ความหมายของพีเอชพี (php)


php

ความหมายพีเอชพี (PHP)

      ภาษาพีเอชพี (PHP Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปลภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิตอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ภาษาพีเอชพี (PHP Language) มีการทำงานแบบเซอร์ฟเวอร์ไซต์สคริปต์ (Server-Side Script) จึงต้องมีเครื่องบริการ (Server) ที่ทำหน้าที่บริการการแปลภาษา และส่งผลให้กับเครื่องผู้ใช้ (Client) ที่ร้องขอด้วยการส่งคำร้องเข้ามายังเครื่องบริการ คำว่า PHP ย่อมาจาก Personal Home Page แต่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น Professional Home Page
ประวัติของภาษาพีเอชพี (PHP Language History)
ภาษาพีเอชพีถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) โดย Mr.Rasmus Lerdorf เพื่อใช้ตรวจสอบสถิติการเข้าชมเว็บของตนเอง ต่อมาในปีค.ศ.1995 มีการเผยแพร่ภาษานี้สู่สาธารณะ และพัฒนาเป็นPHP/FI หรือพีเอชพีรุ่น 2 จนกระทั่งกลางปีค.ศ.1996 เริ่มมีทีมพัฒนาอย่างจริงจังโดยมี Mr.Zeev Suraski และ Mr.Andi Gutmans ร่วมทีม และพัฒนาเป็นพีเอชพีรุ่น 3
- เซสชัน (Session) คือ ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อใช้บราวเซอร์ ติดต่อเข้าเครื่องบริการ และถูกทำลายเมื่อบราวเซอร์ถูกปิดลง ข้อมูลนี้ถูกจัดเก็บในเครื่องบริการ
- คุกกี้ (Cookie) คือ ข้อมูลขนาดเล็กที่เป็น HTTP Header แบบหนึ่ง ถูกส่งจากเครื่องบริการไปเก็บไว้ในเครื่องของผู้ใช้ตามที่บราวเซอร์กำหนด เพื่อบันทึกข้อมูลการเข้าเยี่ยมชม เมื่อผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์อีกครั้ง เครื่องบริการจะใช้ข้อมูลคุกกี้ที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้ได้ทันที
- ข้อมูลใน .mdb เก็บแบบ single เมื่อส่ง 1.23 เข้าไปเก็บจะเก็บ
เป็น 1.2299999 เรียกใช้ด้วย substr(x,0,6) แล้วจะไม่ได้ 1.23 ต้องใช้ round(x,2) สำหรับทศนิยม
2 ตำแหน่ง

                                                 

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep#php
หมายเลขบันทึก: 468288เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท