โรงเรียนชาวนาระดับอุดมศึกษา (21.2) รู้เรียน เรียนรู้


  

ภาพที่ ๑๐๑ – ๑๐๒ กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา ฝึกสังเกต พร้อมจดบันทึก

ภาพที่ ๑๐๓ วิธีที่ ๑ หมักฟาง + ใส่จุลินทรีย์

ภาพที่ ๑๐๔ วิธีที่ ๒ หมักฟาง + ใส่จุลินทรีย์ + ใส่ปุ๋ยหมัก

ภาพที่ ๑๐๕ วิธีที่ ๓ หมักฟาง + ใส่จุลินทรีย์ + ฉีดยาคุมหญ้า

ภาพที่ ๑๐๖ วิธีที่ ๕ เผาฟาง + ไม่ใส่จุลินทรีย์ + ใส่ปุ๋ยเคมี + ฉีดยาคุมหญ้า

ภาพที่ ๑๐๗ วิธีที่ ๖ หมักฟาง + ไม่ใส่จุลินทรี + ใส่ปุ๋ยเคมี + ฉีดยาคมหญ้า

ภาพที่ ๑๐๘ วิธีที่ ๗ เผาฟาง + ใส่จุลินทรีย์ + ใส่ปุ๋ยเคมี + ฉีดยาคุมหญ้า

ภาพที่ ๑๐๙ วิธีที่ ๘ หมักฟาง + ใส่จุลินทรีย์ + ใส่ปุ๋ยเคมี + ฉีดยาคุมหญ้า

ภาพที่ ๑๑๐ วิธีที่ ๙ ปลูกข้าวแล้วคอยเติมน้ำอย่างเดียว

ภาพที่ ๑๑๑ ต้นข้าวที่มีอยู่ได้ ๒๖ วัน จากสภาพเงื่อนไขทั้ง ๙ (โดยเรียงลำดับตามวิธีที่ ๑ – ๙ จากซ้ายไปขวา)

     จากการทดลองในเบื้องต้นนี้ พบว่า วิธีที่ ๒ สภาพที่มีการหมักฟาง ใส่จุลินทรี และใส่ปุ๋ยหมัก ผลปรากฏว่า ลักษณะของต้นข้าวมีความแข็งแรงสม่ำเสมอ ให้รวงดี และรวมถึงประหยัดต้นทุน นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆในสภาพต่างๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือวิธีการที่ใช้สารอินทรีย์ด้วยกัน ก็ยังเห็นผลได้ชัดเจนว่า วิธีที่ ๒ นั้นให้ผลผลิตที่ดีกว่า

     อนึ่ง ผลสรุปดังกล่าวนี้ เป็นเพียงผลในเบื้องต้นเท่านั้น ทว่าได้ทำให้นักเรียนชาวนาทุกคนเกิดทักษะการเรียนรู้ และการพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้ทำให้นักเรียนชาวนาตระหนักถึงการใช้สมุนไพรว่ามีผลดีอย่างไร และให้ตระหนักถึงการใช้สารเคมีว่ามีผลเสียอย่างไร คราวนี้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคุณกิจหรือคุณอำนวยต่างก็ได้คำตอบจากการถามว่า อะไรคืออะไรตามธรรมชาติ

     และนอกจากนี้ยังได้รับผลอื่นๆตามมา อันเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้แก่

    • ทำให้เกิดความเสียสละและสามัคคีในกลุ่ม

    • ช่วยให้เกิดการเรียนรู้การเก็บข้อมูลและการจดบันทึก

    • ช่วยให้เป็นคนช่างสังเกต

    • รู้จักวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลดีผลเสียของการทำนาแต่ละวิธี

    • เกิดความกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงานทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว

    • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคนในกลุ่มทำให้ได้แบ่งปันความรู้ต่อกัน

    • อยากรู้อยากลองที่จะในสิ่งใหม่

    • เกิดความรู้ต่อตัวเองทำให้กล้าที่จะแนะนำคนอื่นและชวนให้คนอื่นมาดูผลการทดลอง

    • ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการที่จะนำวิธีการทำนาโดยการไม่ใช้สารเคมี

     ผลพลอยได้เช่นนี้ ทำให้เราๆท่านๆต่างก็ปลื้มใจมิใช่น้อย เพราะผลที่ได้รับดังกล่าวข้างต้น ทำให้คุณกิจจะเกิดความรู้ที่จะนำไปสู่วิธีการแห่งความวัฒนาได้ต่อไปในอนาคต หากนักเรียนชาวนาเลือกเดินทางตามวิธีแห่งเกษตรกรรมยั่งยืน ความสำเร็จในเบื้องต้นนี้ก็สามารถคาดเดาได้ว่าอนาคตจะประสบความสำเร็จแน่นอน

ภาพที่ ๑๑๒ เรียนรู้ร่วมกัน

ภาพที่ ๑๑๓ รู้เรียนอย่างไม่จำกัดวัย

หมายเลขบันทึก: 46814เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นโรงเรียนชีวิตที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ เลยครับ
  • วิจัยอยู่คู่กับชีวิตและสังคมมานานจริง ๆ ครับ เพราะการวิจัยคือชีวิตครับ
  • เป็นความรู้ที่จัดการออกมาได้อย่างดีมากเลยครับ และยิ่งได้นำมาออกเผยแพร่อีกจะยิ่งต่อยอดได้อย่างมากมายเลยครับ
  • ขอความรู้จงสถิตกับท่านตลอดไปครับ

 

  • ตามมาหาความรู้เพิ่มเติมครับ
  • ขอบคุณครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท