บ้านเกิดเมืองนอน นักกลอนฉิมพลี


โรงแรมเป็นบ้าน ร้านอาหารเป็นครัว

         ยิ่งทำงานชุมยิ่งทำให้ผู้เขียน ห่างเหินการใช้ชีวิตกลางแจ้ง  มาระยะหลังๆมานี้ เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการประชุม สัมนา ใช้ชีวิตแบบคนที่กลับบ้านไม่ถูก

        "โรงแรมเป็นบ้าน ร้านอาหารเป็นครัว"ประชุม ประชุม ประชุมแล้วก็กาแฟ กาแฟกาแฟ กาแฟแล้วก็ประชุม วนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นประจำ

      รู้สึกตัวว่าสุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย หากจะให้ขึ้นเขาเดินป่า เห็นท่าจะไปไม่รอดแล้วหลายครั้งหลายหนที่คนไกล้ชิดน้องๆจากพังงาอยากให้ไปหาไปเยี่ยม ก็หาเวลาไม่ได้ ทำให้รู้สึกไม่ดีอยู่ในใจแม้เทศกาลงานวันฮารีรายอที่ผ่านมาก็ไม่ได้ร่วมนมาซ.....

       .คิดได้ดังนั้นจึงจัดการ"ละ"วางเพื่อเดินทางไปพังงา สนทนากับ"ฉิมพลี"ผู้มีจินตนาการร่วมกัน ไปเติมอาหารสมอง  ความสุขที่ได้พบ ได้รับ กับการตัดสินใจไปนอนกับฉิมพลี นักกลอนบ้านนอก

         ฉิมพลี ฝากกลอนเตือนใจให้คิดเรื่องมหาอุทกภัยภัยธรรมชาติและ เหตุการณ์ บ้านเมืองไว้ว่า....

        ."เดือนเมษา  หน้าแล้ง หญ้าแห้งเฉา

   หากใจเรา ยิ่งร้อน บันทอนแน่

   แดดมันร้อน ใจอย่าร้อน ให้อ่อนแอ

   เพราะเที่ยงแท้ ร้อนหนาว ฤดูกาล  

        อันแดดร้อน  ไม่ร้อนเท่า ไฟในอก

 เหมือนนรก  หมกไหม้ ไฟเผาผลาญ  

ควรละวาง  เสียบ้าง  ความต้องการ

 เหมือนสายธาร   เย็นฉ่ำ ประจำใจ

       มิถุนา   หน้าฝน ทนเปียกบ้าง

 ถึงหนทาง   น้ำนอง  ล่องลื่นไหล

เมื่อถึงคราว  ของมัน ต้องเป็นไป

 อย่าให้ใจ  ร้อนร่ำ   คร่ำครวญเลย  

     จะหน้าร้อน หน้าฝนหรือ  หน้าหนาว

เป็นเรื่องราว  ธรรมชาติ  แหละท่านเอ๋ย  

จะบังคับ ร้องขอ  มิได้เลย 

ต้องวางเฉยเสียบ้าง "ชั่งหัวมัน"

จึงนำมาแบ่งปันด้วยบทกลอน และภาพอันสวยงาม

เส้นทาง สุราษฎร์ ตะกั่วป่า

 

ประเพณีไทยแท้แต่โบราณ มาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ กับฉิมพลี กินข้าวสนทนาวรรณกรรม ว่าด้วย ซีไรท์ปีนี้แล้วมาลงที่นิ้วกลม

มาชมสวนกล้วยบ้านๆ (กล้วยน้ำหว้า)

กล้วยเถื่อน ที่มันเถื่อนเพราะไม่อ่อนน้อม ปลีชี้หน้าตลอดเวลา

ดอกบุกสีสวย

ปลาดุก ลำพัน หาพันธ์ยากแล้ว

ตะพาบน้ำ ตามน้ำมาพังพาบ

หมายเลขบันทึก: 468361เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2011 03:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

เยี่ยมเยียนมิตรรัก มีความสุขค่ะ

แต่ถ้าเป็นแบบนี้...นานๆแย่ต่อสุภาพค่ะ

... "โรงแรมเป็นบ้าน ร้านอาหารเป็นครัว"ประชุม ประชุม ประชุมแล้วก็กาแฟ กาแฟกาแฟ กาแฟแล้วก็ประชุม วนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นประจำ"...

สวัสดีครับ

รู้สึกสุขใจไปด้วยครับ

-----

ยามมีโรคระบาด โดยเฉพาะการติดต่อทางปาก

ผมยกตัวอย่างจากที่เคยไปปักษ์ใต้

ทุกบ้านใช้ช้อนกลางประจำ

ที่ภาคอีสาน พวกเราไม่นิยมใช้ช้อนกลาง

คงเป็นเพราะวัฒนธรรมครับ

------

สบายดีนะครับ

สวัสดีครับท่าน ศน. ลำดวน...

ตอนนี้มาทบทวนกิจกรรม งานในชุมชน หาคนมาทำงานแทน ประชุมแทนยังไม่ได้

มีงานหลายประเด็นที่ขับเคลื่อน

คนแถวสองยังไม่สามารถ ออกไปนำเข้าความรู้ มาดำเนินงานได้

กำลังหาคนอยู่ครับท่าน

  • สวัสดีค่ะท่านวอญ่า
  •  ธรรมชาติของสัตว์ป่าศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่มีวันสิ้นสุดนะคะ
  •  มีเรื่องราวแปลกๆให้ติดตามตลอด
  •  ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ค่ะ
  • ได้สาระดีๆกลับเสมอน๊ะ..ท่านวอญ่า

สวัสดีครับ น้องทิมดาบ...

ได้ไปเติมพลัง ฟังคนที่มีประสบการณ์ เป็นการสร้างพลัง เติมเชื้อไฟ ให้เต็มพลัง

ได้คุย เรื่องวรรณกรรมกัน เกือบรุ่งครับ

เป็นบรรยกาศที่ "สุนทรียะ" ยิ่งครับครับ พี่วอญ่า

  • สวัสดีค่ะท่านวอญ่า
  • ขอบคุณที่แวะไปมอบดอกไม้ให้ที่บันทึกค่ะ
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งปันค่ะ
  • ปลาดุกลำพันนี่เพิ่งเคยเห็นที่นี่ละ่ค่ะ

สวัสดีครับคุณ เอื้องแซะ...ผมชอบดอกบุกสีสันต์สดสวย

ตอนเด็กๆ เอาดอกบุก เป็นเหยื่อล่อ วางแร้วนก นกชอบกินดอกบุก

ปลาลำพัน เนื้ออร่อย แต่หายากมากแล้ว

ธรรม-ชาติ สัตว์ ป่ามีให้ศึกษาค้นคว้ากันไม่จบสิ้น

  • เข้ามาคุยกับท่านวอญ่ารอบดึกค่ะ จวนตีสองแล้ว
  • อย่างที่เคยบอกไว้ก่อนนี้นะคะ ว่า รู้สึกเคารพรักท่านวอญ่า (และอยากให้ท่านวอญ่าเป็นพี่ชาย : เป็นคนที่ไม่มีพี่ชาย และคุณพ่อเสียตอนตนเองเพิ่งอายุได้ 4 ปีค่ะ)
  • ชอบบรรยากาศของบันทึกนี้มากค่ะ ทั้งต้นไม้สองข้างทาง กิจกรรมการกินข้าวสนทนาวรรณกรรม (ดูอบอุ่น) พืชและสัตว์ท้องถิ่น
  • กิจกรรมการเดินทางที่ชอบมากที่สุดคือ การนั่งรถส่วนตัวที่มีคนอื่นขับ (ปกติก็คือพ่อใหญ่สอ ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ค่ะ) เพื่อตนเองจะได้ชมต้นไม้ใบหญ้าริมทาง ก็อย่างที่รู้กันนะคะว่าเป็นคนที่รักต้นไม้มาก และแสวงหาต้นไม้ทุกประเภทไปปลูกที่ฟาร์ม
  • ต้นที่ปลูกเรียงรายสองข้างทางและใบโกร๋นน่ะ ต้นอะไรคะ
  • ที่ฟาร์มรวบรวมพันธุ์กล้วยด้วยค่ะ กล้วยน้ำว้ามีเยอะ เปลือกบางใส้เหลืองอร่อยมากค่ะ อยากปลูกกล้วยเถื่อนไม่ทราบว่าจะหาได้ไหม
  • เห็นบางคนเขาปลูกบุกเป็นไม้ประดับด้วยนะคะ ปลูกไว้หลายๆ ต้น ออกดอกหลากสีสวยดีเหมือนกันค่ะ
  • ปลาดุกลำพันสวยจังค่ะ ไม่เคยเห็น อยากเลี้ยงไว้ดูจังค่ะ ไม่ทราบจะหาพันธุ์ได้จากไหน
  • ส่วนตะพาบไม่ชอบหน้าตาเขาค่ะ  

สวัสดีครับท่านสามสัก .....

หลายครั้ง มักสับสนกับการงานหน้าที่ในชุมชน จนพัวพัน กับการประชุมจนหลงลืมคนสำคัญในชีวิต

และญาติพี่น้อง

ให้โอกาส ให้รางวัลกับตนเองบ้าง สร้างพลังบวกเพิ่มขึ้น

สวัสดีครับอาจารย์ ภิญโญ

ผมกับฉิมพลี เรามีความคิดที่คล้ายเหมือน ฉิมพลี ทำให้ผมพลาดจากการทำงานเป็นเจ้าพนักงานรางวัดที่ดิน

เพราะเขาชวนผมไปหาประสบการณ์ ชีวิต ดำแร่ที่น้ำเค็ม เมื่อ ปี 2520 บ้านน้ำเค็มพังงาในยุคนั้นไม่มีวันหลับ

เมื่อพบกันเรารำลึกถึงความหลังครั้งเรียนมหาวิทยาลัยชีวิตร่วมกันมา

สวัสดีครับคุณ พยาบาล สุภัทรา

ปลาดุกลำพันมักอาศัยในลำคลองหรือบนร่องน้ำตามภูเขาครับ

เดินป่าคลองนาคามักพบเห็นครับ

ของบริจาคที่คนไทยควรทราบ

ระวังเปรตแย่งของบริจาค

http://soponslifeandwork.blogspot.com/

 

+สวัสดีครับท่านอาจารย์ ผศ.วิไล

+ขอบคุณจากใจที่ที่ได้รับเกียรติอย่างสูง ด้วยความยินดียิ่งครับ

+ผมกับนายฉิมพลี เขาเป็นญาติผู้พี่ ฉิมพลี ชอบคิด ผมชอบเรียน ที่สำคัญเราเป็นนักอยากอ่าน

+ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ ตั้งแต่สุราษฎร์ ชุมพรพังงา ระนอง ยังคงมีให้พบหลายชนิด เคยเดินป่าที่พะโต๊ะ(เส้นทางที่ อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลไปเดิน แล้วนำมาเขียน"ทางทากและสายน้ำเชี่ยว" ผมตามรอยไปดู 7วัน7คืน) เส้นทางนี้หากขุดคอคลอดกระ จะถูกทำลาย เสียหายหนัก

+เหมือนกันครับ ผมชอบเดินทาง และชอบเก็บภาพ "คนนอกคอก"คือนิยามความเป็นตัวตนที่แท้จริง

+ส่วนต้นไม้ไร้ใบที่เห็นในภาพ ยังไม่รู้จักชื่อครับ

+กล้วยผมชอบกินกล้วย กล้วยเถื่อน ที่ภาคใต้สองข้างขึ้นเขา มีทุกที่ หากมีโอกาสจะขุดไปฝาก บุกและ เมาะ ก็มักขึ้นตามกอกล้วยเถื่อน

+หากมีโอกาสมาปักษ์ใต้ จะติดต่อมา มีพรรคพวก หาของป่า จะได้ให้เขา ช่วยหามาปลาลำพันมาให้เลี้ยง ปลาทีงอีกชนิดหนึ่งที่หาทำพันธ์ยาก จะหาภาพมาฝาก ปลาทีงเนื้ออร่อย

+ด้วยความขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยน และด้วยคารวะครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ โสภณ

ทราบแล้วครับ ว่าของบริจาค อยู่่ที่ไหน

ขอบคุณที่แนะนำให้เข้าไปหาความจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท