อีกกี่ร้อยปีถึงเราจะมีเครื่องยนต์ด้วยสมองของไทยเอง


เครื่องยนต์ไทย

น้อง....น้องดูซิเราผ่านมากี่คันแล้ว มิซูบิชิ โตโยต้า นิสสัน ฮอนด้า กาวาซากิ คนไทยเรานี่ไม่มีปัญญาที่จะทำเครื่องยนต์ใช้เองหรือ หรือ เพียงต้นแบบก่อนก็ได้นะ จะได้เอาไปทำรถ ทำเรือ ทำเครื่องบิน สารพัดยานต์ยนต์ พี่นี่อาย ๆ คนญีปุ่น ที่เราทำรถใช้ไม่เป็น เรามันเบาปัญญาจริง ๆ หรือ ไม่อยากเชื่อวะ” ผมพูดขณะนั่งรถที่มีเพื่อนรุ่นน้องขับเพื่อไปราชการ เมื่อนานมาแล้ว

พี่ พี่ไปคิดอะไรมาก เราก็ใช้ที่เขาคิดไว้ไม่ดีกว่าหรือ ไม่ต้องลงทุนลงแรง พี่รู้ไหม การวิจัยในเรื่องอย่างนี้ต้องใช้ทุน ใช้เวลา มหาศาล” ไอ้น้องอีกคนที่นั่งอยู่ข้างหลังเข้ามาแจม

ยังไง ยังไง พี่ว่า มันต้องมีนะ ไม่ช้าก็เร็ว วันข้างหน้า ลูกหลานเหลนโหลนมันจะด่าเอานะว่าทำไมบรรพบุรุษของมัน ถึงไม่คิด ไม่ทำ ทำไมจึงเอาจมูกเพื่อนมาหายใจ มันเป็นของที่ต้องใช้อยู่แล้ว” ผมเถียง

พี่ อย่าว่าแต่เครื่องยนต์เลย เครื่องอบลำใย บ้านเรา ยังไปซื้อจากไต้หวันเลย” เพื่อนคนขับรถพูด

 

.”พี่เอ้ยยย มหาวิทยาลัยดังของไทย ยังไม่ติดอันดับร้อยของโลกเลยยย” คนนั่งข้างหลังพูด นี่เมื่อหลายปีมาแล้วนะครับ

เหรอ...เศร้าวะ” ผมหงอย

 

 เรื่องเครื่องยนต์ไทยทำเอง เครื่องยนต์ต้นแบบนี่ ผมฝันมาเป็นยี่สิบสามสิบปี และไม่ได้ข่าวว่าเราทำได้ พูดกับใครก็ถูกสำทับทุกทีไป แล้วก็ฝังใจมานาน ไม่ได้พูดในวงกว้าง วันนี้เช้าพอฟัง กฤษณะ ช่อง 3 พูดที่ไปดูงานที่ฮอนแลนด์เกี่ยวกับการอยู่กับน้ำมา ทางฮอลแลนด์เขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วมบ้านเราเหมือนกัน ประเทศของเขาใช้คอมพิวเตอร์กันมากเป็น อันดับต้น ๆ ของโลก ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ไปจากเราขาดตลาด เขาก็หงิกไปเหมือนกัน แต่กฤษณะบอกว่า ก็ยังดีที่ซิมมือถือ บอกว่า เมดอินไทยแลนด์ ซึ่งผมก็ไม่มั่นใจว่าของไทยด้วยสมองไทย หรือไม่ ฟังแล้วทำให้คิดถึง เครื่องยนต์ต้นแบบที่ฝังใจ ไม่ได้พูดมานาน จึงต้องเขียนระบายไงครับ

 เมื่อสักครู่นี้ลองคลิ๊ก “เครื่องยนต์ต้นแบบ" ในกูเกิ้ล เงียบสนิท แต่ก็ดีใจ ที่กูเกิ้ล บอกว่าบริษัทไทย ด้วยสมองไทยกำลังผลิต แอนดรอยแลปท็อป ยังไม่ได้ไปเสาะหาประวัติเจ้าของ อาจไม่จบปริญญาเหมือนสตีป จอบส์ก็ได้ (555) ผมนี่ภูมิใจกับ ป.4 ไทย ที่ต่อกระจกเป็นเลนส์เอามาย่างไก่ขาย ได้ ภูมิใจกับลุงกำนันที่ไม่ได้จบมหาวิทยลัยที่มีข่าวเมื่อเร็วนี้ว่าแกทำเครื่องยนต์ผลักน้ำได้ และไปจดสิทธิบัตรไว้ แล้ว ภูมิใจกับนวัตกรรมจากน้ำท่วมของชาวบ้าน

 

ประเทศของเราต้องมี อัศวิน ป. 4 ไม่มีปริญญาบัตร คิดทำเครื่องยนต์ต้นแบบให้คนไทยใช้ ภายในร้อยปี” นี่คือวิสัยทัศน์ของผม

 

 ครับก็ได้ระบายแล้ว....อีกร้อยปีข้างหน้า ถ้ายังไม่มีเครื่องยนต์ที่เราทำเองใช้เอง    ผมพ้นผิดนะครับ (555)

อย่างไรก็ดี หากมีข้อมูลใหม่ ในประเด็นนี้ เช่น มีเครื่องยนต์ที่เราทำได้เองแล้ว ก็ช่วยกรุณาบอกกล่าวมาด้วยจะขอบพระคุณยิ่งครับ

หมายเลขบันทึก: 470904เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2011 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับท่านอาจารย์ชัด บูญญา

ประเทศไทยเราดูเหมือนว่าจะก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว แต่มันเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้นครับ ประชากรของเราส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคการเกษตร!อีกส่วนก็อยู่ในภาคอุตสาหกรรมก็จริงครับ แต่อยู่ในฐานะ "ผู้รับจ้างใช้แรงงาน" ไม่อยากใช้คำนี้เลย แต่ก็ไม่รู้จะใช้คำไหนที่มันสื่อและเข้าใจง่ายกว่านี้อีกแล้วครับท่านอาจารย์

ประเด็นนี้คนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเรากำลังอยู่ในภาวะที่ผมเรียกว่า "การหลงระเริง" กับเทคโนโลยี กับสิ่งที่เป็นค่านิยมทางสังคมแบบ "วัตถุนิยม" หลงลืมไปว่าเราอยู่ในฐานะอะไร "ผู้ผลิต ผู้สร้าง" หรือ "ผู้รับจ้างและบริโภค"

พูดเรื่องนี้ให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมฟัง ถึงกับอึ้ง นิ่งกันไปพักใหญ่ (พวกเขาคงกำลังคิดทบทวนอยู่ครับ) สุดท้ายพวกเขาก็เข้าใจได้เอง และผมมักถามพวกเขาว่ามีเทคโนโลยีใดของคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ที่สร้างออกไปขายเป็นเชิงธุรกิจได้บ้างไหม?(คิดกันนานครับ นี่ยังไม่ได้ถามไปถึงขั้นนวัตกรรมเลยนะครับ)

โดยความคิดผมนั้น ผมเชื่อว่าคนไทยเราเก่งไม่แพ้คนชาติใดในโลกจริงๆครับ คนไทยทุกคนศักยภาพ มีพร้อมอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่การบ่มเพาะคนของเราเพื่อเติมขีดความสามารถนั้นยังทำกันแบบว่าไม่เข้าใจใน "ความเป็นมนุษย์" อย่างแท้จริง เราเน้นหนักสิ่งต่างๆกันด้วยเหตุผล ตรรกะ จนสมองซีกซ้ายทำงานอย่างหนัก ในขณะที่สมองซีกขวาฝ่อและห่อเหี่ยว สุนทรียภาพในชีวิต ในความเป็นมนุษย์หดหายกันไป การพัฒนาคนของเราไม่ต่างอะไรไปจากการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำงานเลยครับ คิดวิเคราะห์เองแทบไม่ได้ ยิ่งชีวิตคนทำงานในโรงงานด้วยแล้วน่าสงสารมากครับท่านอาจารย์ ระเบียบ วินัย (ซึ่งก็เป็นสิ่งดีผมเห็นด้วยครับ) แต่มันมักถูกนำมาใช้แบบไม่สร้างสรรค์กันเลย นำมาใช้เป็นประเด็น จับผิด กำหนดบทลงโทษ จนกฎระเบียบเยอะแยะไปหมด สุดท้ายก็เข้าตำราที่เขาว่า "กฎมีไว้ให้แหก" ...เศร้าใจจริง

อีกประเด็นที่ถือว่าสำคัญก็คือ "การได้รับความร่วมมือ สนับสนุนกันอย่างจริงจัง และจริงใจในทุกภาคส่วน" ซึ่งเรื่องนี้ผมประสบพบเจอกับตัวเองมาเยอะครับ บอกเลยว่า "ยังต้องเหนื่อยกันอีกเยอะ" สังคมไทยเราถึงจะเก่ง คิดดี ทำได้ แต่หากไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่มาให้การสนับสนุนก็ "เดี่ยง" ครับ ไม่งั้นก็ "แป๊ก" ไปไม่เป็น ท่านผู้ใหญ่ใจดีไปไหนกันหมด? (จริงๆนะมีครับแต่ส่วนน้อยมากที่คิดถึงประโยชน์ในองค์รวม นอกนั้นเขาไปมุ่งเน้นเรื่องส่วนตนกันหมด อีกอย่างท่านก็คงไม่มีเวลามาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนักครับเพราะเรื่องของท่านเองยังเคลียร์กันไม่ลงตัวเลย)^_^

"คุณบ่มเพาะคนเช่นไร คุณก็จะได้รับผลกรรมเช่นนั้น" หลุดพ้นจากข้อจำกัดเหล่านี้ไปได้ ผมก็ได้แต่หวังว่าเราน่าจะมี "รถยนต์แห่งชาติ" ขายแข่งกับชาติอื่นๆเขาบ้างนะครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ในการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม

  • ลมหนาวพัดมาคราไหน
  • พัดไปไม่ย้อนคืนหา
  • ยังคอยหนาวก่อนย้อนมา
  • ปรารถนาไม่เห็นเป็นจริง เอย

 

เรียนท่านธนากรณ์ และท่านโสภณ

ที่ท่านธนากรณ์มตอบมา ทำให้ผมมีความหวังในความสำเร็จ เชื่อว่ายังมีคนอีกมากมายที่คิดเหมือนเรา ผมก็เชื่อว่าสมองของคนไทยว่าต้องทำได้สักวันหนึ่ง การให้ทำได้โดยรัฐที่ผ่านมา แค่เพียงส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเพียง "ผู้รับจ้างใช้แรงงาน" ตามที่ท่านธนากรณ์ว่าจริง

“ประเทศของเราต้องมี อัศวิน ป. 4 ไม่มีปริญญาบัตร คิดทำเครื่องยนต์ต้นแบบให้คนไทยใช้ ภายในร้อยปี”

ใครที่เป็นคนเก่งที่อยู่ในวิสัยสามารถที่จะคิดได้ ทำได้ คนดีคนที่มีบารมี หน้าบาง ที่อยู่ในวิสัยที่จะนำได้ หนุนได้ อ่านวิสัยทัศน์ของผมแล้ว ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ก็อาจะเป็นร้อย หรือ สองร้อยปีจริง ๆ

“ประเทศของเราต้องมี อัศวิน ป. 4 ไม่มีปริญญาบัตร คิดทำเครื่องยนต์ต้นแบบให้คนไทยใช้ ภายในร้อยปี”

ครับ...การให้อัศวิน ป.4 ไม่มีปริญญาบัตร มาทำเครื่องยนต์ต้นแบบ ก็อาจจะเป็นไปได้ในลักษณะ เอาเครื่องยนต์เก่า ๆ ที่เขามีอยู่แล้ว มาเสริมโน่นปะนี่ ถ้าจะทำแบบร้อยเปอร์เซ็นต์จริง ๆ จบ ป.4 คงไม่สามารถทำได้เพราะต้องใช้ศาสตร์หลายสาขา และต้องใช้ทุนในการคิดค้น เพียงแต่เก่งสารพัดศาสตร์ คงไม่พอ ต้องรวยด้วย หรือ มีคนรวย หรือภาครัฐ มาช่วยสนับสนุน สะเป็คของคนรวยก็ต้องเป็นคนรวย ที่วาดหวังให้ประเทศเจริญก้าวหน้าในระยาว ถ้าเป็นภาครัฐ ก็ต้องมีผู้นำระดับสถาบัน หรือ ระดับชาติที่สายตายาวไกลเกินปกติ

เมื่อสักครู่เข่าไปอ่าน ข้อเขียนของ "คนถางทาง" ในโกทูโนนี้ ทำให้เข่าใจอะไรมากขึ้น จะไปติดตามดูท่านโดยตรงก็ได้ ท่านได้พูดถึงการส่งเสริมงานวิจัยของประเทศไทย ไว้ดังนี้ครับ

"..........เกาหลีเขาเก็บภาษีได้ประมาณ 30% ของ GDP แต่ของเราเก็บได้แค่ 17% (และกำลังจะลดลงเหลือเพียง 15% หลังจากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลดภาษีธุรกิจให้คนรวยจาก 30 เหลือ 20%...ซึ่งจะนับเป็นระดับการเก็บภาษีที่ต่ำที่สุดในโลก..ต่ำกว่าลาว เขมรเสียอีก) ดังนั้นถ้าคิดงบประมาณวิจัยเป็นสัดส่วนกับงบประมาณประเทศจะเห็นว่ารัฐบาลเกาหลีให้ (0.6/0.30 =) 2% ของงบประมาณประเทศ ส่วนไทยเรา (คิดที่ภาษี 15%) ให้งบ (0.2/0.15 =) 1.33% ..จะเห็นว่าเมื่อเทียบกันแบบยุติธรรมตามภาคส่วนแล้ว ไทยเราไม่ได้ให้เงินวิจัยน้อยกว่าเกาหลีเท่าไรเลย ทั้งที่เป็นประเทศที่ยากจนกว่ามาก ส่วนภาคเอกชนนั้นของเรามีการวิจัยน้อยมาก เพราะภาคเอกชนส่วนใหญ่ 90% เป็นบริษัทต่างชาติ ที่มาหากินกับแรงงานราคาถูกของเรา ใครมันจะลงทุนวิจัยให้โง่ งานวิจัยเป็นงานชั้นดี มันสงวนไว้ทำในประเทศแม่เท่านั้น ให้คนของเขามีงานชั้นสูงทำ ส่วนรัฐบาลไทยก็ไปส่งเสริม BOI ให้บริษัทล่าอาณานิคมแบบใหม่อยู่นั่นแหละ เท่ากับสมัครใจไปจ้างเขาเข้ามาจิกหัวเราเป็นทาสนั่นเอง......."

เครื่องยนต์ต้นแบบไม่เกิด ก็เพราะรัฐบาลทุกสมัยไม่ได้มองไกล  และความไร้คุณภาพของสอสอ  หรือไม่ก็ความเห็นแก่ตัว ที่ปล่อยให้คนไทยไปเป็นทาสบริษัทต่างชาติที่มาจิกหัวจ้างอย่างถูก ๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท