VeryHistory
VeryHistory เรื่องเล่า ….เล่าเรื่อง | Story

คุ้มหลวงและคุ้มแก้วเมืองนครลำปาง


คำว่า "คุ้ม" ในภาษาล้านนานั้นมีความหมายถึงวังของเจ้านาย แต่ถ้าเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองนครนั้นจะเรียกกันว่า "คุ้มหลวง" เหมือนกันทุกเมือง แต่ "หอคำ" หรือ "ตำหนักทอง" ซึ่งมีอยู่ที่เมืองนครลำปางและนครน่านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์อธิบายไว้ใน "บันทึกชี้แจงเรื่องคุ้มหลวงเมืองนครลำปาง"
คำว่า “คุ้ม” ในภาษาล้านนานั้นมีความหมายถึงวังของเจ้านาย แต่ถ้าเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองนครนั้นจะเรียกกันว่า“คุ้มหลวง” เหมือนกันทุกเมือง แต่ “หอคำ” หรือ “ตำหนักทอง” ซึ่งมีอยู่ที่เมืองนครลำปางและนครน่านนั้น

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์อธิบายไว้ใน “บันทึกชี้แจงเรื่องคุ้มหลวงเมืองนครลำปาง”

“…ที่คุ้มหลวง…นี้เห็นจะเป็นที่เจ้าเมืองนครลำปางอยู่สืบกันมาตั้งแต่เจ้าฟ้าชายแก้ว ปรากฏแต่ว่า เมื่อพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ครั้นเมื่อไทยรบพุ่งขับไล่พม่าไปจากเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดให้พระยากาวิละย้ายไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทรงตั้งพระยาคำโสมน้องพระยากาวิละคนที่ 2 เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง พระยานครลำปางคำโสมก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ต่อมา ถึงรัชชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระยาดวงทิพน้องพระยากาวิละคนที่ 3 เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง ก็อยู่ในที่คุ้มหลวงนี้ ในรัชชกาลที่ 2 นั้น ทรงสถาปนาพระยานครลำปางดวงทิพให้มีเกียรติยศสูงขึ้นเป็นพระเจ้านครลำปาง เหมือนอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เคยทรงสถาปนาพระยาเชียงใหม่กาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่เคยสร้างเวียงแก้ว (คือทำนองเป็นอย่างวัง) ขึ้นประดับเกียรติยศ เมื่อพระยานครลำปางดวงทิพได้เป็นพระเจ้านครลำปาง ก็สร้าง “หอคำ” (แปลว่าตำหนักทอง) ขึ้นประดับเกียรติยศในที่คุ้มหลวงนั้น

แต่นั้นมาบริเวณที่คุ้มหลวงจึงมีชื่อเรียกเป็น 2 ตอน เรียกว่าที่หอคำตอน 1 คงเรียกว่าที่คุ้มหลวงตอน 1 แต่ที่ทั้ง 2 ตอนนั้นอยู่ในบริเวณที่อันเดียวกัน ต่อจากพระเจ้านครลำปางดวงทิพมา พระยาชัยวงศ พระยากันทิยะ พระยาน้อยอินทร ล้วนเป็นบุตรพระยานครลำปางคำโสม ได้เป็นเจ้าเมืองนครลำปางต่อกันมา 3 คนจนตลอดรัชชกาลที่ 3 ถึงรัชชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกตำแหน่งพระยานครลำปางขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช และทรงตั้งเจ้าวรญาณรังสี บุตรพระยานครลำปางคำโสมอีกคน 1 เป็นเจ้าเมืองนครลำปาง เจ้าเมืองนครลำปางทั้ง 4 คนนี้ก็อยู่ในคุ้มหลวงทุกคน ถึงรัชชกาลที่ 5 เมื่อเจ้าวรญาณรังสีถึงพิราลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งบุตรของพระเจ้านครลำปางดวงทิพ ขึ้นเป็นเจ้าพรหมาภิพงศธาดา เจ้าเมืองนครลำปาง ได้ยินว่า เจ้าพรหมาภิพงศธาดาปลูกเรือนอยู่ในที่ตอนหอคำไม่ได้มาอยู่ทางตอนคุ้มหลวง สันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นด้วยไม่อยากจะไล่ครอบครัวของเจ้าวรญาณรังษี แต่ก็อยู่ในบริเวณอันเดียวกันดังกล่าวมาแล้ว

หมายเลขบันทึก: 468522เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท