ทำไมไทยเจริญไม่ทันฝรั่ง (อารัมภบท..0.2)


...เพียงแค่นี้ก็เหงื่อตกแล้ว ทึ่งในปัญญาของวิศวกรไทยโบราณที่รู้คิดทำเช่นนี้ ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนในระบบเฟืองฝรั่ง

ทำไมทันเจริญไม่ทันฝรั่ง (อารัมภบท..0.2)

 

ตอน 0.1 ลืมเล่าเรื่องเฟืองเกียร์ไปได้ จึงขอนำมาเล่าต่อในตอนนี้ แล้วจะแถมเรื่องตะบันไฟด้วย

 

เฟืองเกียร์ (gear) ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ทางวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีอยู่คู่เทคโนโลยีไทยมานาน พบเห็นมากในเครื่องหีบอ้อย และ อิ้วอีดฝ้าย

 

เครื่องหีบอ้อยนั้นมักทำเป็นเกียร์ 2 ท่อนขบกันอยู่ แต่ละท่อนขุดจากไม้ทั้งต้น มีขนาด ผศ. ประมาณ 1 ฟุต การขบก็ขบกันอยู่ด้วยเฟืองเกียร์ที่ขุดเอาไว้ที่ผิวท่อนไม้แหละครับ (ขอโทษครับไม่มีเวลาไปค้นหารูปมาลง)   ลักษณะเหมือนเครื่องบดปลาหมึกขายริมถนนยังไงยังงั้น เพียงแต่เอามาวางในแนวตั้งและขนาดสูงใหญ่กว่า และแทนที่จะใช้คนหมุนก็ใช้แรงงานสัตว์ในการหมุน  ส่วนอ้อยก็เอาใส่ระหว่างช่องแทนปลาหมึก

 

เฟืองเกียร์ส่วนใหญ่ในโลกนี้จะเป็นเฟืองตรงขบกัน (spur gear) ..เช่นเครื่องบดปลาหมึก แต่เฟืองไทยนี้ไม่เคยพบเฟืองตรงทื่อๆ เลย อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นเฟืองตรงแบบสองขยัก คือ ขยักล่างเป็นเฟืองตรง ส่วนขยักบนก็เฟืองตรง แต่แนวฟันเฟืองจะเยื้องไปครึ่งหนึ่งจากขยักล่าง  ...เพียงแค่นี้ก็เหงื่อตกแล้ว ทึ่งในปัญญาของวิศวกรไทยโบราณที่รู้คิดทำเช่นนี้ ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนในระบบเฟืองฝรั่ง

 http://en.wikipedia.org/wiki/Gear

ผู้เขียนเชื่อว่าที่ทำเป็นสองขยักเช่นนี้ก็เพื่อเพิ่มความนุ่มนวลในการทำงานขึ้นสองเท่า  เพราะการขบหมุนของเฟืองนั้นการออกแรงต้องทำเป็นห้วงๆ มันไม่ใช่ว่าออกแรงวืดเดียวจบ ซึ่งการออกแรงเป็นห้วงๆนั้นมันคงทำให้วัวควายที่ออกแรงเหนื่อยยาก ทำงานไม่ทน ท่านเลยทำเป็นสองขยักเพื่อให้นุ่มนวล

 

อีกวิธีที่ทำให้นุ่มนวลคือทำเป็นเฟืองเกลียวเฉียง (helical gear)  แต่วิธีนี้มาพร้อมข้อเสียคือจะเกิดแรงยกหรือกดในแนวแกน ทำให้หน้าเกียร์ไปบดกับเครื่องยัน ทำให้เกิดแรงเสียดทาน ซึ่งทำให้หนักแรงในการหมุน (ได้อย่างเสียอย่าง) วิศวกรโบราณไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการทำเป็น double helical gear คือขยักล่างทำเป็นเฉียงหน้า ส่วนขยักบนทำเป็นเฉียงหลัง แรงยกและแรงกดในแนวแกนก็หักล้างกันหมด ...สุดยอดไปเลย คราวนี้ได้ทั้งความนุ่มและความเบา...เฟืองชนิดนี้บางทีฝรั่งเรียกว่า  herringbone gear ( เฟืองก้างปลาเฮอริ่ง)  ของเราน่าเรียกว่าเฟืองก้างปลาทูนะ  ฝรั่งเพิ่งจะคิดเฟืองนี้ได้ราวต้น คศ. 1900 นี้เอง เข้าใจว่าโดยบริษัทรถยนต์ซีตรอง ดังจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของรถนี้เป็นตรา เฟืองก้างปลานี่แหละ

 

ส่วนเฟืองก้างปลาทูของเรานั้นเชื่อว่ามีมาแล้วหลายร้อยปี หลักฐานมีอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ครับ  นอกจากนี้พวกอิ้วอีดฝ้าย (คัดเอาเมล็ดฝ้ายออกจากปุยดอกฝ้าย..ลักษณะคล้ายเครื่องบดปลาหมึกริมถนน) ก็จะมีเฟืองพวกนี้ด้วยเหมือนกัน

 

ชักยาวแล้วครับ เรื่องตะบันไฟเอาไว้ตอนหน้าละกัน

 

...คนถางทาง (๑๐ กย ๒๕๕๔)

หมายเลขบันทึก: 459666เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2011 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท