Creative Economy พลังสร้างสรรค์ของโลกทุนนิยมแดกด่วนแห่งศตวรรษที่ 21


“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” จึงไมควรเดินตามตะวันตกซึ่งเน้นเฉพาะอุตสาหกรรมที่ฉูดฉาดสวยงามเท่านั้น หากทว่าทุกคนในสังคมไทยตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัย หาบเร่แผงลอย วณิพกพเนจร จนกระทั่งถึง มหาเศรษฐีแสนล้าน ก็ย่อมสามารถแปลงเปลี่ยนความสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันให้กลายเป็นคุณค่าและผลกำไรเพื่อตนเองและประเทศชาติได้ โดยไม่ต้องจำกัดกรอบว่าจะเป็นธุรกิจหรือการกุศล หรูหราหรือน่าเบื่อ ต่ำต้อยหรือสูงส่ง
โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์
(www.siamintelligence.com)

“อังกฤษ” นับเป็นต้นแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
ที่เริ่มต้นมาก่อนประเทศไทยยาวนานนับ 10 ปี
หากทว่าความสร้างสรรค์ของผู้ดีอังกฤษก็กลับไม่อาจช่วยฉุดดึงเศรษฐกิจชาติให้
เติบโตหลุดพ้นจากความร่วงโรยอับเฉาได้เลย

ประเทศไทยจึงไม่ควรหลับหูหลับตาเดินตามโมเดลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ
ตะวันตกอย่างโง่งมเซื่องซึม
เพราะอาจนำพาคนไทยไปสู่ห้วงหายนะแทนที่จะค้นพบขุมทรัพย์ล้ำค่า
สิ่งสำคัญที่คนไทยพึงกระทำ คือ
การพลิกแพลงทฤษฎีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สวยหรูซับซ้อนให้สอดร้อยกับโลกความ
จริงที่อัปลักษณ์หดหู่ใจ

1. ความสร้างสรรค์จากห้วงชีวิตประจำวัน (Creative Daily)

รัฐสวัสดิการ (Welfare State)
ย่อมเป็นศัตรูตัวร้ายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เพราะทำให้มนุษย์เหินห่างจากการดิ้นรนต่อสู้ในทุกมิติของชีวิต
ความสร้างสรรค์ที่เกิดจากมันสมองของคนที่อิ่มหมีพีมันจึงกลายเป็นความเพ้อ
ฝันที่หลุดลอยจากโลกความจริง

หากโชคดีสามารถพัฒนาเป็นสินค้าสร้างสรรค์ (Creative Product)
ที่ถูกอกถูกใจลูกค้าได้ ก็ยากที่จะสร้างผลกำไรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
เนื่องจากความกระตือรือล้นในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการ
ที่จุกจิกจู้จี้ของลูกค้าย่อมถูกบ่อนเซาะจากระบบสวัสดิการที่สอนให้คนสบายจน
เคยเนื้อเคยตัว
ความทะเยอทะยานที่จะรีดเร้นกำไรจากลูกค้าให้มากยิ่งกว่าเดิมจึงเป็นความสุข
ใจของมหาเศรษฐีส่วนน้อยในสังคมเท่านั้น

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์”
จึงไมควรเดินตามตะวันตกซึ่งเน้นเฉพาะอุตสาหกรรมที่ฉูดฉาดสวยงามเท่านั้น
หากทว่าทุกคนในสังคมไทยตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัย หาบเร่แผงลอย วณิพกพเนจร
จนกระทั่งถึง มหาเศรษฐีแสนล้าน
ก็ย่อมสามารถแปลงเปลี่ยนความสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันให้กลายเป็นคุณค่าและ
ผลกำไรเพื่อตนเองและประเทศชาติได้
โดยไม่ต้องจำกัดกรอบว่าจะเป็นธุรกิจหรือการกุศล หรูหราหรือน่าเบื่อ
ต่ำต้อยหรือสูงส่ง

“ไอนสไตน์” ย่อมไม่อาจสร้างสรรค์ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่
20 หากไม่มีทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันในศตวรรษที่ 17
หากทว่านิวตันก็ไม่เคยกังวลว่าผลงานขั้นเทพของตนเองจะสร้างสรรค์น้อยกว่าไอ
นสไตน์ เพราะถึงที่สุดแล้วมนุษย์ย่อมถูกจำกัดด้วยยุคสมัยและสภาพแวดล้อม

การสร้างสรรค์ที่ดีที่สุด
จึงไม่ใช่การแสวงหาความสมบูรณ์พร้อมจากฟากฟ้าที่ห่างไกล
หากทว่าผุดบังเกิดจากการเหยียบยืนบนบ่าของวัตถุดิบที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา
ซึ่งเป็นทั้งขีดจำกัดและโอกาสในการหยิบยืมเพื่อฟูมฟักผลงานที่เป็นแบบเฉพาะ
ของตัวเรา (Originality)
ท่ามกลางสายธารแห่งการสร้างสรรค์ที่หลากล้นทับถมจากอดีตกาลหลายพันปีไหลริน
ไปสู่อนาคตที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้

พลังสร้างสรรค์จาก “สิ่งเล็กน้อย” ในชีวิตประจำวัน
จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ท่ามกลางการขบคิดเพื่อแสวงหาสิ่งสมบูรณ์สูงสุด
หากต้องกระตุ้นสัญชาตญาณและประสาทสัมผัส (Instinct and Sensation)
เพื่อความฉับไวในการตอบสนองต่ออุปสรรคและปัญหาที่ผ่านเข้ามา
อย่าปล่อยให้ความสุขสบายทางวัตถุกัดกร่อนจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ที่ธรรมชาติ
ประทานให้เราตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสัตว์เลื้อยคลายที่ไร้หัวใจ

2. Creative Connection

ศตวรรษที่ 21
ระยะทางและเทคโนโลยีไม่เป็นอุปสรรค์ต่อมนุษย์ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า
ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม
มนุษย์ส่วนใหญ่ก็ยังเคยชินที่จะเดินทอดน่องเลือกซื้อสินค้าจากห้างร้านที่
ตกแต่งอย่างสวยงามมากกว่าการสั่งซื้อจากอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว

Creative Economy
จึงไม่ควรหมกมุ่นเพียงการผลิตสินค้าที่สร้างสรรค์ดีเลิศที่สุดเท่านั้น
หากทว่ายังต้องสร้างสรรค์ “เครื่องมือสื่อสาร”
แบบใหม่ในการผูกมัดใจลูกค้าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
ซึ่งมีสมาธิและความทรงจำที่สั้นกระชั้น
การโฆษณาสินค้าเพียงอย่างเดียวย่อมไร้ซึ่งประโยชน์โภคผล

Facebook เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับ “เพื่อน”
ทั้งที่เคยรู้จักคุ้นเคยมาก่อนและที่พึ่งประสบพบรักกันเพียงแวบแรกที่เห็น
โดยมีลูกเล่นมากมายเข้าล่อหลอกให้คนใส่ใจซึ่งกันและกัน ตั้งแต่รูปภาพ
ข้อความ
ไปจนกระทั่งถึงแบบทดสอบและเกมบันเทิงน่ารักมากมายให้เป็นแหล่งพักพิงใจในยาม
ที่เปลี่ยวเหงา

Starbucks ได้สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจร้านกาแฟแบบดั้งเดิม
โดยแทนที่จะเป็นจุดนัดพบสนทนาโหวกเหวกของผู้ใส่ใจการเมืองแบบในอดีต
ก็กลายมาเป็นสถานนีผ่อนคลายระหว่างบ้านและที่ทำงาน
บางครั้งเพียงนั่งลำพังและปลดปล่อยจิตใจไปกับบรรยากาศแวดล้อม
ก็เป็นประสบการณ์ที่ติดตรึงใจจนต้องกลับมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า

Creative Connection จึงไม่ได้หมายถึงการรู้จักลูกค้า ขายสินค้า
และจบสิ้นกัน หากยังต้องสร้างปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน
โดยเฉพาะเมื่อลูกค้ามีภารกิจในชีวิตให้ต้องกระทำมากมาย
กลยุทธ์ในการดึงดูดให้ลูกค้าเบิกบานกับบริษัทยาวนานที่สุด
จึงเป็นเคล็ดลับในการสร้างสรรค์ผลกำไรที่ยั่งยืนยาว

ลูกค้าในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้ต้องการสินค้าหายากแปลกใหม่หรือคุณภาพดีเลิศ
เพราะเทคโนโลยีได้ทำให้ความแตกต่างเหลือน้อยเต็มที่
หากทว่าการที่พนักงานขายเป็นคนมีเสน่ห์
สามารถสนทนาได้ตั้งแต่เรื่องดนตรีไปจนกระทั่งถึงการทหารรบพุ่ง
สถานที่และเวลาซื้อขายมีความแปลกใหม่ให้รสสัมผัสที่แตกต่างไปจากความเคยชิน
เดิม
โดยเฉพาะบริการหลังการขายที่ไม่มองลูกค้าเป็นเพียงแหล่งทำเงินหากเป็นเสมือน
เพื่อนร่วมทางที่หนักนิดเบาหน่อยก็อดทนกันไป
จึงเป็นพลังสร้างสรรค์ที่จะเปิดโลกธุรกิจให้มี “ความเป็นมนุษย์”
อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติหลายพันปี

3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไม่เคยขับเคลื่อนด้วยความคิด หากรุ่งเรืองมั่งคั่งด้วยการลงมือทำ

“เงินทุน” เป็นอุปสรรคของนักธุรกิจในยุคเศรษฐกิจโรงงาน
หากทว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้เปิดโอกาสให้คนธรรมดาทั่วไปสามารถพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ ระดมทุน หรือแม้กระทั่งประชาสัมพันธ์สินค้า
โดยอาศัยเพียงความฉับไวเฉียบแหลมในการฉวยคว้าโอกาสที่ผ่านเข้ามา

ธุรกิจสร้างสรรค์ย่อมไม่มี “สินทรัพย์”
เป็นรูปธรรมเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารได้
หากทว่าเงินลงทุนในกิจการก็ไม่สูงล้ำเหมือนในยุคโรงงานเครื่องจักร
เพราะมีความสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ

เทคโนโลยีได้ทำให้การตัดต่อและถ่ายทำภาพยนตร์มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ
จนกระทั่งการระดมทุนจากเพื่อนฝูงแวดล้อมก็สามารถเริ่มต้นกิจความฝันได้
ที่เหลือคือ การต่อสู้ดิ้นรน

ที่สำคัญ ความสร้างสรรค์ที่เคยเชื่อว่าเป็น “สินค้าขาดแคลน”
และเป็นจุดแข็งที่ยากเลียนแบบได้ ก็อาจจะไม่จริงเสมอไป
เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารที่แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
ก็อาจทำให้คนธรรมดาทั่วไปสามารถเข้าถึงความรอบรู้ระดับโลกได้ไม่ยากนัก
จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะมีความสร้างสรรค์ที่คล้ายคลึงกันออกมาในเวลาใกล้เคียง
กัน

ความสร้างสรรค์สุดยอดที่พลุ่งพล่านขึ้นมาในช่วงฉับพลันของชีวิต จึงไม่อาจรีรอไว้ลงมือทำในวันพรุ่งนี้ได้อีกต่อไป

จงพลิกแพลงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อนฝูง
เทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน วัตถุดิบและต้นทุนชีวิตเท่าที่มี
เพื่อแทรกตัวเข้าเป็น “เศรษฐีใหม่” แห่งวงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ที่ไม่เคยมีคำว่าสมบูรณ์แบบอยู่ในพจนานุกรม



หมายเลขบันทึก: 457966เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 03:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"ในโลกปัจจุบันนี้ คนที่มีอำนาจคือคนที่มีเครือข่ายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางด้วยเนื้อหาและความเป็นตัวตนที่เขาได้สื่อสารออกไปต่างหากเล่า ส่วนความรู้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องแหนหวงเพราะความรู้ไม่ใช่อำนาจอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้ความรู้นั้นถูกเผยแพร่แลกเปลี่ยนและต่อยอดได้ง่ายขึ้นและถูกกำกับไปพร้อมกับข้อมูลที่บ่งบอกเจ้าของเนื้อหา" http://www.gotoknow.org/journals/entries/95871

พอไหว พอไหว

ขอให้ทุกท่านมีความสุขดีเช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท