เว็บไซด์เพื่อการศึกษา


เพื่อการศึกษา

 

          เว็บไซต์ทางการศึกษาถือเป็นสื่อหนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกลที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายด้วยจุดเด่นในด้านของการเข้าถึงได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่

 

          องค์ประกอบของเว็บไซต์ทางการศึกษาที่สำคัญประกอบด้วย 3 องค์ประกอบพื้นฐาน มีดังนี้

          1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (courseware)

เป็นเนื้อหาสาระที่นำเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นสื่อประสม เน้นการออกแบบที่ใช้วิธีการ กลยุทธ์ และการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา

1. เจนจิรา  อนันตกาล   รูปแบบโฮมเพจเว็บไซต์ทางด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา

          สรุปผลการวิจัย  โครงสร้างเป็นแนวตั้ง จัดวางเนื้อหาแบบจัดกลาง ใช้สีสวยงามสบายตา ตัวอักษรอ่านง่ายชัดเจน การใช้เสียงประกอบสอดคล้อง สมจริง

2. ณัฐพล  รำไพ  รูปแบบของเว็บเพจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          สรุปผลการวิจัย มีการเชื่อมโยงที่ดี เป็นมาตรฐานทั่วไป มีระบบนำทาง เน้นการเข้าถึงได้ง่าย

3. สรวงสุดา  ปานสกุล  รูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบร่วมมือในองค์กรบนอินเตอร์เน็ต

          สรุปผลการวิจัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้กราฟฟิกที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การออกแบบเนื้อหา ควรสั้น กระชับและทันสมัย เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เรียนโดยการให้อิสระในการเข้าถึงเนื้อหาผ่านระบบนำทางที่มีคุณภาพ

4. จิตเกษม  พัฒนาศิริ

          สรุปผลการวิจัย เน้นรูปภาพแทนคำบรรยาย การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด มีจุดเชื่อมโยงกลับไปยังหน้าแรกได้ เนื้อหากระชับ อยู่ในความสนใจของผู้เรียน มีการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ทันท่วงที

5. ผู้วิจัย Khan

          สรุปผลการวิจัย หน้าจอแสดงผลปกติหรือไม่เมื่อเปิดใช้กับโปรแกรมค้นหาเว็บ ความเร็วในการแสดงข้อมูลและแสดงผลบนหน้าจอ มีการอ้างอิงผู้ออกแบบและพัฒนา มีความชัดเจนในการพิมพ์แบบขาวดำ ใช้กลวิธีเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนพัฒนาความคงทน ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ในรูปแบบ เสียง วิดีโอ  บทเรียนควรมีข้อความบรรยายประกอบการฟัง สำหรับผู้ที่บกพร่องทางสายตา

         

2. การติดต่อสื่อสาร (Communication)

          เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถามปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยผ่านการติดต่อสื่อสารในรูปแบบ ดังนี้

          1. แช็ท (chat) เหมาะกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในกลุ่มเดียวกัน

          2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นการแลกเปลี่ยนโดยการส่งข้อความในรูปของจดหมาย พร้อมทั้งแนบไฟล์ได้

          3. กระดานอภิปรายและกระดานประกาศ (Discussion Board and Bulletin Board)  เป็นการเขียนข้อความบนพื้นที่ที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้

          4. บล็อก (Blog) เป็นการเขียนฝากข้อความ สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับ เสนอข้อคิดเห็นได้

          5. วิกิ (wiki) ผู้เรียนสามารถสร้างและแก้ไขเอกสารร่วมกันสนับสนุนการเรียนแบบร่วมมือ

          3. การประเมินผลการเรียน (Assessment and Evaluation)

          สิ่งสำคัญสำหรับการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลคือ การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน มีการบอกจุดเด่นและจุดด้อย หรือระบุข้อผิดพลาด ซึ่งข้อมูลลักษณะนี้จะมีประโยชน์กับผู้เรียนมากกว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบคลุมเครือ

ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทางการศึกษา

          1. การวิเคราะห์ (Analysis)

          เป็นการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของบทเรียน ผู้เรียน พื้นฐานของผู้เรียน เนื้อหา แหล่งความรู้และสื่อที่เหมาะสม

          2. การออกแบบ (Design)

          เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสร้างเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่ดีจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ข้อมูลมีการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เนื้อหาที่ชัดเจน ง่ายต่อการสืบค้น รูปแบบของเว็บไซต์เพื่อการศึกษามีความสัมพันธ์กับการออกแบบการสอน การพัฒนาเนื้อหาวิชา การส่งข้อมูลและการส่งเสริมด้านการจัดการ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์การสอนและประโยชน์ที่ต้องการจากการเรียน มีผลการย้อนกลับจากผู้สอนและผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการสอนด้วยเทคโนโลยี เว็บไซต์ต้องมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องแม่นยำ

          3. การพัฒนา (Development)

          คือการสร้างบทเรียนโดยเริ่มจากการกำหนดแผนการดำเนินงานผลิตอย่างเป็นขั้นตอน อย่างมีระบบ

          4. การนำไปใช้ (Implementation)

          การนำรูปแบบของเว็บไซต์การศึกษาไปใช้ได้จริง มีการตรวจเข็คและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์

          5. การวัดและการประเมินผล (Evaluation)

          ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ การประเมินผลระหว่างขั้นตอนการพัฒนา เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินงานครั้งต่อไป  และการประเมินเมื่อผลพัฒนาบทเรียนเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการเปิดโอกาสสำหรับความคิดเห็นจากผู้ที่ใช้งานจริง

          4. โครงสร้างเว็บไซต์ทางการศึกษา

          1. แบบขนาน (Linear) เป็นเว็บไวต์ที่มีเนื้อหาน้อย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน

          2. แบบไม่ขนาน (Non-linear) เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเสริมในบางหัวข้อ

          3. แบบลำดับขั้น (Hierarchies) เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามาก มีโครงสร้างที่ซับซ้อน

          4. แบบเว็บ (Web) เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาซับซ้อนมีความเชื่อมโยงค่อนข้างมาก

 

คำสำคัญ (Tags): #เพื่อการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 463475เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท