จัดการความรู้เพื่อเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


เมื่อจัดกระบวนการจัดการความรู้ จึงได้ "เรียนรู้ร่วมกัน" ไปกับนักศึกษา

 

"เด็กเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสิบปียังใช้อะไรไม่ได้เลย พี่จะมาหวังอะไรกับการสอนแค่สามชั่วโมงหกชั่วโมง"

เป็นคำพูดของน้องแอน "อ.วัชรี" ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ครับ

ซึ่งเป็นการสนทนาบนรถตู้ระหว่างการเดินทางกลับจากการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่าน (ทุ่งศรีทอง)

ซึ่งในเทอมนั้นผมได้รับผิดชอบในการสอนรายวิชา "การเตรียมวิชาประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ"

คำพูดของ อ.แอน ประโยคนั้น เหมือนกับเป็นการจุดประกายให้ผมคิดถึงเรื่องของ "การจัดการความรู้"

ซึ่งในขณะนั้นผมไม่รู้จักการจัดการความรู้เลยครับ

แต่ในใจเห็นด้วยกับ อ.แอน อย่างมากเลยว่าจริง ๆ ด้วย

เราก็เรียนมาตั้งแต่สามสี่ขวบจนจะสามสิบอยู่แล้วยังใช้ภาษาอังกฤษแบบ Snake Snake Fish Fish อยู่เลย ถ้าเรียนกับเราสามชั่วโมงหกชั่วโมงได้แล้วเก่ง เราก็คงเก่งไปแล้ว

แต่เดิมนับตั้งแต่ที่ผมเคยเรียนวิชานี้มาจนกระทั่งมาสอนในรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพนี้

ก็จะเป็นวิชาที่รวบรวมวิชาโน้นนิดวิชานี้หน่อย วิชาเครื่องใช้สำนักงานบ้าง ไปเรียน (มองดู) เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ เครื่องโรเนียว เรียนคอมพิวเตอร์นิดนึง และก็มีเรียนภาษาอังกฤษ

เรียนมาตั้งเป็นแต่ปีหนึ่ง เรียนมาวิชานึงตั้ง 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ก็ตก 45 ชั่วโมง แล้วยังไม่ได้อะไรเลย

จะมาเรียนแค่ 2 ชั่วโมง 4 ชั่วโมงแล้วจะได้เหรอ

มหัศจรรย์แล้ว

 

จากนั้นผมก็เลยมาคิดต่อว่า "จะทำอย่างไรดี"

ก็ต้องมาจัดการความรู้ในหัวตัวเองเป็นลำดับแรกครับ

ว่าเราเดินมาถึงวันนี้ได้อย่างไร

ตอนเราเรียนใกล้ ๆ จบมีปัญหาอะไรบ้าง

ตอนไปฝึกงานเราขาดอะไรและใช้อะไรบ้าง

ตอนสมัครงานตอนทำงานล่ะ ต้องใช้อะไร

จากนั้นก็เริ่มไปเก็บข้อมูลจากเพื่อน ๆ อาจารย์บ้าง ว่าสอนภาษาอังกฤษในรายวิชานี้แล้วเป็นอย่างไร สอนการสัมภาษณ์งานในวิชานี้แล้วเป็นอย่างไร จากนั้นก็เริ่มมาสรุปเป็นความรู้ได้ว่า "ถ้าสอนแบบวิชาโน้นนิดนี้หน่อยคงจะไม่ได้ผลแน่"

เพราะเด็กกำลังจะออกไปฝึกงานจริง ๆ จะมาเรียน ๆ เอาเกรด ท่อง ๆ จำ ๆ แบบเดิมไม่ได้

เวลาไปทำงาน หัวหน้างานสั่งจะบอกว่า "เดี๋ยวก่อนค่ะ หนูขอเปิดหนังสือก่อน" ก็ไม่ได้

"การจัดการความรู้" เป็นคำตอบ

ผมก็จึงได้เริ่มเข้า Internet เพื่อหาความหมายของการจัดการความรู้ว่าเป็นอย่างไร

จากนั้นก็นำมาทดลองทำ

โดยการจัดการความรู้ของนักศึกษา "ตั้งแต่เขาเกิดมา เขาเรียนอะไรมาบ้าง แต่ละวิชาว่าไว้อย่างไร และจะนำไปใช้อะไรตอนไหนได้บ้าง"

 

"การศึกษาบริบทชุมชน ในการวิจัยแบบ PAR ก็เป็นการจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อชุมชนแบบหนึ่งเหมือนกัน" นำความรู้ที่เคยไปทำมาใช้จัดการความรู้ในการสอนดูซิ น่าจะได้ประโยชน์กับนักศึกษาโดยตรงนะ

จากนั้นก็เริ่มทดลองใช้เป็นครั้งแรกครับ โดยให้นักศึกษาไปยกบอร์ดโดยขอยืมจากโปรแกรมนิเทศศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ ห้องที่สอน

แล้วก็ไปนำกระดาษ ซึ่งซื้อไว้ใช้ในโครงการวิจัยฯ ลงมาพร้อมกับปากกาเคมี

ประเด็นแรกที่เริ่มจัดการความรู้ในครั้งนั้นก็คือ

ปี 1 ถึงปี 4 นักศึกษาเรียนวิชาอะไรมาบ้าง?

นักศึกษาก็ช่วยกันคิดอย่างสนุกสนานครับ เพราะทุกคนเรียนเหมือนกัน เป็นวิชาพื้นฐาน ที่ว่าสนุกสนานก็เพราะว่ามีวิชาที่ตอนเรียนค่อนข้างจะ (น่าเบื่อ) หน่อยครับ ประเภทสังคมศาสตร์ วิถีไทย วิถีโลก พุทธศาสนา ประมาณนี้ครับ

เมื่อได้ชื่อวิชามา ก็ย้อนกลับไปดูว่าแต่ละวิชาเรียนอะไรบ้าง และเรียนไปทำไม ก็ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนกันว่า ทำไมเราต้องเรียนวิถีโลก เรียนวิถีโลกแล้วได้อะไร

"จัดการความรู้ในสิ่งที่เรียนมา"

อ๋อ ที่เขาให้เรียนก็เพราะอย่างนี้นี่เอง

ตอนที่จัดกระบวนการไปผมก็เริ่มเรียนรู้ด้วยครับ เพราะตอนแรกก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนจัดหลักสูตรเขาจะให้เราเรียนไปทำไม

แต่เมื่อจัดกระบวนการจัดการความรู้ จึงได้ "เรียนรู้ร่วมกัน" ไปกับนักศึกษาครับ ว่า อ๋อ เขาให้เรียนอันนี้เพื่อสร้างมิติทางด้านนี้ให้เรา

ให้เรียนอีกวิชานึงก็จะได้สร้างมิติให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

เมื่อได้รู้แล้วว่าเราเรียนอะไรมาบ้าง และเรียนมาทำไม

โจทย์ต่อไปก็คือ "จะเอาอะไรไปใช้ได้บ้าง และจะใช้ได้อย่างไร"

อันนี้ก็ต้องกระตุ้นให้นักศึกษาคิดครับ เพราะนักศึกษาบางคนก็เคยไปทำงานในช่วงปิดเทอม ก็จะมีประสบการณ์ว่าตอนไปทำงานอะไรใช้บ้าง อะไรไม่ได้ใช้ และอะไรที่ขาดไปสำหรับการเรียน

นี่แหละครับ เป็นจุดจุดหนึ่งที่ผมเริ่มต้นรู้จักการจัดการความรู้ด้วยตนเองร่วมกันกับนักศึกษาครับ

หมายเลขบันทึก: 46086เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อืมม์ ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์อันน่าสนใจ ผมว่าคนที่เป็นครูอาจารย์ทุกคนก็มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน

ตอนนี้ผมเรียนอยู่ต่างประเทศ ก็เจอปัญหาว่าคะแนนในส่วนการคิดวิเคราะห์ทำได้น้อยเหลือเกิน ทั้งที่เรามีไอเดียดีๆ  (คิดว่าเราก็แน่ แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่เลย)

ผมของสรุปปัญหาที่เกิดกับตัวเองในฐานะที่ได้กลับเป็นเด็กนักเรียนอีกครั้ง

+ ผมมองว่าระบบการศึกษาไทยยังฝักเรืองกระบวนการคิดน้อยมากครับ เพราะครูคิดแทนหมด เด็กจะคิดเองก็บอกว่าเด็กคิดไม่ได้เรือง เลยต้องคิดตามครู

+ กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เจอ เด็กที่โน่นจะมีการเตรียมการสำหรับเรืองพวกนี้ ด้วยการสอนเด็กว่า จะค้นอย่างไร วิเคราะห์คุณภาพของข้อมูล และสอนสรุปข้อมูล

+ ในเรือ่งของการคิดก็สอนให้รู้สึกคิดลึกกว่าข้อมูลที่เห็น และจะเขียนต่อยอดอย่างไร

+ สอนการเขียนรายงานในแต่ละรูปแบบ ทำรายงานธรรมดาทำอย่างไร กรณีศึกษาทำอย่างไร สรุปการทดลองจะเขียนอย่างไร

+ สรุปแล้วเขาสอนกระบวนการให้เราหมด ต่อจากนั้นก็ตัวใครตัวมัน ครูก็หน้าที่ไกด์ ส่วนเด็กๆ ก็ไปห้องสมุด ตามอาคารเรียนถ้าเจอว่ามีห้องเรียน จะผิดปกติมาก อาคารเรียนจะเงียบเหงามาก แต่ห้องสมุดจะคึกคักพิเศษ

ฟังดูแล้วเหมือนจะเรียน ป โท แต่จริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนชั้นอะไรก็ต้องผ่านกระบวนการนี้หมดทุกคน จะถือว่าตัวเองเก่งแล้วไม่ได้ ทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเอง แรกๆ ผมไปก็รู้สึกแย่มาก เพราะไม่รุ้จะเรียนอะไรดี สุดท้ายเรียนเองก็ได้วะ

ถ้าอยากให้เด็กไทยคิดเป็นทำเป็น ก็คงต้องช่วยกันค้าบ รอผมด้วยนะ เดี๋ยวจะกลับมาช่วย อิอิ

  • ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับคุณคนไกล 
  • เห็นด้วยในทุก ๆ ประเด็นเลยครับ
  • โดยเฉพาะประเด็นในเรื่อง ครูคิดแทนหมด เมื่อก่อนผมก็เคยเจอครับ และตอนเป็นอาจารย์ใหม่ ๆ ก็เคยเป็นเหมือนกันครับ 
  • แต่พอมาสอนไปสักพักนึงก็เริ่มเห็นครับว่า "เด็กเก่งกว่าเรา" ในบางเรื่องเสียอีกครับ
  • จากนั้นก็เลยเริ่มหลงไหลการจัดการความรู้มาก ๆ เลยครับ เพราะทำให้ผมสนุกกับการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นครับ เรียนรู้กับเด็กนักศึกษา ไปสอนทุกครั้งจะได้รับความรู้กลับมาทุก ๆ ครั้งเลยครับ
  • อีกประเด็นนึงน่าสนใจมากเลยครับ เรื่องของการ "ไกด์" ผมตั้งใจหลายทีแล้วครับว่าจะเขียนบทความเรื่องนี้ครับ เขียนไว้ในกระดาษแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสมาพิมพ์ครับ
  • การศึกษาบ้านเราต้องใช้ระบบ Guidding Organization ครับ เพราะถ้าจะปล่อยให้ Learning กัน ก็จะเจอกลเม็ดเด็ดพลายทางการตลาด เรียนไปจริงบ้างไม่จริงบ้าง เรียนไปเพื่อเข้าระบบทุนนิยมหมดเลยครับ
  • หรือว่าจะปล่อยให้เป็น Teaching Organization ก็อย่างที่คุณคนไกลว่าครับ สอนให้เด็กจำอย่างเดียว คิดไม่เป็นครับ ถ้าครูไม่อยู่ด้วยเด็กก็คิดอะไรไม่ออกเลยครับ

เป็นงานหนักพอสมควรนะสำหรับวงการศึกษาบ้านเรา และเป็นสภาพกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกสำหรบคนเป็นครูเหมือนกัน อันนี้คงไม่ต้องขยายความนะครับ

  • ใช่เลยครับคุณคนไกล กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจริง ๆ ครับ
  • เพราะพูด ๆ ไปบางครั้งก็โดนตัวเอง โดนเพื่อนที่ทำงานเก่าตัวเอง เจ้านายเก่าตัวเองเหมือนกันครับ
  • บางครั้งก็ไม่กล้าขยายความมากเหมือนกันครับ
  • ต้องขอบคุณคุณคนไกลอีกครั้งนะครับที่ช่วยมาแลกเปลี่ยนเติมเต็มและต่อยอดได้อย่างมีคุณค่ายิ่งเลยครับ

การจัดการความรู้ด้วยตัวเองน่าจะเป็นการนำเอาความรู้ตัวเราเองมีอยู่แล้วสามารถนำเอามาหล่อหลอมในสมองแล้วมากลั่นกรองออกมาเป็นความรู้ของเราเองและเห็นด้วยค่ะ

 

นายสราวุธ แสงตะคล้อ

เครื่องพิมพ์ดีด

ประโยชน์ของเครื่องพิมพ์ดีด

1. การแก้ข้อผิดพลาดในการพิมพ์

2. การแทรกตัวอักษร

3. การพิมพ์แบบกระจาย

การใช้เครื่องพิมพ์ดีด

การตรวจสอบเครื่องพิมพ์ดีดก่อนลงมือพิมพ์ เพื่อความถูกต้องในงานพิมพ์ก่อนลงมือพิมพ์ทุกครั้งควรตรวจสอบเครื่องพิมพ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานเสียก่อน เพราะไม่แน่ว่าคนที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์งานก่อนหน้านั้นได้ตั้งเครื่องไว้อย่างไร สิ่งต่าง ๆ ที่ควรคำนึงและตรวจสอบ มีดังนี้

1. แผงนำกระดาษ โดยปกติจะตั้งอยู่ที่เลข 0

2. ใส่กระดาษและปรับกระดาษให้เข้าที่ วางรางทับกระดาษและปรับลูกยางให้ทับกระดาษเป็น 3 ส่วนเพื่อให้กระดาษพิมพ์กระชับ และเพื่อไม่ให้โป่งหรือยับขณะพิมพ์งาน

3. กั้นระยะซ้าย - ขวา (กั้นหน้า - กั้นหลัง) ตามที่ต้องการ

4. ปุ่มกำหนดระยะบรรทัด (บรรทัดห่างถี่) เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยปกติจะอยู่ที่ เลข 2 คือ ระยะบรรทัดคู่

5. ปุ่มบังคับผ้าหมึก ควรตั้งไว้สำหรับพิมพ์ธรรมดาคือจะต้องอยู่ที่สีน้ำเงิน สำหรับปุ่มสีขาวใช้สำหรับพิมพ์กระดาษไข

6. การวางแบบพิมพ์ควรวางไว้ทางขวามือ ให้หัวแบบพิมพ์เบนออกไปให้เอียงประมาณ 45 องศา เพื่อให้อยู่ในลักษณะที่ง่ายในการอ่าน กระดาษสำรอง ยางลบให้วางทางซ้ายมือ

7. ควรนั่งให้ถูกวิธี จากนั้นวางมือบนแป้นเหย้าเพื่อเตรียมลงมือพิมพ์งาน

8. สำรวจตัวอักษรของเครื่องพิมพ์ ถ้าหากพบว่าตัวอักษรของเครื่องพิมพ์ดีดขัดข้องหรือชำรุด ให้แจ้งครูผู้สอนหรือผู้รู้ทันที ไม่ควรแก้ไขแป้นอักษรของเครื่องพิมพ์ดีดด้วยตนเอง อาจจะเป็นสาเหตุให้เครื่องพิมพ์ดีดชำรุดมากกว่าที่เป็นอยู่ได้

ขั้นตอนการพิมพ์

1. การเตรียมการก่อนการพิมพ์ ผู้เรียนจะต้องทำสูตรซึ่งคิดหาสูตรได้จากลายปักในหนังสือ นิตยสาร ภาพปักครอสติท หรือรูปภาพตามต้องการ โดยตีตารางให้พอดีกับตัวพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ดีดแล้วนับดูว่าช่องไหนมีการพิมพ์ ช่องไหนไม่มีการพิมพ์ (ช่องที่มีการพิมพ์คือ การพิมพ์ตัวอักษร ช่องไม่มีการพิมพ์คือการใช้วิธีเคาะเว้นวรรค)

2. และเพื่อให้ภาพที่พิมพ์มีสีที่สวยงามตามแบบ จะต้องเตรียมกระดาษคาร์บอนสีต่าง ๆ เพื่อ ใช้พิมพ์ (ถ้าหากต้องการสีหลายสีที่มีความเข้มของสีแตกต่างกันผู้เรียนจะทำกระดาษสี ขึ้นเองได้ โดยใช้สีเทียนระบายในกระดาษแล้วตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ )

3. ก่อนจะเริ่มการพิมพ์ ผู้เรียนจะต้องคำนวณเพื่อจะวางศูนย์ของภาพที่จะพิมพ์ทั้งแนวตั้งและแนวนอนเสียก่อนเพื่อให้ภาพอยู่ในลักษณะที่สมดุลย์กับกระดาษที่ต้องการพิมพ์

4. เริ่มพิมพ์โดยการนำตัวอักษรในเครื่องพิมพ์ดีดมาประดิษฐ์ให้เป็นรูปภาพต่าง ๆ ตามรหัสภาพ ที่ได้ทำสูตรไว้ ให้ใช้กระดาษสีที่เตรียมไว้สอดขณะเคาะแป้นพิมพ์โดยใช้สีตามภาพที่ต้องการ พิมพ์ไปเรื่อย ๆ จนหมดแถวที่ 1

5. เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ทุกครั้ง ให้ใช้ระยะบรรทัด 1 หรือใช้บิดขึ้น 1 บิด

การเคาะเว้นวรรค

คานเว้นวรรคเป็นคานยาว ๆ อยู่ใต้แถวแป้นอักษร การเคาะคานเว้น วรรคใช้นิ้วหัวแม่มือทางขวาเท้านั้นเคาะ ให้นิ้วอื่นวางเบา ๆ ในลักษระโค้งงอ อยู่บน แป้นอักษรเหย้า ในท่าปกติ ใช้หัวแม่มือเคาะลงไปที่คานแล้วรีบยกขึ้นไปฝ่ามือ การเคาะ เว้นวรรคให้เคาะแรงพอให้แคร่จะเคลื่อนไปเท่านั้น (หนึ่งช่วงต่อตัวอักษร)

การลบและการใช้ยางลบ

1. ใช้ยางลบสำหรับลบหมึก หรือน้ำยาลบมึก (Liquid Paper)

2. เลื่อนแคร่ไปสุดทางซ้ายหรือทางขวา เพื่อไม่ให้เศษยางลบตกลงไปในเครื่องพิมพ์

3. ยกรางทับกระดาษขึ้นจัดลูกยางขึ้นหรือลงเพื่อให้การลบข้อความที่พิมพ์ได้ถนัดมากขึ้น การลบใช้ลบบนแท่งรองลบ

4. ลบเบา ๆ แล้วเป่าเศษยางลบที่ลบหรือใช้แปรงที่ติดมากับยางลบปัดก็ได้

การวางแบบพิมพ์

การวางแบบพิมพ์ต้องวางด้านขวามือ โดยให้แบบพิมพ์เฉไปทางด้านขวามือเล็กน้อยหรือประมาณ 45 องศา ตั้งให้อยู่ในระดับสายตาของผู้เรียน ถ้าไม่มีขาตั้งแบบพิมพ์ ให้ใช้ผ้าคลุมเครื่องพิมพ์ที่พับเรียบร้อยแล้วไว้ใต้แบบพิมพ์เพื่อรองหัวแบบพิมพ์ให้สูงขึ้นทำให้อ่านง่ายขึ้น สำหรับกระดาษพิมพ์ กระดาษรองพิมพ์ กระดาษสำรอง ยางลบ ไม้บรรทัดให้วางทางด้านซ้ายของเครื่องพิมพ์ดีด

การเคาะหรือดีดตัวอักษร

การเคาะหรือดีดที่ถูกต้องนั้น ให้ใช้ปลายนิ้วเคาะลงไปตรงกลางแป้นของแป้นอักษรที่ต้องการ จะต้องเคาะอย่างรวดเร็วแล้วรับชักนิ้วกลับทันทีก่อนที่จะเคาะแป้นอักษรตัวอื่นต่อไป น้ำหนักการเคาะหรือดีดให้พอดีกับการเดินของแคร่ จังหวะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฝึกการดีดที่ถูกต้อง

1) นิ้วโค้ง ข้อมือต่ำเล็กน้อย ให้ข้อศอกและไหล่เคลื่อนไหวแต่น้อย

2) ข้อมือจะเป็นส่วนที่เคลื่อนไหว การเคาะให้น้ำหนักสม่ำเสมอและเร็ว

3) อย่ากดแป้นอักษรแต่ใช้เคาะหรือดีด ให้สังเกตถ้าเป็น 2 รอยซ้อนกันแสดงว่าไม่ได้เคาะ และการก้าวนิ้วไม่ควรยกสูง

4) นิ้วทุกนิ้วที่ไม่ได้เคาะวางบนแป้นเหย้า

การใส่กระดาษ

เทคนิคการใส่กระดาษ จะต้องใส่กระดาษ จำนวน 2 แผ่น คือ กระดาษที่ต้องการพิมพ์และกระดาษรองพิมพ์ ใช้มือขวผลักรางทับกระดาษขึ้นไปข้างหน้าเบา ๆ ใช้มือซ้ายหยิบกระดาษที่ต้องการพิมพ์พร้อมกระดาษรองพิมพ์ ซึ่งจัดเรียงให้หัวกระดาษมีขนาดเท่ากันทั้ง 2 แผ่น ใช้มือซ้ายจับกระดาษสอดเข้าไปในช่องหลังลูกยางใหญ่ ให้ประชิดแผงนำกระดาษโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง มือขวาบิดลูกยางป้อนเข้าเครื่องพิมพ์ ถ้าต้องการปรับกระดาษใหม่เพื่อให้ตรง ให้ดึงก้านคลายกระดาษออกเมื่อปรับเสร็จแล้วให้ผลักก้านคลายกระดาษให้เข้าที่เดิมให้เรียบร้อย

การถอดกระดาษ

เมื่อพิมพ์งานเสร็จเรียบร้อยแล้วและต้องการเอากระดาษออกจากเครื่องพิมพ์ ให้ใช้มือขวา ดึงก้านคลายกระดาษลงเพื่อให้กระดาษหลวมแล้วจึงยกคานทับกระดาษให้สูงขึ้น ใช้มือซ้ายจับมุมซ้ายของกระดาษพิมพ์ดีดดึงขึ้นให้พ้นเครื่องพิมพ์ แล้ววางไว้ทางด้านซ้าย ถ้า หากนำกระดาษออกโดยไม่ดึงก้านคลายกระดาษก่อน จะทำให้มีเสียงดังรบกวนผู้อื่นและเครื่องชำรุดเร็วกว่าที่ควร

การตรวจสอบเครื่องพิมพ์ดีดก่อนลงมือพิมพ์ เพื่อความถูกต้องในงานพิมพ์ก่อนลงมือพิมพ์ทุกครั้งควรตรวจสอบเครื่องพิมพ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานเสียก่อน เพราะไม่แน่ว่าคนที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์งานก่อนหน้านั้นได้ตั้งเครื่องไว้อย่างไร สิ่งต่าง ๆ ที่ควรคำนึงและตรวจสอบ มีดังนี้

1. แผงนำกระดาษ โดยปกติจะตั้งอยู่ที่เลข 0

2. ใส่กระดาษและปรับกระดาษให้เข้าที่ วางรางทับกระดาษและปรับลูกยางให้ทับกระดาษเป็น 3 ส่วน

เพื่อให้กระดาษพิมพ์กระชับ และเพื่อไม่ให้โป่งหรือยับขณะพิมพ์งาน

3. กั้นระยะซ้าย - ขวา (กั้นหน้า - กั้นหลัง) ตามที่ต้องการ

4. ปุ่มกำหนดระยะบรรทัด (บรรทัดห่างถี่) เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยปกติจะอยู่ที่

เลข 2 คือ ระยะบรรทัดคู่

5. ปุ่มบังคับผ้าหมึก ควรตั้งไว้สำหรับพิมพ์ธรรมดาคือจะต้องอยู่ที่สีน้ำเงิน สำหรับปุ่มสีขาวใช้สำหรับพิมพ์กระดาษไข

6. การวางแบบพิมพ์ควรวางไว้ทางขวามือ ให้หัวแบบพิมพ์เบนออกไปให้เอียงประมาณ 45 องศา เพื่อให้อยู่ในลักษณะที่ง่ายในการอ่าน กระดาษสำรอง ยางลบให้วางทางซ้ายมือ

7. ควรนั่งให้ถูกวิธี จากนั้นวางมือบนแป้นเหย้าเพื่อเตรียมลงมือพิมพ์งาน

8. สำรวจตัวอักษรของเครื่องพิมพ์ ถ้าหากพบว่าตัวอักษรของเครื่องพิมพ์ดีดขัดข้องหรือชำรุด ให้แจ้งครูผู้สอนหรือผู้รู้ทันที ไม่ควรแก้ไขแป้นอักษรของเครื่องพิมพ์ดีดด้วยตนเอง อาจจะเป็นสาเหตุให้เครื่องพิมพ์ดีดชำรุดมากกว่าที่เป็นอยู่ได้

วิธีบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด

การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด ก็เพื่อจะรักษาเครื่องพิมพ์ดีดให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่าเครื่องพิมพ์ดีดเป็นเครื่องจักรกลที่ชำรุดเสียหายง่ายกว่าเครื่องจักรกลชนิดอื่น ๆ ฉะนั้นการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีดจึงเป็นสิ่งที่ต้องพึงกระทำให้เป็นประจำ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้สะดวกในการบำรุงและดูแล จึงกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาไว้ 4 ระยะ คือ

การดูแลบำรุงรักษาประจำวัน

1. เปิดผ้าคลุมเครื่องออก พร้อมทำความสะอาดผ้าคลุมแล้วพับเก็บให้เรียบร้อย

2. ตรวจความเรียบร้อยของเครื่องก่อนใช้

3. หลังจากเลิกใช้แล้ว ใช้แปรงขนอ่อนปัดฝุ่นให้สะอาด

4. เคลียแท๊ปที่ตั้งไว้ทั้งหมดออกเสีย

5. เลื่อนกั้นหน้า กั้นหลัง มาไว้ที่จุดกึ่งกลางของแคร่

6. เปิดคันโยกฟรีกระดาษ

7. เปิดคันโยกฟรีบรรทัด

8. ปรับปุ่มพิมพ์หนัก-เบา อยู่ในตำแหน่งที่เบาที่สุด

9. ทำความสะอาดใต้เครื่องพิมพ์ดีด

10. ใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อย

การบำรุงรักษาประจำสัปดาห์

เมื่อสิ้นสัปดาห์ควรสำรวจเครื่องพิมพ์ดีดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้พร้อมใช้งานในสัปดาห์ต่อไป ดังนี้

1. บริเวณก้านตัวอักษรและตัวอักษร โดยใช้แปรงขนอ่อนปัดทำความสะอาดจากโคนก้านมายังปลายก้าน แล้วใช้แปลงทองเหลืองทำความสะอาดบริเวณหน้าตัวอักษร ถ้ามีดินน้ำมันทำความสะอาดหน้าตัวอักษรก็ได้

2. ลูกยางใหญ่และลูกยางป้อนกระดาษใช้สำลีหรือผ้าสะอาดจุ่มแอลกอฮอล์เช็ดไปตามแนวยาวของลูกยางโดยรอบ

กรณีที่มีการพิมพ์กระดาษไขเป็นประจำ หรือบ่อย ๆ ให้ทำความสะอาดลูกยางใหญ่และลูกยางป้อนกระดาษทุกครั้งหลังจากที่พิมพ์ไขเสร็จ และไม่ควรทิ้งกระดาษไขไว้ในเครื่องพิมพ์

การบำรุงรักษาประจำเดือน

การบำรุงรักษาประจำเดือน ก็เหมือนกับการบำรุงรักษาประจำวันและประจำสัปดาห์ เพียงแต่ดูแลเพิ่มในส่วนที่เห็นสมควรตามสภาพการใช้งาน และหล่อลื่นในบางจุด เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น

1. ตรวจเช็คผ้าพิมพ์ เมื่อตัวอักษรมีสีจางลง ซึ่งในบางครั้งอาจจะเปลี่ยนผ้าพิมพ์เร็วกว่ากำหนดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเครื่องพิมพ์และคุณภาพของผ้าพิมพ์ที่ใช้อยู่

2. ลูกยางป้อนกระดาษหน้า – หลัง อาจจะบวมหรือแตก เนื่องมาจากการพิมพ์กระดาษไขบ่อย ๆ โดยน้ำยาลบคำผิด และสภาพภูมิอากาศรอบ ๆ ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยนลูกยาง

3. ใช้เครื่องเป่า เป่าทำความสะอาดทั้งเครื่อง

4. ควรหล่อลื่นในบางจุดดังนี้ บริเวณราวเซต ร่องทางเดินลูกปืนแคร่ รางลูกปืนชิ๊ฟ ราวกั้นหน้า กั้นหลัง เป็นต้น

การบำรุงรักษาประจำปี

การบำรุงรักษาประจำปีนั้น ก็เป็นไปในด้านการถอดล้างเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งทุกปีถ้าเป็นไปได้ควรทำการล้างสักครั้ง เพื่อให้คราบน้ำมัน คราบเศษผง เศษยางลบที่ตกค้างอยู่ออกให้หมดและทำหล่อลื่นใหม่ เพราะอาการขัดข้องของเครื่องพิมพ์ดีดก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังกล่าวได้ เมื่อทำการล้างทำความสะอาดและหล่อลื่นใหม่ ก็สามารถใช้งานได้ดังเดิม

ตัวอย่างการใช้งาน

เครื่องคำนวณ

ประโยชน์ของเครื่องคำนวณ

1. ช่วยให้คำนวณเลขได้อย่างถูกต้อง

2. การคำนวณมีความแม่นยำและรวดเร็ว

3. สามารถใช้วิธีคิดได้หลากหลายวีธีทั้งการบวก ลบ คูณ หาร และคิดส่วนลดต่างๆ

4. สามารถวาดกราฟได้

5. สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

6. มีหน่วยความจำ จึงสามารถบันทึกข้อมูลหรือข้อความต่างๆได้

การใช้เครื่องคำนวณ

1. เสียบปลั๊กแล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง

2. กดตัวเลขที่จะหาค่า

3. กดแป้นเท่ากับ

4. กดแป้น NP เพื่อที่จะให้ตัวเลขออกมาทางกระดาษ

5. พอเครื่องบันทึกผลออกมาแล้วให้กดแป้นกดแป้น PF แล้วกระดาษก็ออกมานิดหน่อย จากนั้นก็สามารถฉีกกระดาษได้เลย

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทำความเข้าใจและศึกษาขั้นตอนรายละเอียดวิธีการใช้เครื่องคำนวณจากคู่มือการใช้เครื่องและปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนลงมือใช้เครื่อง

2. ปิดสวิตช์การทำงานของเครื่องคำนวณก่อนเสียบหรือถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง และต้องตรวจให้แน่ใจก่อนว่า กระแสไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องคำนวณใช้ไฟที่มีโวลต์เท่ากัน

3. ใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีฝุ่นละอองจับ เพราะถ้าฝุ่นละอองตกเข้าไปในเครื่องมาก ๆ จะทำให้เครื่องขัดข้องและงานผิดปกติ

4. เดทำความสะอาดเครื่องให้สะอาดอยู่เสมอ โดยใช้ผ้านุ่มและแห้งในการทำความสะอาดเครื่องเท่านั้น ไม่ควรใช้น้ำยาหรือผ้าเปียกเดทำความสะอาดเครื่อง

5. ติดตั้งเครื่องคำนวณให้ห่างจากสถานที่เปียกชื้น สกปรก หรือมีแสงแดดส่องมาถึงเครื่องโดยตรงหรือในสะถานที่ที่มีอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็ว เช่น ใกล้เครื่องปรับอากาศ

6. จัดว่างเครื่องให้เหมาะสมที่ใช้งานได้สะดวก และระวังอย่าให้เครื่องลื่นไถลตจรากโต๊ะขณะใช้งาน

7. การใส่กระดาษและผ้าหมึกต้องใส่ให้ถูกวิธีและตรวจดูแถบกระดาและผ้าหมึกให้เรียบร้อยถ้าหากเห็นว่าหมึกซีดจาง ควรเปลี่ยนผ้าหมึกใหม่ทันที และควรใช้ผ้าหมึกที่ผลิตจากผ้าแพร

8. หากเครื่องติดขัดหรือชำรุดต้องไปให้ชำนาญงานโดยเฉพาะเป็นผู้ตรวจแก้ไข

9. เมื่อเลิกการใช้งานเครื่องคำนวณทุกครั้งต้องปิดสวิตช์เครื่องทันที อย่าปิดสวิตช์อย่าปิดสวิตช์เครื่องทิ้งไว้เพราะอาจทำให้เครื่องร้อนจัด หรือมอเตอร์ไหม้ หรือไฟฟ้าลัดวงจร

ตัวอย่างการใช้งาน

เครื่องบันทึกเงินสด

ประโยชน์ของเครื่องบันทึกเงินสด

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาเงินสดได้อย่างปลดภัย

2. ประหยัดเวลาในการคำนวณสินค้า และเขียนใบเสร็จ เนื่องจากเครื่องบันทึกเงินสดจะมีบัตรแสดง รายการให้แก่ลูกค้าแทนใบเสร็จรับเงิน

3. สามารถราคาคำนวณสินค้าและเงินทอนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

4. สามารถสอบถามยอดเงินจำหน่ายสินค้าแต่ละแผนกในแต่ระวัน

5. ใช้ควบคุมการรับเงิน-จ่ายเงินหรือหน่วยงานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. มีระบบรักษาความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกมาใช้เครื่องบันทึกเงินสดได้

วิธีการใช้เครื่องบันทึกเงินสด

ปุ่มคำสั่งต่าง ๆ

1. – 90 00 กดตัวเลขจำนนเงิน (จำนวนเงินที่ปรากฏจะถูกคั่นด้วยทศนิยม 2 ตำแหน่งเสมอ เช่น กดตัวเลข 100 บนกระดาษจะปรากฏเป็น 1.00)

2. . กรณีคูณเลข ตั้งโปรแกรม

3. @/FOR กรณีคูณราคาสินค้า (จำวนสินค้า @ จำนวนเงิน)

4. CLERK ใช้ป้อนรหัสของพนักงานขาย (เป็น CODE ลับของพนักงานขายแต่ละคน)

5. 1-5 แป้นสำหรับลงแผนกสินค้า (กดหลักจากป้อนจำนวนเงิน)

6. CASH แป้นสำหรับรับเงินเป็นเงินสด

7. CHECK,CHARGE แป้นสำหรับรับเงินเป็นเงินเชื่อ

8. SUBTOTAL แป้นสำหรับรวมราคาสินค้าเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบ , แป้นรวมยอด

9. %1 แป้นสำหรับคิดราคาสินค้าเพิ่มเป็น % (กดหลังจากรวมยอดย่อย)

10. %2 แป้นสำหรับคิดราคาสินค้าลดเป็น % (กดหลังจากรวมยอดย่อย)

11. - แป้นสำหรับคิดราคาสินค้าลดเป็นจำนวนเงิน (เป็นราคา)

12. REC ACCT แป้นสำหรับเงินสำรองทอน (RA)

13.PAID OUT แป้นสำหรับจ่ายเงินออกจากลิ้นชัก (PO)

14. RFND แป้นสำหรับรับคืนสินค้า หรือเงินสดที่ลูกค้าซื้อไปแล้วนำมาเปลี่ยน

15. ERR CORR แป้นสำหรับแก้ไขรายการขายสินค้ารายการสุดท้ายที่ลงบิล

16. VOID แป้นสำหรับแก้ไขรายการที่ผิดที่ได้ข้ามรายการมาแล้ว

17. CLR แป้นสำหรับแก้ไขกรณีที่มีเสียงคราง หรือรายการที่กดผิดแต่ยังไม่ได้ลงแผนกสินค้า

18. NS/# แป้นสำหรับรับเปิดลิ้นชักโดยไม่มีการขายสินค้า และใช้สำหรับพิมพ์เลขบัตรเครดิต หรือ รหัสสินค้า หรือตัวเลขที่ไม่เกี่ยวของกับราคาขายสินค้า

19. RCPT FEED แป้นสำหรับป้อนกระดาษใบเสร็จรับเงิน

20. JRNC FEED แป้นสำหรับป้อนกระดาษด้านบันทึก

21. RCPT OFF/ON แป้นสำหรับบังคับการออกกระดาษใบเสร็จรับเงิน

22. PLU แป้นสำหรับลงรายการสินค้าย่อย (ชนิดสินค้าที่ขาย)

ตำแหน่งการใช้กุญแจ

1. OFF = ปิดเครื่อง

2. REG = ใช้งานปกติ

3. X = อ่านยอดขาย อ่านโปแกรมต่าง ๆ (รายงานยอดขายทั้งหมด)

4. Z = อ่านยอดขาย อ่านโปรแกรมต่างๆ

5. P = ตั้งโปรแกรมใช้งานทั้งหมด

การใช้งานกุญแจ

1. R พนักงานขาย (OFF…REG)

2. S เจ้าของกิจการ เปิดได้ทุกตำแหน่ง

3. X เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (OFF…REG…X)

4. Z เจ้า (OFF…REG…X…Z)

5. P ช่าง เพื่อตั้งโปรแกรม

การดูแลและรักษาเครื่องบันทึกเงินสด

1. การศึกษาขั้นตอนการใช้เครื่องบันทึกเงินสดแต่ละชนิดจากคู่มือประจำเครื่อง

2. ตั้งเครื่องไว้ที่อุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อนเกินไปหรือไม่ชื้นเกินไป

3. ติดตั้งเครื่องไว้ที่มั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันการตกหล่นหรือสั่นสะเทืยนระหว่างใช้งาน

4. ใส่ม้วนกระดาษและผ้าหมึดให้ถูกวิธี

ตัวอย่างการใช้งาน

เครื่องคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ ธนาคาร การอุตสาหกรรม การศึกษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การทหาร และงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ตัวอย่างของการนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่

1. พิมพ์ใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน

2. ทำบัญชีลูกค้า(Account Receivable)

3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control)

4. การวิเคราะห์การขาย (Sales Analysis)

5. การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง (Payroll)

6. บัญชีลูกหนี้ (Account Payable)

7. บัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)

8. การธนาคาร เช่น การบริการเงินฝาก

9. การประกันภัย เช่น การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกัน ค่าสินไหมทดแทน

10. งานทะเบียนหุ้น

11. งานควบคุมการกลั่นน้ำมัน

12. การควบคุมการนำร่องอากาศ และการเดินเรือในทะเล

13. การควบคุมการจราจร

14. ใช้ในวงการศึกษา เช่น การลงทะเบียน การคิดคะแนน

15. การตรวจโรคแทนแพทย์

16. การสื่อสารดาวเทียม

17. ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า

18. งานด้านอาชญากรรม เช่น ตรวจหลักฐานอาชญากรรม

19. การตรวจเก็บภาษีต่าง ๆ ที่เป็นรายได้ของรัฐบาล

20. การเก็บค่าน้ำประปา และไฟฟ้าฯลฯ

วิธีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

1. การเปิด – ปิด คอมพิวเตอร์

1.1 ขั้นตอนการเปิดระบบไฟ เสียบปลั๊กไฟ เปิดสวิท (ส่วนมากอยู่ด้านหลังเครื่อง) เปิดสวิตช์ไฟ (power) เปิดจอคอมพิวเตอร์ กรณีที่ต่อสายไฟแยกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนนี้ จะปรากฏตัวหนังสือและภาพต่างๆ ขึ้นที่หน้าจอพร้อมที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์

1.2 ขั้นตอนการเปิดโปรแกรมการใช้งาน ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะติดตั้งคำสั่งในการทำงานต่างๆไว้ตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าต้องการทำงานอะไรบ้าง ชุดของคำสั่งที่ติดตั้งไว้นี้ เรียกว่า ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือมักจะเรียกกันติดปากว่า โปรแกรมประยุกต์ เช่นโปรแกรม พิมพ์เอกสาร โปรแกรมฟังเพลง โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

การเปิดใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ ก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละโปรแกรม แต่มี วิธีการเปิดง่ายๆ คือ ให้ใช้เมาส์เลื่อนลูกศรบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปที่ปุ่ม Start แล้วใช้นิ้วกดที่ปุ่ม ด้านซ้ายของเมาส์จะเกิดเมนูย่อย ให้เลือกคลิกที่ All Programs ก็จะเห็นโปรแกรมทั้งหมด และคลิก เลือกโปรแกรมได้ตามที่ต้องการ

การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer)

ผู้ใช้ควรรู้จักลักษณะของเครื่องทั้งภายในภายนอก และควรศึกษาวิธีการใช้อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น โดยศึกษาจากคู่มือการใช้งานให้เข้าใจเสียก่อน นอกจากนี้ควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะปุ่มต่าง ๆ ที่อยู่บนแผงด้านหน้าของกล่องซีพียู

ซึ่งจะประกอบได้ด้วยปุ่มต่าง ๆ ดังนี้ ปุ่มนำแผ่นซีดีรอมออก , ปุ่มนำแผ่นดิสก์ออก , ปุ่มเพาเวอร์ , ปุ่มเทอร์โบ , ปุ่มรีเซ็ต , กุญแจล็อก ใช้ในการป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นมาใช้เครื่อง เมื่อล็อกกุญแจ จะทำให้คีย์บอร์ดไม่ยอมรับข้อมูบใด ๆ ซึ่งก่อนใช้งานจะต้องไขกุญแจปลดล็อกออกเสียก่อน ดังนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง จะต้องเปิดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงก่อนเช่น จอภาพ, เครื่องพิมพ์ ไม่ควรเปิด ๆ ปิด ๆ เครื่องบ่อย

2. ในการทำงานให้รอจนกระทั่ง Hard Disk หยุดอ่านข้อมูล โดยสังเกตจากไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์

3. การปิดเครื่องทุกครั้งจะต้องออกจากโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ แล้วปิดเครื่องก่อนโดยกดปุ่ม Power แล้วจึงปิดอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่น จอภาพ

4. อย่าปิดและเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทันที

การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้น้ำยาหรือครีมเช็ดทำความสะอาด

2. ใช้เครื่อง ยูพีเอส เพื่อสำรองไฟฟ้า

3. ถ้าหากไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานาน ควรเปิดเครื่องเป็นครั้งคราว ไม่เช่นนั้นแบตเตอรี่ภายในก็จะเสื่อมและทำให้เครื่องทำงานไม่ได้

4. วางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

5. เดินสายไฟให้เรียบร้อย เป็นระเบียบ ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟรวมกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

6. วางเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

7. ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

การใช้และการบำรุงรักษาจอภาพ (Monitor)

1. ใช้จอภาพที่มีคุณภาพดีมีการแผ่รังสีต่ำ ภาพบนจอไม่กระพริบหรือไหว

2. วางจอภาพให้ได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอ และปรับระดับจอภาพให้เหมาะสม เพราะมีผลต่อสายตาของผู้ใช้

3. ปรับแต่งจอภาพให้พอดีไม่ควรจ้าเกินไป เพราะจะทำให้จอเสื่อมเร็ว รวมทั้งมีผลกับสายตาของผู้ใช้

4. ผู้ใช้ควรนั่งห่างจากจอภาพพอควรเช่น ประมาณ 2 ฟุต

5. ควรใช้โปรแกรม Screen Saver (รักษาจอภาพ) เพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพเวลาเปิดเครื่องไว้นานโดยไม่ใช้เครื่อง

6. ควรมีการพักสายตาหลังจากทำงานติดต่อกันนาน ๆ และควรหาแผ่นกรองแสง (Screen Filter) เพื่อลดความจ้าของรังสี

7. ทำความสะอาด โดยฉีดน้ำยาลงบนผ้านุ่ม ๆ เช็ดทำความสะอาด

8. ควรปิดจอภาพทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน และควรคลุมผ้าเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

การใช้และการบำรุงรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard)

การใช้แป้นพิมพ์อย่างถูกวิธีจะทำให้ผู้ใช้ไม่เมื่อยล้า และทำให้ยืดอายุการใช้งานนานขึ้น ซึ่งมีวิธีการใช้ดังนี้

1. ควรวางแป้นพิมพ์ให้ได้ระดับ และวางมือให้ได้ระดับ อย่าเกร็ง

2. ถ้าใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน ๆ ควรหยุดพักบ้างเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

3. ไม่ควรกดแป้นพิมพ์แรงเกินไป หรือกดแป้นพิมพ์เล่น เพราะจะทำให้ชำรุดได้

ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร เครื่องดื่มหรือขนมใกล้ ๆ แป้นพิมพ์ เพราะจะทำความสะอาดได้ยาก </TABLE< body>

เครื่องถ่ายเอกสาร

(HP Deskjet F370v All-in-one)

ประโยชน์ของเครื่องถ่ายเอกสาร

1. มีความสะดวกรวดเร็ว

2. มีการทำสำเนาที่มีความชัดเจน

3. เกิดความประหยัดเวลา

4. ประหยัดค่าใช้จ่าย

5. ไม่ต้องพิมพ์เอกสารที่เหมือนกันทุกประการ

6. งานที่พิมพ์ไว้และได้แก้ไขแล้วจะไม่ปรากฏรอยให้เห็น

7. ทำสำเนาได้โดยไม่จำกัดจำนวน

8. มีวิธีการผลิตที่ง่าย

9. ถ่ายเอกสารที่เป็นรูปได้

การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร

1. เสียบปลั๊กแล้วเปิดเครื่อง

2. เตรียมกระดาษที่จะนำมาถ่ายเอกสาร

3. วางต้นฉบับที่จะถ่ายเอกสารคว่ำหน้าลงบนแผ่นกระจกของเครื่องถ่ายเอกสาร

4. กดปุ่มเลือกขนาดของขนาดของกระดาษที่ต้องการเป็นสำเนา

5. หากต้องการสำเนามากกว่า 1 ฉบับให้กดปุ่มตัวเลขเลือกจำนวนสำเนาที่ต้องการ

6. กดปุ่มถ่ายเพื่อให้ได้สำเนาตามที่ต้องการ

7. ก่อนการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ผู้ใช้ควรศึกษารายละเอียด วิธีใช้และคำแนะนำต่าง ๆ จากคู่มือของเครื่อง และทำตามคำแนะนำของเครื่อง

8. การติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ควรตั้งในที่ที่มีฝุ่นมาก ๆ เพราะจำทำให้ฝุ่นเข้าไปในเครื่องทำให้เกิดการขัดข้อง

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารอย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมเครื่องให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ป้องกันการชำรุดเสียหายก่อนถึงเวลาอันสมควร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารโดยทั่วไป มีดังนี้

1. ศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องแต่ละชนิดจากคู่มือประจำเครื่อง

2. ตั้งเครื่องให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ห่างไกลจากความชื้นและแสงแดด

3. หมั่นเช็ดและทำความสะอาดตัวเครื่องด้านนอกทุกวัน

ทำความสะอาดกระจกวางต้นฉบับและฝาปิดต้นฉบับด้านในเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวันโดยผ้านุ่มและสะอาดเท่านั้น ถ้าสกปรกมากให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำพอเปียกชื้นทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว ห้ามใช้ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน หรือสาละลายอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด

5. หากมีการติดตั้งถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติ ให้ทำความสะอาดบริเวณถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติด้วยผ้านุ่มสะอาด

6. หมั่นตรวจดูผงหมึกให้อยู่ในปริมาณเพียงพอที่จะถ่ายเอกสารได้ชัดเจนอยู่เสมอ เวลาเทหมึกต้องระมัดระวังอย่าให้ผงหมึกฟุ้งกระจายเข้าตัวเครื่อง

7. ใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งหลักจากเลิกการใช้งาน และก่อนคลุมเครื่องควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อนจึงทำการคลุมเครื่อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น

8. ขณะเครื่องกำลังทำงาน ห้ามหมุนหน้าปัดเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารโดยเด็ดขาด และควรเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารอย่างช้า ๆ ก่อนกดปุ่ม Start

9. ระมัดระวังเกี่ยวกับสายไฟ ปลั๊กไฟที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร เมือเลิกใช้เครื่องให้ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กไฟให้เรียบร้อย

10. ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องถ่ายเอกสารบ่อย ๆ

11. ควรจัดทำประวัติการใช้งานการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้ละเอียด

12. ถ้าเครื่องมีปัญหาติดขัดไม่สามารถใช้งานได้ ควรเรียกช่างผู้ชำนาญมาทำการตรวจซ่อม ห้ามทำการซ่อมเองโดยเด็ดขาด

13. เมื่อมีข้อความ “READY TO COPY. MAINTENCE REQUISED” ปรากฏแสดงว่า ถึงเวลาต้องทำความสะอาดและตรวจเช็ค หรือให้ติดต่อช่างผู้ชำนาญ

ตัวอย่างการใช้งาน

เครื่องอัดสำเนาระบบดิจิทัล

ประโยชน์ของเครื่องอัดสำเนาระบบดิจิทัล

1. ผลิตงานได้รวดเร็วและได้งานที่เหมือนกันจำนวนมาก จึงประหยัดเวลา แรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากต้นทุนการเฉลี่ยต่อสำเนาแต่ละใบต่ำ

2. กระดาษที่ใช้อัดสำเนา สามารถจะใช้ได้หลายชนิด

3. อัดสำเนาสอดสีต่าง ๆ ได้หลายสี

4. ใช้ได้ทั้งระบบมือหมุนและใช้ไฟฟ้า

วิธีการใช้เครื่องอัดสำเนา

1. เปิดผ้าคลุมเครื่อง เอาถาดป้อนกระดาษและถาดรับกระดาษลง ดึงด้ามมือหมุนให้หัน ออกข้างนอกเครื่องเสียบปลั๊กไฟ

2. ตรวจดูปุ่มป้อนกระดาษให้อยู่ในลักษณะยกขึ้น หมุนมือหมุนตามเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบ เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนการป้อนกระดาษไขไม่ทำงาน

3. ใส่หลอดหรืทอหมึกอัดสำเนาเปิดฝาครอบหลอดหมึก คันล็อคหัวหมึกขึ้นใส่หลอดหมึก ให้อยู่บนฐานรับกดฐาน จนหลอดหมึกอยู่ในระดับช่องยึดหลอดหมึกแล้วใส่หัวหลอด เข้าในช่องยึดฝาหลอดหมึกให้แน่น

4. เปิดปุ่มปรับหมึกให้อยู่ในระดับที่ดูดหมึกได้เต็มหน้า กดสวิทช์หมึก เพื่อให้หมึกเดินเข้า เครื่องปิดสวิทช์กดลงข้างล่าง

5. ใส่กระดาษไข คว่ำหน้ากระดาษไขพาดบนราว ง้างแผงทับหัวกระดาษไขขึ้น สอดช่อง หัวกระดาษไขเข้ากับปุ่มเกาะหัวกระดาษไข วางแผงกระดาษไขลงทับให้แน่น

6. วางมือขวาทาบลงบนกระดาษไข กดไว้เบา ๆ หมุนมือหมุนช้า ๆ โดยที่มือขวากดทาบ ลูบตลอดแผ่นหลังของกระดาษไข หยุดหมุนมือหมุนขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดของเครื่องเปิด แผ่นขึ้นถ้าแผ่นหน้าซึ่งเป็นกระดาษไขย่น ต้องจับดึงให้ตรึง

7. กดปุ่มรีดหมึก หมุนมือหมุนไปเรื่อย ๆ ปล่อยมือจากปุ่มรีดหมึก เปิดแผ่นหลังขึ้นดูถ้า หมึกติดทุกตัวอักษรแล้วฉีกแผ่นหลังออก

8. ยกแผงกันกระดาษด้านหน้า และด้านหลังของถาดรับกระดาษขึ้น จัดให้ได้ตำแหน่งที่ พอดีรับกระดาษอัดสำเนา

9. จัดแผงกระดาษกั้นข้างและด้านหลังของถาดป้อนกระดาษ ให้พอดีกับกระดาษอัดสำเนาที่ วางลงไปก่อนจะเอากระดาษอัดสำเนาใส่ลงในถาดป้อน

10. ปรับแผงบังคับการป้อนกระดาษ โดยดูจากกระดาษอัดสำเนาที่ใช้ ถ้าเป็นกระดาษอัด สำเนาธรรมดา ให้ยกคันบังคับการป้อนกระดาษไปไว้ที่เครื่องหมายเลขบวก ถ้ากระดาษ อัดสำเนาบางกว่าปกติให้ดันคันบังคับการป้อนกระดาษ

11. ทดลองอัดสำเนาแผ่นแรก โดยเลื่อนถาดป้อนกระดาษขึ้นไปให้ชิด้านบนที่ระดับสูงสุด ของการใส่กระดาษ

12. ตรวจแผ่นสำเนาแผ่นแรก ดูตำแหน่งของสำเนาเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าบันทัด แรกยึดหัวกระดาษอัดสำเนามากเกินไป

13. จัดถาดรับกระดาษ โดยจัดแผงนำกระดาษด้านหน้าให้พอดีที่จะรับกระดาษที่ออกจาก เครื่องให้ตกลงที่ถาดรับกระดาษ

14. ตั้งจำนวนที่ต้องการจะตั้งจำนวนหลักหน่วยเพื่อเสร็จขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว เปิดสิวทช์ เดินเครื่องปิดปุ่มปรับความเร็ว เพื่อให้เครื่องทำงานช้าหรือเร็วตามความต้องการ กดปุ่ม ป้อนกระดาษลงเพื่อให้กระดาษป้อนเข้าเครื่อง

ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับข้อมลู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท