องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา


องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา

การบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามมาตรฐานการศึกษาได้นั้น  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้

1.  ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งมีอำนาจบางอย่างเหนือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  คนที่เป็นผู้นำมีชื่อเรียกต่างๆ เช่น  กษัตริย์  ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี  ประธาน  ผู้บังคับบัญชา  เจ้านาย  เป็นต้น   ผู้นำบางคนมีบทบาทที่จะบริหารองค์กรแต่บางคนอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์ขององค์กรเท่านั้น  สำหรับผู้นำทางการบริหารการศึกษาอาจหมายถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่  ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน  อธิการบดี หัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้างาน เป็นต้น   ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำดังที่กล่าวมานอกจากจะได้มีอำนาจตามกฎหมายแล้วยังต้องอาศัยอำนาจบารมี อำนาจเชี่ยวชาญ อำนาจอ้างอิง   จึงจะสามารถบริหารจัดการในหน้าที่ของตนเอง ตามบทบาทเฉพาะที่กำหนดไว้ในแต่ละหน้าที่โดยใช้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่จะจูงใจคนในหน่วยงานให้กระทำตามที่ตนต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรซึ่งต้องอาศัยการมีภาวะผู้นำในทุก ๆส่วน

2.  ผู้ตาม หมายถึง ผู้ที่อยู่ในหน่วยงานที่มีบทบาทเป็นลูกน้อง  หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  มีหน้าที่กระทำตามคำสั่ง หรือการมอบหมายงานจากผู้นำ  ซึ่งผู้ตามมีอยู่  4  ประเภทคือ

R1   ไม่มีความสามารถและไม่มีความเต็มใจหรือไม่มั่นใจ

R2   ไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจ

R3    มีความสามารถแต่ไม่มีความมั่นใจหรือไม่มั่นใจ

R4    มีความสามารถและมีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจ

ตามทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของ Paul Hersey and Ken Blanchard  มีหลักการว่า

ผู้บริหารจะใช้รูปแบบการบริหารงานอย่างไรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ระดับความพร้อม (Readiness) ของผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งหมายถึง ความสามารถ (Ability) ทักษะความรู้และประสบการณ์และความเต็มใจ(Willingness)  ผู้นำจึงต้องสามารถวิเคราะห์ผู้ตาม  วิเคราะห์งาน แล้วจัดวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และจัดงานให้เหมาะสมกับคน (Put the light man in the light job)         สำหรับผู้ตามในวงการศึกษาก็คือครู  บุคลาการทางการศึกษา  ผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ที่ผู้ตามจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่จะกำหนดบทบาท อำนาจ หน้าที่ ภารกิจ พร้อมทั้งการมอบหมาย การติดตาม การแนะนำ การควบคุม ให้ภารงานนั้น ๆสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์  ซึ่งผู้ตามก็ต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการตามที่ได้รับคำสั่งหรือมอบหมายงานจากผู้บังคับบัญชา

3.  สถานการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ เวลา ช่วงเวลา กำหนดการ สถานที่ โอกาส  สภาวะของการทำงานนั้น ๆ เช่น ก่อนเปิดภาคเรียนจะมีการประชุมครู อบรม และชี้แจงการปฏิบัติงาน  ก่อนจัดโครงการใด ๆ  ก็จะมีคำสั่งในคำสั่งจะกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจน และทำความเข้าใจก่อนปฏิบัติงานจริง    ดังนั้นผู้บริหารจะบริหารงานใด ๆ  ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ ให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ 

จากองค์ประกอบดังกล่าวมาการบริหารจัดการทางการศึกษาล้วนต้องอาศัยภาวะผู้นำทั้งผู้นำและผู้ตามที่สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นได้อย่างเหมาะสม  กลมกลืน เกิดความพึงพอใจต่อผู้นำและผู้ตามและบรรลุเป้าหมายความสำเร็จของงาน 

หมายเลขบันทึก: 458911เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท