การเรียนคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ TGT


การแข่งขันคณิตศาสตร์ TGT
การวิจัยเรื่องผลของการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนดาราวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2546

หลักการและเหตุผล

                        วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่ว่าวิชาใด ครูมักใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพบว่าวิธีนี้นอกจากจะเป็นวิธีที่ซ้ำซาก ทั้งยังทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และง่วงนอนอีกด้วย  ทั้งนี้เพราะนักเรียนส่วนใหญ่แทบไม่มีส่วนรวมในการเรียนการสอนเลย  แม้ครูจะใช้วิธีการซักถามประกอบการสอนก็ตาม  นักเรียนก็มีส่วนร่วมน้อยมาก  โดยเฉพาะการสอนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นสูงๆ  ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างเป็นนามธรรม  ทำความเข้าใจยาก  เนื้อหาจึงเอื้อครูผู้สอนให้ใช้วิธีบรรยายเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นการยากที่จะทำให้นักเรียนส่วนใหญ่  สนใจ  และตั้งใจเรียนตลอดเวลา  จึงมีบางครั้งที่นักเรียนแสดงออกถึงความเบื่อหน่าย  ไม่กระตือรือร้นในการเรียน  ครูควรใช้วิธีการสอนแบบอื่นๆ  ให้หลากหลายมากขึ้น  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในชั้นเรียนตามมา  วิธีการสอน  มีหลายวิธี  เช่น  การสาธิต  การทดลอง  การอธิบาย  การค้นคว้า  ฯลฯ                        ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบัน  จะมุ่งเน้นยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  การเรียนการสอนจึงต้องปรับวิธีการให้เหมาะสมกับเนื้อหา และผู้เรียนเป็นหลัก  การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  มีหลายวิธีเช่น  การเรียนแบบทดลอง  การทำโครงงาน  การค้นคว้า  เป็นต้น  นอกจากนี้มีวิธีการหนึ่งที่เน้นการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของนักเรียนค่อนข้างสูง คือ การเรียนแบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เป็นวิธีการเรียนแบบกลุ่มศึกษาด้วยกันเอง โดยศึกษาจากบทเรียนที่ครูสร้างขึ้น  วิธีการนี้นอกจากนักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยตรงแล้ว  แต่ละคนในกลุ่มยังได้ช่วยเหลือ  ร่วมมือกัน  คนเก่งก็ช่วยคนอ่อน  จะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด  ก็อยู่ที่ปฏิสัมพันธ์  ภายในกลุ่มของนักเรียน   การให้นักเรียนได้ศึกษาร่วมกัน ให้เวลาทำความเข้าใจเนื้อหา ไม่รีบเร่ง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดความเข้าใจได้ดี และแน่นแฟ้นมากขึ้น                        ด้วยเหตุดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่า  วิธีการเรียนแบบร่วมมือ  จะส่งผลต่อการเรียนการสอนของผู้เรียนหรือไม่  มากน้อยเพียงใด  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนต่อไป   ชื่อผู้ทำการวิจัย   อาจารย์ทัศนีย์   มโนสมุทร จุดประสงค์ของการวิจัย                        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ที่มีต่อการเรียนการสอน ในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนดาราวิทยาลัย ปีการศึกษา 2546  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                        1. เป็นแนวทางนำการปรับปรุง และได้วิธีการสอนใหม่ เป็นทางเลือกที่น่าจะได้นำมาใช้ใน                      การเรียนการสอนต่อไป                        2. นักเรียนได้มีโอกาสรู้จักทำงานเป็นกลุ่ม รู้รักสามัคคี มีวินัย                        แนวคิด/หลักการ/ทฤษฎี                        จากแนวคิด ปรัชญาของดิ้วอี้ (Dewey) นักการศึกษา, พีอาเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)  นักจิตวิทยา ที่ได้เสนอแนวคิดใน ทฤษฎีการพัฒนาการของพีอาเจต์ และทฤษฎีการเรียนรู้ของบรุนเนอร์  ไว้ตรงกันว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรให้ผู้เรียนได้คิดค้นพบสิ่งต่างๆ ทดลอง และหาเหตุผลด้วยตนเอง ครูควรเป็นเพียงผู้ให้ความช่วยเหลือ และแนะนำเท่านั้น วิธีดำเนินการวิจัย1.         เครื่องมือในการวิจัย1.1       บทเรียนสำเร็จรูป  ประกอบด้วย-           เนื้อหา  (Concept) -           แบบฝึกทักษะ-           แบบทดสอบเตรียมความพร้อม 1.2       แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้1.3       แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียน2.         วิธีการ และกิจกรรมที่ใช้2.1 แบ่งกลุ่มนักเรียนในชั้นเรียน ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน2.2 แต่ละกลุ่มศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูป ตามขั้นตอนที่กำหนด2.3 ศึกษาร่วมกันในกลุ่ม ใช้เวลา 4 คาบเรียน2.4 ทดสอบแบบวัดผลการเรียนรู้ แยกนั่งสอบ ใช้เวลา 1 คาบเรียน2.5 ทำแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียน2.6 นำคะแนนผลการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ของแต่ละกลุ่มมารวมกัน ตัดสินผล ให้รางวัลแก่ 3 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดของห้อง3.         กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนดาราวิทยาลัยจำนวน 4 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 205 คน การวิเคราะห์ข้อมูล                        นำข้อมูลจากผลการทดสอบวัดความรู้ และแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียน และจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน มานำเสนอสรุปโดยวิธีการบรรยาย  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตารางแสดงผลการสอบวัดความรู้เนื้อหาเรขาคณิตวิเคราะห์ (จำนวน 15 ข้อ 15 คะแนน)
ห้อง (จำนวนนักเรียน) จำนวนนักเรียนที่ทำข้อสอบ คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่ทำคะแนนได้สูงสุด คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่ทำคะแนนได้ต่ำที่สุด
ผ่าน ไม่ผ่าน
ม.4/1(46 คน) 39(84.78%) 7(15.22%) 9.91 11.5 8.3
ม.4/2(50 คน) - - 12.23 15.0 9.0
.4/3(48 คน) 35(72.92%) 13(27.08%) 9.29 10.5 8.0
หมายเหตุ:                        ห้อง ม.4/1 และ ม.4/3 สอบเป็นรายบุคคล                        ห้อง ม.4/2 สอบเป็นกลุ่ม และไม่มีกลุ่มใดทำคะแนนได้ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมด1.         จากตารางคะแนนเฉลี่ย ของทั้ง 3 ห้อง จะสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม (15 คะแนน) โดยที่ห้อง ม.4/2ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 12.23 รองลงมาคือ ห้อง ม.4/1 ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.91 และห้อง ม.4/3 ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 9.292.         คะแนนเฉลี่ย ของห้อง ม.4/2 ซึ่งเป็นการทดสอบแบบกลุ่ม จะสูงกว่าห้อง ม.4/1 และห้อง ม.4/3 ซึ่งเป็นการทดสอบรายบุคคล3.         คะแนนเฉลี่ย ของกลุ่มที่ทำคะแนนได้สูงสุดของแต่ละห้องพบว่า ห้อง ม.4/2 ทำคะแนนได้เต็ม 15 คะแนน รองลงมาคือห้อง ม.4/1 ทำคะแนนเฉลี่ยได้ 11.5 และห้อง ม.4/3 ทำคะแนนเฉลี่ยได้ 10.54.         คะแนนเฉลี่ย ของกลุ่มที่ทำคะแนนได้ต่ำสุด ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบเป็นกลุ่ม หรือทดสอบรายบุคคล พบว่าทำคะแนนได้สูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม นั่นคือ ห้อง ม.4/2 ได้ 9.0 รองลงมาคือห้อง ม.4/1 ทำคะแนนได้ 8.3 และห้อง ม.4/3 ทำคะแนนได้ต่ำสุดเท่ากับ 8.05.         นักเรียนส่วนใหญ่ที่สอบรายบุคคล คือ ห้อง ม.4/1 และห้อง ม.4/3 จะสอบผ่านเกินครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มนั่นคือ                        ม.4/1 สอบผ่าน 84.78% ไม่ผ่าน 15.22%                        .4/3 สอบผ่าน 72.92% ไม่ผ่าน 27.08% ผลของความเห็นของนักเรียนต่อการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 1.         นักเรียนส่วนใหญ่รู้ และเข้าใจเป้าหมายของวิธีการเรียนแบบให้ความร่วมมือว่า เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ฝึกความสามัคคีในหมู่คณะ ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาด้วยตนเอง และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง (มีนักเรียนส่วนน้อยที่ไม่รู้เป้าหมาย และไม่แสดงความคิดเห็น)2.         นักเรียนส่วนใหญ่ชอบการเรียนแบบนี้ โดยให้เหตุผลว่าได้เปลี่ยนบรรยากาศ ไม่เคร่งเครียด ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน และกัน เด็กเก่งได้ช่วยเด็กอ่อน เด็กอ่อนมีเวลาได้ทำความเข้าใจได้มากน้อยตามต้องการ ขณะเดียวกันก็ได้เด็กเก่งช่วยเหลือทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น-           มีนักเรียนส่วนน้อย ไม่ชอบการเรียนแบบนี้ โดยให้เหตุผลว่า การศึกษาเนื้อหาเองไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจ เพื่อนในกลุ่มก็ไม่ได้ช่วยเหลือพึ่งพากัน เพราะแต่ละคนก็ไม่เข้าใจ ไม่สามารถอธิบายให้เพื่อนฟังได้-           ส่วนนักเรียนที่รู้สึกเฉยๆ ให้เหตุผลว่า เข้าใจบ้าง และบางเนื้อหาไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ และเกรงว่าศึกษาเองจะได้ความรู้น้อยกว่าที่ได้จากครูสอนเอง3.         นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือกันกายในกลุ่มดีมาก เด็กเก่งช่วยเหลือเด็กอ่อน อย่างแข็งขัน มีส่วนน้อยที่ต่างคนต่างศึกษาด้วยตนเอง และมีบางคนที่ไม่สนใจ คุยกัน และเล่นกัน4.         นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อหาที่ได้ศึกษาเหมาะสมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ ทั้งนี้เพราะเนื้อหาไม่ยาก และง่ายเกินไป สามารถเรียนรู้ และเข้าใจด้วยตนเองได้5.         เนื้อหาที่นักเรียนเห็นว่าน่าจะเหมาะกับวิธีการเรียนแบบนี้ ควรจะเป็นเนื้อหาที่ไม่ยากเกินไป เข้าใจง่าย มีวิธีคิดไม่ซับซ้อน และไม่ใช้วิธีการคำนวณที่ยุ่งยากจนเกินไป มีนักเรียน 2-3 คน ที่เห็นว่า ไม่มีเนื้อหาใดที่เหมาะสม และไม่ควรใช้วิธีนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยาก ใช่ว่าจะทำความเข้าใจได้ง่ายๆ6.         ประโยชน์ของการเรียนวิธีนี้ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีการนี้-           ส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์เอง ศึกษาด้วยตนเอง ไม่เข้าใจก็ช่วยเหลือกัน ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น-           มีนักเรียนจำนวนน้อยกลัวว่าการศึกษาวิธีนี้จะทำให้ความเข้าใจของตนเองคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จึงคิดว่าจะส่งผลเสียต่อการเรียนมากกว่าครูสอนเอง ประกอบกับภายในกลุ่มไม่ได้ช่วยเหลือกัน จึงทำให้เกิดความเครียด และไม่แน่ใจว่าวิธีนี้จะส่งผลดีหรือให้ประโยชน์อย่างแท้จริง7.         คำถามที่ว่าอยากเรียนโดยวิธีนี้อีกหรือไม่-           นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า อยากเรียนอีก เพราะเกิดความสนุก ทำให้เกิดความเพียรพยายาม ไม่เครียด ได้แลกเปลี่ยนบรรยากาศ ทำให้ไม่เบื่อหน่าย ทำให้เข้าใจดียิ่งขึ้น แต่เนื้อหาต้องไม่ยากจนเกินไปต่อความเข้าใจ และไม่ต้องเรียนวิธีนี้บ่อยๆ-           นักเรียนส่วนน้อยที่ไม่อยากเรียนอีก ให้เหตุผลว่า ไม่ค่อยเข้าใจ ภายในกลุ่มไม่มีความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน จึงเกิดความเครียด และหวาดวิตก เกรงว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ สรุป ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้1.         นักเรียนส่วนใหญ่ที่สอบเป็นรายบุคคล คือห้อง ม.4/1 และห้อง ม.4/3 สอบผ่านคือ ทำคะแนนได้เกินครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม จำนวน 84.78% และ 72.92% ตามลำดับ มีนักเรียนส่วนน้อยที่สอบไม่ผ่าน มีจำนวน 15.22% และ 27.08% ตามลำดับ2.         คะแนนเฉลี่ย ของผลสอบทุกห้องจะสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม ดังนี้                        ม.4/1 มี = 9.91                        ม.4/2 มี = 12.23                        .4/3 มี = 9.293.         จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือในชั้นเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ให้ความสนใจ ตั้งใจ ให้ความร่วมมือ และช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มอย่างจริงจัง มีบางกลุ่มเท่านั้นที่ต่างฝ่ายต่างก็ศึกษาตามลำพัง ไม่สนใจ และช่วยเหลือกัน4.         จากผลแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียนได้ข้อสรุปว่านักเรียนส่วนใหญ่ รู้และเข้าใจเป้าหมาย ของการเรียนโดยวิธีนี้เมื่อได้เรียนแล้ว ส่วนใหญ่จะชอบมากกว่าไม่ชอบ ด้วยเหตุผลที่ว่าได้เปลี่ยนบรรยากาศ ไม่เครียด มีประโยชน์ มีเวลาในการทำความเข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจ เพื่อนในกลุ่มจะให้ความช่วยเหลือ ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม ส่วนเนื้อหาที่ใช้วิธีการเรียนแบบนี้ ก็เหมาะสมแล้วเพราะไม่ยาก หรือง่ายเกินไป และเห็นว่าควรใช้วิธีการแบบนี้อีกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาด้วยว่า เหมาะสมกับวิธีการนี้หรือไม่ อภิปรายผล1.               การวัดผลการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนได้ศึกษาจากบทเรียนเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการวัดรายบุคคลแล้วนำคะแนนของแต่ละคนมารวมเป็นคะแนนกลุ่ม แต่ทำได้เพียง 2 ห้อง คือ ห้อง ม.4/1 และ ห้อง ม.4/3 ส่วนห้อง ม.4/2 สถานที่ไม่อำนวยจึงได้จัดให้นั่งสอบเป็นกลุ่มช่วยกัน จึงพบว่าคะแนนแต่ละกลุ่มของห้อง ม.4/2 ค่อนข้างสูง ซึ่งมี 1 กลุ่มที่ทำคะแนนได้เต็ม และทุกกลุ่มสอบผ่าน ทำคะแนนได้เกินครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มทั้งสิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะการระดมความคิด ช่วยกันแก้ปัญหา ส่งผลให้นักเรียนทำคะแนนได้สูง ไม่ว่าจะเป็นคะแนนเฉลี่ยของห้องก็สูงกว่า และแม้แต่คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำสุด คะแนนของห้อง ม.4/2 ก็สูงกว่าเช่นกัน ข้อเสนอแนะ1.         การจัดกลุ่มเพื่อศึกษาบทเรียน ควรจะจัดเด็กเก่ง เด็กอ่อน คละกัน ไม่ควรให้เด็กจัดกันเอง ครูควรจะจัดให้ เพราะถ้าให้เด็กจัดเองอาจไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กบางกลุ่ม2.         <
คำสำคัญ (Tags): #cps
หมายเลขบันทึก: 46699เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี สามารถเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่ดีได้

ชอบวิธีสอนแบบนี้ เพราะนักเรียนเรียนสนุก ครูก็สนุกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท