ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ปั่นจักรยานสานพลัง ฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ ปีที่ ๒ อุดร สกล พระธาตุพนม


“เสื้อ” เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องใช้วาจา

ปั่นจักรยานสานพลัง ฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ ปีที่ ๒ อุดร สกล พระธาตุพนม

ระหว่างวันที่ ๑๗ ถึง ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ เครือข่ายหมอพื้นบ้าน จังหวัดอุดรธานี ๔๙ ชีวิต นำโดยพ่ออำนวย พลลาภ พ่อกาทอน อ้อมกอกุล ผู้ใหญ่ชัยพฤกษ์ ค้อมคิรินทร์ หมอจันที หมอสถิตย์  และเด็กอายุ ๑๔ ปีที่เป็นหมอเป่าแก้อสรพิษ อย่างหมอนภ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอุดรธานี อย่างเภสัชกรสมชาย ชินวานิชย์เจริญ หร้อมลูกชาย ๒ คน นางวารุณี แสงเรืองเอก หรือ อสม.ดีเด่น อย่างนางเครือ เนตรภักดี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มูลนิธิสุขภาพไทย ในแผนพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เคาเตอร์เพน เซียงเพียวอิ้ว   ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดกิจกรรม ปั่นจักรยานสานพลังฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ  ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ ๒ แล้ว โดยในการปั่นจักรยานนั้น คณะได้มารวมตัวกันในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปั่นจักรยานนประชาสัมพันธ์ไปรอบ ๆ เทศบาลอำเภอบ้านดุง และเข้าพักแรมคืนที่วัดศรีผดุง สำหรับอาหารการกินนั้นเรามีแม่ครัวมืออาชีพ อย่างแม่อำนวย บุญคง  น้องเจี๊ยบ น้องซันนี่ และน้องเจี๊ยบ  ทำอาหารแสนอร่อยและมีคุณค่าแก่เราชาวนักปั่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพ ตลอดการเดินทาง  เราเริ่มออกเดินทางกันตอนรุ่งเช้าวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๖ โมงเช้า คณะได้รับเกียรติจากท่านนายอำเภอบ้านดุง มาปล่อยขบวนจักรยานและอวยพรการเดินทางรวมทั้งแนะนำให้ระมัดระวังในการปั่นจักรยานบนทางหลวงแผ่นดินซึ่งมีรถรามากมาย หลังจากนั้นบนเส้นทางบ้านดุง ถึงตำบลอ้อมกอซึ่งเป็นระยะแรกประมาณกว่า ๑๕  กม.ก็มีขบวนจักรยานยาวเหยียดเกือบ ๑ กม. เราไปถึงตำบลอ้อมกอประจวบกับได้พบกับพ่อรองนายก อบต.อ้อมกอ รองสมชาย ซึ่งมารับคณะจักรยานเรา มุ่งตรงไปสู่  และขบวนการสื่อสารเราก็เริ่มต้นขึ้นจากการที่พ่ออำนวยได้ประชาสัมพันธ์ พูดคุย บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการปั่นจักรยาน ใครมาปั่น  หมอพื้นบ้านคือใคร  ปั่นจักรยานทำใม นอกจากนี้ในขบวนจักรยาน ที่มีการสวมเสื้อสกรีน “ปั่นจักรยาน สานพลัง ฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ” นั้นก็เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่ง   เราพบว่าตลอดระยะทางตั้งแต่ปั่นออกจากอำเภอบ้านดุงจนถึงปลายทางคือพระธาตุพนม นั้น “เสื้อ” เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องใช้วาจา  และเรายังได้ใช้เครื่องเสียงใส่ถ่านมาติดรถจักรยาน โดยมีหมอต้น หรือเภสัชกรสมชาย ปั่นไปพูดไป จนถ่านหมด น่าเสียดายที่ถ่านหมดนี่แหละ  ขณะที่เราเข้าสู่พระธาตุพนมจึงเพียงสื่อผ่านรูปขบวนจักรยานที่สองข้างทางต่างมองด้วยความสนใจ และยิ่งฉงนสนเท่ห์เมื่อเราบอกว่ามาจากอุดร   ระยะต่อมาจากอ้อมกอ ฝนเริ่มพรำมาบ้างเป็นบางระยะ แต่ตลอดวันที่เดินทางนั้น เหมือนมีร่มเงาตลอดเวลาและอากาศก็เป็นใจให้เราจริง ๆ จนอดคิดไม่ได้ว่าการร่วมแรงร่วมใจกันครั้งนี้  “แม้แต่ฟ้าก็ยังเป็นใจ”   เรานัดหมายกันที่อำเภอสว่างแดนดิน  จากสว่างแดนดิน ถึงแยกพังโคน แยกพังโคนถึงแยกพรรณนานิคม เราได้พักกินข้างเที่ยงและเดินทางต่ออีกในวันแรกนี้รวม ๘๕ กม. เราได้เข้าสู่วัดในตัวเมืองสกลนคร ซึ่งหลวงพ่ออวดพระครูสุภาจารพิมล หรือที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกจนติดปากว่า"หลวงตา"เจ้าอาวาสวัดศรีสระเกษ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ได้เปิดศาลาให้ชาวเราได้พัก และเมตตาพูดคุยเกี่ยวกับการรักษาอาการอสรพิษ หรือพิษแมงมุมกัดอีกด้วย   ซึ่งมีแม่ใหญ่ และพ่อทรวง เครือข่ายหมอพื้นบ้านสกลนคร ได้มาให้การต้อนรับ รุ่งเช้า คณะเราออกเดินทางไปยังสระพังทอง ซึ่งเป็นสวนสาธารณะกลางเมืองสกลนคร ที่นี่เราก็ได้สร้างความประทับใจกับชาวสกลนคร เราเดินทางต่อไปยังวัดป่าสุทธาวาสสักการะรูปเหมือนหลวงปู่มั่น หลวงปู่หลุย เราปั่นไปยังบ้านแม่จันลี บ้านโนนหอม มีแม่ ๆ ชาวภูไท ใส่ชุดภูไทมาให้เราได้ชื่นชม รวมทั้ง จนท.รพสต.ด้วย  ที่นี่เราได้เรียนรู้และเกิดความคิดเกี่ยวกับรูปธรรมของศูนย์เรียนรู้หมอพื้นบ้าน จากนั้นเข้าสู่เส้นทางปกติ ตรงไปยังโคกศรีสุพรรณ นาแก กินข้างเที่ยงแล้วเข้าสู่ แยกบ้านต้อง จนกระทั่งถึงพระธาตุพนม เวลาสี่โมงเย็น ที่นี่เราได้ที่พักในวัดพระธาตุพนม ที่ขอบอกว่าแสนสบาย สะดวกเป็นอย่างมาก ๆ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพระอาจารย์ที่สนใจด้านสมุนไพรอีกด้วย  

คำว่า “ฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ” นั้น สรุปได้ว่าคือการที่เราได้ไปฟังปราชญ์ชาวบ้านเครือข่ายพี่น้องสกลนคร และเรายังได้สื่อสารให้กับประชาชนตามรายทางได้ฟังปราชญ์ชาวบ้านอย่างพวกเราได้สื่อสารสุขภาพให้ฟัง

การเดินทางครั้งนี้ไม่น่าแปลกเลยสำหรับครั้งที่ ๒ นี้ ถ้าจะเรียกว่า “เส้นทางหมอพื้นบ้านสื่อสารสุขภาพ เรียนรู้ คู่ทางธรรม” ที่สำคัญเคยมีคนพูดว่า “ความสมบูรณ์แบบไม่ได้อยู่ที่ความรวดเร็วของความสำเร็จ แต่การได้ดื่มด่ำต่างหากคือความสมบูรณ์แบบ คือความสวยงาม”

สิ่งที่ทำได้ดี การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียง การสวมเสื้อ การพูดคุยกับผู้คนตามข้างทาง การไม่หลบเลี่ยงตลาดที่มีผู้คนเพื่อการสื่อสารกิจกรรมของหมอพื้นบ้าน การอำนวยช่วยเหลือของทีมงานเจ้าหน้าที่แต่ละตำบล เช่นตำบลจอมศรี อ.เพ็ญ , อำเภอทุ่งฝน , ตำบลอ้อมกอ เป็นต้น

สิ่งที่ยังต้องปรับปรุง การใช้รถจักรยาน การปั่นบนท้องถนน ความระมัดระวัง และการขนจักรยาน

ข้อค้นพบ แนวทางการจัดตั้งโรงเรียนหมอพื้นบ้าน ประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ มีทำเนียบหมอพื้นบ้านในตำบลพร้อมทั้งโครงสร้างการประสานงานในตำบล ผลงานของหมอแต่ละคนในรูปแบบของบันทึกการรักษาคนป่ววยของหมอพื้นบ้านแต่ลละคน  , มีทำเนียบตำรับตำรายาพื้นบ้านในพื้นที่จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และมีทะเบียนสมุนไพรทั้งในบ้านหมอแต่ละคน และรูปแบบการนำเสนอความเป็นหมอพื้นบ้านที่บ้านหมอ ซึ่งควรมีเนื้อหาที่ประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของหมอ ความรู้ของหมอ แนวทางการรักษาของหมอ ซึ่งน่าจะได้ทำเป็นโปสเตอร์ไว้ที่บ้านหมอต่อไป

ภูมิใจ ที่เครือข่ายหมอพื้นบ้านทำสำเร็จอีกครั้งโดยเป็นการคิดและทำโดยภาคประชาชนคือเครือข่ายหมอพื้นบ้านโดยแท้จริง

ดีใจ ที่มีเยาวชนร่วมขบวนไปด้วย

ขอบใจ ผู้เตรียมการ เตรียมงานทุกท่าน

 

หมายเลขบันทึก: 465388เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2011 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นแนวคิดที่น่าส่งเสริมคะ ทำระบบ registry หมอพื้นบ้านและสมุนไพร

และโปสเตอร์ตามบ้าน ต่อไปพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแก่ผู้สนใจภูมิปัญญาไทยได้ด้วย

ชื่อ ที่อยู่ ตำบล อำเภอ

ดช.สมปราชญ์ ชินวานิชย์เจริญ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

ดช.พิจักษณ์ ชินวานิชย์เจริญ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

นายสมชาย ชินวานิชย์เจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

นางวารุณี แสงเรืองเอก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

ดช.อัศวิน อนุประดิษฐ์ 75 ม.8 ผาสุก กุมภวาปี

นางอำนวย บุญคง 162 ม.8 ผาสุก กุมภวาปี

นางเครือ เนตรภักดี 40 ม.10 หนองหว้า กุมภวาปี

นายสมพงษ์ ฤทธิมา 144 ม.3 ทุ่งใหญ่ ทุ่งฝน

นายที โยธาศรี 89 ม.3 ทุ่งใหญ่ ทุ่งฝน

ดช.นภดล พันธ์สาระภูมิ 223 ม.3 ทุ่งใหญ่ ทุ่งฝน

นายสมพงษ์ ฤทธิญา 144 ม.7 ทุ่งใหญ่ ทุ่งฝน

นายวาส เต็มตาวงค์ 65 ม.5 นาทม ทุ่งฝน

นายสำอาง วงจันทะเลียง 38 ม.7 นาคำ บ้านดุง

นายสวน คำเทียม 23 / 2 นาคำ บ้านดุง

นายบุญจันทร์ รัตนะศรี 87 ม.2 บ้านผึ้ง นาไหม บ้านดุง

นายจันที วรรณวงษ์ 243 / 6 วังคางฮุง นาไหม บ้านดุง

นายสถิตย์ ศรีสวัสดิ์ 12 ม.12 นาไหม บ้านดุง

นายอำนวย พลลาภ 121 ม.1 บ้านชัย บ้านดุง

นายสำรวย ดลวิจิตร 164 ม.7 บ้านม่วง บ้านดุง

นายชัยพฤกษ์ ค้อมคิรินทร์ ศูนย์ห้วยแล้ง 49 ม.4 บ้านม่วง บ้านดุง

นายอุดม สมสนิท 90 ม.9 โพนสูง บ้านดุง

นายวิไล หนันทะ 100 / 1 วังทอง บ้านดุง

นายประยูร มุทิตากุล 56 ม.1 วังทอง บ้านดุง

นายคำใหม่ เคนสงคราม 26 ม.1 วังทอง บ้านดุง

นายสมาน โปสาวาส 47 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายอมร แสนพลสาร 86 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายพเยาว์ จันทร์ทรัพย์ 134 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายตัน ตุธรรม 44 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายอภิรักษ์ สว่า 101 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายกาทอน อ้อมกอกุล 154 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายบุญมี ประวัติตะ 15 ม.2 อ้อมกอ บ้านดุง

นายบุญมา นรศรี 70 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายหนูจี ทองก้อนเบ้า 20 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายหนูกัน ภูสีเขียว 36 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายนา ชัยฤทธิ์ 136 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายสมชาติ พละหาญ 14 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายอุทัย พรมโสภา 21 ม.9 อ้อมกอ บ้านดุง

นายบุญช่วย เจนเชี่ยวชาญ 12 ม.8 อ้อมกอ บ้านดุง

นานเคน สีทองดี 12 ม.5 อ้อมกอ บ้านดุง

นายชุน เงาสมรูป 4 ม.4 อ้อมกอ บ้านดุง

นางสาวสุมาลี ศรีบุญเรือง 114 / 7 ม.7 อ้อมกอ บ้านดุง

นายจำรัส โกสุม 147 ม.1 จอมศรี เพ็ญ

นายสุบัน พังราช 246 ม.3 จอมศรี เพ็ญ

นายสิงห์ บรรเทาโฮม 229 ม.16 จอมศรี เพ็ญ

นายทองขัน ศรีหาษร** 71 / 10 จอมศรี เพ็ญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท