พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

ห้องเรียนกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ


ถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ดีดีจากห้องเรียนกฎหมายเคลื่อนที่

ห้องเรียนกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

                นับว่าเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิตของผู้เขียน ซึ่งเป็นนักกฎหมายและเข้าไปในห้องเรียนกฎหมายในฐานะผู้อบรมกฎหมายให้กับผู้อื่น

                การอบรมครั้งนี้ผู้เขียนสวมบทบาทเป็นผู้อบรม โดยเป็นนักกฎหมายประจำโครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาด้านสถานะและสิทธิบุคคลภายใต้กองทุนศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งได้รับเชิญเป็นหนึ่งในวิทยากร ในโครงการค่าย กฎหมายเพื่อคนไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  : แบ่งปัน  เพื่อรอยยิ้ม

ซึ่งมีผู้รับผิดชอบโครงการคือ   สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร  ร่วมกับ โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม     รัชมังคลาภิเษก เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2554 ณ โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก โดยผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อบรมในหัวข้อเรื่อง “หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ให้ความช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติ: บทบาท หน้าที่ และวิธีการส่งเรื่องร้องเรียน”

                ผู้เขียนคงต้องขอขอบคุณอาจารย์ของผู้เขียน คือ อ.แหวว และพี่เตือน (คุณบงกช นภาอัมพร) ที่มอบโอกาสดีๆ ให้ผู้เขีนได้ไปร่วมงานครั้งนี้ ที่สำคัญคือ มอบโอกาสให้ผู้เขียนได้ฝึกฝน “การพูดในที่สาธารณ” และแนะนำวิธีการต่างๆ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกอยู่เสมอว่าจุดอ่อนที่ผู้เขียนมีอยู่และไม่ค่อยได้มีโอกาสพัฒนา คือ การพูดในที่สาธารณ และผู้เขียนเองก็คิดว่าโอกาสดีๆ ที่เป็นเหมือนสนามฝึกการควบคุมสติ ความตื่นเต้น ฝึกศิลปะในการพูดคงมีไม่ได้บ่อยๆ นัก ที่สำคัญผู้เขียนเชื่อคำอาจารย์ว่าคนเราต้องฝึกทั้งอ่าน เขียน และพูดให้เป็น

                ก่อนวันที่ต้องพูดผู้เขียนก็ตื่นเต้นอยู่บ้างเพราะไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวมากนัก แต่ผู้เขียนจำคำพูดตอนดูรายการโทรทัศน์ประกวดนักร้องว่า “ถ้าเรากลัวก่อนขึ้นเวทีเราก็แพ้ไปแล้วครึ่งหนึ่ง”

                อ่อ ! ลืมเล่าไปว่า การพูดครั้งนี้เป็นการพูดให้ความรู้กับเด็กวัยประถมและมัธยม ที่ประสบความไร้รัฐไร้สัญชาติ เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดในสิ่งที่เด็กไม่สนใจก็คงเป็นการจับปูใส่กระด้งเลย เพราะฉะนั้นนอกจากผู้เขียนจะต้องสลัดความตื่นเต้นออกให้หมด มั่นใจในเนื้อหาที่พูดและใส่ใจผู้ฟังวัยเด็กตลอดเวลาว่าเขารับความรู้ได้มากแค่ไหน เนื้อหาส่วนไหนหนักเกินไปก็อาจจะต้องตัดใจไม่พูดเสียกลางครัน ระดับสมาธิของเด็ก เพราะว่าเราก็คงต้องมีลีลา เช่น การปล่อยมุข เพื่อเรียกความสนใจของเด็กๆ ก็ได้ (เป็นประสบการณ์จากการพูดสาธารณครั้งแรกที่ผู้เขียนเอามาปรับใช้ กับครั้งนี้)

                ที่สำคัญ ผู้เขียนได้พยายามพูด เหมือนการปลุกใจเด็กๆ เหล่านี้ เช่นที่อ.แหวว และพี่เตือนพูด คือ ให้พวกเขาเข้าใจปัญหาของตัวเขาเอง และพึงตัวเองในการแก้ปัญหา คือต้องศึกษาหาความรู้และใส่ใจในการแก้ปัญหา แล้วคนรอบข้างก็จะมาช่วยเหลือเขา โดยพวกเขาต้องไปย่อท้อต่อปัญหาใดๆ ก็ตามที่ขวางอยู่ข้างหน้าสำหรับหนทางการแก้ปัญหา  เสมือนกับการสร้างพลังบวกในตัวเด็กๆ ให้ได้

                สำหรับเนื้อหาที่ผู้เขียนเตรียมมาพูดก็เป็นเรื่อง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือเมื่อประชาชนถูกละเมิดสิทธิ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์กรที่รับเรื่องร้องเรียนเมื่อประชาชนเดือดร้อน เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สภาทนายความ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรรับเรื่องร้องเรียนหรือดูแลทุกข์สุขประชาชนกรณีที่ข้าราชการทุจริต เช่น ปปช. ปปท.

หมายเลขบันทึก: 461594เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท