การให้คำปรึกษาหลังได้รับทราบข่าวร้าย


ให้คำปรึกษาหลังได้รับข่าวร้ายอย่างไร ให้ได้ใจผู้ขอคำปรึกษา: การเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้รับบริการ การให้กำลังใจ การให้ข้อมูล และการเสนอให้ความช่วยเหลือ

      วันนี้ผู้เขียนออกคลินิกให้บริการ (ผู้ติดเชื้อ) ร่วมกับทีมแพทย์ตามปกติ หลังจากพบแพทย์ผู้มารับบริการทุกคนก็จะมาพบพยาบาลในบทบาทของพยาบาลจะถามเรื่องประเมินการกินยาสม่ำเสมอในรายกินยาไม่สม่ำเสมอ จะเน้นการกินยาสม่ำเสมอ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การดูแลสุขภาพ ในรายที่เป็นผู้ป่วยหญิง จะเน้นการตรวจ มะเร็งปากมดลูกประจำปี มี ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังให้คำแนะนำอยู่นั้น พอถามถึงเรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปี ว่าตรวจแล้วหรือยัง ก็ได้รับคำ

    ตอบว่า “ตรวจแล้ว”

        พยาบาล “ผลเป็นยังไงคะ”

       ผู้รับบริการ ทำตาแดงๆ “หมอบอกว่า ผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง” เมื่อพูดจบก็ร้องให้

      พยาบาล “คุณ…คงตกใจ และเสียใจที่ได้ทราบผลออกมาเช่นนี้”

      ผู้รับบริการ “ค่ะ ฉันตรวจทุกปีก็ไม่เจอ แต่ปีนี้ทำไมเป็นมะเร็งได้คะหมอ” และร้องให้อีก

      พยาบาล จับมือให้กำลังใจ “พยาบาลเข้าใจนะคะ ว่าเป็นเรื่องยากที่คุณจะทำใจได้เมื่อทราบว่าเป็นโรคนี้ (มะเร็งปากมดลูก) ถ้าเกิดขึ้นกับพยาบาลก็คงทำใจยากที่จะยอมรับได้เช่นกัน”

    ผู้รับบริการ หยุดร้องให้ “เห็นคุณหมอบอกว่าจะส่งฉันไปพบ คุณหมอทางโรคมะเร็ง” พยาบาล “ค่ะ เราจะส่งให้คุณพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคมะเร็งปากมดลูก ให้ช่วยดูแลรักษาคุณ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคงได้พูดคุยกับคุณอีกทีถึงแนวทางการรักษา” “คุณ….ยังมีอะไรอยากจะถามพยาบาลอีกมั๊ยคะ”

   ผู้รับบริการ “ไม่มีค่ะ”

     พยาบาล “ถ้าคุณ…มีเรื่องไม่สบายใจ หรือสงสัยเรื่องใดสามารถโทรถามพยาบาลได้ตลอดนะคะ”

    ผู้รับบริการ “ขอบคุณค่ะ”

   ถึงแม้ ผู้เขียนจะมีเวลาคุยกับผู้รับบริการรายนี้ไม่นาน เพราะมีผู้รับบริการหลายรายคอยอยู่ แต่การเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้รับบริการ การให้กำลังใจ และการให้ข้อมูลที่จำเป็น ก็อาจช่วยผ่อนคลายความกังวลใจได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งการเสนอให้ความช่วยเหลือ โดยสามารถโทรปรึกษาได้ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาไม่ควรมองข้าม

     (ทักษะและเทคนิคต่างๆ ผู้เขียนเรียนรู้จาก: ชิษณุ พันธ์เจริญ, รัตโนทัย พลับรู้กาล และอุษา ทิสยากร. (2550). การสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส .)

หมายเลขบันทึก: 460510เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยินดีกับทีมงานที่ได้รางวัล KKU show&share นะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกประสบการณ์คะ
  “หมอบอกว่า ผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง” เมื่อพูดจบก็ร้องให้ 

ชื่นชมคุณพยาบาล ที่ตอบสนองอารมณ์ผู้ป่วยอย่างทันท่วงที ด้วยสัญชาตญาณ Carer อย่างแท้จริงคะ

มีเกร็ดเล็กๆ จากงานวิจัยของฝรั่งช่างคิด มาเล่านิดหนึ่งคะ มีผู้ศึกษา การแสดง Empathy ของแพทย์ หลังแจ้งผลมะเร็งปอด 20 ราย- ผู้ป่วยแสดงอารมณ์เศร้า กังวล 384 ครั้ง มีเพียง 39 ครั้ง (10%) ที่แพทย์แสดง empathy ..  :-}

การทำงานเป็นทีมจึงมีคุณค่าอย่างยิ่งคะ

ขอบคุณค่ะพี่แก้วที่มาแสดงความยินดีด้วย

ขอบคุณค่ะคุณหมอที่ให้กำลังใจคนทำงาน และแบ่งปันเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ

ตามมาเรียนรู้ อ่านแล้วประทับใจมากค่ะ

ขอบคุณค่ะน้องกุ้งที่แวะมาเยี่ยมขม เจ้าแม่ PC มาเองมีอะไร จะแนะนำหรือแบ่งปันมั๊ยคะ 

ขอบคุณค่ะน้องกุ้งที่แวะมาเยี่ยมขม เจ้าแม่ PC มาเองมีอะไร จะแนะนำหรือแบ่งปันมั๊ยคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท