แก่นความรู้ การประกันคุณภาพภายในแบบยั่งยืน


มหาวิทยาลัย เริ่มตื่นตัวที่จะ บูรณาการระบบประกันคุณภาพ กับการจัดการความรู้ กันแล้ว

เมื่อวันที่ 22 - 23 กันยายน ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสไปเป็นวิทยากร ให้กับโครงการ "การจัดการความรู้เรื่อง การประกันคุณภาพภายในแบบยั่งยืน"  ของงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ร่วมกับคุณหมอวุฒิชัย (ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร : ผอ.ศูนย์แพทย์ฯ มศว.) ครั้งนี้นับเป็นครั้งพิเศษที่ดิฉันได้รับความไว้วางใจจาก ท่านอาจารย์วิจารณ์ ให้ช่วยผ่อนเบาภาระงานของ สคส.  ซึ่งดิฉันยินดีและเต็มใจยิ่ง ดิฉันถือเป็นโอกาสที่จะได้ฝึกวิทยายุทธ์การเป็น FA  ได้พบเพื่อนใหม่ต่างมหาวิทยาลัย  และยังได้รู้จักคนในวงการ QA ที่คับด้วยคุณภาพ มากด้วยประสบการณ์อย่างคุณหมอวุฒิชัยอีกด้วย นอกจากนี้ ดิฉันยังพกเอาแก่นความรู้ (Core Competence) และขุมความรู้ (Key Success Factors) ของการประกันคุณภาพภายในแบบยั่งยืนมาฝากอีกดังนี้ค่ะ

<p>1. ศักยภาพของผู้บริหารระดับสูง</p> <p>- ความเข้าใจ และการให้ความสำคัญกับงานประกันของผู้บริหาร</p><p>- ผู้บริหารควรมอบหมายงานชัดเจน</p><p>- ผู้บริหารให้ความสำคัญ และมีทักษะความรู้ ความสามารถ เป็นผู้นำปฏิบัติการตัดสินใจ / วิสัยทัศน์</p><p>2. คุณภาพของผู้นำทีมปฏิบัติการด้านประกันคุณภาพ</p> - มีส่วนร่วมใน Teamwork <p>- ทีมงานต้องสามัคคีช่วยกันทำงาน</p><p>- คนที่ทำงานประกันคุณภาพต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี</p><p>- ผู้ทำงานประกันควรได้รับการอบรม เพื่อให้เข้าใจแต่ละมาตรฐาน และตัวบ่งชี้</p><p>- ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพตั้งใจจริงและมีความพยายามที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนางานด้วย</p><p>- ผู้นำมีทักษะ โอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์</p><p>- Team งานที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ</p><p>- ประสบการณ์ผู้ทำงาน</p><p>3. การสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์</p> <p>- มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร</p><p>- มีการติดตามสื่อสารผลการดำเนินงาน นำผลมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนางานต่อไป</p><p>- การสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร</p><p>4. นโยบายและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย</p> <p>- การนำตัวอย่างของคณะที่มีความใกล้เคียงมาเป็นแบบอย่างในการทำงาน</p><p>- นโยบายด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนที่ชัดเจน และต่อเนื่อง</p><p>5. การจัดระบบประกันคุณภาพ</p> <p>- การเตรียมการรับประเมิน</p><p>- มีการวางแผนในการรับการประเมินทั้งภายใน ภายนอก</p><p>- มีบรรยากาศของการแข่งขันเพื่อให้ได้คุณภาพเพิ่มขึ้น</p><p>- การอำนวยความสะดวกในการต้อนรับในการตรวจประกันคุณภาพ</p><p>- การเตรียมความพร้อมในการรับการประเมิน เช่น การคัดสรรผู้ให้ข้อมูล / ผู้แทนนักเรียน</p><p>- ให้มีส่วนร่วมในระบบตรวจประเมิน</p><p>- ความต่อเนื่องของผู้รับผิดชอบงานประกัน</p><p>- มีการกำหนดผู้รบผิดชอบโดยตรง ระบบการแบ่งงาน</p><p>- กำหนดกฎเกณฑ์ บทบาทหน้าที่ชัดเจน</p><p>- ระบบการพัฒนา IQA การพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป และสอดคล้องกับสภาพขององค์กร</p><p>- การตั้งเป้าหมายของการประกันคุณภาพชัดเจน</p><p>- การเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน เป็นสิ่งกระตุ้นการพัฒนา / จัดระบบการประกันคุณภาพ</p><p>- การประชาพิจารณ์ร่วมกันทั้งแผน การปฏิบัติ และผลเพื่อการยอมรับ</p><p>- การสร้างระบบ / KPI / กติกา ร่วมกัน และมีกระบวนการสร้างการยอมรับร่วมกัน</p><p>- มีระบบการประกันเชื่อมโยงกับค่าตอบแทน (Bonus) มีเครื่องมือช่วยผลักดันคุณภาพ (BSC)</p><p>6. คุณภาพของบุคลากร</p> <p>- การสร้างจิตสำนึก และเห็นความสำคัญของงานประกันคุณภาพ และทุกคนมีส่วนร่วม</p><p>- ความเข้าใจของงานประกันคุณภาพต่อบุคลากรคณะ</p><p>- ผู้ที่ให้ข้อมูลให้ข้อมูลที่ตรงตามจริงมากที่สุด และเน้นภาพรวมขององค์กร</p><p>- ความร่วมมือของบุคลากร</p><p>- ความร่วมมือของบุคลากรในคณะในการให้ข้อมูล</p><p>- ให้ความรู้และปลุกจิตสำนึกของบุคลากรในการทำงานประกันคุณภาพ</p><p>- การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น</p><p>- ทัศนคติที่ดีของคนในองค์กร</p><p>- งานประกันคุณภาพทุกคนมีส่วนรับผิดชอบ</p><p>- ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการประกันคุณภาพ</p><p>7. คุณภาพผู้ประเมินจาก ภายในและภายนอก</p> <p>- ผู้ประเมินให้กำลังใจ เสนอแนะในทางสร้างสรรค์ และมีความปรารถนาดี</p><p>8. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล</p> <p>- เอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดเก็บข้อมูล</p><p>- การจัดเก็บข้อมูลเอกสารประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบ</p><p>- มีระบบจัดเก็บเอกสารที่ดี</p><p>- สร้างฐานข้อมูลของงานประกันคุณภาพ</p><p>9. คุณภาพของคู่มือประกันคุณภาพ และดัชนีชี้วัด</p> <p>- การจัดทำคู่มือประกันคุณภาพคณะ</p><p>- มีการจัดทำนิยามของตัวบ่งชี้</p><p>- การกำหนดดัชนีคุณภาพที่แสดงภารกิจของสถาบันอย่างแท้จริง</p>10. คุณภาพของ SAR <p>- มีการใช้แฟ้มสะสมงานในการประกอบการทำ SAR</p>

- การกลั่นกรอง SAR ร่วมกันในขั้นสุดท้าย

</font></strong><p>จะเห็นได้ว่า หลายๆ มหาวิทยาลัย เริ่มตื่นตัวที่จะ บูรณาการระบบประกันคุณภาพ กับการจัดการความรู้ กันแล้ว  อย่ามัวชักช้านะค่ะ</p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 4583เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2005 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเสนอเพิ่มอีก ๑ ตัว - การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน เป็นเนื้อเดียวกัน หรือฝังอยู่ในการทำงานตามปกติหรืองานประจำ  

และขอแสดงความยินดีต่อตำแหน่งคณบดีด้วยครับ    ในเวลาไม่ถึงปี อาจารย์ได้ สึนามิ ถึง ๓ ลูกนะครับ

หากท่านอาจารย์มีสิ่งใดให้ดิฉันรับใช้อีก ดิฉันยินดีและเต็มใจช่วยอาจารย์อย่างสุดกำลัง

ดิฉัน(นศ.ปริญญาเอก บริหารการศึกษา)สนใจเรื่องการบูรณาการการประกันคุณภาพกับการจัดการความรู้มาเกือบปีแล้วค่ะ  ได้ศึกษาppt.ของอาจารย์ที่เผยแพร่ที่มศว. รวมถึงของนพ.วุฒิชัย แล้วดีมากเลยค่ะ  ในส่วนตัวสนใจทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องนี้มาก  กำลังทบทวนวรรณกรรมทั้งทาง qa และ km สนใจหลาย modelที่จะนำมาพัฒนา  เรียนปรึกษาและขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ค่ะ

ยินดีเสมอค่ะ ยินดีถ่ายทอดโดยทั้งสิ้นเท่าที่มีประสบการณ์อันน้อยนิด ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันนะค่ะ

มีผู้ถามว่า จะดึง tacit knowledge ออกมา  นอกจากต้องมา f2f กันแล้ว  ทำอย่างอื่นอีกได้ไหม  สำหรับคนที่มีเวลามาเจอกันน้อย

แล้วที่มีงานวิจัยของ usa รายงานว่าความรู้อยู่ในtacit knowledge ถึง 42 % นั้น วัดได้ย่างไรคะ

 

  • เรากำลังทดลองกันอยู่นี่อีกวิธีงัยค่ะ  คือ B2B : Blog to Blog
  • อาจดูด tacit knowledge ยากกว่าวิธี F2F หน่อย  สำหรับคนห่างไกลกัน  หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยรู้จักกันเลย ก็ยังดีกว่าไม่มีหนทางใดใดเลย
  • ลำพัง F2F ถ้าบรรยากาศไม่เหมาะ  จริตไม่ถึงกัน  ก็ใช่ว่าจะดึง tacit knowledge ออกจากใครได้ง่ายๆ
  • ดังนั้น  ข้อดีของวิธี B2B คือ  ไม่ต้องเจอกัน  ใช้ได้กับคนที่ไม่เคยรู้จัก และเลือก B2B กับใครก็ได้  ข้อเสียคือ ต้องมีเทคโนโลยี  และใช้เทคโนโลยีเป็นกันทั้งคู่
  • ถ้า F2F ต้องอาศัย story telling  และ Deep listening ประกอบ
  • ดิฉันคิดว่า B2B ก็จำต้องอาศัย story writing และ Read between the line (อ่านความหมายที่แฝงอยู่ระหว่างบรรทัด อ่านแล้วคิด จินตนาการ อ่านแล้วตีความให้ดี)
  • อย่างไรก็ตาม ทั้ง F2F และ B2B ต้องการ AI : Appreciate inquiry เป็นตัวกระตุ้น ทั้งคู่
  • สำหรับคนที่มีเวลามาเจอกันน้อย  วิธีอื่น มีอีกไหมน้อ? ตอนนี้ยังคิดไม่ออกค่ะ    

        สำหรับงานวิจัยของ usa ที่รายงานว่าความรู้อยู่ใน tacit knowledge ถึง 42 % นั้น เขาวัดได้อย่างไร  คงต้องสืบเสาะไปยังต้นตอของผู้ที่รายงานกระมังค่ะ

        ดิฉันก็ copy คำอ้างอิงนั้นๆ มาอย่างไม่ได้พิสูจน์ หรือค้นคว้าหาความจริงอีก เพราะบางเรื่อง ไม่ต้องวัด ไม่ต้องพิสูจน์  ก็ทราบดีว่าเป็นจริงอย่างนั้น 

        ถ้าคุณเกี๊ยวซ่าจะลองวัดดูก็ดีนะคะ ว่าแต่จะวัดไปทำไมค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท