เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริง ในวิชานวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.)


การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานอันสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าเรื่องสำคัญที่สุดในแวดวงการศึกษาของไทยก็คือการปฏิรูปการศึกษา เพราะในอดีตที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของไทยไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ และนับวันจะรุนแรงและสะสมปัญหาพอกพูนยิ่งขึ้นเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนมีอยู่เฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ ล้อมรอบ มีอาจารย์ซึ่งทำหน้าที่พูด นักศึกษามีหน้าที่รับฟัง และท่องหนังสือหรือยึดตำราเป็นหลัก ไม่สามารถเผชิญและแก้ปัญหาได้เพราะโลกแห่งวิชาในห้องเรียนกับโลกแห่งความเป็นจริงต่างกัน ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๔๕ กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้เด็กเยาวชนและคนไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คิดดี ทำงานได้ดี มีความเป็นไทย สามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลง (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. ๒๕๔๕ : ๑)

บทที่ 1

 

บทนำ

 

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

 

การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานอันสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าเรื่องสำคัญที่สุดในแวดวงการศึกษาของไทยก็คือการปฏิรูปการศึกษา เพราะในอดีตที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของไทยไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ และนับวันจะรุนแรงและสะสมปัญหาพอกพูนยิ่งขึ้นเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนมีอยู่เฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ ล้อมรอบ มีอาจารย์ซึ่งทำหน้าที่พูด นักศึกษามีหน้าที่รับฟัง และท่องหนังสือหรือยึดตำราเป็นหลัก ไม่สามารถเผชิญและแก้ปัญหาได้เพราะโลกแห่งวิชาในห้องเรียนกับโลกแห่งความเป็นจริงต่างกัน ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช  ๒๕๔๕ กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้เด็กเยาวชนและคนไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คิดดี ทำงานได้ดี มีความเป็นไทย สามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลง (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. ๒๕๔๕ : ๑)

               การที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จตามความมุ่งหมายดังกล่าวนั้นต้องถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำให้จำ   ผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปสร้างสรรค์ความรู้ของตนไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้มีการกำหนดให้คณะสังคมศาสตร์ มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะสนองงานคณะสงฆ์โดยพัฒนาคุณลักษณะของพระสังฆาธิการและครูสอนปริยัติธรรมที่พึงประสงค์ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนารู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม อีกทั้งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการที่จะพัฒนาตนเองที่สามารถศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ซึ่งวิชานวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสาระหนึ่งที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ต้องจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อคณะสงฆ์ เพราะตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน วิชานวัตกรรมทางการศึกษา มีความสำคัญยิ่งต่อโลกและการดำเนินชีวิตด้วยเหตุผลประการแรกคือ โลกปัจจุบันเป็นโลกของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเราทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลาไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือให้มนุษย์สะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และประการที่สอง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นพลเมืองทุกคนของประเทศจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันเป็นหน้าที่โดยตรงของการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์

      ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจ จึงได้จัดทำวิจัยในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริงในวิชานวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารกิจการคณะสงฆ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ซึ่งวิจัยเรื่องนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาในการเรียนการสอนที่แตกต่างกันของแต่ละรูปได้พอสมควร              

๑.๒ วัตถุประสงค์การวิจัย

 

เพื่อศึกษาพฤติกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริงในวิชานวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์  คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา

 

๑.๓ สมมติฐานการวิจัย

 

นักศึกษาหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์มีผลการทดสอบการประยุกต์ใช้งานจริงของการเรียนคอมพิวเตอร์ ร้อยละ๗๐ ดีขึ้น

 

๑.๔ ตัวแปรที่ศึกษา

 

ตัวแปรต้น  ได้แก่ พฤติกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริงของนักศึกษา

            ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการทดสอบการประยุกต์ใช้งานจริงของการเรียนคอมพิวเตอร์นักศึกษาหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

๑.๕ ขอบเขตของการวิจัย

 

๑.๕.๑ ขอบเขตด้านประชากร

ประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา จำนวน ๓๗ รูป

๑.๕.๒ ขอบเขตด้านเนื้อหา

คณะผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหา วิชานวัตกรรมทางการศึกษา การพิมพ์สัมผัส การเรียกใช้โปรแกรม Excel , Word การจัดรูปแบบของข้อมูลบนเวิร์กชีต อื่นๆ  ในเรื่องการพิมพ์งาน การปฏิบัติงานอื่นๆ ในแผนการสอนที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 

๑.๖ นิยามศัพท์เฉพาะ

 

พฤติกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริง หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนในคาบเรียนนำไปทำใบงานหรือแบบทดสอบได้ดีตามที่ได้เรียนรู้

วิชานวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง วิชาที่ว่าโดยการเรียนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ กระบวนการทำงาน และ ผู้ใช้งาน

นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาที่เรียนวิชานวัตกรรมทางการศึกษาที่มีการเรียนรู้คอมพิวเตอร์พอสมควรในการใช้งานคอมพิวเตอร์แต่ยังขาดการปฏิบัติงานจริงที่มีประสิทธิภาพ

แบบทดสอบการประยุกต์ใช้งานจริง หมายถึง แบบทดสอบที่ให้นักศึกษาได้ทดสอบแล้วสามารถวัดถึงการประยุกต์ใช้งานจากได้เรียนรู้มาว่าสามารถปฏิบัติได้ดีมากน้อยแค่ไหน

 

๑.๗ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

๑.๗.๑ ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมประกอบการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ในหลักสูตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นสำคัญที่สามารถแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนได้อย่างตรงประเด็น และตรงต้นเหตุของปัญหา

๑๗.๒ ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ทำให้นักศึกษามีทักษะในเรื่องคอมพิวเตอร์และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริงได้ดียิ่งขึ้น

๑.๗.๓ ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้สอนวิชานวัตกรรมทางการศึกษาที่มีความสนใจจะพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 469795เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2011 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท