ก้าวสู่..อาเซียน 2558


  ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซียให้ความเห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นภายในปี ค.ศ. 2020 โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนนั่นเอง แต่ในเบื้องต้นหากมีประเทศใดที่มีความพร้อมก็สามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งก็มี 5 ประเทศประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ แสดงเจตจำนงที่จะร่วมก่อตั้งประชาคมอาเซียนให้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2015

         ประชาคมอาเซียนนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community; ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community; AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community; ASCC)

ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community; ASC)
          วัตถุประสงค์ของ ASC คือ ต้องการให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคอยู่กันอย่างสันติ ใช้แนวนโยบายและรูปแบบสันติวิธีในการแก้ปัญหา รวมไปถึงการสร้างความมั่นคงรอบด้านภายในภูมิภาค อาทิเช่น การใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ และข้อพิพาทต่างภายในภูมิภาค การสร้างกลไกรูปแบบใหม่ในการเสริมสร้างความมั่นคง การกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท มาตรฐานในการแก้ไขข้อพิพาท และมาตรการการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community; AEC)
          เป้าหมายของ AEC คือการเป็นเขตการผลิตเดียวหรือตลาดเดียว (single market and production base) กล่าวคือ ในกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกันเอง จะต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการอย่างเสรี รวมถึงการเคลื่อนย้ายเรงงาน การลงทุน และเงินทุน ก็ต้องเป็นไปอย่างเสรีด้วยเช่นกัน ที่ประชุมผู้นำอาเซียนยังได้เห็นชอบให้มีการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง (priority sectors) โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำแผนรองรับในแต่ละสาขา ซึ่งการคัดเลือกนี้จะพิจารณาจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ต้นทุน แรงงานมีฝีมือ และมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจอาเซียน ในการนี้ประเทศไทยได้รับเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขา “การท่องเที่ยวและการบิน” ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการบิน

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community; ASCC) 
           จุดมุ่งหมายของ ASCC คือ ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม ทั้งนี้จะเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข เป็นต้น
           ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการก่อตั้ง ASEAN Community คือ การเชื่อมต่อสัมพันธ์อันใกล้ชิดของสมาชิกอาเซียนซึ่งจะเป็นเครือข่ายสำคัญก่อให้เกิดความมั่นคงร่วมกันในด้านสังคม    เศรษฐกิจ    และการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความเหมาะสมยิ่งที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ จะก่อตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนี้

http://www.prcmu.cmu.ac.th/chn_show.php?chn_id=48

                  

หมายเลขบันทึก: 460659เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ. สายธาร

 ไม่ได้คุยกันนาน คงสบายดีนะคะ

ถ้าร่วมมือแบ่งปัน แลกเปลี่ยนให้โอกาสกันคงจะดีและเข้มแข็ง ไทยเราก็คงอยากจะศึกษาระบบการศึกษาของสิงคโปร และระบบสุขภาพที่ก้าวไกลมาก

 

Ico48

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ    นานมากจริงๆค่ะที่ไม่ได้มาสร้างสีสันที่นี่ ^_^สบายดีค่ะ 

ขอบคุณกับความคิดเห็นดีๆ

รักษาสุขภาพนะคะ...เคารพเสมอค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท