ชื่อเรื่อง : “ศึกษาศักยภาพที่ส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขต พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นวิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดพะเยา เพื่อมาให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เค้าโครงงานวิจัย

 

ชื่อเรื่อง  : “ศึกษาศักยภาพที่ส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขต พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา” 

ชื่อผู้วิจัย  :      ผศ.คนอง   วังฝายแก้ว   พธ.บ. (สังคมวิทยา) กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อหน่วยงาน  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์  วิทยาเขตพะเยา

 

ที่ปรึกษาโครงการ  :  พระครูโสภณปริยัติสุธี,ผศ.ดร.    ผศ. จักรแก้ว  นามเมือง

 

ปีที่ทำวิจัย / ปีงบประมาณ  :  ๒๕๕๕

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         ด้วยวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงการพัฒนาอาจารย์ให้เป็นนักวิจัย เพื่อนำผลการวิจัยทางรัฐศาสตร์การปกครองไปปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอนทางด้านการปกครองให้มีประสิทธิภาพ

                   ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนา และศาสตร์สมัยใหม่แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์    รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา ดังนั้นวิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัย  โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดพะเยา เพื่อมาให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา  เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

           บรรดาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งต่อการให้บริการสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ๗๐ กว่าปี เทศบาลเป็นองค์กรที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข และสร้างความเจริญต่าง ๆ  ให้แก่ประชาชนในเขตชุมชนเมือง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  กำหนดให้วันที่ ๒๔ เมษายนของทุกปีเป็น ”วันเทศบาล”  และได้แจ้งให้เทศบาลทั่วประเทศ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันเทศบาลเป็นประจำทุกปี เช่น การทำบุญตักบาตร การรณรงค์ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น การจัดหน่วยบริการประชาชนเคลี่อนที่เป็นพิเศษ การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบาทบาท และภารกิจของเทศบาลให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน ในปีที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง ได้ร่วมกับสมาคมสันติบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ได้จัดให้มีโครงการวันเทศบาลขึ้นเพื่อเชิดชูความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ให้ปรากฏแก่ประชาชนโดยทั่วกัน โดยมีกิจกรรมพิเศษ  เช่น ทำบุญตักบาตร กิจกรรมการแข่งขันกีฬา และจัดบอร์ดแสดงผลงาน

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานะบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ศึกษาเฉพาะฐานะบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาว่าฐานะบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกมีขอบเขตอำนาจและหน้าที่มีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร

ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยจึงมองเห็นว่าสมาชิกสภาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาตำบลเป็นอย่างมาก และเพื่อให้ประชาชนได้รู้จักและมีความรู้เกี่ยวกับตัวผู้ที่จะลงสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชน หรือสมาชิกสภาเทศบาล ว่าบุคคลที่จะสมัครเป็นตัวแทนของตนมีฐานะเป็นอย่างไร เช่นฐานะทางการศึกษา ฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางครอบครัว ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นผลดีที่จะนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกตัวผู้ที่จะสมัครเป็นตัวแทนหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองของตัวเอง ในที่สุดก็จะได้ผู้เข้ามาบริหารที่มีคุณธรรม และมีคุณภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความเจริญมาสู่เทศบาลตำบลในที่สุด

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

               ๑.เพื่อศึกษาศักยภาพที่ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ที่มีต่อการทำงานในตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

               ๒.เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ขอบเขตของการวิจัย

          ๑. ขอบเขตด้านประชากร  : 

     ประชากร ได้แก่ นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน ๑๐๙ คน

         

   

 

        ๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา  :

           ๑)เป็นการศึกษาศักยภาพที่ส่งเสริมหน้าที่ที่มีต่อการทำงานในตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เช่น ฐานะในด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว  ด้านทางสังคม และหน้าที่การงานก่อนเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบล

           ๒)เป็นการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบล เช่น มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริการประชาชน ดูแล สาธารณูปโภค เช่น ด้านถนน การเกษตร ความเป็นอยู่ของประชาชน ดูแลแหล่งน้ำเป็นต้น

       ๓.วิธีดำเนินการวิจัย

           การศึกษาในครั้งนี้ ทางผู้วิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพที่ส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ได้ดำเนินการดังนี้

               ๓.๑ ประชากร :

ประชากร ได้แก่  นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน ๑๐๙ คน

              ๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสอบถามเกี่ยวกับฐานะบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาล ตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา รายละเอียดในแบบสอบถามแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ

     ตอนที่ ๑ เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม อันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ

     ตอนที่ ๒ สอบถามเกี่ยวกับฐานะบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ คือ

        ๕  หมายถึง        ปฏิบัติมากที่สุด

        ๔  หมายถึง        ปฏิบัติมาก

        ๓  หมายถึง        ปฏิบัติปานกลาง

        ๒  หมายถึง        ปฏิบัติน้อย

        ๑  หมายถึง        ปฏิบัติน้อยที่สุด

    ตอนที่ ๓  สอบถามเกี่ยวกับ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

               ๓.๓ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย  : 

                         ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือการวิจัย ตามลำดับดังนี้

๑)ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนว คิดในการสร้างเครื่องมือ

                             ๒) สร้างแบบสอบถาม ตามกรอบแนวคิดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

                             ๓) ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบแบบสอบถามพร้อมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ

                             ๔) ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา

                              ๕)  นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

                   ๓.๔ การเก็บรวบรวมข้อมูล :

                             การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลดังนี้

๑) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม

๒) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data ) ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

๓) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในภาคสนามจากนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

๔) ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

๕) นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์

        ๔. การวิเคราะห์ข้อมูล  : 

  ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

  ตอนที่ ๑ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ในรูปตารางและการพรรณนาความ

  ตอนที่ ๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในรูปตารางและการพรรณนาความ แปลความหมายดังนี้

   ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ – ๕.๐๐  หมายถึง       ปฏิบัติมากที่สุด

   ค่าเฉลี่ย ๓.๕๑ – ๔.๕๐  หมายถึง       ปฏิบัติมาก

   ค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ – ๓.๕๐  หมายถึง       ปฏิบัติปานกลาง

   ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑ – ๒.๕๐  หมายถึง       ปฏิบัติน้อย

   ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ – ๑.๕๐   หมายถึง       ปฏิบัติน้อยที่สุด

 ตอนที่ ๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)

 

       ๕. นิยามศัพท์เฉพาะ

            ศักยภาพที่ส่งเสริม หมายถึง ศักยภาพที่มีต่อการทำงานทางด้านตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบต่อชุมชน และสังคมของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

           บทบาท หมายถึง บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ที่มีต่อสังคมและสังคมมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติงานที่ทำในเทศบาล และหน้าที่ตามกฎหมายของสมาชิกสภาเทศบาล หรือเทศบัญญัติ ของเทศบาลที่กำหนดไว้

           หน้าที่ หมายถึง ความรับผิดชอบและการปฏิบัติตัวของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

           สมาชิกสภาเทศบาล หมายถึง สมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน ๙ เทศบาลตำบล

         

         ๖. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   ๖.๑ ได้ทราบถึงฐานะของตัวผู้ที่จะสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนหรือเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ว่าฐานะและบทบาททางสังคม เป็นอย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบล และจะได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในที่สุด

                   ๖.๒ ได้ทราบถึงบทบาทของบุคคลที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา อย่างมีคุณภาพ และนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกผู้แทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเทศบาลอย่างมีคุณภาพ

                   ๖.๓ ได้ทราบถึงหน้าที่ของตัวผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารเทศบาลตำบลและผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และนำมาซึ่งการตัดสินใจ เลือกคนดี มีคุณธรรม และเป็นคนที่มีคุณภาพเข้ามาบริหารบ้านเมือง

         

 

 

หมายเลขบันทึก: 460276เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ท่าน ผศ.คะนอง ฝึกอบรมปุ๊บ ส่งข้อมูลทันที

น่าชื่นชมจริง ๆ ไฟแรงจริง ๆ ขออนุโมทนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท