำนวนเท่าไร แต่ในทางธุรกิจแล้วการที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อไม่สามารถขอสินเชื่อได้ตามที่กำหนด ผู้กู้ควรเพิ่มทุนเพียงพอ และธนาคารก็ไม่ควรที่จะให้กู้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ มิฉะนั้น จะเป็นผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

ในการวิเคราะห์สินเชื่อ ถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นหัวใจสำคัญแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หลักประกัน เพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมาย ทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกัน ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไร โดยพิจารณาจากความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อย ถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

แม้ว่าหลักประกันจะสำคัญมีอยู่บ่อยครั้งที่ธนาคารจะให้สินเชื่อชนิดที่ไม่มีหลักประกัน (CLEAN BASIS) เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้ามีฐานะทางการเงินดี มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ติดต่อกับธนาคารมาเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่ขอด้วยว่ามีความเสี่ยงเพียงใด อาจจะเสี่ยงน้อย เข่น การขอออก L/G (ยื่นซอง) โดยไม่เอางาน การขายลดงวดงาน ซึ่งผู้กู้ได้ส่งมอบงานแล้ว ขอรับเงินเท่านั้น หรือการเปิด L/C สั่งซื้อเครื่องจักร ธนาคารอาจเรียกหลักประกันแค่บางส่วน เพราะจะได้เครื่องจักรมาเป็นหลักประกันอีกส่วนหนึ่ง

5. สถานการณ์ (CONDITION)

เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอ หมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที วิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป ควรกระจายไปในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท

ข้อ 4. แนวคิดของเคนส์ ฟรีดแมน

ฟรีดแมนมีความเห็นว่า เงินเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผลผลิต รายได้ และระดับราคาในระบบเศรษฐกิจ

2. สาระสำคัญของทฤษฎีปริมาณเงินสมันใหม่ ได้แก่ การที่ปริมารเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรายได้ ระดับราคา อุปสงค์รวมของสินค้า และสมการความต้องการถือเงินค่อนข้างมีเสถียรภาพ ในขณะที่เศรษฐกิจภาคเอกชนมักจะไม่ค่อยมีเสถียรภาพในตัวเอง ดังนั้น นโยบายการเงินจึงมีความสำคัญมากกว่านโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3. ทฤษฎีปริมาณเงินดั้งเดิมและทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่มีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เน้นความสำคัญของนโยบายการเงิน ในขณะที่ทฤษฎีของเคนส์เน้นความสำคัญของนโยบายการคลัง

ทฤษฎีความต้องการถือเงินของฟรีดแมน

1. ความหมายของเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม มีความหมายกว้างกว่านักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกและเคนส์ เนื่องจากถือว่าเงินทำหน้าที่เป็นที่พักชั่วคราวของอำนาจซื้ออีกด้วย ดังนั้น เงินตามแนวคิดของนักการเงินนิยมจึงครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และมีราคาค่อนข้างแน่นอน

2. ปัจจัยที่กำหนดความต้องการถือเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม ได้แก่ ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราผลตอบแทนจากการถือธนบัตร อัตราผลตอบแทนของการถือหุ้น อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ รายได้ถาวร และรสนิยม ตลอดจนความพอใจของผู้บริโภค

3. สมการความต้องการถือเงินของฟรีดแมน ได้อธิบายถึงสิ่งที่เป็นตัวกำหนดค่า k ในสมการความต้องการถือเงินของสำนักเคมบริดจ์อย่างมีระบบ โดยอธิบายตัวกำหนดค่า k ว่าเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ ที่ระบุไว้

เปรียบเทียบทฤษฎีของเคนส์กับทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่

ทฤษฎีอุปสงค์ของเงินของเคนส์แตกต่างกับทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ในเรื่องต่อไปนี้ คือ

1. เสถียรภาพในฟังก์ชั่นอุปสงค์ของเงิน

2. ความยืดหยุ่นของความต้องการถือเงินต่ออัตราดอกเบี้ย

3. ความยืดหยุ่นของความต้องการถือเงินต่อรายได้

4. ความยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายรวมต่ออัตราดอกเบี้ย

5. อิทธิพลของเงินต่อการเปลี่ยนแปลงระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

6. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการควบคุมเสถียร

7. ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินและนโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ข้อ 9.ภาวะเงินเฟ้อแตกต่างกับภาวะเงินฝืด

เงินเฟ้อ (Inflation)

เงินเฟ้อเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืดเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง

ประชาชนเป็นผู้เสียเปรียบจากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ถึงประชาชนจะมีรายได้ที่มากแต่ก็ต้องเสียรายได้ส่วนหนึ่งให้กับรัฐบาลมากขึ้นกว่าเดิม

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

ข้อ10.ตั๋วสัญญาใช้เงิน (อังกฤษ: promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" (อังกฤษ: maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" (อังกฤษ: payee)

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ การออกตั๋วแลกเงิน

ข้อ11. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (SET:KBANK)

ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ นครธน จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเเอเซีย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) Kiatnakin bank public company limited

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) UNITED OVERSEAS BANK (THAI) PUBLIC COMPANY LIMITED

ข้อ12. -ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)

คือ สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ให้มีฐานะเป็นธนาคารกลางของประเทศทำหน้าที่ควบคุมดูแลระบบการเงินการธนาคาร ของประเทศ เป็นสถาบันที่ดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไร และไม่แข่งขันกับสถาบันการเงินของเอกชน

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

1. ผลิตธนบัตรและออกธนบัตร

2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล (ตัวแทนทางการเงินของรัฐ)

3. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

4. กำหนดนโยบายทางการเงินของประเทศ

5. รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

6. กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

7. ควบคุมดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่าง ๆ

การดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันควรปรับปรุงในเรื่องของการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพราะประเทศไทยควรจะมีการควบคุมค่าเงินบาทให้แข็งตัวมากที่สุด

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักของราคาวัดที่ขายส่งหรือระดับผู้ผลิต ปล่อยรายเดือนจาก สำนักแรงงานสถิติ (BLS), PPI แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในตลาดขายส่ง (PPI ถูกเรียกเมื่อดัชนีราคาขายส่ง), อุตสาหกรรมการผลิตและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งหมดของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคที่ผลิตทางกายภาพที่ทำขึ้น สหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจจะรวมอยู่ แต่การนำเข้าไม่ได้

ปล่อย PPI มีสามตัวเลขดัชนีพาดหัวแต่ละคนสำหรับน้ำมันดิบสินค้าขั้นกลางและเสร็จในระดับชาติ :

1. ดัชนี PPI สินค้าโภคภัณฑ์ (ดิบ) : แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาโดยเฉลี่ยจากเดือนก่อนสำหรับสินค้าเช่นพลังงานถ่านหิน, น้ำมันและเศษเหล็ก (สำหรับการอ่านที่เกี่ยวข้องกับการเห็น Fueling ซื้อขายล่วงหน้าในตลาดพลังงาน .)

2. ขั้นตอนของการประมวลผล PPI (SOP) ดัชนี (กลาง) : สินค้าที่นี่ได้รับการผลิตในระดับบางส่วน แต่จะขายให้กับผู้ผลิตต่อไปที่จะสร้างเสร็จดี ตัวอย่างบางส่วนของผลิตภัณฑ์ SOP เป็นเชื้อเพลิงไม้, เหล็ก, ผ้าฝ้าย, และดีเซล

3. ดัชนี PPI อุตสาหกรรม (จบ) : การผลิตขั้นตอนสุดท้ายและแหล่งที่มาของแกน PPI

หลักของตัวเลข PPI เป็นสถานที่หลักซึ่งเป็นดัชนีสินค้าสำเร็จรูปลบส่วนประกอบของอาหารและพลังงานซึ่งจะถูกลบออกเพราะจากความผันผวนของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ PPI จากงวดก่อนและอัตราการคาดการณ์ประจำปีจะเป็นตัวเลขที่พิมพ์มากที่สุดของการปล่อย

PPI จะมีลักษณะการจับที่ราคาเท่านั้นที่มีการจ่ายเงินในช่วงเดือนการสำรวจตัวเอง หลาย บริษัท ที่ทำธุรกิจปกติที่มีลูกค้าขนาดใหญ่มีอัตราการทำสัญญาระยะยาวซึ่งอาจจะเป็นที่รู้จักกันในขณะนี้ แต่ไม่ได้ชำระเงินจนถึงวันที่ในอนาคต PPI นี้ไม่รวมค่าในอนาคตหรืออัตราการทำสัญญา

PPI ไม่ได้เป็นตัวแทนของราคาในระดับที่ผู้บริโภค -- นี้เป็นซ้ายไป ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นที่เปิดตัวไม่กี่วันหลังจากที่การซื้อขาย PPI เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่ PPI มีการใช้มาตรฐานในปีที่ตะกร้าสินค้าที่ถูกวัดและปีหลังจากที่ทุกคนเป็นเมื่อเทียบกับปีฐานที่มีค่า 100 สำหรับ PPI ของปีที่มี 1982

การเปลี่ยนแปลงใน PPI ควรได้นำเสนอบนพื้นฐานเปอร์เซ็นต์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นจำนวนฐานที่ไม่มีแม้แต่ 100

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มาตรการการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาของ สินค้าอุปโภคบริโภค และ บริการ ที่ซื้อโดยครัวเรือน ดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะกำหนดโดย สำนักแรงงานสถิติ เป็น"วัดจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาในราคาที่จ่ายโดยผู้บริโภคในเขตเมืองสำหรับเป็น ตะกร้าตลาด ของสินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการ." [1]

ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ได้คือการประมาณการทางสถิติที่สร้างขึ้นโดยใช้ราคาของตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของรายการที่มีราคาจะถูกเก็บรวบรวมเป็นระยะ ๆ อนุกรรมการจัดทำดัชนีและดัชนีย่อยที่มีการคำนวณที่แตกต่างกันสำหรับประเภทและหมวดย่อยของสินค้าและบริการจะถูกรวมในการผลิตที่ดัชนีโดยรวมมีน้ำหนักสะท้อนให้เห็นถึงหุ้นของพวกเขาในการรวมของค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ครอบคลุมโดยดัชนี มันเป็นหนึ่งในหลาย ดัชนีราคา ที่คำนวณโดยหน่วยงานสถิติแห่งชาติมากที่สุด อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคประจำปีในปีที่ใช้เป็นตัวชี้วัดของ อัตราเงินเฟ้อ . ดัชนีราคาผู้บริโภคสามารถนำมาใช้เพื่อจัดทำดัชนี (เช่นการปรับผลกระทบของเงินเฟ้อที่) มูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้างเงินเดือน เงินบำนาญ สำหรับการควบคุมราคาและสำหรับ deflating ขนาดทางการเงินเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมที่แท้จริง ในประเทศส่วนใหญ่คือดัชนีราคาผู้บริโภคพร้อมกับประชากรที่ สำรวจสำมะโนประชากร และสหรัฐอเมริกา รายได้ประชาชาติและบัญชีสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสถิติทางเศรษฐกิจที่ดูใกล้ชิดที่สุดของชาติ

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

ข้อ 1 บทบาทหน้าที่ของเงินคือ 1.ต้องเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด 2 เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value) 3. เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account) 4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment)

ความสำคัญของเงินคือ เงินคือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ มีค่าคงที่ เป็นหน่วยวัดมูลค่า เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

คุณสมบัติของเงินเป็นที่ยอมรับของสังคม มีมูลค่าคงตัวหรือมีเสถียรภาพ มีความคงทนถาวร สามารถดูออกง่าย นำติดตัวและพกพาได้สะดวก

ข้อที่ 5 ขั้นตอนการจัดทำดัชนีผู้บริโภค ความหมายของดัชนีราคาดัชนีราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนดกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 2.กำหนดวัตถุประสงค์และลักษณะครัวเรือนดัชนีราคาในการจัดทำดัชนีราคา ขั้นแรกและสำคัญที่สุด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่าดัชนีราคาที่จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ต้องการวัดหรือชี้อะไร สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัด เป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน3 การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีในการสร้างดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่าง ๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในระดับต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและ ชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการบริโภคและการดำรงชีพอย่างไร 4 การจัดทำน้ำหนัก (Weight) และความสำคัญเปรียบเทียบ (Relative importance) ของรายการสินค้า การจัดหมวดหมู่สินค้าโดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จะแยกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 7 หมวด คือ 1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า3. หมวดเคหสถาน4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 6. หมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา 7. หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าจะเผยแพร่ และรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทุก ๆ เดือน การรายงานการเคลื่อนไหวของดัชนีราคามักจะเปรียบเทียบในรูปของร้อยละมากกว่าที่จะเปรียบเทียบตัวเลขของดัชนีราคาโดยตรง

ข้อที่6 ดัชนีราคาผู้ผลิตต่างจากดัชนีผู้บริโภคคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต หมายถึง ดัชนีราคาที่คำนวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้ผลิตมีอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศทางด้านผู้ผลิต 3. เป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของประเทศ 4. เป็นตัวปรับสัญญาซื้อขายระยะยาว 5. เป็นแนวทางกำหนดงบประมาณรายจ่าย แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนดกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายการวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ

ข้อที่ 8 นโยบาย6 มาตรการ 6 เดือน1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง 2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง 3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน 4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน 5. จัด รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท

นอก จากนี้ยังเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้อย่างแท้จริง และคาดว่าจะช่วยบรรเทาการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังได้ จากนโยบาย6มาตรการ 6 เดือน ข้าพเจ้าคิดว่า มาตรการนี้ก้อมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือ ประชาชนไดประโยชน์จากมาตรการนี้มากๆเช่น ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคา เพราะจะได้ลดค่าใช้จ่ายภายในครัวครัวลง และมาตรการที่ว่า จัด รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายก็เป็นการช่วยประชาชนอีกทางหนึ่งซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ลดค่าเดินทาง ซึ่งดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่จะต้องเดินทางไปเรียนทุกๆวันถ้ามีมาตรการนี้ก็จะทำให้ดิฉันได้ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงบ้าง

ข้อ 9 ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วๆไปโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆสาเหตุของเงินเฟ้อมี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง

ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ต่างกันก็คือ ภาวะเงินเฟ้อจะมีค่าเฉลี่ยของสิ้นค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ภาวะเงินฝืดจะมีภาวะของสินค้าที่ลดลงเรื่อยๆ ผู้ที่ได้ประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ คือ 1.ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ 2.ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3.ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง 4.ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

ผู้ที่เสียประโยชน์จากเงินเฟ้อ คือ 1) ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และบำนาญ 2) เจ้าหนี้ 3) ผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่า 4) ผู้มีรายได้ไม่แน่นอน 5) ผู้ที่มีเงินออม ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสภาวะเงินฝืด คือ กลุ่มผู้ได้เปรียบจากกภาวะเงินฝืด1) ผู้ที่มีรายได้ที่ประจำแน่นนอน 2) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย 3) ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง4) ผู้มีรายได้จากค่าผู้ที่เสียประโยชน์จากสภาวะเงินฝืดคือ1) ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นนอน 2) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม 3) พ่อค้านัก 4) ลูกหนี้ 5) ผู้เช่า

ข้อที่ 10 ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้น ในตั๋วแลกเงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

1. ผู้สั่งจ่าย 2. ผู้จ่ายเงิน 3. ผู้รับเงิน ผู้สั่งจ่ายที่ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่ง จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ผู้สั่งจ่ายอาจมีฐานะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้ ตั๋วแลกเงิน ต้องมีรายการตามกฎหมายดังต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย 4. วันถึงกำหนดใช้เงิน 5. สถานที่ใช้เงิน 6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน

8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ลักษณะทั่วไปของการใช้ตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงิน หรือ Bills of Exchange (B/E) เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ผู้กู้ยืมเงินจะออกตั๋วเพื่อเป็นหลัก ฐานในการกู้เงิน ในตั๋วจะกำหนดจำนวนเงินที่สัญญาจะจ่ายคืน ในวันที่ระบุในตั๋ว ส่วนใหญ่จะเป็นตั๋วระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี และไม่มีหลักประกัน

ลักษณะของตั๋วแลกเงินจะคล้ายๆกับตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ Promissory Note (P/N) หรือตั๋วพี.เอ็น. คือเป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินมักจะจ่ายดอกเบี้ยต่างหาก หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ดอกตาม” ขณะที่ตั๋วแลกเงินจะจ่ายดอกเบี้ยในลักษณะของส่วนลด หรือที่เรียกกันว่า “ดอกหัก” คือผู้ออกตั๋วหรือผู้กู้จะได้รับเงินที่ผู้ซื้อหรือผู้ให้กู้หักดอกเบี้ยไว้ แล้ว

1.จงอธิบายบทบาทหน้าที่ของเงิน  ความสำคัญของเงินและคุณสมบัติของเงินที่ดี

 เงิน (money)
เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมยอมรับ
หรือ เงิน หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่สามารถใช้จ่ายในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงใช้ในการชำระหนี้และอื่นๆ ได้ตามต้องการ

หน้าที่ของเงิน
          1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่ใช้จ่ายออกไปเพื่อซื้อสิ้นค้าและบริการต่างๆ จากผู้ผลิต และ ผู้ผลิตก็ใช้เงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ จากครัวเรือน ถ้าไม่มีเงินในระบบเศรษฐกิจ จะก่อให้เกิดความยากลำบาก ในการแลกเปลี่ยนระหว่าง ความต้องการสินค้ากับความต้องการของผู้บริโภคและบริการ
           2. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าและการบริการ อาทิ บ้านหลังนี้มีมูลค่า 2,000,000.00 บาท (สองล้านบาท) รถยนต์คันนี้มีมูลค่า 850,000.00 บาท (แปดแสนห้าหมื่นบาท) เสื้อตัวนี้มีมูลค่า 450.00 บาท (สี่ร้อยห้าสิบ บาท) ก๋วยเตี๋ยวราคา 50.00 บาท (ห้าสิบบาท) บัตรชมภาพยนตร์ มีมูลค่า 200.00 บาท(สองร้อยบาท) มูลค่าหรือราคาสินค้าและบริการต่างๆ เป็นมาตรฐานในการวัด เป็นสิ่งที่บอกให้ผู้บริโภคทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายออกไปและช่วยในการตัดสินใจว่าจะซื้อสิ้นค้าหรือใช้บริการหรือไม่
           3. เป็นเครื่องรักษามูลค่า หมายถึง การรักษาความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่สร้างความพอใจให้กับผู้บริโภค เพราะเก็บรักษาเงินจะเป็นหนทางที่ดีและสะดวกกว่า การเก็บรักษาผลตอบแทนในรูปของสินค้าหรือผลผลิตที่เก็บรักษายาก อาจเปลืองเนื้อที่ หรือสินค้าผลผลิตอาจเสียหายไม่คงทนเมื่อจะเก็บไว้นานๆ
          4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเมื่อกำหนดเป็นมูลค่า ต้องใช้เงินเป็นตัว กำหนดราคา ในการชำระค่าสินค้า อาจจะชำระเป็นงวดๆ เงินจะมีบาบาทโดยทำหน้าที่เป็นมาตรฐาน ในการชำระหนี้เพราะเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับได้และสะดวกในการคำนวณ อัตราดอกเบี้ยเมื่อเวลาเปลี่ยนไป
คุณสมบัติของเงินที่ดี เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม มีเสถียรภาพในมูลค่า มีความคงทนถาวร แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้และสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้จ่าย
ทฤษฏีปริมาณเงิน เป็นการอธิบายในรูปของสมการแลกเปลี่ยน เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการเท่ากับรายรับที่ได้จาการขายสินค้าและบริการ

 

 

2.  ปัจจัยใดบ้างที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ   และยกตัวอย่างสินเชื่อในประเทศมา 3 ประเภทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

                1. นโยบาย

                2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

                3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

                4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

                - CHARACTER ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะชำระหนี้ของลูกค้า

                - CAPACITY                      ความสามารถในการชำระหนี้คืน

                - CAPITAL                         ส่วนของกิจการนำมาลงทุนในกิจการ

                - COLLATERAL              มีหลักทรัพย์ หรือหลักประกัน

                - CONITION                      เงื่อนไข หรือกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่เหมาะสม

                5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

                - PURPOSE                        วัตถุประสงค์ในการกู้

                - PAYMENT                      การจ่ายชำระหนี้คืน

                - PROTECTION                การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

                6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

                7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

                - ธุรกิจอุตสาหกรรม

                - ธุรกิจการค้า

                - ธุรกิจประเภทให้บริการ

                8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

***  ตัวอย่างสินเชื่อ

สินเชื่อแลกรถเป็นเงิน

  สินเชื่อที่อยู่อาศัย  

  สวัสดิการสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

3.ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวคิดต่างจากดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างไร

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง        ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย      ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

ดัชนีราคาผู้ผลิต                                                                                                                                 ตัวเลขที่ใช้ในการวัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศรับ  ณ  เวลาใดเวลาหนึ่ง  เปรียบเทียบกับระยะเวลา  ณ ปิฐาน

                                                                                                                                                                                                                                                               

 

 

4.ดัชนีราคาผู้บริโภคมีขั้นตอนการจัดทำ การแบ่งหมวดสินค้าและการรายงานอย่างไร                                                                                                                                                                                             

นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง 

       ***ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา 

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า 

· ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

· อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

· บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า 

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ได้แก่

 1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม       2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน                 4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร    6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์    8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

 กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

 ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1% ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ 

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ 

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณ เนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด 

ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

 

5.  ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์แห่งใดบ้างในปัจจุบันที่กระตุ้นการใช้จ่าย  การลงทุน   การออม  ของประเทศในปัจจุบัน

ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็น  ธนาคารธนชาต  เพราะ   ธนาคารธนชาตได้ดันตัวเองขึ้นมาเป็นธนาคารแต่เมื่อก่อนนั้นเป็นได้แค่ที่ปล่อยสินเชื่อในการซื้อรถ  หรือ ซื้อบ้าน เท่านั้น  แต่ปัจจุบันกลับมีธนาคารธนชาตเป็นธนาคารพาณิชย์อันดับ 5 ของไทย มีสินทรัพย์ 8.57 แสนล้านบาท มีสาขารวม 687 แห่งทั่วประเทศ มีเครื่องเอทีเอ็มจำนวน 2,101 เครื่อง   และธนาคารธนชาตยังเข้าซื้อหุ้นของธนาคารนครหลวงอีกด้วย   ธนาคารธนชาตยังมีกลุ่มที่ทำงานอยู่ในเครือเดียวกันเช่น 

  •  ทุนธนชาต      บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือชื่อเดิมคือ บริษัท เงินทุนธนชาติ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในชื่อ บริษัท ลีกวงมิ้ง จำกัด ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2502 โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลัก ทรัพย์ในปี 2517 และ เข้าเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมายเลข 16 ในปี 2522 และเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 1 เมษายน 2525
  • หลักทรัพย์ ธนชาต   บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) (TNS) เป็นบริษัทในกลุ่มธนชาต โดยธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 99.99 บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทยที่มีประวัติมายาวนาน ภายใต้การบริหารงานโดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีชื่อเสียง อยู่ในธุรกิจหลักทรัพย์มานานกว่า 25 ปี พัฒนาการที่สำคัญของบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต       บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด (ชื่อย่อ บลจ.ธนชาต) Thanachart Fund Management Co., Ltd.(ชื่อย่อ Thanachart Fund) วันที่ก่อตั้ง : 19 มีนาคม 2535 ทุนจดทะเบียน : 100 ล้านบาท ชำระเต็มมูลค่า ประเภทธุรกิจ : จัดการลงทุนใน กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ธนชาตประกันภัย     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทประกันภัยใหม่ที่ก่อตั้ง ขึ้นในปี 2540 ตามนโยบาย ของรัฐบาลในการเตรียมความพร้อมของประเทศ ต่อการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยด้วยทุนจดทะเบียน ปัจจุบันชำระเต็ม 740 ล้านบาท โดยเป็นบริษัทในเครือ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไป ตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตาม หลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มพร้อมกันนั้นเอง
  • ธนชาตประกันชีวิต     เพื่อสนองตอบนโยบายการเปิด เสรีธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ณ วันที่ 11 เมษายน 2538 ดัวยความตั้งใจจริงที่จะประกอบธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงความพร้อมในด้านบุคลากร และความมั่นคงของกลุ่มธนชาติ ทำให้ ธนชาติเป็น 1 ในจำนวน 12 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้สามารถประกอบธุรกิจประกันชีวิตในครั้งนั้น ในนามของ "บริษัทธนชาติประกันชีวิต จำกัด”

**  ดังนั้นจึงทำให้ธนาคารแห่งนี้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปเพราะธนาคารแห่งนี้น่าจะมีความมั่นคงอยู่มาก

6.จงอธิบายลักษณะของตั๋วสัญญาใช้เงิน  ( P/N) กับตั๋วแลกเงิน (B/E)  ว่าใช้ประโยชน์ต่างกันอย่างไร

 

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

         ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

 

 

 

 

 

นางสาวแสงทิพย์ เผือกผ่อง

ข้อ 1

หน้าที่ของเงิน

ด้วยปัญหาข้างต้น เงินจึงเกิดขึ้นและทำหน้าที่ดังนี้

• เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)

• เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value)

• เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)

• เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment) หน้าที่นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกัน เพราะการกำหนดเป็นการคืนด้วยเงินนั้น ย่อมที่จะดีกว่าการกำหนดการคืนด้วยสินค้า ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งด้านขนาด ปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสินค้าบางอย่างยังอาจเน่าเสียได้ง่าย

ความหมายของเงิน

เงินตรงกับภาษาอังกฤษว่า Money ซึ่งแผลงมาจากภาษาลาติน ว่า Moneta ซึ่งเป็นสร้อยของพระนาง Jono Moneta ตามประวัติศาสตร์ พวกชาวโรมันได้ใช้วิหารของ พราง junu Monete เป็นโรงกษาปณ์ คำว่าเงินจึงได้รากศัพท์มาจากคำว่าMoneta มีนักเศรษศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความของเงินไว้หลายท่าน ดังเช่น D.H.Roberton เขียวไว้ในหนังสือไว้ว่า เงินคือ สิ่งที่ยอมรับกันอ่างกว้างขวางในการชำระสินค้า หรือการปลดเปลืองพันธะทางธุรกิจอย่างอื่นๆ A.G.Hart เขียงไว้ว่า เงินเป็นทรัพสินที่เจ้าของสามารถใช้ชำระหนี้สินจำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างแน่นอน และโดยไม่ล่าช้า ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดต่อกับผู้ที่ตนไม่รู้จัก

ความหมายของเงิน หน้าที่และประเภทของเงิน

เงินคือ สื่อกลางในการเปลี่ยน โดยจะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้รับการยอมรับกันโดนทั่วไปไปตามกฎหมายให้สามารถจ่ายชำระหนี้ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคในอดีตเคยมีการใช้หอย ขนนก เป็นตน เป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแต่เนื่องจากมีปัญญาหาในการพกพา และอาจเเตกหักง่าย มีการพัฒนามาอยู่ในรูปของธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ โดยธนบัตรพิมพ์จากกระดาษคุณภาพสูงและเหรียญกษาปณ์ผลิตจากโลหะ ดังนั้นทั้งธนบัตรและเหรียญกษาปณ์จึงมีความคงทนและสะดวกในการพกพา ประเภทของเงิน จึงสามารถเเยกเป็น ประเภทธนบัตรและประเภทเหรียญกษาปณ์

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินในแต่ละประเทศแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันมากแต่ต่างก็มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่สังคมขยายตัว ระบบการเปลี่ยนแปลงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงได้มีวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินซึ่งพอสรุปได้ 3 ระยะคือ

1. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งของหรือบริการแลกเปลี่ยน

ในระยะแรกที่มนุษย์มีการติดต่อกัน มนุษย์ได้รู้จักเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของการผลิตได้มาแลกเปลี่ยน เช่น การนำเอาเสื้อผ้ามาแลกกับข้าวสาร ไข่มาแลกกับรองเท้า เป็นต้น การแลกเปลี่ยนนี้เกิดจากการของเงินขึ้น กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมีสิ่งที่เป็นค่านิยมที่ยอมรับในแต่ละสังคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

2. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของหรือการบริการ มีความไม่สะดวกหลายประการ มนุษย์ จึงหาวัตถุกลางมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุกลางนี้คือ เงิน ซึ่งเงินอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุใดๆก็ได้ โดยมีวิวัฒนาการมาดังนี้

2.1 เงินกษาปณ์

2.2 เงินกระดาษ

3. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในขณะที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น กิจการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างกว้างขวาง การซื้อขายกระทำกันคราวละมากๆ ย่อมไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเงินติดตัวเพื่อไปซื้อขาย จึงมีผู้คิดใช้เครดิตหรือความเชื่อในการซื้อขายสินค้ากัน เงินเครดิตจึงมีกำเนินขึ้น และเงินประเภทนี่จะมีใช้กันมากในสังคมที่มีระบบการธนาคารได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

ธนบัตร เงินตราที่เป็นมากกว่าเงินตรา

ประเทศไทยมีการใช้เงินตรากระดาษครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่ธนบัตรที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับปัจจุบันเริ่มนำออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมีแบบของธนบัตรที่นำออกใช้จากแบบ ๑ จนถึงแบบที่ใช้ในปัจจุบัน มี ๑๕ แบบ

ข้อ 3

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. ความหมายของการวิเคราะห์สินเชื่อ

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

4. เทคนิค/วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. การวิเคราะห์สินเชื่อ

ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. นโยบาย

2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

- CHARACTER ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะชำระหนี้ของลูกค้า

- CAPACITY ความสามารถในการชำระหนี้คืน

- CAPITAL ส่วนของกิจการนำมาลงทุนในกิจการ

- COLLATERAL มีหลักทรัพย์ หรือหลักประกัน

- CONITION เงื่อนไข หรือกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่เหมาะสม

5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้

- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน

- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- ธุรกิจการค้า

- ธุรกิจประเภทให้บริการ

8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ

เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้

1. ผู้ขอเครดิต

2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา

3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต

4. จำนวนเงินที่ขอกู้

5. ความสามารถในการชำระหนี้

6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

7. ความเหมาะสมของหลักประกัน

1.1 ผู้ขอเครดิต

- เป็นใคร หมายถึง เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

บุคคลธรรมดา

- ชื่อ, ที่อยู่

- ฐานะ, โสด, สมรส

- พื้นฐานความรู้

- ตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่

นิติบุคคล

- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน

- กรรมการมีใครบ้าง

- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ

- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด

- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่

ประเภทของหลักประกัน

1. เงินฝาก

2. หุ้น

3. พันธบัตร

4. ตั๋วเงิน

5. ที่ดิน

6. สิ่งปลูกสร้าง

7. เครื่องจักร

8. เรือ

9. สินค้า

10.สิทธิการเช่า

11.สิทธิการรับเงิน

12.อื่น ๆ

การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน

- ผู้ถือกรรมสิทธิ์

- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ

- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง

- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา

- สภาพแวดล้อม

- ประโยชน์การใช้สอย

- อายุการใช้งาน

- สภาพความเสื่อมค่า

- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

- สินเชื่อเงินสด เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีสภาพคล่องมากขึ้น

- สินเชื่อรถยนต์ เพื่อที่จะมีช่องทางในการค้าขาย สะดวกต่อคมนาคมและส่งผลให้นำรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น

สินเชื่อการค้า ธุรกิจสามารถซื้อสินค้าเข้ามาจำหน่าย

ข้อ 4

ทฤษฎีการเงินของเคนส์ : ความต้องการถือเงิน (John Maynard Keynes : Theory)

จากการเกิดภาวะทางเศรษฐกิจของโลกตกต่ำลงในช่วง ค.ศ. 1930 จากทฤษฎีของทางสำนักคลาสสิคทำงานไม่ได้ผล ซึ่งสวนกับความเชื่อที่กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจนั้นจะมีกลไกในการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพได้โดยอัตโนมัติ แต่ปรากฏว่าในเหตุการณ์ครั้งนี้ปริมาณเงิน จำนวนรอบการในการหมุนเวียนของเงิน ตลอดจนระดับราคาสินค้านั้นได้เกิดการลดลงเป็นอย่างมาก จึงเป็นสิ่งที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ John Maynard Keynes ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The General Theory Of Employment Invest and Money หรือเรียกกันสั้นว่า The General Theory (ทฤษฎีทั่วไป) ขึ้นในปี ค.ศ. 1936 ซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างจากสำนักคลาสสิค โดยเคนส์มีความเห็นที่ว่า ไม่มีกลไกลในการปรับตัวโดยอัตโนมัติในระบบเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น แต่เคนส์ได้นำเสนอว่าการนำนโยบายการเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่น่าจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเกิดเสถียรภาพขึ้นได้ แต่สิ่งที่ควรจะกระทำคือการที่ภาครัฐควรจะเข้ามาแทรกแซงในการดำเนินกิจการทางด้านเศรษฐกิจ โดยการนำนโยบายการคลังมาใช้ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการใช้นโยบายการเงิน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างจากแนวคิดในสำนักคลาสสิคที่ว่า ระบบเศรษฐกิจมีกลไกลในการปรับตัวอัตโนมัติ และรัฐบาลไม่ต้องเข้ามาแทรกแซงในการดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจากแนวคิดของเคนส์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเหตุที่นำไปสู่ยุคที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติของเคนส์”

ซึ่งสำหรับแนวคิดใหม่ของเคนส์นี้ได้เสนอความคิดในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการถือเงิน ซึ่งจะเห็นได้จากทฤษฎีความต้องการถือเงิน (Liquidity Preference Theory) โดยอธิบายถึงความต้องการถือเงิน หรืออุปสงค์ต่อเงิน(Demand for money) ซึ่งกล่าวได้ว่าบุคคลจะมีความปรารถนาในการถือเงินด้วยจุดประสงค์ดังต่อไปนี้ (อ้างในบัญชา ไตรวิทยาคุณ หน้า 161 - 165)

1.เพื่อการจับจ่ายใช้สอย (Transaction Demand)

ทั้งนี้เกิดจากความจำเป็นที่บุคคลในสังคม หรือในระบบเศรษฐกิจจะต้องการถือเงินสดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนี้จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประกอบในการกำหนดความต้องการถือเงิน เช่น ระดับมาตรฐานค่าครองชีพ ความถี่ของระยะเวลาที่ได้รับรายได้ด้วย โดยเรื่องของอุปสงค์ของการถือเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยนั้น จะมีเรื่องของมูลค่าการซื้อขาย แลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น จะมีรวมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการขั้นสุดท้าย และการซื้อขายสินค้า/บริการขั้นกลาง ตลอดจนการซื้อขายสินทรัพย์สินทางการเงิน ซึ่งจะทำให้มูลค่ารวมของสิ่งที่กล่าวมานี้มีมูลค่าที่มากว่าค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) โดยอยู่ในข้อสมมุติฐานที่ว่า สัดส่วนระหว่างผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น กับมูลค่าของการซื้อขายทั้งหมดนั้นคงที่ ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยกับรายได้ประชาชาติ (National Income) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันเสมอ โดยความต้องการถือเงินของครัวเรือน อันเนื่องมาจากสาเหตุทางด้านรายได้ และความต้องการที่จะถือเงินของหน่วยธุรกิจ อันเนื่องมากจากสาเหตุทางด้านธุรกิจ ซึ่งต่างก็มีความสำคัญต่อการถือเงินของระบบเศษฐกิจทั้งหมดโดยรวมทั้งสองสิ่งเช่นกัน

ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย กับระดับรายได้ประชาชาตินั้น มีความสัมพันธ์ในลักษณะไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเราสามารถที่จะแสดงให้เห็นในรูปของสมการเส้นตรง (Linear Equation) ได้ดังนี้

Mt = k Y ------------------------------- (1)

โดยที่

Mt คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย

k คือ สัดส่วนระหว่างรายได้ประชาชาติกับความต้องการถือเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย

Y คือ รายได้ประชาชาติที่อยู่ในรูปของตัวเงิน

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจแก่ผู้อ่านคือ สมมุติว่าคนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพื่อไว้ใช้ในการจับจ่ายใช้สอย 100 ล้านบาท โดยมีระดับรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินอยู่ในระดับ 500 ล้านบาท และขณะที่รายได้ประชาชาติอยู่ในระดับ 700 ล้านบาท จากสมการข้างต้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเราแทนค่าต่างๆ ลงไปแล้วเราจะได้ค่า k คือ 1/5

จะได้ว่า

100 = k 500

100 = k

500

1 = k

5

นั่นแสดงว่าคนในประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยจำนวน 100 ล้านบาท ในระดับรายได้ประชาชาติเท่ากับ 500 ล้านบาท แต่ถ้าระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านบาทแล้ว จะทำให้คนในประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านบาท ซึ่งสามารถที่จะแสดงได้ดังต่อไปนี้

Mt = k Y

Mt = 1 700

5

Mt = 140

แต่อย่างไรก็ตามค่าของตัว k นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้หากว่าระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ค่าของตัว k ก็ย่อมที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านสถาบัน และโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้จากแผนภาพที่ 2

อุปสงค์ของการถือเงิน

เพื่อจับจ่ายใช้สอย (- Mt) (ล้านบาท)

Mt = kY

140

Mt’ = k’Y

100

0 รายได้ประชาชาติ (–Y)

100 200 300 400 500 600 700 (ล้านบาท)

แผนภาพที่ 2 : แสดงความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าเดิมประชาชนมีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยที่ 100 ล้านบาท ในขณะที่ระดับรายได้ประชาชาตินั้นอยู่ที่ 500 ล้านบาท ซึ่งแสดงด้วยเส้น kY ซึ่งค่าของ k จะมีค่าเท่ากับ 1/5 แต่ต่อมาสมมุติว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป เช่น ลูกจ้างได้รับค่าแรงลดลง แต่ว่ามีจำนวนครั้งในการจ่ายค่าจ้างที่ถี่มากขึ้น (จ่ายบ่อยครั้งขึ้น) ซึ่งกรณีเช่นนี้ทางประชาชนอาจจะมีความต้องการถือเงินเพื่อการใช้สอยเทียบเท่ากับความต้องการถือเงินเหมือนอย่างเดิม คือ 100 ล้านบาท แต่ถ้าหากเกิดกรณีที่ว่าระดับรายได้ประชาชาตินั้นเกิดเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านบาท ก็จะส่งผลทำให้ค่าของ k ลดลงเหลือ 1/7 โดยแสดงให้เห็นจากเส้น k’Y ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในทางคณิตศาสตร์ดังนี้

จากสูตร

Mt = k Y

100 = k700

100 = k

700

1 = k

7

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติกับอัตราดอกเบี้ยในกรณีต่อความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยนั้นเราสามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ดังรูปต่อไปนี้

อัตราดอกเบี้ย

8 Y2

7 Y1

6

5

4

3

2

1

0 อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่าย

20 40 60 80 100 110 120 (ล้านบาท)

แผนภาพที่ 3 : แสดงเส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยที่มีความยืดหยุ่นกับอัตราดอกเบี้ย

จากแผนภาพที่ 3 สมมุติให้ ณ ระดับรายได้ประชาชาติที่ 500 ล้านบาทค่า k มีค่าเท่ากับ 1/5 โดยที่มีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย 100 ล้านบาท ซึ่งในขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% โดยให้เส้น Y1 เป็นตัวอธิบายอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย ซึ่งหมายถึงว่า อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่าย 100 ล้านบาทนี้ จะคงอยู่ไปในระดับนี้อีกนานเท่านานตราบเท่าที่อัตราดอกเบี้ยไม่สูงขึ้นกว่า 5% แต่หากว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นสูงเกิน 5% นั้นก็แสดงว่า เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย (Y1)นี้จะเริ่มเกิดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยมีลักษณะโค้งกลับ ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่า 5% อีกทั้งระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนี้ก็จะเป็นเหตุจูงใจที่จะให้ประชากรถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยน้อยลง โดยจะหันไปถือเงินในรูปของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น

ในทำนองเดียวกันหากระดับรายได้ประชาชาติขยับขึ้นไปเป็น 600 ล้านบาท และกำหนดให้ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่าย เป็น 120 ล้านบาท แต่ทั้งนี้โดยกำหนดให้ค่าของ k คงเดิม ก็จะส่งผลให้เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายเลื่อนตัวออกไปเป็นเส้น Y2 โดยที่เราก็สามารถอธิบายได้เช่นเดียวกับเส้น Y1 ที่มีลักษณะการโค้งกลับ หากอัตราดอกเบี้ยนั้นขยับตัวสูงขึ้น

2.เพื่อเหตุฉุกเฉิน (Precautionary Demand)

ทั้งนี้เกิดจากความจำเป็นที่บุคคลในสังคม หรือในระบบเศรษฐกิจจะต้องการถือเงินสดเพื่อสำหรับในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เป็นต้น ซึ่งในความต้องการถือเงินประเภทนี้ก็จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกัน แต่สำหรับอัตราดอกเบี้ยแล้วนั้นการถือเงินในประเภทนี้จะแปรผันในลักษณะที่ตรงกันข้าม โดยเราสามารถอธิบายในรูปของสมการได้ดังนี้ (อ้างใน วเรศ อุปปาติก หน้า 280 และแสงจันทร์ ศรีประเสริฐ หน้า 68)

Mp = f(y ,r) ------------------------------- (2)

โดยที่

MP คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน

r คือ ระดับอัตราดอกเบี้ย

y คือ ระดับรายได้

3.เพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand)

ทั้งนี้เกิดจากการถือเงินไว้โดยมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งหวังผลกำไรที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินตรา ซึ่งความต้องการในรูปแบบนี้จะมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่แปรผกผันกัน นั่นแสดงว่าถ้าหากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตน่าจะสูงขึ้นก็จะทำให้คนเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ตนถืออยู่ เช่น พันธบัตร มาอยู่ในรูปของเงินสดทันที ซึ่งหากไม่ยอมสละอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับเพียงเล็กน้อยนี้ก็อาจจะต้องพบกับการขาดทุนในส่วนของทุน (Capital Loss) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าอนาคตก็ได้ (อ้างใน วเรศ อุปปาติก หน้า 280 - 281)

จากที่กล่าวมาแล้วว่าความต้องการถือเงินนั้นมีความสัมพันธ์ลักษณะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยดังนั้นเราจึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้

MS = l(r) ------------------------------- (3)

โดยที่

MS คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร

r คือ ระดับอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการอธิบายเราสามารถใช้รูปภาพมาแสดงการอธิบายในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย กับอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร ดังนี้

อัตราดอกเบี้ย

Ms

Liquidity

Trap

0 ปริมาณเงินที่ต้องการ

ถือไว้เพื่อเก็งกำไร

แผนภาพที่ 4 : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร กับอัตราดอกเบี้ย

จากแผนภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่าอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไรนั้นมีความสัมพันธ์ในลักษณะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย แต่เส้น อุปสงค์ในส่วนหนึ่งมีลักษณะที่ขนานกับแกนนอน ซึ่งหมายความว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนั้นจะไม่ต่ำไปกว่าระดับน

9.ภาวะเงินเฟ้อคือภาวะที่ระดับสินค้าและบริการทั่วๆไป โดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆเงินมีราคาต่ำของแพงขึ้นเรื่อยๆๆคนทำงานได้เงินน้อยแต่ของใช้จ่ายมีราคาสูงขึ้นๆ สาเหตุของเงินเฟ้อมี2ประการ คือ เกิดจากอุปสงตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก ผู้ที่ได้ประโยชน์ผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์จากสินค้าที่ส่งเข้าสู้ตลาด รัฐบาลจะเก็บภาษีได้มากขึ้นเนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ผู้ที่เสียประโยชน์ประชาชนทั่วไปที่ทำงานและจะต้องจ่ายซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคในแต่ละวัน

ส่วนภาวะเงินฝืดจะตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับสินค้าและบริการทั่วๆไป ลดลงเรื่อยๆเงินฝืดเกินขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลงเงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลงและการว่างงานมากขึ้น ค่าเงินจะสูง สินค้ามีราคาต่ำ ของจะขาดตลาด ทำให้สินค้าหายากขึ้น ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเงินฝืด คือ

-ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

- ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

- ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

- ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

ผู้ที่เสียประโยชน์ ลูกจ้าง เกิดการว่างงานมากขึ้น การจ้างงานลดลง

นาวสาวฐิตาภา ศรีวัฒนา

ข้อ 1

บทบาทหน้าที่ทางการเงิน

1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร

เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน

ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ได้แก่ รับเงินฝาก กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท.

บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. (ไม่รวมสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา) การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล

เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล การเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการซื้อขายโลหะทองคำและเงิน การซื้อขายและโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์และใบหุ้น การควบคุมและการรวมไว้ในแหล่งกลางซึ่งเงินปริวรรตต่างประเทศ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกจากนี้ อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยมีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินส่งรายงานหรือชี้แจงเพื่ออธิบายเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพันได้

6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

7. กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ

8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

ความสำคัญของเงิน

เงินมีความความสำคัญอย่างมากต่อมนุษย์เรา คือ มนุษย์นำเงินไปแลกซื้อเพื่อที่จะได้สิ่งที่เราต้องบริโภคหรือการบริการต่างๆ กับมาตอบสนองความต้องการของเรา

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1.ต้องเป็นเงินที่ถูกตามที่พระราชบัญญัติไว้

ข้อ 3

สินเชื่อในประเทศ คือ

1.อัตราภาษี และอัตราดอกเบี้ย

2.รถยนต์ และรถทุกชนิด

3.ต้นทุนแรงงาน และค่าขนส่ง

ข้อ 5

มีขั้นตอนการจัดทำ คือ เราต้องวางแผนก่อนว่าเราจะผลิตสินออกแบบใดแล้วออกมาในลักษณะแบบไหนถึงจะเป็นความพึงพอใจของผู้บริโภค

การแบ่งหมวดสินค้า คือ อาจแบ่งได้จากการที่เราผลิตสินค้ามากี่อย่าง เราก็สามารถเอาสินค้าแต่ล่ะอย่างมารวมกัน แล้วก็แบ่งเป็นหมวดๆ ไปว่าสินค้านี้ควรอยู่ในประเภทไหน

การรายงาน คือ เราอาจที่จะทำสินค้าตัวนั้นที่เราผลิตออกมานำมาเป็นสินค้าทดลองให้แก่ผู้บริโภค และเราก็ต้องคอยสังเกตดูว่าผู้บริโภคนั้นให้ความสนับสนุนเรามากน้อยเพียงใด ถ้าผู้บริโภคให้ความสนับสนุนมากเราก็ต้องผลิตให้มากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

ข้อ 6

ผู้ผลิตจะคิดว่าถ้าเมื่อได้ผลิตออกมาแล้วจะเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ที่ผู้บริโภคจะให้ความสนับสนุนมาใช้บริการ โดยที่ผู้ผลิตไม่ถามถึงความต้องการของผู้บริโภค แต่ในความคิดทางของผู้บริโภคเองถ้าผลิตออกมาแล้วเป็นที่ไม่น่าพอใจก็จะไม่ให้ความสนับสนุนและทางของผู้ผลิตก็จะเสียต้อนทุนมรการผลิตไปโดยสูตรเปล่า เพราะผู้บริโภคไม่ได้มาใช่บริการ หรืออาจมีแต่เงินที่ได้นั้นยังไม่เท่ากับต้นทุนที่เสียไป

ข้อ 7

ตอนนี้ประเทศไทยตกอยู่ภาวะเงินฝืด

เกิดจากสาเหตุ คือ เงินฝืดเป็นภาวะที่อุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีมากว่าอุปสงค์มวลรวม เนื่องจากปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอกับความต้องการถือเงิน หรือความต้องการใช้เงินของประชาชน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการ

2. การที่ประเทศมีฐานะดุลการค้า ดุลการชำระเงินขาดดุลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้ประเทศต้องสุญเสียเงินตราให้แก่ต่างประทศ ส่งผลให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีน้อยลง

3. รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้ปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินน้อยลง)

4. สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

5. ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เช่น การที่ธนาคารกลางประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงตามกฎหมาย หรือการประกาศใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณเงินในบทเศรษฐกิจน้อยลง

6. รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบเงินดุล กล่าวคือ รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ทำให้มีปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินลดลง)

แนวทางการแก้ไข

ภาวะเงินฝืดนั้นเราสาทารถแก้ไขได้โดยนโยบายนั้น คือ จะต้องใช้นโยบายในการเพิ่มอุปสงค์รวมให้มากขึ้น ด้วยการใช้นโยบายการเงินซึ่งจะต้องเพิ่มปริมาณเงินให้มากขึ้น ซื้อคืนพันธบัตร ที่ขายให้กับประชาชน

ข้อ 9

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) คือ การที่ระดับราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดัชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

การที่ใครจะได้ประโยชน์และใครที่จะเสียประโยชน์ คือ

ภาวะเงินเฟ้อจะได้ประโยชน์ เพราะการที่ระดับสินค้าและบริการนั้น ในช่วงเวลาหนึ่งราคาก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ภาวะเงินฝืดจะเสียประโยชน์ เพราะการที่ระดับสินค้าและบริการทั่วไปนั้นจะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากอุ)สงค์รวมมีน้อยเกินไป

ข้อ10.ตั๋วสัญญาใช้เงิน (อังกฤษ: promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" (อังกฤษ: maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" (อังกฤษ: payee)

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ การออกตั๋วแลกเงิน

ปรียารัตน์ ศรีจันทะ

1.) ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรากันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทั่วไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใช้แครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่มาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้

4.)

แนวคิด เคนส์

- นโยบายการคลังสำคัญกว่านโยบายการเงิน

-ปริมาณเงินเป็นเสมือนน้ำมันล่อลื่น

-การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไปกำหนดการลงทุนจ้างงานและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ

-การลงทุนมีอัตรายืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย

-กฎทวีคูณของการลงทุนมีความสำคัญในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

แนวคิดฟรีดแมน

-นโยบายการเงินโดยการควบคุมปริมาณเงินมีความสำคัญที่สุด

-ปริมาณเงินเป็นเสมือนเคมีตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างกว้าขวาง

-การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติโดยตรง

-การลงทุนอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ความสำคัญอัตราดอกเบี้ยต่อการลงทุนมีน้อย

-กฎทวีคูณทางการเงินคือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

5.) ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

• กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณ เนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด

6. ) ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) เป็นเครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเพื่อการบริโภค ณ ราคาตลาดในปีใดปีหนึ่ง ในจำนวนและคุณภาพที่คงที่ เปรียบเทียบกับปีฐานซึ่งเท่ากับหนึ่งร้อย

ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index) เป็นเครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ ผู้ผลิตผลิตออกมาจำหน่าย ณ แหล่งผลิตในปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดและจำนวนเดียวกันในปีฐานซึ่งเท่ากับหนึ่งร้อย

9.) ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจาก อุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

10.) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) เป็นเงินฝาก รูปแบบใหม่ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เปิดให้บริการ แก่ลูกค้าในลักษณะเป็นตราสารที่แสดงการกู้ยืมเงินที่ ธนาคารฯออกให้แก่ลูกค้าโดยมีสัญญาว่าจะจ่ายเงิน คืนพร้อมดอกเบี้ย ในอัตราที่กำหนด และ วัน เดือน ปี ที่กำหนดบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเมื่อทวงถาม อย่างไรก็ตามผู้ฝากสามารถถอนเงิน ก่อนครบ กำหนดได้และได้รับดอกเบี้ยตามกฎเกณฑ์ที่ธนาคารฯ กำหนดไว้

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

นางสาวอาภารัตน์ อรุณเรือง

10. ตั๋วสัญญาใช้เงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Notes )

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

ลักษณะทั่วไปของตั๋วสัญญาใช้เงิน

• เป็นตราสารที่มีคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน

• ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินคือ ลูกหนี้

• ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำสัญญาของลูกหนี้

• ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีอยู่เพียงประเภทเดียวคือ ตั๋วชนิดระบุชื่อ

• ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นคำมั่นของลูกหนี้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีการเซ็นรับรองอีก

• มีบุคคลเกี่ยวข้องในขั้นต้นของการออกตั๋ว 2 ฝ่าย คือ ผู้ออกตั๋ว คือลูกหนี้ กับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเงิน

ตั๋วแลกเงิน

1. ตั๋วแลกเงิน ( Bills of Exchange )

ตั๋วแลกเงินเป็น คำสั่งจ่าย ของผู้ออกตั๋วแลกเงิน โดยจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในขั้นที่ออกตั๋ว 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน

ประเภทของตั๋วแลกเงิน มี 2 ประเภท คือ

2. ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ คือตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายระบุชื่อผู้รับเงินไว้ขัดเจนในคำสั่งจ่ายเงิน

3. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ คือตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายระบุในตั๋วว่าให้ผู้จ่ายใช้เงินตามตั๋วให้แก่ผู้ถือตั๋วโดยไม่ระบุชชื่อผู้รับเงิน หรืออาจจะระบุชื่อผู้รับเงินและมีคำว่า " ผู้ถือ "

ชนิดของตั๋วแลกเงิน มี 2 ชนิด คือ

1. ตั๋วแลกเงินภายในประเทศ ( Inland Bill ) เป็นตั๋วแลกเงินที่ใช้ภายในประเทศเดียวกัน และชำระเงินภายในประเทศเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

o ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้ลูกค้า ( draft ) สั่งให้ธนาคารสาขาตน ณ ที่ใดตามความประสงค์ของลูกค้า จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วไปขึ้นเงิน

o ตั๋วแลกเงินที่ธุรกิจทำให้กันในการติดต่อค้าขายซึ่งกันและกันภายในประเทศ เป็นทั้งตั๋วที่มีกำหนดเวลา ( time bill ) และตั๋วจ่ายเมื่อทวงถาม ( sight bill of demand )

2. ตั๋วแลกเงินต่างประเทศ (Foreign Bill) เป็นตั๋วที่ใช้กันระหว่างประเทศ ตั๋วแลกเงินต่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

o ตั๋วแลกเงินมีกำหนดเวลา ( Time bill) ตั๋วแลกเงินที่จ่ายเงินมีกำหนดระยะเวลา

o ตั๋วจ่ายเมื่อทวงถาม ( Sight bill of demand) ตั๋วแลกเงินชนิดนี้จ่ายเมื่อเห็นทวงถาม

• ประโยชน์ของตั๋วแลกเงิน

o เป็นหลักฐานแสดงการเป็นหนี้สินได้ตามกฎหมาย

o ขายลดให้แก่ธนาคารได้จึงมีสภาพคล่องที่ดี

o เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้โดยการสลักหลังส่งมอบโดยไม่ต้องใช้เงินสด

o ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวทางการเงินเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องชำระเงินสดทันที

1. บทบาทหน้าที่เงิน ความสำคัญของเงิน คุณสมบัติของเงิน

หน้าที่ของเงิน

ด้วยปัญหาข้างต้น เงินจึงเกิดขึ้นและทำหน้าที่ดังนี้

• เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)

• เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value)

• เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)

• เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment) หน้าที่นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกัน เพราะการกำหนดเป็นการคืนด้วยเงินนั้น ย่อมที่จะดีกว่าการกำหนดการคืนด้วยสินค้า ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งด้านขนาด ปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสินค้าบางอย่างยังอาจเน่าเสียได้ง่าย

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติที่ดีของเงิน

1. มีค่าในการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ

2. มีมูลค่าตามธนบัตรนั้นๆ

3. สามารถเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน

ข้อ9. เงินเฟ้อ เงินฝืด

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ [1]

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ [1][2]

• ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

• ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ข้อ5.

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่างๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในลำดับต่างๆ เกี่ยวกับรายได้ และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการดำรงชีพอย่างไร

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การคำนวณดัชนีราคา

การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด) ตามราคาสินค้าของเดือนปัจจุบัน (เดือนที่คำนวณดัชนี) เทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้านั้น) ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค

1. ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ

2. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย แผน และประเมินผลกระทบของนโยบายและแผนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ

3. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง เงินเดือนของราชการและเอกชน

4. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำเหน็จ และเงินช่วยเหลือหรือสวัสดิการในรูปต่างๆ

5. ใช้ประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว เช่น สัญญาซื้อขายระยะยาว

6. ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย พยากรณ์การตลาด และราคาสินค้าต่างๆ

7. ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง

ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้และแปลผลคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มสินค้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอาจจะมีสินค้าในตะกร้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่างท้องถิ่น

4. การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ ฉะนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้

สรุป

ดัชนีราคาผู้บริโภค ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวหนึ่ง เพราะในการวิเคราะห์จะพิจารณาถึงปัจจัยด่างๆ ที่มีผลกระทบตัวการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิต ได้แก่ น้ำมัน ก๊าชหุงต้ม นอกจากนี้ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสรรพสามิตและปัจจัยอื่นๆ ถ้าปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชนทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจ้างงาน ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอภาวะเงินเฟ้อและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อกรณีประเทศไทย

สุรัชดา ธรรมสวัสดิ์

1. ตอบ เงิน คือสิ่งที่คนในสังคมได้สมมติขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หน้าที่ของเงิน เงินที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเงินชนิดใด ๆ ทำหน้าที่สำคัญ ๆ 4 ประการ 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกกว่าการแลกเปลี่ยนในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เพราะเมื่อมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผู้เป็นเจ้าของสินค้าก็จะแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับเงิน (คือการขายสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการ) ส่วนผู้ที่ต้องการสินค้าก็จะนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า (คือการซื้อสินค้าจากผู้ที่ต้องการขาย) การซื้อขายสินค้าทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะกระตุ้นให้การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อไป แต่การที่เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้นั้น เงินจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการคือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำเงินจะต้องเป็นของหายากหรือยากต่อการปลอมแปลง และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ เงินสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆได้ และสามารถนำติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย 2. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า ใน ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการใช้เงิน หน่วยในการวัดมูลค่าของสินค้า ได้แก่เกวียน อัน แท่ง เมตร และต้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ข้าว 1 เกวียน ไก่ 1 ตัว ผ้า 1 เมตร ระยนต์ 1 คัน ทำให้การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าต่างชนิดกันทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหลายอัตรา เช่น ข้าว 1 เกวียนเท่ากับไก่ 50 ตัว แต่เท่ากับผ้าไหม 5 เมตรเป็นต้น การที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมากหรือหลายอัตรา ทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสน และบางทีเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่าได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า สินค้าและบริการทุกชนิดจะถูกกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงิน กล่าวคือ วัดมูลค่าสินค้าออกมาเป็นราคานั่นเอง เช่นข้าว 1 เกวียน มีมูลค่าหรือราคา 5,000 บาท ไก่ 1 ตัวมีมูลค่าหรือราคา 100 บาท ทำให้การวัดและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น เพราะอยู่ในหน่วยเงินเดียวกัน 3. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า บุคคลจะต้องเก็บสะสมสินค้าไว้เพื่อการแลกเปลี่ยนในอนาคต หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่ง (wealth) ของตน แต่สินค้าหลายอย่างเก็บสะสมไว้ไม่ได้นาน เพราะเสื่อมคุณภาพโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าเกษตรต่าง ๆ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเก็บสะสมได้มาก เพราะต้องใช้เนื้อที่มากในการจัดเก็บ เช่น ข้าว เกลือ รถยนต์ เป็นต้น แต่เมื่อมีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ บุคคลไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมสินค้าไว้ เพียงแต่ขายสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาเก็บไว้แทน และเก็บสะสมเงินไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการสินค้าและบริการ ก็นำเงินที่สะสมไว้มาซื้อสินค้าที่ต้องการ ดังนั้น เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (a store of value) ทำให้บุคคลสามารถพักอำนาจซื้อสินค้าในปัจจุบัน หรือเลื่อนอำนาจซื้อในปัจจุบันไปสู่อนาคตหรือในเวลาอื่นที่ต้องการได้ แต่เงินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่ดีได้ก็ต่อเมื่ออำนาจซื้อของเงินที่สะสมไว้จะต้องไม่ลดลง กล่าวคือ เงินแต่ละหน่วยจะยังคงแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม เงินแต่ละหน่วยจะมีอำนาจซื้อลดลงก็ต่อเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น เดิมเงินจำนวน 100 บาทซื้อส้มเขียวหวานได้ 2 กิโลกรัม แสดงว่าส้มราคากิโลกรัมละ 50 บาท ต่อมาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 100 บาท เท่าเดิมจะซื้อส้มได้น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จึงแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินลดลง ถ้าบุคคลคาดว่าอำนาจซื้อของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ บุคคลจะไม่เก็บหรือสะสมเงิน แต่จะหันไปสะสมสินทรัพย์อย่างอื่นแทนที่มีมูลค่าหรือราคาไม่ลดลง หรือไม่ลดลงมากเหมือนอำนาจซื้อของเงิน เช่น บ้านและที่ดิน ทองคำ เป็นต้น 4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ถ้าไม่มีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขอยืมข้าวเปลือกจากนาย ข. 1 ถัง โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดชำระคืน นาย ก. จะต้องหาข้าวเปลือกมาใช้คืน นาย ข. 1 ถัง และจะต้องเป็นข้าวเปลือกชนิดเดียวกับที่ขอยืมไปจาก นาย ข. ด้วย ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการกู้ยืมระหว่าง นาย ก. และนาย ข. ทำให้การกู้ยืมและการชำระหนี้ทำได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นาย ข. ก็เพียงคิดค่าข้าวที่นาย ก. ขอยืมไปว่ามีมูลค่าคิดเป็นเงินเท่ากับเท่าใด เมื่อถึงเวลาชำระหนี้คือ นาย ก. ก็เพียงแต่นำเงินมาชำระหนี้เท่านั้น ก็จะเป็นการสะดวกกว่าชำระหนี้ด้วยสิ่งของ ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน ทำให้มีการกู้ยืม การให้สินเชื่อแก่กัน ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการผลิตและการลงทุน จึงทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมเศรษฐกิจมากกว่าในระบบเศรษฐกิจที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า ความสำคัญของเงิน ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด และมนุษย์แต่ละคนมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด และมนุษย์แต่ละคนไม่สามารถผลิตสิ่งของทุกอย่างที่ตนเองต้องการได้ มนุษย์จึงจำเป็นต้องนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ตนมีความต้องการบริโภค ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจึงมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ จนถึงสมัยปัจจุบัน คุณสมบัติของเงินที่ดี 1. ต้องเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป 2. ต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน 3. ต้องมีลักษณะคงทนถาวร ไม่บุบสลายง่าย 4. ต้องมีค่ามากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของเงินนั้น กล่าวคือมีมูลค่ามาก แต่ขนาดเล็กพกพาขนส่งได้สะดวก 5. แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยได้ง่าย เช่นมีธนบัตรฉบับละ 10, 20 ,50 100 500 และ1,000 ทั้งนี้เพื่อเหมาะสมกับการนำไปซื้อสินค้าที่มีหลายราคา 4. ตอบ แนวคิด เคนส์ - นโยบายการคลังสำคัญกว่านโยบายการเงิน -ปริมาณเงินเป็นเสมือนน้ำมันล่อลื่น -การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไปกำหนดการลงทุนจ้างงานและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ -การลงทุนมีอัตรายืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย -กฎทวีคูณของการลงทุนมีความสำคัญในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แนวคิดฟรีดแมน -นโยบายการเงินโดยการควบคุมปริมาณเงินมีความสำคัญที่สุด -ปริมาณเงินเป็นเสมือนเคมีตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างกว้าขวาง -การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติโดยตรง -การลงทุนอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ความสำคัญอัตราดอกเบี้ยต่อการลงทุนมีน้อย -กฎทวีคูณทางการเงินคือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง 9. ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป หมายถึง ระดับราคาโดยเฉลี่ยของสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ในภาวะเงินเฟ้อราคาสินค้าบางชนิดเท่านั้นที่มีราคาสูงขึ้นมากจนทำให้ระดับราคาสินค้ารวมสูงขึ้นมิได้หมายถึงราคาสินค้าทุกชนิดในระบบเศรษฐกิจต้องสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อแสดงโดยดัชนีราคา สาเหตุของเงินเฟ้อ ด้านอุปทาน (Cost Push Inflation) – การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบ น้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าแรง – ทำให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลง (AS ลดลง) – ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ (Demand Pull Inflation) การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวม การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน เช่น งบประมาณขาดดุล การขยายตัวของสินเชื่อ เกินดุลการค้า ผลกระทบ ผลต่อความต้องการถือเงินลดลง ผลต่อการออมและการลงทุนลดลง เกิดการเก็งกำไร ผลต่อรัฐบาล มีรายได้จากภาษีมากขึ้น ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อคือ ดัชนีราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาขายส่ง สาเหตุ เกิดจาก AD น้อยมาก ประชาชนขาดอำนาจซื้อปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ผลกระทบ การผลิตและการลงทุนหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวช้าหรืออาจตกต่ำลง ข้อแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อกับเงินฝืด ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลาแต่ภาวะเงินฝืดเป็น ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อ – ลูกหนี้ ได้ประโยชน์ เพราะเงินที่ชำระคืนเจ้าหนี้มีค่าน้อยลง – พ่อค้า กำไรเพิ่มขึ้น – ผู้ถือหุ้น รับเงินปันผลมากขึ้น – เจ้าหนี้ เสียประโยชน์ ค่าของเงินที่ได้คืนน้อยลง – ผู้มีรายได้ประจำ รายได้ที่แท้จริงลดลง – ผู้บริโภค ซื้อสินค้าแพงขึ้น ดุลการค้า มีโอกาสขาดดุลเพิ่มขึ้น ภาวะเงินฝืด – ลูกหนี้ เสียประโยชน์ เพราะเงินที่ต้องชำระคืนเจ้าหนี้มีค่ามากขึ้น – พ่อค้า กำไรลดลง หรือขาดทุน ธุรกิจฝืดเคือง – ผู้ถือหุ้น รับเงินปันผลน้อยลง หรืออาจไม่ได้รับ – เจ้าหนี้ ได้ประโยชน์ เพราะ ค่าของเงินที่ได้คืนมากขึ้น – ผู้มีรายได้ประจำ รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น – ผู้บริโภค ซื้อสินค้าถูกลง 10. ตอบ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ 1) ผู้จ่ายเงิน 2) ผู้รับเงิน ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ เช่น ก. นายประหยัด นำเงินไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเชื่อ จำกัด และบริษัทได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นายประหยัดไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเชื่อ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วมีฐานะเป็นลูกหนี้ และนายประหยัดผู้นำเงินไปฝากมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ข. นายประยุทธ ต้องการใช้เงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการค้า จึงไปขอกู้เงินจากนางประภา และได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นางประภาไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น นายประยุทธซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วมีฐานะเป็นลูกหนี้และนางประภาผู้ให้กู้เงินมี ฐานะเป็นเจ้าหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องมีรายการตามกฎหมาย ดังนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 2. คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. วันถึงกำหนดใช้เงิน 4. สถานที่ใช้เงิน 5. ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน 6. วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสาร หรือเอกสารแสดงหลักฐานการกู้ยืมและการชำระหนี้ ซึ่งระบุเวลาที่แน่นอน โดยที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้น ในตั๋วแลกเงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ 1. ผู้สั่งจ่าย 2. ผู้จ่ายเงิน 3. ผู้รับเงิน ผู้สั่งจ่ายที่ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่ง จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ผู้สั่งจ่ายอาจมีฐานะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้แล้วแต่กรณี เช่น ก. นายอำนาจ ซื้อตั๋วเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดนนทบุรี เพื่อที่จะนำตั๋วไปแลกเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดน่าน ในกรณีนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดน่าน ให้จ่ายเงินแก่นายอำนาจ ข. ธนาคารกรุงไทย จำกัด เป็นเจ้าหนี้ของ นายวันชัย ธนาคารจึงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายวันชัย จ่ายเงินให้แก่ธนาคารหรือให้บุคคลอื่นตามคำสั่งของธนาคาร โดยนายวันชัยลงลายมือชื่อรับรองเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีนี้ ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ตั๋วแลกเงิน ต้องมีรายการตามกฎหมายดังต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย 4. วันถึงกำหนดใช้เงิน 5. สถานที่ใช้เงิน 6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน 8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ประโยชน์ ตั๋วสัญญาใช้เงิน มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกิจการต่างๆ เช่น การ กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนของบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจเงินทุนการกู้ยืมเงินในหมู่พ่อค้า หรือธนาคาร โดยที่ผู้กู้เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ทั้งอัตรา ดอกเบี้ยมอบให้ผู้ให้กู้ได้ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้อาจนำตั๋ว สัญญาใช้เงินนั้นไปใช้ประโยชน์ เพราะเปลี่ยนมือได้สะดวก ผู้ให้กู้อาจนำตั๋ว นั้นไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของตนหรืออาจนำตั๋วนั้นไปขายลดให้แก่คนอื่น หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ส่วนตั๋วแลกเงินนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ 11. ตอบ 1.ธนาคารกรุงเทพ เพราะธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศมี สินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 1.67 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 750 สาขา ตู้ ATM กว่า 4,000 เครื่องสาขาไมโครที่เปิดให้บริการ 7 วัน อีกกว่า 175 สาขา มีสาขาที่ต่างประเทศทั้งหมด 19 สาขา 2. ธนาคารธนชาต 12. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์อย่างมากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นในหลายด้าน เช่น การควบคุม การออกแบบและข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเหล่านั้น การให้บริการและการตรวจสอบธนาคาร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนสถาบันการเงินมีส่วนช่วยธนาคารกลางทางด้านการสะสมทุน การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเงินของประเทศ บทบาทสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยในการคุ้มครอง หรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกค้าหรือเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องดำรงเงินสดสำรอง สินทรัพย์สภาพคล่องและกฎเกณฑ์อื่น ๆ ของการดำเนินงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เหตุการณ์ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการของสถาบันการเงินบางแห่งที่มีฐานะไม่มั่น คง การเข้าไปมีหุ้นส่วนหรือเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาบางประการ เป็นต้น ข้อควรปรับปรุง 1. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีควรให้ความเสรีแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ

ณิชนารา บุญจนานนท์

ข้อ 1.

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดเพราะทั้งฝ่ายผู้บริโภค ฝ่ายผู้ผลิต ฝ่ายรัฐบาล ต้องใช้เงินเป็นสื่อกลางทั้งสิ้น เงินบาท ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของคนไทย ทำหน้าที่ในการจ่ายค่าแรง

2. ต้องเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าได้ นอกจากจะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว เงินยังทำหน้าที่เป็นเครื่องแสดงมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการต่างๆ

3. ต้องเป็นเครื่องรักษามูลค่าได้ การเป็นเครื่องรักษามูลค่า หมายความว่า การรักษาความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆได้ ซึ่งการเก็บเงินจะเป็นหนทางที่ดีและสะดวกกว่าการรักษาผลตอบแทนในรูปของสินค้าและผลผลิต ที่เก็บรักษายาก เปลืองเนื้อที่ และอาจจะเกิดความเสียหายเกิดขึ้นได้

4. การเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ หลายครั้งที่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่าง อาจจะมีเรื่องของการกู้หนี้ยืมสินเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นนั้น เงินจะเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่สังคมให้ความยอมรับทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต

ความสำคัญ

ข้อ3.

2.หลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุมัติสินเชื่อ (CREDIT)

การปล่อยสินเชื่อถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของธนาคารพาณิชย์ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์จะได้จากดอกเบี้ยการปล่อยสินเชื่อ และในขณะเดียวกันการปล่อยสินเชื่อเป็นหน้าที่ที่ต้องเผชิญกับอัตราการเสี่ยงสูง ดังนั้นการวางนโยบายสินเชื่อที่มีสมรรถภาพ จึงจำเป็นสำหรับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เพื่อที่จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์ของธนาคารพาณิชย์ และรับใช้บริการแก่สาธารณะที่ธนาคารพาณิชย์ตั้งอยู่อย่างพอใจและมีประสิทธิภาพ

2.1 หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ

หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ 6 ประการด้วยกันโดยแต่ละหลักมีแหล่งข้อมูลและเครื่องบ่งชี้ทั้งในเชิงประมาณ (Quantitative) และในเชิงคุณภาพ (Qualitative

2.2 หลักการวิเคราะห์ 5 Ps Credit

2.2.1 PEOPLE (ผู้ขอเครดิต) ความตั้งใจจริงและความสามารถในการชำระหนี้วิเคราะห์จาก Bank Statement

2.2.2 PURPOSES (วัตถุประสงค์การขอเครดิต) จะมีจุดสำคัญ 2 ประการคือ

ก. อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ขอกู้ยืม เมื่อได้เงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนตามวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดรายได้หรือผลกำไรกลับคืนมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการชำระหนี้

ข. วัตถุประสงค์นั้นจะต้องสามารถสนองต่อเจ้าหนี้ได้ คือ การได้รับชำระหนี้และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินลงทุนเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลด

2.2.3 PAYMENT (การชำระเงิน) หมายถึงการชำระคืน การที่ลูกหนี้จะสามารถชำระหนี้และดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ได้ ความสามารถในการหารายได้หรือความสามารถในการทำกำไรเป็นจุดสำคัญที่จะลดความเสี่ยงให้น้อยลง นั้นก็คือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืนมาพร้อมกับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

2.2.4 PROTECTION (หลักประกัน)หมายถึงการป้องกันความเสี่ยง หลักประกันหรือคุณภาพของสินทรัพย์จะเป็นตัวผ่อนคลายความเสี่ยง

2.2.5 PROSPECTIVE (ความเจริญก้าวหน้าของกิจการ) เป็นการพัฒนาถึงผลการดำเนินธุรกิจของกิจการที่ขอสินเชื่อซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ

2.3 หลักการวิเคราะห์ 6 Cs Credit

ในการพิจารณาสินเชื่อแก่ลูกค้านั้น ตามกระบวนการจะต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้รู้ฐานะทางเครดิตของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อให้รู้ว่าเมื่อให้สินเชื่อไปแล้วจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อยู่ในข่ายที่ยอมรับได้หรือไม่

ความเสี่ยง (Risks) จะเกิดขึ้นนับตั้งแต่ธนาคารเริ่มให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจนกว่าลูกค้าจะชำระหนี้หมด ดังนั้น การจะให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจึงจะต้องมีการประเมินความเสี่ยง ซึ่งในการประเมินนั้นจะต้องคำนึงถึงขอบข่ายของอัตราเสี่ยง(เสี่ยงได้กี่เปอร์เซ็นต์) ทั้งในด้านวงเงิน ระยะเวลา เงื่อนไขและหลักประกันในการประเมินความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจในการที่จะให้หรือปฎิเสธการขอสินเชื่อของลูกค้าจะมีเทคนิคอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยง

ข้อ4.

แนวคิดการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบเคนส์นั้น ก่อกำเนิดมาจากยุคสมัยเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งเคนส์ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาการว่างงาน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยการให้ภาครัฐ แสดงบทบาทในฐานะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แทนที่ภาคเอกชน

ฟรีดแมนได้เตือนให้เห็นถึงอันตราย ของการใช้นโยบายการเงิน และการคลังที่มุ่งกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เขาได้ทำนายไว้ล่วงหน้าว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องพบกับหายนะจากปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง หากยังคงดำเนินนโยบายเช่นนี้อยู่

แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นของเขานั้น จะถูกเยาะเย้ย ถากถางจากฝ่ายตรงข้าม แต่ฟรีดแมนไม่เคยละทิ้งจุดยืนของเขาเลย

ตรงกันข้ามเขากลับนำเสนองานศึกษา (ร่วมกับ แอนนา เจ ชวอตซ์ (Anna J. Schwatz)) ที่แน่นไปด้วยหลักฐานทางสถิติ ซึ่งวิเคราะห์ถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศสหรัฐ ในช่วงปี ค.ศ.1930 ฟรีดแมนชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาด ในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นทั้งตัวก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และซ้ำเติมให้ภาวการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อกว่าที่ควร

และคำกล่าวเชยๆ ที่ว่า "เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์" ยังคงความขลังอยู่เช่นเคย

ข้อ6.

ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

แต่

ดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index หรือ PPI)

ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ผู้ผลิตทำการผลิตออกจำหน่าย ณ แหล่งผลิตในปีใดปีหนึ่ง เปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดและจำนวนเดียวกันในปีฐาน

ข้อ7.

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

เป้าหมายทางเศรษฐกิจปี 2554 สำหรับประเทศไทย

ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ผมคิดว่าเป้าหมายทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยในปีนี้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ประการแรกคือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมให้คงอยู่ไว้ และ ประการที่สองคือ การส่งเสริมพัฒนาความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

นโยบายการเงิน

ในส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบของแบงก์ชาตินั้น ความสมดุลนับเป็นหัวใจหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากอันดับต้นๆ สำหรับการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค ในทางปฏิบัตินั้นมีความหมายว่า เมื่อเศรษฐกิจกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่มีความสมดุลแล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายการเงินจะต้องปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลให้สอดคล้องกัน เพราะหากนโยบายการเงินยังคงผ่อนคลายเกินพอดีแม้ว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็จะส่งแรงผลักดันต่ออัตราเงินเฟ้อจนในที่สุดแล้วเป็นเหตุให้ระบบเศรษฐกิจเสียความสมดุลเสียเอง ดังนั้นในปี 2554 นี้ จึงเป็นปีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. นั้นยังมีความจำเป็นต้องทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อนำนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

อีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจกันพอสมควร คือแนวทางการบริหารจัดการของแบงก์ชาติในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าเงินบาท ว่าจะเป็นอย่างไรในปีนี้ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลทำให้ค่าเงินแข็งค่า ทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ ก่อนอื่นผมขอเรียนยืนยันว่ากรอบการทำงานของแบงก์ชาติ ไม่ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือนโยบาย และเรายังยึดมั่นในแนวคิดที่ให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวได้ตามกลไกตลาด โดยแบงก์ชาติจะไม่เป็นผู้กำหนดระดับที่เหมาะสมของค่าเงินบาท แต่ให้ค่าเงินสามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ไปตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แบงก์ชาติยังคงยึดหลักการนี้ในการดำเนินนโยบายอยู่เช่นเดิม

ข้อ9.

เงินเฟ้อเป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่ระดับราคาและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติหรือเป็นภาวะที่ค่าหน่วยเงินตราลดลงไปเรื่อยๆเป็นเหตุให้เงินจำนวนเดียวกันนี้ไม่สามารถจะซื้อสินค้าและบริการจำนวนเดียวกันได้เมื่อเวลาล่วงเลยไปกล่าวอีกนัยได้ว่าปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้า

แต่

เงินฝืดหรือเงินฟุบหรือเงินแฟบหมายถึงภาวะที่ระดับสินค้าและบริการลดลงเรื่อยๆ แม้สินค้าจะมีราคาถูกแต่ก็ขายไม่ออกเพราะประชาชนยากจนไม่มีเงินซื้อ เมื่อเกิดสภาวะนี้จะไม่มีใครอยากลงทุนลงทุนแล้วสินค้าที่ผลิตก็ขายไม่ออก

กรรมกรจะว่างงานเป็นจำนวน

ข้อ10.

ตั๋วสัญญาแลกเงิน ( Promissory Notes )

มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั่วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

แต่

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

อย่างไรตาม การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่ในตั๋วเงิน แสดงว่ายอมให้ผู้มีสิทธิในตั๋วนั้นลงวันที่ได้โดยสุจริต ตั๋วเงินนั้นย่อมสมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำมั่นอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน มีวัยถึงกำหนดใช้เงิน (ถ้าไม่มี ถือว่าใช้เงินเมื่อเห็น) / มีสถานที่ใช้เงิน (ถ้าไม่มี ให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) / มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋ว (ถ้าไม่ระบุวันออกตั๋ว ผู้ทรงตั๋วชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริต จะจดวันถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ออกตั๋วไว้ ให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) และที่สำคัญคือ ต้องลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว อนึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องระบุชื่อผู้รับเงินเสมอ จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้

ข้อ11.

ธ. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน

ธ. กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธ. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

สุรัชดา ธรรมสวัสดิ์

1. ตอบ เงิน คือสิ่งที่คนในสังคมได้สมมติขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

หน้าที่ของเงิน เงินที่นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเงินชนิดใด ๆ ทำหน้าที่สำคัญ ๆ 4 ประการ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกกว่าการแลกเปลี่ยนในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เพราะเมื่อมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผู้เป็นเจ้าของสินค้าก็จะแลกเปลี่ยนสินค้าของตนกับเงิน (คือการขายสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการ) ส่วนผู้ที่ต้องการสินค้าก็จะนำเงินไปแลกเปลี่ยนกับสินค้า (คือการซื้อสินค้าจากผู้ที่ต้องการขาย) การซื้อขายสินค้าทำได้สะดวกและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะกระตุ้นให้การผลิตและการลงทุนขยายตัวต่อไป แต่การที่เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้นั้น เงินจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญบางประการคือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำเงินจะต้องเป็นของหายากหรือยากต่อการปลอมแปลง และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ เงินสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆได้ และสามารถนำติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย

2. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า

ใน ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการใช้เงิน หน่วยในการวัดมูลค่าของสินค้า ได้แก่เกวียน อัน แท่ง เมตร และต้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ข้าว 1 เกวียน ไก่ 1 ตัว ผ้า 1 เมตร ระยนต์ 1 คัน ทำให้การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าต่างชนิดกันทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหลายอัตรา เช่น ข้าว 1 เกวียนเท่ากับไก่ 50 ตัว แต่เท่ากับผ้าไหม 5 เมตรเป็นต้น การที่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมากหรือหลายอัตรา ทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสน และบางทีเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่าได้ทุกชนิด แต่เมื่อมีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ เงินจะทำหน้าที่เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า สินค้าและบริการทุกชนิดจะถูกกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงิน กล่าวคือ วัดมูลค่าสินค้าออกมาเป็นราคานั่นเอง เช่นข้าว 1 เกวียน มีมูลค่าหรือราคา 5,000 บาท ไก่ 1 ตัวมีมูลค่าหรือราคา 100 บาท ทำให้การวัดและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น เพราะอยู่ในหน่วยเงินเดียวกัน

3. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า

ในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า บุคคลจะต้องเก็บสะสมสินค้าไว้เพื่อการแลกเปลี่ยนในอนาคต หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่ง (wealth) ของตน แต่สินค้าหลายอย่างเก็บสะสมไว้ไม่ได้นาน เพราะเสื่อมคุณภาพโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าเกษตรต่าง ๆ สินค้าบางอย่างไม่สามารถเก็บสะสมได้มาก เพราะต้องใช้เนื้อที่มากในการจัดเก็บ เช่น ข้าว เกลือ รถยนต์ เป็นต้น แต่เมื่อมีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ บุคคลไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมสินค้าไว้ เพียงแต่ขายสินค้านั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาเก็บไว้แทน และเก็บสะสมเงินไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการสินค้าและบริการ ก็นำเงินที่สะสมไว้มาซื้อสินค้าที่ต้องการ ดังนั้น เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (a store of value) ทำให้บุคคลสามารถพักอำนาจซื้อสินค้าในปัจจุบัน หรือเลื่อนอำนาจซื้อในปัจจุบันไปสู่อนาคตหรือในเวลาอื่นที่ต้องการได้ แต่เงินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่ดีได้ก็ต่อเมื่ออำนาจซื้อของเงินที่สะสมไว้จะต้องไม่ลดลง กล่าวคือ เงินแต่ละหน่วยจะยังคงแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม เงินแต่ละหน่วยจะมีอำนาจซื้อลดลงก็ต่อเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น เดิมเงินจำนวน 100 บาทซื้อส้มเขียวหวานได้ 2 กิโลกรัม แสดงว่าส้มราคากิโลกรัมละ 50 บาท ต่อมาส้มมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 70 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 100 บาท เท่าเดิมจะซื้อส้มได้น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จึงแสดงว่าอำนาจซื้อของเงินลดลง ถ้าบุคคลคาดว่าอำนาจซื้อของเงินจะลดลงเรื่อย ๆ บุคคลจะไม่เก็บหรือสะสมเงิน แต่จะหันไปสะสมสินทรัพย์อย่างอื่นแทนที่มีมูลค่าหรือราคาไม่ลดลง หรือไม่ลดลงมากเหมือนอำนาจซื้อของเงิน เช่น บ้านและที่ดิน ทองคำ เป็นต้น

4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้

ถ้าไม่มีการใช้เงินในระบบเศรษฐกิจ การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขอยืมข้าวเปลือกจากนาย ข. 1 ถัง โดยมีกำหนดชำระคืนภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดชำระคืน นาย ก. จะต้องหาข้าวเปลือกมาใช้คืน นาย ข. 1 ถัง และจะต้องเป็นข้าวเปลือกชนิดเดียวกับที่ขอยืมไปจาก นาย ข. ด้วย ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการกู้ยืมระหว่าง นาย ก. และนาย ข. ทำให้การกู้ยืมและการชำระหนี้ทำได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีการนำเงินมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นาย ข. ก็เพียงคิดค่าข้าวที่นาย ก. ขอยืมไปว่ามีมูลค่าคิดเป็นเงินเท่ากับเท่าใด เมื่อถึงเวลาชำระหนี้คือ นาย ก. ก็เพียงแต่นำเงินมาชำระหนี้เท่านั้น ก็จะเป็นการสะดวกกว่าชำระหนี้ด้วยสิ่งของ ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงิน ทำให้มีการกู้ยืม การให้สินเชื่อแก่กัน ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการผลิตและการลงทุน จึงทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมเศรษฐกิจมากกว่าในระบบเศรษฐกิจที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า

ความสำคัญของเงิน

ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

เนื่องจากทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด และมนุษย์แต่ละคนมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด และมนุษย์แต่ละคนไม่สามารถผลิตสิ่งของทุกอย่างที่ตนเองต้องการได้ มนุษย์จึงจำเป็นต้องนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ตนมีความต้องการบริโภค ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจึงมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ จนถึงสมัยปัจจุบัน

คุณสมบัติของเงินที่ดี

1. ต้องเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป

2. ต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

3. ต้องมีลักษณะคงทนถาวร ไม่บุบสลายง่าย

4. ต้องมีค่ามากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของเงินนั้น กล่าวคือมีมูลค่ามาก แต่ขนาดเล็กพกพาขนส่งได้สะดวก

5. แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยได้ง่าย เช่นมีธนบัตรฉบับละ 10, 20 ,50 100 500 และ1,000 ทั้งนี้เพื่อเหมาะสมกับการนำไปซื้อสินค้าที่มีหลายราคา

4. ตอบ แนวคิด เคนส์

- นโยบายการคลังสำคัญกว่านโยบายการเงิน

-ปริมาณเงินเป็นเสมือนน้ำมันล่อลื่น

-การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไปกำหนดการลงทุนจ้างงานและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ

-การลงทุนมีอัตรายืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย

กฎทวีคูณของการลงทุนมีความสำคัญในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

แนวคิดฟรีดแมน

นโยบายการเงินโดยการควบคุมปริมาณเงินมีความสำคัญที่สุด -

ปริมาณเงินเป็นเสมือนเคมีตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างกว้าขวาง

-การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติโดยตรง

-การลงทุนอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ความสำคัญอัตราดอกเบี้ยต่อการลงทุนมีน้อย

-กฎทวีคูณทางการเงินคือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

9 ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป หมายถึง ระดับราคาโดยเฉลี่ยของสินค้าและบริการประเภทต่างๆ ในภาวะเงินเฟ้อราคาสินค้าบางชนิดเท่านั้นที่มีราคาสูงขึ้นมากจนทำให้ระดับราคาสินค้ารวมสูงขึ้นมิได้หมายถึงราคาสินค้าทุกชนิดในระบบเศรษฐกิจต้องสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อแสดงโดยดัชนีราคา

สาเหตุของเงินเฟ้อ

ด้านอุปทาน (Cost Push Inflation)

– การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบ น้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าแรง

– ทำให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลง (AS ลดลง)

– ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ (Demand Pull Inflation)

การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวม

การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน เช่น งบประมาณขาดดุล การขยายตัวของสินเชื่อ เกินดุลการค้า

ผลกระทบ ผลต่อความต้องการถือเงินลดลง ผลต่อการออมและการลงทุนลดลง เกิดการเก็งกำไร

ผลต่อรัฐบาล มีรายได้จากภาษีมากขึ้น

ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อคือ ดัชนีราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาขายส่ง สาเหตุ เกิดจาก AD น้อยมาก ประชาชนขาดอำนาจซื้อปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป

ผลกระทบ การผลิตและการลงทุนหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวช้าหรืออาจตกต่ำลง

ข้อแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อกับเงินฝืด

ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลาแต่ภาวะเงินฝืดเป็น ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ภาวะเงินเฟ้อ

– ลูกหนี้ ได้ประโยชน์ เพราะเงินที่ชำระคืนเจ้าหนี้มีค่าน้อยลง

– พ่อค้า กำไรเพิ่มขึ้น

– ผู้ถือหุ้น รับเงินปันผลมากขึ้น

– เจ้าหนี้ เสียประโยชน์ ค่าของเงินที่ได้คืนน้อยลง

– ผู้มีรายได้ประจำ รายได้ที่แท้จริงลดลง

– ผู้บริโภค ซื้อสินค้าแพงขึ้น

ดุลการค้า มีโอกาสขาดดุลเพิ่มขึ้น

ภาวะเงินฝืด

– ลูกหนี้ เสียประโยชน์ เพราะเงินที่ต้องชำระคืนเจ้าหนี้มีค่ามากขึ้น

– พ่อค้า กำไรลดลง หรือขาดทุน ธุรกิจฝืดเคือง

– ผู้ถือหุ้น รับเงินปันผลน้อยลง หรืออาจไม่ได้รับ

– เจ้าหนี้ ได้ประโยชน์ เพราะ ค่าของเงินที่ได้คืนมากขึ้น

– ผู้มีรายได้ประจำ รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น

– ผู้บริโภค ซื้อสินค้าถูกลง

10. ตอบ ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ

1) ผู้จ่ายเงิน 2) ผู้รับเงิน

ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ เช่น

ก. นายประหยัด นำเงินไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเชื่อ จำกัด และบริษัทได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นายประหยัดไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเชื่อ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วมีฐานะเป็นลูกหนี้ และนายประหยัดผู้นำเงินไปฝากมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

ข. นายประยุทธ ต้องการใช้เงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการค้า จึงไปขอกู้เงินจากนางประภา และได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นางประภาไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น นายประยุทธซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วมีฐานะเป็นลูกหนี้และนางประภาผู้ให้กู้เงินมี ฐานะเป็นเจ้าหนี้

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องมีรายการตามกฎหมาย ดังนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)

ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสาร หรือเอกสารแสดงหลักฐานการกู้ยืมและการชำระหนี้ ซึ่งระบุเวลาที่แน่นอน โดยที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้น ในตั๋วแลกเงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

1. ผู้สั่งจ่าย

2. ผู้จ่ายเงิน

3. ผู้รับเงิน

ผู้สั่งจ่ายที่ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่ง จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ผู้สั่งจ่ายอาจมีฐานะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ได้แล้วแต่กรณี เช่น

ก. นายอำนาจ ซื้อตั๋วเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดนนทบุรี เพื่อที่จะนำตั๋วไปแลกเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดน่าน ในกรณีนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ในจังหวัดน่าน ให้จ่ายเงินแก่นายอำนาจ

ข. ธนาคารกรุงไทย จำกัด เป็นเจ้าหนี้ของ นายวันชัย ธนาคารจึงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายวันชัย จ่ายเงินให้แก่ธนาคารหรือให้บุคคลอื่นตามคำสั่งของธนาคาร โดยนายวันชัยลงลายมือชื่อรับรองเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีนี้ ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย มีฐานะเป็นเจ้าหนี้

ตั๋วแลกเงิน ต้องมีรายการตามกฎหมายดังต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4. วันถึงกำหนดใช้เงิน

5. สถานที่ใช้เงิน

6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน

8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ประโยชน์

ตั๋วสัญญาใช้เงิน มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกิจการต่างๆ เช่น การ กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนของบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจเงินทุนการกู้ยืมเงินในหมู่พ่อค้า หรือธนาคาร โดยที่ผู้กู้เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ทั้งอัตรา ดอกเบี้ยมอบให้ผู้ให้กู้ได้ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้อาจนำตั๋ว สัญญาใช้เงินนั้นไปใช้ประโยชน์ เพราะเปลี่ยนมือได้สะดวก ผู้ให้กู้อาจนำตั๋ว นั้นไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของตนหรืออาจนำตั๋วนั้นไปขายลดให้แก่คนอื่น หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ส่วนตั๋วแลกเงินนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนมือได้

11. ตอบ 1.ธนาคารกรุงเทพ เพราะธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศมี สินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 1.67 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 750 สาขา ตู้ ATM กว่า 4,000 เครื่องสาขาไมโครที่เปิดให้บริการ 7 วัน อีกกว่า 175 สาขา มีสาขาที่ต่างประเทศทั้งหมด 19 สาขา

2. ธนาคารธนชาต

12. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์อย่างมากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นในหลายด้าน เช่น การควบคุม การออกแบบและข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเหล่านั้น การให้บริการและการตรวจสอบธนาคาร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนสถาบันการเงินมีส่วนช่วยธนาคารกลางทางด้านการสะสมทุน การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเงินของประเทศ

บทบาทสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยในการคุ้มครอง หรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกค้าหรือเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องดำรงเงินสดสำรอง สินทรัพย์สภาพคล่องและกฎเกณฑ์อื่น ๆ ของการดำเนินงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เหตุการณ์ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการของสถาบันการเงินบางแห่งที่มีฐานะไม่มั่น คง การเข้าไปมีหุ้นส่วนหรือเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาบางประการ เป็นต้น

ข้อควรปรับปรุง

1. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีควรให้ความเสรีแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ

พรนภัส โกไสยาภรณ์

1.ตอบ

หน้าที่ของเงิน เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

8.ตอบ

ปัญหาในเศรษฐกิจบ้านเรานั้นเป็นไปค่อนข้างยาก เพราะเราพึงเจอน้ำท่วมมา ไหนกว่าจะได้อนุมัติ ต้องยื่นเรื่อง6เดือนดิฉันคิดว่าเราควรจะเพิ่มเติมฟื้นฟูประเทศ สภาพจิตใจแล้วค่อนส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมเกษตรกร การใช้น้ำมันในประเทศและด้านอื่นๆให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่ยังไม่เข้าใจนโยบาย6มาตราการและอื่นๆเพราะจะทำให้เศรษฐกิจของเราดีขึ้น ถ้าจะปรับปรุงก็ต้องเป็นเศรษฐกิจบ้านเมือง ให้มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบคอลรับชั่นกฏหมายให้มีความเข้มแข็ง ปลูกฝังลุกหลานให้รู้จักพัฒนาบ้านเกิดและให้ทำพื้นที่รับน้ำไว้ป้องกันเพื่อที่น้ำจะได้ไม่มีปัญหา

9.ตอบ

ภาวะเงินเฟ้อการที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ เราเสียประโยชน์

11.ตอบ

1.ธนาคารกสิกร

2.ธนาคารกรุงเทพ

3.ธนาคารธนชาติ

4.ธนาคารไทยพาณิชย์

5.ธนาคารทหารไทย

6.ธนาคารสเตนดาน

7.ธนาคารยูโอบี

8.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

12.ตอบ

ธนาคารแห่งประเทศไทยควรปรับปรุงภาษี ดอกเบี้ยเพราะถ้าภาษีเพิ่มขึ้นเราต้องใช้จ่ายสูงขึ้นราคาของจะแพงควบคลุมก็จะลำบากมากขึ้น แล้วทำให้ประชาชนเดือดร้อนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ภาระหนักมากขึ้น อาจทำให้เงินเฟ้อและเงินฝืดได้ต้องค่อยปรับไปเรื่อยๆ

นางสาวพรนภัส โกไสยาภรณ์ เลขที่ 11 รหัสนักศึกษา 54127326012

คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร01)

วิชาการเงินและการธนาคาร

นางสาว อรนุช เพียราชโยธา

ข้อ 1 ตอบ หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

ข้อ10. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วที่ทำสัญญากันภายใน ไม่เกิน2วันทำการ เกี่ยวข้องกับ ตลาดการเงินเนื่องจากรวดเร็ว และทันต่อเวลา

ตั๋วแลกเงิน(b/e) ตั๋วที่มีระยะการไถ่ถอนไม่เกิน 1ปี เกี่ยวข้องกับตลาดการการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่งและใช้มากหรือว่าบ่อยมากในทางการเงิน

ข้อ 9. ภาวะเงินเฟ้อ ก็คือภาวะการเงิน ที่ค่าเงิน ลอยตัวเงินไม่มีค่า

ภาวะเงินฝืดก็คือ สภาพการเงินมันฝืด เงินไม่ไหล ไม่คล่องตัว

ใครได้ประโยชน์ ประเทศฝั่งตรงข้ามได้ประโยชน์ หรือ คู่แข่งขันทางธุริกิจ

ใครเสียประโยชน์ สภาวะทางการเงินและทางเศรษฐกิจของปนะเทศนั้นๆที่ได้รับความเดือนร้อน

ข้อ 11. ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารธนชาติ

ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารทหารไทย

ธนาคารUOB

ธนาคาร cimb

ธนาคาร นครหลวงไทย เป็นต้น

ข้อ3 .ปัจจัยการกู้เงิน และสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ

1.ระบบและปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

2.การกู้ยืมสินเชื่อเงินสด

3. การกู้ยืมสินเชื่อจำนองที่ดิน

ข้อ7. ภาวะเงินฝืด

เพราะ เกิดจากสภาพคล่องตัวทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่คล่องตัวเป็นไปได้น้อยไม่ค่อยมีการไหลหมุนเวียนทางการเงิน ทำการธุรกิจนั้นก็พลานเป็นเหตุผลให้ไปเหมือนกันทั้งสิ้น

แนวทางแก้ไข ก็คือ ไม่ใช้จ่ายเงินตามอัธยาศัย หรือใช้เงินเกินจำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่าย ใช้เงินอย่างประหยัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์อันสูงสุด แก่สิ่งของนั้นๆ เงินหายากแต่ตอนใช้จ่ายไป ทำได้ง่าย

ข้อ6 .

ราคาผู้ผลิต การผลิตที่ให้เสียต้นทุนต่ำสุดแต่ได้ผลประโยชน์อันสูงสุดได้รับการยอมหรือเป็นที่รู้จักและเป็นที่พอใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมากที่ใช้หรือทดลองครั้งแรกไปแร้วก็ติดใจ หรือติดตามตัวสินค้าหรือผลิตภัณท์นั้นต่อไปว่าจะมีการพัฒนาที่ดีต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่ก็อาจจะไม่ติดตามผลิตภัณท์นั้นก็ว่าได้

ส่วนราคาผู้บริโภค ราคาต่ำสุด แต่ต้นทุนไม่คิดหรือประมาณอาจเสียมาก หรือเสียไม่มากก็แล้วแต่ แต่ผู้บริโภคมักชอบสินค้าที่มีราคาถูก หรือแพงแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันแต่ที่ผู้บริโภคมักให้การยอมรับนั้นก็สินค้าที่มีราคาต่ำ หรือว่าถูกนั่นเองจึงทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคนี้สูงขึ้น

ข้อ12. ธนาคารแห่งประเทศไทย

มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ

1. เป็นแหล่งสำรองเงินที่สำคัญที่เวลาธนาคารพาณิชย์มีเงินขาดก็ที่พึ่งสุดท้ายก็คือกู้ยืมเงินที่ต้องการได้ทุกครั้ง และ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะมมีให้กู้ยืมทุกครั้ง

2. มีบทบาทต่อสังคมกับธนาคารพาณิชย์

3. เป็นแหล่งกู้ยืมเงินที่สำคัญ

4. เป็นผู้ดูแล ควบคุมธนาคารพาณิชย์ต่างๆ

5. เป็นที่สำคัญๆ ด้านอื่นๆในทุกด้าน

6. เป็นแหล่งเงินทุนสำคัญในประเทศและใหญ่ที่สุด

ข้อ 5. ราคาผู้บริโภคมีขั้นตอนในการทำ 5 ขั้นตอน

1.วัถุดิบ แผนกที่1

2.แผนกที่2(งานระหว่างทำ)กระบวนการผลิต

3. แผนกที่3(งานระหว่างทำ) “

4.แผนกที่4 (งานระหว่างทำ) “

5. จัดเก็บไปไว้ใน(คลังสินค้า) “

การรายงานการผลิตคืองานระหว่างทำโอนไปสินค้าที่ผลิตเสร็จหรือไปไว้บัญชีสินค้าสำเร็จรูป

ข้อ1.

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนระหว่าง สินค้าและบริการ โดยมีอัตราของเงินแต่ละชนิด แตกต่างกัน ซึ่งในแต่ละเทศจะมีอัตราของเงินแบ่งแยกตามคุณภาพ ตามราคาของมัน

ความสำคัญ คือ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นหน่วยวัดมูลค่า เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า อดีตก็เป็นมาตรการในการชำระหนี้ในภายหน้าเช่นกัน วัตถุหรือเอกสารที่ตรวจสอบได้และปลอดภัยใด ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เหล่านี้ล้วนเป็นเงินทั้งสิ้น

คุณสมบัติของเงินจะมีลักษณะแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นโลหะ หรือกระดาษ โลหะจะมีลักษณะ ขนาด คุณภาพ แตกต่างกันไป ส่วนกระดาษจะมีลักษณะ สี ขนาดแบ่งแยกกันไปเงินถือกำเนิดขึ้นเป็นเงินที่เป็นสิ่งของ แต่ระบบเงินร่วมสมัยแทบทั้งหมดเป็นแบบเงินกระดาษ เงินกระดาษนั้นปราศจากมูลค่าใช้สอยแท้จริงเฉกเช่นสินค้าทางกายภาพ และค่าของเงินกระดาษมาจากการประกาศของรัฐบาลให้เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย นั่นคือ เงินนั้นจะต้องได้รับการยอมรับให้เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนภายในอาณาเขตของประเทศ กับ "หนี้สินทั้งหมด ทั้งหนี้สาธารณะและเอกชน"

ข้อ 3

ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราห์สินเชื่อ

• เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

• เพื่อขยายธุรกิจ

• เพื่อปรับปรุงกิจการ หรือสถานประกอบการ

เพื่อเป็นเงินลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์การให้สินเชื่อ

• เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

• เพื่อขยายธุรกิจ

• เพื่อปรับปรุงกิจการ หรือสถานประกอบการ

• เพื่อเป็นเงินลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

ผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนตามที่ธนาคารกำหนด โดยมีคุณสมบัติดังนี้

บุคคลธรรมดา

• มีสัญชาติไทย

• บรรลุนิติภาวะและมีความสามารถเข้าทำนิติกรรมตามกฎหมาย

• อายุรวมของผู้กู้และระยะเวลาการกู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี

• ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน

นิติบุคคล

• มีจำนวนหุ้นที่บุคคลสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

• ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน

วงเงินสินเชื่อ

ธนาคารให้สินเชื่อตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยดูจากศักยภาพของกิจการเป็นหลัก

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ

• บจก. เคทีบีลีสซิ่ง (KTBL)

• บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC)

• บจก. กรุงไทย ไอบีเจ ลิสซิ่ง (KTIBJ)

ข้อ5

ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

การแบ่งหมวด ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพก็ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การรักษาพยาบาล ส่วนพวกสินค้าฟุ่มเฟือยก็ได้แก่ บริการส่วนบุคคล พาหนะ และบริการการขนส่ง การบันเทิง ยาสูบ และเครื่องดื่มที่ทีแอลกอฮอล

ส่วนการเก็บราคาสินค้านั้นเก็บได้จากตลาดต่างๆที่กำหนดไว้เป็นประจำ และจัดเก็บตามลักษณะจำเพาะของสินค้าที่กำหนดให้กับสินค้าแต่ละรายการ ตามการสำรวจความนิยมของ ผู้บริโภค เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน จนถึงรายไตรมาส

การรายงาน

ตัวอย่างการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ลองคำนวณเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ ปี 2543 กับ ปี 2544 สมมติตัวเลข ปี 2543 เป็น 197.7 และปี 2544 เป็น 202.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2544 เพิ่มจากปี 2543 ดังนี้ = (202.6/197.7) x 100 = 102.5 ดังนั้นดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 102.5-100 = 2.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2544 ที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจบ่งบอกได้ถึงภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 ไม่ถือว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

ข้อจำกัดในการใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค

การใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคก็มีข้อจำกัดอยู่บางประการ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะนำไปใช้

• ดัชนีราคาผู้บริโภคใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่ซื้อขายกันในกลุ่มผู้ทำงานและมีรายได้ระดับกลางเท่านั้น ไม่สามารถจะนำไปใช้กับผู้มีรายได้ระดับอื่นหรือใช้กับคนทั่วไปได้ และไม่อาจใช้แทนดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคเฉพาะกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกัน

• ดัชนีราคาผู้บริโภคใช้วัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงราคาที่แท้จริงของสินค้าและบริการแต่ไม่ได้มีผลต่อการวัดปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการใช้จ่ายในการครองชีพของครอบครัว

ข้อ 6

• ดัชนีราคา (Price Index)

ค่าเปรียบเทียบระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับ

ระดับราคาในปีฐาน โดยให้ปีฐาน = 100

• ปีฐานจะต้องเป็นปีที่มีสภาวะเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ

กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดทำดัชนี

• ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2552 = 103 หมายความว่า

“ราคาสินค้าทั่วไปโดยเฉลี่ยในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปีฐาน 3%”

• อัตราเงินเฟ้อ วัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา

เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2552 = 103

ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2553 = 105

อัตราเงินเฟ้อในปี 2553 = (105-103) x 100 = ….%

ข้อ9

.ภาวะ เงินเฟ้อ คือ

.-ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

.-เครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อคือ ดัชนีราคา

-ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาขายส่ง

ภาวะเงินฝืด คือ คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

– เครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อคือ ดัชนีราคา

– ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาขายส่ง

– สาเหตุ เกิดจาก AD น้อยมาก ประชาชนขาดอำนาจซื้อ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป

ความแตกต่าง เงินเฟ้อ ราคาสินค้าสูง การเพิ่มของปริมาณเงิน อุปสงค์เพิ่ม ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มตาม

ส่วนเงินฝืด ราคาสินค้าลดลง การผลิตก็เกิดการหยุดชะงัก เศรษฐกิจขยายตัวช้า

ฝ่ายที่ได้ประโยชน์

1.พ่อค้า = กำไรเพิ่มขึ้น

2.ผู้ถือหุ้น= รับเงินปันผลมากขึ้น

3.ลูกหนี้ = ได้ประโยชน์ เพราะเงินที่ชำระ คืนเจ้าหนี้มีค่าน้อยลง

ฝ่ายเสียประโยชน์ คือ

1.เจ้าหนี้ =เสียประโยชน์ ค่าของเงินที่ได้คืนน้อยลง

2.ผู้มีรายได้ประจำ = รายได้ที่แท้จริงลดลง

3.ผู้บริโภค = ซื้อสินค้าแพงขึ้น

ข้อ 10.

คือ การซื้อลดตั๋วเงิน (discounting blll) คือ การที่ธนาคารรับซื้อตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระเงินจากลูกค้าที่นำมาขายลดให้ ผลประโยชน์ที่ธนาคารได้รับก็คือ ได้หักส่วนลดจากลูกค้าตามอัตราซื้อลดที่ธนาคารกลางกำหนด ส่วนลูกค้าแม้จะได้รับเงินน้อยกว่าที่ระบุไว้ในตั๋วเงิน

แต่ก็จะได้ประโยชน์ตรงที่ได้รับเงินสดไปใช้ทันที ไม่ต้องรอให้ตั๋วเงินถึงกำหนดเวลาชำระเงิน

ข้อ 11

ธนาคาร ออมสินเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนแล้วนำมาให้รัฐบาลกู้ยืมโดยการซื้อพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังของรัฐบาล กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินฝากของธนาคารออมสินส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล และต่อมาเมื่อรัฐบาลมีตัวเงินสดเกิดดุล จึงไม่ได้กู้ยืมจากธนาคารออมสิน ดังนั้นธนาคารออมสินจึงเริ่มให้เอกชนกู้ยืมมากขึ้น ธนาคารมีสาขากระจายออกไปทั่วประเทศ หน้าที่หลักของธนาคารออมสิน มีดังนี้

1. บริการเงินฝาก ธนาคารออมสินเปิดบริการรับฝากเงินประเภทต่างๆ เช่น เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากเผื่อเรียก (ออมทรัพย์) เงินฝากประจำ สลากออมสิน เงินฝากประเภทสงเคราะห์ทวีคูณ เงินฝากประเภทเคหะสงเคราะห์ เป็นต้น

2. การลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ ธนาคารออมสินระดมเงินออมจากประชาชนมาลงทุนในทางก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม เช่น ซื้อตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลเพื่อให้นำไปใช้พัฒนาประเทศให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจและเอกชนกู้ยืม เป็นต้น

3. ส่งเสริมการออมทรัพย์ ธนาคารออมสินมีนโยบายส่งเสริมการออม และอำนวจความสะดวกให้แก่ประชาชนและเยาวชนที่ต้องการเก็บออม โดยจะออกไปบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ตามที่หน่วยราชการบริษัทห้างร้านโรงงาน ฯลฯ แจ้งความความประสงค์ขอใช้บริการ และไปรับฝากเงินตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อปลูกฝังนิสัยให้เยาวชนรู้จักประหยัดและเก็บออมทรัพย์

4. การรับฝากเงินประเภทการแสรายวัน เป็นการรับฝากที่ต้องจ่ายคืนทันทีเมื่อทวงถาม เงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก หรือไม่มีดอกเบี้ย และใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงิน

5. อื่นๆ ธนาคารออมสินจำหน่ายตราสารประเภทพันธบัตรออมสิน และประเภทสลากออมสินพิเศษนอกจากนี้ยังดำเนินธุรกิจด้านการประกันชีวิต 3 ประเภท คือ ประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ และประเภทสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษา

ข้อ 12

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

1. ผลิตธนบัตรและออกธนบัตร

2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล (ตัวแทนทางการเงินของรัฐ)

3. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

4. กำหนดนโยบายทางการเงินของประเทศ

5. รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

6. กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

7. ควบคุมดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่าง ๆ

ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้คำว่า “บริษัท” นำหน้า แต่ให้มีคำว่า “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อเท่านั้น เช่น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ในการปรับปรุงงานอยู่ตอนนี้ คือ ก่อนหน้านี้ได้มีการเคลื่อนย้ายที่ผลิตธนบัตร เพราะเกิดจาก การกระทบกระเทือนจากเครื่องจักรภายนอก มายังเครื่องปั๊มลายธนบัตร ทำให้เกิดลายที่ผิดเพี้ยนไป จนเกิดความเสียหายของธนบัตรนั้นๆ จึงคิดว่า หากย้ายที่ผลิตแห่งใหม่ควรตรวจดูให้แน่ชัดว่า ที่แห่งนั้นจะมีข้อบกพร่องอะไร มากน้อยแค่ไหน จะได้รีบแก้ไขปัญหาโดยด่วน

9. ตอบ ภาวะเงินเฟ้อ หรือ เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ จากดรรชนีราคา. เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

8. ตอบ ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนมีดังนี้

1. การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง โดยจะปรับภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์91, 95 , E10, E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 3.30 บาท เหลือลิตรละ 0.0165 บาท จากปัจจุบันที่จัดเก็บลิตรละ 3.3165 บาทต่อลิตร และหากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดแล้วจะทำให้ลดลงได้ลิตรละ 3.88 บาท เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท

ขณะที่น้ำมันดีเซล บี2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท เหลือลิตรละ 0.005 บาท หรือลดลงได้ลิตรละ 2.71 บาท และลดภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท เหลือลิตรละ 0.0048 บาท หรือลดลงได้ ลิตรละ 2.45 บาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 ก.ค. 51 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช่วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท

2. ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่จะมีการปรับราคาเป็น 2 โครงสร้าง

3. งดเก็บค่าน้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ไม่ต่ำกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท

4. งดเก็บค่าไฟ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท

5. จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ คาดว่าจะใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท

6. ใช้บริการโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน คาดว่าจะใช้วงเงิน 250 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางรัฐจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยหน่วยงานต่าง ๆ จะยังคงได้รับรายได้เช่นเดิม แต่รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนให้โดยคาดว่า จะใช้เงินทั้งหมดประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

ผมคิดว่าที่นายสมัคร สุนทรเวช นั้นคิดมาตรการขึ้นมานั้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ในสภาวะเข้าตราจนจริงแล้วยังสามารถทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นที่จะช่วยให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตนี้ได้

1. ตอบ การที่สิ่งไหนจะถูกเรียกว่าเงินได้นั้น ต้องมีหน้าที่ 3 อย่างด้วยกันคือ

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) คือ คนทุกคนต้องยอมรับในการที่สิ่งๆนั้นเป็นสื่อกลาง เวลาพ่อค้าขายของให้กับลูกค้าก็ต้องยอมรับเงินที่ลูกค้านำมาให้ (ดังที่เขียนไว้ด้านหน้าธนบัตรทุกใบว่า ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)

2. สามารถเป็นหน่วยวัดได้ (Unit of account) หรือสามารถแยกย่อยได้ ดังที่ได้กล่าวมาในข้อหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องการขายเป็นหน่วยย่อย ก็สามารถใช้เงินมาแทนได้ โดยผู้เลี้ยงหมูก็จะขายหมูให้พ่อค้าคนกลาง แล้วพ่อค้าคนกลางก็จะไปแยกขายหาคนซื้อเอาเอง (บวกกำไรเป็นค้าหาคนซื้อและรับความเสี่ยงที่หมูจะเน่าไป)

3. เก็บรักษามูลค่าได้ (Store of value) เนื่องจากเงินไม่เสื่อมสภาพ ไม่เน่าเสีย เหมือนสินค้าปกติทั่วไป ไม่มีตกรุ่นไม่มีเก่าเหมือน ipodiphoneราคาหรือมูลค่าของมันก็ยังคงเดิม วันรุ่งขึ้นหรือวันถัดๆไปก็ยังสามารถเอาไปซื้อหมูมากิน ซื้อข้าวมากินได้เหมือนเดิม (กรณีนี้ขอยังไม่พูดถึงเรื่องเงินเฟ้อนะครับ เดี๋ยวจะงงกว่าเดิม)

ในความเป็นจริง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกนำมาใช้เป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นทอง เงิน ทองแดง ข้าว เกลือ หิน เปลือกปอย บุหรี่ หรืออื่นๆ แต่หลายๆสิ่งหลายๆอย่างก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นเงินในรูปแบบปัจจุบัน และกำลังวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต โดยอาจอยู่ในรูปของเครดิตต่อไป แต่มิติที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วกว่าในอดีต ไม่ว่าการค้าที่เป็นแบบ globalization การเชื่อมโยงทางข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็อาจทำให้เงินวิวัฒนาการต่อไปได้อีกครับ

5. ตอบ ดัชนีราคาผู้บริโภคคือ นักลงทุนที่คอยติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลามักจะต้องได้ยินรายงานข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายงานของประเทศไทย, ประเทศอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวทางด้านเศรษฐกิจมักจะนำมารายงานให้พวกเรารับรู้อยู่เป็นประจำ

รายงานข่าวทางด้านดัชนีเหล่านี้ มักจะรายงานว่า ดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาหรือปีที่ผ่านมา แต่ผู้สื่อข่าวไม่ได้แปลความหมายของดัชนีที่กำลังรายงานอยู่ในขณะนี้ให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วค่าของดัชนีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นมันหมายความว่าอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อนักลงทุนบ้าง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องหาความหมายและพิจารณาถึงผลกระทบต่อการลงทุนของเรา

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าและบริการที่ใช้ในการบริโภค... ดัชนีผู้บริโภค จะเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ที่มีประโยชน์มากที่ชี้ให้เราเห็นว่า

• ในขณะนี้ค่าครองชีพ (cost of living) สูงกว่าหรือต่ำกว่าจากเดือนที่ผ่านมา

• อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่

• บริษัทจะต้องเพิ่มหรือลดราคาสินค้า

สำหรับประเทศไทย สินค้าที่อยู่ในรายการของการนำไปวิเคราะห์หาค่าของดัชนีผู้บริโภคจะถูกแบ่งออกเป็น 8หมวดหมู่ได้แก่

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร

6. หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

8. หมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ดัชนีผู้บริโภคเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในรายการเหล่านี้ สมมุติว่า ถ้ามูลค่าแรกเริ่มของสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 100 และในเดือนนี้ราคาสินค้าเหล่านี้มีค่าเท่ากับ 101 เราจะเห็นค่าของ ดัชนีผู้บริโภค มีค่าเพิ่มขึ้น 1 % ค่าของดัชนีผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้นมานั้นถูกเรียกว่า อัตราเงินเฟ้อ

การรายงานตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคนั้นจะมี 2 ชนิดคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core cpi) คือ ดัชนีที่ไม่รวมเอากลุ่มของอาหารสดและพลังงานมาคำนวณเนื่องจากราคาของสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (cpi) คือดัชนีที่รวมรายการสินค้าและบริการเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ดัชนีผู้บริโภคเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจะต้องเข้าใจสภาวะของอัตราเงินเฟ้อด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงมาก อัตราดอกเบี้ยก็มักจะสูงขึ้นตามเพื่อลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้น

10. ตอบ ตั๋วเงิน หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ในวงธุรกิจทั่วไป ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน จะใช้ตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)

2.ตั่วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

3.เช็ค (Cheque)

1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ส่วนตั๋วแลกเงิน คือ มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั่วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

ตั๋วทั้งสองใบแตกต่างกันตรงที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ไว้ใช้สำหรับเรียกเก็บเงินจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีคำมั่นสัญญาไว้ต่อกันว่าสักวันจะต้องคืนเงินก้อนนี้ให้กับคนนี้ตามเวลาที่ได้สัญญากันเอาไว้แล้วส่วนตั๋วแลกเงินใช้สำหรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เราได้หยิบยืมเงินเค้ามาแล้วนั้นเพื่อทำธุระบางอย่างก็ตาม ลูกหนี้จะเป็นคนออกเท่านั้น

3. ตอบ การวิเคราะห์สินเชื่อ

ในแง่จุลภาค การให้สินเชื่อในทางปฏิบัติ นั้น นักการธนาคารจะต้องวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะได้รับการชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากการให้สินเชื่อเป็นสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงบดุลและเป็นกิจกรรมหลักในการประกอบการของธนาคาร ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะทางการเงินของธนาคาร ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีการวิเคราะห์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย การวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 C's

1. Character พิจารณาลักษณะ คุณสมบัติของลูกหนี้ ตลอดจนความตั้งใจจริงและความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น

2. Capacity ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากศักยภาพในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ หากกระแสเงินปกติของกิจการเกิดปัญหา แต่หากเป็นการกู้เพื่อการบริโภค เช่น การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย การซื้อรถยนต์ ก็ต้องพิจารณาจากขนาดและความมั่นคงของกระแสรายได้ของผู้กู้ โดยอาจดูจากลักษณะการประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หากภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้ โอกาสที่ผู้ให้กู้จะได้รับการชำระคืนหนี้ก็มีสูง เป็นต้น

3. Capital คือ ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของตัวลูกหนี้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยพิจารณาว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ทั้งนี้ หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำ การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อถึงการร่วมรับความเสี่ยงจากการประกอบการของลูกหนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้กู้ของธนาคาร

4. Collateral คือ หลักประกัน ซึ่งเป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้แหล่งที่สองหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้จริง นอกจากนี้ ประเด็นที่อาจคำนึงถึงเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักประกัน ความคล่องตัวในการขายทอดตลาด เป็นต้น

5. Conditions มุ่งพิจารณาที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ไปใช้ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมเครื่องจักรเครื่องมือ หรือเพื่อสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการ เช่น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ วัฏจักรทางเศรษฐกิจ สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธการตลาด และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผลการประกอบการในอดีตของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลจากงบการเงินเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเชิงปริมาณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ จะเกริ่นถึงในภาพกว้างเท่านั้น

11. ตอบ ธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ปละใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินนั้นตามตั๋วแลกเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการอื่น ๆ

2. การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ พิจารณาได้จากบัญชีงบดุลของธนาคารพาณิชย์ซึ่งแสดงแหล่งที่มาของเงินจากบัญชีหนี้สินและทุน และแสดงการใช้เงินจากบัญชีสินทรัพย์

3. ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยนำเงินสดสำรองส่วนเกินให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น และทำลายเงินฝากเมื่อผู้ฝากถอนเงิน หรือผู้กู้นำเงินมาใช้คืน ปริมาณเงินฝากที่ถูกสร้างหรือทำลายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าตัวทวีของเงินฝากและปริมาณเงินฝากที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น

4. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบสาขาและเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาดำเนินงานในประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของไทยไปเปิดสาขาในต่างประเทศเช่นกัน ให้บริการด้านการค้าต่างประเทศและระดมทุนในตลาดการเงินที่สำคัญของโลก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

1. ธนาคารพาณิชย์มีวิวัฒนาการมานานหลายร้อยปี โดยในระยะแรกดำเนินในรูปธุรกิจการเงิน ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนเงินและโอนเงิน ต่อมาได้ทำหน้าที่ในการสร้างและทำลายเงินฝากโดยช่างทองในประเทศอังกฤษ และได้เริ่มมีการควบคุมดูแลโดยธนาคารกลางและรัฐบาลตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ลักษณะและวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้น ๆ

2. ระบบธนาคารพาณิชย์ตามสภาพการจัดการและขอบข่ายการดำเนินงานอาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ ธนาคารเดี่ยว ธนาคารสาขา และธนาคารกลุ่ม

3. ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ในการรับฝาก การให้กู้ยืม การโอนเงิน การให้บริการต่างๆ และการจัดการธุรกิจต่างประเทศ

4. ธนาคารพาณิชย์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก เพราะเป็นแหล่งระดมเงินออมและให้กู้ยืมที่ใหญ่ที่สุด ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีความผิดชอบต่อสาธารณะชน ระบบเศรษฐกิจ ลูกค้า ตลอดจนผู้ถือหุ้น และพนักงานของธนาคาร

วิวัฒนาการณ์ของธนาคารพาณิชย์

การกำเนิดธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยมีช่างทองเป็นนายธนาคารพาณิชย์รุ่นแรก ธนาคารพาณิชย์อาจล้มละลายได้ ถ้าให้กู้ยืมมากเกินไป เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถใช้คืนเงินกู้ได้ และผู้ฝากเงินส่วนมากยังไม่สามารถถอนเงินฝากคืนได้ จะทำให้ผู้ฝากเงินรายอื่น ๆ หันมาถอนเงินฝากมากยิ่งขึ้น ในที่สุดธนาคารไม่มีเงินจ่ายคืนให้ จึงอาจถึงล้มละลายได้

หน้าที่และความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์

1. บริการอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้เช่าตู้เซฟนิรภัยเพื่อเก็บของมีค่า การให้คำปรึกษาในการศึกษาต่อต่างประเทศ

2. การที่ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ใช้ชื่อของธนาคารไปทำสัญญายืมเงินจากต่างประเทศ โดยไม่นำเงินมาเข้าบัญชีธนาคารถือว่าผู้บริหารของธนาคารนี้ ขาดความรับผิดชอบต่อลูกค้า

7. ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการแถลงสื่อสารต่อประชาชน ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายในระยะหนึ่งปีข้างหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ทิศทางนโยบาย และแนวคิดที่มาของนโยบายดังกล่าว และเพื่อเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของแบงก์ชาติซึ่งผมและพนักงานแบงก์ชาติทุกคนถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของธนาคารกลางที่ดี ผมจึงขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนทุกท่านอย่างยิ่ง ที่ได้สละเวลามาร่วมงานแถลงในวันนี้

สภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ

หากมองย้อนกลับไป ผมคิดว่าปี 2553 น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยหลายประการ ทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย และอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ในด้านต่างประเทศ กลุ่มเศรษฐกิจหลักก็ฟื้นตัวได้ช้า จากตลาดแรงงานที่ซบเซาเรื้อรัง และปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับประเทศไทยแต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยชะงักไป นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาคการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยแบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในปีที่แล้วได้ถึงประมาณร้อยละ 8

จากแรงส่งทางเศรษฐกิจของปีก่อน กอปรกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่แข็งแกร่ง แบงก์ชาติจึงประเมินว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตต่อเนื่องและจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่กลับมาสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป แต่เป็นไปตามศักยภาพระยะยาวของประเทศ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการชะลอลงจากปีก่อน แต่ก็เพียงเพราะว่า การขยายตัวที่สูงในปีก่อนนั้นเป็นการคำนวณมาจากฐานที่ต่ำผิดปกติ ผมจึงคิดว่าปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เร่งขึ้นมากตามกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้นนี้จะเพิ่มแรงกดดันจากอุปสงค์ต่อราคา (demand-pull) ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับสูงขึ้นกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ก็จะเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ส่งผลเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้ (cost-push) ดังนั้นในปีนี้ ผมจึงมองว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ ทยอยลดความน่ากังวลลง ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

ขวัญนภัส ตั้งจิตสวัสดิ์

เงินเฟ้อ คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา ผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ

ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก

ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

เงินฝืด คือ

ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

ระบบและปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

1.บทนำ

ในระบบเศรษฐกิจจะมีสถาบันการเงิน(financial Institution) เป็นองค์กรทางการเงินเพื่อดำเนินงานทางด้านการเงิน โดยการทำหน้าที่เป็นสื่อกลางทางการเงิน (Financial Intermediaries) อำนวย ความสะดวกในการเคลื่อนไหวของเงินให้ถ่ายเทหมุนเวียนได้สะดวก อาทิ การเป็นแหล่งระดมทุนและป้อนเงินทุนนั้นให้แก่ภาคเศรษฐกิจในรูปของการให้สิน เชื่อหรือการให้กู้ยืม

สถานบันการเงินจะประกอบธุรกิจที่สำคัญ 2 ด้าน คือด้านแรกเป็นผู้ระดมเงินออมจากครัวเรือนและธุรกิจในรูปของการรับฝากเงินและ/หรือกู้ยืม ด้านที่สองเป็นการใช้ประโยชน์จากเงินที่รับฝากและ/หรือกู้ยืมนั้นในทางให้สินเชื่อ แต่เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่มีเงินทุนรองรับเพียงส่วนน้อย (The small capitalcushion) ดัง นั้น สถาบันการเงินจึงต้องจึงต้องพยายามรักษาเสถียรภาพของเงินลงทุน เพราะการขาดทุนใดๆ ในทรัพย์สินของสถาบันการเงิน หากเกินกว่ากำไรที่มีอยู่ในขณะนั้นแล้วย่อมกระทบถึงเงินกองทุนในลักษณะของ การลดทุน และอาจจะมีความรุนแรงไปถึงการขาดสภาพคล่อง จนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้

แนว ทางที่สถาบันการเงินจะป้องกันความสูญเสียในการลงทุน จึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายเบื้องต้นในอันที่จะป้องกันหรือรักษาเงินทุนหรือลด ความเสี่ยงภัย(Minimizing Risks) ให้น้อยลง ซึ่งการให้สินเชื่อเป็นการลงทุนก้อนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีกระบวนการทั้งการพิจารณาคุณค่าทางเครดิต(Credit Worthiness) การพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อตามหลักการวิเคราะห์ 5 Ps Credit และ 6 Cs Credit การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Statement Analysis) และเมื่อได้มีการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าไปแล้ว ก็จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบทานสินเชื่อ (Credit Reviews) และประเมินค่าสินเชื่อ(Credit Appraisal) เพื่อให้สามารถป้องกันและ/หรือแก้ไขปัญหาของสินเชื่อ ก่อนที่จะมีปัญหารุนแรงจนยากแก่การแก้ไข นอกจากนี้ยังจะต้องมีเทคนิคในการบริหารหนี้มีปัญหา (Problem Loan Management) และการเรียกเก็บหนี้ (Credit Collection) อย่าง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพด้วย การให้กู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจึงจะต้องมีกระบวนการที่รัดกุมหลายขั้นตอน ที่เรียกว่า กระบวนการบริหารสินเชื่อ ในการบริหารสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีกระบวนการโดยกระบวนการนั้นมี อยู่ 9 ขั้นตอน ดังตาราง

2.หลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุมัติสินเชื่อ (CREDIT)

การ ปล่อยสินเชื่อถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของธนาคารพาณิชย์ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์จะได้จากดอกเบี้ยการปล่อยสินเชื่อ และในขณะเดียวกันการปล่อยสินเชื่อเป็นหน้าที่ที่ต้องเผชิญกับอัตราการเสี่ยง สูง ดังนั้นการวางนโยบายสินเชื่อที่มีสมรรถภาพ จึงจำเป็นสำหรับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เพื่อที่จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์ของธนาคารพาณิชย์ และรับใช้บริการแก่สาธารณะที่ธนาคารพาณิชย์ตั้งอยู่อย่างพอใจและมี ประสิทธิภาพ

2.1 หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ

หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ 6 ประการด้วยกันโดยแต่ละหลักมีแหล่งข้อมูลและเครื่องบ่งชี้ทั้งในเชิงประมาณ (Quantitative) และในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

หลัก 6 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางพิจารณา (Guide Line) พื้นฐานซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้ตามสถานการณ์และการมีทัศนะที่กว้างและสายตาที่ยาวไกลของนักวิเคราะห์สินเชื่อ

2.2 หลักการวิเคราะห์ 5 Ps Credit

2.2.1 PEOPLE (ผู้ขอเครดิต) ความตั้งใจจริงและความสามารถในการชำระหนี้วิเคราะห์จาก Bank Statement

2.2.2 PURPOSES (วัตถุประสงค์การขอเครดิต) จะมีจุดสำคัญ 2 ประการคือ

ก. อำนวย ประโยชน์ให้แก่ผู้ขอกู้ยืม เมื่อได้เงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนตามวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดรายได้หรือผล กำไรกลับคืนมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการชำระหนี้

ข. วัตถุประสงค์นั้นจะต้องสามารถสนองต่อเจ้าหนี้ได้ คือ การได้รับชำระหนี้และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินลงทุนเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลด

2.2.3 PAYMENT (การชำระเงิน) หมาย ถึงการชำระคืน การที่ลูกหนี้จะสามารถชำระหนี้และดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ได้ ความสามารถในการหารายได้หรือความสามารถในการทำกำไรเป็นจุดสำคัญที่จะลดความ เสี่ยงให้น้อยลง นั้นก็คือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืนมาพร้อมกับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

2.2.4 PROTECTION (หลักประกัน)หมายถึงการป้องกันความเสี่ยง หลักประกันหรือคุณภาพของสินทรัพย์จะเป็นตัวผ่อนคลายความเสี่ยง

2.2.5 PROSPECTIVE (ความเจริญก้าวหน้าของกิจการ) เป็นการพัฒนาถึงผลการดำเนินธุรกิจของกิจการที่ขอสินเชื่อซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ

2.3 หลักการวิเคราะห์ 6 Cs Credit

ใน การพิจารณาสินเชื่อแก่ลูกค้านั้น ตามกระบวนการจะต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้รู้ฐานะทางเครดิตของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อให้รู้ว่าเมื่อให้สินเชื่อไปแล้วจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อยู่ในข่ายที่ยอมรับได้หรือไม่

ความเสี่ยง (Risks) จะ เกิดขึ้นนับตั้งแต่ธนาคารเริ่มให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจนกว่าลูกค้าจะชำระหนี้ หมด ดังนั้น การจะให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจึงจะต้องมีการประเมินความเสี่ยง ซึ่งในการประเมินนั้นจะต้องคำนึงถึงขอบข่ายของอัตราเสี่ยง(เสี่ยงได้กี่เปอร์เซ็นต์) ทั้งในด้านวงเงิน ระยะเวลา เงื่อนไขและหลักประกันใน การประเมินความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจในการที่จะให้หรือปฎิเสธการขอสินเชื่อของ ลูกค้าจะมีเทคนิคอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงก็คือ หลักการวิเคราะห์ 6 Cs Credit ดังนี้

2.3.1 CHARACTER

หมาย ถึง การดูลักษณะของผู้ขอกู้ เป็นการพิจารณาทางด้านคุณภาพจิตใจและพฤติกรรมของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง อุปนิสัย ซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจในอันที่จะชำระหนี้ (Willing to pay) และจะมีผลต่อการชำระหนี้คือธนาคารหรือสถาบันการเงิน

2.3.2 CAPACITY

หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้ (Ability to pay of Capacity to Pay) เมื่อถึงกำหนดเวลา เป็นคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อทางด้านความสามารถหรือสมรรถภาพในการหารายได้ให้เพียงพอที่จะชำระหนี้

2.3.3 CAPITAL

หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินของลูกค้า กล่าวคือ เป็นทรัพย์สินในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอสินเชื่อ และ/หรือเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity or Net Worth)

2.3.4 COLLATERAL

หมาย ถึง ทรัพย์สินที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ในอนาคตและป้องกัน การเสี่ยงต่อหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยหลักทรัพย์ประกันดังกล่าวให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสิน เชื่อและเป็นตัวสนับสนุน 3 Cs Credit ที่กล่าวมาข้างต้น

2.3.5 CONDITIONS

หมาย ถึง เงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะมีผลทำให้ฐานะของผู้ขอสินเชื่อเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้นหรือเลวลง โดยมีปัจจัยที่พิจารณาคือ สภาพทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐบาล เงื่อนไขในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ และเงื่อนไข เกี่ยวกับตัวผู้ขอสินเชื่อ

2.3.6 COUNTRY

หมาย ถึง ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่หลายประการ อาทิ ภาวะทางการเมือง ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายการค้าของประเทศนั้น ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติทางการค้า สัญญา เอกสารทางการเงินและทางพาณิชย์ การขนส่ง การประกันภัย ระเบียบพิธีการศุลกากร

2.4 การจำแนกปัจจัยเพื่อพิจารณา

จากหลักการวิเคราะห์ 5 Ps Credit และ 6 Cs Credit ดังกล่าวข้างต้นสามารถจำแนกในการพิจารณาได้เป็น 3 หมวด คือ

2.4.1 หมวดปัจจัยทางส่วนบุคคล (Personal Factor) ปัจจัยที่พิจารณา ได้แก่

ก. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ (Character People)

ข. ความสามารถในการหารายได้ (Capacity Payment)

2.4.2 หมวดปัจจัยด้านการเงิน (Financial Pactor) ปัจจัยที่พิจารณา ได้แก่

ก. ความสามารถในการหารายได้ (Capacity Payment)

ข. เงินทุน (Capital)

ค. หลักทรัพย์ประกัน (Collaterals Protection)

2.4.3 หมวดปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Factor) ปัจจัยที่พิจารณาได้แก่

ก. สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition)

ข. ความเจริญก้าวหน้าของกิจการ

3.ปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

ปัญหาการปล่อยสินเชื่อมีด้วยกันหลายประการ ซึ่งประมวลได้ดังนี้

3.1 ข้อจำกัดในการทำงานด้านสินเชื่อ

ในทางปฏิบัติแล้ว งานด้านสินเชื่อของธนาคารอาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นเพราะสาเหตุดังนี้คือ

ก. การจัดหาเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีคุณสมบัติที่ดีเป็นเรื่องค่อนข้างยาก

ข. ค่า ใช้จ่ายในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สินเชื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้ ระยะเวลาค่อนข้างนาน ธนาคารไม่ให้ความสนใจในเรื่องการฝึกอบรม

ค. การขาดนโยบายสินเชื่อที่ชัดเจนจะเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อไม่สามารถดำเนินงานไปได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหญ่ของธนาคาร

ง. การ ให้อำนาจการปล่อยสินเชื่ออย่างจำกัด เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้การแข่งขันการปล่อยสินเชื่อเป็นไปไม่ดีเท่าที่ ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ภาวะการเงินมีความคล่องตัวสูง

จ. ความเห็นของนักวิเคราะห์สินเชื่ออาจผิดพลาดเองได้

ฉ. ผลตอบแทนและสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อไม่มั่นคง

3.2 ปัญหาและอุปสรรคของการหาข้อมูลในประเทศไทย

ก. การ ติดต่อขอข้อมูลจากธนาคารอื่น ๆ จะไม่ได้รายละเอียดตามที่ต้องการเพราะธนาคารยังต้องรักษาความลับของลูกค้า อยู่หรืออาจเป็นปัญหาเรื่องการแข่งขันทางการค้าจึงต้องอาศัยความสามารถในการ ตั้งคำถาม และวิธีการในการขอข้อมูลของผู้วิเคราะห์สินเชื่อแต่ละคนที่จะให้ได้ข้อมูลมา มากพอ เช่น ธนาคารอาจจะให้ข้อมูลแต่เพียงว่าลูกค้าคนนั้นเป็นลูกค้าที่ดีหรือปานกลาง หรือพอใช้

ข. ข้อมูลสินเชื่อที่รวบรวมมาไม่เพียงพอเพื่อการวิเคราะห์ ทำให้การตีความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการชำระหนี้ผิดไป

ค. งบการเงินของกิจการบางอย่าง จัดทำขึ้นหลายชุดด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน จึงไม่อาจตรวจความถูกต้องของงบการเงินที่แท้จริงได้

ง. ลูกค้ายังไม่เข้าใจระบบข้อมูลสินเชื่อดีพอ จึงไม่ให้ความร่วมมือ

3.3 กฎหมายที่เกี่ยวกับหลักประกันมีข้อจำกัด

ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันการเงินต่าง ๆ หาทางแก้ไขโดยทำสัญญาในลักษณะพิเศษเพื่อรองรับความต้องการในทางธุรกิจโดยนำ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถจำนองได้ตามกฎหมายมาใช้เป็นประกันหนี้โดยลูกหนี้คง ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในทางความจริง ผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันการเงินต่าง ๆ ยังไม่มั่นใจว่าสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่เพียงใด การไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องดังกล่าวโดยชัดเจนมีผลต่อความเชื่อมั่นในการลง ทุนและการปล่อยสินเชื่อ

3.4 การให้สินเชื่อมุ่งส่งเสริมธุรกิจหรืออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตลาด

4. แนวทางการพัฒนาระบบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

ในการพิจารณาให้สินเชื่อของแต่ละธุรกิจโดยแต่ละสถาบันการเงินอาจจะมี หลัก การและวิธีการในการปฏิบัติแตกต่างกันออกไป แต่เป้าหมายหลักหรือวัตถุประสงค์หลักที่เหมือนกันคือ ต้องการให้ผู้ที่ขอสินเชื่อไปแล้วสามารถทำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนิน งานจนสามารถส่งผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ตามกำหนดโดยไม่ กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงาน ดีกว่าที่จะให้ขาดทุนหรือล้มเหลวในการดำเนินงานแม้ว่าจะมีหลักทรัพย์ค้ำ ประกันคุ้มวงเงินที่เป็นหนี้ก็ตาม

ข้อเสนอแนะ

1. สร้างระบบการคัดเลือกเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ดีเพื่อจะได้เจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีคุณภาพ(Qualified Loan Officer)

2. ผู้บริหารขึ้นสูงจะต้องให้การสนับสนุนโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สินเชื่ออย่างจริงจัง

3. ผู้ บริหารระดับสูงของธนาคารจะต้องกำหนดนโยบายสินเชื่อให้ชัดเจนเท่าที่จะทำได้ กับจะต้องพิจารณามอบอำนาจการปล่อยสินเชื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ของธุรกิจ

4. ควรพิจารณาผลตอบแทนและสถานภาพของเจ้าหน้าที่สินเชื่อให้มีขวัญกำลังใจและความมั่นคง

5. ควรมีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสินเชื่อระหว่างกัน หรือจัดตั้งสถาบันให้บริการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ

6. ผู้ บริหารงานด้านสินเชื่อจะต้องมีความรอบรู้หรือความสนใจต่อกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับคำสั่งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลังหรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการบริหารงานของสถาบันการเงินและมี ส่วนสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะด้านกิจการธนาคาร

7. ควร มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับการนำกิจการมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ให้ชัดเจน และเหมาะสมเพื่อก่อให้ประโยชน์แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อกับธุรกรรมดังกล่าว

8. ควรมีการกระจายการปล่อยสินเชื่อให้ครอบคลุมในภาคธุรกิจทุก ๆ ด้าน

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินในแต่ละประเทศแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันมากแต่ต่างก็มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่สังคมขยายตัว ระบบการเปลี่ยนแปลงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงได้มีวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินซึ่งพอสรุปได้ 3 ระยะคือ

1. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งของหรือบริการแลกเปลี่ยน

ในระยะแรกที่มนุษย์มีการติดต่อกัน มนุษย์ได้รู้จักเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของการผลิตได้มาแลกเปลี่ยน เช่น การนำเอาเสื้อผ้ามาแลกกับข้าวสาร ไข่มาแลกกับรองเท้า เป็นต้น การแลกเปลี่ยนนี้เกิดจากการของเงินขึ้น กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมีสิ่งที่เป็นค่านิยมที่ยอมรับในแต่ละสังคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

2. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของหรือการบริการ มีความไม่สะดวกหลายประการ มนุษย์ จึงหาวัตถุกลางมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุกลางนี้คือ เงิน ซึ่งเงินอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุใดๆก็ได้ โดยมีวิวัฒนาการมาดังนี้

2.1 เงินกษาปณ์

2.2 เงินกระดาษ

3. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในขณะที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น กิจการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างกว้างขวาง การซื้อขายกระทำกันคราวละมากๆ ย่อมไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเงินติดตัวเพื่อไปซื้อขาย จึงมีผู้คิดใช้เครดิตหรือความเชื่อในการซื้อขายสินค้ากัน เงินเครดิตจึงมีกำเนินขึ้น และเงินประเภทนี่จะมีใช้กันมากในสังคมที่มีระบบการธนาคารได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะของเงินที่ดึ

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

ตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

การออกตั๋วแลกเงิน

แนวคิด

1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน

3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่า ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่ง จ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง

4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและ ผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อ ผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

รายการในตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง

อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้

9.ภาวะเงินเฟ้อคือ การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

• ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

• ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation)

• ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

• เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

1. เงิน คือสิ่งที่คนในสังคมได้สมมติขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความสำคัญของเงิน ไม่ว่ามนุษย์จะอยูในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศํยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ภาวะเศรษฐกิจและการเงินมีความผันผวนอย่างมาก อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ การขึ้นลงประจำวันของราคาน้ำมัน การขึ้นลงของอัตราเงินเฟ้อ การปฏิรูปทางกการเงินและการเกิดนวัตกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารการเงินต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต่าง ๆ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและวิทยาการทางการเงินสมันใหม่เข้ามาใช้ บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารการเงินจึงต้องมีขอบข่ายงานกว้างขวางจากเดิม เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลได้เพิ่มบทบาทเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการแก่สังคมมากขึ้น

คุณสมบัติของเงินที่ดี ได้แก่

1) ยอมรับโดยทั่วไปให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สินค้าได้

2) สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลได้

3) มีมูลค่าคงตัว

12. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภาระกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

คิดว่าการดำเนินงานไม่ควรปรับปรุงเรื่องใดแล้วgพราะก็ดีอยู่แล้ว

10. ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

อย่างไรตาม การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่ในตั๋วเงิน แสดงว่ายอมให้ผู้มีสิทธิในตั๋วนั้นลงวันที่ได้โดยสุจริต ตั๋วเงินนั้นย่อมสมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำมั่นอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน มีวัยถึงกำหนดใช้เงิน (ถ้าไม่มี ถือว่าใช้เงินเมื่อเห็น) / มีสถานที่ใช้เงิน (ถ้าไม่มี ให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) / มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋ว (ถ้าไม่ระบุวันออกตั๋ว ผู้ทรงตั๋วชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริต จะจดวันถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ออกตั๋วไว้ ให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) และที่สำคัญคือ ต้องลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว อนึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องระบุชื่อผู้รับเงินเสมอ จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

การออกตั๋วแลกเงิน

1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน

3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง

4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่าย

3.สินเชื่อ

สินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ของ ธ.ก.ส. เป็นสินเชื่อเงินกู้ที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวของเกษตรกรและลูกค้าของ ธ.ก.ส ได้มีโอกาสไปทำงานเมืองนอก ในกรณีที่อยากไปขายแรงงานในต่างประเทศสามารถติดต่อขอกู้เงินตรงส่วนนี้ได้ ซื่งจะช่วยให้ครอบครัวของเกษตรกรและลูกค้า ธ.ก.ส ไม่ต้องไปหากู้เงินนอกระบบ เพราะมีดอกเบี้ยสูงและไม่ปลอดภัย

รายละเอียดของสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ของ ธ.ก.ส

• วงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกิน 180,000 บาท

• อัตราดอกเบี้ยเงินกู้คิดอัตราปกติตามชั้นลูกค้า และต้องชำระหนี้เงินกู้ให้หมดภายใน18เดือน โดยปไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ใน 3 เดือนแรก

• คนหางานต้องจัดทำประกันชีวิต และอุบัติเหตุกลุ่มกับบริษัทประกันชีวิต ที่เข้าร่วมโครงการ โดยระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์

สินเชื่อเพื่อจัดหาเครื่องยนต์และเครื่องจักรกล ของ ธ.ก.ส. เป็นสินเชื่อที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ได้เปิดให้บริการแก่เกษตรกรหรือบุคคลที่ธนาคารขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ได้ขอกู้เงินไปซื้อเครื่องจักรกล หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นภาคการขนส่ง การผลิต หรือการแปรรูป โดยสามารถขอกู้เงินไปซื้อแบบสดกับร้านค้า หรือขอกู้เงินไปชำระค่าเช่าซื้อ ที่อยู่ระหว่างการผ่อนก็ได้

อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อจัดหาเครื่องเครื่องยนต์และเครื่องจักรกล ของ ธ.ก.ส.

• MRR ถึง MRR 2.25 (ปัจจุบันร้อยละ 7.00-9.25 ต่อปี)

รายละเอียดของสินเชื่อเพื่อจัดหาเครื่องเครื่องยนต์และเครื่องจักรกล ของธ.ก.ส.

• กู้เงินได้ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ของเครื่องจักรที่

• กำหนดวงเงินกู้ไม่เกินจำนวนเงินค่าเช่าซื้อคงเหลือพร้อมค่าอุปกรณ์ (ถ้ามี) ที่ผ่อนชำระกับบริษัทหรือผู้ประกอบการรวมกับค่าซ่อมบำรุงและหรือการจัดหาอุปกรณ์พ่วง

• ต้องชำระหนี้เงินกู้ภายใน 5 ปี

• ต้องชำระหนี้เงินกู้ก่อนหมดอายุการใช้งานของเครื่องจักร

• ผู้ขอเงินกู้ ต้องทำประกันภัยเครื่องจักรที่ซื้อ และระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์

5. ดัชนีราคาผู้บริโภค แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาสินค้าและบริการมักถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือนให้สอดคล้องกับราคาของที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่มีการปรับค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น จะทำให้เงินจำนวนเดิมซื้อของได้น้อยลง นอกจากการต่อรองอัตรา ค่าจ้างและเงินเดือนของสหภาพแรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกัน เช่น บริษัทบางแห่งในสหรัฐอเมริกากำหนดว่าค่าจ้างจะต้องเพิ่มขึ้น 1 เซ็นต์ต่อชั่วโมงเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภคเปลี่ยนไป 0.5 เป็นต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคยังถูกใช้ในการปรับปรุงค่าเช่า การปรับอัตราค่าธรรมเนียมใช้ทางด่วน เป็นต้น และหากจะมองถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นตัวที่ชี้ให้เห็นภาวะของเงินเฟ้อ และยังใช้เป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

ดัชนีราคาผู้บริโภคสร้างได้โดยวิธใช้ค่าเฉลี่ยสัมพัทธ์ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ถ่วงน้ำหนักคงที่ ข้อมูลจะได้มาจากการเก็บสถิติราคาสินค้าและบริการเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปีฐาน ราคาที่กล่าวถึงนี้ คือ ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภค ซื้อขายกันอยู่ในตลาด สินค้าที่นำมาใช้คำนวณมีทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าฟุ่มเฟือยใช้ในหมู่ผู้มีระดับรายได้ปานกลาง สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพก็ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การรักษาพยาบาล ส่วนพวกสินค้าฟุ่มเฟือยก็ได้แก่ บริการส่วนบุคคล พาหนะ และบริการการขนส่ง การบันเทิง ยาสูบ และเครื่องดื่มที่ทีแอลกอฮอล

นางสาวอรสา รักไร่ การเงินการธนาคาร 01

รหัสนักศึกษา 54127326038

แสงทิพย์ เผือกผ่อง

ข้อ 1

หน้าที่ของเงิน

ด้วยปัญหาข้างต้น เงินจึงเกิดขึ้นและทำหน้าที่ดังนี้

• เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)

• เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value)

• เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)

• เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of deferred payment) หน้าที่นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกัน เพราะการกำหนดเป็นการคืนด้วยเงินนั้น ย่อมที่จะดีกว่าการกำหนดการคืนด้วยสินค้า ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งด้านขนาด ปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งสินค้าบางอย่างยังอาจเน่าเสียได้ง่าย

ความหมายของเงิน

เงินตรงกับภาษาอังกฤษว่า Money ซึ่งแผลงมาจากภาษาลาติน ว่า Moneta ซึ่งเป็นสร้อยของพระนาง Jono Moneta ตามประวัติศาสตร์ พวกชาวโรมันได้ใช้วิหารของ พราง junu Monete เป็นโรงกษาปณ์ คำว่าเงินจึงได้รากศัพท์มาจากคำว่าMoneta มีนักเศรษศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความของเงินไว้หลายท่าน ดังเช่น D.H.Roberton เขียวไว้ในหนังสือไว้ว่า เงินคือ สิ่งที่ยอมรับกันอ่างกว้างขวางในการชำระสินค้า หรือการปลดเปลืองพันธะทางธุรกิจอย่างอื่นๆ A.G.Hart เขียงไว้ว่า เงินเป็นทรัพสินที่เจ้าของสามารถใช้ชำระหนี้สินจำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างแน่นอน และโดยไม่ล่าช้า ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดต่อกับผู้ที่ตนไม่รู้จัก

ความหมายของเงิน หน้าที่และประเภทของเงิน

เงินคือ สื่อกลางในการเปลี่ยน โดยจะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้รับการยอมรับกันโดนทั่วไปไปตามกฎหมายให้สามารถจ่ายชำระหนี้ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคในอดีตเคยมีการใช้หอย ขนนก เป็นตน เป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแต่เนื่องจากมีปัญญาหาในการพกพา และอาจเเตกหักง่าย มีการพัฒนามาอยู่ในรูปของธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ โดยธนบัตรพิมพ์จากกระดาษคุณภาพสูงและเหรียญกษาปณ์ผลิตจากโลหะ ดังนั้นทั้งธนบัตรและเหรียญกษาปณ์จึงมีความคงทนและสะดวกในการพกพา ประเภทของเงิน จึงสามารถเเยกเป็น ประเภทธนบัตรและประเภทเหรียญกษาปณ์

หน้าที่ของเงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสิ้นค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ โดยที่เงินมีราคาที่แน่นอนเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการซื้อขายและชำระหนี้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทด้วยกับ คือ

ประเภทที่ 1 หน้าที่ขั้นต้น ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน ในแง่นี้ให้ความสะดวกในด้วนการใช้หน่วยของเงินสำหรับวัดมูลค่าของสิ่งของ และบริการ หน่วยของเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศในหน่วยเป็นบาท กีบ ดอลลาร์ เปโซ ฟรังซ์ ปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปของ ราคา ของสินค้าบริการนั้นๆ เช่น หมวกราคาใบละ 100 บาท เนื้อหมูกิโลกรัม ละ 38 บาท เป็นต้น

2. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เงินจะเป็นอะไรก็ได้ซึ่งเป๋นที่ยอมรับของคนทั้งไป ในสังคมว่าเป็นสื่อกลางในการกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อมีสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว หากมีความต้องการสินค้าบริการใด ก็ไม้ต้องแสวงหาคนที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่ตรกกันกับเราเหมือนวิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของ

ประเภทที่ 2 หน้าที่รอง ได้แก่

1. เงินเป็นมาตราฐานในการชำระหนี้ในอนาคต

ในระบบเศรษกิจปัจจุบันมีการขยายตัวในด้วนการค้า การติดต่อซื้อขายซึ่งกันและกันทั้งในและนอกประเทศ โดยทัวไปการค้าขายจะมีการผลัดเวลาการชำระเงินทุนดอกเบี้ย และหนี้สินต่างๆ จากปัจจุบันเป็นอนาคต ทั้งนี้ จะต้องอยู้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า มูลค่าของเงินจะต้องไม้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

2. เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า

โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจจะพยายามเลือกเก็บทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใกที่สุด การเก็บทรัพย์สินในรูปต่างๆมูลค่าของมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ชั้วระยะเวลาหนึ่ง ถ้าทรัพย์สิยนั้นมีมูลค่าสูงแต่ถ้าราคาลกต่ำลงก็ขาดทุน ทรัพย์สินบางชนิดเน่าเสียง่าย บางชนิดไม้สะดวกในการเก็บรักษา ดังนั้นจึงมีผิ้ยมแลกเปลี่ยนสิ่งของดังกล่าวเป็นเงิน เพราะเงินที่ดีมีมูลค่าคงตัวอยู่เสมอ

ประเภทที่ 3 หน้าที่ประกอบ ได้แก่

1. เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ในข้อนี้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้เงินที่ผลิตออกมา สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องได้ตามกฎหมาย และบนหน้าธนบัตรทุกฉบับก็จะมีข้อความอันนี้ยืนยันไว้ แต้ตัดว่า โดยไม่จำกัดจำนวน ออกไป

2. เงินเป็นเครื่องประกันฐานะของลูกหนี้

การค้าขายในปัจจุบันเป็นการค้าขายโดยใชแครดิตกันมาก โดยเฉพาะการค้าขายด้วยเงินเป็นจำนวนมากประกอบกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ย่อมจะต้องมีการกู้ยืมเงินกันเป็นนิจสิน การกู้ยืมนั้นผู้ขอยืมจะต้องมีเงินสดสำรองอยู่บ้าง

3. เงินเป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า

ในปัจจุบันนี้เงินทำหน้าที่เป็นหลักในการโอนหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าในบาครั้งการโอนหนี้ การโอนเงินจะอยู้ในรูปของการใช้ดร๊าฟ หรือใช้เช็คก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวก็ใช้เงินเป็นรากฐานในการโอนเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินในแต่ละประเทศแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันมากแต่ต่างก็มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่สังคมขยายตัว ระบบการเปลี่ยนแปลงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงได้มีวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงินซึ่งพอสรุปได้ 3 ระยะคือ

1. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งของหรือบริการแลกเปลี่ยน

ในระยะแรกที่มนุษย์มีการติดต่อกัน มนุษย์ได้รู้จักเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของการผลิตได้มาแลกเปลี่ยน เช่น การนำเอาเสื้อผ้ามาแลกกับข้าวสาร ไข่มาแลกกับรองเท้า เป็นต้น การแลกเปลี่ยนนี้เกิดจากการของเงินขึ้น กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมีสิ่งที่เป็นค่านิยมที่ยอมรับในแต่ละสังคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

2. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

เมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของหรือการบริการ มีความไม่สะดวกหลายประการ มนุษย์ จึงหาวัตถุกลางมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุกลางนี้คือ เงิน ซึ่งเงินอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุใดๆก็ได้ โดยมีวิวัฒนาการมาดังนี้

2.1 เงินกษาปณ์

2.2 เงินกระดาษ

3. ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในขณะที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น กิจการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างกว้างขวาง การซื้อขายกระทำกันคราวละมากๆ ย่อมไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเงินติดตัวเพื่อไปซื้อขาย จึงมีผู้คิดใช้เครดิตหรือความเชื่อในการซื้อขายสินค้ากัน เงินเครดิตจึงมีกำเนินขึ้น และเงินประเภทนี่จะมีใช้กันมากในสังคมที่มีระบบการธนาคารได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะของเงินที่ดี

1.เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เงิน โดยทั้งไปสิ่งของที่ใช้ทำเป็นเงิน จะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยมรับเป็นสือกลางในการแลกเปลี่ยน เงินมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ และความจำเป็นของมนุษย์ สิ่งของที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเงินมีมูลค่าคงตัวของมันเองที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ใบชา สามารถใช้บำบัดร่างกายได้ แต่สิ่งของบางอย่างที่ใช้ทำเป็นเงินก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหม้าสมที่จะเป็นเงิน ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสม ที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

จะเป็นอะไรก็ได้ที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงินมีอยู่หลายชนิด ตามความแตกต่างของสังคม

2. เป็นของที่หายาก สิ่งของที่หาได้ง่าย ๆ มักจะมีค่าต่ำและไม่เป็นส่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยทั้งไปมักจะนำมาใช้เป็นเงินเช่น กรวดหรือทราย มีอยู่มาก คนจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเงิน ผิดกับสิ่งที่หายาก เช่น ทองคำ หรือโลหะเงิน ซึ่งเป็นของที่หาก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นเงิน

3. มีความคงทน สิ่งที่จะนำมาเป็นเงินควรจะมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือยุ่ยง่าย หากสิ่งที่นำมาใช้เป็นเงินเน่าเปื่อยได้ง่ายมูลค่าก็หมดไปคนก็ไม้ยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

4. เป็นของทีมีลักษณะเหมือนกัน เงินที่ใช้เป็นสือกลางในการแลกเปลียนควรมีลักษณะเหมือนกันเพื่อป้องกันให้เงินมีค่าคงที่

5. เป็นของที่ดูออกง่าย คือเป็นสิ่งที่เห็นก็ดูออกได้และรู้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอมแต่เอาพลอยหรือเพชรมาทำเป็นเงินก็คงจะดูออกยาก และคงไม่สะดวกในการใช้

6. สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ การทำธุรกิจการค่ามีการขายส่งขายปลีก ดังนั้นการใช่เงินจึงมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ สิ่งที่นำมาเป็นเงินควรจะแบ่งเป็นส่วนย่อยได้โดยให้มีมูลค่าต่างกัน ดังนั้นจะเห็นว่า ได้มีการเอาโลหะมาเป็นเงิน

7. เป็นของที่มีมูลค่าคงตัว เงินที่ดีจะต้องทนนาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียง่ายนอกจากนั้นยังสามารถที่จะเก็บไว้ได้โดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของเงิน

คนส่วนใหญ่แล้วให้ความสำคัญมากต่อการที่จะให้ได้มาซึ่งเงินหรือความร่ำรวย ด้วยความเชื่อว่าเงินจะทำให้มีความสุข ซึ่งก็คงถูกแต่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะเมื่อมีเงินก็จะสามารถใช้ซื้อสิ่งของและเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิต แต่วัตถุนอกกายนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะมีความสุขทุกคนและตลอดไป

ทั้ง นี้จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีบางคนที่มีเงินนับแสนล้านบาทแต่วันนี้ก็ดูเหมือนจะ ไม่มีความสุขมากนัก เพราะตัวเองต้องระเหเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศหนีคดีอาญาในข้อหาประพฤติทุจริต และยังมีคดีอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการตุลาการ และนอกจากนี้แล้วครอบครัวเองที่ต้องแยกกันอยู่ แยกอยู่กันคนละทิศ

เงินนั้นเป็นได้ทั้ง นาย ทาส มิตร และศัตรูของมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงต้องรู้ว่าเราจะบริหารจัดการให้เงินเป็นอะไรกับเรา หาก เลือกให้เงินเป็นนายเราแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างปราศจากความสุขเพราะว่าในทุก วันทุกขณะจิตก็ต้องวิ่งเต้นและดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงินมา ซึ่งหมายถึงการที่เราต้องเป็นทาสรับใช้ที่ยอมทำอะไรทุก อย่างเพื่อที่จะให้ได้เงินนั้นมา นับตั้งแต่การประกอบอาชีพไม่สุจริตทั้งปวง

ยอม รับทำงานที่แม้ว่าจะผิดกฎหมาย เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน หรือไปจนถึงการเป็นมือปืน รับจ้างทำร้ายหรือแม้แต่เป็นมือปืนรับจ้าง ซึ่งการมีอาชีพที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ จะต้องคอยหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุมหรือดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ด้วย ความเป็นห่วงว่าเมื่อไรที่พลาดก็จะถูกจับกุม และถูกจองจำที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล

ใน กรณีที่จะทำให้เงินเป็นทาสของเราก็คือ การทำให้เงินทำงานรับใช้เรา ซึ่งการที่จะทำให้เงินรับใช้เราได้นั้นก็จะต้องมีเงินออมสำหรับการลงทุนให้ งอกเงยเพิ่มพูนขึ้น และสามารถใช้สอยได้ต่อเนื่องเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ผลที่ให้ดอกออกผลทำ ให้นำไปขายมีรายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ไม่ขัดสนและต่อเนื่อง

การที่จะมีเงินออมได้นั้นก็จะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินคือ ต้องมีทั้งความสามารถในการหาเงินด้วยอาชีพที่สุจริต และต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการใช้จ่าย และการที่จะออมเงินได้นั้นจะต้องมีวินัยที่จะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้ใช้ จ่ายตามความจำเป็นเท่านั้นไม่ใช้จ่ายตามความอยากได้และการจะนำเงินไปลงทุน นั้นก็จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ตลอดจนการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด

การ ที่กล่าวว่าเงินเป็นศัตรูของเรานั้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ทำให้มีดอกเบี้ยต้องจ่ายและงอกเงยเพิ่มขึ้นทุกวันและในทุกขณะ และเมื่อมีหนี้สินที่เพิ่มพูนมากขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้แล้ว

หนี้สิน เหล่านี้ก็จะเป็นหนามทิ่มแทงทำให้ไม่มีความสุข เพราะต้องอยู่ด้วยความร้อน ๆ หนาว ๆ จากการถูกทวงหนี้ ทำให้ถูกด่าว่าและถูกติดตามไล่ทวงหนี้ดังที่เราเห็นการทวงหนี้ที่รุนแรงโหด ร้าย จนในหลาย ๆ ครั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต

ดังนั้นก็อยากจะฝากไว้ เป็นข้อคิดสำหรับ ให้เลือกในวันนี้นะคะว่า คุณอยากจะให้เงินเป็นนายเป็นมิตร เป็นทาส หรือเป็นศัตรูของคุณ และสุดท้ายนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การสร้างหนี้หรือมีหนี้สินนั้น เป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ส่วนการออมนั้นเป็นการยอมอด-ออมการใช้จ่ายในวันนี้เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นหากจะมีชีวิตในบั้นปลายที่สุขสบายก็ต้องยอมลดความสุขสบายในวันนี้ลงบ้าง บางส่วน.

ธนบัตร เงินตราที่เป็นมากกว่าเงินตรา

ประเทศไทยมีการใช้เงินตรากระดาษครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่ธนบัตรที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับปัจจุบันเริ่มนำออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมีแบบของธนบัตรที่นำออกใช้จากแบบ ๑ จนถึงแบบที่ใช้ในปัจจุบัน มี ๑๕ แบบ

ข้อ 3

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. ความหมายของการวิเคราะห์สินเชื่อ

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

4. เทคนิค/วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ

1. การวิเคราะห์สินเชื่อ

ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว

2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. นโยบาย

2. ระเบียบและหลักเกณฑ์

3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต

4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S

- CHARACTER ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะชำระหนี้ของลูกค้า

- CAPACITY ความสามารถในการชำระหนี้คืน

- CAPITAL ส่วนของกิจการนำมาลงทุนในกิจการ

- COLLATERAL มีหลักทรัพย์ หรือหลักประกัน

- CONITION เงื่อนไข หรือกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่เหมาะสม

5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น

- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้

- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน

- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้

6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร

7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- ธุรกิจการค้า

- ธุรกิจประเภทให้บริการ

8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ

เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้

1. ผู้ขอเครดิต

2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา

3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต

4. จำนวนเงินที่ขอกู้

5. ความสามารถในการชำระหนี้

6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน

7. ความเหมาะสมของหลักประกัน

1.1 ผู้ขอเครดิต

- เป็นใคร หมายถึง เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

บุคคลธรรมดา

- ชื่อ, ที่อยู่

- ฐานะ, โสด, สมรส

- พื้นฐานความรู้

- ตำแหน่งหน้าที่การงาน

- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่

นิติบุคคล

- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน

- กรรมการมีใครบ้าง

- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ

- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด

- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่

ประเภทของหลักประกัน

1. เงินฝาก

2. หุ้น

3. พันธบัตร

4. ตั๋วเงิน

5. ที่ดิน

6. สิ่งปลูกสร้าง

7. เครื่องจักร

8. เรือ

9. สินค้า

10.สิทธิการเช่า

11.สิทธิการรับเงิน

12.อื่น ๆ

การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน

- ผู้ถือกรรมสิทธิ์

- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ

- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง

- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา

- สภาพแวดล้อม

- ประโยชน์การใช้สอย

- อายุการใช้งาน

- สภาพความเสื่อมค่า

- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน

ตัวอย่างสินเชื่อในประเทศในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

- สินเชื่อเงินสด เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีสภาพคล่องมากขึ้น

- สินเชื่อรถยนต์ เพื่อที่จะมีช่องทางในการค้าขาย สะดวกต่อคมนาคมและส่งผลให้นำรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น

สินเชื่อการค้า ธุรกิจสามารถซื้อสินค้าเข้ามาจำหน่าย

ข้อ 4

ทฤษฎีการเงินของเคนส์ : ความต้องการถือเงิน (John Maynard Keynes : Theory)

จากการเกิดภาวะทางเศรษฐกิจของโลกตกต่ำลงในช่วง ค.ศ. 1930 จากทฤษฎีของทางสำนักคลาสสิคทำงานไม่ได้ผล ซึ่งสวนกับความเชื่อที่กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจนั้นจะมีกลไกในการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพได้โดยอัตโนมัติ แต่ปรากฏว่าในเหตุการณ์ครั้งนี้ปริมาณเงิน จำนวนรอบการในการหมุนเวียนของเงิน ตลอดจนระดับราคาสินค้านั้นได้เกิดการลดลงเป็นอย่างมาก จึงเป็นสิ่งที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ John Maynard Keynes ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The General Theory Of Employment Invest and Money หรือเรียกกันสั้นว่า The General Theory (ทฤษฎีทั่วไป) ขึ้นในปี ค.ศ. 1936 ซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างจากสำนักคลาสสิค โดยเคนส์มีความเห็นที่ว่า ไม่มีกลไกลในการปรับตัวโดยอัตโนมัติในระบบเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น แต่เคนส์ได้นำเสนอว่าการนำนโยบายการเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่น่าจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเกิดเสถียรภาพขึ้นได้ แต่สิ่งที่ควรจะกระทำคือการที่ภาครัฐควรจะเข้ามาแทรกแซงในการดำเนินกิจการทางด้านเศรษฐกิจ โดยการนำนโยบายการคลังมาใช้ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการใช้นโยบายการเงิน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างจากแนวคิดในสำนักคลาสสิคที่ว่า ระบบเศรษฐกิจมีกลไกลในการปรับตัวอัตโนมัติ และรัฐบาลไม่ต้องเข้ามาแทรกแซงในการดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจากแนวคิดของเคนส์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเหตุที่นำไปสู่ยุคที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติของเคนส์”

ซึ่งสำหรับแนวคิดใหม่ของเคนส์นี้ได้เสนอความคิดในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการถือเงิน ซึ่งจะเห็นได้จากทฤษฎีความต้องการถือเงิน (Liquidity Preference Theory) โดยอธิบายถึงความต้องการถือเงิน หรืออุปสงค์ต่อเงิน(Demand for money) ซึ่งกล่าวได้ว่าบุคคลจะมีความปรารถนาในการถือเงินด้วยจุดประสงค์ดังต่อไปนี้ (อ้างในบัญชา ไตรวิทยาคุณ หน้า 161 - 165)

1.เพื่อการจับจ่ายใช้สอย (Transaction Demand)

ทั้งนี้เกิดจากความจำเป็นที่บุคคลในสังคม หรือในระบบเศรษฐกิจจะต้องการถือเงินสดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนี้จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประกอบในการกำหนดความต้องการถือเงิน เช่น ระดับมาตรฐานค่าครองชีพ ความถี่ของระยะเวลาที่ได้รับรายได้ด้วย โดยเรื่องของอุปสงค์ของการถือเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยนั้น จะมีเรื่องของมูลค่าการซื้อขาย แลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น จะมีรวมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการขั้นสุดท้าย และการซื้อขายสินค้า/บริการขั้นกลาง ตลอดจนการซื้อขายสินทรัพย์สินทางการเงิน ซึ่งจะทำให้มูลค่ารวมของสิ่งที่กล่าวมานี้มีมูลค่าที่มากว่าค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) โดยอยู่ในข้อสมมุติฐานที่ว่า สัดส่วนระหว่างผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น กับมูลค่าของการซื้อขายทั้งหมดนั้นคงที่ ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยกับรายได้ประชาชาติ (National Income) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันเสมอ โดยความต้องการถือเงินของครัวเรือน อันเนื่องมาจากสาเหตุทางด้านรายได้ และความต้องการที่จะถือเงินของหน่วยธุรกิจ อันเนื่องมากจากสาเหตุทางด้านธุรกิจ ซึ่งต่างก็มีความสำคัญต่อการถือเงินของระบบเศษฐกิจทั้งหมดโดยรวมทั้งสองสิ่งเช่นกัน

ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย กับระดับรายได้ประชาชาตินั้น มีความสัมพันธ์ในลักษณะไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเราสามารถที่จะแสดงให้เห็นในรูปของสมการเส้นตรง (Linear Equation) ได้ดังนี้

Mt = k Y ------------------------------- (1)

โดยที่

Mt คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย

k คือ สัดส่วนระหว่างรายได้ประชาชาติกับความต้องการถือเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย

Y คือ รายได้ประชาชาติที่อยู่ในรูปของตัวเงิน

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจแก่ผู้อ่านคือ สมมุติว่าคนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพื่อไว้ใช้ในการจับจ่ายใช้สอย 100 ล้านบาท โดยมีระดับรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินอยู่ในระดับ 500 ล้านบาท และขณะที่รายได้ประชาชาติอยู่ในระดับ 700 ล้านบาท จากสมการข้างต้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเราแทนค่าต่างๆ ลงไปแล้วเราจะได้ค่า k คือ 1/5

จะได้ว่า

100 = k 500

100 = k

500

1 = k

5

นั่นแสดงว่าคนในประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยจำนวน 100 ล้านบาท ในระดับรายได้ประชาชาติเท่ากับ 500 ล้านบาท แต่ถ้าระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านบาทแล้ว จะทำให้คนในประเทศ ก. มีความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านบาท ซึ่งสามารถที่จะแสดงได้ดังต่อไปนี้

Mt = k Y

Mt = 1 700

5

Mt = 140

แต่อย่างไรก็ตามค่าของตัว k นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้หากว่าระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ค่าของตัว k ก็ย่อมที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านสถาบัน และโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้จากแผนภาพที่ 2

อุปสงค์ของการถือเงิน

เพื่อจับจ่ายใช้สอย (- Mt) (ล้านบาท)

Mt = kY

140

Mt’ = k’Y

100

0 รายได้ประชาชาติ (–Y)

100 200 300 400 500 600 700 (ล้านบาท)

แผนภาพที่ 2 : แสดงความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าเดิมประชาชนมีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยที่ 100 ล้านบาท ในขณะที่ระดับรายได้ประชาชาตินั้นอยู่ที่ 500 ล้านบาท ซึ่งแสดงด้วยเส้น kY ซึ่งค่าของ k จะมีค่าเท่ากับ 1/5 แต่ต่อมาสมมุติว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป เช่น ลูกจ้างได้รับค่าแรงลดลง แต่ว่ามีจำนวนครั้งในการจ่ายค่าจ้างที่ถี่มากขึ้น (จ่ายบ่อยครั้งขึ้น) ซึ่งกรณีเช่นนี้ทางประชาชนอาจจะมีความต้องการถือเงินเพื่อการใช้สอยเทียบเท่ากับความต้องการถือเงินเหมือนอย่างเดิม คือ 100 ล้านบาท แต่ถ้าหากเกิดกรณีที่ว่าระดับรายได้ประชาชาตินั้นเกิดเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านบาท ก็จะส่งผลทำให้ค่าของ k ลดลงเหลือ 1/7 โดยแสดงให้เห็นจากเส้น k’Y ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในทางคณิตศาสตร์ดังนี้

จากสูตร

Mt = k Y

100 = k700

100 = k

700

1 = k

7

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติกับอัตราดอกเบี้ยในกรณีต่อความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยนั้นเราสามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ดังรูปต่อไปนี้

อัตราดอกเบี้ย

8 Y2

7 Y1

6

5

4

3

2

1

0 อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่าย

20 40 60 80 100 110 120 (ล้านบาท)

แผนภาพที่ 3 : แสดงเส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยที่มีความยืดหยุ่นกับอัตราดอกเบี้ย

จากแผนภาพที่ 3 สมมุติให้ ณ ระดับรายได้ประชาชาติที่ 500 ล้านบาทค่า k มีค่าเท่ากับ 1/5 โดยที่มีความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย 100 ล้านบาท ซึ่งในขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% โดยให้เส้น Y1 เป็นตัวอธิบายอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย ซึ่งหมายถึงว่า อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่าย 100 ล้านบาทนี้ จะคงอยู่ไปในระดับนี้อีกนานเท่านานตราบเท่าที่อัตราดอกเบี้ยไม่สูงขึ้นกว่า 5% แต่หากว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นสูงเกิน 5% นั้นก็แสดงว่า เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย (Y1)นี้จะเริ่มเกิดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยมีลักษณะโค้งกลับ ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่า 5% อีกทั้งระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนี้ก็จะเป็นเหตุจูงใจที่จะให้ประชากรถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยน้อยลง โดยจะหันไปถือเงินในรูปของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น

ในทำนองเดียวกันหากระดับรายได้ประชาชาติขยับขึ้นไปเป็น 600 ล้านบาท และกำหนดให้ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่าย เป็น 120 ล้านบาท แต่ทั้งนี้โดยกำหนดให้ค่าของ k คงเดิม ก็จะส่งผลให้เส้นอุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายเลื่อนตัวออกไปเป็นเส้น Y2 โดยที่เราก็สามารถอธิบายได้เช่นเดียวกับเส้น Y1 ที่มีลักษณะการโค้งกลับ หากอัตราดอกเบี้ยนั้นขยับตัวสูงขึ้น

2.เพื่อเหตุฉุกเฉิน (Precautionary Demand)

ทั้งนี้เกิดจากความจำเป็นที่บุคคลในสังคม หรือในระบบเศรษฐกิจจะต้องการถือเงินสดเพื่อสำหรับในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เป็นต้น ซึ่งในความต้องการถือเงินประเภทนี้ก็จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกัน แต่สำหรับอัตราดอกเบี้ยแล้วนั้นการถือเงินในประเภทนี้จะแปรผันในลักษณะที่ตรงกันข้าม โดยเราสามารถอธิบายในรูปของสมการได้ดังนี้ (อ้างใน วเรศ อุปปาติก หน้า 280 และแสงจันทร์ ศรีประเสริฐ หน้า 68)

Mp = f(y ,r) ------------------------------- (2)

โดยที่

MP คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน

r คือ ระดับอัตราดอกเบี้ย

y คือ ระดับรายได้

3.เพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand)

ทั้งนี้เกิดจากการถือเงินไว้โดยมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งหวังผลกำไรที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินตรา ซึ่งความต้องการในรูปแบบนี้จะมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่แปรผกผันกัน นั่นแสดงว่าถ้าหากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตน่าจะสูงขึ้นก็จะทำให้คนเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ตนถืออยู่ เช่น พันธบัตร มาอยู่ในรูปของเงินสดทันที ซึ่งหากไม่ยอมสละอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับเพียงเล็กน้อยนี้ก็อาจจะต้องพบกับการขาดทุนในส่วนของทุน (Capital Loss) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าอนาคตก็ได้ (อ้างใน วเรศ อุปปาติก หน้า 280 - 281)

จากที่กล่าวมาแล้วว่าความต้องการถือเงินนั้นมีความสัมพันธ์ลักษณะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยดังนั้นเราจึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้

MS = l(r) ------------------------------- (3)

โดยที่

MS คือ อุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร

r คือ ระดับอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการอธิบายเราสามารถใช้รูปภาพมาแสดงการอธิบายในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย กับอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร ดังนี้

อัตราดอกเบี้ย

Ms

Liquidity

Trap

0 ปริมาณเงินที่ต้องการ

ถือไว้เพื่อเก็งกำไร

แผนภาพที่ 4 : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไร กับอัตราดอกเบี้ย

จากแผนภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่าอุปสงค์ของเงินเพื่อเก็งกำไรนั้นมีความสัมพันธ์ในลักษณะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย แต่เส้น อุปสงค์ในส่วนหนึ่งมีลักษณะที่ขนานกับแกนนอน ซึ่งหมายความว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนั้นจะไม่ต่ำไปกว่าระดับน

แสงทิพย์ เผือกผ่อง

ข้อจำกัดของทฤษฎีการถือเงินเพื่อเก็งกำไร

1. ไม่ได้นำเรื่องของการถือครองสินทรัพย์ที่มีอายุการไถ่ถอนในระยะสั้น และสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงมาใช้ในการพิจารณา เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้นอาจจะมีการถือครองสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวแทนการถือเงินสด ทั้งนี้เนื่องจากสินทรัพย์ดังกล่าวอาจจะจ่ายโอนได้อย่างรวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดการขาดทุน

2. ไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติของสินค้าที่สามารถเลื่อนการใช้ได้ (Postponable Goods) ยกตัวอย่างเช่นหากมีการคาดว่าในอนาคตสินค้าจะมีราคาสูงขึ้น หน่วยธุรกิจก็จะทำการกักตุนสินค้าเอาไว้ โดยการยอมลดการถือครองเงินสดในปัจจุบันให้น้อยลง และใช้เงินสดนั้นทุ่มไปกับการกักตุนสินค้าแทน หรืออาจจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งที่ว่า เป็นการเลื่อนบริการที่จะใช้ในอนาคตมาใช้ในปัจจุบันแทน เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น

3. จากข้อสมมุติที่ว่าหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วยจะมีการคาดคะเนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้อย่างมั่นใจ (ใกล้เคียง) ดังนั้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหน่วยเศรษฐกิจจะมีการเลือกถือเฉพาะเงินสด หรือ หลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นหน่วยเศรษฐกิจจะมีการถือเงินสด และหลักทรัพย์ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่แล้ว

3.ทฤษฎีการเงินทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (Monetarist Theory) : Milton Friedman

จากแนวความคิดของเคนส์ที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกระทั้งถึงปี ค.ศ. 1956 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก คือ Miltion Friedman ได้ทำการรื้อฟื้นทฤษฎีปริมาณเงินของสำนักคลาสสิคขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีแนวคิดสรุปได้ว่า “เน้นให้เห็นถึงปัจจัยที่กำหนดความต้องการถือเงินของบุคคลว่าเกิดจากความต้องการในการจับจ่ายใช้สอย เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายก็มากขึ้นด้วย”

ซึ่งเป็นมองว่าเงินมีลักษณะคล้ายสินค้า โดยเรียกราคาของเงินว่า อำนาจการซื้อของเงินเมื่อเทียบกับจำนวนสินค้า และบริการอื่นๆ ที่จะซื้อได้นั่นเอง ซึ่งหากวิเคราะห์ลงไปแล้วก็จะพบว่าความต้องการถือเงินของ Friedman นั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการคือ 1.ความพึงพอใจที่จะถือเงินสดไว้ในมือ 2.เกิดจากข้อจำกัดในส่วนของรายได้แต่ละบุคคล หรือครัวเรือน และ3.ในส่วนของต้นทุนในการถือเงิน ซึ่งประกอบไปด้วย 3.1 ค่าสูญเสียโอกาส และ3.2การสูญเสียอำนาจซื้อ

สมการของทฤษฎีความต้องการในการถือเงินของฟรีดแมน (Demand for Money Theory Equation of Friedman)

จากแนวคิดของทาง Friedman ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของสำนัก Classic โดยเราจึงพบว่าแนวคิดของ Friedman นี้มีลักษณะใกล้เคียงกับแนวคิดในการถือเงินของ เคมบริจน์ มากที่สุด ดังนั้นจึงสามารถที่จะใช้ทฤษฤีของเคมบริจน์ โดยการนำสมการมาใช้ในการอธิบายคือ

M = kPT ------------------------------- (1)

แต่เนื่องจาก k = 1/V ดังนั้น

MV = PT ------------------------------- (2)

จากสมการข้างต้น Friedman นั้นยอมรับว่าอุปสงค์ของเงินนั้นมีความยืดหยุ่นที่ค่อยข้างน้อย และยอมรับในแนวคิดของเคนส์ที่ว่าเงินมีบทบาททางเศรษฐกิจในฐานะเป็นสินทรัพย์ที่มี

ความคล่องตัวสูง ซึ่งทั้งนี้ Friedman ได้พยายามชี้ให้เห็นว่า ค่าของ V นั้นมีการปรับตัวที่เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้สภาวะด้านการเงินของระบบเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระดับดุลยภาพ และมีเสถียรภาพ

โดยทางภาครัฐควรจะมีมาตรการที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในส่วนของอัตราการหมุนเวียนของเงิน และรายได้ประชาชาติที่ได้ทำการคาดคะเนเอาไว้ในระยะยาว อย่างสม่ำเสมอ

จากสิ่งที่เราเคยได้กล่าวมาก่อนหน้าแล้วนั้น ทำให้เราจึงสามารถที่จะสรุปรูปแบบในส่วนของสมการอุปสงค์ของเงินได้ดังต่อไปนี้ (วเรศ อุปปาติก หน้า 286)

Md = f ( Y , W , rm , rb , re , (1/P x P/t) , U) --------------------- (3)

โดยที่

Md คือ ความต้องการถือเงินสดที่แท้จริง (Demand for Money)

Y คือ ระดับรายได้ถาวร

W คือ สัดส่วนของเศรษฐทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพยากรมนุษย์ เช่น ทรัพย์สิน

rm คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับของเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของเงินฝาก

rb คือ อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพยที่คาดว่าจะได้รับ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงราคา

หลักทรัพย์ที่คาดไว้

re คือ อัตราผลตอบแทนจากการถือหุ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นที่คาดไว้

(1/P x P/t) คือ อัตราการคาดคะเนในการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และผลตอบแทน

ในรูปแบบสินทรัพย์ที่แท้จริง

U คือ ตัวแปรอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินที่มิได้กล่าวมาข้างต้น เช่น

รสนิยม ความพึงพอใจ สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น สงคราม เป็นต้น

สรุปแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆ ที่มีต่อเงิน

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถที่จะสรุปแนวคิดในทฤษฎีการเงินทั้งสามเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างง่ายได้ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงการสรุปแนวคิดของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของสำนักต่างๆ ที่มีต่อเงิน

สำนัก แนวความคิด

คลาสสิก

: เงิน ระดับราคา

เคนส์

: เงิน อัตราดอกเบี้ย การลงทุน ผลผลิต และ

การจ้างงาน

การเงินสมัยใหม่

: เงิน การจับจ่าย

ใช้สอย ผลผลิต และ

การจ้างงาน ระดับราคา

ภาวะสมดุลในภาคการเงิน

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าอุปสงค์ของเงินนั้นจะผกผันกับอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้อุปสงค์ของเงินนั้นลดลง ในทำนองกลับกันถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลง ก็จะส่งผลให้อุปสงค์ของเงินนั้นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสามารถอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน ในรูปภาพถัดไปนี้

อัตราดอกเบี้ย

ปริมาณเงิน

r1

ซื้อหลักทรัพย์มาเก็บเอาไว้

r0

r2 ขายหลักทรัพย์เพื่อถือเงินสด

ปริมาณเงิน

แผนภาพที่ 5 : ดุลยภาพในตลาดเงิน อุปสงค์ต่อเงิน เท่ากับ อุปทานของเงินโดยมีดอกเบี้ยเป็นตัวแปร

จากแผนภาพที่ 5 จะเห็นได้ว่าในกรณีที่ระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ r1 คนจะมีความต้องการถือเงินน้อย จึงทำให้เกิดปริมาณเงินส่วนเกินขึ้น ดังนั้นคนจึงนิยมที่จะเก็บเงินในรูปของหลักทรัพย์ทั้งนี้เพื่อต้องการผลกำไรจากหลักทรัพย์ที่ตนเองถือไว้ และเมื่อมีการซื้อหลักทรัพย์มากขึ้นก็จะส่งผลให้ราคาของหลักทรัพย์นั้นสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นลดลง จนถึงระดับปรกติ r0 ภาวะดุลยภาพในตลาดเงินก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง แต่ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ r2 ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับคนมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้อุปสงค์ต่อเงินนั้นเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้คนจะนำหลักทรัพย์ต่างๆ ออกมาขายเพื่อเปลี่ยนมาเก็บในรูปของเงินเอาไว้ และเมื่อหลักทรัพย์ถูกนำออกมาขายมากขึ้นก็จะทำให้ราคาของหลักทรัพย์นั้นลดลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งถึงระดับ r0 ซึ่งเป็นระดับดุลยภาพของตลาดการเงินเช่นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงในภาวะสมดุลภาคการเงิน

ในกรณีที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงิน (M)ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะเกิดจากนโยบายต่างๆ ที่ทำให้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ดุลยภาพย่อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเราสามารถที่จะอธิบายด้วยรูปดังนี้

อัตราดอกเบี้ย

ปริมาณเงิน S1 ปริมาณเงิน S2

M

r1

r2

D

ปริมาณเงิน

M1 M2

แผนภาพที่ 6 : การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงิน

จากแผนภาพที่ 6 ปริมาณเงินเปลี่ยนจาก M1 เป็น M2 ณ ระดับอัตราดอกเบี้ย r1 การเพิ่มขึ้นของเงินนั้นก่อให้เกิดปริมาณเงินส่วนเกินขึ้น (M) ดังนั้นปริมาณเงินส่วนเกินนี้จะถูกแปรไปเก็บเป็นรูปหลักทรัพย์มาถือไว้แทนเงิน และส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น จนกระทั่งทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นลดลงมา จนในที่สุดก็จะกลับเข้าสู่ดุลยภาพที่ ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ r2 ซึ่งจะทำให้เงินส่วนเกินนั้นหมดไป และเกิดดุลยภาพในตลาดเงินขึ้นมาอีกครั้ง

ทฤษฎีดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium)

เป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ John R. Hicks ซึ่งได้พยายามผสมผสานแนวคิดขอสำนัก Classic และ สำนัก Keynes เข้าด้วยกัน โดยเรียกกันว่า ทฤษฎีแห่งดุลยภาพทั่วไป หรืออีกนัยหนึ่งเราเรียกกันว่า IS - LM Functions โดยใช้ในการอธิบายว่าในลักษณะของสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นจะสามารถแก้ได้ด้วยนโยบายการเงิน หรือนโยบายการคลัง ซึ่งแนวคิดของทฤษฎีนี้เราสามารถที่จะพิจารณาดุลยภาพออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ดุลยภาพในตลาดผลผลิต (Equilibrium in Product Market : IS Curve)

จากที่เราทราบว่า ณ ระดับอุปสงค์มวลรวม เท่ากับ อุปทานมวลรวม นั้นจะส่งผลให้ระดับรายได้ และระดับผลผลิตนั้นเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ แต่อย่างไรก็ตามเรายังสามารถที่จะแสดงภาวะดุลยภาพในภาคการผลิตโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างส่วนรั่วไหลของรายได้ (Leakage) เช่น การออม กับส่วนชดเชยของรายได้ (Injection) เช่นการลงทุน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การออม ต้องเท่ากับการลงทุน จึงจะเกิดดุลยภาพในตลาดผลผลิต ซึ่งจากเงื่อนไขที่เราใช้ในการอธิบายดังกล่าวเราสามารถที่จะแสดงความสัมพันธ์ออกมาในรูปของสมการได้คือ

โดยสมมุติว่าเศรษฐกิจที่กำลังพิจารณานั้นอยู่ในระบบปิด

Y = C + I + G --------------------------------------------- (1)

โดยที่

Y คือ รายได้ประชาชาติ

C คือ การบริโภคในภาคเอกชน

I คือ การใช้จ่ายในการลงทุนของภาคเอกชน

G คือ การใช้จ่ายของภาครัฐบาล

หรือถ้าจะมองในส่วนของเงื่อนไขของอุปสงค์มวลรวม เท่ากับอุปทานมวลรวม

I + G = S + T --------------------------------------------- (2)

โดยที่

S คือ การออม

T คือ การเก็บภาษีอากร

I คือ การใช้จ่ายในการลงทุนของภาคเอกชน

G คือ การใช้จ่ายของภาครัฐบาล

พิจารณาสมการที่ (2) เราจะเห็นได้ว่าในข้อสมมุติที่ว่าเศรษฐกิจที่เรากำลังพิจารณานั้นอยู่ในระบบปิด ดังนั้นแสดงว่า ภาครัฐบาล ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ดังนั้น การใช้จ่ายของภาครัฐบาล และการเก็บภาษีอากร จึงมีค่าเท่ากับ ศูนย์ โดยแทน ลงในสมการที่ (2) เราก็จะสามารถหาเส้น IS ได้

I + 0 = S + 0

I = S --------------------------------------------- (3)

จากข้อมูลที่เราได้ข้างต้นในสมการที่ (3) เราสามารถอธิบายโดยใช้หลักของเศรษฐศาสตร์มหาภาคตามที่เราได้เคยศึกษามาก่อนแล้วว่า การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนนั้นจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย (r) เป็นสำคัญ แต่สำหรับการออมนั้นจะขึ้นอยู่กับรายได้ประชาชาติ (Y) เป็นสำคัญ ดังนั้นการที่จะทำให้ตลาดผลผลิตเกิดดุลยภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องทำให้การออม เท่ากับ การลงทุน เส้น IS จึงเป็นเส้นที่แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ ของอัตราดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติที่ทำให้ตลาดผลผลิตนั้นมีความสมดุลเกิดขึ้น

อัตราดอกเบี้ย

r2 E2

r1 E1

r0 E0

IS

0 รายได้ประชาชาติ

Y0 Y1 Y2

แผนภาพที่ 7 : เส้นที่แสดงส่วนประกอบของอัตราดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติ

ที่ทำให้เกิดภาวะดุลยภาพในตลาดผลผลิต

จากแผนภาพที่ 7 จะเห็นได้ว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะส่งผลให้การลงทุนที่ต่ำลง และเมื่อมีการลงทุนต่ำลงก็จะส่งผลให้ระดับรายได้ประชาชาตินั้นลดต่ำลงด้วย

2. ดุลยภาพในตลาดเงิน (Equilibrium in Money Market : LM Curve)

จากที่เราได้ศึกษาแนวคิดของเคนส์ทำให้เราทราบว่า อุปสงค์ของเงินนั้นจะมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับรายได้ประชาชาติเสมอ อีกทั้งจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับอัตราดอกเบี้ย โดยความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ของเงินกับรายได้ประชาชาติ และอัตราดอกเบี้ยนั้น เราสามารถที่จะแสดงได้ด้วยอุปสงค์ของเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย ณ ระดับรายได้ประชาชาติ ระดับใดระดับหนึ่ง และอุปสงค์ของเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยนี้จะลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น โดยเราสามารถแสดงออกมาในรูปของสมการได้ว่า

MD = L ( y , r ) ------------------------------------- (1)

แปรงสมการที่ (1) โดยเขียนอยู่ในรูปของสมการเส้นตรง (Linear Equation)

MD = C0 + C1y + C2r ------------------------------------- (2)

โดยที่กำหนดให้

C1 > 0

C2 < 0

ซึ่งเงื่อนไขดุลยภาพในตลาดเงินนั้นก็คือ อุปสงค์ของเงิน มีค่าเท่ากับอุปทานของเงิน โดยเราสามารถแสดงออกมาในรูปแบบของสมการได้ก็คือ

MS = MD = C0 + C1y + C2r ------------------------ (3)

จากสมการจะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้ตลาดการเงินนั้นเกิดดุลยภาพจำเป็นที่จะต้องทำให้อุปทานของเงินนั้นมีค่าเท่ากับอุปสงค์ของเงิน โดยมีรายได้ประชาชาติ และอัตราดอกเบี้ยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนั้นเส้น LM จึงเป็นเส้นที่แสดงถึงส่วนประกอบของระดับอัตราดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติที่ทำให้ตลาดการเงินนั้นเกิดความสมดุลขึ้น (ดังรูป)

อัตราดอกเบี้ย

E2 LM

r2

E1

r1

E0

r0

IS

0 รายได้ประชาชาติ

Y0 Y1 Y2

แผนภาพที่ 8 : เส้นที่แสดงส่วนประกอบของอัตราดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติ

ที่ทำให้เกิดภาวะดุลยภาพในตลาดเงิน

ข้อสังเกตุจากการที่เส้น LM มีลักษณะทอดตัวขึ้น

จากรูปภาพที่ 8 จากการที่เส้น LM มีลักษณะทอดขึ้นไปทางขวา โดยกำหนดให้อุปทานของเงินคงที่ นั่นหมายถึง หากอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงจะส่งผลให้เกิดความต้องการถือเงินไว้สำหรับเก็งกำไรสูงขึ้น โดยจะมีผลให้คนมีเงินเหลือเพื่อใช้ในการจับจ่ายลดลง ดังนั้นย่อมจะส่งผลต่อระดับรายได้ประชาชาติที่จะลดต่ำลงมาด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้อุปทานของเงินนั้นมีค่าเท่ากับอุปสงค์ของเงิน

ข้อควรสังเกตุในลักษณะของเส้น IS และเส้น LM

• ในลักษณะของเส้น IS ที่มีลักษณะทอดตัวลงจากด้านซ้ายมายังด้านขวาทั้งนี้เนื่องจาก

( อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น  ลดการลงทุน  รายได้ประชาชาติลดต่ำลง )

• ในลักษณะของเส้น LM ที่มีลักษณะทอดตัวขึ้นจากด้านซ้ายไปยังด้านขวาทั้งนี้เนื่องจาก

(อัตราดอกเบี้ยต่ำ  ถือเงินเพื่อเก็งกำไรมากขึ้นปริมาณเงินเหลือใช้จ่ายน้อยลง 

(รายได้ประชาชาติลดลง)

(ในกรณีกำหนดให้อุปทานของเงินคงที่)

การวิเคราะห์ภาวะดุลยภาพในตลาดผลผลิต และตลาดเงิน

(Equilibrium in Product and Money Market)

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทั้งเส้น IS กับ เส้น LM เป็นเส้นที่แสดงถึงส่วนประกอบของอัตราดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติ ที่ก่อให้เกิดภาวะดุลยภาพในตลาดผลผลิต และตลาดเงิน ดังนั้นถ้าหากเรานำเส้นทั้งสองมาตัดกัน เราก็จะได้ภาวะดุลยภาพทั้งในตลาดผลผลิต และตลาดเงินไปพร้อมๆ กัน ดังแผนภาพที่ 9

อัตราดอกเบี้ย

LM

r1 E1

IS

0 รายได้ประชาชาติ

Y1

แผนภาพที่ 9 : แสดงภาวะดุลยภาพในตลาดเงิน และตลาดผลผลิต

จากแผนภาพที่ 9 จะเห็นได้ว่าจุด E1 เป็นจุดที่เส้น IS กับ เส้น LM ตัดกัน ซึ่งแสดงถึงภาวะดุลยภาพในตลาดการเงิน และตลาดผลผลิต ณ ระดับอัตราดอกเบี้ย r1 และระดับรายได้ประชาชาติ Y1

ปัจจัยที่ส่งผลให้เส้น IS กับ เส้น LM เปลี่ยนแปลง

แต่อย่างไรก็ตามทั้งเส้น IS กับเส้น LM ก็ยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เส้นทั้งสองสามารถเปลี่ยนแปลงไป คือ (อ้างใน Roy J. Ruffin and Paul R. Gregory 1997 : 186-187)

1. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ (G)

หากว่าการใช้จ่ายของภาครัฐนั้นเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลทำให้เส้น IS เลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านขวา และในทางตรงกันข้าม หากการใช้จ่ายภาครัฐลดลง ก็จะส่งผลให้เส้น IS เลื่อนตัวลงไปทางด้านซ้าย

2. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงในการใช้จ่ายในลงทุน (I)

หากว่าการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลทำให้เส้น IS เลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านขวา และในทางตรงกันข้าม หากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลดลง ก็จะส่งผลให้เส้น IS เลื่อนตัวลงไปทางด้านซ้าย

3. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของภาษีอากร (T)

หากรัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีอากรมากขึ้น ก็จะส่งผลทำให้เส้น IS เลื่อนตัวลดลงไปทางด้านซ้าย ในทำนองกลับกันหากรัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีอากรลดลง ก็จะส่งผลให้เส้น IS เลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านขวา

4. ระดับของอุปสงค์ของเงิน ณ ระดับรายได้ประชาชาติ และอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมีการ

เปลี่ยนแปลง

ซึ่งในการการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ของเงินนี้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ในกรณีที่อุปสงค์ของเงินเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้เส้น LM เลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านซ้าย แต่ถ้าหากอุปสงค์ของเงินลดลง ก็จะส่งผลให้เส้น LM เลื่อนตัวลงมายังด้านขวา

5. ระดับของอุปทานของเงิน ณ ระดับรายได้ประชาชาติ และอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมีการ

เปลี่ยนแปลง

ซึ่งในการการเปลี่ยนแปลงของอุปทานของเงินนี้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ในกรณีที่อุปทานของเงินเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้เส้น LM เลื่อนตัวลงมายังด้านขวา แต่ถ้าหากอุปทานของเงินลดลงก็จะส่งผลให้เส้น LM เลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านซ้าย

ข้อควรจำในการวิเคราะห์หากดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ

ในการวิเคราะห์เพื่อหาภาวะดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาระหว่างรายได้ประชาชาติ กับอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดผลผลิต และตลาดการเงิน ก็จะมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย และกระทบต่อรายได้ประชาชาติ ตามลำดับ ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์ทั้งในตลาดผลผลิต และตลาดการเงิน ในเวลาเดียวกันเสมอ

ความยืดหยุ่นของเส้น LM

การศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นของเงินตรานั้นย่อมเกี่ยวข้องกับปริมาณเงินเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้เขียนขอใคร่แจงทรรศนะในการศึกษาถึงยืดหยุ่นของเส้น LM ซึ่งนับได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยเพราะว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินโดยตรง

ซึ่งโดยปรกตินั้นในการศึกษาเราจะมีข้อกำหนดที่ว่าปริมาณเงินนั้นมีค่าคงที่ ด้วยเหตุที่ว่าปริมาณเงินจะถูกกำหนดจากเจ้าหน้าที่โดยตรง โดยที่เราจะสามารถอธิบายได้ด้วยแผนภาพที่ 10 และแผนภาพที่ 11 ดังนี้

Lt Lt

Lt M

M

0 Y 0 Ls

Transactions Demand Lt = kY Supply of Money Lt + Ls = M

r r

LM LM'

Ls

0 Y 0 Ls

Money Market Equilibrium Speculative demand Ls = l(r)

M = kY + I(r)

แผนภาพที่ 10 : แสดงดุลยภาพในตลาดการเงิน

จากแผนภาพที่ 10จะเห็นได้ว่าเส้น LM นั้นมีลักษณะทอดงจากขวามาซ้าย โดยปลายทั้งสองของเส้นนั้นจะมีความยืดหยุ่นอยู่ 2 รูปแบบคือ ที่ปลายด้านขนาดกับแกนนอนจะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด (perfectly elastic) แต่อีกปลายข้างหนึ่งจะขนาดกับแกนตั้งจะไม่มีความยืดหยุ่นเลย (perfectly inelastic) โดยเราอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าหากเส้น LM มีความยืดหยุ่นมาก แสดงกว่าอัตราดอกเบี้ยก็จะต่ำมากๆ แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เส้น LM มีความยืดหยุ่นลดลง

จากที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความยืดหยุ่นของเส้น LM นั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money) ดังแสดงในรูปข้างล่าง

r r

LM

Classic Rage

Keynesian Rage Liquidity Trap

Intermediate Rage Ls

0 Y 0 Ls

Money Market Equilibrium Speculative demand

แผนภาพที่ 11 แสดงลักษณะความยื่ดหยุ่นของเส้น LM ในรูปแบบต่างๆ

จากแผนภาพที่ 11 จะเห็นได้ว่า ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ เส้นความต้องการถือเงินนั้นจะมีความยืดหยุ่นแบบมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากคนเราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่ต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความต้องการถือเงินไว้เพื่อเก็งกำไรอย่างไม่สิ้นสุด โดยในช่วงนี้จะอยู่ในช่วงขนานกับแกนนอน หรือที่เรียกว่า พิสัยของเคนส์ (keynesian Rage)

ในกรณีกลับกันหากระดับอัตตราดอกเบี้ยนั้นเพิ่มสูงขึ้นก็จะส่งผลให้ความยืดหยุ่นของเส้นความต้องการถือเงินนั้นจะลดลงตามไปด้วย จนกระทั่งเป็นเส้นตั้งฉากกับแกนตั้ง ด้วยเหตุที่คนเรานั้นเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยก็จะไม่สูงไปกว่านี้แล้วจึงส่งผลให้คนเราหันไปถือหลักทรัพย์แทนเงินสด โดยในช่วงนี้จะอยู่ในช่วงที่ขนานกับแกนตั้ง หรือเรียกว่า พิสัยของคลาสสิค (Classic Rage) เพราะว่าในคิดของกลุ่มคลาสสิคจะมีความเชื่อที่ว่าคนเราจะต้องการถือเงินเพื่อใช้สอยเท่านั้น ไม่ได้มีการถือเงินเพื่อเก็งกำไร ดังนั้นช่วงของเส้น LM ที่อยู่ระหว่างช่วงของพิสัยเคนส์ และพิสัยคลาสสิค จึงมีชื่อเรียกว่าช่วงระหว่างกลาง (Intermediate Rage) ซึ่งมีความยืดหยุ่นระหว่าง ศูนย์ ถึง Infinity

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าค่าความยืดหยุ่นของเส้น LM นั้นมีค่าตั้งแต่ 0 - infinity

“เน้นให้เห็นถึงปัจจัยที่กำหนดความต้องการถือเงินของบุคคลว่าเกิดจากความต้องการในการจับจ่ายใช้สอย เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายก็มากขึ้นด้วย”

สรุป แนวคิดของ ฟรีดแมน

ซึ่งเป็นมองว่าเงินมีลักษณะคล้ายสินค้า โดยเรียกราคาของเงินว่า อำนาจการซื้อของเงินเมื่อเทียบกับจำนวนสินค้า และบริการอื่นๆ ที่จะซื้อได้นั่นเอง ซึ่งหากวิเคราะห์ลงไปแล้วก็จะพบว่าความต้องการถือเงินของ Friedman นั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการคือ 1.ความพึงพอใจที่จะถือเงินสดไว้ในมือ 2.เกิดจากข้อจำกัดในส่วนของรายได้แต่ละบุคคล หรือครัวเรือน และ3.ในส่วนของต้นทุนในการถือเงิน ซึ่งประกอบไปด้วย 3.1 ค่าสูญเสียโอกาส และ3.2การสูญเสียอำนาจซื้อ

สรุปแนวคิดของ เคนส์

โดยเคนส์มีความเห็นที่ว่า ไม่มีกลไกลในการปรับตัวโดยอัตโนมัติในระบบเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น แต่เคนส์ได้นำเสนอว่าการนำนโยบายการเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวนั้นไม่น่าจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเกิดเสถียรภาพขึ้นได้

ข้อ 5

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด

กลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีคำเฉพาะเรียกว่า ตะกร้าสินค้า (Market Basket) คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายส่วนใหญ่ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ การจัดตะกร้าสินค้านั้น ได้ข้อมูลมาจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าอย่างเดียวกันในช่วงเวลาตั้งต้น ซึ่งมีคำเฉพาะเรียกว่าปีฐาน (Base Year) ในทางปฏิบัติปีฐานหมายถึงปีที่กำหนดให้ตัวเลขดัชนีมีค่าเท่ากับ 100

น้ำหนัก (Weight) เป็นคำที่ควรทราบในเรื่องดัชนีราคา หมายถึงการให้ความสำคัญของสินค้าแต่ละรายการในตะกร้าสินค้าแตกต่างกัน เพราะในการทำดัชนีราคาจะใช้ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าทุกรายการในตะกร้าสินค้า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการบริโภคมากจะมีความสำคัญมากนั่นคือ มีน้ำหนักมาก การจัดทำน้ำหนักของสินค้าในตะกร้าสินค้าก็จะต้องอาศัยข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันได้กำหนดกรอบลักษณะของครัวเรือนตัวอย่างที่ใช้วัดเป็น 3 ชุด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันแยกตามรายได้ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งไม่ได้รวมดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในกลุ่มอาหารสด และพลังงาน

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

การสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนี

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำเป็นต้องสำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนดัชนีซึ่งได้กำหนดกรอบไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อต้องการทราบสินค้าและบริการที่ครัวเรือนต่างๆ ใช้จ่ายในการดำรงชีพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญมากน้อยแก่สินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่ายไปตามลำดับ ซึ่งมีผลทำให้ทราบถึงลักษณะการดำรงชีพของประชากรในลำดับต่างๆ เกี่ยวกับรายได้ และการออมและเกี่ยวเนื่องถึงลักษณะการบริโภคและชี้วัดความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนใหญ่ว่ามีลักษณะการดำรงชีพอย่างไร

หมวดของสินค้าที่นำมาคำนวณดัชนีราคา

โดยทั่วไปสินค้าที่นำมาคำนวณราคาดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย แยกออกเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด คือ

1. หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

2. หมวดเครื่องนุ่งห่ม

3. หมวดเคหสถาน

4. หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล

5. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร

6. หมวดบันเทิง และการอ่านและการศึกษา

7. หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การคำนวณดัชนีราคา

การคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค คือ การหาสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้าที่กำหนด) ตามราคาสินค้าของเดือนปัจจุบัน (เดือนที่คำนวณดัชนี) เทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า (ในตะกร้าสินค้านั้น) ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้บริโภค

1. ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ

2. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการวางนโยบาย แผน และประเมินผลกระทบของนโยบายและแผนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ

3. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการปรับค่าจ้าง เงินเดือนของราชการและเอกชน

4. ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาในการกำหนดเงินบำเหน็จ และเงินช่วยเหลือหรือสวัสดิการในรูปต่างๆ

5. ใช้ประเมินรายรับที่ควรจะเป็นในการทำสัญญาระยะยาว เช่น สัญญาซื้อขายระยะยาว

6. ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย พยากรณ์การตลาด และราคาสินค้าต่างๆ

7. ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง

ข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาใช้และแปลผลคือ

1. ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่สามารถตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับราคาของผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มสินค้าได้

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอาจจะมีสินค้าในตะกร้าบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีราคาในแต่ละเดือน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพ หรือราคาสินค้าระหว่างท้องถิ่น

4. การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้การเลือกตัวอย่างมาเพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงๆ ฉะนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการเลือกตัวอย่าง หรือการจัดเก็บราคาได้

สรุป

ดัชนีราคาผู้บริโภค ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวหนึ่ง เพราะในการวิเคราะห์จะพิจารณาถึงปัจจัยด่างๆ ที่มีผลกระทบตัวการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิต ได้แก่ น้ำมัน ก๊าชหุงต้ม นอกจากนี้ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสรรพสามิตและปัจจัยอื่นๆ ถ้าปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของ

แสงทิพย์ เผือกผ่อง

ราคาสินค้า จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชนทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจ้างงาน ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอภาวะเงินเฟ้อและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อกรณีประเทศไทย

ข้อ 6

PPI หรือ (Producer Price Index) แปลเป็นไทยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต หมายถึง ดัชนีราคาที่คำนวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน

ประโยชน์ของดัชนีราคาผู้ผลิตมีอยู่หลายประการ ได้แก่

1. ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อของประเทศทางด้านผู้ผลิต

3. เป็นเครื่องชี้ภาวะการค้าของประเทศ

4. เป็นตัวปรับสัญญาซื้อขายระยะยาว

5. เป็นแนวทางกำหนดงบประมาณรายจ่าย และนโยบายทางการเงิน

6. เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการผลิตและตลาด

ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตในประเทศได้รับจากการขายสินค้า ณ แหล่งผลิตไม่รวม ค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ มี 2 โครงสร้าง ได้แก่

(1) โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต (Classification of Products by Activity : CPA ) ประกอบด้วย ดัชนีรวม และ 3 หมวดใหญ่ คือ

- หมวดผลผลิตเกษตรกรรม

- หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง

- หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(2) โครงสร้างแบ่งตามขั้นตอนการผลิต

(Stage of Processing : SOP ) ประกอบด้วย

- หมวดสินค้าสำเร็จรูป

- หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ( สินค้าแปรรูป )

- หมวดสินค้าวัตถุดิบ

การจัดทำดัชนีราคาผู้ผลิต จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

ทั้งรายการสินค้า (Items) ลักษณะจำเพาะสินค้า (Specifications) แหล่งจัดเก็บราคาและน้ำหนักความสำคัญของสินค้า (Weights) ตลอดจนปีฐาน (Base year) ที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยลักษณะจำเพาะสินค้าและแหล่งจัดเก็บข้อมูลราคาจะดำเนินการปรับปรุงทุกปี เพื่อให้ทันสมัย ส่วนการปรับปรุงโครงสร้าง รายการ น้ำหนักสินค้าและปีฐาน จะปรับทุก 5 ปี ตามโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากข้อมูลในตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิตของประเทศไทย (Input-Output Table of Thailand) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรกรรม จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลเหมืองแร่ และอุตสาหกรรม จากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

ข้อ 8

1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน

เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยการเพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์

2.ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือนเป็นเวลา 6 เดือน

3.ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน

รัฐบาลให้ใช้น้ำฟรี สำหรับผู้ใช้น้ำ 0 - 50 ลบ.ม. / เดือน

4.ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน

โดยหากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย / เดือน รัฐบาลจ่ายให้ใช้ไฟฟรีค่ะ ใช้เกิน 80 แต่ไม่ถึง 150 หน่วย / เดือน รัฐบาลจ่ายให้ครึ่งหนึ่งค่ะ

5. ฟรีค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง โดยจัดรถร้อนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 800 คัน วิ่งฟรีๆๆๆ

6. ฟรีค่าใช้จ่ายเดินทางโดยสารรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศทั่วประเทศ

ควรจะวางแผนระยะยาวในการแสดงความรับผิดชอบต่อนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่านี้นะคะ " 6 มาตราการ 6 เดือน" ใช้เงินงบประมาณถึง 4.9 หมื่นล้านบาทเป็นเงินที่มาจากเงินภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศชาติ

ข้อ 9

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

ประเภทของอัตราเงินเฟ้อ

ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภท คือ

1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ

2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 %

รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์มวลรวม(Aggregate Demand) และอุปทานมวลรวม (Aggregate Supply) ซึ่งพอจะจำแนกได้ 3 ประการใหญ่ๆดังนี้

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น(Demand Pull Inflation)

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น(Cost-Push Inflation)

3. เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง(Structural Inflation)

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation)

คือการปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์มวลรวม

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น

1.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนการผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการ

1.2 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

1.3 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น

1.4 ความต้องการสินค้าจากประเทศของเราของชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมต่อสินค้าและบริการทุกชนิดได้มีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นเรื่อยๆก็จริง แต่การสูงขึ้นของราคาดังกล่าวเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อหวังจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามมาในเวลาต่อมา และช่วยบรรเทาการสูงขึ้นของระดับราคาไม่ให้มากนักได้

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ

1.1 การเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มของปัจจัยแรงงาน(Wage-Push Inflation)

1.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มกำไรของผู้ผลิต

1.3 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(Structural Inflation)

กรณีที่ประเทศเกิดภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินในการสงครามและจำกัดขอบเขตการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้การผลิตอาวุธ ในช่วงสงคราม

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง

2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง

3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น

1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคง

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้

3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

ทำได้โดยดูว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุใด

1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมโดย

1.1 ลดค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Consumption Expenditure)

1.2 ใช้นโยบายทางการเงินโดยภาครัฐ กล่าวคือ ลดปริมาณเงินโดยการออกพันธบัตร เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาสนใจออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายเงิน

1.3 ใช้นโยบายการคลังโดยภาครัฐ กล่าวคือใช้มาตรการทางด้านภาษี การเก็บภาษีมากขึ้นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดน้อยลงและรัฐบาลจะต้องลดค่าใช้จ่ายลง

1.4 ลดค่าใช้จ่ายการลงทุน(Investment Expenditure)

1.5 การควบคุมระดับราคาโดยตรง(Price Control) โดยภาครัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการไว้แน่นอน

2. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย

2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน

3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

สาเหตุของภาวะเงินฝืด

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก

2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป

3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป

4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต

5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว

6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน

7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง

8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง

9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ

2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้

3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย

3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน

6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้

น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มี

หลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน

1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น

1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท ( กสช. ) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย

2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ ( ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป

2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้

2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษี และให้ความสะดวกทุกประการ

2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ

2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง

2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

ข้อ 10

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

อย่างไรตาม การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่ในตั๋วเงิน แสดงว่ายอมให้ผู้มีสิทธิในตั๋วนั้นลงวันที่ได้โดยสุจริต ตั๋วเงินนั้นย่อมสมบูรณ์ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำมั่นอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน มีวัยถึงกำหนดใช้เงิน (ถ้าไม่มี ถือว่าใช้เงินเมื่อเห็น) / มีสถานที่ใช้เงิน (ถ้าไม่มี ให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) / มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋ว (ถ้าไม่ระบุวันออกตั๋ว ผู้ทรงตั๋วชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริต จะจดวันถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ออกตั๋วไว้ ให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว) และที่สำคัญคือ ต้องลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว อนึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องระบุชื่อผู้รับเงินเสมอ จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้

ตั๋วเงินตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มี 3 ประเภทคือ

- ตั๋วแลกเงิน ( Bill of Exchange ) ( B/E )

- ตั๋วสัญญาใช้เงิน ( Promissory Note ) ( P/N )

- เช็ค ( Cheque )

ตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

การออกตั๋วแลกเงิน

แนวคิด

1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน

3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง

4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

รายการในตั๋วแลกเงิน

ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง

อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้

อนุมาตรา (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ “โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท” ถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ

ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี “คำสั่ง” ก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า “ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงิน” เพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น “โปรดจ่ายเงิน” ซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน

ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง

ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า “เงิน” หมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า “เงินจำนวนแน่นอน” หมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้

อนุมาตรา (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)

ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป

การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้”

อนุมาตรา (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน

วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ

1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้

2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น

3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น

4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น

3. ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน

" ตั๋วสัญญาใช้เงิน " ต่างกับ " ตั๋วแลกเงิน " ในข้อที่ว่า ตั๋วแลกเงินเป็นเอกสารที่ผู้ออกตั๋ว สั่งบุคคลอื่นให้จ่ายเงิน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นผู้ออกตั๋วสัญญาว่าตนเองจะเป็นผู้ใช้เงิน

แสงทิพย์ เผือกผ่อง

ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยค่ะ คือหนูส่งข้อสอบไปแร้ว 8 ข้อ หนูตรวจสอบอีกรอบ ได้ไม่ครบ 8 ข้อค่ะ จำนวนข้อความในบล็อกมีจำกัดอ่ะค่ะส่งได้ไม่มาก แต่หนูทำครบ 8 ข้อค่ะ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตรวจข้อสอบของหนูด้วยค่ะ

นส.อรนุช เพียราชโยธา

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี

๑. น โ ย บ า ย เ ร่ง ด่ว น ที่จ ะ เ ริ่ม

ดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์

ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของ

ประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน

สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่น

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิด

ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหา

วิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้ง

๑ . น โ ย บ า ย เ ร่ง ด่ว น ที่จ ะ เ ริ่ม

ดำเนินการในปีแรก

๑.๑ การสร้างความเชื่อมั่นและ

กระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิด

ความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและ

เอกชนในการลงทุนและการบริโภค

๑ . ๑ . ๑ เ ส ริม ส ร้า ง ค ว า ม

สมานฉันท์และความสามัคคีของคนใน

ชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็วโดยใช้แนวทางสันติ

รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยง

การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

ความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้ง

ฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมาย

อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์

ภายใต้กรอบของบทบาท อำนาจและ

หน้าที่ขององค์กร

๑.๑.๒ จัดให้มีสำนักงานบริหาร

ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น

องค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหา

และพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึด

มั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และ

แนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้

กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่าง

เคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัด

ชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ

ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรม

ฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนา

พิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย

ทางศาสนา และวัฒนธรรม

๑.๑.๓ ปฏิรูปการเมือง โดย

จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนว

ทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วน

ร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการ

บริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและ

ประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครอง

ร ะ บ อ บ ป ร ะ ช า ธิป ไ ต ย อัน มี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมี

ความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ

สังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อ

การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไป

ตามความต้องการของประชาชนอย่าง

แท้จริง

๑.๑.๔ เร่งสร้างความเชื่อมั่น

ของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมือ

อาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่

เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิก

ประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วง

ของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้

แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒

และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการ

ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ใน

เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ในฐานะที่

ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

๑.๑.๕ ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบ

ปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็น

แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม

ภ า ค เ ก ษ ต ร แ ล ะ เ ก ษ ต ร ก ร

ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการ

ท่องเที่ยว ภ า ค ก า ร ส่ง อ อ ก ภ า ค

อสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้าง

รายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำ

ธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จ

ภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒ พร้อมทั้ง

จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่

ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถ

บรรเทาภาวะความเดือดร้อนของ

ประชาชนและภาคธุรกิจได้

๑.๑.๖ เร่งสร้างความเชื่อมั่น

ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัด

มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการ

ดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและ

เอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูด

นักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับ

แผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับ

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๕๒ อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการ

ฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่ว

ประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียม

และค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

๑.๑.๗ เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนา

ประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการ

ลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อ

เสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับ

คุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่ม

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพ

การศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับ

โครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การ

ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุน

พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนา

ร ะ บ บ บริห า ร จัด ก า ร น้ำ แ ล ะ ก า ร

ชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนิน

โครงการได้ในปี ๒๕๕๒ โดยให้

ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของ

ประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การ

ดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

และการรักษาวินัยการคลังของประเทศรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของ

ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

๑.๒ การรักษาและเพิ่มรายได้ของ

ประชาชน

๑.๒.๑ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการ

ดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและ

ป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างใน

ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้ง

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ

ขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลด

ภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิก

จ้างงาน

๑.๒.๒ ดำเนินมาตรการเร่งด่วน

เฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงาน

ว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและ

นักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรม

แรงงานที่ว่างงานประมาณ ๕๐๐,๐๐๐

คน ในระยะเวลา ๑ ปี ตามกลุ่มความถนัด

และศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่

วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

๑.๒.๓ เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือ

บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้าง

และผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤต

เศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิ

ประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว

การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ

การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อ

ปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการ

ที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุน

สงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่

ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสาน

ฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงาน

และจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่ง

ทุนสำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูก

เลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

๑.๒.๔ สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเอง

ได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ

๖๐ ปีขึ้นไป ที่แสดงความจำนงโดยการขอ

ขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุน

ผู้สูงอายุเป็น ๓๐,๐๐๐ บาทต่อราย

๑.๒.๕ เพิ่มมาตรการด้านการ

คลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชน

แ ล ะ ก ร ะ ตุ้น ธุร กิจ ใ น ส า ข า ที่ไ ด้รับ

ผลกระทบ

๑.๒.๖ สร้างรายได้และ

ศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง

และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคย

จัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและ

พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน

ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี

๑.น โ ย บ า ย เ ร่ง ด่ว น ที่จ ะ เ ริ่ม

ดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์

ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของ

ประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน

สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่น

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มุ่งสร้าง

จิตสำนึกพลเมืองที่คำนึงถึงหลักเหตุผล

เพื่อคนส่วนใหญ่ แสวงหาทางออกที่

๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่ม

ดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์

ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดอง

สมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟู

ประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความ

เข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิด

ความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่าง

ต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน

เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการ

ภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอัน

เนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และ

ความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลาย

ของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

ไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑ . ๑ . ๓ สนับสนุนให้

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา

ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ

(คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้

รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ใน

การตรวจสอบและค้นหาความจริงจาก

กรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิด

สิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ

ทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งความ

เสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและ

ป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระ

แห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการ

ปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล

และผู้ประพฤติมิชอบโดยบังคับใช้กฎหมาย

อย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วย

ที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็น

คนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตาม

ช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ดำ เนินการ

อย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการ

แสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ

ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด

สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพ

ติด ที่ลัก ล อ บ เ ข้าสู่ประเทศภายใต้

การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมี

ประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกัน

กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้

เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวม

พลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการ

ต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่าง

จริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมี

ธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้

ทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ประเทศ

เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด

ประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง

ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตและประพฤติ

มิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่อง

การห้ามการกระทำ ที่เป็นการขัดกัน

แห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจ

รัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับ

สูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้

กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและ

ประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้าง

มาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและ

ธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจน

ปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้

ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้อง

ชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการ

น้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขต

พื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหาร

จัดการน้ำ ในระดับประเทศอย่างมี

ประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหา

อุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุน

ภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบ

ชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ

ขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และ

แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขต

การสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำ

ขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการ

จัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้

น้ำและการผลิต ส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิด

ประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช

และจัดหาแหล่งน้ำ ในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความ

ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัด

ชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัด

ความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพล

อำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราช

ดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติใน

แนวทางสันติวิธีโดยเน้นการส่งเสริม

ความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชน

ในพื้นที่ อำนวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง

เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต

สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพ

อัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น

ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครอง

ส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับ

ลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการ

ทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับ

นโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง

พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้

สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริง

ของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยา

ผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่าง

เป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และ

พัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

และนานาประเทศ เพื่อสนับสนุน

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหา

กระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่าน

กระบวนการทางการทูตบนพื้นฐาน

ของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการ

รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม

ขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ

ประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจาก

ภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้า

กองทุนน้ำ มันเชื้อเพลิงสำ หรับน้ำ มัน

เชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับ

โครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่

การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิต

พลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง

ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงิน

ที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภค

บริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่

เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและ

ผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

โดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้

เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดย

ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรง

และทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของ

ป ร ะ ช า ช น โ ด ย เ พิ่ ม กำ ลัง ซื้ อ

ภายในประเทศ สร้างสมดุลและความ

เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบ

เศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของ

เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มี

หนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย

๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มี

หนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำ

แ ผ น ฟ ื้น ฟูอ า ชีพ แ ล ะ แ ผ น ก า ร ป รับ

โครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อ

สร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิต

แหล่งอ้างอิง http://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/4govpolicy-230854.pdf

นางสาว ขวัญนภัส ตั้งจิตสวัสดิ์

นโยบายการเงินรัฐบาล อภิสิทธิ์

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนา ประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบาย รัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริม สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัด ให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูป การเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟู เศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่ง ลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วม มือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้าง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้าง รายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนิน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัด ตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่ง เสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้ กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

ส่วนนโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ แตกต่างจากนโยบายก่รเงินของนายกอภิสิทธิ์ มีดังนี้

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายราย ได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้อง การที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครง สร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลง ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรอง รับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่ง รัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับ สนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลง ทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่ง รัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัว การติดตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็น นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาะ (ธันวาคม 51-ปัจจุบัน) ที่คนไทยทุกคนควรติดตามการทำงานว่าเป็นไปตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม สนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมสร้างความสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนก.พ. 2552

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูทรัพยากรให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยร่วมกับภาคเอกชนประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริม การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริการจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโค รงการได้ในปี2552

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม และบริการทุกระดับ โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 3 หมื่นบาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรเดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้รวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า ของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับอสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.3 ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยให้สนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุด นักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

ที่มา : "คำแถลงนโยบายของรัฐบาลภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ."เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552

ส่วน นโยบายการเงิน รัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์

วนหนึ่งของนโยบายด้าน เศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

อาภารัตน์ อรุณเรือง

1. นโยบายนายกอภิสิทธิ์

นโยบายการเงิน

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างก็ดำเนินนโยบายการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ในยามที่เศรษฐกิจขาลง หรือตกต่ำ มีคนว่างงานจำนวนมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นได้ ขณะที่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ อันเนื่องมาจากขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงเกินไป จนการผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภคที่แท้จริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้ในอนาคต เพราะสินค้าที่ผลิตมากเกิน อาจจะขายไม่ออกในเวลาต่อมา นโยบายการเงินก็จะดำเนินไปในแนวทางที่ตึงตัวขึ้นหรือหดตัว เพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว การมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลัง จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบใด นโยบายการเงินและการคลังควรจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวของเราทั้งในการวางแผนเพื่อการบริโภคและการลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัว การติดตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็น นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาะ (ธันวาคม 51-ปัจจุบัน) ที่คนไทยทุกคนควรติดตามการทำงานว่าเป็นไปตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม สนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมสร้างความสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนก.พ. 2552

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูทรัพยากรให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยร่วมกับภาคเอกชนประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริม การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริการจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโค รงการได้ในปี2552

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม และบริการทุกระดับ โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 3 หมื่นบาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรเดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้รวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า ของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับอสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.3 ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยให้สนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุด นักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

ที่มา : "คำแถลงนโยบายของรัฐบาลภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ."เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552

2. นโยบายนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นางสาวพิมลวรรณ เทิดสุธาธรรม

1. นโยบายนายกอภิสิทธิ์

เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัว การติดตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็น นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาะ (ธันวาคม 51-ปัจจุบัน) ที่คนไทยทุกคนควรติดตามการทำงานว่าเป็นไปตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม สนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมสร้างความสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนก.พ. 2552

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูทรัพยากรให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยร่วมกับภาคเอกชนประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริม การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริการจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโค รงการได้ในปี2552

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม และบริการทุกระดับ โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 3 หมื่นบาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรเดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้รวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า ของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับอสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.3 ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยให้สนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุด นักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

ที่มา : "คำแถลงนโยบายของรัฐบาลภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ."เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552

2. นโยบายนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ที่เตรียมแถลงต่อสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554

.โดย Friends of Yingluck เมื่อ 19 สิงหาคม 2011 เวลา 14:28 น. •.หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของนโยบายด้าน เศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ฉบับคำแถลงต่อรัฐสภา

นโยบายiรัฐบาล (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ที่แถลงต่อสภา ฯวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2554 มี 8 ด้าน

นโยบายทั้ง 8 ด้าน คือ

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายข้อ 1) นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง คือ

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ

5. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน

16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมือง

แหล่งข้อมูล

http://www.sesa10.go.th/sesa10/index.php/component/content/article/17--10/213-2011-08-24-14-39-29

http://entertain.tidtam.com/data/12/0433-1.html

http://www.sobkroo.com/img_news/file/A48906198.pdf

นางสาวเบญจมาศ จันทราช

นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์

1.ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

2.จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

3.ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

4.ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

5. จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

6.ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

7.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

8.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

- เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

- จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

9.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

10.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

11.พลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยการลดค่าครองชีพและเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมกับลงทุนภาครัฐให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น

นโยบายการเงินของนายกอภิสิทธิ์

1. ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

2.การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

3. อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

4.งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

5. อัดชีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

6.ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว

7. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

8. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

9. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

10.การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

11. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

12. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

13. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

14.เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

15. ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

16. เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นางสาวฐิตาภา ศรีวัฒนา

นโยบายของ นายก ยิ่งลักษณ์

1.) ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี

2.) ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.) ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศรวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยาย

ช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชน

ให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

ซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้

สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณี และอื่น ๆ

5.)ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.) ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

7.) เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

8.) ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

นโยบายของ นายก อภิสิทธ์

การวางมาตรการระยะยาวเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตมีคุณภาพ

การที่ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี เปิดเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก กระแสโลกาภิวัตน์ย่อมจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวรับกับกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยการปรับ โครงสร้าง หรือดำเนินการปฎิรูปให้เศรษฐกิจ ไทยยืนอยู่บนพื้นฐานของความเข้มแข็ง สามารถได้ประโยชน์จากสิ่งที่ดีในกระแสโลกาภิวัตน์ และลดผลลบของส่วนที่ไม่ดีในกระแสโลกาภิวัตน์นี้ได้ นอกจากนี้ การยอมรับกระแสโลกาภิวัตน์ยังต้องอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องสิ่งที่ดีของไทย และเร่งรัดแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับอนาคต รัฐบาลชวน ๒ จึงได้จัดกระบวนการการบริหารประเทศภายใต้นโยบายหลักๆ ดังต่อไปนี้

การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม

รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ทั้งทางด้านนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ให้มีความเหมาะสม , สอดคล้อง, และสมดุล ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคโดยเร็วและโปร่งใสสู่สาธารณชน เพื่อให้กลไกลตลาดแก้ไขความไม่สมดุลใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านการคลังนั้น รัฐบาลจะต้องรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด และดำเนินนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคลังและวิธีการงบประมาณของ ประเทศ ซึ่งรัฐบาลชวน ๒ ได้เตรียมวางแนวทางนโยบายการคลังเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

1. นโยบายด้านงบประมาณรายจ่าย ควรเน้นการควบคุมการขยายตัวของรายจ่ายประจำของรัฐบาล โดยเร่งรัดมาตรการจำกัดอัตรากำลังและค่าใช้จ่ายบุคคลากรภาครัฐ เพื่อควบคุมรายจ่ายประจำ และปรับปรุงพระราชบัญญัตวิธีการงบประมาณ , พระราชบัญญัติเงินคงคลัง , และกฎหมายการก่อหนี้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเงินงบประมาณ, เงินคลัง, และเงินกู้ของภาครัฐ โดยในการพิจารณาจัดสรรรายจ่ายของภาครัฐนั้น จะให้ความสำคัญต่องานและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับภายใต้หลัก ๓ ประการ คือ หลักการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ, เน้นประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ, และหลักความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

2. นโยบายด้านรายได้และภาษีอากร ปรับปรุงโครงสร้างและฐานภาษีอากร โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระเงินงบประมาณสำหรับใช้เป็นทุนในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

3. นโยบายด้านการก่อหนี้ โดยลดเพดาแผนกการก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๔๔-๒๕๔๕ และให้ความสำคัญในการลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตให้แก่ระบบ เศรษฐกิจ การสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในด้านการเงินนั้น รัฐบาลจะต้องรักษาสมดุลระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายเงินทุน และนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมีอีก วิกฤตในปี ๒๕๕๐ นั้น เกิดขึ้นมาจากการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยในประเทศไม่สอดคล้องกับระบบอัตราแลก เปลี่ยน และระบบเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไม่มีการควบคุม ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมากโดยไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งต่อมาเมื่อฟองสบู่ตก ได้ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามมาสำหรับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคให้เกิดความโปร่งใส เพื่อให้กลไกตลาดแก้ไขความไม่สมดุลใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลทางการคลังและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ สำคัญเช่นกัน ฐานของข้อมูลดังกล่าวใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลในระดับนานาชาติ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

การบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างระมัดระวัง

เมื่อรัฐบาลชวน ๒ ได้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงปลายปี ๒๕๔๐ หนี้สาธารณะมีอยู่สูงถึง ๑,๙๐๑,๓๕๕ ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชวน ๒ มีความจำเป็นต้องใช้เงินกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวอย่าง รุนแรง เพื่อรองรับวิกฤตทางสังคมและแก้ไขปัญหาการล่มสลายของระบบการเงิน การดำเนินการเหล่านี้ได้ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก ๑,๙๐๑,๓๕๕ ล้านบาท ณ สิ้นปี ๒๕๔๐ เป็น ๒,๗๙๑,๒๗๗ ล้านบาท ณ ตุลาคม ๒๕๔๓

ถึง แม้ว่าหนี้สาธารณะในสิ้นปี ๒๕๔๓ จะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ ๕๕.๔๘ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( GDP ) จะไม่อยู่ในภาวะอันตราย (เมื่อ ปรส. ได้นำส่งเงินจากการดำเนินการเหล่านี้ได้ทำให้หนี้สาธารณะในอนาคต จำเป็นที่จะต้องบริหารด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพราะหากหนี้สาธารณะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศจะไม่สามารถพัฒนาได้ ดังนั้นรัฐบาลชวน ๒ ได้วางรากฐานในการจัดการกับหนี้สาธารณะในอนาคต ดังนี้

1. กระทรวงการคลังได้จัดตั้งสำนักบริหารหนี้สาธารณะขึ้นเพื่อทำ หน้าที่บริหาร จัดการหนี้ภาครัฐโดยตรง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เพื่อให้มีหน้าที่แบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็นเอกภาพในการดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ

2. ได้สร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อลดภาระความเสียหายให้ต่ำที่สุด

3. ได้กำหนดให้นำรายรับจากกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทยและจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มาลดภาระหนี้

4. ได้ ทบทวนและปรับแผนการดำเนินงานของโครงการเงินกู้ต่างประเทศที่อยู่ระหว่าง ดำเนินการ แต่ดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนงาน หรือมีเงินเหลือจ่ายมาก หรือให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ประมาณการ ในกรณีโครงการที่มีเงินกู้เหลือจ่ายหรือไม่จำเป็นต้องให้เงินกู้อีกต่อไป ก็ให้ตัดทอนวงเงินกู้ลงไป และโครงการใดที่จะไม่ให้ผลตามเป้าหมายในสาระสำคัญ ก็ให้ตัดทอนหรือระงับ ทั้งนี้ เพื่อลดภาระค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้และภาระหนี้ของประเทศในภาพรวม

5. ได้ปรับแนวทางการก่อหนี้ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ด้านการเงินที่เปลี่ยนไปโดย ให้ใช้เงินบาทหรือการกู้เงินบาทให้มากขึ้น และใช้เงินกู้จากต่างประเทศให้น้อยลง และขณะเดียวกันยังต้องเพิ่มความรอบคอบในเรื่องสกุลเงินตราที่จะกู้อีกด้วย

6. ได้เริ่มปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีการงบ ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ และกฎหมายก่อหนี้ที่เกี่ยวข้องสำหรับการปรับปรุงกฎหมายจะมีการพิจารณาให้มี ความยืดหยุ่นในเชิงการบริหารหนี้ให้มากขึ้น อาจผ่อนปรนให้มีการเปิดโอกาสในการกู้เงินในประเทศเพื่อใช้คืนเงินกู้เก่า ( Refinancing ) รวมทั้งให้มีการรายงานการก่อหนี้ต่อสภาผู้แทนราษฎร

การสร้างระบบการเงินที่เข้มแข็งและมีวินัย

บทเรียนสำคัญหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตเอเชีย คือ การสร้างระบบการเงินที่เข้มแข็งและมีวินัย ได้ช่วยให้หลายประเทศรอดพ้นจากวิกฤตการณ์นั้นไปได้ ดังนั้น ทั้งผู้ดูแลและผู้ถูกดูแลในระบบการเงิน จะต้องยอมรับวินัย ร่วมกันในระบบการตรวจสอบ ยอมรับกฎเกณฑ์ที่ใช้กันในระดับนานาชาติเพื่อร่วมกันสร้างระบบการเงินที่เข้ม แข็งด้วยการส่งเสริมการออมและดำเนินการให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่าง รอบคอบและมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้มีระบบ กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่ดีและมีประสิทธิภาพในระยะยาว รัฐบาลชวน ๒ จึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขกฎหมายและปรับปรุงระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ระบบส่งเสริมเงินออมระยะยาว รวมทั้งการพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนระยะยาว ดังต่อไปนี้

1. พะราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยและพระราชบัญญัติเงินตรา

ในช่วงระยะเวลาที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถแก้ปัญหาระบบการเงินของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาลุกลามกระทบต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงมีการดำเนินการเสนอปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย และได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. ... พร้อมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ให้ปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารนโยบายการเงินและสถาบันการเงินเหมาะสม ชัดเจน และสอดคล้องกับภารกิจ ซึ่งเป็นงานของธนาคารกลาง ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพของ ระบบสถาบันการเงินให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ตามมาตรฐานสากล ตลอดจนเอื้อให้การบริหารงานเป็นไปโดยมีบทบาทความรับผิดชอบที่ชัดเจนมี ประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวละมีการถ่วงดุลที่เหมาะสม

2. พระราชบัญญัติธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

รัฐบาล ชวน ๒ ได้เสนอกฎหมายพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... โดยให้รวมกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เข้าด้วย กัน เพื่อให้การกำกับดูแลธุรกิจของสถาบันการเงินทั้ง ๓ ประเภทอยู่ในมาตรฐานเดียวกันและให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจในการกำกับดูแลและตรวจสอบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมการบริหารงานของสถาบันการเงินให้มีความโปร่งใส และน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการกระทำอันเป็นการทุจริตในสถาบันการเงินและเพื่อการบริหารงาน สถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ประชาชนและสถาบันการเงินทั้ง ระบบ

3. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต

รัฐบาล ชวน ๒ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. .... เพื่อที่สถาบันการเงินจะได้มีข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และประวัติการ ชำระหนี้ของลูกค้าอย่างเพียงพอในการที่จะพิจารณาให้กู้ยืม หรือให้สินเชื่อ เพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูล และป้องกันไม่ให้นำข้อมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

4. พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

รัฐบาล ชวน ๒ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ. ... เพื่อเป็นการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับ บัตรเครดิตหรือธุรกรรมเกี่ยวกับบัตรเครดิตเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเงินในการรองรับ ธุรกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

5. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจลีสซิ่ง

รัฐบาล ชวน ๒ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจลีสซิ่ง พ.ศ. .... เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจลีสซิ่ง เพื่อให้มีบทบาทในการสนับสนุนภาคการเงินและบริการโดยเฉพาะต่อผู้ประกอบ อุตสาหกรรมขนาดกลางละขนาดเล็ก

6. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง

รัฐบาล ชวน ๒ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจแฟ็กเตอริงดำเนินไปได้โดยไม่มี อุปสรรค และเป็นกลไกเสริมระบบเครดิตของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินธุรกิจแฟ็กเตอริงยังอยู่ในวงจำกัด ขาดมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจ แฟ็กเตอริงเป็นการเฉพาะ จึงทำให้มีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญหลายประการที่ทำให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเต อริงไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เพราะร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย ( SMEs) ในอันที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องและแหล่งเงินทุน รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคจากการที่กฎหมายในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนและมี ปัญหาในการตีความกรณีมีการฟ้องร้อง

7. พระราชบัญญัติป้องกันการฉ้อโกงประชาชน

รัฐบาล ชวน ๒ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อให้มีการดำเนินคดีกับผู้ที่หลอกลวงประชาชนในการค้าเงินตราต่างประเทศ

8. พระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก

รัฐบาล ชวน ๒ ได้มีการเตรียมการยกร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกันเงินฝากของสถาบันการเงิน เพื่อให้ระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินมีประสิทธิภาพและไม่ เป็นภาระแก่รัฐบาล

9. การแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญ

เพื่อ เป็นการส่งเสริมการออมและช่วยระดมเงินออมในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลชวน ๒ ได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออม เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการรับผิดชอบใน การปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของประเทศ และรัฐบาลชวน ๒ ได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนการปฏิรูประบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน บำเหน็จบำนาญ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือจัดตั้งระบบบำนาญแบบ Multi-Pillar โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนประกันสังคม เพื่อขยายขอบเขตและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทุนประกันสังคม (Pillar ๑) การออกแบบและจัดตั้งโครงการออมเพื่อเกษียณแบบบังคับและเสริมสร้างความแข็ง แกร่งให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งกองทุบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานของรัฐที่ไม่ได้อยู่

ภายใต้ กบข. ( Pillar ๒) และการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการออมเพื่อเกษียณ อายุแบบสมัครใจ (Pillar ๓) นอกจากนั้นกระทรวงการคลังได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อเกษียณอายุ ( Retirement Mutual Fund : RMF ) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ออมที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งผู้ออมสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนตามความเหมาะสมของตนได้

การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจนั้น ไม่อาจทำได้โดยการลดต้นทุนค่าจ้าง แรงงาน และต้นทุนการผลิตอื่น ๆ เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องปรับปรุงธุรกิจให้มีบรรษัทภิบาล ( Corporate Governance ) มีสภาพการทำงานที่ดี แรงงานมีการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการบัญชีที่ดีที่สอดคล้องกับหลักสากลมีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน อย่างโปร่งใส และมีการดำเนินนโยบายของบริษัทที่มุ่งเน้นการเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกให้ทั้งผู้บริหารและลูกจ้างตระหนักถึงความจำเป็นใน การต้องแข่งขันและปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หลักการนี้สามารถใช้ได้กับทั้งบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทขนาดย่อม

อย่างไรก็ดี การพัฒนาประเทศโดยรวมให้มีความสามารถในการแข่งขันนั้น มีความซับซ้อนยิ่งกว่า การพัฒนาบรรษัทภิบาลที่กล่าวข้างต้น รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อยกระดับทรัพยากรบุคคลอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ประชาชนะต้องมีมีการศึกษาที่ดี รวมถึงจะต้องมีระบบกฎหมายที่ยุติธรรมละมีระบบภาษีที่ดีในการสร้างแรงจูงใจ ที่เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดบรรยากาศการลงทุนที่ดี นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เหมาะสมจะช่วยขจัดความบิดเบือนของตลาด เพิ่มผลประโยชน์ของผู้บริโภค และลดภาระทางการคลัง ทั้งนี้การลงทุนของภาครัฐในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนภาค เอกชนจะต้องได้รับความสำคัญ โดยเฉพาะ เศรษฐกิจใหม่ ( New Economy) หรือวิทยเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นใหม่ เศรษฐกิจใหม่นี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ช่วยลดดันทุนในการหาข้อมูลความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ และจะช่วยเปิดตลาดสินค้าไทยไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลกในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รัฐบาลชวน ๒ได้เตรียมมาตรการหลายอย่างทั้งในการลดอากรการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ การจัดหาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางการเกษตรและอุตสาหกรรมดำเนินนโยบายแปร รูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เหมาะสมและเอื้อต่อการลงทุนและเป็นธรรมต่อผู้ประกอบ การตันน้ำและปลายน้ำ รวมทั้งผลักดันให้ผู้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทอโนโลยีการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ทั้งโดยทางตรง เช่น Intemet E-commerce หรือ Information Highway และโดยทางอ้อม เช่น มีระบบชำระเงินที่รวดเร็ว มีระบบควบคุมคุณภาพสินค้าที่ดี และมีระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น รัฐบาลชวน ๒ ได้มีการวางรากโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนเศรษฐกิจใหม่ ( New Economy ) โดยรัฐบาลชวน ๒ ได้เสนอกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ( E-commerce ) และกำลังยกร่างที่เกี่ยวข้องอีก ๓ ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

การสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและลดความยากจน

การเจริญเติบโตที่ดีที่สุด คือการเจริญเติบโตอย่างเป็นธรรม ( Equitable Growth ) โดยที่ผลสำเร็จจากความเจริญก้าวหน้าจะต้องแบ่งปันกันอย่างเท่าเทียมภายใน สังคม ประเด็นทางสังคมจะต้องได้รับความสำคัญเท่ากับประเด็นทางเศรษฐกิจ รัฐบาลของประชาชนจะต้องเข้ามาส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียม โดยใช้เครื่องมือทางการคลังไม่ว่าจะเป็นด้านภาษีอากร การจัดสรรรายจ่ายของรัฐบาล หรือการกระจายอำนาจทางการคลังไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อสร้างความเท่า เทียมของโอกาสในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษารวมทั้งการสร้างชุมชนที่ประกอบด้วยประชาชน ที่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม และพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนั้นแล้ว มาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตที่เท่าเทียมจะต้องดำเนินไปอย่างสมดุล กับเป้าหมายสูงสุดในการเสริมสร้างจริยธรรมของประชาชน และจะต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอ ด้วยการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมประกอบกันไปสำหรับประเทศไทยซึ่งมีประชากรร้อยละ ๖๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น การให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรจะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียม กัน รัฐบาลชวน ๒ ได้เตียมนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมภาคการเกษตรในระยะยาว เช่น นโยบายส่งเสริมการปรับโครงสร้างการผลติทางการเกษตร การสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำ ส่งเสริมการแปรสภาพสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร การปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์การเกษตร การสนับสนุนการบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยี และการจัดหาแหล่งสินเชื่อให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องโดยผ่านทางธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รวมทั้งการจัดหาตลาดเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเป็นธรรม รัฐบาลชวน ๒ ยังได้เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านระบบการศึกษาและการฝึกอบรม โดยในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ปี ๒๕๔๒ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน ๙ ปี และให้ความสำคัญกับโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลชวน ๑ เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเมื่อจบการศึกษาแล้ว เพื่อศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ รวมทั้งการศึกษานอกระบบเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลชวน ๒ ได้ดำเนินนโยบายการโอนรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยออกพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อกระจายอำนาจหน้าที่ รายได้ และงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้มีอิสระในการดำเนินการจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนในท้องถิ่นของ ตนเองมากยิ่งขึ้น และกระทรวงการคลังกำลังพิจารณา ปรับปรุงระบบภาษีท้องถิ่นเพื่อเสริมรายได้ท้องถิ่น เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่

การส่งเสริมการปฎิรูปการบริหารราชการและการเมือง

การคาดหวังให้เอกชนเป็นฝ่ายรับผิดชอบการดำเนินการทางเศรษฐกิจและสังคม อาจทำได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากปราศจากการปฎิรูปการบริหารราชการและการเมืองแล้ว ภาครัฐนั้นเองจะกลายเป็นอุปสรรค กีดขวางความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นต้องอาศัยระบบราชการและการเมืองที่ดี โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ

ในด้านการปฎิรูประบบการบริหารราชการ รัฐบาลชวน ๒ ได้ให้ความสำคัญในการสร้างธรรมาภิบาลในภาครัฐ ( Public Govemance ) เช่น มาตรการการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของราชการ โดยการจัดทำแผน แม่บทปฎิรูประบบราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๑ มาตการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ มาตรการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มาตรการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบระดับกระทรวง รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในการ สร้างองค์กรอิสระและกระบวนการสร้างความโปร่งใสของการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชน

การปฎิรูปการเมืองให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะมีส่วนช่วยให้ลดอุปสรรคในการพัฒนาประเทศให้เจริญยั่งยืนในระยะยาว ระบบการเมืองที่ดีจะต้องเป็นระบบการเมืองที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้น การปฎิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี ๒๕๔๐ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญควรต้องมีการดำเนินการต่อไป อย่างเคร่งครัดยิ่ง

แหล่งข้อมูล : หนังสือ “สรุปผลงานเด่น รัฐบาลประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย”

นางสาวขนิษฐา เอกแก้ว

นโยบายทางการเงิน

นโยบายทางการเงินของนายก ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

1.ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

2.จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

3.ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

4.ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

5. จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

6.ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

7.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

8.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

- เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

- จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

9.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

10.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

11.พลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยการลดค่าครองชีพและเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมกับลงทุนภาครัฐให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น

 

นโยบายการเงินของนายก อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

1. ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

2.การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

3. อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

4.งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

5. อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

6.ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว

7. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

8. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

9. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

10.การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

11. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)  เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

12. การกระจายรายได้    จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

13. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

14.เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

15. ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

16. เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

                17.ดำเนินการรักษาเสถียรภาพราคาสินผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

นางสาววิชชุดา วิชาชน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัคร สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดอง แห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูง อายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับ องค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา

นโยบายการเงินรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี มีดังนี้

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

2.4 สร้างหลักประกัน

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ผลกระทบกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ

3. ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตร

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

นางสาววิชชุดา วิชาชน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัคร สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดอง แห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูง อายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับ องค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา

นโยบายการเงินรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี มีดังนี้

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

2.4 สร้างหลักประกัน

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ผลกระทบกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ

3. ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตร

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

นางสาววิชชุดา วิชาชน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัคร สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดอง แห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูง อายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับ องค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา

นโยบายการเงินรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี มีดังนี้

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

2.4 สร้างหลักประกัน

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ผลกระทบกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ

3. ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตร

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

นางสาววิชชุดา วิชาชน

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัคร สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดอง แห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูง อายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับ องค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา

นโยบายการเงินรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี มีดังนี้

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

2.4 สร้างหลักประกัน

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ผลกระทบกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ

3. ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตร

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น

4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

· งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) · งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) · งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) · งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

· มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation) · จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้

งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้ · ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถ

ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและ

ผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

· ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way)

งบประมาณระบบนี้คือ

· จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน

( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา

ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

· มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

· กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย

( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ

( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

· PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การ-

วางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

· จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

· จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

· จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของ

โครงการ

· วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

· พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

· PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

· การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1. Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2. Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-

งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี

ต่อ ๆ ไป

3. Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

· ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

· ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

· กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

· จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

· คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

· กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

· ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

· เน้นการควบคุมภายใน

· การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

• ระบบงบประมาณเดิม– ใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input)

– เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

• ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting)– เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting)

ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

• วัตถุประสงค์– เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ– เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ

– เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

เปรียบเทียบระบบงบประมาณเก่า-ใหม่

• ระบบเก่า• ทรัพยากรนำเข้า• ควบคุมการจัดสรรอย่างเข้มงวด• เคร่งครัดการเบิกจ่าย• ระบบใหม่• ผลผลิตและผลลัพธ์• ความรับผิดชอบ, ความโปร่งใส• การมอบและกระจายอำนาจ• การจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้า

นโยบายการเงินยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเช

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น

4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

· งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) · งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) · งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) · งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

· มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation) · จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้

งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้ · ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถ

ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและ

ผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

· ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way)

งบประมาณระบบนี้คือ

· จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน

( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา

ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

· มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

· กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย

( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ

( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

· PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การ-

วางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

· จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

· จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

· จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของ

โครงการ

· วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

· พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

· PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

· การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1. Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2. Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-

งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี

ต่อ ๆ ไป

3. Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

· ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

· ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

· กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

· จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

· คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

· กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

· ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

· เน้นการควบคุมภายใน

· การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

• ระบบงบประมาณเดิม– ใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input)

– เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

• ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting)– เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting)

ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

• วัตถุประสงค์– เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ– เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ

– เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

เปรียบเทียบระบบงบประมาณเก่า-ใหม่

• ระบบเก่า• ทรัพยากรนำเข้า• ควบคุมการจัดสรรอย่างเข้มงวด• เคร่งครัดการเบิกจ่าย• ระบบใหม่• ผลผลิตและผลลัพธ์• ความรับผิดชอบ, ความโปร่งใส• การมอบและกระจายอำนาจ• การจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้า

นโยบายการเงินยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเช

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

ระบบงบประมาณที่นำมาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำงบประมาณจนถึงปัจจุบันอาจจำแนกได้เป็น

4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

· งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) · งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) · งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ ( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) · งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) งบประมาณแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ

· มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation) · จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้

งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้ · ระบบงบประมาณนี้ จะประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถ

ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและ

ผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ

· ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) เป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way)

งบประมาณระบบนี้คือ

· จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน ( Functional Classification ) หรือวัตถุประสงค์ของงาน

( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา

ด้านสาธารณสุข ฯลฯ

· มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ( เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

· กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย

( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ

งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ

( Planning - Programming - Budgeting System : PPBS )

เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรับอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) PPB หรือ PPBS มีลักษณะสำคัญคือ

· PPBS นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การ-

วางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต

· จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

· จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ

· จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของ

โครงการ

· วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

· พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ

· PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis

· การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1. Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2. Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-

งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี

ต่อ ๆ ไป

3. Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ

ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgerting : PBB )

เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ ลักษณะสำคัญของ PBB คือ

· ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล

· ใช้การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ

· กระจายอำนาจ ( Devolution )ในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน

· จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้

งบประมาณ

· คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม

· กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework : ( MTEF )

· ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis )

· เน้นการควบคุมภายใน

· การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล

ในอดีตประเทศไทยได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Item Budgeting ) จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ.2525 ได้ปรับปรุง โดยนำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (Programme Budgeting) มาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ และใช้ระบบดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณอีกครั้ง นำไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า SPBBS

การปรับปรุงระบบงบประมาณ

• ระบบงบประมาณเดิม– ใช้ระบบแสดงรายการ (Line-item Budgeting): ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (Input)

– เน้นหมวดรายจ่ายเป็นสำคัญ

• ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน (Program Budgeting)– เปลี่ยนจุดเน้นจากการควบคุมทรัพยากรนำเข้ามาเป็นการมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based Budgeting)

ระบบงบประมาณแบบใหม่-แบบแผนงาน

• วัตถุประสงค์– เพื่อให้การจัดทำแผนงบประมาณสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ– เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และกระจายอำนาจ

– เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

เปรียบเทียบระบบงบประมาณเก่า-ใหม่

• ระบบเก่า• ทรัพยากรนำเข้า• ควบคุมการจัดสรรอย่างเข้มงวด• เคร่งครัดการเบิกจ่าย• ระบบใหม่• ผลผลิตและผลลัพธ์• ความรับผิดชอบ, ความโปร่งใส• การมอบและกระจายอำนาจ• การจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้า

นโยบายการเงินยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

นโยบายนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐ

ให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

3.2 นโยบายแรงงาน

3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล

3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน

3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการ บูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ

3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ

3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้

3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย

3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น

3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ

นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหม

การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.1 คือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติโดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการแลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากล เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง(การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ความคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง)เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเ

นโยบายนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐ

ให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนแลอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

3.2 นโยบายแรงงาน

3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล

3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน

3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการ บูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ

3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ

3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้

3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย

3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น

3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ

นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหม

การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.1 คือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติโดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการแลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากล เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง(การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ความคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง)เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ

นโยบายนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐ

ให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนแลอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

3.2 นโยบายแรงงาน

3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล

3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน

3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการ บูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ

3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ

3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้

3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย

3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น

3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ

นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหม

การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.1 คือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติโดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการแลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากล เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง(การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ความคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง)เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ

นโยบายนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐ

ให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนแลอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

3.2 นโยบายแรงงาน

3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล

3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน

3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการ บูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ

3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ

3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้

3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย

3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น

3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ

นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหม

การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.1 คือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติโดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพลและผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศ ในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการแลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากล เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง(การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ความคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง)เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ

เปรียบเทียบนโยบายทางด้านการเงินของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. กา รสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

2. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็วโดยใช้แนวทางสันติรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไ ข ปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี

3. จัดให้มีสํานักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใ ต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทําหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์แ ละแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทําผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

4. ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดําเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหาร ประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กําลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทําเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรแ ละเกษตรกรภาคอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว

ภาคการส่งออกภาคอสังหาริมทรัพย์การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบทการพัฒนา แหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1. สร้างความปรองดองสมานฉันทของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2. เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชนเจ้าหน้าที่ทีรัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพล

อํานาจมืด

4. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหา กระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่งคง

5 . แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

เปรียบเทียบนโยบายทางด้านการเงินของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. กา รสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

2. เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็วโดยใช้แนวทางสันติรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไ ข ปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี

3. จัดให้มีสํานักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใ ต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทําหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์แ ละแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทําผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

4. ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดําเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหาร ประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กําลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทําเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรแ ละเกษตรกรภาคอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว

ภาคการส่งออกภาคอสังหาริมทรัพย์การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบทการพัฒนา แหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1. สร้างความปรองดองสมานฉันทของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2. เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชนเจ้าหน้าที่ทีรัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3. เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพล

อํานาจมืด

4. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหา กระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่งคง

5 . แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นโยบายเศรษฐกิจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1.นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

1.1สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยประสานนโยบายการเงิน แ ล ะ

นโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลใ ห้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำ ลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงินรูปแบบการลงทุนและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงวินัยการคลังและภาระงบประมาณของภาครัฐ

1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลและมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

2.1 ภาคเกษตร

1. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตรโดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตรรวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

2. ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงโดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วมปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำ ให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่งและบังคับใช้โดยเคร่งครัด

3. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตรโดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

5. ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความ

ปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจรรวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

6. สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำ ริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์เกษตรผสมผสานวนเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

7. เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืชเพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำ ในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

8. คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน

ชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดินจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำ กินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

9. พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งโดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ใ ห้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่างๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

10. แก้ไขปัญหาหนี้สินฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยเร่งดำ เนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

2.2 ภาคอุตสาหกรรม

1. สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า

2. กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต

3. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

4. เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งเพิ่ม

ค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรีและกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

5. สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ

6. จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่

7. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการและมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

1. ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศโดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการเพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันพัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรมและเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า

2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชนโดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

3. พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

4. พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก

5. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกันและเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

1. ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจรัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนและดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครอง

2. ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้ว และขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ๆ

3. ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

5. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

6. ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่สำคัญ

8. ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษีโดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบรวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบายเศรษฐกิจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

1.ภาคเกษตร

1.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

1.3 เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

1.4 พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

1.5 เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

1.6 จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

1.7 เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

1.8 พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

1.9 ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

2. ภาคอุตสาหกรรม

2.1 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.2 ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

2.3 พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

2.4 สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

2.5 กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

2.6 พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

2.7 เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

2.8 ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

2.9 สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

2.10 เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

3. การตลาด การค้า และการลงทุน

3.1 ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

3.2 สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.3 สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

3.4 ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

3.5 ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

3.6 พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

นโยบายเศรษฐกิจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1.นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

1.1สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยประสานนโยบายการเงิน แ ล ะ

นโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลใ ห้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำ ลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงินรูปแบบการลงทุนและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงวินัยการคลังและภาระงบประมาณของภาครัฐ

1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลและมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

2.1 ภาคเกษตร

1. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตรโดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตรรวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

2. ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงโดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วมปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำ ให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่งและบังคับใช้โดยเคร่งครัด

3. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตรโดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

5. ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความ

ปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจรรวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

6. สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำ ริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์เกษตรผสมผสานวนเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

7. เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืชเพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำ ในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

8. คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน

ชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดินจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำ กินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

9. พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งโดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ใ ห้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่างๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

10. แก้ไขปัญหาหนี้สินฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยเร่งดำ เนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

2.2 ภาคอุตสาหกรรม

1. สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า

2. กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต

3. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

4. เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งเพิ่ม

ค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรีและกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

5. สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ

6. จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่

7. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการและมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

1. ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศโดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการเพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันพัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรมและเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า

2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชนโดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

3. พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

4. พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก

5. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกันและเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

1. ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจรัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนและดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครอง

2. ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้ว และขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ๆ

3. ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

5. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

6. ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่สำคัญ

8. ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษีโดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบรวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

นโยบายเศรษฐกิจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

1.ภาคเกษตร

1.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

1.3 เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

1.4 พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

1.5 เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

1.6 จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

1.7 เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

1.8 พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

1.9 ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

2. ภาคอุตสาหกรรม

2.1 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.2 ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

2.3 พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

2.4 สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

2.5 กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

2.6 พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

2.7 เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

2.8 ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

2.9 สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

2.10 เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

3. การตลาด การค้า และการลงทุน

3.1 ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

3.2 สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.3 สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

3.4 ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

3.5 ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

3.6 พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

นายชานน เกตุรัตน์ รหัส 039


ให้เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาล

นายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

  • นโยบายเศรษฐกิจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

 1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

 1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

 1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

 1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

 1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

 1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

 

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

 1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

 1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

 1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

 1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

 1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

 1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

 1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

 1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

 1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

 1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

 1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

 1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

 1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

 1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

 

 

  • นโยบายเศรษฐกิจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายราย ได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้อง การที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครง สร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น


นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลง ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภคินี สิริชื่นสุวรรณ

เปรียบเทียบนโยบายการเงิน 2 รัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัว การติดตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้เป็น นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาะ (ธันวาคม 51-ปัจจุบัน) ที่คนไทยทุกคนควรติดตามการทำงานว่าเป็นไปตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม สนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมสร้างความสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนก.พ. 2552

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูทรัพยากรให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยร่วมกับภาคเอกชนประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริม การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริการจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโค รงการได้ในปี2552

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม และบริการทุกระดับ โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 3 หมื่นบาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรเดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้รวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า ของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับอสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

1.3 ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยให้สนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุด นักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายการที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

นโยบายการเงินรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

1.8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

1.10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

1.10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1.10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

1.11 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

1.13 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

1.13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ

รวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น“วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง

ดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย

กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้

สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นโยบายรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริม สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัด ให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูป การเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟู เศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่ง ลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วม มือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้าง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้าง รายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนิน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัด ตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้ กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นายกยิ่งลักษณ์

กองทุนหมู่บ้าน

วันนี้ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นกองทุนชั้นดี ที่เหลือก็เป็นกลางบ้าง แย่บ้าง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เขากำลังพัฒนาเป็นสถาบันการเงินของหมู่บ้าน เอากำไรมาจัดสวัสดิการหมู่บ้าน เพราะฉะนั้น

รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเพิ่มเงินทุนขึ้นอีก 1 ล้านบาท เพิ่มการหมุนเวียนของเงินทุน แก้ไขปัญหาเงินนอกระบบในหมู่บ้าน โดยเอาระบบไอที เชื่อมกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด ทำเป็นธนาคารชาวบ้านอย่างแท้จริง

พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี

คนที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท จะมีการพักหนี้อย่างต่ำ 3 ปี สำหรับผู้เป็นหนี้เกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านจะมาปรับโครงสร้างหนี้ เพราะตอนวิกฤตเศรษฐกิจ มีการปรับโคงสร้างหนี้ ลดหนี้ให้กับนักธุรกิจ จนทุกวันนี้รัฐบาลยังต้องใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูอยู่ เพราะฉะนั้น วิกฤตที่เกิดขึ้น 5 ปีที่ผ่านมาทำให้ประชาชนลำบาก จึงต้องเอาหนี้แขวนไว้ก่อน มาทำมาหากิน พอมีรายได้ค่อยมาใช้

30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง

เป็นโครงการที่ต้องการบอกว่า ไม่ว่าเป็นคนยากดีมีจนก็ซื้อบริการสาธารณะเท่ากัน ทุกวันนี้ ใช้เงินประมาณหัวละ 2,800 บาท ซึ่งเป็นราคาเพิ่มขึ้นมาก แต่คุณภาพแย่ลง เพราะฉะนั้น เราจะนำกลับมาดูใหม่ ให้รักษาทุกโรคอย่างมีคุณภาพ ปรับปรุงโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ให้ทั่วประเทศไทย

โอท็อปเราจะนำโอท็อปกลับมาทำใหม่ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง นำขายได้ทั่วโลกงบองค์กรท้องถื่น 25 เปอร์เซ็นต์

งบจะไปองค์กรท้องถื่นจะได้ขั้นต่ำ 25 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ที่ต้องเอาเงินใต้โต๊ะไปแลกจึงจะได้งบ พรรคเพื่อไทยจะให้งบ 25 เปอร์เซ็นต์เต็มๆ ไม่ต้องวิ่งเต้น เพื่อให้เงินในสะพัดท้องถิ่น มีเงินในการ แก้ปัญหา นอกจากนี้ องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่ถึง 10 ล้านบาท จะให้ได้รายได้เป็น 10 ล้านบาท ที่มีรายได้เกิน 10 ล้าน แต่ไม่ถึง 20 จะให้เป็น 20 บาท

SML

เราจะให้งบประมาณหมู่บ้านและชุมชนไปบริหารเอง ก็คือระบบประชาธิปไตยในหมู่บ้าน หมู่บ้านเล็กให้ 3 แสนบาท ขนาดกลาง 4 แสนบาท ขนาดใหญ่ 5 แสนบาท

จำนำข้าวเปลือก 15,000 บาท

ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้ คือระบบประกันเป็นระบบที่ไม่ถึงมือชาวบ้าน พรรคเพื่อไทยจึงนำวิธีรับจำนำมาใช้ คือ ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท นี่คือราคาจำนำของพรรคเพื่อไทย อันเนื่องมาจากต้นทุนข้าวราคามักสูงขึ้นทุกวัน

เครดิตการ์ดกับเกษตรกร

เกษตรกรอยู่ต่างจังหวัดเมื่อไม่มีเงินก็ต้องไปวิงวอนเถ้าแก่ขอปุ๋ย ยอมจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ แต่หากเอาการ์ดไปวางแล้วรูด มันเท่ มีศีกดิ์ศรีกว่า วิธีการคือ จากที่รับรัฐบาลรับจำนำอยู่แล้ว ก็คำนวณข้าวว่าทำข้าวได้กี่ตันเป็นเงินเท่าไหร่ แล้วตั้งวงเงินไว้ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเอาไปซื้อพันธุ์ ซื้อปุ๋ย หรือใช้เป็นค่าจ้างวาน โดยจำกัดการใช้ไม่ให้ไปซื้อสิ่งของอย่างอื่น เมื่อเอาข้าวส่งมอบจำนำครั้งหนึ่ง ล้างบัญชีแล้วก็จบ ครั้งหน้าก็เอาไปใหม่ เพราะฉะนั้นจะไม่มีหนี้เสีย และเมื่อพบว่าที่ไหนที่ได้ผลผลิตต่ำก็ต้องปรับปรุงผลการผลิต เชิญชวนให้เปลี่ยนชนิดพืช และจะการันตีให้กับเกษตรกรว่าผลผลิตต้องได้ไม่น้อยกว่าที่ได้ในปัจจุบัน

ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะภาษีต่ำ

ประเทศที่แข่งขันได้หรือเจริญแล้วจะจ่ายภาษีไม่สูง อย่างสิงค์โปร์เก็บภาษีนิติบุคคล 18 เปอร์เซ็นต์ มีฟิลิปปินส์กับไทยเก็บ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเราจะปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน การลดภาษีและเพิ่มรายได้ประชาชนจะทำให้มีกำลังเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อสูงขึ้น ในที่สุดก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น เป็นหลัก "เก็บน้อยเพื่อได้มาก"

กองทุนตั้งตัวได้

ประชาชนชาวไทยจะต้องตั้งตัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี คนอยากตั้งตัวมักไม่รู้ว่าจะตั้งตัวอย่างไร ระบบธนาคารเป็นระบบเหมือนโรงรับจำนำ แต่คนที่จะตั้งตัวมักไม่มีทรัพย์สินติดตัว การที่จะทำให้ตั้งตัวได้ก็คือ ตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน ตั้งกรรมการ มาควบคุม ประกอบด้วยอาจารย์ ศิษ์เก่า ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ตัวแทนภาครัฐ และเอกชน เราใช้แนวคิดนี้ เพราะที่มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนักศึกษาที่กำลังจะจบ องค์ความรู้อยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้ได้เปรียบกว่า จึงสร้างผู้ประกอบการได้มากกว่า จึงตั้งกองทุนเริ่มต้นที่ 1 พันล้านบาท เพื่อเป็นทุนตั้งตัวให้นักศึกษาหรือแม้แต่อาจารย์เองกู้ไปใช้

ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด

เพื่อให้พี่น้องในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยกรรมการที่เข้าใจเศรษฐกิจในจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้อนุมัติเงินกู้ให้กับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจคืนภาษีและเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรกเราจะช่วยคนที่เริ่มตั้งตัว ให้แข็งแรง โดยลดภาษีให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เช่นภาษีค่าโอน และยังเพิ่มค่าลดหย่อนเป็น 5 แสนบาท โยดูราคาบ้านเหมาะสม สำหรับคนเริ่มตั้งตัว

คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก

คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท โดยต้องถือครองรถคันนี้ไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะขายต่อได้ หากขายต่อภายใน 5 ปีแรกจะไม่ได้รับคืนภาษี จะทำให้อุตสาหกรรมรถแข็งแรงขึ้น ประเทศไทยก็จะดึงดูดโรงงานผลิตรถมากขึ้น การส่งออกก็จะมากขึ้นด้วย

การขึ้นเงินเดือนให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท

นายกอภิสิทธิ์

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และ นายก ยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง การดำเนินมาตรการของเจ้าหน้าที่ทางการเงินในการควบคุมปริมาณเงิน (Money Supply) และปริมาณสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเป้าหมายหลักของการดำเนินมาตรการทางการเงินได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศการจ้างงาน และการรักษาดุลยภาพทางการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกตินโยบายการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือ

1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expantionary Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว สภาพคล่องในระบบตึงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีการจ้างงานไม่เต็มที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการในลักษณะที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นหรือขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อาทิ การซื้อคืนพันธบัตร การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) และการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวลดลง ทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น

2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวเร็วเกินกว่าที่ทรัพยากรในประเทศจะสามารถรองรับได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบลดลง อาทิ การนำพันธบัตรออกขาย การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน การกำหนดสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก การควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อ และในกรณีที่รุนแรงที่สุด คือ การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายการดำเนินนโยบายในลักษณะนี้จะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนและเศรษฐกิจชะลอตัวลงในที่สุด

นโยบายนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึดหลักการ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น

1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย

1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน

1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ

1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง

1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง

1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม

1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน

1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” “บ้านรัฐสวัสดิการ” และ “ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก

1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.15 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเร่งรัดโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตร เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล รวมทั้งเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

1.16 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยประกาศให้ปี 2551 – 2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”

1.17 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินและประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและพอเพียง

1.18 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร การบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งระบบประปาที่ถูกสุขอนามัย เพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำโดยการพัฒนาระบบชลประทานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชลประทานระบบท่อ

1.19 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ธุรกิจเอกชน และชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับครัวเรือน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้

2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การให้หลักประกันขั้นพื้นฐานของบริการสาธารณะของรัฐภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ การมีสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต และประชาชนมีความสุข โดยจะดำเนินการ ดังนี้

2.1 นโยบายการศึกษา

2.1.1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างมีบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.1.2 พัฒนาหลักสูตร ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

2.1.3 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบการเรียนการสอนให้โรงเรียนอย่างทั่วถึง

2.1.4 ดำเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อผ่านกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

2.1.5 สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ และเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสาขาต่าง ๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพและการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ด้วยความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง ตลอดจนให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล

2.1.6 ขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2.2 นโยบายแรงงาน

2.2.1 เร่งฝึกอบรมและพัฒนาคนที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ภาคการผลิตและบริการที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

2.2.2 จัดให้มีระบบเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างอื่นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมทั้งจัดให้มีการจ้างงานใหม่โดยเร็ว

2.2.3 ให้การคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน พร้อมทั้งจัดระบบการคุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น

2.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

2.3.1 เพิ่มคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค พร้อมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพทั่วถึงและครบวงจร ทั้งการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ

2.3.2 จัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต และอุบัติเหตุจากการจราจร พร้อมทั้งนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ

2.3.3 ดำเนินการระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่และระบาดซ้ำในคน พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.3.4 เพิ่มแรงจูงใจและขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการเฝ้าระวังโรคในชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด

2.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

2.4.1 อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและนำหลักธรรมของศาสนา มาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.4.2 ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความรู้และความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโบราณสถานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระดับโลก

2.4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้ วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ

2.4.4 ขยายบทบาทสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดให้เป็นกลไกเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทั้งวิถีชีวิตและสื่อทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม ขยายสื่อดีเพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเท่าทันสถานการณ์

2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม

2.5.1 ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานและใช้ประโยชน์จากกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนพัฒนาชุมชน และกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เป็นพลังร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

2.5.2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการปลูกฝังความรู้ที่ทันโลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนาของสมอง

2.5.3 สร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็ก สตรี และคนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดลิทธิเด็ก สตรี และคนพิการในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม และส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรีและคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.5.4 เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมในช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ขยายฐานการให้เบี้ยยังชีพแก่คนชราที่ไม่มีรายได้ และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาประเทศโดยระบบคลังสมอง

2.5.5 สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ในสังคมเมือง โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. นโยบายเศรษฐกิจ

รัฐบาลจะบริหารจัดการเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมดุลและเข้มแข็ง ทั้งในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยวางโครงสร้างพื้นฐานด้านองค์ความรู้ มีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ พลังงาน และระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะดำเนินการ ดังนี้

3.1 นโยบายการเงินการคลัง

3.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ โดยดูแลเงินเฟ้อและค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด ส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคการเงินในประเทศ และส่งเสริมศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงของภาคเอกชน

3.1.2 รักษาวินัยการคลังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่น ฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดินทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ปรับปรุงระบบภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3.1.3 ส่งเสริมให้มีระบบการออมระยะยาว เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอกับการดำรงชีพในยามชรา รวมทั้งเป็นการสร้างฐานเงินออมเพื่อการระดมทุนของประเทศในอนาคต

3.1.4 วางระบบการดูแลและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เป็นสถาบัน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการส่งเสริมศักยภาพของสาขาการผลิตที่จำเป็น และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3.1.5 ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดทุนให้ทัดเทียมกับตลาดหลักในภูมิภาคและตลาดโลกทั้งด้านธรรมาภิบาล ราคา และคุณภาพ โดยให้ความสำคัญแก่การปรับปรุงมาตรการสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนการออมของประเทศ การเพิ่มบทบาทของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และการจัดให้มีกลไกเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาตลาดทุนให้ประสานสอดคล้องกับการพัฒนาตลาดเงิน

3.1.6 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้สามารถเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างฐานรายได้และมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ตลอดจนกำกับดูแลการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งการจัดทำและแยกบัญชีเชิงสังคม ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานในมาตรฐานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

3.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

3.2.1 ภาคเกษตร

3.2.1.1 เร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของการทำประมง ปศุสัตว์ และพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งสนับสนุนการผลิตพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทน และสนับสนุนการผลิตสินค้าใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น พืชเส้นใย และสมุนไพร เป็นต้น

3.2.1.2 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยการแปรรูปที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลเพื่อเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการเกษตร โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้มีระบบป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน

3.2.1.3 เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในพื้นที่ชนบทและเมือง เพื่อขยายตลาดของสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก

3.2.1.4 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในระดับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่งเสริมการขยายกระบวนการเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ โดยเกษตรกรและชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางด้วยตนเอง

3.2.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรทั้งในด้านการรวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสภาเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวางแนวทางพัฒนาการเกษตรและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้วยตนเอง

3.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

3.2.2.1 พัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยการยกระดับความสามารถ ทักษะแรงงาน การบริหารจัดการของผู้ประกอบการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการภายในกลุ่มอุตสาหกรรม บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

3.2.2.2 พัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความได้เปรียบ เช่น อาหาร เหล็ก ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้เป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิพิเศษกับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่

3.2.2.3 สร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมาตฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่สินที่ผลิตในประเทศไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อัญมณี และเครื่องประดับ และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้มาตรการด้านการตลาดและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3.2.2.4 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการและความรับผิดชอบต่อสังคม

3.2.2.5 ส่งเสริมและขยายบทบาทศูนย์บ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

3.2.2.6 จัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและใช้พลังงานน้อย รวมทั้งขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

3.2.3.1 เร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยฟื้นฟู พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า และกลุ่มที่มีความสนใจด้านระบบนิเวศ วัฒนธรรมท้องถิ่น แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นต้น และดูแลให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ

3.2.3.2 พัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค เช่น ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจ การประชุมและแสดงสินค้า การศึกษานานาชาติ การก่อสร้าง ธุรกิจภาพยนตร์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ การเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน มาตรฐานธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการขยายตัวของธุรกิจ และการส่งเสริมด้านการตลาด

3.2.3.3 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการที่เน้นความสำคัญของศักยภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งความสามารถทางด้านบุคลากรเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์

<

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

สาขา การเงินการธนาคาร 01

54127326041

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

สาขา การเงินการธนาคาร 01

54127326041

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายอภิสิทธ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการ

1. เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

2. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

2) สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6. ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

8. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคา น้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

9. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

10. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

11. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นางสาวทิพย์วิมล เทียนเทศ

สาขา การเงินการธนาคาร 01

54127326041

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

เปรียบเทียบนโยบายและผลงาน“รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ”vs “รัฐบาลอภิสิทธิ์”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 07:19:42 น.

จากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่บริหารประเทศผ่านมาแล้ว 6 เดือน โดยมีการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ที่สำคัญหลายเรื่อง และเป็นที่จับตามองว่าการบริหารประเทศของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จะดีกว่าหรือแย่กว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในด้านผลงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,163 คน ระหว่างวันที่ 28 มกราคม — 2 กุมภาพันธ์ 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่ดีกว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท /ขึ้นค่าแรง 300 บาท 43.67%

อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติด 34.39%

อันดับ 3 การค้า การลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 21.94%

2. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ที่แย่กว่า “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์”

อันดับ 1 การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 39.13%

อันดับ 2 น้ำมันแพง 34.78%

อันดับ 3 การประกันราคาข้าว 26.09%

3. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่ดีพอๆกัน

อันดับ 1 นโยบายสนับสนุนทางการศึกษา 42.71%

อันดับ 2 การช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ประชาชนในภาพรวม 31.66%

อันดับ 3 นโยบายน้ำ -ไฟฟรี รถเมล์ฟรี 25.63%

4. “ผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “ผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่แย่พอๆกัน

อันดับ 1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 37.65%

อันดับ 2 การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 33.13%

อันดับ 3 การปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น 29.22%

--สวนดุสิตโพลล์--

ผู้จัดทำ

นางสาวหทัยรัตน์ สีหาวัตร คณะวิทยาการจัดการ

สาขาการเงินการธนาคาร กลุ่มเรียน 01

รหัสนักศึกษา 54127326019

นางสาวศุภนิดา สุวรรณรัตน์

เปรียบเทียบนโยบายนายกรัฐมนตรี

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

มาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4. พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่น คำนึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ…

1. นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศมากขึ้น

2. นำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน

3. นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคง

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ มีดังนี้

1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

5. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

- จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน

- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

11. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้ใหม่ๆ

14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค

15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี รวม 7 ข้อ โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมั้นเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นอกจากนี้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ พักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก จะดำเนินการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

นางสาวปรียารัตน์ ศรีจันทะ

นางสาวปรียารัตน์ ศรีจันทะ รหัส 54127326031

ให้เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาล

นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

• นโยบายเศรษฐกิจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.3.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

• นโยบายเศรษฐกิจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายราย ได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้อง การที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครง สร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลง ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

นางสาวแสงทิพย์ เผือกผ่อง

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและ นโยบายการเงินของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบาย มีดังนี้

- ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

- เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

- แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.)ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน

2.)จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน

3.)ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

4.)แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

- ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

- ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

1.)เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

2.) จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

3.)จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

4.) SML

- ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและ นำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

- เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

- สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

- พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค - จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

นโยบายเศรษฐกิจ

- นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

๑.) ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพโดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศโดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

๒.) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

๓.) พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง

โดยการออกมาตรการที่จำ เป็น และปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบการเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

๔.) ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

๕.) ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

๖.) ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความเปลี่ยนแปลง

๗.) บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

- นโยบายสร้างรายได้

๑.) ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปา ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี

๒.) ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพ

ของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

๓.) ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศรวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

๔.) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณี และอื่น ๆ

๕.) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

๖.) ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

๗.) เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

๘.) ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

- นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

๑.) ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

๒.) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

๓.) เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก เพิ่มสมรรถนะการควบคุม ป้องกัน วินิจฉัย และบำบัดโรค การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์สัตว์ และการตรวจสอบคุณภาพ

๔.) พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริม

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้าโดยการพัฒนากองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล

๕.) เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสาน

โครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสาน

ระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน

๖.) จัดทำ ระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนา

เกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

๗.) เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการ

ให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตเร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

๘.) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้างกลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นำในเรื่องราคาโดยเฉพาะตลาดข้าวเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุนภาคเกษตรในต่างประเทศ

๙.) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหาร

และพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ภาคอุตสาหกรรม

๑.) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็น

ที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

๒.) ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัฒนธรรมของชาติเพื่อนำรายได้

เข้าประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมอาหารไทย อุตสาหกรรมการกีฬาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการออกแบบ เป็นต้น

๓.) พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาดเช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ อาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

๔.) สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆส่งเสริมสถาบันเฉพาะทางให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทดสอบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริม

การรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น

๕.) กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

รวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน

๖.) พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษ และพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าว

กับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำ หรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

๗.) เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อน

รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

๘.) ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร อุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงาน

อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนและสะอาด ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และก๊าซธรรมชาติ (NGV)

๙.) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ความเพียงพอของแหล่งพลังงาน การจัดการของเสีย การจัดการ

มลพิษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการจัดและวางระบบการผลิตที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

๑๐.) เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

- การตลาด การค้า และการลงทุน

๑.) ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่าง ๆ

เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

๒.) สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหาร

การนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีคุณภาพที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต

๓.) สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้าง

เครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

๔.) ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวการกีฬา และบริการ โดยเน้นกิจการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

๕.) ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออกพร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ

เทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต และเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ

๖.) พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกซึ่งพัฒนาจากแนวคิดระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก ลดต้นทุนจากการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับ โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดโลกของภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศและศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลในโลก

๗.) ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว พร้อมทั้ง

วางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ

๘.) เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาดการลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์

จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

นางสาวแสงทิพย์ เผือกผ่อง การเงินการธนาคาร 01 54127326001

นางสาวแสงทิพย์ เผือกผ่อง

นโยบายการเงินของนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

2.การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

3. อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

4.งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

5.อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ,โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

6.ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว

7. สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

8.เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

9. ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

10. เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

11.ดำเนินการรักษาเสถียรภาพราคาสินผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มี ประสิทธิภาพและเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

2.เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

2.ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

3.เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงาน

4.สร้าง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

5.เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

6. เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1. ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

2. กำกับ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

3. ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

4.ตั้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มี ประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของ ประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการ ของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็ คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศคือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุน เวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงิน สูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตาม กฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการ ดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมาย กำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดย เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่ เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด ตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้ เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับ ช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน ทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยน แปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

จัดทำโดย

นางสาวแสงทิพย์ เผือกผ่อง การเงินการธนาคาร 01

54127326001

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เห็นชอบร่วมกันในการเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2553 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2553 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี เท่ากันกับเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2552 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินที่เพิ่งปรับช่วงของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมาอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งแตกต่างจากเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเดิมช่วงระหว่างปี 2543 — 2551 ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 — 3.5 ต่อปี ทั้งนี้ การสร้างความต่อเนื่องในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินดังกล่าวจะทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจสามารถคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีต่อธุรกิจ ส่งผลต่อความเชื่อถือไว้วางใจในการรักษาความแน่นอนในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ประกอบกับการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยกำหนดขอบล่างที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี จะช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะเงินฝืด (Deflation) และสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลก

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2553 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) เป้าหมายของนโยบายการเงินที่ได้ตกลงร่วมกันตามข้อ 1.

(2) กำหนดให้มีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจำทุกไตรมาสและเมื่อมีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นกลไกประสานงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อบูรณาการนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ

(3) กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงินต้องชี้แจงเมื่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย โดยต้องชี้แจงถึงสาเหตุ แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

(4) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 25 มกราคม 2555

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการ

ประชุม กนง. ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อรวมทั้งแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อ

กำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง โดยเศรษฐกิจยุโรปคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ

การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น แต่จะยังขยายตัวต่ำกว่า

ระดับศักยภาพไปอีกระยะหนึ่ง จากข้อจำกัดด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และราคา

อสังหาริมทรัพย์ที่ยังลดลงต่อเนื่อง สำหรับเศรษฐกิจเอเชียส่วนใหญ่ชะลอลงตามภาวะการส่งออกแต่ไม่มากนัก

เหตุการณ์อุทกภัยส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อน และกระบวนการ

ฟื้นฟูคาดว่าจะล่าช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าการผลิตจะกลับมาเป็นปกติใน

ไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งนี้ มาตรการภาครัฐ ความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เริ่มกระเตื้องขึ้น และภาวะการเงินที่

เอื้ออำนวย จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรองรับการชะลอตัวของการส่งออกตามอุปสงค์โลก

แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับลดลง จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ล่าช้ากว่าที่คาด ประกอบ

กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่จะเพิ่มขึ้น

ในช่วงการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์อุทกภัย ส่วนหนึ่งจากนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่จะ

ทยอยเห็นผล จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในระยะต่อไปยังคงมีอยู่บ้าง

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ในภาวะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีไม่มาก ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลก

ที่ยืดเยื้อยังคงเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที และประเมินว่าการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ในครั้งนี้จะสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่ระดับปกติได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ความเชื่อมั่น

ของภาคเอกชนเริ่มกระเตื้องแต่ยังเปราะบาง

ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อรัฐสภา ณ กระทรวงการต่างประเทศวันอังคารที่ 30 ธันวาคม 2551 เวลา 11.30 น.

 

            รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

            รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร 

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม  2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว  เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน  ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก  ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก  ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค  โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ  และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด  
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด


1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน 

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปีของรัฐบาลชุดนี้  รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้ 

2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ  โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี  เทิดทูน  ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์  รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ  

2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน  รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ  โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ  และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ  พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี  ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน 

2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง  โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง  การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว  รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ 

2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ  ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ  

3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

3.1 นโยบายการศึกษา 

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ  และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา  พัฒนาครู  พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย  พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์  ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต  และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่  ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง  

3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ  โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา  เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ 

3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น  ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู  ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า 

3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก   ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม  รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน   

3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ  โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ  ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น  โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน  ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา 

3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้   รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 

3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด  เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้   3.1.8 เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน  โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ   และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค  รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน  โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว  สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา 

3.2 นโยบายแรงงาน

3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย  โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล 

3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง  ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย  รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน 

3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน  โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการ   บูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน   

3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ  การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา  การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ  และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ 

3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน  โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ 

3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต  ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย  และความมั่นคงของประเทศ  โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว  การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย  และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น  รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน 

3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข

3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ  โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง  โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย  รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น  

3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์ 

3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ  เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน  เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ  ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ 

3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์  มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่  ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย  มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า 

3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ  โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม  มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 

3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน  รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย  ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า  วิจัย  ฟื้นฟู และพัฒนา  พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 

3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา  สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน  รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์  สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน 

3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ 

3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา  เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ  รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา  เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น 

3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย  ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส  มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้  

3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน  เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย  หรือพักชำระดอกเบี้ย

3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น  โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง  ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร  รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น 

3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ  โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ  รวมทั้งส่งเสริมการนำศักยภาพผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาประเทศ  การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่สังคม  ส่งเสริมการออม และสร้างระบบประกันชราภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมั่นคง  

3.5.5 ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ  โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ  จัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค  บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด  รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา  การโฆษณาแฝงหรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน  เป็นต้น 

3.5.6 ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชาย-หญิง ขจัดการกระทำความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก  สตรี และผู้พิการ ให้การคุ้มครองและส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  และผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก  ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  พึ่งตนเองได้ 

3.5.7 เร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบครบวงจร  ทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม การบำบัดรักษา  การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด  ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์  และมีการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด  รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 

3.5.8 เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  โด

3.5.8 เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งเสริมให้มีระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร การเตือนภัย และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ในการป้องกันปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปรับปรุงระบบชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน

3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ

3.6.1 เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา จัดหาสถานที่จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนมีความสนใจในการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3.6.2 พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ พร้อมทั้งนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ จัดให้มีการควบคุมมาตรฐานการฝึกสอนด้านการกีฬาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง 3.6.3 ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและได้รับการยอมรับจากสากลยิ่งขึ้น

3.6.4 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการกีฬา จัดกิจกรรมและสถานกีฬา รวมทั้งจัดสร้างลานกีฬาในทุกหมู่บ้านและชุมชน 3.6.5 ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีกฎหมายกีฬาอาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬา และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการด้านกีฬาให้มีประสิทธิภาพ

4. นโยบายเศรษฐกิจ

4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

4.2.1 ภาคเกษตร

4.2.1.1 เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

4.2.1.2 ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง

4.2.1.3 พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2.1.4 ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

4.2.1.5 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

4.2.1.6 สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

4.2.1.7 เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

4.2.1.8 คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

4.2.1.9 พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

4.2.1.10 แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

4.2.2.1 สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ

4.2.2.2 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถจูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง

4.2.2.3 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไกการระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

4.2.2.4 เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

4.2.2.5 สร้างความเข็มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้

4.2.2.6 จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

4.2.2.7 ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

4.2.2 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

4.2.3.1 ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศ โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

4.2.3.2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์ ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลกและมรดกธรรมชาติ เป็นต้น

4.2.3.3 พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว โดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว มาตรฐานการเดินทาง มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรม เป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น และปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ

4.2.3.4 พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

4.2.3.5 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

4.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

4.3.1 ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ และมีคุณภาพ ทั้งบริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน และที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น โดยยกระดับมาตรฐานทางในชนบทเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยาง

4.3.2 พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง

4.3.3 พัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์

4.3.4 พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความสมบูรณ์ และรถไฟชานเมืองให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งขยายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไปยังเมืองหลักในภูมิภาค

4.3.5 พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงฐานการผลิตในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ปรับปรุงบูรณะทาง รวมทั้งพัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดต้นทุนการขนส่ง

4.3.6 พัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายประธาน สายหลัก และโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาคและเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะโครงข่ายรถไฟ รวมทั้งการปรับปรุงทางหลวงและมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า

4.3.7 พัฒนากิจการพาณิชยนาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการของท่าเรือแหลมฉบังให้มีมาตรฐานเป็นท่าเรือที่ทันสมัยระดับโลก พัฒนาการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น

4.3.8 พัฒนาและขยายความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหลักในภูมิภาค ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างเพียงพอในอนาคต พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชีย

4.3.9 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่ง เช่น การต่อเรือ การต่อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

4.3.10 เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างจริงจัง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลการพัฒนาและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีการแข่งขันที่เป็นธรรม

4.3.11 พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคและเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน และโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย รวมทั้งปรับปรุงระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดนในพื้นที่บริเวณชายแดนที่สำคัญ คือ ด่านหนองคาย แม่สอด มุกดาหาร สระแก้ว ด่านสิงขร และช่องเม็ก เป็นต้น

4.4 นโยบายพลังงาน

4.4.1 พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพ ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน วางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า

4.4.2 ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (อี 10 อี 20 และอี 85) ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

4.4.3 กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย

4.4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และมาตรการสนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งการวิจัยพัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบราง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ

4.4.5 ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4.5.1 พัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึงและสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งพัฒนาบริการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐ บริการศึกษา บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

4.5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค

5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะแลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ เร่งจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจัดแบ่งประเภทที่ดินระหว่างที่ดินของรัฐและเอกชนให้ชัดเจน เร่งประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กำหนดเขตและส่งเสริมการปลูกป่า ป่าชุมชน เพิ่มฝายต้นน้ำลำธารและฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริม ป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดไฟป่า ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างจริงจัง ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน ลดการใช้สารเคมีและฟื้นฟูดินในบริเวณพื้นที่ที่ดินมีปัญหา รวมทั้งจัดให้มีระบบบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเศรษฐกิจและการอุปโภคบริโภค

5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลายทางชีวภาพ โดยสำรวจ จัดทำระบบฐานข้อมูล อนุรักษ์พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารพลังงาน สุขภาพ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ บนฐานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งให้การคุ้มครองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพ

5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยนำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเตือนภัยพิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูล และติดตั้งระบบเตือนภัย และจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยงภัยต่อภัยพิบัติอันเกิดจากภาวะโลกร้อน เช่น น้ำท่วม แผ่นดินหรือโคลนถล่ม น้ำแล้ง ตลอดจนธรณีพิบัติและการเกิดคลื่นยักษ์ในทะเล เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตราย มลพิษทางอากาศ กล

        เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์


นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ  โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน 

2. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ  บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ  และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ  โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด  เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน  เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค 

3. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก ให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง  และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต 

4. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง  โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี 

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี  เพื่อให้มีความเป็นธรรม  โปร่งใส  และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก  

6. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน  รูปแบบการลงทุน  และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม  รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่  โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง  และภาระงบประมาณของภาครัฐ 

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน  และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย   

8. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร  เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร

9. ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม  ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง  รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง  รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ 

10. พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก

11. ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา  รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร 

12. ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร  และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร  

13.  สร้างความมั่นคงด้านอาหาร  เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร  รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร 

14. เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ  รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร  ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ  

15. คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว  เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร 

16. ความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย 

17. แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร  

18. สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร  พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์  ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ 

19. กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถจูงใจนักลงทุนได้  และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง   

20.  ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล 

21. เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้ 

22. สร้างความเข็มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาด และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้  

23. จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่

24. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม 

25. ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศ  โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ  เพิ่มมูลค่า  เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า

26. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน  โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน  รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 27. พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว และปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ   

28.   พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก  

29.  ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 

30.  ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ  รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล 

31.  ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

32.  ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย   

33. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ 

34. ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร  อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล  อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

35. ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ที่สำคัญ

36.  ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี

37.  ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงเพียงพอและมีคุณภาพ 

38. พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์

39.  พัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง  ทางน้ำ  และทางอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์ 

40. พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความสมบูรณ์ และรถไฟชานเมืองให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว  ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งขยายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไปยังเมืองหลักในภูมิภาค  

41. พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงฐานการผลิตในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ปรับปรุงบูรณะทาง พัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน

42. พัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายประธาน สายหลัก และโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง  ให้เชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาคและเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

43. พัฒนากิจการพาณิชยนาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ พัฒนาการขนส่งชายฝั่ง  และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น  

44. พัฒนาและขยายความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหลักในภูมิภาค   ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างเพียงพอในอนาคต   พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน 

45. เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างจริงจัง

46. พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคและเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

 

นโยบายการเงินรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้อง การที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ
4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี
5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ
6.ปรับปรุงโครง สร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน
7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น
8.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี
9.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
10.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่
11.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง
12.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลง ทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค
13.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ
14.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
15.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า
16.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
17.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
18.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก
19.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า
20.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน
21.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ
22.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้
23.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
24.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก
25.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย
26.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
27.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด
28.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ
29.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ
30.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรอง รับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
31.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้
32.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร
33.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
34.เร่ง รัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน
35.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค
36.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม
37.สนับ สนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก
38.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลง ทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ
39.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
40.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก
41.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี
42.เร่ง รัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

                                                   นางสาวมาริษา  กำลังมาก รหัส54127326043

สุรัชดา ธรรรมสวัสดิ์

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากเนื้อหาที่หาได้เยอะมาก ส่งใน blog ได้ไม่หมด .. จนระบบ error จึงขออนุญาตส่งงานทางข้อความในเฟสบุ๊คนะคะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายการเงินนายกยิ่งลักษณ์ หมายเหตุ-ส่วนจะแถลงต่อรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาวันที่23สิงหาคม2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหารเป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น2เท่าตัวในเวลา5ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหารจะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพสร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลและมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาดการค้าและการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายมาตรการต่างๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกและนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นางสาวสุภาวดี พูลสวัสดิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินระหว่าง รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ และ นายกอภิสิทธ์

ทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต.กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่ารุนแรง ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส “รักพี่ทหาร”) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาท ที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้ การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน จึงเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ “สองมาตรฐาน”จึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

นางสาว สุภาวดี พูลสวัสดิ์ 54127326021 การเงินการธนาคาร 01

นางสาวสุภาวดี พูลสวัสดิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินระหว่าง รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ และ นายกอภิสิทธ์

ทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต.กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่ารุนแรง ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส “รักพี่ทหาร”) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาท ที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้ การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน จึงเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ “สองมาตรฐาน”จึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

นางสาว สุภาวดี พูลสวัสดิ์ 54127326021 การเงินการธนาคาร 01

นางสาวสุภาวดี พูลสวัสดิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินระหว่าง รัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ และ นายกอภิสิทธ์

ทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต.กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่ารุนแรง ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส “รักพี่ทหาร”) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาท ที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้ การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน จึงเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ “สองมาตรฐาน”จึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

นางสาว สุภาวดี พูลสวัสดิ์ 54127326021 การเงินการธนาคาร 01

นางสาว บุณิกา เมืองทองแก้ว

นโยบาลการเงินของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

2ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

3กระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

+นโยบายการรับจำนำข้าว ที่ให้ข้าวหอมมะลิ เกวียนละ 20,000 บาท และข้าวเจ้า เกวียนละ 15,000 บาท รัฐบาลศึกษามาเป็นอย่างดี เพราะการประกันราคาพืชผลเกษตร ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณ 85,000 ล้านบาท

4ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

5 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เริ่มต้นจาก การรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

6ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

7ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

8แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นโยบายการเงินของอภิสิทธิ์

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

+ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

+เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของรัฐบาลอภิสิทธิ์กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource) เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายการเงินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นาย ฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์

นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.2 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.3 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

สำหรับนโยบายเศรษฐกิจ ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. จะทำโครงการลงทุน 300,000 ล้านบาท เพื่อขยายระบบชลประทานทั่วประเทศ โดยจัดทำแผนแม่บทการกระจายน้ำของประเทศ (Water Grid) เพื่อทำโครงการต่างๆ ให้เสร็จภายใน 5 ปี

2. จัดงบประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท เพื่อประกันภัยพืชผลในสินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และ ยางพารา

3. ตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบทเป็นจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท โดยแต่ละตำบลจะได้เงินประเดิม 1-2 ล้านบาท

4. ลดต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภค โดยยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งกองทุนน้ำมันฯเฉพาะน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ สำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าน้อยไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ได้ส่วนลดเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยฟรีค่าไฟฟ้า 15 หน่วยแรก และงดเก็บค่าบริการ ตลอดจนตรึงราคาก๊าซหุงต้ม

5. ลงทุน 450,000 ล้านบาท ในระบบขนส่งมวลชนและระบบรถไฟ สร้างรถไฟรางคู่ไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศเพื่อการขนผู้โดยสารและสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกลง สร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเชื่อมประเทศไทยกับอินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้นและค่าใช้จ่ายถูกลง นอกจากนั้นจะดำเนินโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) ในภาคใต้เพื่อเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างงานและรายได้แก่ประชาชน

6. จะจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการเฉพาะ โดยจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมข้าวครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมน้ำตาลครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมมันสำปะหลังครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาห กรรมและเทคโนโลยีสะอาด อีสเทิร์น ซีบอร์ดครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีลาดกระบัง

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การค้าชายแดน ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้โดยมีปัจจัยส่งเสริมการลงทุน เช่น

6.1 ปลอดภาษีนำเข้าสินค้าทุนประเภทเทคโนโลยีสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6.2 ปลอดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 ปี และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ใน 5 ปีต่อมา

6.3 จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ

6.4 จัดให้มีศูนย์บริการภาครัฐครบวงจร

6.5 ตั้งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาสินค้า เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การแปรรูป และการตลาด

6.6 จัดโครงข่ายระบบขนส่งเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตกับโรงงานและการส่งออกหรือกระจายสินค้า

7. จัดตั้งกองทุนการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมให้เอกชนลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในกิจการที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดยให้มีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเป็นกลไกหลักในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และให้มีคณะกรรมการบูรณาการการวิจัยและพัฒนา แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักธุรกิจและสถาบันวิจัยต่างๆ โดยจัดตั้งกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชน ซึ่งรัฐบาลจะร่วมลงทุนในการวิจัยร้อยละ 50 รวมทั้งจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคเอกชนที่ต้องการเข้าร่วมการวิจัย

8. ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 ในเวลา 4 ปี

9. ลดภาษีเครื่องจักรนำเข้าที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ และเทคโนโลยีที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเหลือร้อยละ 0 ภายใน 4 ปี

10. จัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มการสร้างงาน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนช่วยเหลือ การฝึกอาชีพ และช่วยเหลือด้านปัจจัยพื้นฐานทางการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เครื่องอบ และเครื่องจักรกลทางการผลิต ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้

11. จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อให้เกษตรกรเช่าที่ดินของรัฐในราคาถูก เพื่อให้ทำ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และสนับสนุนรายได้ให้ถึง 5,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน

12. จัดให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงในรูปสวัสดิการชุมชน

13. ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนให้กับคนยากจน เกษตรกร และครู เป็นต้น โดยจัดให้มี "หมอหนี้" เข้าช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท

14. ออกมาตรการดูแลพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและมีธุรกิจต่อเนื่องในประเทศมาก เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ โดยอาจร่วมทุนกับบริษัทผลิตเครื่องจักรในต่างประเทศ และเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.1.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.1.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.1.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.1.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.2 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.2.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท

1.2.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท

1.2.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

1.2.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.3 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

1.4 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย

1.4.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

1.4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

1.4.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

1.4.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)

1.5 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.6 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

1.7 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.8 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค

1.9 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต

2. นโยบายเศรษฐกิจ

2.1 นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

2.1.1 ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

2.1.2 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

2.1.3 พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงโดยการออกมาตรการที่จำ เป็น และปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบการเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

2.1.4 ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

2.1.5 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

2.1.6 ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความเปลี่ยนแปลง

2.1.7 บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

2.2 นโยบายสร้างรายได้

2.2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปา ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี

2.2.2 ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.2.3 ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศรวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

2.2.4 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณี และอื่น ๆ

2.2.5 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

2.2.6 ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

2.2.7 เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

2.2.8 ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

1.3 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1). ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2). เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3). เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก เพิ่มสมรรถนะการควบคุม ป้องกัน วินิจฉัย และบำบัดโรค การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์สัตว์ และการตรวจสอบคุณภาพ

4). พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้าโดยการพัฒนากองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล

5). เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน

6). จัดทำ ระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

7). เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตเร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อยมันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

8). พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้างกลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นำในเรื่องราคาโดยเฉพาะตลาดข้าวเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุนภาคเกษตรในต่างประเทศ

9). ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ภาคอุตสาหกรรม

1). ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2). ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัฒนธรรมของชาติเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมอาหารไทย อุตสาหกรรมการกีฬา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการออกแบบ เป็นต้น

3). พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและ

นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸„วามรู้ของสังคมไทย อันประà¸à¸­à¸šà¸”้วย à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸£à¸°à¸”ับองค์ความรู้ให้ได้มาตรà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥ จัดให้มีโครงà¸à¸²à¸£à¸•à¸³à¸£à¸²à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—ี่บรรจุความรู้ที่à¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¹à¸¥à¸°à¹„ด้มาตรà¸à¸²à¸™ ทั้งความรู้ที่เป็นสาà¸à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸›à¸±à¸à¸à¸²à¸—้องถิ่น ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¹ˆà¸²à¸™ พร้อมทั้งส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸­à¸™à¸ à¸²à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²à¸–ิ่น จัดให้มีระบบà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸„วามรู้ ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸«à¸¥à¸±à¸à¸ªà¸¹à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้รองรับà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องโลà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ัดเทียม à¸à¸±à¸šà¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥à¸šà¸™à¸„วามเป็นท้องถิ่นà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับชั้น โดยวัดผลจาà¸à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸²à¸£à¸—ดสอบมาตรà¸à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับชาติà¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจาà¸à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุà¸à¸«à¹‰à¸­à¸‡à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ ให้มีโรงเรียนà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸–าบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸„ุณภาพสูงในทุà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลภพัฒนาระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸µà¸„วามรู้คู่คุณธรรม มุ่งà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ˆà¸£à¸´à¸¢à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับปัจเจภรวมทั้งสร้างความตระหนัà¸à¹ƒà¸™à¸ªà¸´à¸—ธิà¹à¸¥à¸°à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸—ี่ ความเสมอภาค à¹à¸¥à¸°à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸à¸²à¸™à¸‚องสังคมประชาธิปไตยที่à¹à¸—้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹‚ดยà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸­à¸³à¸™à¸²à¸ˆà¸ªà¸¹à¹ˆà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย โดยคำนึงถึงà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเสมอภาคà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£ ทุà¸à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡ ซึ่งรวมถึงผู้ยาà¸à¹„ร้ ผู้ด้อยโอà¸à¸²à¸ª ผู้พิà¸à¸²à¸£ ผู้บà¸à¸žà¸£à¹ˆà¸­à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰ รวมทั้งชนà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸™à¹‰à¸­à¸¢ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸„วามรู้ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸„รรภ์มารดาถึงà¹à¸£à¸à¹€à¸à¸´à¸” ให้ได้รับà¸à¸²à¸£à¸”ูà¹à¸¥à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพทั้งà¹à¸¡à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸”็ภสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸²à¸¡à¸§à¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸„ุณภาพ ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸­à¸™à¸§à¸±à¸¢à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸ˆà¸™à¸ˆà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นพื้นà¸à¸²à¸™ โดยจัดให้มีระบบสะสมผลà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸—ียบโอนเพื่อขยายโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸‚วางà¹à¸¥à¸° ลดปัà¸à¸«à¸²à¸„นออà¸à¸ˆà¸²à¸à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²

นอà¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰ จะดำเนินà¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ข้อจำà¸à¸±à¸”ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸‚้าถึงà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸£à¸°à¸”ับอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต†โดย ให้ผู้à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸´à¹ˆà¸¡à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„ืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พัà¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰ à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸à¸­à¸‡à¸—ุนà¸à¸¹à¹‰à¸¢à¸·à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยปรับเปลี่ยนà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸£à¸°à¸šà¸šà¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต ปรับปรุงระบบà¸à¸²à¸£à¸„ัดเลือà¸à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้เอื้อต่อà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ª โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือà¸à¸à¸¥à¸²à¸‡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¹ƒà¸™ มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ ดำเนิน “โครงà¸à¸²à¸£ ๑ อำเภอ ๑ ทุน†เพื่อเปิดโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸”็à¸à¹„ทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¡à¸¸à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”สังคมà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸¥à¸­à¸”ชีวิต

๓. ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸„รู ยà¸à¸à¸²à¸™à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸Šà¸µà¸žà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹à¸—้จริง โดยปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸„รูให้มีคุณภาพทัดเทียมà¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ สร้างà¹à¸£à¸‡à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸„นเรียนดี à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„ุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนà¹à¸¥à¸°à¸„่าตอบà¹à¸—นครู พัฒนาระบบความà¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸‚องครูโดยใช้à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸¡à¸´à¸™à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸à¸©à¹Œà¸—ี่อิงขีดความ สามารถà¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸”สัมฤทธิผลของà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸ จัดระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸žà¸±à¸’นาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸´à¸™à¸„รูโดยà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¹‚ครงสร้างหนี้ตามนโยบาย à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸„รัวเรือนของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸„รู ขจัดปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸£à¸‚าดà¹à¸„ลนครูในสาระวิชาหลัภเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²

๔. จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰ สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸•à¸¥à¸²à¸”à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ั้งในเชิงปริมาณà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพ โดยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸à¸²à¸£à¸“์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ระหว่างเรียน à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸³à¹€à¸£à¹‡à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸¡à¸µà¸‡à¸²à¸™à¸—ำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡ งานà¸à¸±à¸šà¸ªà¸–านศึà¸à¸©à¸² ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¸™à¸±à¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ นัà¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เรียนรู้หาประสบà¸à¸²à¸£à¸“์à¸à¹ˆà¸­à¸™à¹„ปประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž โดยให้สถาบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸&a

นโยบายà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸„วามรู้ของสังคมไทย อันประà¸à¸­à¸šà¸”้วย à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸£à¸°à¸”ับองค์ความรู้ให้ได้มาตรà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥ จัดให้มีโครงà¸à¸²à¸£à¸•à¸³à¸£à¸²à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—ี่บรรจุความรู้ที่à¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¹à¸¥à¸°à¹„ด้มาตรà¸à¸²à¸™ ทั้งความรู้ที่เป็นสาà¸à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸›à¸±à¸à¸à¸²à¸—้องถิ่น ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¹ˆà¸²à¸™ พร้อมทั้งส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸­à¸™à¸ à¸²à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²à¸–ิ่น จัดให้มีระบบà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸„วามรู้ ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸«à¸¥à¸±à¸à¸ªà¸¹à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้รองรับà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องโลà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ัดเทียม à¸à¸±à¸šà¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥à¸šà¸™à¸„วามเป็นท้องถิ่นà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับชั้น โดยวัดผลจาà¸à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸²à¸£à¸—ดสอบมาตรà¸à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับชาติà¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจาà¸à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุà¸à¸«à¹‰à¸­à¸‡à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ ให้มีโรงเรียนà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸–าบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸„ุณภาพสูงในทุà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลภพัฒนาระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸µà¸„วามรู้คู่คุณธรรม มุ่งà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ˆà¸£à¸´à¸¢à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับปัจเจภรวมทั้งสร้างความตระหนัà¸à¹ƒà¸™à¸ªà¸´à¸—ธิà¹à¸¥à¸°à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸—ี่ ความเสมอภาค à¹à¸¥à¸°à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸à¸²à¸™à¸‚องสังคมประชาธิปไตยที่à¹à¸—้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹‚ดยà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸­à¸³à¸™à¸²à¸ˆà¸ªà¸¹à¹ˆà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย โดยคำนึงถึงà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเสมอภาคà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£ ทุà¸à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡ ซึ่งรวมถึงผู้ยาà¸à¹„ร้ ผู้ด้อยโอà¸à¸²à¸ª ผู้พิà¸à¸²à¸£ ผู้บà¸à¸žà¸£à¹ˆà¸­à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰ รวมทั้งชนà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸™à¹‰à¸­à¸¢ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸„วามรู้ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸„รรภ์มารดาถึงà¹à¸£à¸à¹€à¸à¸´à¸” ให้ได้รับà¸à¸²à¸£à¸”ูà¹à¸¥à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพทั้งà¹à¸¡à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸”็ภสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸²à¸¡à¸§à¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸„ุณภาพ ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸­à¸™à¸§à¸±à¸¢à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸ˆà¸™à¸ˆà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นพื้นà¸à¸²à¸™ โดยจัดให้มีระบบสะสมผลà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸—ียบโอนเพื่อขยายโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸‚วางà¹à¸¥à¸° ลดปัà¸à¸«à¸²à¸„นออà¸à¸ˆà¸²à¸à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²

นอà¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰ จะดำเนินà¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ข้อจำà¸à¸±à¸”ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸‚้าถึงà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸£à¸°à¸”ับอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต†โดย ให้ผู้à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸´à¹ˆà¸¡à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„ืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พัà¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰ à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸à¸­à¸‡à¸—ุนà¸à¸¹à¹‰à¸¢à¸·à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยปรับเปลี่ยนà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸£à¸°à¸šà¸šà¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต ปรับปรุงระบบà¸à¸²à¸£à¸„ัดเลือà¸à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้เอื้อต่อà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ª โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือà¸à¸à¸¥à¸²à¸‡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¹ƒà¸™ มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ ดำเนิน “โครงà¸à¸²à¸£ ๑ อำเภอ ๑ ทุน†เพื่อเปิดโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸”็à¸à¹„ทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¡à¸¸à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”สังคมà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸¥à¸­à¸”ชีวิต

๓. ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸„รู ยà¸à¸à¸²à¸™à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸Šà¸µà¸žà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹à¸—้จริง โดยปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸„รูให้มีคุณภาพทัดเทียมà¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ สร้างà¹à¸£à¸‡à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸„นเรียนดี à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„ุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนà¹à¸¥à¸°à¸„่าตอบà¹à¸—นครู พัฒนาระบบความà¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸‚องครูโดยใช้à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸¡à¸´à¸™à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸à¸©à¹Œà¸—ี่อิงขีดความ สามารถà¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸”สัมฤทธิผลของà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸ จัดระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸žà¸±à¸’นาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸´à¸™à¸„รูโดยà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¹‚ครงสร้างหนี้ตามนโยบาย à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸„รัวเรือนของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸„รู ขจัดปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸£à¸‚าดà¹à¸„ลนครูในสาระวิชาหลัภเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²

๔. จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰ สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸•à¸¥à¸²à¸”à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ั้งในเชิงปริมาณà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพ โดยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸à¸²à¸£à¸“์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ระหว่างเรียน à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸³à¹€à¸£à¹‡à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸¡à¸µà¸‡à¸²à¸™à¸—ำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡ งานà¸à¸±à¸šà¸ªà¸–านศึà¸à¸©à¸² ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¸™à¸±à¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ นัà¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เรียนรู้หาประสบà¸à¸²à¸£à¸“์à¸à¹ˆà¸­à¸™à¹„ปประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž โดยให้สถาบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸&a

นโยบายà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸„วามรู้ของสังคมไทย อันประà¸à¸­à¸šà¸”้วย à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸£à¸°à¸”ับองค์ความรู้ให้ได้มาตรà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥ จัดให้มีโครงà¸à¸²à¸£à¸•à¸³à¸£à¸²à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—ี่บรรจุความรู้ที่à¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¹à¸¥à¸°à¹„ด้มาตรà¸à¸²à¸™ ทั้งความรู้ที่เป็นสาà¸à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸›à¸±à¸à¸à¸²à¸—้องถิ่น ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¹ˆà¸²à¸™ พร้อมทั้งส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸­à¸™à¸ à¸²à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²à¸–ิ่น จัดให้มีระบบà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸„วามรู้ ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸«à¸¥à¸±à¸à¸ªà¸¹à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้รองรับà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องโลà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ัดเทียม à¸à¸±à¸šà¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥à¸šà¸™à¸„วามเป็นท้องถิ่นà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับชั้น โดยวัดผลจาà¸à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸²à¸£à¸—ดสอบมาตรà¸à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับชาติà¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจาà¸à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุà¸à¸«à¹‰à¸­à¸‡à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ ให้มีโรงเรียนà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸–าบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸„ุณภาพสูงในทุà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลภพัฒนาระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸µà¸„วามรู้คู่คุณธรรม มุ่งà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ˆà¸£à¸´à¸¢à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับปัจเจภรวมทั้งสร้างความตระหนัà¸à¹ƒà¸™à¸ªà¸´à¸—ธิà¹à¸¥à¸°à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸—ี่ ความเสมอภาค à¹à¸¥à¸°à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸à¸²à¸™à¸‚องสังคมประชาธิปไตยที่à¹à¸—้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹‚ดยà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸­à¸³à¸™à¸²à¸ˆà¸ªà¸¹à¹ˆà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย โดยคำนึงถึงà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเสมอภาคà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£ ทุà¸à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡ ซึ่งรวมถึงผู้ยาà¸à¹„ร้ ผู้ด้อยโอà¸à¸²à¸ª ผู้พิà¸à¸²à¸£ ผู้บà¸à¸žà¸£à¹ˆà¸­à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰ รวมทั้งชนà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸™à¹‰à¸­à¸¢ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸„วามรู้ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸„รรภ์มารดาถึงà¹à¸£à¸à¹€à¸à¸´à¸” ให้ได้รับà¸à¸²à¸£à¸”ูà¹à¸¥à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพทั้งà¹à¸¡à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸”็ภสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸²à¸¡à¸§à¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸„ุณภาพ ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸­à¸™à¸§à¸±à¸¢à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸ˆà¸™à¸ˆà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นพื้นà¸à¸²à¸™ โดยจัดให้มีระบบสะสมผลà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸—ียบโอนเพื่อขยายโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸‚วางà¹à¸¥à¸° ลดปัà¸à¸«à¸²à¸„นออà¸à¸ˆà¸²à¸à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²

นอà¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰ จะดำเนินà¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ข้อจำà¸à¸±à¸”ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸‚้าถึงà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸£à¸°à¸”ับอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต†โดย ให้ผู้à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸´à¹ˆà¸¡à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„ืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พัà¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰ à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸à¸­à¸‡à¸—ุนà¸à¸¹à¹‰à¸¢à¸·à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยปรับเปลี่ยนà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸£à¸°à¸šà¸šà¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต ปรับปรุงระบบà¸à¸²à¸£à¸„ัดเลือà¸à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้เอื้อต่อà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ª โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือà¸à¸à¸¥à¸²à¸‡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¹ƒà¸™ มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ ดำเนิน “โครงà¸à¸²à¸£ ๑ อำเภอ ๑ ทุน†เพื่อเปิดโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸”็à¸à¹„ทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¡à¸¸à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”สังคมà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸¥à¸­à¸”ชีวิต

๓. ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸„รู ยà¸à¸à¸²à¸™à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸Šà¸µà¸žà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹à¸—้จริง โดยปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸„รูให้มีคุณภาพทัดเทียมà¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ สร้างà¹à¸£à¸‡à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸„นเรียนดี à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„ุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนà¹à¸¥à¸°à¸„่าตอบà¹à¸—นครู พัฒนาระบบความà¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸‚องครูโดยใช้à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸¡à¸´à¸™à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸à¸©à¹Œà¸—ี่อิงขีดความ สามารถà¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸”สัมฤทธิผลของà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸ จัดระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸žà¸±à¸’นาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸´à¸™à¸„รูโดยà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¹‚ครงสร้างหนี้ตามนโยบาย à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸„รัวเรือนของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸„รู ขจัดปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸£à¸‚าดà¹à¸„ลนครูในสาระวิชาหลัภเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²

๔. จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰ สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸•à¸¥à¸²à¸”à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ั้งในเชิงปริมาณà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพ โดยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸à¸²à¸£à¸“์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ระหว่างเรียน à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸³à¹€à¸£à¹‡à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸¡à¸µà¸‡à¸²à¸™à¸—ำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡ งานà¸à¸±à¸šà¸ªà¸–านศึà¸à¸©à¸² ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¸™à¸±à¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ นัà¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เรียนรู้หาประสบà¸à¸²à¸£à¸“์à¸à¹ˆà¸­à¸™à¹„ปประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž โดยให้สถาบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸&a

นโยบายà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸„วามรู้ของสังคมไทย อันประà¸à¸­à¸šà¸”้วย à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸£à¸°à¸”ับองค์ความรู้ให้ได้มาตรà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥ จัดให้มีโครงà¸à¸²à¸£à¸•à¸³à¸£à¸²à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—ี่บรรจุความรู้ที่à¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¹à¸¥à¸°à¹„ด้มาตรà¸à¸²à¸™ ทั้งความรู้ที่เป็นสาà¸à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸›à¸±à¸à¸à¸²à¸—้องถิ่น ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¹ˆà¸²à¸™ พร้อมทั้งส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸­à¸™à¸ à¸²à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²à¸–ิ่น จัดให้มีระบบà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸„วามรู้ ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸«à¸¥à¸±à¸à¸ªà¸¹à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้รองรับà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องโลà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ัดเทียม à¸à¸±à¸šà¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥à¸šà¸™à¸„วามเป็นท้องถิ่นà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับชั้น โดยวัดผลจาà¸à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸²à¸£à¸—ดสอบมาตรà¸à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับชาติà¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจาà¸à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุà¸à¸«à¹‰à¸­à¸‡à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ ให้มีโรงเรียนà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸–าบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸„ุณภาพสูงในทุà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลภพัฒนาระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸µà¸„วามรู้คู่คุณธรรม มุ่งà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ˆà¸£à¸´à¸¢à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับปัจเจภรวมทั้งสร้างความตระหนัà¸à¹ƒà¸™à¸ªà¸´à¸—ธิà¹à¸¥à¸°à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸—ี่ ความเสมอภาค à¹à¸¥à¸°à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸à¸²à¸™à¸‚องสังคมประชาธิปไตยที่à¹à¸—้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹‚ดยà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸­à¸³à¸™à¸²à¸ˆà¸ªà¸¹à¹ˆà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย โดยคำนึงถึงà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเสมอภาคà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£ ทุà¸à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡ ซึ่งรวมถึงผู้ยาà¸à¹„ร้ ผู้ด้อยโอà¸à¸²à¸ª ผู้พิà¸à¸²à¸£ ผู้บà¸à¸žà¸£à¹ˆà¸­à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰ รวมทั้งชนà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸™à¹‰à¸­à¸¢ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸„วามรู้ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸„รรภ์มารดาถึงà¹à¸£à¸à¹€à¸à¸´à¸” ให้ได้รับà¸à¸²à¸£à¸”ูà¹à¸¥à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพทั้งà¹à¸¡à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸”็ภสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸²à¸¡à¸§à¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸„ุณภาพ ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸­à¸™à¸§à¸±à¸¢à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸ˆà¸™à¸ˆà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นพื้นà¸à¸²à¸™ โดยจัดให้มีระบบสะสมผลà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸—ียบโอนเพื่อขยายโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸‚วางà¹à¸¥à¸° ลดปัà¸à¸«à¸²à¸„นออà¸à¸ˆà¸²à¸à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²

นอà¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰ จะดำเนินà¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ข้อจำà¸à¸±à¸”ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸‚้าถึงà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸£à¸°à¸”ับอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต†โดย ให้ผู้à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸´à¹ˆà¸¡à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„ืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พัà¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰ à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸à¸­à¸‡à¸—ุนà¸à¸¹à¹‰à¸¢à¸·à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยปรับเปลี่ยนà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸£à¸°à¸šà¸šà¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต ปรับปรุงระบบà¸à¸²à¸£à¸„ัดเลือà¸à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้เอื้อต่อà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ª โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือà¸à¸à¸¥à¸²à¸‡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¹ƒà¸™ มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ ดำเนิน “โครงà¸à¸²à¸£ ๑ อำเภอ ๑ ทุน†เพื่อเปิดโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸”็à¸à¹„ทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¡à¸¸à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”สังคมà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸¥à¸­à¸”ชีวิต

๓. ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸„รู ยà¸à¸à¸²à¸™à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸Šà¸µà¸žà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹à¸—้จริง โดยปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸„รูให้มีคุณภาพทัดเทียมà¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ สร้างà¹à¸£à¸‡à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸„นเรียนดี à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„ุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนà¹à¸¥à¸°à¸„่าตอบà¹à¸—นครู พัฒนาระบบความà¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸‚องครูโดยใช้à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸¡à¸´à¸™à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸à¸©à¹Œà¸—ี่อิงขีดความ สามารถà¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸”สัมฤทธิผลของà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸ จัดระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸žà¸±à¸’นาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸´à¸™à¸„รูโดยà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¹‚ครงสร้างหนี้ตามนโยบาย à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸„รัวเรือนของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸„รู ขจัดปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸£à¸‚าดà¹à¸„ลนครูในสาระวิชาหลัภเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²

๔. จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰ สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸•à¸¥à¸²à¸”à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ั้งในเชิงปริมาณà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพ โดยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸à¸²à¸£à¸“์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ระหว่างเรียน à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸³à¹€à¸£à¹‡à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸¡à¸µà¸‡à¸²à¸™à¸—ำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡ งานà¸à¸±à¸šà¸ªà¸–านศึà¸à¸©à¸² ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¸™à¸±à¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ นัà¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เรียนรู้หาประสบà¸à¸²à¸£à¸“์à¸à¹ˆà¸­à¸™à¹„ปประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž โดยให้สถาบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸&a

นางสาวปัทมาวรรณ คงถาวร

นโยบายà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸„วามรู้ของสังคมไทย อันประà¸à¸­à¸šà¸”้วย à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸£à¸°à¸”ับองค์ความรู้ให้ได้มาตรà¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥ จัดให้มีโครงà¸à¸²à¸£à¸•à¸³à¸£à¸²à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—ี่บรรจุความรู้ที่à¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¹à¸¥à¸°à¹„ด้มาตรà¸à¸²à¸™ ทั้งความรู้ที่เป็นสาà¸à¸¥à¹à¸¥à¸°à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸›à¸±à¸à¸à¸²à¸—้องถิ่น ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸­à¹ˆà¸²à¸™ พร้อมทั้งส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸­à¸™à¸ à¸²à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศà¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²à¸–ิ่น จัดให้มีระบบà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸„วามรู้ ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸«à¸¥à¸±à¸à¸ªà¸¹à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้รองรับà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องโลà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ัดเทียม à¸à¸±à¸šà¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™à¸ªà¸²à¸à¸¥à¸šà¸™à¸„วามเป็นท้องถิ่นà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับชั้น โดยวัดผลจาà¸à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸²à¸£à¸—ดสอบมาตรà¸à¸²à¸™à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับชาติà¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจาà¸à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุà¸à¸«à¹‰à¸­à¸‡à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ ให้มีโรงเรียนà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸–าบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸„ุณภาพสูงในทุà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลภพัฒนาระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸µà¸„วามรู้คู่คุณธรรม มุ่งà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ˆà¸£à¸´à¸¢à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับปัจเจภรวมทั้งสร้างความตระหนัà¸à¹ƒà¸™à¸ªà¸´à¸—ธิà¹à¸¥à¸°à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸—ี่ ความเสมอภาค à¹à¸¥à¸°à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸à¸²à¸™à¸‚องสังคมประชาธิปไตยที่à¹à¸—้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹‚ดยà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸­à¸³à¸™à¸²à¸ˆà¸ªà¸¹à¹ˆà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ªà¸—างà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย โดยคำนึงถึงà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเสมอภาคà¹à¸¥à¸°à¸„วามเป็นธรรมให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นà¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£ ทุà¸à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡ ซึ่งรวมถึงผู้ยาà¸à¹„ร้ ผู้ด้อยโอà¸à¸²à¸ª ผู้พิà¸à¸²à¸£ ผู้บà¸à¸žà¸£à¹ˆà¸­à¸‡à¸—างà¸à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰ รวมทั้งชนà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸™à¹‰à¸­à¸¢ โดยส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸„วามรู้ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸„รรภ์มารดาถึงà¹à¸£à¸à¹€à¸à¸´à¸” ให้ได้รับà¸à¸²à¸£à¸”ูà¹à¸¥à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพทั้งà¹à¸¡à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸”็ภสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸²à¸¡à¸§à¸±à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸„ุณภาพ ตั้งà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸­à¸™à¸§à¸±à¸¢à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸ˆà¸™à¸ˆà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นพื้นà¸à¸²à¸™ โดยจัดให้มีระบบสะสมผลà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸—ียบโอนเพื่อขยายโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸‚วางà¹à¸¥à¸° ลดปัà¸à¸«à¸²à¸„นออà¸à¸ˆà¸²à¸à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²

นอà¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰ จะดำเนินà¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ข้อจำà¸à¸±à¸”ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸‚้าถึงà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸£à¸°à¸”ับอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² ชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต†โดย ให้ผู้à¸à¸¹à¹‰à¹€à¸£à¸´à¹ˆà¸¡à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„ืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พัà¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰ à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸à¸­à¸‡à¸—ุนà¸à¸¹à¹‰à¸¢à¸·à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² โดยปรับเปลี่ยนà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸£à¸°à¸šà¸šà¸—ี่ผูà¸à¸žà¸±à¸™à¸à¸±à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในอนาคต ปรับปรุงระบบà¸à¸²à¸£à¸„ัดเลือà¸à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับให้เอื้อต่อà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹‚อà¸à¸²à¸ª โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือà¸à¸à¸¥à¸²à¸‡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸‚้าศึà¸à¸©à¸²à¸•à¹ˆà¸­à¹ƒà¸™ มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ ดำเนิน “โครงà¸à¸²à¸£ ๑ อำเภอ ๑ ทุน†เพื่อเปิดโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸”็à¸à¹„ทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¡à¸¸à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”สังคมà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸£à¸¹à¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸•à¸¥à¸­à¸”ชีวิต

๓. ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸„รู ยà¸à¸à¸²à¸™à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸Šà¸µà¸žà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹à¸—้จริง โดยปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸„รูให้มีคุณภาพทัดเทียมà¸à¸±à¸šà¸™à¸²à¸™à¸²à¸Šà¸²à¸•à¸´ สร้างà¹à¸£à¸‡à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸„นเรียนดี à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„ุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนà¹à¸¥à¸°à¸„่าตอบà¹à¸—นครู พัฒนาระบบความà¸à¹‰à¸²à¸§à¸«à¸™à¹‰à¸²à¸‚องครูโดยใช้à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸¡à¸´à¸™à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸à¸©à¹Œà¸—ี่อิงขีดความ สามารถà¹à¸¥à¸°à¸§à¸±à¸”สัมฤทธิผลของà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸ จัดระบบà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸žà¸±à¸’นาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸ªà¸´à¸™à¸„รูโดยà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸à¸Šà¸³à¸£à¸°à¸«à¸™à¸µà¹‰à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¹‚ครงสร้างหนี้ตามนโยบาย à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸«à¸™à¸µà¹‰à¸„รัวเรือนของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸„รู ขจัดปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸£à¸‚าดà¹à¸„ลนครูในสาระวิชาหลัภเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸©à¸²

๔. จัดà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸‚ั้นอุดมศึà¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸§à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹ƒà¸«à¹‰ สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸•à¸¥à¸²à¸”à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ั้งในเชิงปริมาณà¹à¸¥à¸°à¸„ุณภาพ โดยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸à¸²à¸£à¸“์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ระหว่างเรียน à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸³à¹€à¸£à¹‡à¸ˆà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸¡à¸µà¸‡à¸²à¸™à¸—ำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡ งานà¸à¸±à¸šà¸ªà¸–านศึà¸à¸©à¸² ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¸™à¸±à¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™ นัà¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เรียนรู้หาประสบà¸à¸²à¸£à¸“์à¸à¹ˆà¸­à¸™à¹„ปประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸ž โดยให้สถาบันอาชีวศึà¸à¸©à¸²à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸&a

นางสาวเบญจมาศ มีเจริญ

นโยบายรัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ เวชชาชีวะ

เนื่องจาà¸à¸™à¹‚ยบายสาธารณะเป็นเรื่องใà¸à¸¥à¹‰à¸•à¸±à¸§ à¸à¸²à¸£à¸•à¸´à¸”ตามนโยบายที่รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¹à¸–ลงต่อสภาจึงเป็นสิ่งสำคัภต่อไปนี้เป็น นโยบายรัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ เวชชาะ (ธันวาคม 51-ปัจจุบัน) ที่คนไทยทุà¸à¸„นควรติดตามà¸à¸²à¸£à¸—ำงานว่าเป็นไปตามคำมั่นสัà¸à¸à¸²à¸«à¸£à¸·à¸­à¹„ม่ นโยบายของรัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ เวชชาชีวะ ได้à¹à¸à¹ˆ

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸µà¹à¸£à¸

1.1 à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเชื่อมั่นà¹à¸¥à¸°à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸žà¸£à¸§à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”ความเชื่อมั่นà¹à¸à¹ˆà¸ à¸²à¸„ประชาชนà¹à¸¥à¸°à¹€à¸­à¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¹‚ภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์à¹à¸¥à¸°à¸„วามสามัคคีของคนในชาติให้เà¸à¸´à¸”ขึ้นโดยเร็ว โดยใช้à¹à¸™à¸§à¸—างสันติวิธี รับฟังความคิดเห็นจาà¸à¸—ุà¸à¸à¹ˆà¸²à¸¢ à¹à¸¥à¸°à¸«à¸¥à¸µà¸à¹€à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸‡à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸„วามรุนà¹à¸£à¸‡à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸„วามขัดà¹à¸¢à¹‰à¸‡ รวมทั้งà¸à¸²à¸£à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸°à¹€à¸šà¸µà¸¢à¸šà¸ªà¸±à¸‡à¸„มà¹à¸¥à¸°à¸šà¸±à¸‡à¸„ับใช้à¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹€à¸—่าเทียม สนับสนุนองค์à¸à¸£à¸•à¸²à¸¡à¸£à¸±à¸à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸™à¸¹à¸à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸ªà¹ˆà¸§à¸™à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามสมานฉันท์

1.1.2 จัดให้มีสำนัà¸à¸‡à¸²à¸™à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸£à¸²à¸Šà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸‡à¸«à¸§à¸±à¸”ชายà¹à¸”นภาคใต้เป็นองค์à¸à¸£à¸–าวร เพื่อทำหน้าที่à¹à¸à¹‰à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาพื้นที่ชายà¹à¸”นภาคใต้ โดยยึดมั่นหลัà¸à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามสมานฉันท์ à¹à¸¥à¸°à¹à¸™à¸§à¸—าง เข้าใจ เข้าถึง à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นา ใช้à¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸¢à¸¸à¸•à¸´à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸à¸±à¸šà¸œà¸¹à¹‰à¸à¸£à¸°à¸—ำผิดอย่างเคร่งครัดà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡ à¸à¸³à¸«à¸™à¸”จังหวัดชายà¹à¸”นเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีà¸à¸²à¸£à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¸”อà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¸•à¹ˆà¸³ สิทธิพิเศษด้านภาษี à¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาเป็นเขตอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸®à¸²à¸¥à¸²à¸¥

1.1.3 ปà¸à¸´à¸£à¸¹à¸›à¸à¸²à¸£à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡ โดยมีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งคณะà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸™à¸§à¸—างà¸à¸²à¸£à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸£à¸¹à¸› โดยà¸à¸²à¸£à¸¡à¸µà¸ªà¹ˆà¸§à¸™à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸‚องภาคประชาชน เพื่อวางระบบà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้มีเสถียรภาพà¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ ในà¹à¸™à¸§à¸—างà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸„รองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาà¸à¸©à¸±à¸•à¸£à¸´à¸¢à¹Œà¸—รงเป็นประมุข à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„วามเหมาะสมสอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸ªà¸ à¸²à¸žà¸ªà¸±à¸‡à¸„มไทย

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลภโดยให้ความสำคัà¸à¸à¸±à¸šà¸à¸£à¸­à¸šà¸„วามร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับà¹à¸£à¸ à¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸¡à¸·à¸­à¸à¸±à¸šà¸£à¸±à¸à¸ªà¸ à¸²à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸žà¸´à¸ˆà¸²à¸£à¸“าอนุมัติเอà¸à¸ªà¸²à¸£à¸—ี่เà¸à¸µà¹ˆà¸¢à¸§à¸‚้องที่ประเทศไทยในà¸à¸²à¸™à¸°à¸ªà¸¡à¸²à¸Šà¸´à¸à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸„มอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของà¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸¸à¸¡à¸ªà¸¸à¸”ยอดผู้นำอาเซียนให้à¹à¸¥à¹‰à¸§à¹€à¸ªà¸£à¹‡à¸ˆà¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¹€à¸”ือนม.ค. à¹à¸¥à¸°à¹€à¸•à¸£à¸µà¸¢à¸¡à¸„วามพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดà¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸¸à¸¡à¸ªà¸¸à¸”ยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนà¸.พ. 2552

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่à¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วน โดยจัดทำเป็นà¹à¸œà¸™à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸£à¸°à¸¢à¸°à¸ªà¸±à¹‰à¸™à¸„รอบคลุม ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£ ภาคอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡ ภาคบริà¸à¸²à¸£à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยว ภาคà¸à¸²à¸£à¸ªà¹ˆà¸‡à¸­à¸­à¸ ภาคอสังหาริมทรัพย์ à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในชนบท à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸™à¹‰à¸³à¹à¸¥à¸°à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸—รัพยาà¸à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸¥à¹‰à¸§à¹€à¸ªà¸£à¹‡à¸ˆà¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¹€à¸”ือนม.ค. พร้อมจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัà¸à¹€à¸‚้าสู่ระบบเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้à¹à¸à¹ˆà¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวต่างชาติ à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸£à¸±à¸”มาตรà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยว โดยร่วมà¸à¸±à¸šà¸ à¸²à¸„เอà¸à¸Šà¸™à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸ªà¸±à¸¡à¸žà¸±à¸™à¸˜à¹Œà¸”ึงดูดนัà¸à¸—่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸±à¸šà¹à¸œà¸™à¸‡à¸šà¸›à¸£à¸°à¸¡à¸²à¸“ของส่วนราชà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸Šà¹‰à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸¡à¸¡à¸™à¸²à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸—ั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมà¹à¸¥à¸°à¸„่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่เà¸à¸µà¹ˆà¸¢à¸§à¸‚้องà¸à¸±à¸šà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยว

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศ โดยให้ความสำคัà¸à¸à¸±à¸šà¹‚ครงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนที่มีความคุ้มค่า เพื่อสร้างบรรยาà¸à¸²à¸¨à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน ยà¸à¸£à¸°à¸”ับคุณภาพชีวิตประชาชน à¹à¸¥à¸°à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸„วามสามารถà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ โดยเฉพาะà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเพื่อยà¸à¸£à¸°à¸”ับคุณภาพà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸—ั้งระบบ à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริà¸à¸²à¸£à¸ªà¸¸à¸‚ภาพที่มุ่งสู่à¸à¸²à¸£à¸›à¹‰à¸­à¸‡à¸à¸±à¸™à¹à¸¥à¸°à¸ªà¹ˆà¸‡à¹€à¸ªà¸£à¸´à¸¡ à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาระบบบริà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸™à¹‰à¸³à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸Šà¸¥à¸›à¸£à¸°à¸—าน ให้สามารถเริ่มดำเนินโค รงà¸à¸²à¸£à¹„ด้ในปี2552

1.2 à¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือà¸à¸±à¸šà¸ à¸²à¸„เอà¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¸Šà¸°à¸¥à¸­à¸à¸²à¸£à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡ à¹à¸¥à¸°à¸›à¹‰à¸­à¸‡à¸à¸±à¸™à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวของà¸à¸²à¸£à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸„อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡ à¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ุà¸à¸£à¸°à¸”ับ โดยใช้มาตรà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¥à¸”ภาระของภาคเอà¸à¸Šà¸™

1.2.2 ดำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัà¸à¸«à¸²à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸ˆà¸²à¸à¸ à¸²à¸„อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¹à¸¥à¸°à¸™à¸±à¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸ˆà¸šà¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆ โดยจัดโครงà¸à¸²à¸£à¸à¸¶à¸à¸­à¸šà¸£à¸¡à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ี่ว่างงานประมาณ 5 à¹à¸ªà¸™à¸„น ในระยะเวลา 1 ปี ตามà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸„วาม&

นางสาวเบญจมาศ มีเจริญ

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องนายภอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

1. ลดอัตราดอà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¸­à¹‰à¸²à¸‡à¸­à¸´à¸‡ เพื่อà¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸„่าเงิน

2.à¸à¸²à¸£à¸¥à¸”มาตรà¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸­à¸™à¸›à¸£à¸™à¹à¸¥à¸°à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸ªà¸´à¸™à¹€à¸Šà¸·à¹ˆà¸­

3. อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัภเช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประà¸à¸±à¸™à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸¹à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆ ), อาคารสงเคราะห์ (à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸ à¸²à¸„à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¹‚ภคà¹à¸¥à¸°à¸­à¸ªà¸±à¸‡à¸«à¸²à¸£à¸´à¸¡à¸—รัพย์)

4.งบประมาณà¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ินà¹à¸šà¸šà¸‚าดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ

5.อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชà¸à¸²à¸£,โครงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

6.ลดภาษีบางตัว เà¸à¹‡à¸šà¸ à¸²à¸©à¸µà¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸šà¸²à¸‡à¸•à¸±à¸§

7. สร้างรายได้à¹à¸¥à¸°à¸¨à¸±à¸à¸¢à¸ à¸²à¸žà¸—างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸”ับà¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸ โดยà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”ตั้งà¸à¸­à¸‡à¸—ุนเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸žà¸­à¹€à¸žà¸µà¸¢à¸‡ à¹à¸¥à¸°à¸ˆà¸±à¸”สรรเงินเพิ่มเติมให้จาà¸à¸§à¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ี่เคยจัดสรรให้เดิม

8.เพิ่มมาตรà¸à¸²à¸£à¸”้านà¸à¸²à¸£à¸„ลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนà¹à¸¥à¸°à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸ªà¸²à¸‚าที่ถูà¸à¸œà¸¥à¸à¸£à¸°à¸—บ

9. ฟื้นฟูเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่à¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¸›à¸£à¸°à¸ªà¸šà¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วน โดยจัดทำเป็นà¹à¸œà¸™à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸£à¸°à¸¢à¸°à¸ªà¸±à¹‰à¸™à¸—ี่ครอบคลุม ภาคเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¹€à¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£ ภาคอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡ ภาคบริà¸à¸²à¸£à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยว ภาคà¸à¸²à¸£à¸ªà¹ˆà¸‡à¸­à¸­à¸ ภาคอสังหาริมทรัพย์ à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ในชนบท à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸™à¹‰à¸³à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹à¸¥à¸°à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸—รัพยาà¸à¸£

10. เร่งลงทุนเพื่อà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศ โดยให้ความสำคัà¸à¸à¸±à¸šà¹‚ครงà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนที่มีความคุ้มค่ามาà¸à¸—ี่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยาà¸à¸²à¸¨à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน ยà¸à¸£à¸°à¸”ับคุณภาพชีวิตของประชาชน à¹à¸¥à¸°à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸„วามสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ

11.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹€à¸ªà¸–ียรภาพราคาสินผ่านà¸à¸¥à¹„à¸à¹à¸¥à¸°à¹€à¸„รื่องมือของรัà¸à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µ ประสิทธิภาพà¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸£à¸°à¸šà¸šà¸›à¸£à¸°à¸à¸±à¸™à¸„วามเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸µà¹à¸£à¸

1.à¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเชื่อมั่นà¹à¸¥à¸°à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸žà¸£à¸§à¸¡à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”ความเชื่อมั่นà¹à¸à¹ˆà¸ à¸²à¸„ประชาชนà¹à¸¥à¸°à¹€à¸­à¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¹‚ภค

2.เร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้à¹à¸à¹ˆà¸™à¸±à¸à¸—่องเที่ยวต่างชาติ à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸£à¸±à¸”มาตรà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยว โดยà¸à¸²à¸£à¸”ำเนินร่วมà¸à¸±à¸™à¸£à¸°à¸«à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸ à¸²à¸„รัà¸à¹à¸¥à¸°à¹€à¸­à¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸ªà¸±à¸¡à¸žà¸±à¸™à¸˜à¹Œà¸”ึงดูดนัà¸à¸—่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¸—่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

à¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ของประชาชน

1.ร่วมมือà¸à¸±à¸šà¸ à¸²à¸„เอà¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¸Šà¸°à¸¥à¸­à¸à¸²à¸£à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¹à¸¥à¸°à¸›à¹‰à¸­à¸‡à¸à¸±à¸™à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัว ของà¸à¸²à¸£à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸„อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ ทั้งอุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¸‚นาดใหà¸à¹ˆ ขนาดà¸à¸¥à¸²à¸‡ à¹à¸¥à¸°à¸‚นาดย่อม โดยใช้มาตรà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸¹à¸‡à¹ƒà¸ˆà¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸¥à¸”ภาระของภาคเอà¸à¸Šà¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸Šà¸°à¸¥à¸­à¸à¸²à¸£à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™

2.ดำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัà¸à¸«à¸²à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸ˆà¸²à¸à¸ à¸²à¸„อุตสาหà¸à¸£à¸£à¸¡à¹à¸¥à¸°à¸™à¸±à¸à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸ˆà¸šà¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆ

3.เร่งรัดดำเนินà¸à¸²à¸£à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¹€à¸«à¸¥à¸·à¸­à¸šà¸£à¸£à¹€à¸—าความเดือดร้อนของผู้ถูà¸à¹€à¸¥à¸´à¸à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™

4.สร้าง หลัà¸à¸›à¸£à¸°à¸à¸±à¸™à¸”้านรายได้à¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸²à¸¢à¸¸ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอà¹à¸à¹ˆà¸à¸²à¸£à¸¢à¸±à¸‡à¸Šà¸µà¸ž หรือไม่สามารถประà¸à¸­à¸šà¸­à¸²à¸Šà¸µà¸žà¹€à¸¥à¸µà¹‰à¸¢à¸‡à¸•à¸±à¸§à¹€à¸­à¸‡à¹„ด้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพà¹à¸à¹ˆà¸œà¸¹à¹‰à¸ªà¸¹à¸‡à¸­à¸²à¸¢à¸¸à¸—ี่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่à¹à¸ªà¸”งความจำนงโดยà¸à¸²à¸£à¸‚อขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับà¸à¸²à¸£à¸ªà¸‡à¹€à¸„ราะห์

5.เพิ่มมาตรà¸à¸²à¸£à¸”้านà¸à¸²à¸£à¸„ลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนà¹à¸¥à¸°à¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸˜à¸¸à¸£à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸ªà¸²à¸‚าที่ถูà¸à¸œà¸¥à¸à¸£à¸°à¸—บ

6. เร่งรัดà¹à¸¥à¸°à¸žà¸±à¸’นาตลาดà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸ªà¸´à¸™à¸„้าของสินค้าเà¸à¸©à¸•à¸£à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸´à¸™à¸„้าชุมชน เพื่อà¸à¸£à¸°à¸•à¸¸à¹‰à¸™à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¹‚ภคภายในประเทศ à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ªà¹ˆà¸‡à¸­à¸­à¸

à¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ภาระค่าครองชีพของประชาชน

1. ให้ทุà¸à¸„นมีโอà¸à¸²à¸ªà¹„ด้รับà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸Ÿà¸£à¸µ 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลัà¸à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸±à¸šà¸—ุà¸à¹‚รงเรียน จัดให้มีชุดนัà¸à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¹à¸¥à¸°à¸­à¸¸à¸›à¸à¸£à¸“์à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¸µà¸¢à¸™à¸Ÿà¸£à¸µà¹ƒà¸«à¹‰à¸—ันปีà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸² 2552 à¹à¸¥à¸°à¸—ั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายà¸à¸²à¸£à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¹† ที่โรงเรียนเรียà¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸ˆà¸²à¸à¸œà¸¹à¹‰à¸›à¸à¸„รอง

2. à¸à¸³à¸à¸±à¸š ดูà¹à¸¥à¸£à¸²à¸„าสินค้าอุปโภคบริโภคà¹à¸¥à¸°à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีความจำเป็นต่อà¸à¸²à¸£à¸„รองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมà¹à¸¥à¸°à¹„ม่เป็นà¸à¸²à¸£à¹€à¸­à¸²à¹€à¸›à¸£à¸µà¸¢à¸šà¸œà¸¹à¹‰à¸šà¸£à¸´à¹‚ภค

3. ใช้à¸à¸­à¸‡à¸—ุนน้ำมันในà¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹€à¸ªà¸–ียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸›à¸£à¸°à¹‚ยชน์ต่อà¸à¸²à¸£à¸ªà¹ˆà¸‡à¹€à¸ªà¸£à¸´à¸¡à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—ดà¹à¸—นà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸™à¹‰à¸³à¸¡à¸±à¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡ ประหยัด

4.ตั้ง คณะà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸¡à¸™à¸•à¸£à¸µà¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆ à¹à¸¥à¸°à¸„ณะà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸ à¸²à¸„รัà¸à¹à¸¥à¸°à¹€à¸­à¸à¸Šà¸™ เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸² ลดขั้นตอนในà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸šà¸±à¸•à¸´ à¹à¸¥à¸°à¸à¸³à¸«à¸™à¸”มาตรà¸à¸²à¸£à¹à¸¥à¸°à¹‚ครงà¸à¸²à¸£ เพื่อฟื้นฟูเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸§à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วน

บทบาทของนโยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประà¸à¸²à¸£ คือ

1. à¸à¸²à&ced

(หน้า1)

เปรียบเทียบนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ à¹à¸¥à¸° นายภยิ่งลัà¸à¸©à¸“์

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ (Monetary Policy) หมายถึง à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¸‚องเจ้าหน้าที่ทางà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸„วบคุมปริมาณเงิน (Money Supply) à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸´à¸¡à¸²à¸“สินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมà¸à¸±à¸šà¸ à¸²à¸§à¸°à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸‚ณะหนึ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราดอà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸à¸´à¸ˆà¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ โดยเป้าหมายหลัà¸à¸‚องà¸à¸²à¸£à¸”ำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹„ด้à¹à¸à¹ˆ à¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹€à¸ªà¸–ียรภาพทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ à¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™ à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸”ุลยภาพทางà¸à¸²à¸£à¸Šà¸³à¸£à¸°à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸°à¸«à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ ซึ่งโดยปà¸à¸•à¸´à¸™à¹‚ยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ี่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมี 2 ลัà¸à¸©à¸“ะ คือ

1. นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸šà¸šà¸œà¹ˆà¸­à¸™à¸„ลาย (Expantionary Monetary Policy) จะถูà¸à¸™à¸³à¸¡à¸²à¹ƒà¸Šà¹‰à¹€à¸¡à¸·à¹ˆà¸­à¸£à¸°à¸šà¸šà¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸§à¸°à¸—ี่ชะลอตัว สภาพคล่องในระบบตึงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเà¸à¸“ฑ์ต่ำ à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹„ม่เต็มที่ ธนาคารà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศไทยจะออà¸à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“ะที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นหรือขยายตัวเพิ่มมาà¸à¸‚ึ้น อาทิ à¸à¸²à¸£à¸‹à¸·à¹‰à¸­à¸„ืนพันธบัตร à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¸¥à¸”อัตราดอà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™ (Bank Rate) à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸œà¹ˆà¸­à¸™à¸„ลายมาตรà¸à¸²à¸£à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸­à¸·à¹ˆà¸™à¹† เป็นต้น ทั้งนี้à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินมาตรà¸à¸²à¸£à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¹† ดังà¸à¸¥à¹ˆà¸²à¸§à¸ˆà¸°à¸ªà¹ˆà¸‡à¸œà¸¥à¹ƒà¸«à¹‰à¸­à¸±à¸•à¸£à¸²à¸”อà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¹ƒà¸™à¸•à¸¥à¸²à¸”เงินปรับตัวลดลง ทำให้à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸‚ยายตัวเพิ่มสูงขึ้น

2. นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸šà¸šà¹€à¸‚้มงวด (Restrictive Monetary Policy) จะถูà¸à¸™à¸³à¸¡à¸²à¹ƒà¸Šà¹‰à¹€à¸¡à¸·à¹ˆà¸­à¸£à¸°à¸šà¸šà¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸§à¸°à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹€à¸Ÿà¹‰à¸­ à¹à¸¥à¸°à¸à¸´à¸ˆà¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸‚ยายตัวเร็วเà¸à¸´à¸™à¸à¸§à¹ˆà¸²à¸—ี่ทรัพยาà¸à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศจะสามารถรองรับได้ ธนาคารà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศไทยจะออà¸à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸£à¸•à¹ˆà¸²à¸‡ ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบลดลง อาทิ à¸à¸²à¸£à¸™à¸³à¸žà¸±à¸™à¸˜à¸šà¸±à¸•à¸£à¸­à¸­à¸à¸‚าย à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸­à¸±à¸•à¸£à¸²à¸”อà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸à¸²à¸™ à¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸«à¸™à¸”สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินà¸à¸²à¸ à¸à¸²à¸£à¸„วบคุมà¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวของสินเชื่อ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸™à¸à¸£à¸“ีที่รุนà¹à¸£à¸‡à¸—ี่สุด คือ à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸­à¸±à¸•à¸£à¸²à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸ªà¸”สำรองตามà¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินนโยบายในลัà¸à¸©à¸“ะนี้จะทำให้อัตราดอà¸à¹€à¸šà¸µà¹‰à¸¢à¸›à¸£à¸±à¸šà¸•à¸±à¸§à¸ªà¸¹à¸‡à¸‚ึ้น ซึ่งจะส่งผลให้à¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸Šà¸°à¸¥à¸­à¸•à¸±à¸§à¸¥à¸‡à¹ƒà¸™à¸—ี่สุด

นโยบายนายà¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์ เวชชาชีวะ

รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¹„ด้à¸à¸³à¸«à¸™à¸”นโยบายà¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸£à¸²à¸Šà¸à¸²à¸£à¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ินที่สำคัภโดยà¹à¸šà¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¹‡à¸™ 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸µà¹à¸£à¸ à¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸¢à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸£à¸²à¸Šà¸à¸²à¸£ 4 ปีของรัà¸à¸šà¸²à¸¥ ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸™à¸›à¸µà¹à¸£à¸

รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸–ือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในà¸à¸²à¸£à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้à¹à¸à¹ˆà¸™à¸±à¸à¸¥à¸‡à¸—ุน ฟื้นฟูให้เศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸µà¸„วามเข้มà¹à¸‚็ง à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸„วามยาà¸à¸ˆà¸™ โดยพัฒนาเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸¨à¸±à¸à¸¢à¸ à¸²à¸žà¸à¸²à¸£à¸«à¸²à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ ลดรายจ่าย สร้างโอà¸à¸²à¸ªà¹ƒà¸™à¸­à¸²à¸Šà¸µà¸žà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸Šà¸™ โดยเฉพาะเà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£ à¹à¸£à¸‡à¸‡à¸²à¸™ à¹à¸¥à¸°à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸‚นาดà¸à¸¥à¸²à¸‡à¹à¸¥à¸°à¸‚นาดย่อม à¹à¸¥à¸°à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸ªà¸´à¹ˆà¸‡à¹à¸§à¸”ล้อมที่มีความสำคัà¸à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸”่วน โดยมีนโยบายที่สำคัภคือ

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติà¹à¸¥à¸°à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸˜à¸´à¸›à¹„ตย โดยà¸à¸²à¸£à¹€à¸ªà¸£à¸´à¸¡à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸„วามเข้าใจร่วมà¸à¸±à¸™à¸‚องประชาชนในชาติให้เà¸à¸´à¸”ความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวà¸à¸±à¸™ à¹à¸¥à¸°à¸¢à¸¶à¸”มั่นในà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸„รองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาà¸à¸©à¸±à¸•à¸£à¸´à¸¢à¹Œà¸—รงเป็นประมุข เพื่อให้เà¸à¸´à¸”ความร่วมมือร่วมใจในà¸à¸²à¸£à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸§à¸´à¸à¸¤à¸•à¸´à¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸ªà¸–ียรภาพทั้งทางด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸¡à¸·à¸­à¸‡ à¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸„รอง สังคม à¹à¸¥à¸°à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัภซึ่งจะเป็นราà¸à¸à¸²à¸™à¸—ี่มั่นคงในà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸„วามไม่สงบในจังหวัดชายà¹à¸”นภาคใต้ โดยน้อมนำà¹à¸™à¸§à¸—างพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา†มาดำเนินภารà¸à¸´à¸ˆà¹ƒà¸™à¸”้านความมั่นคงà¹à¸¥à¸°à¸”้านà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นา โดยให้มีความสอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸¥à¸±à¸à¸©à¸“ะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม à¹à¸¥à¸°à¸„วามเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมà¹à¸¥à¸°à¸„วามยุติธรรม โดยเน้นà¸à¸²à¸£à¸¡à¸µà¸ªà¹ˆà¸§à¸™à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸‚องทุà¸à¸ à¸²à¸„ส่วนเพื่อให้เà¸à¸´à¸”ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตà¹à¸¥à¸°à¸—รัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸™à¸•à¸´à¸ªà¸¸à¸‚ในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

1.3 เร่งรัดà¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¸¢à¸²à¹€à¸ªà¸žà¸•à¸´à¸”à¹à¸¥à¸°à¸›à¸£à¸²à¸šà¸›à¸£à¸²à¸¡à¸œà¸¹à¹‰à¸¡à¸µà¸­à¸´à¸—ธิพล โดยยังคงยึดหลัà¸à¸à¸²à¸£ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับà¸à¸²à¸£à¸£à¸±à¸à¸©à¸² ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸¢à¸¸à¸•à¸´à¸˜à¸£à¸£à¸¡â€ ทั้งนี้ รัà¸à¸šà¸²à¸¥à¸ˆà¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸£à¸±à¸”ปราบปรามà¸à¸²à¸£à¸„้ายาเสพติด ลดปริà¸&ie

เปรียบเทียบนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์à¹à¸¥à¸°à¸™à¸²à¸¢à¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸­à¸ à¸´à¸ªà¸´à¸—ธิ์

1.สนับสนุนให้เศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸™à¹‚ยบายà¸à¸²à¸£à¸„ลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราà¸à¸²à¸£à¹€à¸ˆà¸£à¸´à¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตของเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ เสถียรภาพของระดับราคา à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™

2. สร้างเสถียรภาพà¹à¸¥à¸°à¸„วามมั่นคงของระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ บริหารสภาพคล่องทางà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ à¹à¸¥à¸°à¸”ูà¹à¸¥à¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรà¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹ƒà¸à¸¥à¹‰à¸Šà¸´à¸” เพื่อป้องà¸à¸±à¸™à¸œà¸¥à¸à¸£à¸°à¸—บที่จะเà¸à¸´à¸”ขึ้นจาà¸à¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸„วามร่วมมือทางด้านà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸•à¹‰à¸à¸£à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸¸à¸¡à¸ªà¸¸à¸”ยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือà¹à¸¥à¸°à¸£à¹ˆà¸§à¸¡à¸à¸±à¸™à¹à¸à¹‰à¹„ขปัà¸à¸«à¸²à¹ƒà¸™à¸à¸£à¸“ีที่เà¸à¸´à¸”วิà¸à¸¤à¸•à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸ à¸¹à¸¡à¸´à¸ à¸²à¸„

3. พัฒนาตลาดทุนà¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸šà¸šà¸ªà¸–าบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้มà¹à¸‚็งà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–รองรับผลà¸à¸£à¸°à¸—บจาà¸à¸„วามผันผวนของสภาวะà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹‚ลภà¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸”ำเนินธุรà¸à¸´à¸ˆà¹„ด้อย่างมั่นคง โดยà¸à¸²à¸£à¹à¸à¹‰à¹„ขà¸à¸Žà¸£à¸°à¹€à¸šà¸µà¸¢à¸š à¹à¸¥à¸°à¸§à¸²à¸‡à¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¸”ูà¹à¸¥à¹ƒà¸«à¹‰à¸ªà¸­à¸”คล้องà¸à¸±à¸šà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸™à¸§à¸±à¸•à¸à¸£à¸£à¸¡à¸—างà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

4. ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงà¹à¸™à¸§à¸—างà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”สรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องà¸à¸±à¸šà¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸‚องà¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ิน รวมทั้งเร่งออà¸à¸à¸Žà¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸à¸²à¸£à¸„ลังของรัà¸à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¹„à¸à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸£à¸­à¸šà¹à¸™à¸§à¸—างในà¸à¸²à¸£à¸›à¸à¸´à¸šà¸±à¸•à¸´à¸—ี่ดี

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸ à¸²à¸©à¸µ เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรà¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸©à¸µà¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸™à¸±à¸šà¸ªà¸™à¸¸à¸™à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸°à¸«à¸¢à¸±à¸”พลังงาน à¹à¸¥à¸°à¸žà¸¥à¸±à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸—างเลือà¸

6. à¸à¸³à¸«à¸™à¸”à¸à¸£à¸­à¸šà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุนภาครัภทั้งในระยะปานà¸à¸¥à¸²à¸‡à¹à¸¥à¸°à¸£à¸°à¸¢à¸°à¸¢à¸²à¸§à¸—ี่มีความชัดเจนของà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™ รูปà¹à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸¥à¸‡à¸—ุน à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸šà¸—บาทของภาคเอà¸à¸Šà¸™à¸—ี่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือà¹à¸¥à¸°à¸à¸¥à¹„à¸à¸à¸²à¸£à¸£à¸°à¸”มทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงà¸à¸²à¸£à¸‚นาดใหà¸à¹ˆ โดยคำนึงถึงวินัยà¸à¸²à¸£à¸„ลัง à¹à¸¥à¸°à¸ à¸²à¸£à¸°à¸‡à¸šà¸›à¸£à¸°à¸¡à¸²à¸“ของภาครัà¸

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸”ำเนินงานของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นà¸à¸²à¸£à¸žà¸±à¸’นาà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¸à¸²à¸£à¸¥à¸”ต้นทุนดำเนินงาน à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸„วามเสี่ยง à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¸ à¸²à¸¢à¹ƒà¸•à¹‰à¸«à¸¥à¸±à¸à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸²à¸ à¸´à¸šà¸²à¸¥ à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸£à¸°à¸šà¸šà¸à¸²à¸£à¸à¸³à¸à¸±à¸šà¸”ูà¹à¸¥à¸—ี่ดี รวมทั้งà¸à¸²à¸£à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™ à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸£à¸±à¸”à¸à¸²à¸£à¹€à¸šà¸´à¸à¸ˆà¹ˆà¸²à¸¢à¸¥à¸‡à¸—ุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸£à¸±à¸à¸šà¸²à¸¥à¸™à¸²à¸¢à¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“์

1.ดำเนินà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรมให้à¹à¸à¹ˆà¸„นส่วนใหà¸à¹ˆà¸‚องประเทศ à¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เจริà¸à¹€à¸•à¸´à¸šà¹‚ตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่สนับสนุนà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ที่เป็นธรรม à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸­à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¢à¸±à¹ˆà¸‡à¸¢à¸·à¸™ มีà¸à¸²à¸£à¸ˆà¹‰à¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¹€à¸•à¹‡à¸¡à¸—ี่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจาà¸à¸„วามผันผวนของà¸à¸²à¸£à¹€à¸„ลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸—ุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่หลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹„ด้อย่างทั่วถึงà¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡

3.พัฒนาระบบสถาบันà¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¸œà¸¹à¹‰à¸”้อยโอà¸à¸²à¸ª สามารถให้บริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ตอบสนองต่อà¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¹à¸›à¸¥à¸‡à¸‚องนวัตà¸à¸£à¸£à¸¡à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™à¹à¸¥à¸°à¸„วามต้องà¸à¸²à¸£à¸—ี่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸‡à¸„มด้วยค่าบริà¸à¸²à¸£à¸—ี่ต่ำà¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—ี่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอาà¸à¸£à¸—ั้งระบบ เพื่อสนับสนุนà¸à¸²à¸£à¹€à¸žà¸´à¹ˆà¸¡à¸‚ีดความสามารถในà¸à¸²à¸£à¹à¸‚่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸Šà¹‰à¸—รัพยาà¸à¸£à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพ à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸²à¸™à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¸£à¸²à¸¢à¹„ด้ทั้งจาà¸à¸ à¸²à¸©à¸µà¹à¸¥à¸°à¸—ี่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมà¹à¸¥à¸°à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¸§à¸´à¸™à¸±à¸¢à¸à¸²à¸£à¸„ลัง โดยปรับปรุงองค์ประà¸à¸­à¸šà¹à¸¥à¸°à¹‚ครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางà¸à¸²à¸£à¸„ลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัà¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸«à¹‰à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£ à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸«à¸²à¸£à¸—รัพย์สินให้เà¸à¸´à¸”ประโยชน์สูงสุด à¹à¸¥à¸°à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¸£à¸±à¸à¸§à¸´à¸ªà¸²à¸«à¸à¸´à¸ˆà¸—ี่มีปัà¸à¸«à¸²à¸à¸²à¸™à¸°à¸à¸²à¸£à¹€à¸‡à¸´à¸™

7.บ&agr

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายการเงิน

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

นโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มทำในปีแรก แบ่งเป็น

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง

1.4 เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

1.5 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

1.6 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

1.7.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

1.7.2 เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท

1.7.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

1.7.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

1.8 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

1.9 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย

1.9.1 เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท

1.9.2จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.9.3จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษา

1.10 ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.11 ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554 - 2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิลาเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555

1.13 สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

1.13.2บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค

1.15จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทปเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแทปเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหารและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ

2. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ เช่น เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์, พัฒนาและเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศของกองทัพให้มีความมั่นคง

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายคุณภาพชีวิต

5.นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นางสาวกรรณิกา โกมล สาขา การเงินการธนาคาร 01 รหัสนักศึกษา 54127326011

นโยบาลการเงินของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท

- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท

- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก

2ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ

- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

- SML

3กระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท

+นโยบายการรับจำนำข้าว ที่ให้ข้าวหอมมะลิ เกวียนละ 20,000 บาท และข้าวเจ้า เกวียนละ 15,000 บาท รัฐบาลศึกษามาเป็นอย่างดี เพราะการประกันราคาพืชผลเกษตร ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณ 85,000 ล้านบาท

4ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

5 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เริ่มต้นจาก การรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

6ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

7ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

8แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ

1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพอย่างจริงจัง

2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน

3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

4.พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติ

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.3 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสมตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource) เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

a. สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

b. สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้ จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่ 4 มาตรการ คือ

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

นางสาวปัทมาวรรณ คงถาวร การเงินการธนาคาร01 54127326040

นโยบายการเงินรัฐบาล ของนายก อภิสิทธิ์

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank ( เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้น

- งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

- อัดชีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ )

- ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว (น้ำชาแต่ยังไม่ได้ทำจริง)

-ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

-ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างใน ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

- ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพ ราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

- เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

-จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

- ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

- การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

- ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

- กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

- ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด

- ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

- จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน

- สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการ เจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

- สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอา เซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและ การเงินในภูมิภาค

- พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความ ผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

- ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของ แผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและ เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

- ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

- กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาด ใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

- ประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาค เอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศ ใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่ง ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

- ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว

- ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

- ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่าง ประเทศ

- ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

-เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

- สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบ ประมาณได้อย่างรวดเร็ว

นโยบายการเงินรัฐบาล ของ นายก ยิ่งลักษณ์

-ขึ้นค่าแรง เงินเดือน แก่ลูกจ้าง

-แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

-ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

-จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

-ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

-ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

-พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

- ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

-จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

-ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

-ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

-เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

-จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

-จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

-เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว

-ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

-ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน

นาย ฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์

อาจารย์ครับ

ผมขอส่งงานใหม่นะครับ พอดีว่าส่งไปมันขึ้นไม่ครบ

ขอความกรุณา ให้อาจารย์ตรวจงานนี้นะครับ ขอบพระคุณครับ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.2เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.3เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

สำหรับนโยบายเศรษฐกิจ ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ สามารถสรุปได้ดังนี้

1.จะทำโครงการลงทุน 300,000 ล้านบาท เพื่อขยายระบบชลประทานทั่วประเทศ โดยจัดทำแผนแม่บทการกระจายน้ำของประเทศ (Water Grid) เพื่อทำโครงการต่างๆ ให้เสร็จภายใน 5 ปี

2.จัดงบประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท เพื่อประกันภัยพืชผลในสินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และ ยางพารา

3.ตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบทเป็นจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท โดยแต่ละตำบลจะได้เงินประเดิม 1-2 ล้านบาท

4.ลดต้นทุนสินค้าอุปโภคบริโภค โดยยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งกองทุนน้ำมันฯเฉพาะน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ สำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าน้อยไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ได้ส่วนลดเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยฟรีค่าไฟฟ้า 15 หน่วยแรก และงดเก็บค่าบริการ ตลอดจนตรึงราคาก๊าซหุงต้ม

5.ลงทุน 450,000 ล้านบาท ในระบบขนส่งมวลชนและระบบรถไฟ สร้างรถไฟรางคู่ไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศเพื่อการขนผู้โดยสารและสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกลง สร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเชื่อมประเทศไทยกับอินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้นและค่าใช้จ่ายถูกลง นอกจากนั้นจะดำเนินโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) ในภาคใต้เพื่อเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างงานและรายได้แก่ประชาชน

6.จะจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการเฉพาะ โดยจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมข้าวครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมน้ำตาลครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมมันสำปะหลังครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาห กรรมและเทคโนโลยีสะอาด อีสเทิร์น ซีบอร์ดครบวงจร

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีลาดกระบัง

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การค้าชายแดน ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้โดยมีปัจจัยส่งเสริมการลงทุน เช่น

6.1 ปลอดภาษีนำเข้าสินค้าทุนประเภทเทคโนโลยีสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6.2 ปลอดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 ปี และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ใน 5 ปีต่อมา

6.3 จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ

6.4 จัดให้มีศูนย์บริการภาครัฐครบวงจร

6.5 ตั้งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาสินค้า เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การแปรรูป และการตลาด

6.6 จัดโครงข่ายระบบขนส่งเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตกับโรงงานและการส่งออกหรือกระจายสินค้า

7.จัดตั้งกองทุนการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมให้เอกชนลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในกิจการที่ประเทศไทยมีศักยภาพ โดยให้มีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเป็นกลไกหลักในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และให้มีคณะกรรมการบูรณาการการวิจัยและพัฒนา แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักธุรกิจและสถาบันวิจัยต่างๆ โดยจัดตั้งกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชน ซึ่งรัฐบาลจะร่วมลงทุนในการวิจัยร้อยละ 50 รวมทั้งจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคเอกชนที่ต้องการเข้าร่วมการวิจัย

8.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 ในเวลา 4 ปี

9.ลดภาษีเครื่องจักรนำเข้าที่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ และเทคโนโลยีที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตเหลือร้อยละ 0 ภายใน 4 ปี

10.จัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มการสร้างงาน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนช่วยเหลือ การฝึกอาชีพ และช่วยเหลือด้านปัจจัยพื้นฐานทางการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เครื่องอบ และเครื่องจักรกลทางการผลิต ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้

11.จัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อให้เกษตรกรเช่าที่ดินของรัฐในราคาถูก เพื่อให้ทำ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และสนับสนุนรายได้ให้ถึง 5,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน

12.จัดให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงในรูปสวัสดิการชุมชน

13.ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนให้กับคนยากจน เกษตรกร และครู เป็นต้น โดยจัดให้มี "หมอหนี้" เข้าช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท

14.ออกมาตรการดูแลพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและมีธุรกิจต่อเนื่องในประเทศมาก เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ โดยอาจร่วมทุนกับบริษัทผลิตเครื่องจักรในต่างประเทศ และเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี

นายฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์ สาขา การเงินการธนาคาร 01 รหัสนักศึกษา 54127326010

นาย ฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์

นโยบายการเงิน (ต่อ)

นโยบายการเงินของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.1.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.1.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.1.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.1.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.2 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.2.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท

1.2.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท

1.2.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

1.2.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.3 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

1.4 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย

1.4.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

1.4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

1.4.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ

1.4.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)

1.5 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.6 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

1.7 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.8 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค

1.9 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต

2.นโยบายเศรษฐกิจ

2.1 นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

2.1.1 ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

2.1.2 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้เป็นทั้งแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

2.1.3 พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงโดยการออกมาตรการที่จำ เป็น และปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในระบบการเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

2.1.4 ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

2.1.5 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง

2.1.6 ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน รวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความเปลี่ยนแปลง

2.1.7 บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

2.2 นโยบายสร้างรายได้

2.2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งหลักประกันความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม เชิงสุขภาพและสปา ที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัวในเวลา ๕ ปี

2.2.2 ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง และอื่น ๆ จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

2.2.3 ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศรวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

2.2.4 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูงซึ่งจะต้องสร้างคนที่มีฐานความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย พัฒนา สร้างตราสินค้าใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะงานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน อัญมณี และอื่น ๆ

2.2.5 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

2.2.6 ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ โดยปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสภาวะแวดล้อมของการลงทุนให้เอื้ออำนวยและดึงดูดนักลงทุน

2.2.7 เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้งจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

2.2.8 ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าหลายฝ่าย โดยจัดมาตรการเตรียมพร้อมและให้ธุรกิจและประชาชนไทยสามารถปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่และมีความพร้อมรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

1.3 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1).ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2).เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3).เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก เพิ่มสมรรถนะการควบคุม ป้องกัน วินิจฉัย และบำบัดโรค การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภัณฑ์สัตว์ และการตรวจสอบคุณภาพ

4).พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้าโดยการพัฒนากองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล

5).เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน

6).จัดทำ ระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

7).เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตเร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อยมันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง

8).พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกำไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้างกลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นำในเรื่องราคาโดยเฉพาะตลาดข้าวเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุนภาคเกษตรในต่างประเทศ

9).ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ภาคอุตสาหกรรม

1).ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2).ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัฒนธรรมของชาติเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ อุตสาหกรรมอาหารไทย อุตสาหกรรมการกีฬา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการออกแบบ เป็นต้น

3).พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ อาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

4).สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆส่งเสริมสถาบันเฉพาะทางให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทดสอบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น

5).กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน

6).พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษ และพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าวกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำ หรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7).เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อนรวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

8).ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร อุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงานอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนและสะอาด ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และก๊าซธรรมชาติ (NGV)

9).สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ความเพียงพอของแหล่งพลังงาน การจัดการของเสีย การจัดการมลพิษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการจัดและวางระบบการผลิตที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

10).เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1).ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่าง ๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

2).สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีคุณภาพที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต

3).สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4).ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวการกีฬา และบริการ โดยเน้นกิจการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

5).ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออกพร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะเทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต และเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ

6).พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกซึ่งพัฒนาจากแนวคิดระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก ลดต้นทุนจากการพัฒนาระบบการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับ โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ตลาดโลกของภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศและศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลในโลก

7).ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลง การค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว พร้อมทั้งวางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ

8).เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาดการลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ตามนโยบายรัฐบาล’ยิ่งลักษณ์’

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ตามนโยบายรัฐบาล’ยิ่งลักษณ์ เร่งด่วน 20 โครงการ วงเงิน 3 แสนล้านบาท ที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณร่วมกันประเมินเบื้องต้น ภายใน 1 ปี ประกอบด้วย

1.นโยบายแก้ไขปัญหาพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร รายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยการพักชำระหนี้ลูกหนี้ในสถาบันการเงินของรัฐที่มีปัญหาการชำระหนี้และ อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ มูลหนี้รวมประมาณ 7.8 หมื่นล้านบาท โดยกระทรวงการคลังจะตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินแทน ลูกหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท

2.การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณสำหรับฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 1,600 ล้านบาท

3.เงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณ 18,000 ล้านบาท

4.การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท จึงคาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับนโยบายนี้ประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาท เพราะตามนโยบายเดิมรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตรา 500 บาทเท่ากันทุกคน ซึ่งใช้งบประมาณปีละ 4.7 หมื่นล้านบาท

5.โครงการเพิ่มเงินทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท โครงการนี้รัฐบาลจะกู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐจำนวน 77,000 ล้านบาท ไปจัดสรรให้แก่หมู่บ้านทั่วประเทศ จากนั้นก็ทยอยตั้งงบชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินของรัฐให้ ครบภายใน 5 ปี โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2555 จะต้องตั้งงบเพื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

6.การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท ซึ่งในปีแรกคาดว่าจะตั้งงบประมาณให้แก่จังหวัดนำร่อง 2,000 ล้านบาท

7.โครงการกองทุนตั้งตัวได้ 1,000 ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายย่อย คาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณในปี 2555 สำหรับมหาวิทยาลัยจำนวน 1,800 ล้านบาท

8.โครงการกองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะจัดสรรงบประมาณให้หมู่บ้านขนาดเล็กจำนวน 300,000 บาท หมู่บ้านขนาดกลาง 400,000 บาท และหมู่บ้านขนาดใหญ่ 500,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 21,000 ล้านบาท

9.โครงการรับจำนำข้าวเปลือก เจ้าความชื้นไม่เกินร้อยละ 15% ตันละ 15,000 บาทและข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่ราคา 20,000 บาท โครงการนี้รัฐบาลจะกู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐมาให้โรงสีใช้ในการรับจำนำ และจะตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานและชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ประมาณ 13,000 ล้านบาท

10.โครงการสนับสนุนการ พัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิต สินค้าในท้องถิ่น และโครงการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณจำนวน 1,900 ล้านบาท

11.โครงการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาท รักษาทุกโรค คาดว่าจะใช้งบประมาณ 115,000 ล้านบาท

12.การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 คาดว่าจะใช้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท

13.โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ คาดว่าจะใช้งบประมาณในปี 2555 จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท

14.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร คาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับค่าบริหารจัดการและค่าดอกเบี้ยแทนเกษตรกรจำนวน 2,100 ล้านบาท

15.การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท

16.การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และฟื้นฟูประชาธิปไตย จำนวน 100 ล้านบาท

17.การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด 7,300 ล้านบาท

18.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จำนวน 100 ล้านบาท

19.การฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ จำนวน 300 ล้านบาท

20.การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ประกาศให้ปี 2552-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) จำนวน 1,300 ล้านบาท

นายฉัตรชัย มาศรังสฤษดิ์ สาขา การเงินการธนาคาร 01 รหัสนักศึกษา 54127326010

ผมขอส่งงานใหม่นะครับ ที่ส่งไปมันขึ้นไม่ครบครับ ขอบคุณครับ

(หน้า1)

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และ นายก ยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง การดำเนินมาตรการของเจ้าหน้าที่ทางการเงินในการควบคุมปริมาณเงิน (Money Supply) และปริมาณสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเป้าหมายหลักของการดำเนินมาตรการทางการเงินได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศการจ้างงาน และการรักษาดุลยภาพทางการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกตินโยบายการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือ

1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expantionary Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว สภาพคล่องในระบบตึงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีการจ้างงานไม่เต็มที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการในลักษณะที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นหรือขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อาทิ การซื้อคืนพันธบัตร การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) และการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวลดลง ทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น

2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวเร็วเกินกว่าที่ทรัพยากรในประเทศจะสามารถรองรับได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบลดลง อาทิ การนำพันธบัตรออกขาย การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน การกำหนดสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก การควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อ และในกรณีที่รุนแรงที่สุด คือ การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายการดำเนินนโยบายในลักษณะนี้จะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนและเศรษฐกิจชะลอตัวลงในที่สุด

นโยบายนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึดหลักการ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น

1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อย

1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน

1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ

1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง

1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง

1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม

1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน

1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” “บ้านรัฐสวัสดิการ” และ “ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก

1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.15 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเร่งรัดโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตร เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล รวมทั้งเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

1.16 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยประกาศให้ปี 2551 – 2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”

1.17 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินและประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและพอเพียง

1.18 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร การบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งระบบประปาที่ถูกสุขอนามัย เพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำโดยการพัฒนาระบบชลประทานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชลประทานระบบท่อ

1.19 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ธุรกิจเอกชน และชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับครัวเรือน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้

2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การให้หลักประกันขั้นพื้นฐานของบริการสาธารณะของรัฐภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ การมีสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต และประชาชนมีความสุข โดยจะดำเนินการ ดังนี้

2.1 นโยบายการศึกษา

2.1.1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างมีบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.1.2 พัฒนาหลักสูตร ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

2.1.3 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบการเรียนการสอนให้โรงเรียนอย่างทั่วถึง

2.1.4 ดำเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อผ่านกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

2.1.5 สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ และเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสาขาต่าง ๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพและการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ด้วยความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง ตลอดจนให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล

2.1.6 ขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2.2 นโยบายแรงงาน

2.2.1 เร่งฝึกอบรมและพัฒนาคนที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ภาคการผลิตและบริการที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

2.2.2 จัดให้มีระบบเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างอื่นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมทั้งจัดให้มีการจ้างงานใหม่โดยเร็ว

2.2.3 ให้การคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน พร้อมทั้งจัดระบบการคุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น

2.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

2.3.1 เพิ่มคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค พร้อมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพทั่วถึงและครบวงจร ทั้งการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ

2.3.2 จัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต และอุบัติเหตุจากการจราจร พร้อมทั้งนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ

2.3.3 ดำเนินการระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่และระบาดซ้ำในคน พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.3.4 เพิ่มแรงจูงใจและขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการเฝ้าระวังโรคในชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด

2.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

2.4.1 อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและนำหลักธรรมของศาสนา มาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.4.2 ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความรู้และความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโบราณสถานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระดับโลก

2.4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้ วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ

2.4.4 ขยายบทบาทสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดให้เป็นกลไกเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทั้งวิถีชีวิตและสื่อทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม ขยายสื่อดีเพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเท่าทันสถานการณ์

2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม

2.5.1 ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานและใช้ประโยชน์จากกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนพัฒนาชุมชน และกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เป็นพลังร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

2.5.2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการปลูกฝังความรู้ที่ทันโลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนาของสมอง

2.5.3 สร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็ก สตรี และคนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดลิทธิเด็ก สตรี และคนพิการในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม และส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรีและคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.5.4 เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมในช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ขยายฐานการให้เบี้ยยังชีพแก่คนชราที่ไม่มีรายได้ และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาประเทศโดยระบบคลังสมอง

2.5.5 สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ในสังคมเมือง โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. นโยบายเศรษฐกิจ

รัฐบาลจะบริหารจัดการเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมดุลและเข้มแข็ง ทั้งในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยวางโครงสร้างพื้นฐานด้านองค์ความรู้ มีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ พลังงาน และระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะดำเนินการ ดังนี้

3.1 นโยบายการเงินการคลัง

3.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ โดยดูแลเงินเฟ้อและค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด ส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคการเงินในประเทศ และส่งเสริมศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงของภาคเอกชน

3.1.2 รักษาวินัยการคลังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่น ฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดินทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ปรับปรุงระบบภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3.1.3 ส่งเสริมให้มีระบบการออมระยะยาว เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอกับการดำรงชีพในยามชรา รวมทั้งเป็นการสร้างฐานเงินออมเพื่อการระดมทุนของประเทศในอนาคต

3.1.4 วางระบบการดูแลและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เป็นสถาบัน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการส่งเสริมศักยภาพของสาขาการผลิตที่จำเป็น และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3.1.5 ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดทุนให้ทัดเทียมกับตลาดหลักในภูมิภาคและตลาดโลกทั้งด้านธรรมาภิบาล ราคา และคุณภาพ โดยให้ความสำคัญแก่การปรับปรุงมาตรการสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนการออมของประเทศ การเพิ่มบทบาทของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และการจัดให้มีกลไกเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาตลาดทุนให้ประสานสอดคล้องกับการพัฒนาตลาดเงิน

3.1.6 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้สามารถเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างฐานรายได้และมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ตลอดจนกำกับดูแลการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งการจัดทำและแยกบัญชีเชิงสังคม ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานในมาตรฐานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

3.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

3.2.1 ภาคเกษตร

3.2.1.1 เร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของการทำประมง ปศุสัตว์ และพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งสนับสนุนการผลิตพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทน และสนับสนุนการผลิตสินค้าใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น พืชเส้นใย และสมุนไพร เป็นต้น

3.2.1.2 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยการแปรรูปที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลเพื่อเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการเกษตร โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้มีระบบป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน

3.2.1.3 เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในพื้นที่ชนบทและเมือง เพื่อขยายตลาดของสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก

3.2.1.4 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในระดับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่งเสริมการขยายกระบวนการเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ โดยเกษตรกรและชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางด้วยตนเอง

3.2.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรทั้งในด้านการรวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสภาเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวางแนวทางพัฒนาการเกษตรและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้วยตนเอง

3.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

3.2.2.1 พัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยการยกระดับความสามารถ ทักษะแรงงาน การบริหารจัดการของผู้ประกอบการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการภายในกลุ่มอุตสาหกรรม บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

3.2.2.2 พัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความได้เปรียบ เช่น อาหาร เหล็ก ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้เป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิพิเศษกับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่

3.2.2.3 สร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมาตฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่สินที่ผลิตในประเทศไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อัญมณี และเครื่องประดับ และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้มาตรการด้านการตลาดและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3.2.2.4 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการและความรับผิดชอบต่อสังคม

3.2.2.5 ส่งเสริมและขยายบทบาทศูนย์บ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

3.2.2.6 จัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและใช้พลังงานน้อย รวมทั้งขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

3.2.3.1 เร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยฟื้นฟู พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า และกลุ่มที่มีความสนใจด้านระบบนิเวศ วัฒนธรรมท้องถิ่น แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นต้น และดูแลให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ

3.2.3.2 พัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค เช่น ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจ การประชุมและแสดงสินค้า การศึกษานานาชาติ การก่อสร้าง ธุรกิจภาพยนตร์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ การเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน มาตรฐานธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการขยายตัวของธุรกิจ และการส่งเสริมด้านการตลาด

3.2.3.3 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการที่เน้นความสำคัญของศักยภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งความสามารถทางด้านบุคลากรเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการ

(หน้า2 ต่อ)

3.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

3.2.4.1 ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

3.2.4.2 ดำเนินการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง โดยมุ่งเน้นการส่งออกสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาดใหม่

3.2.4.3 ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางด้านการค้าในระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขยายตลาดการค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดน

3.2.4.4 ทบทวนการจัดตั้งสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศและปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการด้านการค้าของประเทศให้เป็นไปอย่างบูรณาการ โดยเชื่อมโยงกลไกในระดับนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้แก่ธุรกิจภาคเอกชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

3.2.4.5 สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ

3.2.4.6 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ

3.3 นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ

3.3.1 พัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค บริการสื่อสารโทรคมนาคม และที่อยู่อาศัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

3.3.2 พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชนสินค้าและบริการ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการขนส่งระบบรางให้เชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก

3.3.3 พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณพื้นที่ภาคใต้ พัฒนาท่าเรือชุมชน และกองเรือไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในภาคขนส่ง เชื่อมโยงประตูการค้าใหม่และสนับสนุนการท่องเที่ยว

3.3.4 พัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชียและโลก

3.4 นโยบายพลังงาน

3.4.1 สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเร่งรัดให้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาพลังงานทั้งจากในประเทศ เขตพื้นที่พัฒนาร่วม และจากประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ

3.4.2 ส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้มีราคาพลังงานที่เหมาะสม เป็นธรรม และก่อให้เกิดการแข่งขันลงทุนในธุรกิจพลังงาน โดยมีมาตรฐาน คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยที่ดี

3.4.3 พัฒนาและวิจัยพลังงานทดแทนทุกรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการตัดสินใจพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและพลังงานที่สอดคล้องกับท้องถิ่น

3.4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคประชาชน โดยมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสม

3.4.5 ส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน

3.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.5.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

3.5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มีกลไกสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค

3.5.3 สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงข้อมูล การบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ การเตือนภัยและความมั่นคงของรัฐ บริการการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

4. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลให้ความสำคัญแก่บทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสร้างความสุขของประชาชนและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การบริหารจัดการอย่างบูรณาการระหว่างมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการมีบทบาทร่วมของประชาชนและชุมชน โดยจะดำเนินการ ดังนี้

4.1 อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญแก่การใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เศรษฐกิจระดับประเทศและสากลในระยะต่อไป

4.2 เร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรณี โดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศ ควบคู่กับการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเร่งรัดปราบปรามการทำลายป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

4.3 อนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ โดยการยุติการเผาไร่นาและทำลายหน้าดิน การลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและป้องกันการชะล้างทำลายดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งมีการกระจายและจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างเป็นธรรม อนุรักษ์และป้องกันรักษาป่าที่สมบูรณ์ สนับสนุนให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริ สนับสนุนการจัดการป่าชุมชนและส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ และการสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ เช่น การทำฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ

4.4 จัดให้มีมาตรการป้องกันและพัฒนาระบบข้อมูลและเตือนภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และดำเนินมาตรการลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

4.5 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค โดยเฉพาะเร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดทำระบบกำจัดขยะโดยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย

4.6 ส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อารอนุรักษ์พลังงาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด และการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลดการก่อมลพิษและลดภาระของสังคมตามธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

4.7 ส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค เพื่อบรรเทาผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยรัฐบาลจะดำเนินการ ดังนี้

5.1 ส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาระบบวิจัยและพัฒนาเชิงนวัตกรรมที่มีอยู่ให้สนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการ โดยให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัย และพัฒนาต่อยอดและมีการใช้ประโยชน์องค์ความรู้และเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์

5.2 สร้างเสริมความรู้ความคิดของประชาชนทางด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและคุณธรรมให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคการผลิตและบริการ ตลอดจนพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อรักษาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในระบบ รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ขั้นสูงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทย

5.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และสนับสนุนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยเพื่อป้องกันมิให้ไทยถูกเอาเปรียบทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานให้ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ และศูนย์แห่งความเป็นเลิศในสาขาเทคโนโลยีที่สำคัญ

5.4 ปรับปรุงระบบการวิจัยของประเทศให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพัฒนามาตรการจูงใจ และกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจเอกชน และส่งเสริมการลงทุนจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์จากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์

6. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อตอบสนองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน โดยจะดำเนินบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมความร่วมมือและขยายความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกสาขาให้ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสานต่อนโยบายทีมประเทศไทย (Team Thailand) เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเอกภาพ โดยจะดำเนินการ ดังนี้

6.1 ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นต้น

6.2 ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย กรอบความร่วมมือเอเชีย และเพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน

6.3 มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์

6.4 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศและกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีในกรอบพหุภาคีและกับประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวม สร้างกลไกเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวรับผลกระทบและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี

6.5 ดำเนินงานเชิงรุกทางการทูตเพื่อประชาชน วัฒนธรรม และการศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนกับนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา และสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อความเข้าใจอันดีกับองค์กรทางศาสนาอื่น ๆ

6.6 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความเป็นไทย

7. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

รัฐบาลจะรักษาความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทั้งภัยธรรมชาติและความขัดแย้งที่อาจส่งผลกระทบถึงประเทศไทย แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้และสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขสามัคคี สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ และต่อต้านภัยสังคมในทุกรูปแบบ โดยจะดำเนินการ ดังนี้

7.1 เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกประชาชนในชาติให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในชาติ

7.2 เสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง มีศักยภาพในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของชาติ โดยมุ่งพัฒนาความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และเตรียมความพร้อมของกำลังพลในกองทัพ ตลอดจนการผนึกกำลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภารกิจในการพัฒนาประเทศและการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบกติกาของสหประชาชาติ

7.3 เร่งพัฒนาระบบการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ยังไม่มีสถานะที่ชัดเจน เน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองที่ผู้มีอิทธิพลให้การสนับสนุน เพื่อลดขนาดและผลกระทบของปัญหาความมั่นคงระยะยาวให้เหลือน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการจัดการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ไม่มีสถานภาพที่ชัดเจนภายใต้ความสมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงของชาติกับการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐาน

7.4 พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งมุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคง ตลอดจนการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเร่งขจัดเงื่อนไขความไม่เข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง

7.5 ปฏิรูประบบข่าวกรองให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงและการเสริมสร้างผลประโยชน์ของชาติ โดยจัดระบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลเรือน ตำรวจ ทหาร และให้ความสำคัญแก่ข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างแท้จริง

7.6 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤติการณ์ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ

8. นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

รัฐบาลจะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐเพื่อให้ส่วนราชการมีความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และเกิดความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะ และจะปรับปรุงกฎหมายและการยุติธรรม สนับสนุนการพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้

8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

8.1.1 ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

8.1.2 พัฒนาระบบและกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการ ด้วยการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจให้เทียบเคียงหรือแข่งขันได้ในตลาดแรงงาน เพื่อให้ระบบราชการเป็นนายจ้างอันเป็นที่หมายปองของผู้สมัครงาน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอนกำลังคนทั้งภายในระบบราชการและระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ

8.1.3 พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ รวมทั้งจะวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน

8.1.4 พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการเพิ่มเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานและสถานการณ์ค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งปรับปรุงสวัสดิภาพการทำงานและภาระหนี้สิน เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว

8.1.5 เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ภาคราชการเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจแก่ประชาชน

8.1.6 ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยสร้างดุลยภาพระหว่างการกำกับดูแลและความเป็นอิสระของท้องถิ่น โดยไม่กระทบความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการของท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ตลอดจนพึ่งพาตนเองด้วยฐานรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองได้มากขึ้น

8.1.7 สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนขยายการให้บริการที่ครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เชื่อมโยงและบูรณาการกับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่

8.1.8 เร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

8.1.9 สนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการจัดทำงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดวางยุทธศาสตร์การพัฒนาและทิศทางการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน

8.2 กฎหมายและการยุติธรรม

8.2.1 ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ รวมตลอดถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

8.2.2 พัฒนากฎหมายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นของสังคม รวมทั้งจัดให้มี “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย” และ “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศและกระบวนการยุติธรรม

8.2.3 ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานยุติธรรมทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอาชญากรรมและสร้างความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม การใช้เครื่องมือและหลักวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรม เช่น การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด การพัฒนาและจัดให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (ซึ่งเป็นกระบวนการชะลอการลงโทษ เช่น ใช้วิธีการทำงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เป็นต้น) ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก รวมทั้งการพัฒนาระบบและวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม

8.2.4 เสริมสร้างความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ขจัดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม และพัฒนาระบบการพิสูจน์การกระทำความผิดที่มีประสิทธิภาพ

8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว

นโยบายรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะแบ่งออกเป็น 8 ข้อใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ข้อหนึ่งเป็น “นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก” ส่วนอีกเจ็ดข้อที่เหลือคือนโยบายระยะยาว 4 ปี แบ่งออกเป็นนโยบายตามด้านต่างๆ

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

1) นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ

(หน้า3 ต่อ)

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

1.7 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

1.7.2 จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

1.7.3 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

1.8.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

1.8.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

1.9 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

1.10.1 เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

1.10.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

1.10.4 จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

1.11 ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

1.13 สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

1.13.1 สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

1.13.2 บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก

1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร

1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

อาจารย์ครับ ผมขออภัยที่ผมส่งงานช้า ได้ส่งไปแล้ว แต่ไม่ขึ้น ขออภัย ณ.ที่นี้ด้วยครับ

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายของนายก อภิสิทธิ์

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน

1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย

1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ

1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว

1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก

1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ

1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด

1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วนนโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์

นโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

โดยแบ่งเป็นนโยบาย 8 ด้าน คือ

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง ดังนี้

1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้แก่

(1.1) เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดมั่นใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(1.2) เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

(1.3)สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทาน

5.เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

6.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2554 16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

นายอดุลย์ นารอยี

54127326030

การเงินการธนาคาร 01

นางสาวเบญจมาศ มีเจริญ

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีดังนี้

1. นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ด้วยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัคร สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดอง แห่งชาติ ทำงานอย่างอิสระ ได้รับความร่วมมือทุกฝ่ายอย่างเต็มที่

2. เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง

4. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน เช่น การยกเลิกการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันเป็นการชั่วคราว การดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน บนพื้นฐานสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งแก้ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยประกาศให้ ปี 2554-2555 เป็นปี "มหัศจรรย์ไทยแลนด์"

7. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูง อายุ เป็นสวัสดิการของรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยังชีพของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท

8. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร นำระบบจำนำสินค้าเกษตร มาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนวิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับ องค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานราคาสินค้าและบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

10. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ปรับปรุงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

11. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน โดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในที่สาธารณะ และสถานศึกษาที่เหมาะสม

12. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

13. เร่งนำสันติสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากรและปรับปรุง บูรณาการการบริหารจัดการทั้งปวงตามแนวพระราชดำริพระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของศาสนา

นโยบายการเงินรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี มีดังนี้

1.การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร

1.3 ปฏิรูปการเมือง

1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก

1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน

1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง

2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

2.4 สร้างหลักประกัน

2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ผลกระทบกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ

2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก

2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้า

2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ

2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ

3. ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

3.2 กำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ

3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตร

3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

4. จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

ขออภัยที่ส่งช้า ส่งไปแร้วแต่มานเปงภาษาต่างด้าวค่ะ เรยส่งไหม่

เปรียบเทียบนโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์และนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์

1.สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

2. สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

3. พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน

4. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี

5. ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

6. กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นโยบายการเงินรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท