พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

กรณีคุณชุณห์พิมาน : ชาวแม่ฮ่องสอน (ผู้ประสงค์ขอความรู้ในการแก้ปัญหาสถานะทางกฎหมาย)


รายงานการทำงาน เริ่มต้นจากการติดต่อผู้ใคร่ขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อดำเนินการขั้นแรก คือ สอบถาม และเก็บข้อเท็จจริง

กรณีคุณชุณห์พิมาน : ชาวแม่ฮ่องสอน

                ในช่วงก่อนหน้านี้ คุณชุณห์พิมาน ได้มีหนังสือฉบับน้อย เพื่อแจ้งขอเข้าพบกับ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ โดยไม่ได้ระบุเหตุผลที่แน่ชัด กล่าวเพียงว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสัญชาติ

                ดังนั้น รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ จึงได้มอบหมายให้กับผู้เขียนซึ่งเป็น "ผู้ช่วยทางวิชาการของท่าน และในฐานะเป็นนักกฎหมายอาสาสมัครแห่งโครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษากฎหมายด้านสถานะและสิทธิของบุคคล" ติดต่อประสานกับคุณชุณห์พิมาน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นและรวบรวมเอกสารประจำตัวหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคล ทั้งนี้ตามหลักการทำงานของนักกฎหมายที่ต้องเก็บข้อเท็จจริง และทราบข้อเท็จจริงในระดับหนึ่ง หรือเพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายปัจจุบัน ถัดจากนั้นจึงค่อยกำหนดวันพบปะเพื่อขอคำปรึกษาต่อไป

                เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2554

ผู้เขียนได้ประสานงานทางโทรศัพท์กับคุณชุณห์พิมาน ได้ความว่า เธอเป็นชาวแม่ฮ่องสอน เธอไม่ได้ประสบปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายแต่ประการใด แต่กรณีที่เธอติดต่อเข้ามานั้นเนื่องจาก ผู้ที่เธอรู้จัก 3 รายประสบปัญหา เธอจึงประสงค์จะขอความรู้จากนักกฎหมายเพื่อเป็นทุนความรู้สำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทั้ง 3 รายดังกล่าว

                ในการนี้ผู้เขียนจึงได้ทำความเข้าใจถึง หลักเกณฑ์การทำงานของนักวิชาการสายกฎหมายในมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งโครงการบางกอกคลินิก ซึ่งสามารถและยินดีในการให้ความรู้หรือเป็นที่ปรึกษากับผู้ที่ประสบปัญหา แต่ทั้งนี้ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย นักวิชาการก็มีบางประการที่แตกต่างจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ของรัฐ  ซึ่งอาจจะมีบทบาทในเชิงรุกในการแก้ปัญหาเรื่องสถานะบุคคล เช่น กรมการปกครอง หน่วยงานส่วนภูมิภาเช่น อำเภอ  หรือบทบาทในเชิงรับเพื่อตรวจสอบการกระทำเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                และในกระบวนการทำงานของภาควิชการการอย่างมหาวิทยาลัย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทราบข้อเท็จจริงประกอบกับพยานหลักฐาน โดยการสอบปากคำ บันทึกคำพยาน ของผู้ที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลและประสงค์จะขอคำปรึกษา แต่ในการนี้คุณชุณห์พิมาน ซึ่งเข้าใจกระบวนการทำงานของเราแล้วนั้น ได้แจ้งว่าในกรณีผู้ประสบปัญหา 3 รายก่อนหน้านี้นั้น ได้ดำเนินการแก้ปัญหาอยู่ ทางคุณชุณห์พิมานเองขณะนี้ยังไม่มีข้อติดขัดที่จะขอคำปรึกษาในช่วงนี้ เธอจึงเห็นว่าอาจจะยังไม่ขอให้ข้อมูล หรือกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับทั้ง 3 ราย เพราะเจ้าของปัญหาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของตนเองแล้ว แต่ในโอกาสหน้าหากคุณชุณห์พิมานพบผุ้ประสบปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลเช่นนี้อีก จะขอนำมาปรึกษากับทางอาจารย์และ ทางโครงการฯ และดำเนินการตามกระบวนการของโครงการในโอกาสหน้าต่อไป

กรณีคุณชุณห์พิมาน : ชาวแม่ฮ่องสอน

                ในช่วงก่อนหน้านี้ คุณชุณห์พิมาน ได้มีหนังสือฉบับน้อย เพื่อแจ้งขอเข้าพบกับ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ โดยไม่ได้ระบุเหตุผลที่แน่ชัด กล่าวเพียงว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสัญชาติ

                ดังนั้น รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ จึงได้มอบหมายให้กับผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ช่วยทางวิชาการของท่าน และในฐานะเป็นนักกฎหมายอาสาสมัครแห่งโครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษากฎหมายด้านสถานะและสิทธิของบุคคล ติดต่อประสานกับคุณชุณห์พิมาน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นและรวบรวมเอกสารประจำตัวหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคล ทั้งนี้ตามหลักการทำงานของนักกฎหมายที่ต้องเก็บข้อเท็จจริง และทราบข้อเท็จจริงในระดับหนึ่ง หรือเพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายปัจจุบัน ถัดจากนั้นจึงค่อยกำหนดวันพบปะเพื่อขอคำปรึกษาต่อไป

                เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2554

ผู้เขียนได้ประสานงานทางโทรศัพท์กับคุณชุณห์พิมาน ได้ความว่า เธอเป็นชาวแม่ฮ่องสอน เธอไม่ได้ประสบปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายแต่ประการใด แต่กรณีที่เธอติดต่อเข้ามานั้นเนื่องจาก ผู้ที่เธอรู้จัก 3 รายประสบปัญหา เธอจึงประสงค์จะขอความรู้จากนักกฎหมายเพื่อเป็นทุนความรู้สำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทั้ง 3 รายดังกล่าว

                ในการนี้ผู้เขียนจึงได้ทำความเข้าใจถึง หลักเกณฑ์การทำงานของนักวิชาการสายกฎหมายในมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งโครงการบางกอกคลินิก ซึ่งสามารถและยินดีในการให้ความรู้หรือเป็นที่ปรึกษากับผู้ที่ประสบปัญหา แต่ทั้งนี้ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย นักวิชาการก็มีบางประการที่แตกต่างจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ของรัฐ  ซึ่งอาจจะมีบทบาทในเชิงรุกในการแก้ปัญหาเรื่องสถานะบุคคล เช่น กรมการปกครอง หน่วยงานส่วนภูมิภาเช่น อำเภอ  หรือบทบาทในเชิงรับเพื่อตรวจสอบการกระทำเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                และในกระบวนการทำงานของภาควิชการการอย่างมหาวิทยาลัย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทราบข้อเท็จจริงประกอบกับพยานหลักฐาน โดยการสอบปากคำ บันทึกคำพยาน ของผู้ที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลและประสงค์จะขอคำปรึกษา แต่ในการนี้คุณชุณห์พิมาน ซึ่งเข้าใจกระบวนการทำงานของเราแล้วนั้น ได้แจ้งว่าในกรณีผู้ประสบปัญหา 3 รายก่อนหน้านี้นั้น ได้ดำเนินการแก้ปัญหาอยู่ ทางคุณชุณห์พิมานเองขณะนี้ยังไม่มีข้อติดขัดที่จะขอคำปรึกษาในช่วงนี้ เธอจึงเห็นว่าอาจจะยังไม่ขอให้ข้อมูล หรือกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับทั้ง 3 ราย เพราะเจ้าของปัญหาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของตนเองแล้ว แต่ในโอกาสหน้าหากคุณชุณห์พิมานพบผุ้ประสบปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลเช่นนี้อีก จะขอนำมาปรึกษากับทางอาจารย์และ ทางโครงการฯ และดำเนินการตามกระบวนการของโครงการในโอกาสหน้าต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 467322เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2011 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท