๒๑๒.กว๊านพะเยาปัญหา และแนวทางที่ควรจะเป็น


สถาบันปวงผญาพยาวและสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้ร่วมจัดทำโครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งด้านกฏหมายแก่ประชาชน ศึกษากรณีชุมชนรอบกว๊านพะเยา มีข้อค้นพบเบื้องต้นจากการวิจัย ๖ ประเด็น ดังนี้

     จากการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย เมืองพะเยาเมื่อวานนี้ (๑๘ พย.๕๔) ซึ่งผู้เขียนรับเป็นเจ้าภาพ โดยจัดที่อาคารเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี วัดศรีโคมคำ ได้มีการพูดคุยกันในหลายประเด็น สถาบันปวงผญาพยาวซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นจุดประกายคิด จัดมาแล้วหลายครั้ง ผู้เขียนสังเกตุมาหลายรอบแล้ว คิดว่า น่าจะมีการปรับปรุงทั้งวิธีการนำเสนอและควรมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ ไม่ควรปล่อยประเด็นให้ยืดเยื้อและวกวนซ้ำไปมา จนหาที่ลงไม่ได้ คือ

     ๑.ที่ประชุมต้องช่วยกันหาข้อมูลที่นักวิชาการรุ่นก่อน ๆ ได้ทำเอาไว้แล้ว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ามากกว่า ๘๖ เรื่อง.......หรือง่ายที่สุดก็ควรนำเรื่องของแต่ละท่านที่เคยทำมาแล้ว

     ๒.ควรสรุปประเด็นในแต่ละเรื่องเอาไว้สัก ๓ หน้ากระดาษแล้วนำมาเสนอเพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนว่า มีใครทำอะไร? ที่ไหน? เมื่อไหร่?.

     ๓.ให้คัดเรื่องที่น่าสในใจขึ้นมาสัก ๑๐ เรื่อง

     ๔.ให้เจ้าของเรื่องได้นำเสนอ โดยจัดเวทีให้

     ๕.จากนั้น ก็หาประเด็นที่ต้องทำงานเรื่องกว๊านพะเยาในมิติไหนก็ได้ ซึ่งที่ประชุมได้มีความคิดเห็นว่าจะทำร่วมกันได้ เป็นประเด็น ๆ ไปในแต่ละปีงบประมาณ

     อย่างไรก็ตาม คุณสหัสยา วิเศษ นักวิชาการของสถาบันปวงผญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ได้นำเสนอสิ่งที่พบเห็น ดังนี้

     จากเวทีสานเสวนาหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหารอบกว๊านพะเยา ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านกฏหมายแก่ภาคประชาชน (Legal Empowerment) จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ ๑-๒ กุมภา ที่ผ่านมา ในเวทีจำนวนกว่า ๖๐ คน ได้หาทางออกร่วมกัน (Public deliberation) การทำฉากทัศน์ (Scenario) ของกว๊านพะเยา ทั้งที่อยากเห็นและสิ่งกังวล พบว่าผู้เข้าร่วมได้กำหนดภาพฝันและวิสัยทัศน์ในการจัดการ ๓ ด้านคือ

     ๑.ความสวยงามของกว๊านพะเยา -การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและจัดภูมิทัศน์กว๊านพะเยาทั้งนอกและในกว๊านให้สอดคล้องกับผังเมืองและวิถีชีวิตของชุมชน

     ๒.การใช้ประโยชน์จากน้ำกว๊านพะเยา-การใช้ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าอย่างสมดุล เหมาะสม และยั่งยืน

     ๓.การบริหารจัดการที่มีส่วนร่วม-จัดให้มีธรรมนูญกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสอดคล้องกับวิถีชีวิต

     และทางสถาบันปวงผญาพยาวและสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้ร่วมจัดทำโครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งด้านกฏหมายแก่ประชาชน ศึกษากรณีชุมชนรอบกว๊านพะเยา มีข้อค้นพบเบื้องต้นจากการวิจัย ๖ ประเด็น ดังนี้

๑)การมีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนากว๊านพะเยา

  • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากว๊านพะเยา ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

  • การพัฒนากว๊านพะเยาไม่ต่อเนื่อง ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และวิถีของชุมชน มีกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มเสียผลประโยชน์ในการพัฒนา ตลอดถึงการผูกขาดการพัฒนากว๊านของหน่วยงานภาครัฐ

  • แผนงาน/โครงการพัฒนากว๊าน ถูกกำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของชุมชน

  • คณะกรรมการพัฒนากว๊านพะเยา ที่ถูกแต่งตั้งโดยผู้ว่าฯ มีสัดส่วนของภาคประชาชนน้อย และไม่ได้เป็นตัวแทนของชุมชน อีกทั้งชุมชนไม่ได้รับรู้และเห็นถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงานของคณะกรรมการฯ

  • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกว๊านพะเยา มีหลายหน่วยงาน แต่ทำงานแบบแยกส่วน ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขาดการบูรณาการทั้งแผนงาน งบประมาณ และบุคลากร ส่งผลให้ไม่มีเจ้าภาพหลักในการพัฒนา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้ปฏิบัติงานจริงจัง คิดแบบเดิม ทำแบบเดิม การพัฒนากว๊านไม่มีความก้าวหน้า

  • การโยกย้ายข้าราชการ หรือหมดวาระโดยเฉพาะระดับผู้บริหาร เช่น ผู้ว่าฯ นายกเทศบาบ นายก อบจ. มีผลต่อการตัดสินใจและเปลี่ยนแปลงนโยบานในการพัฒนา

  • มีปัญหาข้อขัดแย้ง และข้อคิดเห็นในการพัฒนากว๊านที่หลากหลาย แต่ไม่มีเจ้าภาพในการนำปัญหาข้อขัดแย้งมาพูดคุยเพื่อหาทางออกในการบริหารจัดการ

  • ไม่มีช่องทางในการสื่อสารในการพัฒนากว๊านให้กับชุมชน การเปลี่ยนแปลงกว๊านที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการพัฒนาไม่มีความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น เช่น พญาคหน้าลานพ่อขุน (สิ่งแปลกปลอม) การปลูกต้นปาล์มที่ไม่ใช่ต้นไม้ท้องถิ่น ฯลฯ

  • เสียงสะท้อนหรือข้อคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกว๊าน ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติและไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

๒)ระบบนิเวศ

  • เกิดความเสื่อมโทรม ได้แก่คุณภาพน้ำต่ำ น้ำเน่าเหม็นในบางจุด พันธุ์ปลาและสัตว์น้ำลดลง บางชนิดสูญพันธุ์ ส่งผลต่อการประกอบอาชีพประมงลดลงและชาวประมงหันไปประกอบอาชีพอื่น

  • การกำจัดผักตบชวาและวัชพืช (ปึ๋ง) -การกำจัดไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ งบประมาณในการกำจัดมีทุกปี แต่ทำงานไม่เป็น และทำเพียงจุดเดียว ไม่ใช่ทั้งระบบ -ผักตบชวามีประโยชน์ต่อกลุ่มหัตถกรรมในการจักสานกระเป๋า และของที่ระลึก แต่ขาดการให้ความสำคัญในการจัดการ

  • การแพร่กระจายของสาหร่ายพิษ ที่มีสาเหตุมาจาก -น้ำเน่าเสียจากระบบการระบายน้ำของเทศบาลเมือง -สารเคมีจากการเกษตรในบริเวณต้นน้ำ -ปริมาณน้ำกว๊านมีน้อย มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย

  • การแพร่กระจายของปลาชะโดในกว๊าน ซึ่งกินปลาเล็ก ปลาน้อยชนิดอื่น ๆ

  • หน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เข้าใจระบบนิเวศของกว๊านและแม่น้ำอิง ควรจัดการนิเวศทั้งระบบ ไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่ง

๓)การท่องเที่ยว

  • ภาครัฐสนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณฝังเมือง แต่ขาดความต่อเนื่องในการสนับสนุนการท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกของกว๊านที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม เช่น หาดพัทยาบ้านสันหนองเหนียว โบราณสถานบ้านร่องไฮ ท่าเรือโบราณบ้านตุ่น ฯลฯ

  • ถนนรอบกว๊านในฝั่งตะวันตกยังไม่มีความปลอดภัย มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยจากการขับรถเร็ว เป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น สุรา และไม่ไปเรียน อีกทั้งถนนยังเป็นคันไม่ให้น้ำกว๊านไหลสะดวกเมื่อฝนตกหนัก น้ำกว๊านระบายไม่ทันทำให้เน่าเสีย น้ำท่วมนาข้าว และท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมกว๊าน

  • ปรับภูมิทัศน์กว๊านพะเยาในบางจุดที่ทรุดโทรม เช่น ทำป้าย "กว๊านพะเยา" ซ่อมแซมศาลาที่พักในสวนสมเด็จย่าฯ ปรับภูมิทัศน์บริเวณสวนสาธารณะ มีถังขยะ การแยกขยะ จัดทำซุ้มขายของให้เป็นสัดส่วน มีที่เก็บของเพื่อป้องกันขโมยและทำป้ายร้านอาหาร ลงทะเบียนแม่ค้า ทำบัตรอนุญาตติดหน้าอก ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข

  • สิ่งปลูกสร้างหน้ากว๊าน ผังเมือง ไม่มีความสอดคล้อง ไม่มีความหมายกับอัตลักษณ์ของความเป็นพะเยา เช่น พญานาค น้ำพุดดนตรี

  • บริเวณหน้ากว๊านพะเยา มีปัญหาวัยรุ่นดื่มสุรา ขี่จักรยานยนต์เสียงดัง ขยะ และเศษขวดแก้ว ที่ผ่านมามีการแก้ไขปัญหา แต่ไม่ตรงจุด เช่น ห้ามนำอาหารมารับประทานบริเวณหน้ากว๊าน การแก้ไขปัญหาหนึ่งนำไปสู่ปัญหาใหม่

  • ไม่มีการสร้างอัตลักษณ์พิเศษให้กว๊านพะเยา เป็นการอนุรักษ์เชิงพัฒนา และเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ปลานิล ปลาส้ม ซึ่งนำมาจากที่อื่น(อำเภอพานและภาคกลาง)

๔)ที่ดินรอบกว๊าน

  • แนวเขตไม่ชัดเจน มีการบุกรุกพื้นที่กว๊าน โดยการจับจองและออกโฉนดที่ดิน เมื่อได้โฉนดก็ขายให้นายทุนต่างชาติ ส่งผลให้กว๊านลดลงจาก ๑๒,๘๐๐ ไร่ เหลือเพียง ๑๒,๐๐๐ ไร่

  • กฏหมายไม่ชัดเจน เปิดช่องให้ผู้มีอำนาจและมีเงิน ออกโฉนดในเขตกว๊าน

  • หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจังต่อเนื่อง ปล่อยให้ค้างคา

๕)กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกว๊าน

  • กฏหมายล้าสมัย ไม่ทันต่อสถานการณ์ กฏหมายไม่ชัดเจน มีช่องว่าง เปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ถ้าขัดผลประโยชน์จะถูกกลั่นแกล้ง

  • กฏหมายของแต่ละหน่วยงานมีความขัดกัน แต่ละหน่วยงานต่างยึดกฏหมายของตนเองในการปฏิบัติงาน

  • ชุมชนไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมาย และการปฏิบัติของภาครัฐ

๖)งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับกว๊าน

  • มีงานที่ศึกษาเกี่ยวกับกว๊านพะเยาและบริบทโดยรอบพื้นที่กว๊านในเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ นันทนาการ ความหลากหลายของพืช สัตว์ ฯลฯ จากหลายหน่วยงานตลอดจนถึงวิทยานิพนธ์ในระดับต่าง ๆ แต่ไม่มีการเผยแพร่(เท่าที่ควร)
  • รูปแบบในการทำงานวิจัยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเพื่อวิจัย ขาดการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติอย่างจริงจัง
  • การใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมา จะกระจุกกับกลุ่มที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจเท่านั้น ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อสังคม ชุมชนพะเยา
  • ไม่มีสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล งานวิจัย และผลการศึกษาของกว๊านเพื่อให้ผู้สนใจหรือประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล ความรู้

     ...นี้คือสภาพปัญหาของการบริหารจัดการกว๊านพะเยาปัจจุบันและที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งผู้เขียนก็หนักใจอยู่มิใช่น้อย...

 

หมายเลขบันทึก: 468675เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชีวิตเหมือนเกลื่อนดาวในราวฟ้า

ลอยเวหากลางหาวคราวมองเห็น

มีเบื้องหลังความเงียบอันเยียบเย็น

บางดาวเร้นหลีกหายลับสายตา

 

  • นมัสการครับ
  • แก้ปัญหาและหาจุดบกพร่องร่วมกัน
  • เพื่อธรรมชาติแหล่งใหญ่แห่งนี้เลยนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้ครับพระคุณท่าน

เจริญพรอาจารย์โสภณ กลอนไพราะดี มีสาระ น่าประทับใจ ขออนุโมทนา

เจริญพรพี่หนานวศิน การพัฒนาควรมีการวิจัยรองรับ แต่วิจัยไม่แน่ว่าต้องเพื่อการพัฒนาด้วยหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท