ตลาดนัดชมรมผู้สูงวัยใส่ใจช่องปาก ตอนที่ 12 ความดี ความงาม ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ผ่านมา


 

ตลาดนัดที่ขอนแก่น ครั้งนี้ ทีมงานได้เชิญอาจารย์ธนชัย อาจหาญ มาอำนวยการตลอดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ประวัติโดยย่อของอาจารย์ ก็คือ อาจารย์เป็นคณะทำงานกองทุนเพื่อสังคม ของธนาคารออมสิน เป็นหัวหน้าหน่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ ประจำสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ... Slogan การเรียนรู้ของอาจารย์ก็คือ วันนี้ "เรียนรู้อย่างมีความสุข และความสนุกสนาน"

อ.ธนชัย นำกิจกรรมด้วยการสรปประเด็นเนื้อหาการบรรยาย แนวทางการดำเนินงานการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุให้ที่ประชุมได้รับทราบ นั่นก็คือ

สถานการณ์ผู้สูงอายุ สถานการณ์ประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาของผู้สูงอายุ หนึ่งคือ เรื่องสุขภาพ ความแข็งแรงที่ผู้สูงอายุมีน้อยลง เรื่องของโรคที่ผู้สูงอายุมีมากขึ้น เรื่องของครอบครัวที่ขาดผู้ดูแล รวมทั้งมีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปาก เมื่อไม่มีฟัน สุขภาพจิตก็ไม่ดี ก็ทำให้กินอาหารก็ไม่ได้

เรามุ่งไปในชมรมผู้สูงอายุ เพราะว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีความรู้ มีความสามารถ มีภูมิปัญญา ในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงเรื่องการถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่น

ประเด็นที่จะทำต่อ จึงเป็นเรื่องของ

หนึ่ง ... ทำอย่างไร ประชาชนในชุมชนจะลุกขึ้นมา จัดระบบในเรื่องของการดูแลสุขภาพปากร่วมกัน ไม่เฉพาะชมรมผู้สูงอายุ ดูทั้งตัวเอง สมาชิกในชมรม สมาชิกในครอบครัว ตัวชุมชน

สอง ... ความสำเร็จเรื่องนี้ เฉพาะชมรมผู้สูงอายุทำไม่ได้ จะต้องมี โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้ามาร่วมกิจกรรม รวมทั้ง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมในเรื่องวิชาการ และการบริหารจัดการ

อ.ธนชัย ใช้กระบวนการ ด้วยกิจกรรมกลุ่ม มาโสกัน มาเล่าสู่กันฟัง ว่า ใครทำอะไร เป็นอย่างไร มีความภาคภูมิใจ มีความสำเร็จอะไร ที่ส่งผลทำให้เกิดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ โดยคละผู้เข้าประชุม แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม 1. กลุ่มพลังสามัคคี 2. กลุ่มลิลลี่สีกุหลาบ 3. กลุ่มบานชื่น 4. กลุ่มนกกระเต็น 5. กลุ่มลีลาวดีเฮ้ 6. กลุ่มสูงวัยใจวัยรุ่น 7. กลุ่มโอ้หลั่นล๊า

คำถามที่ให้คุยกัน ก็คือ

  1. ในชมรม หรือองค์กร หน่วยงาน ชุมชนที่ทำ มีดีอะไร ให้เล่าออกมา จากคนที่มีประสบการณ์ หรือกิจกรรมที่น่าสนใจ
  2. ในกลุ่มมีงานอะไรที่สมาชิกในชมรม ทำงานร่วมกัน และภาคภูมิใจ  และเล่าต่อว่า กิจกรรมนั้น ทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ เพื่อที่จะได้เป็นองค์ความรู้ ให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้
  3. บอกต่อว่า สมาชิกในชมรมฯ ในหน่วยงาน ที่ประสบความสำเร็จ นอกจากมีความสามารถ มีทักษะแล้ว ต้องเก่งในเรื่องอะไรอีก และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น จนได้เป็นต้นแบบอย่างไร
  4. สุดท้าย ที่ถือว่า สุดยอด คือ คิดต่อว่า เรื่องที่เราทำสำเร็จแล้ว ก้าวต่อไป ถ้าหากว่าสามารถเสกได้ อยากเนรมิตให้เกิดอะไรขึ้นในองค์กร ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า

อาจารย์ธนชัย อาจหาญ ค่ะ

ก่อนที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน ก็มีการละลายพฤติกรรมกันก่อน

โจทย์ที่ 1 มองคนที่อยู่ในกลุ่ม คิดว่า ชอบกับใคร ใครที่ตนเองสนใจ อยากสนทนากับใครมากที่สุด ให้จับคู่กัน หันหน้าเข้าหากัน โดยมีข้อตกลงร่วมกัน

... เริ่มต้นกิจกรรมที่จะ ลปรร. คือ ร่วมกันค้นพบสิ่งดีดี ที่แต่ละคนมีมา จากการลองถามไถ่กัน ว่า แต่ละคนมีสิ่งดีดีอะไร

โจทย์ที่สอง หลังจากที่ได้ฟัง สิ่งดีดีแล้ว เราจะร่วมกันทำเรื่องนี้ และกำหนดทิศทางในอนาคตอย่างไร

โจทย์ที่สาม ออกแบบสร้างการทำงานที่มี หน่วยงาน องค์กรท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ รพ. รพ.สต. และผู้สูงอายุ ทำงานร่วมกัน โดยให้ความเท่าเทียม ทุกคน ทุกกลุ่ม ร่วมกันทำงาน

โจทย์ที่สี่ – ในอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้ามีฤทธานุภาพ ท่านอยากให้สิ่งที่เราทำในอนาคต ในเรื่องของสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย ฟันดี อยากเห็นเป็นอย่างไร กับตัวท่านเอง กับชุมชน กับองค์กร หรือกับ 1 ชมรม 1 อำเภอ

รวมเรื่อง ตลาดนัดชมรมผู้สูงวัยใส่ใจช่องปาก

 

หมายเลขบันทึก: 463183เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท