72. การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง


การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

 

 

การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

 

          จากที่ผู้เขียนเคยศึกษาถึง เรื่อง “การเปลี่ยนแปลง” ในภาวะของการเป็นผู้นำไปแล้วนั้น...ก็เกิดความเข้าใจไปในลำดับหนึ่ง แต่เมื่อในช่วงนี้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย ยิ่งทำให้เห็นถึงสภาพของการยอมรับและไม่ยอมรับในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระดับของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อีก เช่น เมื่อบ้านถูกน้ำท่วมและมีทีท่าว่าจะไม่ลดเลย คือ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีทีท่าว่าน้ำจะหยุดเพิ่มเมื่อไหร่...

          สำหรับลูก ๆ ซึ่งอาจเป็นคนที่มีอายุน้อยหน่อยก็จะยอมรับสภาพได้ว่า “คงอาศัยอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว และตนเองก็ต้องออกจากบ้านที่อยู่นี้แล้ว โดยไปหาที่อยู่ใหม่ที่สะดวกกว่าบ้านเดิม ถึงแม้จะไม่เคยอยู่มาก่อน แต่ก็ต้องไปอาศัยอยู่กันก่อน เพราะที่บ้านเดิมนั้นทั้งไม่สะดวก + อันตราย (สัตว์ต่าง ๆ) + ไฟฟ้าอาจช้อตได้ ฯลฯ “ เรียกว่า “เป็นการอาศัยอยู่ชั่วคราว...สำหรับคนรุ่นนี้ยังไม่ค่อยติดที่มากนัก" คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่จะไปอยู่ในที่ที่สะดวกกว่าเดิมนิดหนึ่ง...อาจจะไม่สะดวกเท่ากับบ้านเดิม แต่ก็ขอย้ายไปอยู่เป็นการชั่วคราว สำหรับคนรุ่นนี้ยังไม่ค่อยคิดอะไรมากนัก

          แต่สำหรับคนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น รุ่น พ่อ – แม่ ปู่ - ย่า ตา – ยาย (บางคน) ขอใช้คำว่า “บางคน” เพราะบางคนพอลูก – หลาน ชวนให้ย้ายที่อยู่ก็ไปด้วยดี แต่สำหรับบางคน “พูดยากมาก”...สาเหตุอาจมาจากความหลากหลายต่าง ๆ กัน ลูก – หลาน ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันในที่ใหม่ก็ปฏิบัติไม่ไปด้วย จะอยู่ ณ ที่แห่งเดิมนี้ จะเกิดภัยอันตรายอะไรก็ไม่คิด คิดแต่ว่า “คงไม่เกิด” แต่จะทำให้คนรุ่นลูก - หลาน เครียด + เป็นห่วงเนื่องจากอายุมากแล้วและใครจะเป็นคนดูแล...คนรุ่นนี้จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ เดิมเขาอยู่มาอย่างไรก็จะอยู่เช่นนั้น ไม่ต้องการให้มีใครมาบังคับ มาปรับเปลี่ยนสภาพที่ตนเองเป็นอยู่เดิม และก็ไม่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของใคร ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า “ปิดประตูใจ” ในการรับฟังความคิดเห็น และคิดว่า “ความคิดของตนเองเท่านั้นที่ดีที่สุด”...ผลปรากฏว่า สุดท้าย เมื่อน้ำท่วมมากขึ้น ตนเองก็อยู่บ้านเดิมไม่ได้ ก็ต้องยอมออกมาอยู่ที่ใหม่

          เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำในการทำงาน” ก็เช่นเดียวกัน ทำให้ผู้เขียนเห็นว่า ขนาดชาวบ้านที่เกิดอุทกภัย ภัยจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้แล้ว เขายังไม่ยอมรับที่จะไปอยู่ในสถานที่อยู่ใหม่เลย แล้วนับประสาอะไร เฉกเช่นเดียวกับผู้นำ (บางคน) เขาจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เล่า?????...เพราะเขาชินกับสภาพเดิม ๆ สิ่งเดิม ๆ คิดว่า "สิ่งเดิมที่เขาเคยพบเคยเห็นนั้นดีอยู่แล้ว"...เขาก็คงมีความรู้สึกไม่ต่างกับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมในรุ่นหลังนี้เอง...

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 468388เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2011 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2013 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมีญาติที่กรุงเทพ ก่อนน้ำท่วมขอให้ท่านย้ายไปอยู่โรงพยาบาลเพราะท่านป่วย ทั้งลูกทั้งหลานพูดชวนยังไงท่านก็บอกฉันไม่ไป ถ้าตายก็จะตายที่นี้ ซึ่งก็ไม่แปลกที่ท่านคิดยังงั้น แต่มาสำเร็จที่หลานอายุ 5 ขวบ บอกถ้าย่าไม่ไปหลานก็จะอยู่กับย่า นั้นแหละครับ ท่านถึงย้ายไปก่อนน้ำท่วมไม่กี่ชั่วโมง ถ้าเราศึกษาให้ดี ไม่ใช่ท่านไม่กล้าเปลี่ยนแปลง แต่ท่านห่วงบ้านและไม่สะดวกในการทำกิจกรรมตามปกติ แต่ต่างจากผู้บริหารที่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงเพราะเปลี่ยนแล้วฉันไม่ได้อะไร หรือไม่ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ในต่างประเทศ เขาถึงพัฒนาเจริญขึ้น เพราะเขาเอาคนกล้าคิดกล้าเปลี่ยน จึงไม่แปลกอะไรที่ บิลเกตต์ หรือสตีฟ จอร์ป อายุไม่เท่าไร แต่มีความคิดใหม่ๆ เมืองไทยเราจึงควรเอาเป็นตัวอย่าง หรือจะปล่อยให้คนรุ่นใหม่ถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมเก่า เช่นเดินตามผู้มีอาวุโส สุนัขไม่กัด

สวัสดีค่ะท่านผอ.กำลังเขียนบันทึกพอเขียนเสร็จมาเจอบันทึกท่านผอ.ที่กำลังดำเนินการอยู่ก็ยากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงซึ่งยากต่อการยอมรับสิ่งใหม่ๆ อ่านแล้วเหมือนในเหตุการณ์เดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณทวี ศรีจันทร์

  • ตามที่คุณเล่ามา นั่นคือ พฤติกรรมเดิมซึ่งถ้าเปรียบเทียบดูแล้ว การห่วงบ้าน ห่วงสมบัติและไม่สะดวกในการทำกิจกรรมตามปกติ นั่นก็คือ ถ้าเปรียบกับการเป็นผู้นำ ก็คือ การหวงอำนาจ กลัวสูญเสียอำนาจ กลัวเสียผลประโยชน์ เพราะสิ่งเดิม ๆ ที่ตนเองทำมานั้น มันสะดวก สบาย และถ้าปรับเปลี่ยนอะไรไปใหม่กว่าเดิมก็ไม่ทราบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแล้วจะทำให้ตนเองอยู่อย่างสุขสบายดีหรือเปล่า? หรือจะต้องเสียอำนาจในการสั่งการ ความเป็นระบบศักดินาจะหมดไปหรือเปล่า นี่ต่างห่างที่คนเป็นผู้นำเกรงกลัวมากกว่า ไม่ได้นึกถึงว่า ถ้าเปลี่ยนแล้วงานจะดีขึ้น เพราะเขาจะไม่เอางานเป็นที่ตั้ง ต้องดูให้ดี ๆ ว่าส่วนลึก ผู้นำกลัวหมดอะไรต่างห่าง
  • แต่ถ้าเทียบกันแล้วกับคนแก่ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะในชีวิตปกติเขาก็สุขสบายดีแล้ว มีอำนาจในบ้าน ได้รับการยอมรับจากคนภายในบ้าน แต่ถ้าออกไปเผชิญโลกนอกบ้าน เขาก็จะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งทำกิจกรรมปกติไม่สะดวก ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของเกรงว่าขโมยจะมาลัก...
  • คือ ถ้าเปรียบเทียบกันนั้นจะเป็นคนละสภาพการณ์หรือคนละสภาวะ แต่สรุปออกมา ก็คือ การไม่ยอมปรับเปลี่ยนสภาพการ เพราะเมื่อปัจจุบัน น้ำท่วม, รัฐให้เปลี่ยนแปลง คือ สภาพปัจจุบันนั้น ต้องเปลี่ยน คนเราเมื่อพบเจอกับสภาพปัจจุบันก็ควรที่จะต้องเปลี่ยน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนสิ่งที่เจอ ก็คือ โดนน้ำท่วมบ้าน อันตรายต่าง ๆ จะมาเยือน ความห่วงใยจากลูกหลาน สำหรับผู้นำ ก็จะทำให้งานของทางราชการล่าช้า เสียหายได้ ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายก็อยู่ที่สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะไม่เหมือนกันนัก แต่ผู้เขียนเปรียบเทียบให้อ่านว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น เมื่อเกิดคนเราก็ควรที่จะยอมรับด้วยใจของตนเองมากกว่าที่จะให้ผู้อื่นมาเป็นตัวปรับเปลี่ยนตัวของเรา
  • สำหรับประเทศไทยก็ไม่ต้องพูดถึง เข้าใจว่า นี่คือ การเกิดในระยะเริ่มแรก คงต้องใช้เวลาสักพักที่จะมีการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้น คือ "ต้องใช้เวลา" มาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าจะทำได้หรือไม่
  • สำหรับคนใหม่ ๆ ที่ได้รับรู้ เรียนรู้ มีความสามารถ ก็ควรที่จะนำความรู้ + ความสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ดีขึ้น ตามนโยบายภาครัฐ มิใช่ปล่อยให้กับผู้นำที่ไม่กล้ายอมรับการเปลี่ยนแปลงครอบงำ ผลสุดท้ายคนรุ่นใหม่ก็โดนกลืนไปโดยปริยาย...ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ + ตั้งมั่น + มีหลักการหรืออุดมการณ์ในใจของคนรุ่นใหม่ด้วยว่ากล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำจริงหรือไม่...หรือจะหมดใจ ถอดใจ ท้อถอย เกิดขึ้นแล้วปล่อยให้ผู้นำรุ่นเก่าครอบงำ สุดท้ายก็จะเหมือนเดิม...
  • วัฒนธรรมเก่า สิ่งใดที่ดีก็ควรรักษา เพราะคนเราแยกแยะออก ว่าสิ่งใดดี หรือไม่ดี แต่ถ้าวัฒนธรรมเก่าไม่ดี เราก็ควรที่ร่วมมือกันแก้ไขปรับปรุง และคนที่จะนำ นั่นก็คือ "ผู้นำ" ถ้าผู้นำไม่นำ ก็คงต้องปล่อยให้หมดผู้นำรุ่นนี้ไปก่อน เพราะนี่คือ ช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับน้ำเก่ากับน้ำใหม่ที่จะไหลมารวมกันแล้วก็ต้องอาศัยเวลาว่า เมื่อใดที่จะทำให้เกิด วัฒนธรรมองค์กรใหม่ร่วมกันเกิดขึ้นในองค์กร...
  • สำหรับวัฒนธรรมของต่างประเทศจะไม่เหมือนกับของเมืองไทย เพราะระบบเมืองไทยที่แตกต่างกับต่างประเทศ นั่นคือ เมืองไทยเป็นระบบศักดินามาตั้งแต่นานแล้ว และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนสภาพขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบัน โดยภาครัฐนำระบบ นโยบายของต่างชาติเข้ามาพัฒนาประเทศอยู่เสมอ  ก็คงต้องใช้เวลาสักพัก อาจจะไม่ใช่รุ่นของเราที่จะเห็น อาจเป็น 50 - 100 ปี ข้างหน้า ที่คนรุ่นใหม่จะได้เห็นภาพลักษณ์ของประเทศไทยใหม่เกี่ยวกับการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ เรียกว่า "ต้องค่อย ๆ ซึม เหมือนน้ำซึมบ่อทราย" อึกอักจะให้ปรับเปลี่ยนให้ทันการนั้นคงเป็นไปได้ยาก จึงต้องใช้เวลา "ค่อย ๆ ซึม กับระบบใหม่ให้กับผู้นำ" สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ใจร้อนก็คงต้องใช้เวลาในการทำใจสักนิดหนึ่ง...
  • ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ + ความรู้ค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณสุจิตรา...Ico48

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ค่ะ คงต้องอาศัยเวลา มาเป็นตัวช่วยในครั้งนี้ค่ะ แต่สำหรับคนที่เขาปรับเปลี่ยนได้ เขาจะบอกว่า "เสียดายเวลา" เพราะมันน่าจะเปลี่ยนได้ตั้งนานแล้ว เหมือนกับการแข่งขัน ถ้าเราเริ่มได้ก่อนเมื่อไหร่ เราก็จะได้เปรียบผู้อื่นเมื่อนั้น นี่คือ ความหมายของ "การเสียดายเวลา" ที่ผู้เขียนให้ความหมายของ "เวลา" ไงค่ะ
  • ก็อย่างที่บอกในกระทู้ของ คุณทวี ไงค่ะ ผู้นำ เปลี่ยนแปลงยาก เพราะลึก ๆ แล้ว เขากลัว "การสูญเสียอำนาจ" มากกว่าค่ะ ก็ลองดูผู้นำบางคนที่มีความเข้าใจในเรื่อง "ของการเปลี่ยนแปลง + อำนาจหน้าที่ของตนเอง" จริง ๆ แล้ว ผู้นำประเภทนี้จะกล้าปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น เพราะผู้นำประเภทนี้ มีวิสัยทัศน์ คิดยาว และทราบว่าอะไรคืองาน อะไรคือ อำนาจ เพราะอำนาจมันฝังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่เขาได้รับผิดชอบอยู่แล้วไงค่ะ
  • สำหรับผู้นำประเภทแรก ไม่ได้คิดแบบผู้นำประเภทหลังนี้หรอกค่ะ เขาคิดเพียงแต่ว่า เมื่อขึ้นมาเป็นผู้นำแล้ว เขาจะต้องมีอำนาจเหนือคน แล้วก็ใช้อำนาจในทางที่ผิด ๆ ตามที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ไงค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท