JJ2011V10_12 มิติใหม่ในการพัฒนาคุณภาพ ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์


มิติใหม่ ใจต้องมาก่อน

 มิติใหม่ในการพัฒนาคุณภาพ เพื่อประกันคุณภาพการศึกษา อุดมศึกษาไทย เริ่มที่ใจ "ต้องเข้าใจ ต้องใส่ใจ ต้องสนใจ ต้องทำใจ"

 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มอบหมายให้ JJ ไปเล่าสู่กันฟัง เรื่องราวประสบการณ์การประกันคุณภาพให้กับ ผู้บริหาร หัวหน้าสาขาวิชา ราว ๘๐ ท่าน

 ประเด็นคำถาม คือ อะไร คือ มิติใหม่ ของการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา เพื่อรองรับการตรวจสอบ ตรวจประเมิน จาก หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่า จะ สกอ สมอ หรือ กพร

 ในความเห็น JJ มิติใหม่ คือ ให้มอง KPI หรือ กะปิ เป็นเพียงเครื่องปรุงเพื่อให้ น้ำพริก หรือ เป้าหมาย ของการกระทำต่างๆ เพื่อให้เกิดพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา ที่จะพัฒนานำพาไปสู่ "บัณฑิตที่พึงประสงค์ ออกไปรับใช้สังคมไทยได้โดยเป็น ฅ ฅน ที่สมบูรณ์"

 การดู การแล ดู "ตัวชี้วัด หรือ ตัวบ่งชี้" ทำให้เรารู้ว่าว่าเราอยู่ที่ใด เราได้ไปถึง หรือ ใกล้จุดหมาย ที่ตั้งใจไว้หรือไม่

 การนำมาตรฐานที่สาม เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้วยการ "ถอดบทเรียน" "สะท้อนตนเอง" "เรียนรู้ เพื่อหารพัฒนา" "มองหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factor" หรือ การเรียนรู้จากความล้มเหลว เพื่อถอดบทเรียน หา"ช่องว่าง Gap Analysis" วิเคราะห์หาสาเหตุ RCA=Root Cause Analysis เพื่อเติมเต็มสมรรถนะ หรือ Competency ที่ต้องมี

 การประกันคุณภาพในระบบเดิมเดิม หรือ ปัจจุบัน มักจะทำโดย ผู้บริหารระดับสูงใช้กระบวนการถ่ายทอดให้ท่านอื่นรับไปทำ เรียกว่า "เห็นชอบมอบรอง เห็นด้วยผู้ช่วยทำ" ผู้บริหารตามดูแต่ กะปิ หรือ KPI ไม่ใส่ใจในรายละเอียดเพื่อมาจัดทำ Improvement Plan เป็นระยะ และ จัดสรรทรัพยากรให้อย่าง จริงจัง จริงใจ และ ต่อเนื่อง

 นำเอกสารประกอบการเรียนรู้มาฝาก ครับ (คลิก)

JJ2011 ร่วมพลี ร่วมพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 465318เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2011 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ถึงปลายดอยแล้วค่ะ..
  • กำลังฟังท่านคณบดีพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพด้วย EdPEx
  • EdPex คือ TQM แบบอเมริกัน
  • ใช้ครั้งเพื่อการแข่งขันคุณภาพที่อเมริกา ปลายปี ๑๙๘๐ โดยปลายสมัยท่านประธานาธิบดี โรนัล รีแกน เพราะ สินค้าสู้ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้
  • โดยเน้นที่ลูกค้า (แต่ นักศึกษา และ นิสิต ไม่ใช่ลูกค้า แต่ คือ ผู้ร่วมเรียนรู้ )และ ผลลัพธ์ มากกว่ากระบวนการ
  • ดังนั้น หากในวงการศึกษาไทย ที่ใช้ IQA ๒๓ ตัวบ่งชี้ ที่เน้น Input และ Process ยังสะบักสะบอม เห็นท่าจะไปไม่ไหวแน่ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท