เครือข่ายเกษตรแม่ฮ่องสอน : กระบวนการจัดการความรู้ของคนเมืองสามหมอก


"กระบวนการสังเคราะห์องค์ความรู้เกษตรแม่ฮ่องสอน" เป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญในการวางฐานการเคลื่อนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช้าๆแต่ ทว่า ยั่งยืน

ชีวิตกับการเดินทาง

 

ช่วงนี้ผมเดินทางเป็นว่าเล่น ...ส่วนใหญ่เป็นเวที สัมมนา ต่างๆที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านงานวิจัยจัดขึ้น..

ช่วงหลังเป็นที่น่าดีใจ ภูมิใจ..ที่แม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะโซนเหนือ (ปาย-ปางมะผ้า-เมือง) มีวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกิดขึ้น กระจายทั่วทุกพื้นที่ มากน้อยบ้างตามประเด็นของงาน

ที่แม่ฮ่องสอน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เราพยายามจะเชื่อมงานกับ การศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ คุณครูเหล่านี้ท่านรับรู้ถึงปัญหาชุมชนได้ดี...ปรัชญาของ การศึกษานอกระบบ ที่เน้น การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นถูกโฉลกกับ กระบวนการทำงานของ กศน.เป็นอย่างยิ่ง

การเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แม่ฮ่องสอน มีอัตลักษณ์ที่น่าสนใจ ...คิดว่า เป็น Node ที่มีกระบวนกรทำงานที่ชัดเจน และได้วางยุทธศาสตร์ของแต่ละปีไว้ และการเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาเชิงประเด็น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่ ชุมชน

ที่ผ่านมางานพัฒนาเชิงประเด็นที่น่าจับตามอง ที่แม่ฮ่องสอน คือ

                           เครือข่ายเกษตรแม่ฮ่องสอน

 

เครือข่ายนี้เน้น เกษตรพอเพียง เกษรปลอดสารพิษ ที่เราเรียกว่าเกษตรอินทรีย

การเคลื่อนตัวของ เครือข่ายเกษตรแม่ฮ่องสอน แนบแน่นกับ Node แม่ฮ่องสอน เริ่มต้นด้วยงานวิชาการที่แข็ง คือ "งานวิจัย" ที่สร้า้งองค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่กระจายอยู่ในภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอน เป็นการจัดการองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างมาก "กระบวนการสังเคราะห์องค์ความรู้เกษตรแม่ฮ่องสอน" เป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญในการวางฐานการเคลื่อนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช้าๆแต่ ทว่า ยั่งยืน

 ต้นเดือน กันยายนที่จะถึง จะมีการจัดงาน "จุลกรรมเกษตร" (งานจุลกรรม หมายถึง การทำกิจกรรมที่เล็กๆเพื่อเตรียมตัว เข้าร่วมงาน มหกรรมของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ระดับประเทศต่อไป) ขึ้นที่แม่อ่องสอน

งานนี้มีดีที่น่าสนใจ ขอประชาสัมพันธ์ผ่านบันทึก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเรียนรู้ และร่วมกันแลกเปลี่ยน กระบวนการจัดความรู้ของเครือข่ายเกษตรแม่ฮ่องสอน

 

 


 

วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๙ 

ณ  บริเวณศูนย์เรียนรู้และลานวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน ข้างอนุสาวรีย์พญาสิงหนาทราชา 


 

ภาคเช้า

พิธิเปิด
โดย ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน(นายสิทธิชัย ประเสริฐศรี)
 

ชมวิดิทัศน์

ตัวอย่างรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในบริบทที่หลากหลายของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นำเสนอสถานการณ์

นำเสนอข้อมูลสถานการณ์การเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

ดำเนินรายการโดยเจ้าหน้าที่ สกว.แม่ฮ่องสอนและคุณอรุณี เวียงแสง 

 

เสวนาประสาชาวบ้าน

นำเสนอ และแลกเปลี่ยน วิถีเกษตรกรรมยั่งยืน

ประสบการณ์ การค้นหาและสั่งสมควมรู้ นำสู่วิถีการปฏิบัติและการถ่ายทอด ในบริบทที่แตกต่างกัน   ได้แก่

<!--[if !supportLists]-->1.       <!--[endif]-->คุณอำพล จิตสว่างและคุณมาลี ครอบครัวเกษตรกร อ.แม่สะเรียง ประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย นำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้มา ผ่านการลองผิดลองถูก จนนำไปสู่การพึ่งตนเอง และสามารถขยายผลต่อผู้อื่น

<!--[if !supportLists]-->2.       <!--[endif]-->คุณสมบัติ อ.ปางมะผ้า เกษตรกร ยึดแนวเกษตรพอเพียง ทำเกษตรแบบผสมผสาน เน้นการพึ่งพาธรรมชาติ

<!--[if !supportLists]-->3.       <!--[endif]-->คุณบุญสุข  เตือนชวัลย์ จากเกษตรกรธรรมดาสู่นักวิจัยเด่นบทบาทการเชื่อมโยงเครือข่าย

<!--[if !supportLists]-->4.       <!--[endif]-->ครูกมล เครือซุย บทบาทเกษตรกร นักวิจัยและครูผู้ถ่ายทอดความรู้วิถีเกษตรกรรมชาวลัวะ สู่คนรุ่นต่อไปในชุมชนบ้านป่าแป๋     อ.แม่สะเรียง

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วม

  • <!--[if !supportLists]-->สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
  • <!--[if !supportLists]-->ตัวแทนโครงการวิจัย
  •  หน่วยงานองค์กรภาครัฐและ อื่นๆ

ดำเนินรายการโดย คุณถนัด สินอนันต์วณิชย์ 

 

ภาคบ่าย

 สรุปสถานการณ์บรรยากาศงานภาคเช้า

ดำเนินรายการโดย คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร และน้องกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อน โรงเรียนห้องสอนศึกษา  

เสวนาเยาวชนคนรุ่นใหม่

คิดอย่างไรกับเกษตรกรรมยั่งยืน

แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ค้นหาตัวตนบนฐานเกษตรกรรมยั่งยืน

  • <!--[if !supportLists]--><!--[endif]-->­กลุ่มคนรุ่นใหม่บ้านแม่ทา จ.เชียงใหม่
  • <!--[if !supportLists]-->กลุ่มคนรุ่นใหม่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
  • <!--[if !supportLists]--> แลกเปลี่ยนเพีมเติมโดยกลุ่มคนรุ่นใหญ่ ทั้งในและนอกวงการเกษตรกรรมยั่งยืน

<p style="margin-top: 12pt; background-color: #ffff00; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">จากวันนี้สู่วันข้างหน้าจะก้าวย่างไปอย่างไร?</p><p style="background-color: #ffff00; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">ข้อเสนอทิศทางการทำงานร่วมกันต่อไปข้างหน้า ระหว่างงานพัฒนาและงานวิจัยในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
</p><p style="background-color: #ffff00; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมและผู้ร่วมจัดกิจกรรม</p><p style="background-color: #ffff00; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"> </p><h3>ดำเนินรายการโดย     คุณอรุณี เวียงแสง</h3><hr width="100%" size="2"><h3></h3><p class="MsoNormal">หมายเหตุ     กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย</p><p class="MsoNormal">1.การจัดนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
2. กิจกรรมการสาธิต เทคนิค ความรู้ ด้านต่างๆ ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

3. เกมส์กิจกรรมเพื่อความสนุกสนานบันเทิงและเสริมความรู้

4. เวทีเสวนา

5. การแสดง จำหน่าย ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ ปลอดสารพิษของพี่น้องเกษตรกร เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป (กิน - ใช้)  และปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ต่างๆ
 
</p><hr width="100%" size="2">เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ กระบวนการการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นที่แม่ฮ่องสอน ครับ…..

หมายเลขบันทึก: 45701เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สื่อกลางประชาสัมพันธ์ข่าวสารชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนหรือแนะนำให้รู้จักชุมชนของท่าน เพียงแค่ ลงทะเบียน เป็นสามาชิกกับ porpeangnetwork ก็จะสามารถสร้างเครือข่ายพอเพียงกับเราได้ทันที พลังงานชุมชน พลังคุณhttp://www.porpeangnetwork.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท