สมมุติฐาน


สมมุติฐานเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยที่รอการทดสอบว่าจริงหรือไม่

ความหมายของสมมุติฐาน
สมมติฐานหมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าวได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้

การตั้งสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ว่าสิ่งที่สมมติไว้นั้นเป็นจริงหรือไม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดหรือการตั้งสมมติฐานเพื่อการทดสอบ ซึ่งการกำหนดสมมติฐานเพื่อการทดสอบจะกำหนดเป็น 2 ชนิดเสมอ

หลักเกณฑ์การตั้งสมมติฐาน
หลักในการพิจารณาว่าควรจะนำความเชื่อหรือสิ่งที่คาดไว้ นำมาตั้งในสมมติฐาน  หรือ  มีดังต่อไปนี้
ก. ถ้าการคาดการณ์หรือความเชื่อ มีเครื่องหมายเท่ากับ (=) ให้สมมติฐานนั้นอยู่ใน 
ถ้าการคาดการณ์หรือความเชื่อมีเครื่องหมายอื่นๆ (,>,<)ให้สมมติฐานนั้นอยู่ 
สาเหตุที่นำสิ่งที่คาดการณ์หรือความเชื่อไว้ใน  เนื่องจากต้องนำค่าที่คาดการณ์ไปคำนวณหาค่าสถิติทดสอบเพื่อสรุปผลว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน 

พื้นที่ใต้โค้ง คือ P (เปอร์เซ็นไทล์) สามารถคำนวณหาค่าได้จากตาราง Z

ความผิดพลาดในการทดสอบสมมุติฐานเชิงสถิติ

                      การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติมักเกิดมีความผิดพลาดอยู่เสมอ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากผลสรุปของการทดสอบเป็นไปโดยไม่ยอมรับสมมุติฐาน H0 ทั้งที่ H0 เป็นจริง หรือสรุปได้ว่ายอมรับ H0 เป็นจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสมมุติฐาน H0 ไม่จริง สรุปความผิดพลาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.     ความผิดพลาดประเภทที่ 1 (Type I Error)

                      เป็นความผิดพลาดเนื่องจากการปฏิเสธ H0 หรือไม่ยอมรับ H0 เมื่อ H0 เป็นจริงและเรียกความผิดพลาดชนิดนี้ว่า “ระดับนัยสำคัญ” (Level of Significance) นั่นคือ

                       = P (ปฏิเสธ H0 โดยที่ H0 เป็นจริง)

2.     ความผิดพลาดประเภทที่ 2 (Type II Error) เป็นความผิดพลาดเนื่องจากการยอมรับ H0โดยที่ H0 ไม่เป็นจริง นั่นคือ

                         = P (ยอมรับ H0 โดยที่ H0 ไม่เป็นจริง)

และจะเรียก อำนาจของการทดสอบ (Power of Test)

    สรุป           ความผิดพลาดในการตัดสินใจเกิดขึ้นในกรณีการปฏิเสธ H0 เมื่อ H0 เป็นจริง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาดประเภทที่ 1   กับการยอมรับ H0 เมื่อ H0 เป็นเท็จ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาดประเภทที่ 2  ส่วนการตัดสินใจได้ถูกต้อง ซึ่งได้แก่ การยอมรับ H0 เมื่อ H0 เป็นจริง กับการปฏิเสธ H0เมื่อ H0 เป็นเท็จ หรือความน่าจะเป็นที่ไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดประเภทที่ 2 ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า อำนาจของการทดสอบ (Power of Test)

คำสำคัญ (Tags): #สมมุติฐาน
หมายเลขบันทึก: 458509เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท