หมออนามัย โรคสมองขาดออกซิเจน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ
ความสำคัญของออกซิเจน
ออกซิเจนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพ ปัจจัยที่ทำให้คนเราได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีไม่ได้ เช่นการขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสชาติอร่อย แต่ไม่มีคุณค่า การรับประทานอาหารมากเกินไป การอาศัยในที่อุดอู้เป็นเวลานานๆมลภาวะอากาศเป็นพิษ สารกันบูด และสารพิษอื่นๆที่ปะปนอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน ตลอดจนการบริโภคสารเคมี หรือยารักษาโรค
การมีสุขภาพที่ดี คือ การทำให้ร่างกายสามารถที่จะใช้ออกซิเจนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั่นเอง ในร่างกายของมนุษย์เม็ดเลือดแดงจะเป็นนำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ และเนื้อเยื่อ เพื่อการเจริญเติบโต ในขณะเดียวกัน ออกซิเจนก็เป็นตัวช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านขบวนการ เผาผลาญอาหาร ดังนั้นหากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายของเรามีออกซิเจนอยู่เพียงพอ ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเร่งช่วยการขจัดของเสียจากร่างการอีกทางหนึ่งด้วย ในขณะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา หากคุณมีอาการเหล่านี้ นั่นคือข้อสังเกตได้ว่าร่างกายคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ ภูมิแพ้ ปวดหลัง นอนกรน รู้สึกเครียด รู้สึกกดดัน เหนื่อยง่าย ปวดคอ เป็นหวัด/หวัดใหญ่บ่อยๆออกซิเจนไม่สามารถแยกออกได้จากสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด มันมีความสำคัญสำหรับเซลล์สมองมากเป็นพิเศษ เพราะสภาวะการขาดออกซิเจนจะนำไปสู่ความเสียหายของ เส้นประสาทในสมอง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถจะกักเก็บออกซิเจนไว้ได้ ดังนั้นการได้รับออกซิเจนที่พอเพียงจะทำได้โดยการหายใจที่ไม่ติดขัด สภาวะของการขาดออกซิเจนเป็นสาเหตุของโรคร้ายนานาชนิด
ผลของการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
คอ หลอดอาหารหดตัว โรคเกี่ยวกับโรคทรวงอก
การหายใจ หายใจไม่ค่อยออก นอนไม่หลับโรคนอนกรน
ปอด โรคหืด หลอดลมอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัส เฉียบพลัน
ลำไส้เล็ก ภาวะไม่อยากอาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ระบบการดูดซึมอาหารบกพร่อง
ระบบการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ โรคหัวใจ หัวใจวาย โรคปวดตามข้อ ข้อต่ออักเสบ โลหิตจาง โลหิตเป็นพิษ แผลเรื้อรังเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และแผลเรื้อรังที่ลำไส้เล็กตอนต้น
มะเร็ง เนื้องอก บวมน้ำ ปวดกล้ามเนื้อจากการมีกรดแลกติดสะสม การอักเสบ
ระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ระบบการไหลเวียนโลหิต ชาที่ปลายประสาท อาการตะคริว อ่อนเพลียเรื้อรัง เครียด หดหู่ เป็นกังวล
โรคที่เกิดจากสภาวะการขาดออกซิเจน ได้แก่
โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ โรคข้อ โรคกระดูก โรคความดัน โรคภูมิแพ้ โรหอบหืด โรคไม่เกรน โรคกระเพาะ โรคริดสีดวง โรคไต โรคตับ โรคไทรอยด์ ถุงลมโป่งพอง เหน็บชา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามเส้น อัมพฤกษ์ สิว ฝ้า ประจำเดือนไม่ปกติ การตอกขาว พังผืดในมดลูก ถุงน้ำ ซีส หย่อนสมรรถภาพ ต่อมลูกหมากโต (ความอ่อนแอของร่างกายโดยรวม โรคอ่อนเพลียเรื้อรังปัญหาการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยและดูดซึมอาหารไม่ดี อาการปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ หดหู่ ซึมเศร้า สูญเสียความทรงจำ พฤติกรรมที่ปราศจากเหตุผล อาการระคายเคือง กรดมีในกระเพาะ โรคปวด สภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต โรคเกือบทุกชนิดเกิดมาจาก หรือมีอาการทรุดลงจากสภาวะการขาดแคลนออกซิเจน)
การประเมินสภาพร่างกาย
1.ระบบหายใจ ระยะของเซลล์บกพร่อง ออกซิเจนอย่างอ่อนผู้ป่วยจะหายใจไม่สะดวกต้องนั่งหายใจ กระสับกระส่าย การหายใจไม่สม่ำเสมอหายใจลึกกว่าหายใจออก หายใจหอบ หายใจเข้ามีเสียงปีกจมูกบาน การขาดออกซิเจนระดับรุนแรงผู้ป่วยจะหยุดหายใจ
2.ระบบไหลเวียนเลือด ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาจาเจียน ผิวหนังเริ่มซีดเพราะร่างกายจะตอบสนองชดเชย โดยหลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญขยายตัวเพื่อให้เลือดที่เลี้ยงผิวหนัง ไต ปอด เพราะต้องการออกซิเจนน้อยกว่าและทนต่อการขาดออกซิเจนมากกว่า ผิวหนังสีเขียวคล้ำ โดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า
3.ระบบประสาท การพร่องออกซิเจนผู้ป่วยอาจมีอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย หงุดหงิด ความดันลดลง เพ้อ ชัก หมดสติ
ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เป็นโรคที่สมองขาดออกซิเจนอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดดำไปเลี้ยงสมองมาอุดตัน หรือแตก ทำให้การทำงานของสมองส่วนต่างๆผิดปกติ
สมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมหน้าที่ต่างๆของร่างกาย หากสมองตายไปเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด พฤติกรรม และความทรงจำ นอกจากนี้ยังทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายในส่วนสมองส่วน นั้นควบคุมอ่อนแรง
ความผิดปกติของร่างกายี่เกิดขึ้นจะเป็นมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสมองส่วนใดขาดเลือดไปเลี้ยง และขาดเลือดไปเลี้ยงมากน้อยขนาดใด หากสมองด้านหลังขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นภาพ
แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
ภาวะช็อก
เกิดจากสภาวะล้มเหลวของระบบการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ โดยอวัยวะนั้นไม่ตาย แต่จะสูญเสียหน้าที่ หรือการทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆลดลง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภาวะช็อก คือ ความดันเลือดในหลอดเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ อัตราการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดลดลงหรือช้าลง และปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจน้อยลงไม่เพียงพอ
โรคหัวใจขาดเลือด
เกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดตีบ เกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน
แนวคิด
จะเห็นได้ว่า การที่เราได้รับบาดเจ็บทางอุบัติเหตุ หรือการที่เราเจ็บป่วยด้วยสาเหตุของโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆก็ตาม การเข้ารับบริการสถานบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาล หลายคนมีข้อสงสัยหรือกังขาต่างๆเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ไม่กล้าถามหรือได้รับคำตอบใดๆจากแพทย์ หรือพยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อนำผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลจะเห็นได้ว่า ทุกครั้งจะได้รับการดูแลเรื่องการให้ออกซิเจน เป็นอับดับแรกและรองลงมาเครื่องการให้น้ำเกลือหรือเกลือแร่ทางสายยาง เข้าทางเส้นเลือดก่อน บางคนคิดว่าแพทย์ไม่ได้ทำการรักษาพยาบาลอะไรเลย จริงๆแล้วการรักษาพยาบาล โรคทุกโรคต้องอาศัยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค ไม่ว่าจะเจาะเลือด น้ำเหลือง ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ น้ำไขสันสัน เนื้อเยื่อต่างๆ เสมหะ ทางห้องปฏิบัติการ การเพาะเชื้อ การรอผลตรวจ 24 ชั่วโมง – 48 ชั่วโมง และ72 ชั่วโมง หรือการส่งตรวจเพื่อเอ็กซเรย์ทางร่างกายและสมอง จะเห็นได้ว่าโรคทุกโรคเกี่ยวข้องกับออกซิเจนทั้งสิ้น การเจ็บป่วยทางอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยด้วยโรค ต้องการให้อวัยวะต่างๆในร่างการทำงานและไม่ขาดออกซิเจน เพื่อในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าสภาพร่างกายผู้นั้นไม่รับรู้ความรู้สึกใดๆแต่การให้ออกซิเจนยังช่วยให้ ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือผู้ป่วยโรคนั้นมีลมหายใจอยู่จนสภาพร่างการทนพิษบาดแผลหรือโรคที่เจ็บป่วยนั้นๆ ที่ได้รับบาดเจ็บไม่ไหว เช่น การติดเชื้ออย่างรุนแรง บาดแผลใหญ่ อวัยวะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แตกหัก หรือถูกทำลาย การเสียโลหิตเป็นจำนวนมาก จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และสิ้นลมหายใจ
ไม่มีความเห็น