เฝ้าระวังจุลินทรีย์ดื้อยา


เรากลัวกันเรื่องอาวุธชีวภาพ แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของมนุษย์เองนั่นแหละ ที่สร้าง “อาวุธชีวภาพ” ทำลายล้างตัวเองโดยไม่รู้ตัว

เฝ้าระวังจุลินทรีย์ดื้อยา

มนุษย์สร้างยาปฏิชีวนะขึ้นมาสู้กับโรคติดเชื้อ   เชื้อโรคเขาก็สู้กลับ ด้วยการพัฒนาความสามารถในการ ดื้อยาขึ้น   สู้กันอย่างนี้เป็นวัฏจักร   ยิ่งมนุษย์มียาดี และชะล่าใจใช้อย่างฟุ่มเฟือย เชื้อโรคก็ยิ่งสู้หนักขึ้น   เชื้อโรค ดื้อยายิ่งก่อปัญหามากขึ้น   องค์การอนามัยโลกจึงจัดให้มีระบบเฝ้าระวัง และมีคณะผู้เชี่ยวชาญคอยประชุมหารือ ทำความเข้าใจภาพใหญ่  เรียกว่า AGISAR

ใช้ในคนไม่พอ ยังเอายาปฏิชีวนะไปใช้กับปศุสัตว์ให้โตเร็ว เชื้อจุลินทรีย์ดื้อยาจึงเกิดรุนแรงขึ้น   จุลินทรีย์ดื้อยา และโรคภัยไข้เจ็บเชื่อมโยงเข้ากับความโลภของมนุษย์จนได้

เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์ และมนุษยชาติ    ที่เรียกว่า health safety

เรากลัวกันเรื่องอาวุธชีวภาพ   แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของมนุษย์เองนั่นแหละ ที่สร้าง “อาวุธชีวภาพ” ทำลายล้างตัวเองโดยไม่รู้ตัว 

ไปเชื่อมโยงกับโรคกลุ่มที่ติดจากอาหาร   ที่เรามักคิดกันว่าเกิดกับสังคมที่ระบบสุขอนามัยไม่ดี หรือขาดความสะอาด    แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็เกิดเหตุโรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อ อีโคไล ในยุโรป ประเทศที่ ถือกันว่าระมัดระวังความสะอาดเป็นเยี่ยม   เรื่อง อีโคไลนี้ไม่เกี่ยวกับการดื้อยา แต่เป็นตัวอย่างของโรคที่ติด จากอาหาร    

เชื่อมโยงกับโรคของสัตว์ที่อาจติดสู่คน หลากหลายโรค ที่บางโรคไม่ใช่เชื้อดื้อยา แต่ไม่มียารักษา เช่นโรคพิษสุนัขบ้า

เวลานี้ระบบเฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของคนเป็นระบบใหญ่ ที่ซับซ้อนและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง ถึงกันหมดทั้งโลก   มีนักระบาดวิทยาเป็นกลไกสำคัญ    และในประเทศไทยเรามีชื่อเสียงมาก ว่ามี “นักระบาดวิทยาเท้าเปล่า” ซึ่งหมายถึงชาวบ้านธรรมดาที่ทำหน้าที่ อสม. เป็นกำลังสำคัญของระบบ    ตอนเราต่อสู้ป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก H5N1 ได้สำเร็จ    เป็นที่ยกย่องกันมากในโลก   ว่าประเทศไทยมีนักระบาดวิทยา และระบบเฝ้าระวังในชุมชนที่เข้มแข็ง

วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ย.​๕๔ 

หมายเลขบันทึก: 468498เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011 04:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในฐานะสัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์บริโภคต้องยอมรับจริงค่ะ

ว่าการใช้ยาในการเลี้ยงสัตว์ซึ่งมักจะให้ในระดับการป้องกันต่ำๆ

ในปัจจุบัน..เราได้เริ่มมีการวิจัยที่ใช้สารอินทรีย์

และระบบต่างๆ เข้ามาช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

เพราะก็เล็งเห็นว่าในโลกการค้าเสรีที่ไม่มีกำแพงภาษีมาชะลอการนำเข้า

จะกลายเป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยต่างๆ เหล่านี้แทน

อาจจะกำหนดให้ฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์ส่งออกห้ามมีการใช้ยา

ซึ่งก็อาจจะทำให้การดูแลสุขภาพสัตว์ยุ่งยากขึ้นไปอีก

ถ้าหากเราสามารถใช้สมุนไพรได้ในการดูแลสุขภาพสัตว์

โดยมีงานวิจัยรองรับก็น่าจะส่งผลดีในอนาคต

และอาจจะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตยาสัตว์จากสมุนไพรไทยบ้างก็ได้

ลองเสนอความคิดเห็นดูค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท