พายุแห่งการพัฒนา


ทบทวนเพื่อการพัฒนาเพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

พายุแห่งการพัฒนา พาชาติเจริญ

 เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ชาวมหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง โดนกระหน่ำจาก "พายุ" พายุแห่งการประเมิน เช่น

 ๑.การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในโดยหน่วยงานจัดเอง

 ๒.การประเมินคุณภาพ ตามมาตรา ๔๗ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

 ๓.การประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ ตามมาตรา ๔๘

 ๔.การประเมินจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร)

 หรือการประเมินอื่น ตามสายงานวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพ เช่น HA,NHQA,TQA,PMQA

 เสมือนหนึ่งโดนกระหน่ำจาก "พายุแห่งการพัฒนา พายุแห่งการทำดี"

 คำถามที่มักจะเกิดขึ้น แล้วอาจจะมีคำตอบ หรือ ไม่มีคำตอบ หรือ ไม่ยอมตอบ คือ

 ชีวิตหลังพายุแห่งการพัฒนา เราคือ เจ้าของต้องทำอะไรต่อ หรือ รอพายุครั้งต่อไป รอพายุปีต่อไป

 เรียนเชิญ แลก เปลี่ยน ประสบการณ์ครับ เพื่อการพัฒนา

 ๑. ตัวเราต้อง/ควร/น่า จะทำอะไรหลังการถูกประเมิน

 ๒. หน่วยงานต้อง/ควร/น่าทำอะไรหลังถูกประเมิน

 ๓.องค์กร หรือ องค์การ ต้อง/ควร/น่าทำอะไรหลังถูกประเมิน

JJ

หมายเลขบันทึก: 46322เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ขอบพระคุณอาจารย์หมอมาก ๆ เลยครับที่ใช้คำว่า "พายุ" แห่งการพัฒนาครับ ฟังแล้วได้ใจความมาก ๆ เลยครับ
  • แสดงความช่วงกรกฎา-สิงหาคมของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงวิกฤตของวงการการศึกษาไทยมาก ๆ เลยครับ
  • กรกฎาคม จะเป็นช่วงหาผลงาน ทำกิจกรรม เพื่อมาใส่ในแบบประเมิน เด็กนักศึกษาคงทำงานกันจ้าละหวั่นเลยครับ
  • ช่วงสิงหาคมจะเป็นช่วงที่นักเรียนนักศึกษาจะสบายมาก ๆ เลยครับ เพราะอาจารย์จะต้องลงไปทำงานเอกสารวิชาการ เข้าประชุมเตรียมการต้อนรับผู้เข้ามาประเมินครับ
  • ท่านอาจารย์หมอมีความคิดเห็นว่าเราควรจะทำอย่างไรกับปัญหานี้ดีครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • ถ้าหลังการประเมิน มีการพัฒนา มีการประเมินและปรับปรุงข้อด้อยตามมาตรฐาน จะเป็นประโยชน์มากเลยครับผม

" ขอเปลี่ยนจากคำว่า"พายุ" เป็น

" ฟันเฟืองแห่งการศึกษาไทยได้เวลาหมุน

                        ไปสู่มิติใหม่"

    เพราะ คำว่า " พายุ " มันแรงและทำลายล้าง

ดูชอบกลครับ...

   Windy เรียนท่าน น.เมืองสรวง   รับทราบครับ ฟันเฟืองแห่งการศึกษา แต่  Tornado ในความเป็นจริง ประหนึ่งพายุมากกว่าครับ เพราะ ฟันเฟืองต้อง ประสานต่อเนื่อง เป็นกลไกในการพัฒนา เฟืองเล็ก เฟืองน้อย คล้อยตามกัน ทำต่อเนื่อง พูดภาษาเดียวกัน เริ่มแล้วต้องไปด้วยกันไม่มากันคนละครั้ง ไม่ประเมินกันคนละที เขยื้อนองค์กรรอบเดียวกัน ปีงบประมาณบ้าง ปีการศึกษาบ้าง ปีปฏิทินบ้าง ปีที่ต้องการเข้าร่วมโครงการบ้าง







ขอบคุณครับอาจารย์ ..ขอให้ " พายุ"นั้นพัดเป็นคลื่นเพื่อให้เกิด "พลัง" แห่งการสร้างสรรค์สังคม "ด้านการศึกษาไทย ให้ก้าวไกลและก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่องครับ.......
Wakka Wakka  เรียนท่าน น.เมืองสรวง

 ขอบพระคุณ ช่วยลุ้นการศึกษาไทย

 ขอให้มีใจ...ช่วยไทยพัฒนา ครับ

 ขออย่าเลิกลา นำพาไทยเจริญ

 ขอให้เพลินเพลิน ช่วยLearn ช่วยเรียน

ผมอาจจะมีความรู้น้อยและมีความสามารถที่ไม่มากพอ...แต่ก็มีใจที่ตั้งมั่น...บนพื้นฐานแห่งความรู้นั้น...ที่ได้เรียนรู้จากท่านที่รู้และได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง...แต่อาจจะไม่เก่งพอ....แต่ก็มีความตั้งใจที่จะทำสิ่งนั้นครับ

   ในทัศนะของหนูคิดว่าการประเมิน ผู้ประเมินก็เป็นเหมือนกระจกที่มาส่องเราอาจพบเห็นในมุมที่เราไม่รู้ หรือมองไม่เห็น  คือเราเป็นอย่างไรกระจกก็จะส่งออกมาเป็นอย่างนั้น  หลังการประ ม. ควรนำผลประเมินเพื่อนำมาพิจารณหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกันโดยอาจใช้คำแนะนำของผู้ประเมินเป็นแนวทาง  ซึ่งในระดับอุดมศึกษาผู้ประเมินก็ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมุ่งหวังที่จะร่วมกันพัฒนาอุดมศึกษาไทยอยู่แล้ว และสำหรับการประเมินก็ไม่ควรมุ่งเน้นประเมินในช่วงที่จะต้องรับการประเมิน  แต่เราเองก็น่าจะประเมินการทำงานของตนเองอยู่บ่อยๆ อยู่แล้ว  ช่วงเวลาใกล้ประเมินน่าจะเป็นช่วงที่เราเพียงแค่รวบรวมเอกสารที่มีอยู่แล้วเพื่อจัดเป็นหมวดหมู่ หรือในบางกรณีบางหน่วยงานจัดหมวดหมู่เอกสารไว้ตลอดเวลาที่รับเอกสารเข้าหรือส่งเอกสารออกอยู่แล้ว  เพราะฉะนั้นเป็นการง่ายที่จะเตรียมเอกสารเพื่อให้ผู้ประเมินได้ตรวจที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งน่าจะอยู่ที่ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพของแต่ละองค์กรว่าจะกำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม และคนในองค์กรร่วมกันปฏิบัติได้มากน้อยเพียงไหน  ไม่ใช่กำหนดไว้เพื่อให้มี แต่มิได้ทำค่ะ  

เรียนท่าน ผอ.สำนักประเมิน ม.นเรศวร

 ขอบพระคุณครับสำหรับข้อคิด ที่เป็นประโยชน์

 Teacher ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ การประเมินตาม  เอกสาร โดยไม่ได้ศึกษา "อัตตลักษณ์ หรือ บริบท ของหน่วยงานนั้นๆ" ใช้เกณฑ์เดียวกันกับทุกหน่วยงาน

 อีกประเด็นกรณีที่ท่าน ผอ. เสนอแนะ การประเมินตามแนวทางของสำนักงบประมาณ กพร หรือ ภาคการศึกษา น่าจะเป็นวิถีปกติที่เรากระทำเป็นปกติ ไม่ต้องรอเวลา

  การปรับแผน การวางแผนน่าจะกระทำก่อนภาคการศึกษา หากเน้นตามที่ สมศ กำหนดคือ รายงานประจำปี ของปีการศึกษา หากช้าไปเปิดเรียนไปแล้ว คณาจารย์ท่านมีภาระกิจมากมายจะไม่เห็น พัฒนาการของคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่เกิดการปรับปรุง หรือ พัฒนาตามเจนารมย์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท