สมาคมส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์แผนไทย จ.สุราษฎร์ธานี (2)


ผู้เขียนได้ทำหน้าที่กรรมการระดับภูมิภาคในโครงการ Thailand NGO Awards 2011 โดย Kenan Institute Asia เข้าตรวจเยี่ยม สมาคมส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์แผนไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2554 ขอบันทึกรายงานไว้ ณ ที่นี้

  

  

เกณฑ์ที่ 2 : การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก
                    (Involving Groups and Sectors)

จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ของสมาคมฯ ทั้งภายในและภายนอก มีดังนี้

  • ผู้มีส่วนได้เสียภายใน ประกอบด้วย คณะกรรมการ, ครูผู้สอน, อาสาสมัคร และสมาชิก
  • ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ประกอบด้วย ผู้เข้ารับการฝึกอบรม, ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป

นอกจากนั้น สมาคมฯ ยังมี พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ได้แก่ คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม, คณะผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สุราษฎร์ธานี และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สุราษฎร์ธานี

การมีส่วนร่วมของภาคส่วนเหล่านี้มีรูปแบบแตกต่างกันไป เมื่อจำแนกออกเป็น 5 คุณลักษณะ คือ ร่วมรับรู้, ร่วมคิด, ร่วมปฏิบัติ, ร่วมรับผล (ดี / เสีย), ร่วมติดตามผล-ประเมินผล (ตัดสินถูก / ผิด) สรุปได้ดังนี้

 

การประเมินการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ผู้ประเมินได้รับข้อมูลจากการตรวจเยี่ยม พูดคุย สอบถาม และสังเกตการทำงานของคณะกรรมการสมาคมฯ  อาจจะมีข้อจำกัดบางประการโดยเฉพาะการไม่ได้พบกับตัวบุคคลของภาคส่วนเหล่านี้โดยตรง 

หมายเลขบันทึก: 464726เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2011 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท