เกษตรกรต้นแบบอำเภอเมืองชุมพร


เกษตรกรต้นแบบ

การจัดการความรู้จังหวัดชุมพร 

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ 

ประเด็นยุทธศาสตร์ : พัฒนาระบบการตลาดและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ

 

เกษตรกรต้นแบบ

การรับรองมาตรฐาน GAP

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพร  จังหวัดชุมพร

ข้อมูลเกษตรกรเจ้าของแปลง                                

ชื่อ-สกุล  นายสุรินทร์  อินทรวัฒนา    อายุ  ๕๐ปี

ที่อยู่  ๗๖ หมู่ที่ ๓ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร  จังหวัดชุมพร 

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน  ๓ ๘๖๐๑ ๐๐๙๔๙ ๘๔ ๑

ชนิดพืชที่ผ่านการรับรอง GAP ทุเรียน   ลองกอง กล้วยหอมทอง

ขนาดพื้นที่ปลูก  ๑๓ ไร่

 

ประวัติและประสบการณ์ของเกษตรกรในการทำการเกษตรตามระบบส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน GAP

ประวัติ  นายสุรินทร์  อินทรวัฒนา    จบการศึกษา ประถมต้น  โรงเรียนบ้านทุ่งหงษ์ อาชีพ ทำสวน      สถานภาพ สมรสกับ นางสำเนียง  อินทรวัฒนา มีบุตร ๒ คน

๑.    นางสาวพรนภา   อินทรวัฒนา  กำลังศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

๒.เด็กหญิง ภัทราวดี  อินทรวัฒนา กำลังศึกษาต่อ ม.๔ (กศน)

ประสบการณ์ของเกษตรกรในการทำการเกษตรตามระบบส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน GAP

Œ เป็นผู้ผ่านการอบรม  GAP อาสา ของกรมส่งเสริมการเกษตร

อาสาสมัคร GAP อาสาของกรมวิชาการเกษตร

Ž ได้รับการรับรองแปลง GAP พืช ๓ ชนิด มีทุเรียน ลองกอง กล้วยหอมทอง

 ผ่านการอบรมการทำบัญชีฟาร์ม

ผ่านการอบรมการและปฏิบัติการทุเรียนตามระบบ  GAP

‘ประสบการณ์ของเกษตรกรในการทำการเกษตรตามระบบส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน GAP

มี GAP ทุเรียน มังคุด กล้วยหอมทอง

 

องค์ความรู้ที่เกษตรกรใช้ในการทำการเกษตรตามระบบ GAP

๑.    แหล่งน้ำ

¬ใช้แหล่งน้ำจากธรรมชาติ เช่น น้ำฝน

¬น้ำจากบ่อบาดาล โดยวางระบบปริงเกอร์

    ๒.พื้นที่ปลูก

๒.๑ พื้นที่ปลูกตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

๒.๒ พื้นที่ปลูกไม้ผล จำนวน ๑๓ ไร่ ทุเรียน  ลองกอง มังคุด กล้วยหอมทอง          ๒.๓ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา ดินร่วนเหนียว ชุดดินอ่าวลึก

      ๒.๔  มีการปรับปรุงดิน โดยผลิตปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต

      ๒.๕ การปลูกปอเทืองเพื่อเพิ่มปุ๋ยพืชสดในดิน

    ๒.๖ การใช้โดโลไมล์  ปรับ PH ดิน

    ๒.๗ การใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต

๓.การใช้วัตถุอันตรายในการทำการเกษตร

    ๓.๑ไม่ใช้สารเคมีตามที่กรมวิชาการไม่อนุญาตให้ใช้

    ๓.๒ หากมีการใช้  ใช้ในระยะที่เหมาะสมและจำเป็นเท่านั้นโดยคำนึงถึงอายุของสารเคมีมี่ใช่ด้วย

๔.การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง

    ๔.๑ การเก็บผลผลิตมีภาชนะรองรับไม่สัมผัสพื้นโดยตรง

    ๔.๒ มีรถบรรทุกผลผลิตที่สะอาดและปลอดภัย

๔.๓ มีการคัดเกรดจำหน่ายผลผลิตตามขนาดของผู้บริโภค

๕.การบันทึกข้อมูล

        ๕.๑ มีการบันทึกแผนผังแปลง/ประวัติแปลง

        ๕.๒ การจัดการขบวนการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ

        ๕.๓ รายรับรายจ่ายภายในฟาร์ม

๖.การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช

        ๖.๑ สำรวจแปลง

        ๖.๒ ป้องกันกำจัด ถ้าพบศัตรูพืชมากใช้สารเคมี  น้อยใช้สารชีวภาพ

        ๖.๓ มีการผลิตตามกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ

        ๖.๔ ทำการเขตกรรม

    ๖.๒ การใช้สารชีวภาพ เช่น

              -  ผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไฟทอปเทอรา

            - ผลิตน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง

            - สกัดสมุนไพรป้องกันกำจัด

๗. การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ

        ๗.๑ หลังการเก็บผลผลิต   ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ๑๕-๑๕-๑๕ จำนวน ๓ กิโลกรัม/ไร่ พักแปลง รดน้ำหมักชีวภาพเดือนละ ๑ ครั้ง อัตรา ๑: ๒๐๐  

๗.๒ รดน้ำประมาณ ๑๐ วัน ดูจนปุ๋ยละลายหมด

        ๗.๓ ตัดแต่งภายในทรงพุ่ม  ปล่อยให้กิ่งที่ตัดแต่งบนพื้นดินใบร่วง จึงเก็บกิ่งไม้ออก แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพ  หลังจากนั้นเกิดยอดชุดแรก

        ๗.๔ การทำยอดชุดที่ ๒ ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ๑๕-๑๕-๑๕ จำนวน ๒ กิโลกรัม/ต้น

และปุ๋ยเกร็ด ๓๐-๒๐-๑๐ ดูแลรักษาใบโดยฉีดสมุนไพรสกัด  ถ้าพบแมลงทำลายมากใช้สารเคมี คลอไพรีฟอร์ส,ไซเปอร์

๗.๕ การทำยอดชุดที่ ๓ เมื่อใบเริ่มเพสลาด ใช้ปุ๋ยสูตร ๙-๒๔-๒๔ จำนวน ๓  กิโลกรัม/ต้น  ส่วนทางใบใช้ปุ๋ยเกล็ด ๗-๑๓-๓๔ และฉีดพ่นฮอโมนไข่

๗.๖ รออากาศเหมาะสมพร้อมออกดอก  อายุดอก ๑ เดือนระยะมะเขือพวงกลาง-ใหญ่ แต่งดอกที่ออกจุดไม่เหมาะสมออก ก่อนที่ดอกบานหรือบาน ๕% ฉีดเชื้อไตรโคเดอร์มา ๑ ครั้ง ถ้าเพลี้ยไฟไรแดงระบาดหนักใช้สารเคมีไซเปอร์ ฉีดพ่น และแคลเซี่ยมโบร่อน เพื่อให้เกสรแข็งแรง จำนวน ๑ ครั้ง

๗.๗ รุ่นดอกบานหางแย้ไหม้ ใช้สารเคมีไซเปอร์ กับแคลเซี่ยมและโบรอนและอาหารเสริม ฉีดพ่น และใส่ปุ๋ยทางโคนสูตร ๖-๑๖-๒๔ จำนวน ๑-๑.๕ กิโลกรัม ๒๐ วันครั้ง จำนวน ๒ ครั้ง

๗.๘ หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยสูตร ๑๒-๑๒-๑๗ จำนวน ๒๐ วันครั้ง จำนวน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๒ กิโลกรัม ทางใบให้ปุ๋ยฮอร์โมนน้ำหมัก

๗.๙ ระยะผล ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มากับสมุนไพรฉีดพ่น ถ้ามีหนอนระบาดหนัก

ใช้คลอไพรีฟอส หรือคาร์บาริลกับไวออยล์

๗.๑๐ ผลอายุ ๒ เดือน ตัดแต่งผล  โยงกิ่ง ฉีดสารไตรโครเดอร์มา อัตรา ๑:๒๐๐ และน้ำหมักฮอร์โมนผลไม้สุก อัตรา ๑:๒๐๐ และปุ๋ยเกล็ด ๗-๑๓- ๓๔

๗.๑๑ หลังจากออกดอกบาน-ติดผล ๑๐๐ วัน ใช้ปุ๋ย ๑๒-๑๒-๑๗ จำนวน ๒

กิโลกรัม เพื่อเพิ่มสีและแป้งในเนื้อ

๗.๑๒ ครบกำหนดผลสุกตัดบริโภคและจำหน่าย

๘. การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

        ๘.๑ การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพสุกตามที่ตลาดต้องการและถูกสุขลักษณะ

        ๘.๒หลังการเก็บเกี่ยวมีการคัดเกรด

        ๘.๓  การขนส่งที่ปลอดภัย/การตลาด

๙. หลังได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

        ๙.๑ มีการผลิตตามกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ

        ๙.๒ มีการจดบันทึกต่างๆ

        ๙.๒ มีการใช้สารเคมีน้อยลงและการลดต้นทุนการผลิต

 

๑๐. ระบบ GAP ดีอย่างไรในความรู้สึกของเกษตรกร

        ๑๐.๑ สามารถผลิตตามกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

        ๑๐.๒ สินค้าบางอย่างทำให้พ่อค้ามั่นใจในการซื้อมากขึ้น เช่น กล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่น

        ๑๐.๓ มีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง

๑๑.ท่านได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรรายอื่นอย่างไรบ้าง

        ๑๑.๑ การศึกษาดูงานของแปลงเกษตรกรที่ประสบผลสำเสร็จ

        ๑๑.๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่มาเยี่ยมสวน

        ๑๑.๓ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่นักวิชาการ

        ๑๑.๔ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านที่สนใจในวันประชุมหมู่บ้านหรือวันออมทรัพย์หมู่บ้าน

        ๑๑.๕ ร่วมเป็นวิทยากรแนะนำหลักปฏิบัติ GAP และการลดต้นทุนการผลิต เช่น การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

 

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรกรต้นแบบ
หมายเลขบันทึก: 458453เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท