เมืองสองแควน้ำไม่ได้ท่วมเฉพาะที่บางระกำ


เมื่อน้ำจากแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยลดระดับลง ทำให้น้ำที่ล้นถนนเข้าสู่สวนหยุดไหล ส่งผลให้พื้นที่สวนกลายเป็นอ่างน้ำนิ่ง พืชผักและไม้ผลที่จมน้ำทำให้น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ในระหว่างที่รัฐบาลและทุกหน่วยงานกำลังระดมพลลงไปที่อ.บางระกำ ตามนโยบาย "บางระกำโมเดล" ก็ได้รับทราบข่าวจากพรรคพวกที่ทำงานกับเครือข่ายองค์กรชุมชนว่ายังมีอีกหลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและรอคอยความช่วยเหลืออีกเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลจอมทอง เมืองพระพิษณุโลกสองแคว แม้จะได้พยายามช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือกันเองแล้ว แต่ก็มีบางเรื่องที่เกินกำลังจะแก้ไขได้โดยคนในชุมชนเพียงลำพัง

พื้นที่ตำบลจอมทองเป็นพื้นที่ราบติดลำน้ำ ชุมชนตั้งบ้านเรือนอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยไหลมาบรรจบกันบริเวณหมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๔  สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เป็นการเอ่อล้นตลิ่งทั้งสองฝั่งลำน้ำ บริเวณหมู่ที่ ๑ – ๖ และ หมู่ ๘ เกิดจากน้ำจากแม่น้ำน่านเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำจะได้รับผลกระทบบางส่วน  

น้ำท่วมในพื้นที่หมู่ที่ ๗ และ ๙ เกิดจากน้ำจากแม่น้ำแควน้อยหนุนกับแม่น้ำน่าน แต่ตลิ่งของแม่น้ำแควน้อยอยู่ในระดับต่ำกว่าจึงทำให้น้ำไหลเข้าพื้นที่การเกษตรเสียหายทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่นาข้าวมีผู้เดือดร้อน ๒๘ ราย เนื้อที่ ๔๒๒ ไร่ ๒ งาน พื้นที่สวนผู้เดือดร้อน ๕๓ ราย เนื้อที่ ๑๘๕ ไร่  จากนั้นน้ำไหลข้ามถนนเข้าท่วมพื้นที่สวนผักผลไม้และบ้านเรือน ชุมชนที่อยู่ในเส้นทางท้อใจ – จอมทอง บางส่วนต้องตั้งเต็นท์นอนบนถนน เนื่องจากน้ำท่วมบ้าน

เมื่อน้ำจากแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยลดระดับลง ทำให้น้ำที่ล้นถนนเข้าสู่สวนหยุดไหล ส่งผลให้พื้นที่สวนกลายเป็นอ่างน้ำนิ่ง พืชผักและไม้ผลที่จมน้ำทำให้น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ชุมชนและเรือกสวนไร่นาเหล่านี้เป็นพื้นที่ของครอบครัวพอเพียง

จากการเป็นพื้นที่เรียนรู้อาจจะต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่

ความต้องการความช่วยเหลือของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

๑. ระยะเร่งด่วน

- สุขาเคลื่อนที่เพิ่มจำนวน ๑ จุด เนื่องจากความช่วยเหลือที่มีมาให้ยังไม่ครอบคลุมจุดที่มีผู้เดือดร้อน

- น้ำดื่ม เนื่องจากน้ำประปาหมู่บ้านไม่สามารถใช้ดื่มได้

- ข้าวสารและอาหารแห้ง ถึงแม้จะมีความช่วยเหลือมาจากหลายหน่วยงานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และสามารถเก็บไว้ได้นาน

- อาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยจำนวน ๑ ราย

- แพมเพิร์สสำหรับผู้สูงอายุ ๒ ราย

- EM  สำหรับบำบัดน้ำเสียรอบพื้นที่อยู่อาศัย

- ทรายอะเบท เพื่อการกำจัดยุงลาย

๒. ระยะกลาง

- เมล็ดพันธุ์ข้าวจ้าว, เมล็ดพันธุ์ผัก และกล้าไม้ผล  เพื่อทดแทนพืชที่สูญเสียไป และเป็นแหล่งอาหาร

- เครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่สวนที่ไม่มีทางระบาย ภายหลังจากที่น้ำจากแม่น้ำลดลงแล้ว เพื่อช่วยกำจัดน้ำเสียและสามารถทำการเกษตรได้ ชุมชนคิดว่าการสูบน้ำยังไม่ควรดำเนินการในระยะแรกเนื่องจากน้ำจากแม่น้ำยังหนุนอยู่หากสูบน้ำออกในช่วงนี้น้ำก็จะซึมกลับมาอีกทำให้สูญเสียพลังงานและงบประมาณ

ระดมความคิดในการทำแผนผังที่อยู่อาศัย

 ๓. ระยะยาว เสนอให้มีการสร้างพนังกั้นน้ำระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตรเพื่อช่วยป้องกันน้ำล้นเข้าท่วมพื้นที่

แผนผังที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรในหมู่ ๗ และหมู่ ๙ ตำบลจอมทอง 

 

ต้องการให้ความช่วยเหลือ หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จ.พิษณุโลก 

084-591-6901


หมายเลขบันทึก: 457751เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจกันค่ะ น้ำท่วมทั่วแผ่นดินปีนี้ต้องช่วยกันให้ถึงที่สุด คนในพื้นที่และองค์กรภาคประชาชนจะมีบทบาทมาก เห็นในข่าวว่าหลายจังหวัด หลายพื้นที่ยังเผชิญกรรมอยู่เลย น้ำขัง น้ำเน่า ภาครัฐก็ดูแลไม่ทั่วถึง ที่อยุธยาก็เช่นกันค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท