ผลการศึกษาปลูกข้าวต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์


การปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ผลการ การทดลองศึกษาการปลูกข้าวต้นเดี่ยวในภาชนะชนิดต่างๆ

๑. การปลูก(ปักดำ)ข้าวในท่อซีเมนต์ ใช้ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ทั้งสองท่อค่ะ แต่ท่อที่หนึ่งขังน้ำได้ ท่อที่สองขังน้ำไม่อยู่ จึงเป็นข้อดีได้เปรียบเทียมกันได้ง่ายขึ้น เหมือนจำลองนาลุ่มและนาดอน

ปรากฏว่าข้าวทั้งสองท่อ มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่ เมษายน - เดือนสิงหาคม

พอเข้าสู่เดือนกันยายน เริ่มมีความแตกต่าง ในท่อนาดอนข้าวเริ่มใบแห้งเนื่องจากท่อเก็บน้ำไม่อยู่ต้องเติมน้ำวันละสองครั้ง

ข้าวในท่อนาลุ่มยังดูแข็งแรงเริ่มลำอวบออกอาการว่าพร้อมที่จะตั้งท้องช่วงกลางกันยายน พอเข้าเดือน ตุลาคมก็ออกดอกสวยงาม

จนปลายเดือนตุลารวงข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้

จึงทำการเก็บเกี่ยวในวันที่ ๓๐ ตค. ๒๕๕๔ และตากรวงให้แห้ง

พอรวงแห้งรวบรวม และนับจำนวนรวงทั้งหมดได้ ๑๐๓ รวง เป็นรวงหักก่อนที่ข้าวจะแก่ รวง จึงมีรวงข้าวที่มีข้าวทั้งหมด ๙๘ รวง ทำการทะยอยนับเมล็ด ที่แยกข้าวออกจากรวง ที่ละรวง โดยแยกนับเมล็ดข้าวดี  และข้าวลีบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดทุกรวง


สรุปผลการศึกษาปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ ในท่อซีเมนต์ท่อแรก(นาลุ่ม) ปลูกหกต้นเสียหายไปสามต้น เหลือสามต้นแตกกอกว่าร้อยลำแต่หักไปส่วนหนึ่งเหลือทั้งหมด ๑๐๓ ลำให้รวงทั้งหมด ๑๐๓ รวงแต่รวงหักไปก่อนที่เมล็ดจะพัฒนาต่อไป คงได้รวงที่มีเมล็ดข้าวแค่ ๙๘ รวง ได้เมล็ดข้าวทั้งหมด ๑๕,๕๘๓ เมล็ด เป็นข้าวเมล็ดสมบูรณ์ ๑๑,๕๑๘ เมล็ด
สรุปลงทุนปลูกข้าวเมล็ด(ต้นตายไป ต้น)  ได้ข้าวทั้งหมด ๑๑, ๕๑๘ เมล็ดค่ะ

ส่วนข้าวในท่อซีเมนต์ที่สอง ข้าวเริ่มจะแก่แล้ว คงเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนตุลา แต่ผลผลิตจะต่างกับท่อแรกอย่างเห็นได้ชัด แล้วจะสรุปผลหลังเก็บเกี่ยวค่ะ

หมายเลขบันทึก: 467334เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2011 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

Ico64

 แวะมาชื่นชมผลการศึกษาปลูกข้าวต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์... แต่อ่านแล้วนึกถึงอันตรายอันใหญ่หลวงต่อสุขภาพจาก "แร่ใยหิน" หรือ "แอสเบสทอส" (Asbestos) ที่มีอยู่ท่อซีเมนต์นะคะ....

 

ถ้าใช้สารชนิดที่อิสราเอลใช้รองพื้นทรายมาปรับใช้ ก็น่าจะเป็นทางออกนะครับ แรกเลยผมคิดถึงถุงพลาสติกรองก็น่าจะทำให้สารแร่หินน้อยลงได้แบบไม่ทำลายสุขภาพก็ได้นะครับ แต่ในส่วนที่สนใจของงานนี้ก็คือการมีทางออกสำหรับพื้นที่ปลูกข้าวที่มีน้ำท่วม น้ำแล้ง ก็จะยังสามารถยังชีพต่อไปได้นะครับ

ขอบคุณค่ะIco48

แร่ใยหินนั้นเรานำเข้าค่ะและมีการควบคุมค่ะ จึงไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมเพื่อได้บอกทุกคนให้ระวังมากขึ้นโดยเฉพาะบ้านที่ใช้กระเบื้องมุงหลังคา ส่วนท่อส้วมไม่น่ามีค่ะเพราะถ้าใส่แร่ใยหินราคาก็แพงมากค่ะ และใช้งานคนละวัตถุประสงค์กับพวกท่อซีเมนต์ระบาบน้ำ หรือกระเบื้องมุงหลังคาค่ะ

http://advisor.anamai.moph.go.th/252/25204.html

ขอบคุณค่ะIco48

แต่อยากให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแร่ใยหินด้วยค่ะตามที่ลิงค์ให้ ในคำตอบข้างบน  และเห็นด้วยในการใช้แ่ผ่นพลาสติกแผ่นยางกันน้ำได้ มาช่วยในพื้นที่เล็กๆได้ แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ใหญ่ค่ะ พื้นที่น้ำท่วมไม่ปัญหาค่ะ ปลูกข้าวบนแพรอยน้ำ(ราชธานีอโศก)ได้ค่ะ ในที่แห้งแล้งก็มีวิธีการทุกปัญหามีทางแก้ ขอให้เข้าใจพื้นที่ เข้าใจข้าว การบริหารจัดการได้ค่ะ แต่ที่สำคัญคือลดต้นทุนเพิ่มผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมค่ะ

สวัสดีค่ะ

ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯเขาคันทรง

ปลุกบ้านเสร็จแล้วค่ะ

เหลือที่สัก 1 ไร่ และรอบสระน้ำใหญ่อีกหน่อย

ว่าจะปลูกพืชสมุนไพร

มีอะไรแนะนำบ้างไหมค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

โดยทั่วไปน่าปลูกไม้ใหญ่(พืชทุกชนิดเป็นสมุนไพรอยู่แล้วค่ะ)รอบพื้นที่ล้อมที่แซมด้วยกล้วย ไผ่ ขนุนมะม่วงเงาะมังคุด ทุเรียนตามที่ชอบอย่างต้นสองต้นจะได้มีความหลากหลาย ปลูกสมุนไพรที่ต้องการล่มถัดเข้ามา จากนั้นก็ปลูกพืชผักทุกอย่างที่กิน มะกูดมะนาวมะพร้าว ส้มโอ ฟักแฟงแตงกวา ถั่วพลูถั่วพร้า ถั่วฝักยาวผักกินใบตามที่ชอบ พริก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้  ปลูกผักหวาน/กะเพรา/เล็บครุฑฯลฯ  เป็นรั้วบ้าน  เลือกเาตามใจ ทำใจตามใจตัวเองดีที่สุดค่ะ

 

ผักหวานบ้านค่ะปลูกเป็นรั้วยิ่งเด็ดยิ่งแตกไม่ต้องตัดแต่งให้เปลืองแรง เอามทำกับข้าวกินสบายๆ อย่าลือปลูกบวบ ปลูกกระชายปลูกใบแมงลัก ใบโหรพา

เล็บครุฑปลูกทำรั้วก็สวยเพราะมีใบสวยงามเอามาซุบแป้งทอด หรือใส่ในกุ้งทอดจะหอมและอร่อยค่ะ

อยากทราบว่าการปลูกแบบนาลุ่มกับนาดอน อย่างใหนที่ให้ผลผลิตมากกว่ากันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท