กิจกรรมบำบัดในนิติจิตเวช


นกบ. หรือ นักกิจกรรมบำบัดขวัญ สถาบันกัลยาราชนครินทร์ สอบถาม ดร.ป๊อป ถึงระบบงานกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมและมีคดีความควรเป็นอย่างไร บันทึกนี้ขอคิดรวบยอดในประเด็นคำถามนี้

เมื่อมองภาพรวมแล้ว งานกิจกรรมบำบัดในนิติจิตเวช ควรจัดระบบตามกรอบอ้างอิงทางความสามารถในกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Performance Frame of Reference, OP FoR) บูรณาการกับรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (Psychosocial Rehabilitation หรือ PSR Model) ซึ่งมีตัวอย่าง PSR ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในประเทศแคนาดา ด้วย ซึ่งกล่าวว่า นักกิจกรรมบำบัดควรประสานงานกับสหวิชาชีพในประเด็น 3R คือ Role, Responsibility และ Recovery เช่น

  • พัฒนาทักษะและความช่วยเหลือที่ผู้รับบริการต้องการใช้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความพึงพอใจในทางเลือกแห่งการใช้ชีวิตในชุมชน
  • มีรูปแบบการประเมินความพร้อม (Readiness Assessment) ที่เน้นการพัฒนาทักษะการเข้าทำร่วมกิจกรรม (มีอาการทางจิตลดลง มีความไว้วางใจระหว่างผู้บำบัดและสมาชิกกลุ่มบำบัดฟื้นฟู) ทักษะการพัฒนาความพร้อมของตนเอง (มีความหวัง มีการยอมรับข้อตกลง มีแรงจูงใจ มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม) และทักษะการเลือกทำกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ (เลือกแสดงบทบาทในการใช้ชีวิต เลือกสิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิต เลือกชุมชนที่จะกลับไปใช้ทักษะที่เตรียมพร้อมจากกระบวนการ PSR)
  • มีระบบการประเมินและวางแผนการให้บริการแต่ละบุคคลที่ชัดเจนตลอด 8 สัปดาห์ เรียกว่า Service Implementation Plan หรือ SIP

โปรแกรมที่ผู้รับบริการจะได้รับจากนักกิจกรรมบำบัด เช่น

  • การฝึกทักษะการใช้ชีวิตด้วยตนเองในห้องพัก (มีห้องน้ำ ห้องครัว และห้องนอน) 2 ห้อง พร้อมฝึกการเดินทางใช้รถประจำทาง
  • การฝึกในห้องซักผ้ารีดผ้า
  • การฝึกในห้องปฏิบัติงาน (Workshop) ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการทำงานที่หลากหลาย เช่น งานไม้ งานศิลปะ งานถักทอ งานดิน ฯลฯ
  • การฝึกทักษะต่างๆ ในห้องคอมพิวเตอร์
  • การฝึกทักษะต่างๆ ในโรงอาหารและห้างร้านขายของ
  • การฝึกทักษะต่างๆ ในกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น กีฬา เกมส์ การทำสวน ฯลฯ
  • การฝึกกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัติในสถานีการทำงานหลายระดับ การใช้เวลาว่างและการทำงานกับสังคมที่สมดุล การทำครัวในหลายขั้นตอน และการเลือกทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในชุมชนระหว่างแรกรับถึงก่อนจำหน่ายออกสู่ชุมชน พร้อมระบบการประเมินทางกิจกรรมบำบัดที่เป็นรูปธรรม
  • การให้ความรู้แก่ครอบครัว ญาติ และชุมชน ของบุคคลที่เข้ามาบำบัดฟื้นฟูทางจิตสังคม

ระหว่างเข้ารับบริการกับนักกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการก็จะเข้าระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพการประกอบอาชีพ (Vocational Rehabilitation) ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจในงานทบทวนวรรณกรรมหนึ่งที่อังกฤษ ที่สรุปประเด็นที่ดีว่า "การฝึกทักษะของบุคคลให้มีรู้สึกทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมีผลผลิต/อุดมสมบูรณ์และมีสุขภาพดีและมีสุขภาวะ เช่น ทำงานศิลปะที่ขายได้เงินมาซื้ออาหารกลางวันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในชีวิตจริงได้ เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการฝึกอาชีพควรคำนึงถึงรูปแบบอาชีพที่ผู้รับบริการสามารถเรียนรู้และแยกแยะตามความสามารถของตนเองได้อย่างหลากหลายและมีความหมายต่อชีวิตของตนเองและคนที่เขาหรือเธอรักในชีวิต" 

 

หมายเลขบันทึก: 463473เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การฟื้นฟูทางจิตสังคม(Psychosocial Rehability) คือการพัฒนาความสามารถของตัวผู้รับบริการเพื่อการใช้ชีวิตในบริบทสังคมของเขาหรือค่ะอาจารย์? หรือมีจุดประสงค์มากกว่านั้นคะ?

Dr. Pop จากการอ่านบันทึกนี้นะคะ ดิฉันสามารถเอามาใช้ได้ตลอดการเป็น OT ในเรื่องของการฝึกทักษะต่างๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นกิจกรรมการรักษาได้ ไม่ว่าจะเป็น การฝึกทักษะการใช้ชีวิต การฝึกทักษะการปฏิบัติงานต่างๆ

โดยการเป็นนักกิจกรรมบำบัด เราจะไม่ได้ยกกิจกรรมอะไรมาใช้รักษาก็ได้ แต่กิจกรรมแต่ละอย่างที่นำมาเป็นสื่อการรักษานั้น ต้องอยู่ภายใต้กรอบอ้างอิงและผ่านการวิเคราะห์มาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย

จากบันทึกนี้ดิฉันได้ความรู้เพิ่มในเรื่องของกรอบอ้างอิงทางความสามารถในกิจกรรมการดำเนินชีวิต (OP FoR) และรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (PSR Model) ซึ่งในการบำบัด ฟื้นฟูผู้รับบริการ 1 คน เราต้องทำงานร่วมกับเหล่าสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล หรือแม้กระทั่งนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมปกติได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท