68. “น้ำท่วม” ประเทศไทย ปี 2554


“น้ำท่วม” ประเทศไทย ปี 2554

 

 

 

เรื่อง “น้ำท่วม” ประเทศไทย ปี 2554

 

                นับได้ว่าตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา ผู้เขียนได้เห็นเรื่อง “น้ำท่วม” ซึ่งกลายเป็นเรื่อง Top ฮิต มาจนถึงปัจจุบัน เพราะน้ำยังลงทะเลไม่หมดสักที ความเดือดร้อนของครอบครัวผู้เขียนที่โดนผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2554 นี้ คือ น้ำท่วมข้าวในนาข้าวประมาณ เกือบ  70 ไร่ ได้รับความเสียหายหมดเลย เรียกว่า “ลงทุนไปเท่าไร ก็สูญหายหมด” ถึงแม้ว่ารัฐจะจ่ายค่าตอบแทนคืน ก็ใช่ว่าอยากได้ เพราะไม่คุ้มกับการที่ครอบครัวเราจะได้ผลผลิตเอง...

                สำหรับปีนี้ แม้แต่ในสวน ไม้ผลต่าง ๆ เช่น ลองกอง ขนุน มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย น้อยหน่า มะละกอ ฯลฯ ที่พ่อเคยได้ลงแรงไว้เมื่อตอนท่านยังไม่ได้เป็นโรคอัมพฤกษ์ ก็มลายหาย ตายไปกับสายน้ำ แม้แต่ต้นสักทองก็เล่นเอาตายไปหลายต้นอยู่...เพราะต้นสักไม่ชอบน้ำ (ยิ่งน้ำท่วม ต้นสักไม่ชอบ...) แต่ไฟไหม้ก็พอได้ และจะแตกใบก็ต่อเมื่อฝนตก ต้นสักมันก็จะฟื้นคืนต้นแตกใบออกมาให้ใหม่...รัฐจ่ายคืนก็ไม่คุ้มแล้วก็ไม่อยากได้  ไม่เหมือนกับที่พวกเราได้ลงทุน ลงแรงไป นี่คือ “อาชีพเสริมหรืออาชีพดั้งเดิมของพวกเรา” ก่อนที่ตัวเราจะได้ไปรับราชการ หวังว่าเมื่อเกษียณกลับมา เราก็จะได้มาดูแล ไร่นา สวน แต่บัดนี้ กลับอันตธานหายไปกับสายน้ำในปี 2554 ถ้าบอกว่า “ให้ฟื้นฟู” ผู้เขียนบอกได้เลยว่า “เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก” ยากในเรื่องของการลงแรง + เสียเวลา ที่พวกเราต้องมาเริ่มต้นกันใหม่ เรื่องพันธุ์ไม้ยังไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่ “เวลา” นี่สิ ไม่มีใครสามารถเอาเวลากลับคืนมาได้ ก็ได้แต่นั่ง “ทำใจ” คิดไปก็เครียด บอกไม่ถูก แต่ก็ต้องตั้งสติ ทำใจให้ได้ เพราะคนที่แย่กว่าก็ยังมีอีกมากในขณะนี้

                เมื่อช่วงน้ำท่วมที่จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ครอบครัวของน้องก็ไม่สามารถจะอยู่ที่นั่นได้ เพราะบ้านที่ได้ซื้อไว้ น้ำท่วมชั้นล่าง แต่ก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะไม่ทราบว่าบ้านจัดสรรต่อไฟฟ้าไว้อย่างไร เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตน้อง ๆ และหลาน ๆ อีก เนื่องจากมีคนเสียชีวิตเพราะไฟฟ้าช็อตมากจริง ๆ เรียกว่า "เกิดความเสี่ยง" (Risk) ครอบครัวของน้องเลยตัดสินใจมาอยู่กับผู้เขียนที่บ้านที่พิษณุโลกกัน ถึงแม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติดังกล่าวนี้ ผู้เขียนทราบดีว่า น้อง ๆ ก็ไม่อยากหยุดงานกันหรอก สังเกตจากโทรศัพท์ถามข่าวคราวเรื่องน้ำท่วมว่าเมื่อไรจะลดกันอยู่ตลอดเวลา

                แต่เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2554  น้อง ๆ ก็มาบอกว่าจะพาหลาน ๆ กลับปทุมธานี เพราะมีคนส่งข่าวว่าน้ำลดแล้ว ผู้เขียนยังคิดในใจแต่ไม่ได้บอกน้องหรอกว่า “จริงรึ” ทำไมมันลดลงเร็วจริง เพราะแถว ๆ ดอนเมือง ตอนดูข่าวยังอยู่เตรียมเปี่ยมเลย น้อง ๆ ก็เลยตัดสินใจกลับโดยออกจากบ้านที่พิษณุโลก ประมาณ ตี 4 ผู้เขียนโทรหาน้องตลอดว่าเป็นอย่างไรบ้าง? ถึงไหนแล้ว ก็ได้รับคำตอบว่า “ยังไม่ถึง ถ้าถึงแล้วจะบอก” กว่าผู้เขียนจะได้รับคำตอบ ก็เกือบ 2 ทุ่ม น้องโทร. มาบอกว่า “ยังเข้าบ้านที่ปทุมธานีไม่ได้เลย เพราะน้ำยังสูงอยู่...และจะกลับมาอยู่ที่พิษณุโลกอีกก่อน”...เท่านั้นเอง ผู้เขียนก็หัวเราะบอกกับน้องว่า “นึกแล้ว ว่ามันต้องยังไม่ลด”...น้องบอกว่า น้ำยังไม่ลงเลย ยังลำบากในการเข้าไปอยู่ในบ้าน เพราะที่หน้าหมู่บ้านน้ำยังอยู่ในระดับเอวถึงอกเลย...คงไม่ไหวหรอก อีกประมาณสัปดาห์แหล่ะที่น้ำจะลดลง...แล้วน้องก็เดินทางกลับมาพักอยู่บ้านที่พิษณุโลกต่อ โดยมาถึงประมาณ ตี 2 ของอีกวันหนึ่ง

                "เตย"...หลานชายบอกว่า “ป้า...น้ำที่ดอนเมืองเหมือนกับเขื่อนเลยแหล่ะ” พร้อมกับถ่ายรูปมาให้ดู...นี่คือ ช่วงชีวิตช่วงหนึ่งที่ครอบครัวของพวกเราประสบกับปัญหา แม้จะไม่ได้ผลกระทบเช่นกับผู้ที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้ แต่สิ่งที่ครอบครัวเราได้สูญเสียก็มีไม่น้อย และจะเรียกคืนได้นั้น ก็แสนยาก...และก็แสนเหนื่อย...เสียดายเวลาที่เราได้สะสมกันมา...มันไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้...แล้วแบบนี้จะโทษใครกันล่ะ?...

              แม้ว่าครอบครัวของเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปลูกต้นไม้ยืนต้น เช่น ต้นสักทอง ต้นยางนา ฯลฯ เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน อนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ก็เป็นเพียงแค่เศษธุลีเดียวที่ไม่สามารถไปต้านทานแรงที่จะทำให้เกิดอุทกภัยในครั้งนี้ได้...

 

 

 

 

 

 

"เตย" หลานชาย...ได้ถ่ายมาให้ผู้เขียนได้ดูว่า

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 สนามบินดอนเมือง

มีสภาพเป็นแบบนี้ไปแล้ว...

 

 

หมายเลขบันทึก: 467393เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2011 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2013 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

.....ไม่มีคำว่าสาย..เมื่อมีคำว่าเริ่มต้น...รู้อยู่กับ..ปัจจุบัน...(คงจะพอเพียงกับปัญหาเฉาะหน้า)..นะเจ้าคะ..มาเป็นกำลังใจเจ้าค่ะ..ยายธี

ไม่มีคำว่าสาย สำหรับการเริ่มต้นใหม่ เป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ สู้ สู้

  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ คุณ Ico48 + Ico48 + Ico48

สวัสดีค่ะ คุณยายธี Ico48...

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ...บางทีคนเราทำงานมาก ๆ ก็เริ่มเหนื่อย ยิ่งมาเจอปัญหาแบบนี้ บอกได้เลยค่ะว่า "ท้อ" + "เหนื่อย"...แต่ก็ไม่ถอยหรอกค่ะ ทำให้เรารู้ว่า นี่คือ "ชีวิต" เมื่อเราล้ม เราก็ต้องลุกขึ้นมา สู้กับปัญหาต่าง ๆ และเราก็ต้องฟันฝ่าปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ออกไปได้ ทำให้เห็นสัจธรรมสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์จริง ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...
  • สวัสดีค่ะ คุณสายใจ Ico48
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ...ค่ะ ก็คงเริ่มต้นกันใหม่สำหรับครอบครัวของเรา ก็จะทำจนกว่าเราจะหมดแรงนั่นแหล่ะค่ะ...เพียงแต่รู้สึกน้อยใจลึก ๆ ว่า "เสียดายเวลาที่ได้ลงทุน ลงแรงไปเท่านั้นเองค่ะ"...
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
  • เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจจริงๆ ค่ะ กับการสูญเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นา 70 ไร่ และสวนผลไม้มรดกของคุณพ่อ
  • เข้าใจ เห็นใจ เพราะเทียบกับตัวเองแล้ว ต้นไม้ที่เสาะหาและนำไปปลูกที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ แล้วตายไปเพียงต้นเดียว เรายังเสียใจขนาดนั้น แล้วผู้ที่ต้องสูญเสียผลผลิตจำนวนมากกว่าหลายร้อยหลายพันเท่า จะเสียใจแค่ไหน
  • ขอเป็นกำลังให้นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ ท่าน ผศ.วิไล...Ico24
  • ค่ะ อดีตชีวิตลูกชาวนา ตั้งแต่ลืมตาอ้าปากมา สามารถนับครั้งได้เลยค่ะว่า ทำนาแล้วได้กำไร ประมาณกี่ครั้ง ส่วนใหญ่จะได้เพียงแค่พออยู่พอกิน พอจะได้ดีก็เกิดอาหารน้ำท่วมบ้าง เพลี้ยกินบ้าง...นี่กระมังค่ะ ที่เป็นสาเหตุของการทำนาแล้วไม่รวย...เพราะเงินที่ได้ในแต่ละครั้งไม่คงที่ ไม่เหมือนกับการได้รับเงินเดือนของข้าราชการประจำ ที่พอถึงเดือนก็จะได้รับ...
  • นี่ขนาดผู้เขียนมีรายได้ 2 ทาง แบบนี้ แล้วคนอื่นที่เขามีรายได้ทางเดียว คือ ทำไร่ สวน ทำนา แล้วเขาจะมีรายได้เพิ่มอีกตรงไหนละค่ะ...
  • สำหรับอาชีพเกษตรกร สิ่งที่ทำได้หลังน้ำท่วม นั่นคือ "การฟื้นฟู" แต่การฟื้นฟูในแต่ละครั้ง เรียกว่า "เหนื่อยมาก ๆ เลยค่ะ" แต่ก็ต้องทำค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาเยี่ยมและเป็นกำลังใจให้นะคะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจ + ดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ อาจารย์จิตติมา Ico48
  • ก็คงไม่มีทางเลือกไหนอีกแล้ว นอกจากเราต้องเริ่มต้นใหม่ค่ะ...
  • เพียงแต่เสียดายเวลาที่สะสมมาแต่กลับต้องมาสูญหายไปในพริบตาค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท