เพราะน้ำท่วม เราจึงมีเรื่องดีๆ ร่วมกัน


สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ประเทศไทยหลายๆ จังหวัด เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ทุกคนทุกภาคส่วนล้วนไม่อาจนิ่งเฉยได้

น้ำท่วมครั้งนี้เราได้เห็นสิ่งที่ดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่วยกันคิดช่วยกันทำ นวัตกรรมที่สำคัญและจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทางสัญจรแบบแปลกใหม่ ที่เห็นแล้วลืมอารมณ์เครียดไปได้บ้าง

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของฉันค่ะ แม้ว่าจะเป็นหนึ่งจังหวัดที่ประสบปัญหาอุทกภัยก่อนหน้าจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง แต่สถานการณ์เมื่อเทียบกันแล้วไม่ได้รุนแรงมากเท่า  ซึ่งในรอบ 1-2 เดือนนี้ จึงเกิดมีกิจกรรมมากมายที่เราดำเนินการรวมใจต้านภัยพิบัติ โดย การนำองค์ความรู้ภายในมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยความร่วมมือจากจิตอาสา ตามกำลังแรงกาย แรงใจและทุนทรัพย์ ในกิจกรรมต่างๆ (อ่านเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมใจต้านภัยพิบัติ)

เรามีมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ จัดทีมแพทย์พร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์ไปให้บริการตรวจรักษาแก่ผู้ประสบอุทกภัย  เรามีคณะเภสัชศาสตร์ ผลิตยาขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้าวิทฟิวออยเม้นท์ และขี้ผึ้งตะไคร้หอมไล่ยุง เรามีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สร้างเรือจากถังน้ำมัน 200 ลิตร  เราได้คณะสังคมศาสตร์ ร่วมกับองค์กรเอกชนและองค์กรชุมชนเชียงใหม่ สถาบันนโยบายสาธารณะ รวมกำลังจิตอาสาทำก้อนจุลินทรีย์บัดน้ำเสีย EM Balls จำนวน 400,000 ลูก ระหว่างวันที่ 2-9 พฤศจิกายน 2554 เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่กำลังประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ซึ่ง EM Ball มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ลดการเน่าเหม็นลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันเรามีคณะการสื่อสารมวลชนที่สนับสนุนการผลิตสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ช่วยให้ประชาชนโดยรอบรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเข้ามาร่วมแรงกายและใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  เช่นเดียวกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารในสังคมเครือข่ายออนไลน์ ทำให้ความตั้งใจในการทำความดีครั้งนี้ประสบผลเป็นความชื่นใจค่ะ

กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยของฉันดำเนินการ ที่ได้รับพลังความช่วยเหลืออย่างมาก และมีผู้ให้ความสนใจในช่วงระหว่าวันที่ 2-4 พฤศจิกายนนี้ คือเรื่องการทำก้อนจุลินทรีย์บัดน้ำเสีย EM Balls ที่มีผู้รู้มีความคิดเห็นออกมาสองขั้ว ไม่รู้ว่าใครถูก แล้วใครผิด ต่างคนต่างมีมุมมองคนละตำแหน่ง ซึ่งเราจะไม่พูดกันในประเด็นนี้นะคะ

มาดูเรื่องของความร่วมมือร่วมแรงและใจในการทำก้อนจุลินทรีย์บัดน้ำเสีย EM Balls นี้กันดีกว่า เมื่อเป้าหมายของเราอยู่ที่การได้ทำอะไรบ้างที่จะมีส่วนช่วยเหลือแบ่งเบาความทุกข์ร้อนของเพื่อนร่วมประเทศที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ ที่เรียกว่ามหาอุทกภัยเลยทีเดียวค่ะ

ในการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และก้อนจุลินทรีย์ ตามที่ระบุในเอกสารแจกนั้น สามารถแยกการทำได้ 2 ส่วนคือ

  1. การทำหรือเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (คลิกอ่านเอกสาร>>ที่นี่ค่ะ)
  2. ขั้นตอนการทำก้อนจุลินทรีย์ (EM Ball) (คลิกอ่านเอกสาร>>ที่นี่ค่ะ)

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องดีๆ ที่ฉันมีโอกาสเข้ามาสัมผัสตรง หลังจากการได้เข้ามารับหน้าที่ใหม่ในงานใหม่ที่เป็นงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัย  เป็นบันทึกเรื่องดีบัญชีมีสุขของฉันอีกหนึ่งบทค่ะ

 

รวบรวมเว็บไซต์การทำ EM Ball

วิธีการใช้ EM Ball :  โยน EM Ball  ลงในน้ำเน่าเสียในสภาพน้ำนิ่งหรือท่วมขัง  ในอัตรา  EM Ball 1 ลูกเทนนิส ต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ EM Ball  ขนาด 1 ลูกเปตองต่อน้ำเสีย 5 ลูกบาศก์เมตร ทุกๆ 3-4 วัน และทำต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์

ประโยชน์ของ EM Ball :  สำหรับใช้บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นของน้ำเน่าเสียในสภาพน้ำนิ่ง หรือท่วมขัง ที่ระดับความลึก 1-2 เมตร

ข้อควรระวังการใช้ 

  1. การโยน EM Ball  ในระดับน้ำเน่าเสียที่ลึกมากเกินไป  ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนน้อยมากนั้น จุลินทรีย์จะไม่สามารถทำงานได้ดี และจะกลายเป็นของเสียอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเพิ่มความเน่าเสียของน้ำ
  2. ห้ามใช้ร่วมกับสารเคมี  ยาปฎิชีวนะ หรือยาฆ่าแมลงเนื่องจาก EM Ball  เป็นสิ่งมีชีวิต  สารเคมีดังกล่าวอาจทำร้าย และฆ่าจุลินทรีย์ดังกล่าวได้

วันที่ผลิต: 2-4 พฤศจิกายน 2554 

หมดอายุ:  1 มิถุนายน 2555

 อ่านเพิ่มเติม

หมายเลขบันทึก: 468039เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2011 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

Great work from great minds with great passions.

Salute

ขอบคุณค่ะคุณ sr

สวัสดีค่ะน้อง อ.ดร.ขจิต

  • ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ
  • ได้เรียนรู้ได้ปั้นลูกจุลินทรีย์ ไม่ลองไม่รู้ว่าทำอย่างไรด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ดาวสกาวใจ

ร่วมด้วยช่วยกัน ขอบฟ้าภูผาทะเลมิกางกั้น

อังคาร พุธนี้ ที่โรงเรียนก็จะทำอีเอ็มบอลล์กันค่ะ

มาอ่านบันทึกนี้แล้ว ได้ความรู้เพิ่มเติมขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง Poo

  • ปั้นก้อนจุลินทรีย์ ยังต้องการใช้อีกมากมายค่ะ
  • พี่เพิ่งมาอัพเดทเอกสารการทำก้อนจุลินทรีย์ไว้ในบันทึกนะคะ 
  1. การทำหรือเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (คลิกอ่านเอกสาร>>ที่นี่ค่ะ)
  2. ขั้นตอนการทำก้อนจุลินทรีย์ (EM Ball) (คลิกอ่านเอกสาร>>ที่นี่ค่ะ)
  • รวมถึงลิงค์ข้อมูลที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ด้วย เผื่อจะเป็นประโยชน์ค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณดาวลูกไก่ พี่จ๊ะของน้องจ๊ะ
  •  มาชื่นชมกิจกรรมดีดีของ มช.ค่ะ
  •  เป็นกำลังใจให้ผู้ที่ประสบภัยทุกท่านค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • ตามมาชื่นชมยินดีกับกิจกรรมช่วยน้ำท่วมได้ดีมากๆ
  • เรากำลังต้องช่วยเรื่องน้ำเน่าอย่างยิ่งนะคะ
  • ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะอา(จารย์)จ๊ะ เอื้องแซะ

  • ขอบคุณค่ะ มีความสุขกับกิจกรรมดีดีที่เป้าหมายร่วมกันค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่าน ศน.ลำดวน

  • ขอบคุณค่ะ

ช่วงนี้กรุงเทพและหลายๆจังหวัดน้ำท่วม และไฟฟ้าก้ดับ ผมขอแนะนำตะเกียงน้ำมันพืชไว้ให้แสงสว่างครับ

อุปกรณ์

-ข้าวสาร

-แก้วน้ำ

-น้ำมันพืช

-เศษผ้ายาว เท่ากับความสูงของแก้ว

วิธีทำ

-นำเศาผ้ามาใสในแก้ว ใช้มือจับเศาผ้าไว้ แล้วเทข้าวสารลงในแก้ว ให้เศษผ้าอยู่ตรงกลางแก้ว

- เทน้ำมันพืชลงในแก้วที่มีข้าวสารและเษศผ้า ให้ท่วมข้าวสารเลกน้อย

- แค่นี้ก็สามารจุดไฟให้แสงสว่างได้แล้วครับ

สวัสดีค่ะพี่ดาวช่วงนี้แทบจะไม่ได้เข้ามาเยี่ยมทางนี้ค่ะงานเยอะจริงๆค่ะ ดีใจที่มีกิจกรรมจิตอาสาดีๆของลูกช้างนะคะ ..ได้แต่ส่งกำลังใจไปช่วย และขอเป็นกำลังใจต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ดาว

ขอส่งกำลังใจ...ไปช่วยปั้นดินเจ้าค่ะ ^_^

Welcomeg2kktk

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.คนสองเล

  • ขอบคุณความรู้เพิ่มเติมเพื่อสะสมในบันทึกค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักและขอบคุณที่เยี่ยมบันทึกค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ บีเวอร์

  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องครู Rinda

  • เรียนก็หนัก ทำงานไปด้วยใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะน้อง หนูรี

  • เช้านี้ฟังข่าว ยังต้องการการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอีกหลายจังหวัดเลยค่ะ
  • เห็นงาม เห็นดี เห็นด้วย..มาช่วย(ให้กำลังใจ)ปั้นดิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท