การเรียนรู้ชีวิตที่มีพลัง


ขอบคุณ ดร.วีณา เพื่อนร่วมเรียนรู้ Recovery Model ใน 5 วัน ขอบคุณกรณีศึกษาทางร่างกายและจิตสังคม นักวิชาการต้นแบบ และกลุ่มจิตอาสาทุกท่านที่เปิดโอกาสการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา

วันที่หนึ่งและสาม: พลังครอบครัวและสิ่งแวดล้อม

กรณีศึกษาสมองพิการที่ได้นัดมาตรวจประเมินที่คลินิกกิจกรรมบำบัด พบว่า เมื่อปรับสิ่งแวดล้อมจากที่ฝึกที่บ้านมาที่ประเมินที่คลินิกฯ กรณีศึกษาร้องไห้แบบสื่อสาร "ไม่อยากทำกิจกรรมบำบัด" ผสมกับร้องไห้แบบหงุดหงิด ดังนั้นเมื่อกรณีศึกษาร้องไห้แบบใดๆ ก็หยุดพักและให้แม่กับน้าผลัดกันอุ้มและสื่อสารทางบวกกับกรณีศึกษา โดยกำหนดเวลาหยุดพักและสื่อสารทางบวกไม่เกิน 10 นาที การสื่อสารทางบวก เช่น ลูกจะได้ยืนเดินได้เวลาน้าป๊อปจับเข่าตรงนี้... น้อง อ. คุยกันกับน้าป๊อปหน่อย เดี๋ยวเรามาเล่นกันนะครับ...

เมื่อประเมินพบว่าอาการเกร็งลดลง นั่งบนเก้าอี้เล็กได้ดีด้วยการประคอง แต่ข้อศอกสองข้างไม่เหยียด และทานนมในท่านอนอยู่ จึงสอนการบ้านฝึกนั่งทานนม และย้ายที่จากนั่งเก้าอี้มานั่งบนรถเด็กจนถึงเกาะยืน เพิ่มเติม เมื่อไปเยี่ยมบ้านในโครงการหมออาสา...มาหานะเธอ ก็เห็นความก้าวหน้าของการฝึกโดยครอบครัวของกรณีศึกษาในสิ่งแวดล้อมที่บ้าน พบว่า น้องมีพลังชีวิต ร้องไห้แบบสื่อสาร "ไม่อยากทำกิจกรรมบำบัดที่บ้าน" สลับกับเงียบฟังการสื่อสารทางบวกของครอบครัวขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีการดัดแปรสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดทำอุปกรณ์ฝึกยืน-นั่งเล่น อย่างพอเพียง 

วันที่หนึ่งและสี่: พลังวิชาการเพื่อสุขภาวะชุมชน

การประชุมสองนัด ณ สถาบันฯ อาเซียน ทำให้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการที่น่าสนใจ เช่น การเรียนรู้สุขภาวะที่มีความหมายตามความต้องการของคนทุกเพศวัยในชุมชนที่เปิดใจเพื่อการพัฒนาอย่างพอเพียงและยั้งยืน การใช้เครื่องมือประเมินและการสร้างกระบวนการที่ศึกษาสุขภาวะในชุมชนอย่างต่อเนื่องด้วยความสอดคล้องกันทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หรือทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้งการฟังเรื่องเล่าตัวอย่างงานชุมชนในแต่ละวิชาชีพที่น่าพัฒนาแบบเครือข่ายวิชาชีพ (Trandisciplinary, partnership) ในรูปแบบการสื่อสารแปลความรู้อย่างเหมาะสม (Knowledge Translation) และรูปแบบการทำกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม (Participatory Action Research/Recovery)

วันที่สองและสาม: พลังชีวิตแห่งการเสพสรรค์

การแสดงบทบาทครูคลินิกพร้อมๆ กับนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมนั้นต้อง "คิดบวกปลุกพลังบวกในตัวตน และส่งพลังบวกไปสู่สิ่งแวดล้อม/บุคคลรองข้างทันที" ทำให้เห็นว่า "นักศึกษากิจกรรมบำบัดคิดเฉพาะสื่อการบำบัดที่เป็นตัวกิจกรรม (Activities Therapy) มากกว่าคิดกระบวนการทางการประเมิน (Evaluation & Assessment) การวิเคราะห์สังเคราะห์สื่อการบำบัดที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมายและความมีสุขภาวะ (Occupation & Well-being) โดยเน้นการใช้ตัวผู้บำบัดในหลายบทบาท การจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดพลังและการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาระหว่างผู้รับบริการและผู้ดูแลอย่างแท้จริง นอกจากนี้การเปิดเวทีให้นักศึกษานำเสนอกระบวนการวิจัยและพัฒนางานกิจกรรมบำบัด พร้อมสะท้อนความคิดเห็นแบบถามเชื่อมโยงความคิดความเข้าใจ "บวก บวก บวก เพื่อพัฒนาตนเองในเนื้องานกว้างสู้ลึกสู่การเสพสรรค์งานวิชาชีพ มิใช่เสพติดกับความคิดเดิมๆ ผิดๆ และไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง"  

และผมได้สาธิตการใช้รูปแบบการฟื้นตัวหรือการสานพลังชีวิตในกรณีศึกษาที่ยอมรับว่า "ไม่ได้ตั้งสติในการดูแลตนเองด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อนิ้วกลางเพื่อให้นิ้วนางกับนิ้วก้อยดีดกีตาร์ได้ และรู้สึกท้อและคาดหวังว่าเมื่อไรจะหายเสียที" ดร.ป๊อป จึงลองให้กรณีศึกษาเล่นกีตาร์ด้วยความสุข หรือเสพดนตรีอย่างสร้างสรรค์ สื่อสารกับใจให้เตือนตนเองบ้าง หากรู้สึกนิ้วนางกับนิ้วก้อยเกี่ยวกัน ก็ลดแรงตึงด้วยการนำมือที่ดีดกีตาร์มาเหยียดนิ้วกลาง 5 วินาที แล้วเล่นต่อ ที่สำคัญให้กางแขนเหยียดศอกเป็นพักๆ ได้จะได้ไม่ส่งแรงตึงมาที่นิ้วมือมากนักโดยเฉพาะตอนโซโล่ ดร.ป๊อป กระตุ้นกำลังใจให้กรณีศึกษาสร้างกำลังใจด้วยตนเองแบบ "มีความหวัง แต่ไม่คาดหวัง" พบว่า ความเชื่อมั่นในความสามารถของกรณีศึกษาเพิ่มขึ้นใน 15 นาที (จาก 5/10 เป็น 8/10) หลังจากลองฝึกฝน 3 รอบๆ ละ 5 นาที มีการพักหยุดลดแรงตึงที่แขนและนิ้วไม่เกิน 3 ครั้งต่อรอบ แนะนำว่า หากเกิน 3 ครั้งต่อรอบเมื่อใด ก็ให้พัก 10 นาทีเป็นอย่างน้อย  

นอกจากนี้การไปเยี่ยมสถาบันไพดี้ เพื่อเห็นภาพของผู้จัดการและทีมงานที่เข้มแข็งในการจัดการความคิดของตนเองอย่างมีเป้าหมายและแสดงกระบวนการคิดโครงการเพื่อสุขภาวะชุมชนได้อย่างน่าสนใจ หากแต่อุปสรรคที่สำคัญคือ นักกิจกรรมบำบัดต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพัฒนาสุขภาวะในชุมชนและมีการฝึกฝนศักยภาพกับหน่วยงานแบบเชิงรุกในการทำโครงการและประเมินโครงการที่เข้าถึงความสุขในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงและอย่างมีใจในการสานพลังชีวิต

วันที่สี่และห้า: พลวัติจิตสังคมเพื่อพลังชีวิต

การไปเยี่ยมบ้านกรณีศึกษาสายตาเลือนราง ได้เรียนรู้การจัดสิ่งแวดล้อมในหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อพลังการเรียนรู้ของพ่อแม่พี่เลี้ยงให้มั่นใจในการพัฒนาเด็กของกรณีศึกษา (ลดเสียง 5 วินาที สัมผัสอย่างมีเป้าหมาย กระตุ้นการมองด้วยแสงที่มีเป้าหมายในระบบประสาทการมองเห็นอัตโนมัติที่ยังบกพร่องอยู่) และการจัดสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้เกิดวงจรสานพลังชีวิตที่ท้าทายและสนุกสนาน พร้อมมีการบำบัดด้วยสิ่งเร้าที่หลากหลาย (จัดสถานที่ 3 จุดๆ ละ 5-10 นาที เล่น 5 รอบ พร้อมกระตุ้นการมองเห็นด้วยแสงในทิศทางไกล้-ไกล ขึ้น-ลง และทิศทางที่ต้องการใช้ ในการเล่นคีย์บอร์ดในบ้านจำลอง การเล่นบันไดเลื่อน และการเล่นชิงช้าโยบบอล) จนถึงเชื่อมโยงกับการนั่งสัมผัสขวดนมและการสัมผัสมองอาหารก่อนป้อนด้วยช้อน เป็นต้น

ดร.ป๊อป ได้นัดหมายกรณีศึกษาจิตเภทมาวัดผลทางจิตประสาทสรีรวิทยาก่อนและหลังการทำกิจกรรมที่ท้าทาย และกิจกรรมที่มีทางเลือกพร้อมการจัดกลุ่มระหว่าง 2 คน (กรณีศึกษาและนักศึกษากิจกรรมบำบัด/นศ.กบ.) แบบคู่ขนาน จนถึงระหว่าง 4 คน (กรณีศึกษา พี่สาว 2 คน นศ.กบ.) แบบช่วยกันคิดช่วยกันทำและแบบมีผลงาน มีการปรับเวลาให้ท้าทายความคิดความเข้าใจจนได้ผลการประเมินซ้ำใน 2 ชม. ว่า กรณีศึกษาตื่นตัวว ไม่เหม่อลอย มีชีวิตชีวา มีความหวัง มีพลังยอมรับที่จะทานยาตามคำแนะนำของพี่สาวและพร้อมที่จะพัฒนาตารางชีวิตระหว่างการดูแลตนเอง การทำงานบ้าน การทำกิจกรรมยามว่าง และการศึกษาด้วยตนเอง ก่อนฝึกทักษะการทำงานอื่นๆ อย่างยืดหยุ่นต่อไป

คู่พ่อแม่สูงอายุที่มีลูกซึมเศร้า ได้มาเข้ากลุ่มแบบวุฒิภาวะที่มีการพักเตือนโจทย์ระดมความคิดเป็นพักๆ แบบจิตตปัญญาศึกษา ก็พบว่า ปมที่ทำให้ลูกซึมเศร้ามาจากความขัดแย้งในจิตใจลึกๆ ที่ไร้การสื่อสารระหว่างพ่อและแม่ ดังนั้นกลุ่มสานพลังชีวิตตั้งแต่กิจกรรมการสื่อสารแบบเขียน แบบพูดสะท้อนความรู้สึกสั้นๆ แบบแสดงบทบาทสมมติ แบบเล่าเรื่องกับพี่เลี้ยง แบบเปิดใจค้นหากระบวนการคิดแก้ไขปัญหาครอบครัว และแบบให้กำลังใจสวมกอดด้วยความรักและเข้าใจ ที่สำคัญการสานพลังชีวิตครั้งนี้นับว่าเป็นการร่วมงานระหว่างคู่พ่อแม่ พยาบาลจิตเวช จิตอาสาผู้มีประสบการณ์ซึมเศร้า และนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

สามชั่วโมงสุดท้าย คือ การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาโปรแกรมการประเมินและการสานพลังชีวิตในกลุ่มจิตอาสาที่มีประสบการณ์ซึมเศร้า ไบโพลาร์ จิตเภท ที่มีพัฒนาการความคิดความเข้าใจที่ยอดเยี่ยม เช่น มีการคิดโปรแกรมเฉพาะด้วยการสร้างแบบสอบถาม การสร้างแบบฝึกหัดชั่งใจกินยากับไม่กินยา การสร้างสื่อการเรียนรู้จากกรณีศึกษา และการเยี่ยมบ้านพร้อมการติดตามผลอย่างต่อเนื่องราว 4-6 สัปดาห์ ที่มีการให้รางวัลที่ไม่ใช่วัตถุ หากเป็นรางวัลที่กระบวนกรได้กระตุ้นพลังชีวิตแก่ผู้ที่เป็นเจ้าบ้าน และ/หรือผู้ใช้โปรแกรมฯ นี้ได้มีความเชื่อมั่นในความสุขความสามารถในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่อไป

งานนี้ ดร. ป๊อป ต้องขอบคุณกรณีศึกษาและจิตอาสาทุกท่าน โดยเฉพาะการศึกษาดูงานจาก ดร.วีณา อาจารย์คณะพยาบาลฯ มอ. ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีพลังและมีความมุ่งมั่นในการสานพลังชีวิตชีวาแก่ทีมงานทางใต้ต่อไป   

หมายเลขบันทึก: 457983เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากครับคุณหมอ CMUpal

ขอบคุณดร.ป็อป ที่สร้างสรรค์บทเรียน บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ศาสตร์ชีวิต ด้วยความหัวใจของผู้ให้อย่างแท้จริง

ขอบคุณมากครับ ดร.วีณา และให้กำลังใจในการนำศาสตร์ชีวิตและพลังชีวิตไปใช้สร้างสรรค์กิจกรรมที่มีคุณค่าต่อไปครับ หากมีอะไรให้ช่วยเหลือ ก็ติดต่อมาได้เสมอครับ

ขอบคุณมากครับ อ.วิรัตน์ ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้กระบวนการ PAR มากขึ้น

  • ขอบคุณค่ะอาจารย์ ดร.ป๊อบ และอาจารย์ ดร.วีณา ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเวทีเสวนา ครั้งที่ ๒ เรื่อง เครื่องมือการประเมินฯ ที่สถาบัน'อาเซียน ค่ะ
  • พักผ่อนบ้างนะคะอาจารย์ =)

         

ขอบคุณมากครับพี่เหมียว จะพักผ่อนสลับกับกิจกรรมบำบัดเสมอครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท