ตำนานเดือนสิบสองล้านนาตอน " ก๋วยสลาก "


เดือนสิบสองเป็งผู้คนล้านนาพากันทานก๋วยสลากอุทิศส่วนกุศลไปหาญาติที่เสียชีวิตหรือต๋ายเก่าเน่าเมิน

เดือนสิบสองล้านนาหรือเดือนสิบใต้(ภาคกลาง) ฟ้่าฝนย่อมพรั่งพรูสาดสายให้น้ำแก่ผู้คนในโลกหล้า สายน้ำย่อมเจิ่งนองท่วมท้นเป็นปกติธรรมดาตามวิถีโลกที่ธรรมชาติสรรค์สร้าง

ส่วนพิธีกรรมทางศาสนาพุทธเชื่อกันต่อๆมาว่า เดือนสิบสองเป็ง(เพ็ญ)คือวันขึ้นสิบห้าค่ำพระจันทร์เต็มดวงแจ่มจ้าแม้ว่าบางครั้งต้องหลบแผงม่านเมฆที่เคลื่อนเข้ามาบดบัง จนแสงจันทร์เจ้าอับเฉาหม่นมัวลง แต่ผู้คนล้านนายังทำก๋วยสลากหรือสลากภัตต์ไปถวายวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาบรรพบุรุษที่ตายเก่าเน่าเมิน(นาน) บางท่านอาจเสียชีวิตไปแล้วนับร้อยปี  แต่ลูกหลานเหลน ผู้สืบสายโลหิตยังคิดถึงพระคุณบรรพบุรุษผู้มีพระคุณมิสร่างซาจึงทำก๋วยสลากไปถวายวัดทุกเดือนสิบสองเหนือ

  ก๋วยหมายถึงการสานตะกร้าเป็นซองกว้างราวหนึ่งคืบปล่อยปลายเส้นตอกยาวขึ้นไปเพื่อรวบมัดเป็นยอดก๋วย(ตะกร้า)  เรียกกันว่า   "สลากซอง"  เมื่อสานเสร็จจะนำใบตองมาถุหรือ กรองกั้นไว้ด้านในทั้งด้านล่างก้นก๋วยและด้านข้างก๋วยเพื่อให้ปิดตาก๋วยมิดชิดมิให้สิ่งของลอดตาก๋วยหล่นลงแล้วนำข้าวปลาสิ่งของที่จะถวายใส่ลงในก๋วยแล้วรวบปลายก๋วยที่เตรียมดังกล่าวไว้แล้วเป็นยอดเรียวขึ้นไป นำสวย(กรวย)ดอกไม้เสียบลงปลายยอดก๋วยพร้อมไม้เสียบกลักไม้ขีดไฟ เสียบบุหรี่ไว้สองข้างถือว่าได้ก่วยสลากที่สมบูรณ์แล้วหนึ่งแก่น(ใบ)

หากต้องการทำก๋วยสลากกี่ใบก็ทำไปตามที่ว่านี้ บางครอบครัวอาจทำถึงสามสิบสี่สิบใบก็ได้แล้วแต่ใจศรัทธาจะทำทาน

หากมีความต้องการที่จะถวายก๋วยสลากให้ใหญ่กว่านี้ก็ต้องสานก่วยให้มีใบขนาดใหญ่ปากก๋วยกว้างราวหนึ่งศอก ลึกจากปากถึงก้นก๋วยราวหนึ่งศอกเช่นกัน เมื่อเสร็จแล้วจึงนำอาหารพร้อมของมีค่าใส่ลงไปจนเต็มก๋วย เรียกก๋วยสลากที่ใหญ่นี้ว่า  "สลากโจ้ก"(สลากโชค)เพราะเป็นสลากที่มีข้าวของมากกว่าสลากธรรมดาหากพระรูปใดได้สลากนี้ก็ถือว่าเป็นโชคดี  จึงเรียกกันว่า "สลากโจ้ค"(โชค)นั่นเอง

แต่ในคนบางกลุ่มเช่นคนชาวยอง  สำหรับหญิงสาวที่ต้องการถวายสลากต้องทำเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้คนเห็นว่าตนเองเป็นสาวที่มีความสามารถที่ต้องมีเสื่อสาด ที่นอน ผืนผ้าที่ตนเองทอพร้อมเครื่องครัวต่างๆใส่ลงในสลากขนาดสูงใหญ่เด่นเป็นตระหง่านแสดงศักดาความสามารถของเจ้าของสลากแล้วนำไปถวายทานเพื่อเป็นบุญกุศล สลากที่ว่านี้เรียกกันว่า  "สลากย้อม"  คือต้องย้อมหรือตกแต่งแสดงให้ผู้อื่นให้ทราบถึงความสามารถและความมีฐานะของเจ้าของสลากย้อมนี้

ประเพณีทานก๋วยสลากหรือบางท้องที่เรียกกันว่า "กิ๋นก๋วยสลาก"จะมีในเดือนสิบสองของเมืองล้านนาและต้องให้เสร็จก่อนออกพรรษา    หากล่วงเลยจากเดือนสิบสองก็จะเข้าพิธีการออกพรรษาชาวพุทธต้องเตรียมพิธีงานใหญ่อีกจะทำไม่สะดวกในการทานก๋วยสลาก

ตำนานการทานก๋วยสลากล้านนามีมานานกล่าวสรุปว่า  ในสมัยพุทธกาลมีนางยักษ์ไล่เอาชีวิตนางแม่หม้าย  ส่วนนางแม่หม้ายวิ่งเข้าไปหาพระพุทธเจ้า  พระุพุทธองค์จึงทรงห้ามและให้ทั้งสองหมดเวรกรรมแก่กันไม่จองเวรตามผลาญกันอีกต่อไป

นางแม่หม้ายจึงพานางยักษ์ไปอยู่บ้านช่วยกันทำมาหากิน ปีใดนางยักษ์รู้ว่าน้ำจะแล้งก็ไปบอกชาวบ้านให้ปลูกพืชที่ลุ่ม   ปีใดน้ำจะมากท่วมสูงนางยักษ์ก็ไปบอกชาวบ้านให้ปลูกพืชที่ดอน   ทำให้ชาวบ้านพ้นจากอุทกภัย ชาวบ้านมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ชาวบ้านจึงนำข้าวปลาอาหารมาให้นางยักษ์จนเหลือเฟือกินไม่หมด  นางยักษ์จึงนำอาหารใส่ลงตะกร้า  ใหญ่บ้างเล็กบ้างตามที่ชาวบ้านนำมาให้

เมื่อมีของทั้งใหญ่เล็กปนกันหากจะนำไปถวายพระคงไม่เสมอภาค  นางยักษ์จึงคิดว่าหากพระรูปใดมีบุญมากก็ควรได้รับสิ่งของมาก  หากพระรูปใดมีบุญน้อยก็จะได้รับสลากสิ่งของน้อยตามบุญบารมี  

เมื่อคิดได้ดังนั้นนางยักษ์จึงนำสิ่งของที่มีในตะกร้าทั้งเล็กใหญ่ปนกันมาทำสลากแล้วให้พระภิกษุสงฆ์จับ  หากพระสงฆ์จับได้อย่างไรก็ถวายไปตามนั้น      

เมื่อผู้คนเห็นว่าวิธีการของนางยักษ์เป็นกลวิธีที่ดี ไม่มีโทษทั้งผู้ถวายและผู้รับ ต่างยินยอมในการกระทำอันชอบนี้  ผู้คนจึงถือปฏิบัติกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีการทานก๋วยสลากล้านนาก็เอวังเพียงเท่านี้..เท่าอี้และนายเฮย

หมายเลขบันทึก: 459364เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราวในบันทึกนี้ค่ะ

เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณที่นำมาให้ได้อ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณเจ้า ป้อลุงหนาน ปีนี้หล้าคงได้ไปร่วมบุญตานก๋วยสลาก สืบสานประเพณีบ้านเฮาเจ้า ^_^

สวัสดีเจ้าอิหล้าต้นเฟิร์นและคำแสนดอย...

ยินดีที่เข้ามาแว่อ่านและหื้อกำลังใจ๋เจ้า....

ขอหมู่เฮามีสุขสบายจุ๊คนเจ้า....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

ขึ้นเหนือคราวนี้ ตั้งใจจะแวะร่วมชมประเพณีอันดีงามนี้เช่นกันครับ...
นี่คือสิ่งยืนยันว่า สายสัมพันธ์ของผู้คนไม่รู้จบสิ้น  อยู่คนละฟากภพ ก็ไม่ขาดหาย..

ชื่นชมครับ

สวัสดีครับคุณแผ่นดิน...

หากขึ้นเหนือเชิญแวะที่แหล่งเรียนรู้ผะหญาล้านนาครับ...

อยู่ถนนหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่...ลงไปทางสะพานเลี้ยวซ้ายขึ้นไปประมาณ 300 เมตร ยินดีต้อนรับครับ.....

ประเพณีการกิ๋นก๋วยสลากมีอยู่เกือบทุกวัดในล้านนาหน้าเดือนสิบสองเหนือ(เดือนสิบใต้)

ชอบคุณที่เข้ามาแว่อ่านและให้กำลังใจ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน..... พรหมมา

ขอบคุณอิหล้าต้นเฟิร์นที่เข้ามาแว่อ่าน....

หากสนใจเรื่องล้านนาเชิญเข้ามาแว่อ่านเน้อครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สวัสดีค่ะIco48 ติดตามอ่านทุกเรื่องนะคะ ...เป็นบันทึกที่มีคุณค่าจากผู้ที่มีความรู้จริง...ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณเจ้าท่าน ดร.พจนา....

ช่วยกันอ่าน ช่วยกันสร้างงานความรู้ก็เป็นประโยชน์แก่สังคม....

ดวยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สวัสดีเจ้า..ลุงหนานพรหมมา

บรรยากาศของวันวันตานก๋วยสลากเริ่มตั้งแต่กาดเจ้า กาดแลง มีครัวตี้ห้างดาก๋วยในกาดเป๋นดีม่วนอกม่วนใจ๋มีหมดของกิ๋นครัวตานจะเอาอย่างใดไปซื้อหากันได้ ก๋วยสานด้วยไม้ไผ่เปิงใจ๋ก็สั่งเปิ้นแป๋งมาได้ แม้บ่ใจ๋วันหยุดราชการ ตี้โฮงเฮียนก็อยู่ไกลจากวัดพระธาตุตี้เปิ้นจัดงานตานก๋วยสลาก ทำฮื้อบ่ได้ไปฮ่วมงาน แต่ก็ไปทำบุญตานก๋วยตี้วัดในหมู่บ้านต๋อนเจ้า และก็ไปทำงานตามปกติเจ้า มาได้ความฮู้เพิ่มเติมจากลุงหนานวันนี้เป๋นสิ่งที่ดีขนาดเจ้า

ขอบคุณเรื่องดีๆของบ้านเฮาตี้เล่าสู่กั๋นเน้อเจ้า

ขอขบคุณท่านครูดาหลาแต๊เจ้า....

ที่ได้ช่วยเข้ามาเพิ่มเติมบรรยากาศก๋วยสลากเมืิองล้านนาเจ้า....

ขอหื้อมีบุญและโชคลาภดีๆเจ้า....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท