ที่มาของคำว่า "ละโว้"...ทฤษฎีใหม่


เรื่องมอญ ลูโว ละโว้นี้นำเสนอโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งในสมัยโน้นยังเป็นเพียงเด็กน้อย แต่อนิจจานักวิชาการทั้งประเทศต่างเชื่อและยึดถือกันมาจนบัดนี้ ไม่มีใครกล้าเถียง ..วันนี้ผมจะเถียงให้ฟัง

 

อาณาจักรละโว้ (ลพบุรี) อาจเป็นต้นกำเนิดของประชาชาติไทยทุกวันนี้ และเป็นต้นกำเนิดอาณาจักรขอมด้วย  แต่อนิจจา..เรารู้เรื่องเมืองนี้ซึ่งเป็นเมืองบรรพชนของเรากันน้อยมาก โดยเฉพาะที่มาของคำว่า “ละโว้ “ 

 

 

ผมไปค้นหาในการวิจารณ์ของนักวิชาการด้านโบราณคดี เขาว่ากันว่าน่าจะมาจากคำว่า ลูโว ในภาษามอญ ซึ่งแปลว่า ภูเขา ซึ่งเขาว่ากันว่าเมืองลพบุรีมีภูเขามาก..ก็ยิ่งเข้าทางพวกเขา  (ความจริงเมืองลพบุรีเป็นที่ราบเสียส่วนใหญ่ มีเขาเล็กๆ อยู่ห่างๆเท่านั้นเอง)

 

เรื่องมอญ ลูโว ละโว้นี้นำเสนอโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งในสมัยโน้นยังเป็นเพียงเด็กน้อย แต่อนิจจานักวิชาการทั้งประเทศต่างเชื่อและยึดถือกันมาจนบัดนี้ ไม่มีใครกล้าเถียง ..วันนี้ผมจะเถียงให้ฟัง

 

ไปค้นประวัติเมืองลพบุรีในวิกีพีเดีย และในหน้าเว็บของจ.ลพบุรี ก็ไม่เจอ อ้างกันซื่อๆว่า เดิมทีเรียกว่าละโว้..จบ  ชาติไทยเรามันตื้นทางวิชาการกันแบบนี้เจียวหรือ

 

ผมจำได้ว่าเคยเห็นรูปถ่ายเหรียญเงินโบราณที่ไหนมาก่อน ที่เห็นนั้นเป็นรูปเหรียญโบราณขุดค้นได้บริเวณ จ.ลพบุรี สมัยทวาราวดี  มีการสลักคำว่า “ลโวทยฺปุร” ไว้บนเหรียญ ผมถึงบางอ้อทันทีว่า นี่คือที่มาของคำว่าละโว้

 

คำว่า ลโวทยฺปุร นี้เชื่อได้แน่นอนว่า มาจากการสมาสของคำว่า ลว + อุทัย + ปุระ  ซึ่ง ลว ก็เป็นชื่อเดิมของเมืองนี้ ซึ่งผมไปค้นภาษาสันสกฤตมา แปลว่า “น้ำ” ก็น่าจะใช่เลย เพราะเมืองนี้มีน้ำมาก จากแม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำอื่นๆโดยรอบ

 

คำว่า สุโขทัย ก็มาจากการสมาสทำนองเดียวกัน คือ สุข+อุทัย นั่นเอง

 

ส่วนคำว่า ลวะ นั้นไม่น่าใช่ว่ามาจากคำว่า ละว้า ซึ่งเป็นชนเผ่ามอญเผ่าหนึ่ง  มิฉะนั้นคงไม่เอามาสมาสกับ อุทัย เป็น ลโวทยฺ ซึ่งเป็นคำแขกไปได้หรอก

 

คำว่าละโว้คงเป็นการเรียกเฉพาะของคนชั้นสูง (เพราะแขกจ๋ามากเกินไป) ส่วนปชช.ทั่วไปยังคงเรียกว่า ลวะ ซึ่งผันมาเป็น ลพะ ในที่สุด เพราะ พ กับ ว นั้นแทนเสียงกันได้ในสันสกฤต (เช่น วิจิตร พิจิตร วิเศษ พิเศษ) จากลพะบุรี ก็หดสั้นมาเป็นลพบุรี ในที่สุดตามธรรมเนียมไทย เช่น นะคะระ ก็หดมาเป็น นะคอน นะวะ ก็เป็น นะพะ แล้วเป็น นบ (นพ) เช่น นพรัตน์ (จากเดิม นะวะรัตตะนะ)

 

คำว่าลพนี้มีที่ใช้อีกแห่งคือ วัดสระลพ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว (บ้านเกิดผมเอง บัดนี้เรียกวัดนครธรรม) ซึ่งที่นี่ก็เป็นแหล่งโบราณคดีเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและช่วยกันเผยแพร่ต่อไปนะครับ ประเด็นนี้ผมได้เข้าไปเพิ่มเติมข้อมูลในวิกีพีเดียภาษาไทยไว้แล้ว  ในหัวข้อ ลพบุรี และ ละโว้

 

หมายเหตุ: เมืองลพบุรี นั้น ถูกอ้างถึงในประวัติศาสตร์ พงศาวดารว่า ลวปุร เสมอ (ละวะปุระ)  แล้วเข้าใจว่า วันหนึ่งก็ต้องการให้มันอลังการ์ เป็นแขก เป็นมงคลมากขึ้น ก็เลยเอา "อุทัย" เข้าไปเสริม เป็น ลว+อุทัย+ปุร = ลโวทยฺปุระ = ลโว = ละโว้ ในที่สุด (หาได้มาจาก ลูโว ภาษามอญไม่) ....เหรียญสลักที่ว่านั้นเห็นจากหนังสือเล่มหนึ่ง แต่จำไม่ได้จริงๆ ลองหาอ่านดูเถิดครับ มีไม่กี่เล่มหรอก อาจเป็นหนังสือฝรั่งก็เป็นได้

...ทวิช จิตรสมบูรณ์ ( ๒๒ ธค. ๕๓) ( คนที่มีคุณยายเป็นคนเมืองละโว้)

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 455930เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนุกดีครับ ทำให้เรื่องที่ยากๆเป็นเรื่องชวนคิดชวนคุย ชวนถกหาตัวปัญญาใหม่ๆ ขยายความรอบรู้ ได้สร้างความรู้ วิธีคิด วิธีมอง ที่มีความเป็นตัวของตัวเองดีครับ 

  • ไม่หลักการที่ชัดเจน ส่วนแนวคิดของ จิตร ภูมิศักดิ์ ท่านใช้หลักนิรุติศาสตร์ ในการอ้างอิง และในการศึกษาของจิตร ทุกเรื่องท่านจะออกตัวไว้เสมอว่าเป็นแค่ขอสันนิษฐาน ไม่เคยว่าเป็นความจริง ท่านจะบอกไว้เสมอว่าหากผู้ที่มีข้อเท็จจริงสามารถที่จะหักล้างความคิดของท่านได้เสมอ แสดงให้เห็นว่าจิตร มีอุปนิสัยที่ใจกว้างไม่กระทำการยกตนข่มท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท