ผู้นำกับการนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ


ผู้นำกับการนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ



ผู้นำกับการนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ 



 



      
การที่ผู้นำจะนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติเป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่ง
เพราะความสำเร็จขององค์การไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ
การที่องค์การมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้ จริงขึ้นอยู่กับการนำ วิสัยทัศน์ไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ
การนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญ
อย่างยิ่งของผู้นำที่จะต้องทำหน้าที่ชี้นำให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ได้สร้างฝันไว้
ซึ่งจอห์น ริชาร์ดสัน (จอห์น ริชาร์ดสัน อ้างถึงใน ทองใบ สุดชารี, 2550 : 127) ได้ให้ข้อคิดไว้ดังนี้



       1. ผู้นำต้องเป็นโฆษกในการประชาสัมพันธ์วิสัยทัศน์
  วิสัยทัศน์ไม่แตกต่างไปจากความฝัน
หากไม่ได้ สานต่อ และร่วมกันแบ่งปันทิศทางใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงองค์การ
ภารกิจที่สำคัญของผู้นำ ซึ่งจะต้อง
เปลี่ยนแปลงองค์การให้ก้าวไปสู่ทิศทางใหม่ได้นั้น ผู้นำจะต้องทำให้บุคลากรเกิดความ
เชื่อมั่นได้ว่า บุคลากรจะต้องยอมรับเจตคติและพฤติกรรมใหม่ และเกิด
ความรู้สึกว่าพวกตนได้รับรางวัล จึงจะทำให้
บุคลากรเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่าสู่ระบบใหม่ได้ ซึ่งบทบาท
ของผู้นำในฐานะโฆษกของการประชาสัมพันธ์ วิสัยทัศน์ ใหม่จะต้องดำเนินการดังนี้



          1.1 การสื่อสาร



 ผู้นำมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์วิธีการและรูปแบบที่จะใช้ในการสื่อสารวิสัยทัศน์ให้บุคลากรของ
องค์การ
รวมทั้งบุคคลภายนอกได้เกิดความเข้าใจตรงกันในอันที่จะเกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่จะ
เกิดขึ้น การเลือกใช้วิธีการสื่อสารจะต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาจจะเป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว การเป็น องค์ปาฐกในที่ประชุม
การเขียนบันทึกช่วยจำถึงบุคลากร การจัดทำเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ แถบบันทึก เสียง
วีดิทัศน์ หรือการเขียนบทความ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลกใช้การสื่อสาร เพื่อการแลกเปลี่ยนที่สำคัญ
ๆ ได้



        1.2 การสร้างเครือข่าย



               ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความสามารถในการสร้างเครือข่าย  การสื่อสารกับบุคลากรทั้งภายในและ
ภายนอกองค์การ ให้เกิดการยอมรับวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์การ
ดังเช่นกรณีของประธานาธิบดีเยอรมนีตะวันตก ที่ได้ใช้ความพยายามในการรวมประเทศเยอรมนีเข้าด้วยกันโดยสร้างเครือข่ายด้วยการใช้ความพยายามในการแสวงหาความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกา
สหภาพโซเวียต และผู้นำของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้การสนับสนุน
ความคิดของเขา ทั้งได้สร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั้งในเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก



      1.3
เป็นบุคคลที่สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์



                การนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ
จะต้องเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพแห่งการเป็นตัวแทนของวิสัยทัศน์อย่าง จริงจัง
ดังเช่นกรณีที่มาร์ติน ลูเทอร์ คิง (Martin Luther King) ผู้นำของชาวผิวดำที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของคน
ผิวดำในอเมริกา
ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนแห่งจิตวิญญาณของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
และได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้อย่างแหลมคมว่า 
“มนุษยชาติคงไม่มีโอกาสได้นับถือศาสนาคริสต์ (Christ)
เป็นผู้นำทางความคิด ประชาธิปไตยคงจะไม่เกิดในโลก หากไม่มีเอบราแฮม
ลิงคอล์น (Abraham Lincoln) ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas
Jefferson) และ ทีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) ลัทธิคอมมิวนิสต์คงจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีคาร์ล มากซ์ (Karl Marx)เลนิน (Lenin) และโจเซฟ สตาลิน (Joseph
Stalin) ...มนุษย์ถูกชี้นำให้เข้าถึงสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง และ
ได้เข้าไปสัมผัสกับความคิดที่ยิ่งใหญ่ของบุคคลที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค”



                ฉะนั้น
ผู้นำขององค์การที่ต้องการให้วิสัยทัศน์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นธรรม
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็น ตัวแทนแห่งจิตวิญญาณที่แสดงออกด้วยเจตนารมณ์อย่างมุ่งมั่น  อาศัยความที่จะดำเนินการและให้การสนับสนุนการดำเนินการ
ตามวิสัยทัศน์นั้นอย่างแท้จริง



      2. ผู้นำจะต้องทำหน้าที่ของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์



             การที่สินค้าและบริการจะไปถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะต้องอาศัย



ความสามารถของตัวแทนจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ส่วนการส่งต่อวิสัยทัศน์



ไปยังบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์จากองค์การ
ก็ไม่แตกต่างกัน
ผู้นำสูงสุดขององค์การจะต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงตามวิสัยทัศน์ใหม่อย่างแข็งขัน
และให้การสนับสนุนในทุกรูปแบบ
จึงจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนเกิดความเข้าใจตรงกัน และเกิดความเชื่อมั่นได้ว่า
การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่จะเกิดขึ้น พวกเขาจะไม่มีทางที่จะถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวแน่นอน
โดยผู้นำควรมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้



          2.1
ต้องใช้วิธีการคิดเชิงกลยุทธ์



          ผู้นำจะต้องรู้ว่าการก้าวไปสู่ทิศทางที่ตนเองวางแผนไว้
จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การคิดและการตัดสินใจที่ แยบยลว่าจะดำเนินการอย่างไร โดย
ทั่วไปยุทธศาสตร์ของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ใหม่มีดังนี้



         1) ต้องวิเคราะห์ว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยลำพัง
หรืออาศัยพันธมิตร (Alliance)
โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ โดยลำพังเป็นสิ่งที่ยาก
หากผู้นำไม่มีความแข็งแกร่งจริง ๆ ส่วนยุทธศาสตร์การร่วมมือกับพันธมิตรนั้นจะช่วย
ให้เกิดความราบรื่นได้มากขึ้น



         2) ผู้นำจะต้องเลือกเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินการขยายผลของ



วิสัยทัศน์ใหม่ให้เหมาะสม
ทั้งทางด้านเวลาและสถานการณ์        



         3) ต้องมียุทธศาสตร์ของการใช้บุคลากรที่มีฝีมือเข้ามาช่วยขยายผลของการ



เปลี่ยนแปลงตามวิสัยทัศน์ใหม่



         4) จะต้องหาวิธีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์วิสัยทัศน์จากโครงสร้างระดับบนสุดขององค์การไปสู่
โครงสร้างระดับล่างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



          2.2
ต้องสร้างบรรยากาศใหม่ในองค์การ



       
ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความสามารถในการเอาชนะการต่อต้านการ



เปลี่ยนแปลงและสามารถสร้าง
บรรยากาศใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามวิสัยทัศน์ใหม่ได้ อีกทั้งจะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการ
เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม



3.
ผู้นำทำหน้าที่เป็นผู้สอนวิสัยทัศน์ขององค์การ



            บทบาทในการสอนงาน
ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้นำที่จะเป็นผู้สอนเพื่อส่งต่อแนวความคิดและวิสัยทัศน์
ขององค์การให้ก้าวเดินไปอย่างไม่สะดุด เช่น ประธานาธิบดีจอร์จ บุช (Bush) ด้กล่าวกับทีมที่ปรึกษาในระหว่างการ
เข้ารับตำแหน่งว่า “การคิดการณ์ใหญ่ไว้ทำงานที่ท้าทาย
ยึดมั่นในคุณธรรมอย่างสูงส่ง ต้องมีระบบการบันทึกการทำงาน ให้ได้ดีที่สุด
ให้ความจริงใจต่อกัน ทุ่มเทให้กับการทำงาน หากข้าพเจ้าถูกตามตัวเพื่อการตัดสินใจ
พวกเรา จะร่วมกัน ทำงานให้เป็นทีม ต้องทำงานร่วมกับรัฐสภาให้ดีเยี่ยม
และเป็นตัวแทนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมี ศักดิ์ศรี” การทำหน้าที่เป็นผู้สอนและให้การอบรมเกี่ยวกับสาระสำคัญของวิสัยทัศน์ขององค์การของผู้นำ
เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะสร้างกลไกของระบบสังคมใหม่ขึ้นในองค์การ โดยควรดำเนินการดังนี้



         3.1
การจัดกลุ่มของบุคลากรเพื่อสอนสาระสำคัญในการส่งถ่ายวิสัยทัศน์



         3.2
จัดสรรทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มงาน



         3.3
การออกแบบระบบการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน



         3.4
การกำหนดโครงสร้างของงานและจัดแบ่งงาน



         3.5
เลือกผู้นำทีมในแต่ละกลุ่มงาน



         3.6
การกำหนดเป้าหมายและสร้างความคาดหวังที่สัมพันธ์กับแต่ละกลุ่มงาน

หมายเลขบันทึก: 458919เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท