แม่นมผักหวาน : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่4


แม่นมผักหวานป่า ด้านดีๆ(ประโยชน์)จากต้นตะขบ (พืชนอกสายตา)

          

      สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน(ผู้ชม)หลังจากที่ดิฉันได้นำเสนอเกี่ยวกับการวางแผน-ปลูกผักหวานป่าร่วมกันกับต้นตะขบไปก่อนหน้านี้ทั้งด้านเนื้อหาและรูปภาพพอสังเขปแล้วนั้น.

         ในบันทึกฉบับนี้ดิฉันขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับพืชพี่เลี้ยง(แม่นมผักหวานป่า)ที่มีชื่อเรียกว่าต้นตะขบฝรั่ง(ตะขบ-ภาคกลาง,มะแกว๋นควาย-ภาคเหนือ,หมากตากบ,ตะขบ-ภาคอีสาน,ครบฝรั่ง-ภาคใต้)

 

           ตะขบฝรั่ง :มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMunting Calabural  อยู่ในวงศ์ Tiliaceae  ชื่อสามัญ  Jamaican Cherry

สรรพคุณทางด้านสมุนไพร:เปลือกใช้ต้มเป็นยาระบาย  รากแก้เสมหะ โรคผิวหนังและผื่นคันตามตัว  ลำต้นแก้โรคผิวหนัง เนื่อไม้ใช้ขับไส้เดือน แก้ไข้หวัด แก้ปวดศีรษะ  ใบรสฝาดเอียนขับเหงื่อ  ดอกนำดอกแห้งมาชงเป็นชาแก้ปวดศีรษะลดไข้ แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร(โรคกระเพราะอักเสบ)  ผลรสหวาน-เย็น-หอม(บำรุงหัวใจ)

      นี่คือประโยชน์ในส่วนเฉพาะของต้นตะขบค่ะ(ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ :ตะขบฝรั่ง)

        ในส่วนเนื้อหาข้อมูลที่ดิฉันจะนำเสนอต่อท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกต(ทดลอง-ศึกษาค้นคว้า) การปลูกผักหวานป่าร่วมกันกับต้นตะขบ  ซึ่งได้ทำให้พบเห็นความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกันของพืชทั้งสองชนิดดังกล่าว รวมถึงการแบ่งปันต่อไม้ร่วมชนิดต่างๆที่อยู่โดยรอบและใกล้เคียงหากเอ่ยชื่อตะขบเชื่อว่าหลายๆท่านต้องรู้จักเป็นอย่างดี(และอาจจะเป็นพืชนอกสายตาของใครหลายๆคน) หากให้นึกถึงประโยชน์ของพืชชนิดนี้หลายๆท่านคงนึกตรงกัน ตรงที่ร่มเงาของต้นตะขบที่เย็นสบายกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆในช่วงฤดูร้อนที่แห้งแล้ง(ต้นไม้ส่วนมากผลัดใบ)

 

       ประโยชน์จากต้นไม้ที่มีชื่อว่าตะขบ(แม่นมผักหวานป่า)ด้านดีๆจากพืชนอกสายตา

  1. ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลปฏิสัมพันธ์เผื่อแผ่ดูแลซึ่งกันและกันกับผักหวานป่าตั้งแต่(แบเบาะ) ระบบรากฝอย(รากหาอาหาร)ที่เดินทางไปด้วยกัน แบ่งอาหาร แบ่งอากาศ แบ่งน้ำให้แก่กัน ร่มเงาที่บางเบาแต่เรียงร้อยเป็นชั้นๆ อากาศถ่ายเทสะดวก-เย็นสบายในทุกฤดูกาล (โดยเฉพาะหน้าหนาวและหน้าร้อน-ฤดูการเจริญเติบโตของผักหวานป่าทั้งต้นเล็กๆและต้นใหญ่ๆ)ซึ่งทำให้ผักหวานป่าที่ปลูกใต้ร่มเงาของต้นตะขบมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าผักหวานที่ปลูกใต้ร่มเงาของพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ(ด้วยเหตุนี้จึงตั้งชื่อว่าแม่นมผักหวานป่า)

  2. เวลา:คือสิ่งมีค่าที่ตะขบให้มา (เปรียบเทียบกันกับต้นไม้อื่นที่ปลูกผักหวานป่าภายใต้ร่มเงา หากปลูกคู่กับต้นตะขบ2ปี เก็บกิน-ทาน(ทำบุญ) 3ปีเก็บขาย  หากเป็นต้นไม้อื่นๆ 5ปีเก็บกิน 7ปีเก็บขาย (เป็นอย่างต่ำ)

  3. ใบ-ผล:อยู่บนต้น ผล เป็นอาหารให้กับนกและสัตว์ชนิดต่างๆ(รวมทั้งคน) ได้ชิมความหวานนุ่มละมุนหอมที่ใครๆที่อยู่ไกล้และพบเห็นลูกสีแดงสด  ก็มิอาจอดใจไหว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่(ลูกเล็กๆแต่ชุ่มฉ่ำถึงหัวใจ) ใบ ก็ให้ความร่มเย็นผลิตออกซิเจนให้กับมนุษย์เราและโลกใบนี้ ลดความร้อนของแม่ธรณี(ที่ยืน-ที่อยู่อาศัย-หลบภัยของเหล่าสรรพสัตว์)

  4. ผล เมื่อล่วงลงสู่ดินพื้นล่าง เป็นอาหารให้เป็ด ไก่ กลิ้งกลือ ปลา(สัตว์ที่อยู่พื้นล่างชนิดต่างๆ) เนื้อผล-ความหวาน-สารวิตมินต่างๆ เป็นอาหารให้กับดิน จุลินทรีย์ต่างๆสร้างสิ่งดีที่เป็นประโยชน์ มากกว่าโทษให้กับแผ่นดิน(แม่พระธรณี) เกื้อกูลอาหาร(ตอบแทนคืนให้กับต้นตะขบเอง)และแบ่งปันให้กับระบบรากของผักหวานป่ารวมถึงต้นไม้อื่นๆที่อยู่ภายใต้ร่มเงาและใกล้เคียง ส่วนของใบ หลังจากร่วงหล่นลงสู่ดิน เป็นอาหารของปลวกและการย่อยสลายเน่าเปื่อยตามระบบธรรมชาติ สุดท้ายกลายเป็นปุ๋ย-อาหาร ปรับปรุงบำรุงดินให้ร่วนซุยให้สัตว์ใต้ดินได้อยู่อาศัย ขุดรูสร้างรังนำพาน้ำและอากาศ(รากตะขบ-รากผักหวาน)ลงสู่ใต้ดิน เกิดเป็นระบบนิเวศการเกื้อกูลปฏิสัมพันพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิต.(ชีววิทยา-สัตวศาสตร์)

  5. ช่วยควบคุม(กำจัด)หญ้าวัชพืช :โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี ภายใต้ร่มเงาของต้นตะขบหากสังเกตจะพบว่าแทบไม่มีหญ้า-วัชพืชขึ้นปกคลุมเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ

หญ้าและวัชพืชต่างๆหนีหายโดยไม่ต้องใช้ยาสารเคมีหรือเครื่องตัดหญ้า

 

       ทั้งหมดคือมุมมองจากประโยชน์ของต้นตะขบ ที่ดิฉันและคุณโอภาส ไชยจันทร์ดีได้พบเห็น(สัมผัส)จากการทดลองค้นคว้าในสูตรทรัพสินทางปัญญาสูตร-วิธีปลูกผักหวานป่าคู่กันกับต้นตะขบ ( I LOVE TAKOP )

 

 

หมายเลขบันทึก: 467955เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2011 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าสมเพชเวทนาหรือน่าขำ
  • แสดงนำทำตลกกันยกใหญ่
  • เมื่อน้ำท่วมอ่วมอานบานตะไท
  • ไม่มีใครรับผิดชอบประกอบการ เล้ยยยย

 

ชอบผักหวานป่าครับ

จะปลูกบ้าง

ขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์โสภณ เปียสนิท ที่ชอบผักหวานป่า

อุฑยานผักหวานป่า'๔๔ รู้สึกดีใจที่จะมีผู้ร่วมปลูก(oxygen)-อนุรักษ์พืชโบราณเพิ่มขึ้นอีก

ขอบพระคุณทุกๆท่านค่ะที่มอบดอกไม้กำลังใจคนปลูกดิน-สร้างสีเขียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท