๑๙๓.ข้อเสนอของคนท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาเมืองพะเยา


 

     จากการสัมมนา "ปอยฮอมผญา" ในวันเสาร์ ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา คุณแจ็ส-สุภาพร ถิ่นวัฒนา จากสถาบันพะเยาเพื่อพัฒนา ได้สรุปให้ฟังในภาพรวมทั้ง ๔ ห้อง อย่างน่าสนใจว่า

 

ประเด็นการพัฒนากว๊านพะเยาและการจัดการลุ่มน้ำอิง 

(1)   ด้านการจัดการความรู้ในการพัฒนากว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง

  1. รวบรวมและจัดทำระบบฐานข้อมูล หรือมีศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่าและการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดให้เป็นระบบ สามารถเข้าถึง และนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

  2. สร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโดยสร้างการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น   เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหาของชุมชน มีความเท่าทันต่อเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกชุมชน

  3. ระดมปัญหา วิเคราะห์ปัญหาสู่การทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน น้ำ ป่า) และสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำอิง และกว๊านพะเยา

(2) ด้านกลไก โครงสร้าง และกฎหมายในการจัดการกว๊านพะเยา

  1. จัดตั้งสมัชชาพัฒนากว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิง ที่มาจากทุกองค์กรภาคส่วนในจังหวัดพะเยา

  2. องค์ประกอบของสมัชชาพัฒนากว๊านพะเยา ให้มีคณะกรรมการของภาคประชาชนที่มาจากทุกฝ่าย และในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันกับภาครัฐ

  3. จัดทำธรรมนูญกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน ที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการกว๊านพะเยา ซึ่งจะเป็นการจัดทำนโยบายสาธารณะในการพัฒนากว๊านพะเยา ของคนพะเยา โดยคนพะเยา

  4. ทบทวนกฎหมาย/ ประกาศจังหวัดในการพัฒนากว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และความต้องการของประชาชน 

  5. สมัชชาพัฒนากว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิง มีบทบาทหน้าที่ในสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนากว๊านพะเยา และติดตาม ตรวจสอบ ให้ข้อคิดเห็นต่อโครงการ/ กิจกรรมในการพัฒนากว๊านพะเยา

 

(3) ด้านการพัฒนากว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง

  1. การดำเนินกิจกรรมในการพัฒนากว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง ควรเป็นการจัดการลุ่มน้ำอิงทั้งระบบ (ดิน น้ำ ป่าต้นน้ำ ป่าไม้) โดยตระหนักถึงความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ เช่น การขุดลอกแม่น้ำอิง และกว๊านพะเยา ให้ละเว้นบริเวณหลง คุ้ง บวก หนอง เพื่อให้เป็นที่อยู่ของปลาและสัตว์น้ำตามธรรมชาติ และควรทำในฤดูแล้ง  รวมทั้งการกำจัดผักตบชวา ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

  2. ให้มีการศึกษาผลกระทบในการพัฒนากว๊านพะเยา ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และด้านสังคมในเชิงลึก และในทุกชุมชนที่อยู่ในขอบเขตของโครงการ

  3. ทบทวนนโยบายการพัฒนาลุ่มน้ำอิง และกว๊านพะเยา ที่เน้นการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ โครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ เพียงเพื่อการจัดหาน้ำหรือการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเท่านั้น    

  4. ทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง การปลูกพืชคลุมดิน การไถกลบ การใช้ปุ๋ยหมัก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ฯลฯ

  5. ให้มีระบบการจัดการน้ำเสีย ที่ไหลลงกว๊านพะเยาทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกอย่างจริงจัง

  6. การดูแลรักษาป่าต้นน้ำกว๊านพะเยา เช่น ปลูกป่าทดแทน การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

 

(4).ข้อเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น            

  1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล /อบต. /อบจ.) ออกกฎหมายจัดสรรงบประมาณอย่างน้อยร้อยละ 1 มาดูแลเรื่องป่าชุมชน เช่น สำรวจแนวเขตป่า ดับไฟป่า แหล่งเรียนรู้ในการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น

  2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบต. อบจ.) สนับสนุนกิจกรรมการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมในการจัดการกว๊านพะเยา และลุ่มน้ำอิง เช่น เลี้ยงผีขุนน้ำ บวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ ปลูกป่า

  3. ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำกว๊านพะเยาทั้ง 12 ลำห้วย โดยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านและการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น

  4. สนับสนุนการจัดการน้ำโดยชุมชน เช่น ระบบเหมืองฝายโบราณโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำแก้มลิง และแหล่งน้ำหัวไร่ปลายนา

  5. สนับสนุนให้เกิดการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยชุมชน

  6. สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยจาวบ้าน เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ของท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำ

  7. ในกรณีที่มีโครงการที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำในพื้นที่โดยภาครัฐ ให้ประสานแกนนำแต่ละชุมชน จัดเวทีประชาคม  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

  8. ใช้แนวคิดนิเวศวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการจัดการน้ำ เช่น สืบชะตาแม่น้ำ สืบชะตากว๊านพะเยา  ทำวังปลา เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในกว๊านพะเยาและในแม่น้ำอิง  เป็นต้น

 

การสร้างประชาธิปไตยชุมชนสู่ท้องถิ่นจัดการตนเอง 

  1. โครงสร้างการเมืองต้องมีการเปลี่ยนแปลง สส.ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสินใจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรสนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชน และฝ่ายต่าง ๆเข้ามามีส่วนร่วม

  2. การเลือกตั้ง ควรต้องเป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ ของประชาชน ไม่ใช่ถูกซื้อ และตกอยู่ใต้อำนาจเงิน  และเลือกคนที่มองเห็นประโยชน์ของคนในชุมชน เป็นส่วนใหญ่เพื่อมาเป็นผู้นำ

  3. สื่อมวลชน มีความสำคัญที่ต้องรับฟังและเป็นช่องทางการสื่อสารของประชาชน

  4. สภาประชนต้องเกิดภายใต้สภาองค์กรชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ซึ่งประชาชนควรมีส่วนร่วมตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วม แก้ปัญหา

  5. สภาองค์กรชุมชนต้องถูกตั้งขึ้นทุกพื้นที่ตำบลเพื่อเป็นกลไกของประชาชน ที่สามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้  

 

การพัฒนาเกษตรกรรมและเศรษฐกิจจ.พะเยา

  1. สนับสนุนให้เกษตรกรจ.พะเยาสามารถพึ่งตนเองได้

  2. ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรของจังหวัดพะเยา ทำเกษตรแบบปลอดภัยในทุกกลุ่ม

  3. หน่วยงานต่างๆต้องส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร สามารถจัดการและแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่ปลอดภัย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกลุ่มเกษตรกร

  4. ส่งเสริมให้เกษตรกรพะเยาลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อให้เกิดสุขภาวะด้านสุขภาพที่ดี

  5. รื้อฟื้นเรื่องการพัฒนาระบบกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างความร่วมมือ การช่วยเหลือกัน ภายในกลุ่มเกษตรกรด้วยกัน

  6. ภาคธุรกิจกับภาคเกษตรกรรมควรร่วมมือกันวางแผนการพัฒนาระบบตลาดที่สามารถนำผลผลิตด้านเกษตรของ จ.พะเยา ออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องและได้ราคาที่เป็นธรรม

 

ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมคนพะเยา

๑.     สถาบันครอบครัว ต้องให้ความสำคัญกับการเลี้ยงและดูแลลูก เพื่อให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวโดยเน้นการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจในครอบครัว 

๒.     สร้างสังคมเมืองพะเยาทำให้เกิด    “ความสุขใจโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น”   

๓.     สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ  โดยเน้น   “การเชื่อมประสานความร่วมมือจากคนในชุมชน  และหน่วยผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน

๔.     การสร้างสวัสดิการการออม   โดยคนในชุมชนเห็นความสำคัญเพื่อเกิดการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน      ก่อให้เกิดการสร้างสวัสดิการเพื่อการดูแลคนในชุมชนลดการพึงพาคนภายนอก   เกิดการพึงตัวเอง 

๕.     พัฒนาและ“สร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน” เพื่อทำให้ เยาวชนมีคุณธรรม   และเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานทางชุมชนและสังคม  

๖.     ให้สถาบันการศึกษาในจังหวัดพะเยา    เข้ามามีส่วนร่วมกับคนในชุมชน  เพื่อพัฒนาให้เกิดหลักสูตรและการเรียนรู้ในท้องถิ่นจ.พะเยา

๗.     เชื่อมประสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน    ทั้งครอบครัว  ชุมชน  สังคม เพื่อให้ เกิดภาคีเครือข่าย ที่มีความร่วมมือในการ   “สร้างสุขภาวะของคนพะเยา” เพื่อสร้างสังคมเมืองพะเยาที่มีความสุข

 

     ผู้เขียนจะได้วิเคราะห์ต่อยอดในวาระต่อไป... 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 457223เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2011 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบนมัสการพระคุณเจ้า ข้อที่หนึ่งการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบริเวณรอบกว๊านพะเยา ได้ทำไปแล้วเจ้าา หากรูปเล่มเสร็จแล้วตั้งใจจะนำไปถวายพระคุณเจ้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเมืองพะเยาบ้านเราเจ้า ^_^ 

กราบนมัสการ ข้อที่หนึ่งการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบริเวณรอบกว๊านพะเยา ได้ทำไปแล้วเจ้าา หากรูปเล่มเสร็จแล้วตั้งใจจะนำไปถวายพระคุณเจ้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเมืองพะเยาบ้านเราเจ้า  สาธุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท