ปัจจัยรบกวน (มึนโฮ)..ในวิจัยแบบ AI, R2R, Action Research, OD, LO, และ KM ^___*


ห้องเรียนกระบวนกรตอนที่ 386

ปัจจัยรบกวน (Confounders) เป็นอะไรที่สำคัญต่องานวิจัยทุกประเภทครับ...โดยเฉพาะการวิจัยเชิงทดลอง...ถามว่า..งานวิจัย AI, R2R, Action Research, รวมทั้ง OD, Learning Organization และ KM มีไหม..มี..มีแค่ไหน..เพียบ...แล้วเราทำไง..ควบคุมหรือ..ตรงนี้เราเริ่มต่างแล้วครับ..ต่างไงครับ..เราไม่ได้ควบคุมครับ..เราพยายามเห็น พยายามจัดการ..ดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานครับ..เราไม่ได้กำจัดมันออกไป..เช่นทัศนคติ ค่านิยมครับ..เราจัดการด้วยสิ่งที่เรียกว่า "การมีส่วนร่วม" ครับ..ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจริง.

.....

เกือบสิบปีก่อน..ลูกศิษย์ของผมทำงานอยู่รัฐวิสาหกิจ.ในตำแห่งวิศวกร มาทำงานค้นคว้าแก้ปัญหางานในหน่วยงานของตน..ที่สุดเขาสามารถค้นพบเครื่องมือ...ที่จะลดต้นทุนให้หน่วยงานกว่า 2,000 บาท/ชิ้นงาน..ถ้าเอาไปแก้ไขทั้งระบบรับรองนอกจากลดเวลาเครื่องจักรเสีย แล้วยังประหยัดงบประมาณได้หลายล้าน...ตอนสอบ..ผมบอกเขาว่า "..หน่วยงานคุณต้องดีใจแน่ๆ..ที่คุณคิดอะไรได้อย่างนี้..."

....

"อาจารย์ครับ..นายไม่สนใจหรอกครับ..พูดไปก็เท่านั้น..." ผมอึ้งครับ..ปัจจุบันผมก็ยังไม่ได้ยินข่าวดีครับ..งานวิจัยนั้นได้กลายเป็นประวัติศาสตร์..มันอยู่ในหิ้งมานมนาน..

...

ครับ..เห็นไหมครับ..นี่ไงครับ..ปัจจัยรบกวน (โอ๊ย) ที่เราเจอบ่อยๆ..ในด้านสังคมศาสตร์..นั่นคือ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ..

...

แก้ไงครับ..ในงานวิจัยข้างต้นถ้าเป็นแบบ AI, R2R, LO, KM, OD Action Research เราจะพยายามทำอย่างมีส่วนร่วม ..เพราะอะไร..เรื่องเหล่านี้มันเกิดมาตั้งเป็นพันปีแล้วครับ นั่นคือ.."การยอมรับ" บ่อยครั้งงานดีๆ..ไม่ได้รับการยอมรับ..เพราะขาดการมีส่วนร่วมของคนอื่นๆ ตั้งแต่ต้น..เราจึงแก้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "การมีส่วนร่วม"...

...

ยกตัวอย่าง..บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับโลก แห่งหนึ่งกำหนดเงื่อนไข กับลูกค้าแต่ต้นเลยว่า..จะช่วยออกแบบให้ แต่ต้องการ "การมีส่วนร่วม" จากผู้มีส่วนได้เสียให้มากที่สุด ได้แก่..ต้องมีฝ่ายบัญชี เข้ามาด้วย ไม่ใช่ฝ่ายวิศวกรรม หรือฝ่ายออกแบบอย่างเดียว...เจ้าของบริษัทก็ต้องลงมาด้วย...เพราะบ่อยครั้ง จากประสบการณ์ พอไปออกแบบกับฝ่ายวิศวกรรมมา..ได้ต้นแบบงานประดิษฐ์แล้วกลับล่ม..เพราะฝ่ายบัญชีประเมินแล้ว..บอกว่า..ต้นทุนสูงเกินไป..ไม่มีเงินพอ..ว่าแล้วก็เริ่มต้นกันใหม่..บริษัทนี้กำหนดเลยครับ..ถ้าลูกค้าไม่สามารถดึงการมีส่วนร่วมได้..เขาไม่รับงานนั้นครับ..เพราะ..แทบจะไร้ประโยชน์ครับ..

.....

บางครั้งเอากระทั่ง "ลูกค้า" มาด้วย..เช่น.บริษัทเลโก้ (LEGO) บริษัททำตัวต่อ..แต่ก่อนนักออกแบบ ก็ออกแบบกันไป..แต่นักออกแบบ จะไปเข้าใจหัวใจเด็กๆ ได้อย่างไร..ตอนหลังก็พากันเชิญเด็กมาเล่นที่บริษัท..ที่สุด จากการเชิญเด็กมามีส่วนร่วม..ก็ได้แนวคิดใหม่ๆ..จนกลายเป็นแนวคิด...ที่เรียกว่า นวัตกรรมจากคนภายนอก (The Outsider Innovation)..ว่ากันว่าเลโก้หุ่นยนต์..ที่เป็นตัวต่อ..มีมอเตอร์ โปรแกรมได้..ที่เป็นผลิตภัณฑ์ขายดีของเลโก้..เกิดจากแนวคิดนี้ครับ..

....

นี่ไงที่เราเรียกว่าการมี "ส่วนร่วม" ครับ..นับเป็นหัวใจของงานวิจัยแนวนี้เลย..เราไม่ปฏิเสธการมีของ "ปัจจัยรบกวน" ครับ เรายอมรับ..และจัดการมันเลยครับ..ผ่านกระบวนการ "การมีส่วนร่วม" ที่กลายเป็นองค์ประกอบ และเงื่อนไขสำคัญของงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มนี้เลยครับ..

...

ยังไม่หมดนะครับ..ยังมีอีกครับ..เขียนไม่หมดในวันเดียว...

...

สำหรับวันนี้..คุณ คิดอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 464808เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เห็นด้วยครับอาจารย์ ผมก็เคยพบปัจจัยรบกวนเช่นกันครับ

เมื่อไม่กี่เดือน ผมได้เข้าอบรมอาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา และได้มีโอกาสเสนอแนวคิดในการลดต้นทุนการออกนิเทศน์งาน โดยเริ่มที่การวางแผนที่ดี ไอเดียนี้ผมได้รับเสนอทุนจากเครือข่ายสหกิจศึกษาอีสานล่าง แต่ผู้บริหารในสถาบันที่ผมเคยทำงานให้ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากวิธีการของผม จะทำให้เห็นรายรับ และรายจ่ายชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เสียผลประโยชน์บางอย่างไป ปัจจัยรบกวนครั้งนี้ คือ ความโลภ ครับ

ผมตัดสินใจลาออก แล้วมาอยู่มหาวิทยาลัยข้างๆ กันครับ เสนอโครงการเดิมอีกครั้ง พบวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ตรงข้าม และตอนนี้ผมได้ทำแล้วครับ ผมขจัดปัจจัยรบกวน โดยหาปัจจัยกาวผลิตใหม่ (เรียกอย่างนี้จะถูกหรือเปล่าครับ) นอกจากนี้ยังได้รับคำชมเกี่ยวกับแนวคิดของผมด้วยครับ

สวัสดีครับ

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์มากครับ

ส่วนใหญ่งานวิจัย

จะแพ้ตรงที่อำนาจ ผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วม

นี้แหละครับ

รออ่านต่อครับ

อ่านเรื่องที่อาจารย์เขียน แล้วร้องโอ้..
เป็นการช่วยให้คิดนอกกรอบ 
ในงานวิจัยเรามักพยายาม "กำจัด" บรรดา confounders สารพัดวิธี
แต่สุดท้าย เมื่อผลลัพท์ ซึ่งผู้วิจัยได้มาอย่างยากลำบากปรากฎ ก็ยังไม่นำไปสู่การปฎิบัติ /เปลี่ยนแปลงนโยบาย  
เพราะขาดตัวสำคัญ "การมีส่วนร่วม (what's matter them?") ของผู้เกี่ยวข้อง
ที่นำไปสู่ "การยอมรับ" 

ขอบคุณจริงๆ คะ :-) 

 

สุดยอดเวลาค่ะ การมีส่วนร่วมของลูกค้า เหมือนสำรวจความต้องการแบบเชิญชม น่าทำจังเลยค่ะ

  • เยี่ยยมากเลยครับ
  • ผมพบว่าการมีส่วนร่วมในการทำงานวิจัย
  • จะสนุกและยั่งยืนกว่างานวิจัยทั่วๆไปครับ

สวัสดีครับ

ผมรู้ข่าวอาจารย์นอนโรงพยาบาลจากพี่อุ้มบุญ

ผ่าไส้ติ่งแตก

มิน่าเห็นอาจารย์หายไปนานครับ

ขอให้หายเร็ว ๆ นะครับ จะได้กลับมาเขียน

บันทึกให้พวกเราอ่านนะครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ภิญโญ

ทราบข่าวจากน้องทิมดาบวันนี้ ว่า "ป่วยด่วน"

ขอให้ สุขภาพดีเหมือนเดิม

จากคนไม่มีดี (ตัดทิ้ง ปี 45 )

ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมนะครับ ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วครับ

น่าจะกลับมาเขียนได้ในวันสองวันนี้ครับ

อาการป่วยของอาจารย์ดีขึ้นหรือยังครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท