การกัดกร่อนในที่อับ ของเครื่องมือจ่ายกลาง (crevice corrosion)


มีลักษณะการกัดกร่อนตรงบริเวณข้อต่อของเครื่องมือ

 

กลไกการเกิดคล้ายๆ กับการกัดกร่อนแบบรู (pitting corrosion) ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.gotoknow.org/blog/icchawang/462991 ) บริเวณข้อต่อจะมีคราบสกปรกแกะเต็มไปหมด passive film เสียหาย ทำให้เหล็กกล้า (Fe) เกิดปฏิกิริยากับน้ำ และอากาศ เกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีขึ้น เกิดขั่วไฟฟ้าแอนโนด กับแคทโทด ทำให้โลหะผุกร่อน บริเวณที่อับมีออกซิเจนน้อยกว่าบริเวณภายนอก ยิ่งส่งเสริมให้เกิดขั่วแอนโนด แคทโทด มากขึ้น

 

การแก้ไขป้องกัน

1.สำคัญที่สุด คือ การล้างบริเวณข้อต่อ บริเวณที่อับให้สะอาด ก่อนเลย ถ้าล้างคราบสกปรกออกไม่เหมาะ จะเกิดการหมักหม่ม ทำให้ passive film เสียหาย อาจใช้กรดอ่อนๆ กัดคราบสกปรกออก 

2.การพักเครื่องมือ สัก 1 วัน หลังล้างทำความสะอาด เพื่อให้โครเมี่ยมทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิด passive film

3.หลังล้างต้องทำให้เครื่องมือแห้งสนิท ความชื่นและน้ำ เป็นตัวป้องกันออกซิเจน และเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (electrochemical)

4.แก้ปัญหาเรื่องน้ำที่นำมาล้างในน้ำสุดท้าย ควรมีคลอไรด์ <1.0 mg/l (ตามมาตรฐาน AAMI TIR 34)    

หมายเลขบันทึก: 463013เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2011 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้รับการทาบทามให้ไปช่วยดูแลงานทำปราศจากเชื้อที่รพ.สต. 

พบเครื่องมือเกิดสนิมเยอะมาก แม้ล้างด้วยมือนะคะพี่

อยากเริ่มทำเครือข่ายเหมือนที่นครจังเลย...

สอนให้ทีมงานเขียนบันทึกบ้างค่ะพี่  แล้วนำเรื่องดีดีมาแบ่งปันกัน

ยังคงต้องหาความรู้เรื่องคราบอีกมากมาย เช่น เรื่องน้ำ surfactant ฯลฯ ถ้าช่วยๆ กันศึกษาก็จะดี

  • ที่ป่าติ้วกำลังเตรียมเก็บข้อมูล...เป็นการหาคำตอบช่วยกัน...อีกทาง
  • เห็นด้วยในเรื่องคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญ...ที่ป่าติ้วใช้น้ำ RO ล้างเครื่องมือปัญหาคราบลดลงมาก
  • กำลังให้น้องแยกเครื่องมือเป็นประเภทที่ซื้อมาเมื่อสองปีก่อน  และในปีนี้ ลองนำมาศึกษาลองดู
  • อายุการใช้งานน่าจะมีผลด้วยนะคะ
  • นอกจากนั้นเรื่องคุณภาพของเครื่องมือด้วยหรือไม่

 

คุณภาพเครื่องมือมีผลด้วย ประเภทสแตนเลสมีผล 304 หรือ 316 รวมถึงส่วนผสมอื่น

ตอนนี้สงสัยว่าถ้าใช้น้ำ resin 2 หลอด หลอดที่ 1 ไอออนบวก หลอดที่ 2 ไอออนลบ จะพอหรือไม่

เพราะมีบางโรงใน นคร ใช้น้ำ RO แล้วมีปัญหา มีอนุภาคขนาดใหญ่ (TDS) ในน้ำจำนวนมาก ทำให้ RO ตันเร็ว

จริงแล้วอาจไม่พอนะคะ สำหรับ resin 2 หลอด น่าจะมีระบบเสริมเพื่อดักมีอนุภาคขนาดใหญ่  ช่วยลดการอุดตัน ของ แผ่นกรอง...ที่โรงพยาบาลเปลี่ยนแผ่นกรอง ปีละครั้ง คุณภาพน้ำก็ดีตามมาตรฐาน...ค่ะ

ขอบพระคุณความรู้ดีดีจากพี่...

นำเรื่องราวดีดีมาแบ่งปันอีก จะรอติดตามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท