โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

แผนHLคณิตศาสตร์(ครูวุฒิ)


แผนHLคณิตศาสตร์(ครูวุฒิ)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 

                1.  เข้าถึง    ครูให้นักเรียนถือหนังสือคนละ 1 เล่ม จากนั้นถือหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เล่ม  ให้นักเรียนเปรียบเทียบความรู้สึกที่เกิดขึ้น (รู้สึกว่าหนักขึ้น) แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า หากต้องการทราบว่าหนังสือหนักเท่าใดต้องทำอย่างไร (นำไปชั่งน้ำหนัก)

                   1.1    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า การชั่งช่วยให้เราทราบน้ำหนักของสิ่งของต่าง ๆ                          และร่วมกันเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการชั่งพร้อมทั้งบอกหน่วยที่ใช้ด้วย เช่น ชั่งน้ำหนักตัวเองหน่วยเป็นกิโลกรัม ชั่งน้ำหนักผลไม้หน่วยเป็นกรัมหรือกิโลกรัม เป็นต้น จากนั้นนักเรียนช่วยกันบอกหน่วยการชั่งที่นักเรียนรู้จักให้ได้มากที่สุด ครูบันทึกคำตอบเป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน                 

หน่วยการชั่ง

กิโลกรัม

เมตริกตัน

ขีด

กรัม

2.  เข้าใจ  .  ให้นักเรียนร่วมกันบอกหน่วยที่ใช้ในการชั่งน้ำหนักของสิ่งของที่ครูกำหนด เช่น

     ผงซักฟอก        (กรัม)

     มะเขือเทศ        (ขีด/กิโลกรัม)

     น้ำตาลทราย     (กิโลกรัม)

     รถบรรทุก         (เมตริกตัน)  เป็นต้น

     นักเรียนพิจารณาสิ่งของที่ใช้หน่วยต่าง ๆ ว่าสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาควรใช้หน่วยใด (กรัม) สิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้นควรใช้หน่วยใด (กิโลกรัม) สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ควรใช้หน่วยใด (เมตริกตัน)

2.1   ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหน่วยการชั่ง  กรัม  ขีด  กิโลกรัม และเมตริกตันว่ามีลักษณะอย่างไร ดังนี้

     —  กรัม เขียนย่อเป็น ก. มักใช้กับสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา เช่น เข็ม ทองคำ เป็นต้น

     —  ขีด เป็นหน่วยที่ใช้เรียกน้ำหนักของสิ่งของที่หนัก 100 กรัม ว่าหนัก 1 ขีด นิยมใช้

ในการซื้อขาย 

     —  กิโลกรัม เขียนย่อเป็น กก. เป็นหน่วยที่พบเห็นและนิยมใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำหนักคน เป็นต้น

     —  เมตริกตัน   เรียกสั้น ๆ ว่า “ตัน” ใช้กับสิ่งของที่หนักมาก ๆ  เช่น  อิฐ  หิน  รถยนต์  เป็นต้น

                  2.2  .  ครูให้ผู้แทนนักเรียนครั้งละ 1 คน ออกมาถือสิ่งของและคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งของพร้อมทั้งบอกหน่วยที่ใช้ ครูจดคำตอบที่นักเรียนคาดคะเนไว้บนกระดาน เช่น สมุด 1 เล่มน้ำตาลทราย 1 ถุง   จากนั้นครูนำสิ่งของเหล่านั้นไปชั่งบนเครื่องชั่งสปริง แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกว่าคาดคะเนน้ำหนัก สิ่งของแต่ละอย่างคลาดเคลื่อนไปเท่าไร  

3.  ประเมิน     ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ครูกำหนดสิ่งของครั้งละ 1 อย่าง เช่น กล่องชอล์ก หนังสือ 4 เล่ม กระเป๋านักเรียน เป็นต้น แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคาดคะเนน้ำหนักแล้วเขียนลงในกระดาษเปล่า  จากนั้นครูนำสิ่งของเหล่านั้นไปชั่งบนเครื่องชั่งสปริง  ให้นักเรียนหาความคลาดเคลื่อนจากการชั่งจริง  กลุ่มใดคาดคะเนน้ำหนักสิ่งของได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด  ได้ 1 คะแนน

           3.1    ครูติดแถบโจทย์บนกระดานแล้วให้นักเรียนช่วยกันคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งที่กำหนดให้

ตัวอย่าง                

              กล่องดินสอหนัก   5  ขีด   1,000  กรัม   2  กิโลกรัม

              หนังสือหนัก   3  ขีด   400  กรัม   1  กิโลกรัม

     นักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง

            3.2   นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง หน่วยการชั่งและการคาดคะเนน้ำหนัก โดยครูถามคำถาม ดังนี้

     —  หน่วยการชั่งเรียงลำดับจากเบาที่สุดไปหนักที่สุดได้อย่างไร (กรัม ขีด กิโลกรัม เมตริกตัน)

     —  มีวิธีการใดที่ช่วยให้คาดคะเนน้ำหนักได้ใกล้เคียง  (เปรียบเทียบน้ำหนักกับสิ่งที่รู้น้ำหนักอยู่แล้ว)

     —  นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่อง  การคาดคะเนน้ำหนักไปใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างไรบ้าง  (ตัวอย่างคำตอบ  ใช้คาดคะเนน้ำหนักผลไม้ก่อนซื้อ   ใช้คาดคะเนน้ำหนักของเพื่อนนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง

4.  นำไปใช้   .  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้  

      —  กรัม  กิโลกรัม  เมตริกตัน  เป็นหน่วยการชั่งในระบบเมตริก ขีด เป็นหน่วยการชั่งที่นิยมใช้ในการซื้อขาย การคาดคะเนน้ำหนัก เป็นการกะอย่างหยาบ ๆ ว่า  น้ำหนักเป็นเท่าไร 

5.  สื่อสาร  นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูถามคำถามท้าทาย ดังนี้  

                     —  นักเรียนเคยนำความรู้เกี่ยวกับการคาดคะเนน้ำหนักไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่

                      —  นักเรียนทำใบงานที่ 27   การคาดคะเนน้ำหนัก  จากนั้นเลือกผลงานของนักเรียนที่ทำงานถูกต้อง 1-2 คน  เพื่อนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  จากนั้นร่วมกันอภิปรายว่าข้อใดที่ยากและมีวิธีการใดที่ช่วยให้หาคำตอบได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น 

 

 

หมายเลขบันทึก: 462732เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กล่องดินสอหนัก 20กรัม ในกล่องดินสอมีปากกา2แท่ง แท่งละ 7 กรัม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท