กฏหมายดี แต่ดีไม่เพียงพอเช่นเดียวกับมนุษย์ผู้สร้างหฏหมายขึ้นมา ตอน ไม่มีใครที่จะยอมตายเพื่อกฏหมาย


แม้กฏหมายจะเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนในสังคม แต่ก็ไม่เห็นการใช้กฏหมายที่จริงจัง อย่างที่เรียกว่าตายเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายไว้ได้ ความจริงข้อนี้ในประวัติศาสตร์เห็นจะมีแต่ "พันท้ายนรสิงห์" เท่านั้นที่จะยอมตายเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว

                ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง วาทกรรมที่เกิดขึ้นและดูจะเป็นการจุดชนวนให้ความขัดแย้งในสังคมเริ่มทวีความรุนแรง โดยการประกาศแนวความคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่งผลที่ตามในทันทีของกลุ่มที่ไม่สนับสนุนหรือฝ่ายตรงกันข้าม

                ซึ่งหลายประการที่เป็นเหตุผลที่ฝ่ายผู้ประสงค์จะแก้อธิบาย และก็หลายเหตุผลที่ฝ่ายจะค้านไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ถึงข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละฝ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสัจธรรมคือ การลึกฮือสร้างความวุ่นวายของฝ่ายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวคิดของตน

                ดังที่ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งก่อน หากทำให้ความขัดแย้งยุติลงได้ควรที่จะหยุดความคิดดังกล่าวให้สังคมสงบสักพักก่อนค่อยเริ่มต้นกันใหม่ เพราะอย่างไรกฏหมายล้วนแต่เขียนขึ้นมาเพื่อป้องกันการทำไม่ดีอยู่แล้ว คงไม่มีกฏหมายฉบับใดที่จะเขียนมาส่งเสริมให้คนทำผิด ฉะนั้นกฏหมายจึงไม่น่าจะเป็นประเด็นในการขัดแย้งสำหรับคนไทย แม้กฏหมายอาจจะไม่ดีครบทุกอย่างแต่มันก็เพื่อทำให้คนทำดีแน่นอน

                แต่ปัจจุุบันนี้ความคิดดังกล่าวได้ยุติบทบาทลงท่ามกลางมหาอุทกภัยใหญ่ของชาติ แต่เรื่องราวทางกฏหมายยังเป็นประเด็นที่สังคมกำลังเริ่มนำมาสู่ความขัดแย้งอีก โดยเฉพาะในกรณีของการผ่าผืนกฏด้วยการทำลาย "บิ๊กแบ๊ก" ซึ่งความจริงมันเป็นสิ่งที่ผิด แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะใช้กฏหมายนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ตรงนี้จึงทำให้เราคิดว่า "กฏหมายควรแก้ไข หรือการบังคับใช้กฏหมายที่ทำให้ดูเหมือนกฏหมายมีปัญหา"

                อย่างไรก็ตามความจริงประการหนึ่งที่เป็นสัจธรรมมานาน แม้กฏหมายจะเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนในสังคม แต่ก็ไม่เห็นการใช้กฏหมายที่จริงจัง อย่างที่เรียกว่าตายเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายไว้ได้ ความจริงข้อนี้ในประวัติศาสตร์เห็นจะมีแต่ "พันท้ายนรสิงห์" เท่านั้นที่จะยอมตายเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ทำให้เรารู้สึกที่ตั้งคำถามกับความคิดเรื่องการแก้กฏหมายว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่หลังจากที่แก้ไข หรือควรจะเปลี่ยนประเด็นจากการแก้ไข สู่การตั้งคำถามย้อนกลับในลักษณะที่ว่า "ทำอย่างไรกฏหมายถึงจะศักดิ์สิทธิ์" ประเด็นนี้จึงน่าจะแก้ไขได้ถูกจุดกว่าหรือไม่ ?

หมายเลขบันทึก: 468210เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2011 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

..พันท้ายนรสิงห์..ตายไปแล้ว..กฎหมายศักดิ์สิทธิ์..จริงหรือเปล่า..ผลจากความตาย...คืออะไร...กฎหมายศักดิ์สิทธิ์คงอยู่ใน..จินตนาการของคนคิด..คนเขียนเป็นแน่เชียวเดียว..หรือคนตายแบบพันท้ายนรสิงห์..ตายเปล่า..มั้ง..(ยายธีแอบสงสัย..ไม่รู้จะไปถามใครอ้ะ..)

ดีครับคุณยายธี

ประเด็นนี้อาจจะใช่นะครับ อาจจะเช่นเดียวกับการตายของ สืบ นาคะเสถียร ที่อย่างน้อยทำให้มีคนหวนรำลึกถึงอยู่บ้าง ครับ

แต่ความยิ่งใหญ่ที่ผมว่ามีประโยชน์คือ การตายเพื่อทำให้กฏหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากการพระพุทธเจ้าเสือเองไม่ทรงจะลงโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์ ยืนยันตามกฏหมาย นี่คือความยิ่งใหญ่ของการตาย และจะมีใครบ้างที่จะยอมรับผลตามกฏหมาย ที่เห็นอยู่ก็มีแต่วิ่งหาเส้นทาง แก้ไข ปรับเปลี่ยน เพื่อตนเองทั้งนั้น และเชื่อว่าจะกฏหมายฉบับใดก็ตามผลของมันคือทำให้คนชั่วอยู่ยากทั้งนั้น คงไม่เขียนให้คนดีอยู่ยากนะครับ ....หรืออาจจะมีอยู่

ขอขอบคุณที่แลกเปลี่ยนในมุมมองอีกด้านครับ ทำให้เกิดคำถามในใจว่า .....ตายเปล่าจริงหรือ.....ซึ่งจะได้ใช้เวลาค้นหาต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท