23 ส.ค. 54.....วันแห่งการทำแบบฝึกหัดคะ


แบบฝึกหัดเยอะมาก

นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง สารละลาย มาตอบคำถามในหนังสือเรียน ประมาณ 10 ข้อ

โห! ครูทำไมแบบฝึกหัดเยอะมากเลยครับครู

"ไม่เป็นไรคะ ยิ่งเราทำแบบฝึกหัดมากเท่าไหร่ความรู้ของเรายิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นคะ"

1. จากตาราง 3.2 ที่อุณหภูมิ 0 ºC สารแต่ละชนิดละลายในน้ำ 100 g ได้เท่ากันหรือไม่ และถ้าเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำเป็นสารอื่น จะได้ผลเหมือนกันหรือไม่

ตอบ  ที่อุณหภูมิ 0 ºC สารแต่ละชนิดจะละลายในน้ำ 100 g ได้ไม่เท่ากัน ถ้าเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำเป็นสารละลายอื่น อาจจะได้ผลเหมือนหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสมบัติของตัวละลายแต่ละชนิด

2. เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป สารชนิดเดียวกันสามารถละลายในน้ำ 100 g ได้เท่ากันหรือไม่

ตอบ  อุณหภูมิเปลี่ยนไป สารชนิดเดียวกันละลายในน้ำ 100 g ได้ไม่เท่ากัน สารบางชนิด เช่น โซเดียมไนเตรต อุณหภูมิสูงขึ้นการละลายเพิ่มขึ้น แต่สารบางชนิด เช่น ลิเทียมคาร์บอเนต อุณหภูมิสูงขึ้นการละลายลดลง แต่สารส่วนใหญ่ละลายได้เพิ่มขึ้น

3.นอกจากอุณหภูมิแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการละลายหรือไม่ และสามารถตรวจสอบได้อย่างไร

ตอบ  ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ชนิดของตัวละลาย สามารถตรวจสอบได้โดยการทำการทดลองหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

4. น้ำอัดลมที่เปิดฝาขวดไว้นานแล้ว มีรสชาติต่างจากน้ำอัดลมที่เปิดฝาขวดใหม่ ๆ อย่างไร เพราะเหตุใด

ตอบ  เพราะแก๊สในน้ำอัดลมได้แยกออกไปจากน้ำอัดลมหมดแล้วทำให้มีรสชาติต่างไปจากเดิม

5. อุณหภูมิและความดันมีผลต่อการละลายของแก๊สหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ  มีผลต่อการละลายของแก๊สเพราะอุณหภูมิและความดันทำให้แก๊สเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร

6.ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อการละลายของสาร

ตอบ  ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสาร ได้แก่ ชนิดของตัวละลาย อุณหภูมิ ความดัน ตัวทำละลาย

7.ถ้าแหล่งน้ำที่เป็นอยู่อาศัยของสัตว์น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลต่อสัตว์น้ำอย่างไร

ตอบ  อาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ เช่น ทำให้ปริมาณการละลายของแก๊สออกซิเจนในน้ำลดลง สัตว์ในน้ำอาจตายได้

8. หลักการเกี่ยวกับการละลายของสารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

ตอบ  นำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การทำเครื่องดื่ม การผลิตยา ปลูกพืชโดยการละลายตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี เป็นต้น

9. การเตรียมผลึกจากสารส้มจะทำได้อย่างไร

ตอบ  การเตรียมผลึกของสารส้ม เช่น ทำผลึกเล็ก ๆ ที่สมบูรณ์ของสารส้ม ผูกเชือกเส้นเล็กและแข็งแรงแขวนจุ่มในสารละลายอิ่มตัวของสารส้ม ตลอดการเตรียมผลึกให้วางในที่โล่งไม่ให้สะเทือน ผลึกจะโตขึ้นเรื่อย ๆ

10. ในชีวิตประจำวันเราใช้ประโยชน์จากผลึกของสารใดบ้าง ผลึกของสารแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  ในชีวิตประจำวันเราใช้ประโยชน์จากผลึก เช่น ใช้ผลึกน้ำตาลและเกลือแกงในครัวเรือน ใช้ผลึกสารส้มในการตกตะกอนน้ำประปา ใช้ผลึกซิลิคอนในการทำโซลาร์-เซลล์ เป็นต้น ผลึกแต่ละชนิดมีรูปร่างการจัดเรียงตัวของอนุภาคเป็นรูปแบบเฉพาะของสารนั้น น้ำตาลทรายและเกลือแกงมีผลึกรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ สารส้มมีผลึกรูปพีระมิดฐานสี่เหลี่ยม 2 รูปประกบกัน ซิลิคอนมีผลึกรูปทรงสมมาตร

หมายเลขบันทึก: 462417เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท